10 พฤติกรรมเสี่ยงมีลูกยาก

10 พฤติกรรมเสี่ยงมีลูกยาก

10 พฤติกรรมมีลูกยาก รู้ก่อนวางแผนมีบุตร ลดโอกาสแท้ง-ดาวน์ซินโดรมในเด็ก

จริงอยู่ที่ตอนนี้สาวยุคใหม่ หลายคนยังไม่คิดที่จะแต่งงานหรือมีลูก แต่ในอนาคตเมื่อความพร้อมถึงขีดสุด คุณอาจจะอยากมีเจ้าตัวเล็กเอาไว้เป็นยาใจ และครอบครัวที่สมบูรณ์พร้อมก็ได้ แล้วรู้หรือไม่มีหลากหลายพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของเราเลยทีเดียวที่หากทำบ่อยๆ สะสมมากๆ อาจส่งผลกระทบมาถึงภาวะการมีลูกยากได้

10 พฤติกรรมควรเลี่ยงเสี่ยงมีลูกยาก

  • ดื่มแอลกอฮอล์มากไป
    ผลให้โอกาสในการมีลูกลดลงถึง 50% เลยทีเดียว หากเปรียบเทียบให้เห็นภาพก็คือไม่ควรดื่มเกินวันละ 1 ดริ๊งค์ หรือเทียบเท่ากับไวน์ 120 มิลลิลิตร
  • สูบบุหรี่เป็นประจำ
    การสูบบุหรี่มากกว่าวันละ 10 มวน ส่งผลให้มีลูกยากได้กว่าผู้หญิงทั่วไปถึง 3 เท่า เพราะในบุหรี่มีสารพิษมากมายที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แถมยังมีส่วนช่วยลดประสิทธิภาพของมดลูกที่เป็นที่ฝังของตัวอ่อนอีกด้วย ใครที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์ หรืออยากมีลูกควรหลีกเลี่ยง นอกจากนี้แล้วบุหรี่ยังทำให้สาวๆ ถึงวัยหมดประจำเดือน (วัยทอง) เร็วกว่าปกติถึง 2 ปี และทำให้กระดูกผุหรือเปราะเร็วขึ้นอีกด้วย
  • อายุที่เพิ่มขึ้น
    อายุที่มากขึ้นฮอร์โมนและความเปลี่ยนแปลงก็มากขึ้นตามไปด้วย สาวๆ ที่อายุ30ขึ้นไปโอกาสในการมีลูกก็จะลดน้อยลงไปด้วย อีกทั้งอายุที่มากขึ้นอาจ เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาลูกในท้องผิดปกติสูง ดาวน์ซินโดรม โรคตับโต ม้ามโต โรคปากแหว่งเพดานโหว่ได้
  • ความเครียด
    นอกจากจะส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตใจแล้ว ยังกระทบมาถึงการมีลูกยากอีกด้วย เพราะฮอร์โมนจากความเครียดจะรบกวนการทำงานของฮอร์โมนในระบบสืบพันธุ์ ส่งผลให้เกิดภาวะไม่ตกไข่ทำให้ไข่เจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ อีกทั้งยังทำให้ไข่ที่ปฏิสนธิแล้วฝังตัวที่มดลูกได้ยากขึ้นอีกด้วย
  • กินอาหารไม่มีประโยชน์
    การกินอาหารแบบแบบเดิมซ้ำๆ เมนูเดิมๆ ทุกวัน โดยเฉพาะถ้าเป็นอาหารที่ไม่มีประโยชน์ด้วยแล้วล่ะก็ นานวันเข้าจะส่งผลให้สารอาหารเข้าไปเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอ และมีผลต่อภาวะการมีบุตรยากด้วยนะ ควรเลือกรับประทานอาหารที่หลากหลายอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะผักและผลไม้ ต้องทานเป็นประจำ
  • น้ำหนักตัวเกิน
    ใครจะไปรู้ว่าน้ำหนักตัวจะส่งผลต่อการมีลูกได้ น้ำหนักขึ้นๆ ลงๆ หรือน้ำหนักมากหรือน้อยเกินไปจะทำให้ร่างกายปรับตัวเพื่อเตรียมพร้อมต่อการมีลูกได้ยากขึ้น และยังส่งผลให้ความสามารถในการเจริญพันธุ์ลดลง แถมยังเสี่ยงต่อการแท้งง่ายอีกด้วย มีการศึกษาพบว่า ผู้หญิงที่มีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน ต้องใช้เวลาในการตั้งท้องนานเป็น 4 เท่า ในขณะที่ผู้หญิงที่มีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ใช้เวลา 2 เท่าเมื่อเทียบกับผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวปกติ
  • ดื่มกาแฟเกินวันละ 2 แก้ว
    การที่ร่างกายได้รับคาเฟอีนประมาณ 300 มิลลิกรัมต่อวันหรือเทียบเท่ากับกาแฟชงเอง 3 ถ้วย เพราะส่งผลให้เกิดความเสี่ยงที่จะมีลูกได้ยากขึ้น เนื่องจากคาเฟอีนที่อยู่ในกาแฟจะส่งผลให้การตั้งครรภ์นั้นชะลอลง ซึ่งส่งผลให้โอกาสการมีลูกลดน้อยลงถึง 26% เลยทีเดียว
  • ดื่มน้ำอัดลม
    จริงอยู่ที่ดื่มแล้วชื่นใจ แต่น้ำอัดลมไม่ได้ให้ประโยชน์หรือสารอาหารใดๆ กับร่างกาย แถมมีน้ำตาลสูงและทำให้เกิดภาวะอ้วน จึงไม่แปลกเลยที่ถ้าหากเรากินเข้าไปเยอะๆ จะทำให้โอกาสมีน้องน้อยลง
  • ไม่ออกกำลังกาย
    อยากเริ่มต้นการมีสุขภาพที่ดีก็ต้องเริ่มจากการออกกำลังกาย ถ้าสุขภาพไม่แข็งแรงโอกาสที่จะมีลูกก็ลดน้องลงไปด้วย เพราะการออกกำลังกายนอกจากจะช่วยเผาผลาญไขมันในร่างกายแล้ว ยังกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ซึ่งการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยกระตุ้นการเจริญพันธุ์ การทำงานของหัวใจและระดับพลังงานได้อย่างดีเยี่ยม
  • ร่างกายได้รับสารเคมีต่างๆ มากเกินไป
    ทั้งสารเคมีจากเครื่องสำอาง จากการสูดดม หรือการทานอาหารที่ปนเปื้อนสารเคมี สารโลหะหนักอย่างตะกั่ว และสารเคมีต่างๆ ที่สะสมในร่างกายจะส่งผลต่อการทำงานของรังไข่ทำให้เซลล์สืบพันธุ์ทำงานผิดปกติ

