ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน

ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน

โรคอ้วนเป็นอันตรายต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิต ผู้มีโรคอ้วนมีอายุขัยสั้นกว่าผู้ที่ไม่มีโรค งานวิจัยคาดการสูญเสียอายุขัยอยู่ที่ 5-10ปี ส่วนผู้อายุ60ปีขึ้นไปที่มีโรคอ้วน มีช่วงชีวิตที่ต้องอยู่อย่างกำจัดทางกายภาพมากกว่าผู้ไม่มีโรคอ้วนได้ถึง9.2ปี

นิยาม

ภาวะน้ำหนักเกิน คือ ภาวะที่ไขมันสะสมในร่างกายมากเกิน

โรคอ้วน คือ โรคเรื้อรังและซับซ้อนอันเกิดจากไขมันสะสมในร่างกายที่มากเกินและสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งร่างกายจิตใจและสังคม

การวินิจฉัย

การวินิจฉัยโรคอ้วนที่แน่นอน คือ การวัดปริมาณไขมันในร่างกายว่ามีมากน้อยเพียงใด แต่การวัดปริมาณไขมันในร่างกายนี้ต้องใช้เครื่องมือพิเศษและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในทางปฏิบัติจึงใช้หรือดัชนีมวลกายและเส้นรอบเอวเพื่อการวินิจฉัยโรคอ้วน

ในผู้ใหญ่

ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน คือ ดัชนีมวลกาย 23-24.9 กิโลกรัม/ตารางเมตร

ผู้ที่มีโรคอ้วน คือ ดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับ 25 กิโลกรัม/ตารางเมตร หรือ รอบเอวมากกว่า 90 เซนติเมตรในผู้ชาย รอบเอวมากกว่า 80 เซนติเมตรในผู้หญิง

ในเด็กและวัยรุ่น

ผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน คือ ดัชนีมวลกายเป็นเปอร์เซ็นไทล์ที่ 85 ถึง 95

ผู้ที่มีโรคอ้วน คือ ดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่ากับเปอร์เซ็นไทล์ที่ 95

หมายเหตุ

ดัชนีมวลกาย คำนวนโดยน้ำหนักเป็นกิโลกรัม หารด้วยส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง หน่วยเป็นกิโลกรัม/ตารางเมตร

ตำแหน่งที่วัดเส้นรอบเอว คือ จุดกึ่งกลางระหว่างขอบล่างของกระดูกซี่โครงและขอบบนของกระดูกเชิงกราน

Reference

  1. Tareque MI, Saito Y, Chan A, Visaria A, Ma S, Malhotra R. Years of life with and without limitation in physical function and in activities of daily living by body mass index among older adults. Int J Obes (Lond). 2019;43(11):2244-2253. doi:10.1038/s41366-019-0370-8
  2. Lung T, Jan S, Tan EJ, Killedar A, Hayes A. Impact of overweight, obesity and severe obesity on life expectancy of Australian adults. Int J Obes (Lond). 2019;43(4):782-789. doi:10.1038/s41366-018-0210-2
  3. Tham KW, Abdul Ghani R, Cua SC, et al. Obesity in South and Southeast Asia-A new consensus on care and management. Obes Rev. 2023;24(2):e13520. doi:10.1111/obr.13520

