เกลื้อน(Tinea versicolor)

เกลื้อน(Tinea versicolor)

เกลื้อน เกิดจากเชื้อราที่พบได้ตามผิวหนังของเราอยู่แล้ว แต่ปกติเชื้อราชนิดนี้จะไม่ก่อโรคในคนทั่ว ๆ ไป แต่มักจะก่อโรคในคนที่มีเหงื่อออกมาก เพราะเหงื่อทำให้เชื้อรานี้เจริญงอกงามได้ดี คนที่ทำงานหรือมีกิจกรรมที่มีเหงื่อออกมากจึงมีโอกาสเป็นเกลื้อนมากกว่าคนอื่น ๆ เช่น นักกีฬา ชาวนา ชาวสวน เป็นต้น

อาการ

  • ผื่น โดยมักแยกเป็นดวง ๆ บางครั้งอาจต่อกันเป็นแถบขนาดใหญ่ เป็นสีขาว สีน้ำตาลจาง ๆ น้ำตาลแดง อาจเห็นเป็นรอยแต้ม ๆ ที่ผิวหนัง

  • เป็นสะเก็ดขาวเป็นขุย ๆ เมื่อเอาเล็บขูด

  • เมื่อเหงื่อออกอาจจะมีอาการคันได้

การรักษา

แพทย์จะพิจารณารักษาด้วยการให้ทายาต่อเนื่องอย่างน้อย 3-4 สัปดาห์เป็นหลัก ไม่ควรซื้อยาประเภทเสียรอยด์จากร้านขายยามาทาเอง เพราะอาจทำให้เกิดการลุกลามกว่าเดิมได้

การป้องกัน

  • สวมเครื่องแต่งกายที่ระบายอากาศได้ดี ลดการอับชื้นของเหงื่อ

  • อาบน้ำชำระล้างร่างกายอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง

สอบถามเพิ่มเติมที่ศูนย์ผิวพรรณและความงาม โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319835

บทความที่เกี่ยวข้อง

สังคัง

สังคัง

สังคัง สังคัง คือ เชื้อราที่เกิดขึ้นบริเวณขาหนีบ มักพบในคนที่มีเหงื่อออกมาก โดยเฉพาะคนอ้วน พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง อาการเริ่มต้นจะเป็นตุ่มแดง ๆ ที่ต้นขาหนีบ ลามเป็นวงที่ต้นขาและอวัยวะเพศภายนอก อาจลามไปถึงก้น ผื่นแดงเป็นสะเก็ดมีขอบชีดเจน มีอาการคัน บางคนเป็นมากจนมีผื่นลุกลามเป็นวงกว้างลักษณะคล้ายพระจันทร์ครึ่งซีกที่ขาหนีบ สอบถามเพิ่มเติมที่ศูนย์ผิวพรรณและความงาม โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319835

สิว (Acne)

สิว (Acne)

สิว (Acne) เมื่อเข้าวัยหนุ่มสาว หลาย ๆ ท่านจะพบกับปัญหาเรื่องสิว โดยเฉพาะบนใบหน้า ซึ่งส่งผลต่อความมั่นใจในตนเอง และทำให้เสียบุคลิกภาพ สิวไม่ได้มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรงแต่หากดูแลไม่เหมาะสมอาจทิ้งรอยแผลเป็นและร่องรอยลึกไว้บนใบหน้าในระยะยาวได้ สาเหตุ ระดับฮอร์ฮอโมนเทสโทสเทอโรน(ฮอร์โมนเพศชาย) กรรมพันธุ์ โดยมักพบว่าหากพ่อแม่เป็นสิว ลูกมักจะเป็นสิวด้วย สาเหตุที่กระตุ้นการเกิดสิว อื่น ๆ ได้แก่ ความเครียด ความวิตกกังวล พักผ่อนไม่เพียงพอ ระยะก่อนมีประจำเดือน ใช้ยาคุมกำเนิด การใช้เครื่องสำอางบางชนิด การทำความสะอาดผผิวหนังไม่เหมาะสม การดูแลรักษาหลังเกิดสิว เช็ดเครื่องสำอางให้สะอาด ล้างหน้าด้วยสบู่ที่อ่อนโยนและน้ำสะอาด ไม่ถูกระตุ้นแรง ๆ ไม่บีบเค้นและแกะสิว หรือกดสิวเอง หลีกเลี่ยงความเครียด ออกกำลังกายเป็นประจำ ควรพบแพทย์ผิวหนังเพื่อรับคำปรึกษาที่เหมาะสมและรักษาอย่างถูกวิธี ไม่ควรซื้อยาทา หรือยารับประทานเอง สอบถามเพิ่มเติมที่ศูนย์ผิวพรรณและความงาม โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319835

Ultraformer III กับ HIFU ทั่วไป

Ultraformer III กับ HIFU ทั่วไป

ขี้กลาก (Ring worm)

ขี้กลาก (Ring worm)