ไม่น่าเชื่อเลยใช่ไหมว่าพฤติกรรมในแต่ละวันของเราจะส่งผลต่อการมีบุตรยากได้ ดังนั้นการเตรียมความพร้อมให้กับร่างกาย เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการมีลูกคงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ทั้งนี้หากต้องการวางแผนมีลูก สามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้เพื่อคัดกรองสุขภาพ และ รับคำแนะนำมาปรับใช้เพิ่มโอกาสการมีลูกที่แข็งแรง ทั้งร่างกายและสุขภาพจิตนะคะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : BDMD สถานีสุขภาพ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะมีบุตรยาก : INFERTILITY

ภาวะมีบุตรยาก : INFERTILITY

ภาวะมีบุตรยาก : INFERTILITY ภาวะมีบุตรยาก คือ ภาวะของคู่สมรสที่แต่งงานกันเป็นระยะเวลา 1 ปี โดยมีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมออาทิตย์ละ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ แล้วยังไม่เกิดการตั้งครรภ์ สาเหตุของการมีบุตรยาก เเบ่งออกเป็น 3 สาเหตุหลัก ดังนี้ ไม่มีการตกไข่ ท่อนำไข่อุดตันหรือมีพังผืดในอุ้งเชิงกราน เชื้ออสุจิของฝ่ายชายอ่อน (ตรวจนับด้วยคอมพิวเตอร์) การรักษาสามารถแบ่งออกเป็น 3 วิธี ดังนี้ การรักษาโดยการผ่าตัด การรักษาโดยการใช้ยา การรักษาด้วยเทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ เทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ เป็นเทคโนโลยีที่นำมาใช้แก้ปัญหาการมีบุตรยาก โดยทางโรงพยาบาลกรุงเทพ จันทบุรี มีคลีนิกให้คำปรึกษาและรักษาภาวะการมีบุตรยาก โดยเเพทย์ผู้ชำนาญการสาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา อนุสาขาเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ผ่าตัดส่องกล้องทางนรีเวช สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกมีบุตรยาก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

การฉีดเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก

การฉีดเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก

บริการ IUI ที่โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี : สู่เส้นทางการเเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์สำหรับครอบครัวที่ใฝ่ฝันมีเจ้าตัวน้อย สำหรับคู่รักที่มีความหวังในการมีบุตร แต่พบกับความยากลำบาก IUI (Intra-Uterine Insemination) หรือการฉีดเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก เป็นวิธีการรักษาที่ได้รับความนิยมในเบื้องต้น ด้วยขั้นตอนที่ใกล้เคียงกับการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติ ขั้นตอนการเตรียมตัว ฝ่ายชาย จะต้องเตรียมตัวโดยงดการมีเพศสัมพันธ์หรือหลั่งน้ำอสุจิอย่างน้อย 3 – 7 วันก่อนนัดหมาย ฝ่ายหญิง แพทย์จะทำการติดตามการเจริญเติบโตของไข่ด้วยการอัลตราซาวนด์ เพื่อนัดหมายฉีดเชื้อในวันที่ไข่โตเต็มที่ ขั้นตอนการฉีดเชื้อ ฝ่ายชายเก็บน้ำเชื้ออสุจิ น้ำเชื้อจะผ่านการคัดเลือกตัวอสุจิที่แข็งแรง (ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง) ฝ่ายหญิงจะนอนบนเตียงตรวจทางสูตินรีเวช โดยแพทย์ใช้เครื่องมือขยายช่องคลอด แพทย์จะฉีดน้ำเชื้ออสุจิประมาณ 0.3 มิลลิลิตรเข้าสู่โพรงมดลูกอย่างช้า ๆ หลังจากนั้นฝ่ายหญิงจะนอนพักประมาณ 20 – 30 นาที ข้อควรปฏิบัติหลังการฉีดเชื้อ ใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ หากมีอาการปวดท้องหรือเลือดออกเล็กน้อยสามารถรับประทานยาแก้ปวดได้ แต่ควรปรึกษาแพทย์หากอาการไม่ดีขึ้น ทำไมเลือก IUI ที่โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี? บริการ IUI ที่โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรีมุ่งเน้นการดูแลอย่างใกล้ชิดจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและสหสาขาวิชาชีพ ด้วยมาตรฐานระดับสากล ช่วยเพิ่มโอกาสในการมีบุตรอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงและภาวะแทรกซ้อนต่ำ หากคุณคือคู่รักที่มีความฝันในการสร้างครอบครัว การเลือก IUI ที่โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรีอาจเป็นก้าวแรกสู่ความสำเร็จในเส้นทางนี้. ปรึกษาและนัดหมายแพทย์ได้ที่ https://doctor.bangkokhospitalchanthaburi.com/alldoctor.php