บทความที่เกี่ยวข้อง

สาเหตุของภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน

สาเหตุของภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน

สาเหตุของภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนเกิดจากความไม่สมดุลของพลังงานในร่างกาย โดยพลังงานที่ได้รับจากการรับประทานอาหารในแต่ละวันมากกว่าพลังงานที่ใช้ ซึ่งความไม่สมดุลนี้เองทำให้ร่างกายสะสมพลังงานส่วนเกินในรูปไขมัน ดังนั้นปริมาณอาหาร ลักษณะอาหารที่รับประทาน รวมไปถึงกิจวัตรประจำวัน การออกกำลังกาย การพักผ่อนที่ไม่เหมาะสมล้วนเป็นปัจจัยที่มีผลต่อน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นได้ ปัจจัยเสี่ยงของภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น การรับประทานอาหารปริมาณมากกว่าพลังงานที่ใช้ในแต่ละวัน และการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง การเคลื่อนไหวร่างกายน้อย ผู้ที่ไม่เคลื่อนไหวร่างกายหรือมีกิจกรรมทางกายที่น้อยเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นเกิดโรคอ้วน โรค โรคอ้วนอาจเกิดจากความผิดปกติทางกายต่างๆ เช่น ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) ความผิดปกติของฮอร์โมน โรคเนื้องอกต่อมใต้สมอง เป็นต้น ยา การรับประทานยาบางชนิดมีผลให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เช่น ยารักษากลุ่มอาการทางจิตเวช ยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ ยาคุมกำเนิด ยาลดความดันโลหิตกลุ่มเบต้าบล็อคเกอร์และยาเบาหวานบางชนิด ปัจจัยทางพันธุกรรม ความผิดปกติของยีนที่ควบคุมความหิวและสมดุลพลังงานรวมถึงโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมก่อให้เกิดโรคอ้วนได้ การพักผ่อนไม่เพียงพอ เวลาในการนอนและคุณภาพการนอนที่ไม่เพียงพอเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน ความเครียด ความเครียดส่งผลต่อสมองและสมดุลของฮอร์โมน ทำให้มีการรับประทานอาหารและสะสมไขมันในร่างกายมากขึ้น ภาวะแทรกซ้อนของโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง โรคทางเดินอาหารและตับ โรคมะเร็งบางชนิด ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ โรคเข่าเสื่อมและโรคเก๊าท์ ความผิดปกติของฮอร์โมนเพศและสมรรถภาพทางเพศ ปัญหาสุขภาพจิต หากสงสัยว่ามีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนหรือมีปัจจัยเสี่ยงควรปรึกษาแพทย์เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น Reference Garvey WT, Mechanick JI, Brett EM, Garber AJ, Hurley DL, Jastreboff AM, Nadolsky K, Pessah-Pollack R, Plodkowski R; Reviewers of the AACE/ACE Obesity Clinical Practice Guidelines. AMERICAN ASSOCIATION OF CLINICAL ENDOCRINOLOGISTS AND AMERICAN COLLEGE OF ENDOCRINOLOGY COMPREHENSIVE CLINICAL PRACTICE GUIDELINES FOR MEDICAL CARE OF PATIENTS WITH OBESITY. Endocr Pract. 2016 Jul;22 Suppl 3:1-203. Ansari S, Haboubi H, Haboubi N. Adult obesity complications: challenges and clinical impact. Ther Adv Endocrinol Metab. 2020 Jun 22;11:2042018820934955.  Erika Aparecida Silveira, Carolina Rodrigues Mendonça, Felipe Mendes Delpino, Guilherme Vinícius Elias Souza, Lorena Pereira de Souza Rosa, Cesar de Oliveira, Matias Noll, Sedentary behavior, physical inactivity, abdominal obesity and obesity in adults and older adults: A systematic review and meta-analysis, Clinical Nutrition ESPEN, Volume 50, 2022, Pages 63-73. Tirthani E, Said MS, Rehman A. Genetics and Obesity. [Updated 2023 Jul 31]. In: StatPearls [Internet]. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2024 Jan-. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK573068/ Beccuti G, Pannain S. Sleep and obesity. Curr Opin Clin Nutr Metab Care. 2011 Jul;14(4):402-12. Centers for Disease Control and Prevention. National diabetes statistics report 2020: estimates of diabetes and its burden in the United States. U.S. Department of Health and Human Services; 2020.