ขี้กลาก (Ring worm) กลาก เป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา โดยเชื้อมักเจริญอยู่ที่ผิวหนังชั้นนอกสุด รวมทั้งเส้นผมและเล็บ ติดต่อกันได้ง่ายจากการสัมผัสผู้ป่วยโดยตรง หรือใช้ของใช้ร่วมกัน บางครั้งอาจพบมาจากสัตว์เลี้ยงในบ้าน โดยกลากพบได้ทุกส่วนของร่างกาย แต่อาจจะมีชื่อเรียกต่างกันตามตำแหน่งที่พบ ได้แก่ กลากที่ลำตัว กลากที่ศีรษะ สังคัง ฮ่องกงฟุต โรคเชื้อราที่เล็บ ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงกลากที่ขึ้นตามตัวเป็นหลัก อาการ เป็นตุ่มแดง ๆ แล้วค่อย ๆ ลามออกไป มีลักษณะเป็นขอบนูนเล็กน้อย มีสีแดง เป็นวงขอบเขตชัดเจน มักมีตุ่มน้ำเล็ก ๆ หรือขุยขาว ๆ อยู่รอบ ๆ วง ผิวหนังที่อยู่ตรงกลางมักมีลักษณะปกติ มีอาการคันเล็กน้อย ถ้าเกามากและเล็บไม่สะอาดอาจทำให้ผิวหนังอักเสบหรือติดเชื้อได้ การรักษา ยาทา และยาชนิดรับประทาน ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์ การป้องกัน หลีกเลี่ยงการคลุกคลีกับผู้ที่เป็นโรคนี้ อาบน้ำฟอกสบู่อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และจำเป็นต้องเช็ดตัวให้แห้งก่อนสมเสื้อผ้า ระวังไม่ให้มีเหงื่ออับชื้น หลังทำกิจกรรมที่มีเหงื่อมากให้อาบน้ำชำระล้างร่างกายให้สะอาด ไม่ควรสวมชุดชั้นในที่แน่นเกินไป ไม่ควรใส่ถุงเท้าที่หนาและอับเกินไป และหมั่นดูแลซอกเท้าให้สะอาดอยู่เสมอ ด้วยการล้างและเช็ดให้สะอาด สอบถามเพิ่มเติมที่ศูนย์ผิวพรรณและความงาม โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319835

ฮ่องกงฟุต(เชื้อราที่เท้า)

ฮ่องกงฟุต(เชื้อราที่เท้า)

ฮ่องกงฟุต(เชื้อราที่เท้า) ฮ่องกงฟุต เป็นเชื้อราที่พบที่ง่ามนิ้วเท้า บางคนเรียกว่า น้ำกัดเท้า มักพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง จากการใส่ถุงเท้าที่อับชื้น หรือการเดินในที่เปียกหรือชื้นบ่อย ๆ โดยมักจะมีอาการคัน ง่ามนิ้วมีขุยขาว ๆ ยุ่ย ๆ ลอกเป็นแผ่น ๆ เป็นสะเก็ด หรือแตกเป็นร่อง มีกลิ่นเหม็น อาการอาจลุกลามไปที่ฝ่าเท้าและเล็บเท้าได้ บางรายอาจมีตุ่มน้ำพองใหญ่และคันมาก สอบถามเพิ่มเติมที่ศูนย์ผิวพรรณและความงาม โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319835

ฝ้า (Melasma/Chloasma)

ฝ้า (Melasma/Chloasma)

ฝ้า (Melasma/Chloasma) ฝ้า หรือรอยปื้นบนใบหน้าสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ มักเกิดบริเวณจากการสัมผัสกับแสงแดดมาก โดยเฉพาะบริเวณหน้าผาก โหนกแก้ม ดั้งจมูก เป็นต้น บางรายเกิดที่หัวนม รักแร้ ขาหนีบ หรืออวัยวะเพศร่วมด้วย เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย พบมากในหญิงตั้งครรภ์ นอกจากนี้ความเครียดหรือโดรคบางชนิดก็กระตุ้นการเกิดฝ้าเช่นกัน เช่น โรคเนื้องอกของรังไข่ โรคแอดดิสัน เป็นต้น การรักษา การรักษาฝ้าค่อนข้างมีรายละเอียดและใช้ยาที่มีทั้งข้อดีและข้อเสียมากหากใช้ผิดวิธี ดังนั้นเมื่อเป็นฝ้า ควรเข้ารับคำปรึกษาและรักษาโดยแพทย์ผิวหนังโดยตรง ไม่ซื้อยามารักษาเองเด็ดขาด ส่วนฝ้าฮอร์โมนที่เกิดช่วงตั้งครรภ์มักหายได้เอง การป้องกัน หลีกเลี่ยงแสงแดด หลีกเลี่ยงความเครียด สอบถามเพิ่มเติมที่ศูนย์ผิวพรรณและความงาม โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319835