5 สาเหตุ ที่ทำให้มีบุตรยาก

5 สาเหตุ ที่ทำให้มีบุตรยาก

จากการศึกษาพบว่าอย่างน้อย 15% ของคู่สมรสมีปัญหาในการตั้งครรภ์ ซึ่งหมายความว่ามีหลายคู่ที่ประสบปัญหาเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการมีบุตร เช่น อายุ, สุขภาพ, สภาพแวดล้อม และปัจจัยทางพันธุกรรม การมีบุตรไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของสุขภาพ แต่ยังเกี่ยวข้องกับความรู้สึกและความสุขในชีวิตคู่ ดังนั้นการเข้าใจและยอมรับปัญหานี้จะทำให้คู่รักสามารถเดินหน้าต่อไปด้วยความหวังและแผนการที่ชัดเจนในการสร้างครอบครัวในอนาคต การเริ่มต้นด้วยการปรึกษาแพทย์ไม่เพียงแต่จะช่วยประเมินสาเหตุของปัญหาได้อย่างรวดเร็ว แต่ยังช่วยลดความวิตกกังวล และช่วยให้คู่รักมีข้อมูลและแนวทางในการรักษาที่ชัดเจนมากขึ้น ในหลายกรณี การวินิจฉัยแต่เนิ่นๆ สามารถนำไปสู่การรักษาที่มีประสิทธิภาพและเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ในอนาคต โดยสาเหตุของภาวะมีบุตรยากแบ่งออกเป็น 5 สาเหตุหลัก ดังนี้ ปัญหาการตกไข่ (Ovulation Factor): เกิดจากการที่ผู้หญิงมีปัญหาในการตกไข่ ซึ่งอาจตรวจสอบได้ด้วยชุดทดสอบที่ตรวจระดับฮอร์โมน LH ในปัสสาวะหรืออัลตราซาวนด์ ตรวจพบว่าผู้หญิงที่มีอายุมากจะมีจำนวนและคุณภาพไข่ลดลง ทำให้การตั้งครรภ์ยากขึ้น ปัญหาท่อนำไข่ (Tubal Factor): ท่อนำไข่มีบทบาทสำคัญในการปฏิสนธิ หากท่อนำไข่ตีบตัน จะทำให้ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ โดยอาจตรวจสอบได้จากการเอกซเรย์หรือการผ่าตัดผ่านกล้อง ปัญหาอสุจิ (Male Factor): ประมาณ 40% ของปัญหาภาวะมีบุตรยากเกิดจากคุณภาพของอสุจิ ซึ่งสามารถตรวจได้จากการวิเคราะห์น้ำเชื้อ หากพบความผิดปกติ อาจต้องตรวจหาสาเหตุเพิ่มเติม ปัญหาที่มดลูกและปากมดลูก (Uterine / Cervical Factor): สาเหตุจากมดลูกที่ผิดปกติ เช่น เนื้องอกหรือติ่งเนื้อ ที่อาจรบกวนการฝังตัวของตัวอ่อน ซึ่งต้องทำการตรวจเพิ่มเติมเช่น อัลตราซาวนด์หรือการส่องกล้อง ปัญหาเยื่อบุภายในช่องท้อง (Peritoneal Factor): อาการอักเสบในช่องท้อง เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ อาจทำให้เกิดพังผืดหรือแผลเป็น การวินิจฉัยต้องทำการผ่าตัดผ่านกล้อง นอกจากนี้ยังมี ภาวะมีบุตรยากแบบไม่มีสาเหตุ (Unexplained Infertility) ซึ่งประมาณ 10% ของคู่สมรสที่มีบุตรยากไม่พบความผิดปกติชัดเจน แพทย์มักแนะนำให้ลองรักษาด้วยการฉีดน้ำเชื้อเข้าโพรงมดลูก (IUI) หรือเด็กหลอดแก้วต่อไป การทำความเข้าใจและตรวจสอบสาเหตุเหล่านี้เป็นขั้นตอนสำคัญในการวางแผนการรักษาภาวะมีบุตรยาก. นัดหมายและปรึกษาแพทย์ได้ที่ https://doctor.bangkokhospitalchanthaburi.com/alldoctor.php สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

เครียดมากเกินไป ส่งผลให้มีบุตรยาก!

เครียดมากเกินไป ส่งผลให้มีบุตรยาก!

ในสถานการณ์ปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นโรคระบาด ปัญหาทางสังคม ปัญหาทางเศรษฐกิจ ปัญหาด้านการทำงาน และปัจจัยในด้านต่าง ๆ ล้วนส่งผลกระทบให้ผู้คนเกิดความเครียด และความกังวลเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งความเครียดนั้นเป็นสาเหตุสำคัญที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการมีบุตร หรือทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากขึ้นได้ โดยเฉพาะในคุณผู้หญิง หากเกิดความเครียด อาจจะก่อให้เกิดภาวะการตกไข่ที่ผิดปกติ หรือไม่เป็นไปตามธรรมชาติ เพราะฮอร์โมนจากความเครียดจะไปรบกวนการทำงานของฮอร์โมนในระบบสืบพันธุ์ ทำให้โอกาสในการตั้งครรภ์หรือมีบุตรนั้นลดลงไปด้วย หากรู้อย่างนี้แล้วต้องรู้จักระวังตัวเอง อย่าปล่อยให้เกิดความเครียดมากเกินไป จนไม่สามารถควบคุมอารมณ์ในจิตใจได้ พร้อมด้วยการปรับพฤติกรรม และ Lifestyle ต่าง ๆ เพื่อเตรียมพร้อมต่อการมีบุตรที่สุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงไปด้วยกันทั้งครอบครัว ​ ขอบคุณข้อมูลจาก เว็บไซต์ BDMS WELLNESS CLINIC https://www.bdmswellness.com/ ปรึกษามีบุตรยากและนัดหมายแพทย์ติดต่อคลินิกผู้มีบุตรยาก โรงำยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

แพ็กเกจเด็กหลอดแก้ว (ICSI)

แพ็กเกจเด็กหลอดแก้ว (ICSI)

มาทำให้การมีลูก..ไม่เป็นเรื่องยากอีกต่อไปการทำด้วยอิ๊กซี่ (ICSI) อิ๊กซี่ (ICSI) คืออะไร ? ช่วยรักษาภาวะมีบุตรยากได้อย่างไร ? ใครที่กำลังประสบปัญหามีบุตรยาก ทำมาหลายวิธีแล้วไม่สำเร็จ “อิ๊กซี่” เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ช่วยเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์ได้ อิ๊กซี่ (ICSI) เป็นหนึ่งในเทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ เพื่อรักษาผู้มีบุตรยาก ที่ได้รับความนิยมมากในประเทศไทย และเป็นยอมรับในทางการแพทย์ทั่วโลก เพราะมีโอกาสมีลูกได้สำเร็จสูงกว่าวิธีอื่น ๆ ช่วยให้คู่รักที่ประสบปัญหาภาวะมีบุตรยาก เข้าเส้นทางสู่การเป็นพ่อแม่ได้สมปรารถนา เป็นการคัดเอาตัวอสุจิที่มีความแข็งแรงที่สุด ผ่านการส่องด้วยกล้องจุลทรรศน์และฉีดเข้าไป เพื่อให้ผสมกับไข่แบบเจาะจงด้วยเข็มขนาดเล็ก พอผสมกันแล้วจะนำไปเลี้ยงในห้องปฏิบัติการด้วยน้ำยาเลี้ยงพิเศษ จากนั้นเมื่อตัวอ่อนพัฒนาไปอยู่ในระยะที่เหมาะสมแล้ว ก็จะนำเข้าไปใส่ในโพรงมดลูกเพื่อให้มีการตั้งครรภ์ต่อไป โปรแกรมเด็กหลอดแก้ว (ICIS Package) ราคา 250,000 บาท วันนี้ - 31 ธันวาคม 2568 โดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง พญ.ฐิติชญา พฤกษานุศักดิ์ นพ. สาโรช วรรณโก สาขา สูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา และการเจริญพันธุ์ ติดต่อเพื่อจองแพ็กเกจหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่ : ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319-888 มาทำให้การมีลูก..ไม่เป็นเรื่องยากอีกต่อไป #ศูนย์สุขภาพสตรี #ICSI #มีบุตรยาก #โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี

ตรวจคุณภาพอสุจิ

ตรวจคุณภาพอสุจิ

บางครั้งปัญหาการมีบุตรยากไม่ได้มาจากฝ่ายหญิงเสมอไป การเตรียมความพร้อมเพื่อมีเจ้าตัวเล็กนั้น การตรวจวิเคราะห์น้ำเชื้อหรือน้ำอสุจิ (Semen Analysis) ของฝ่ายชายเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยประเมินคุณภาพและปริมาณของตัวอสุจิ ซึ่งจะเป็นข้อมูลที่มีค่าสำหรับการวินิจฉัยและวางแผนการตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้จักน้ำอสุจิ “น้ำเชื้อ” หรือ “น้ำอสุจิ” (Semen) เป็นของเหลวที่ประกอบด้วยตัวอสุจิและน้ำหล่อเลี้ยง มีลักษณะสีขาวข้นและหลั่งออกจากร่างกายผู้ชายเมื่อถึงจุดสุดยอด ไม่ว่าจะเป็นระหว่างมีเพศสัมพันธ์ การช่วยตัวเอง หรือจากฝันเปียก (Wet Dream) ในแต่ละครั้งจะหลั่งน้ำอสุจิประมาณ 3-4 มิลลิลิตร และมีจำนวนอสุจิเฉลี่ยประมาณ 300-500 ล้านตัว ประโยชน์ของการตรวจวิเคราะห์น้ำอสุจิ การตรวจน้ำอสุจิเป็นวิธีที่สำคัญในการประเมินภาวะมีบุตรยากจากฝ่ายชาย ปัจจัยที่ต้องพิจารณา ได้แก่: ความผิดปกติของจำนวนตัวอสุจิ: อาจเกิดจากท่อนำอสุจิตีบหรือตัน หรืออัณฑะไม่สร้างตัวอสุจิ การเคลื่อนไหวของตัวอสุจิ: หากตัวอสุจิไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ดี อาจไม่สามารถว่ายผ่านปากมดลูกไปพบกับไข่ รูปร่างของตัวอสุจิ: ตัวอสุจิที่มีรูปร่างผิดปกติจะส่งผลกระทบต่อการปฏิสนธิ ควรตรวจน้ำอสุจิเมื่อไร โดยทั่วไปประชากรประมาณ 15% มีปัญหามีบุตรยาก ดังนั้นการตรวจน้ำอสุจิจึงแนะนำให้ทำเมื่อมีเกณฑ์ภาวะมีบุตรยาก แต่ในบางกรณีอาจต้องการตรวจเร็วกว่านั้น เช่น: มีโรคประจำตัวที่อาจส่งผลต่อคุณภาพตัวอสุจิ เช่น โรคตับ โรคไต หรือประวัติโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ คุณภาพน้ำอสุจิจะเริ่มลดลงหลังอายุ 30 ปี และเห็นผลชัดเจนในอายุ 40 ปี ภรรยาอายุมากกว่า 37 ปี ต้องการข้อมูลเพื่อวางแผนการมีบุตร วิธีการตรวจวิเคราะห์น้ำอสุจิ การตรวจน้ำอสุจิใช้มาตรฐานจากองค์การอนามัยโลก (WHO Criteria) โดยรวมถึงขั้นตอนดังนี้: การตรวจดูด้วยตาเปล่า (Macroscopic Examination): ตรวจสอบลักษณะทั่วไป เช่น สี ความขุ่น และปริมาตร การตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ (Microscopic Examination): ตรวจสอบจำนวนตัวอสุจิ อัตราการเคลื่อนไหว และรูปร่าง เทคโนโลยีการตรวจวิเคราะห์น้ำอสุจิ ด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์ ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีการตรวจวิเคราะห์น้ำอสุจิด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer Assisted Sperm Analysis: CASA) ซึ่งให้ผลการวิเคราะห์ที่มีความแม่นยำสูง ลดความเบี่ยงเบนจากการตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์ การแปลผลตรวจวิเคราะห์น้ำอสุจิ ผลการตรวจน้ำอสุจิจะถือว่าปกติเมื่อมีค่าตรงตามเกณฑ์ที่กำหนดโดย WHO ได้แก่: ปริมาณน้ำอสุจิ ≥ 1.5 มิลลิลิตร ความเข้มข้นของตัวอสุจิ ≥ 15 ล้านตัว/มิลลิลิตร การเคลื่อนไหว ≥ 40% รูปร่างอสุจิที่ปกติ ≥ 4% ข้อปฏิบัติในการเก็บน้ำอสุจิ ก่อนการตรวจควรงดการหลั่งอสุจิอย่างน้อย 3-7 วัน และต้องเก็บน้ำอสุจิในภาชนะที่สะอาด โดยไม่ควรใช้ถุงยางอนามัย เนื่องจากอาจมีสารที่ทำลายตัวอสุจิ ข้อจำกัดในการเก็บน้ำอสุจิ ในกรณีที่ไม่สามารถเก็บน้ำอสุจิด้วยตนเองได้ สามารถใช้วิธีหลั่งภายนอกใส่ภาชนะที่โรงพยาบาลจัดให้ แต่การเก็บอาจมีปริมาณน้อยหรือคุณภาพลดลงได้ นอกจากนี้ ควรนำส่งน้ำอสุจิไปยังห้องปฏิบัติการภายใน 1 ชั่วโมงหลังการเก็บ สรุป การตรวจวิเคราะห์น้ำอสุจิเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการเตรียมความพร้อมสำหรับการมีลูก โดยช่วยให้คู่รักสามารถวางแผนและหาทางออกในการมีบุตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ หากพบปัญหาใด ๆ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางแก้ไขและวางแผนการรักษาต่อไป นัดหมายแพทย์ คลิก https://doctor.bangkokhospitalchanthaburi.com/alldoctor.php