การลดน้ำหนักสําเร็จในระยะยาว

การลดน้ำหนักสําเร็จในระยะยาว

การลดน้ำหนักสําเร็จในระยะยาว การลดน้ำหนักที่ประสบความสําเร็จในระยะยาวเป็นสิ่งสําคัญและเป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ การป้องกันน้ำหนักกลับคืนหลังจากการลดน้ำหนัก ยังคงเป็นความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดในการรักษาโรคอ้วน การปรับพฤติกรรมที่รวมถึงอาหารและการออกกําลังกายอาจประสิทธิภาพดีในระยะสั้น แต่บุคคลส่วนใหญ่ประสบกับปัญหาน้ำหนักเพิ่มหรือกลับมาเท่าเดิมในระยะยาว ดังนั้นจึงจําเป็นต้องมีความเข้าใจปัจจัยที่ช่วยให้ลดน้ำหนักสำเร็จในระยะยาวเพื่อให้เข้าถึงวิธีแก้ปัญหาและกลยุทธ์สําหรับการควบคุมน้ำหนักตลอดชีวิต จากงานวิจัยพบว่าผู้ที่ลดน้ำหนักสำเร็จในระยะยาวมักมีกลยุทธ์ทางความคิดและพฤติกรรมเป็นดังต่อไปนี้ การเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม: โดยมากผู้ที่ลดน้ำหนักสำเร็จในระยะยาวบริโภคผักและอาหารที่มีเส้นใยสูงและรับประทานอาหารเช้าเป็นประจำ ที่พบรองลงมาคือ บริโภคอาหารที่มีโปรตีนสูง เช่น ไข่ ไก่ เนื้อ ปลา เป็นประจำ การชดเชยพลังงานโดยเพิ่มพลังงานขาออก: ผู้ที่ลดน้ำหนักสำเร็จระยะยาวมีการเคลื่อนไหวทางร่างกายในชีวิตประจำวันมากขึ้น รวมถึงมีการออกกำลังกายเป็นประจำ การสืบค้นและหาความรู้ด้วยตนเอง: พบว่ามากกว่า70%ของ ผู้ที่ลดน้ำหนักสำเร็จในระยะยาวมีการหาข้อมูลเกี่ยวกับการควบคุมอาหารอย่างมีสติ เช่น อ่านฉลากก่อนเลือกบริโภค อ่านหนังสือหรือบทความเกี่ยวกับการควบคุมอาหารและการออกกําลังกาย การวางแผนล่วงหน้า: เพื่อให้เข้าถึงอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพได้ง่าย การวางแผนมื้ออาหารเป็นสิ่งสำคัญ โดยตรวจสอบเมนูและตัวเลือกอาหารเพื่อวางแผนว่าจะรับประทานอะไรล่วงหน้า มีการเตรียมให้มีอาหารเพื่อสุขภาพอยู่ที่บ้านเสมอ เช่น ผักและผลไม้ รวมถึงลดอาหารไขมันสูงในบ้าน โดยมากผู้ที่ลดน้ำหนักสำเร็จในระยะยาวมักทำอาหารทานเอง เพือเป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับส่วนผสมและเตรียมส่วนผสมที่เหมาะสมเพื่อให้เป็นไปตามแผน สร้างข้อจํากัด: พบว่า93%ของผู้ที่ลดน้ำหนักสำเร็จในระยะยาวมีการบริโภคอาหารบางประเภทแบบมีขีดจํากัดเช่น การจำกัดการบริโภคแอลกอออล์ นอกจากนี้ยังมีการลดอาหารหวาน ลดอาหารที่มีไขมัน ลดไขมันในมื้ออาหาร/ขนม/เครื่องปรุงรส การแทนที่แหล่งอาหารพลังงานสูงด้วยตัวเลือกอาหารที่พลังงานน้อยกว่า และการจำกัดการทานด้วยการลดขนาดส่วนอาหาร (Reduce portion sizes) สร้างเป้าหมายและมีแผนการชัดเจน: เป้าหมายที่ชัดเจนเฉพาะบุคคลและมีการปรับเปลี่ยนอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งสำคัญ เป้าหมายที่กำหนดด้วยตนเองและจำเพาะต่อบุคคลมีความสำคัญมากกว่าเป้าหมายที่กำหนดจากภายนอก อย่างไรก็ดีการตั้งเป้าหมายที่เป็นไปได้ควรมีการแนะนำจากบุคคลหรือแหล่งข้อมูลภายนอก ตัวอย่างเป้าหมายที่ชัดเจน เช่น มีตารางการออกกำลังกายเป็นประจำหรือมีแผนซ้อมเพื่อแข่งขันกีฬา ส่วนการรับประทานอาหารมีการตั้งเป้าหมายการบริโภคอาหารโดยรวมไปจนถึงเจาะจงหมวดหมู่และเวลาอาหาร ประมาณ80%ของกลุ่มผู้ที่ลดน้ำหนักสำเร็จในระยะยาว ไม่ทานอาหารพร่ำเพรื่อแต่จะกำหนดความถี่ในการรับประทานอาหารเป็นเวลาชัดเจน ติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่อง: สิ่งนี้แบ่งออกเป็นการติดตามด้วยตนเองและการติดตามจากภายนอก เครื่องมือติดตามที่ชัดเจนสำหรับการลดน้ำหนักเป็นสิ่งที่ทำให้ผู้ลดน้ำหนักดำเนินการตามแผน ตระหนักรู้ รับผิดชอบ มีพฤติกรรมที่ส่งเสริมต่อการลดน้ำหนักและลดพฤติกรรมที่ทำให้น้ำหนักขึ้้น เครื่องมือที่ช่วยในการติดตามตนเองมีหลากหลาย เช่น แอปพลิเคชั่นติดตามแคลอรี่ ไดอารี่อาหาร เครื่องชั่งตวงอาหาร การควบคุมแคลอรี่และสัดส่วนอาหารทั้งสองช่วยบอกว่ารับประทานอาหารไปเท่าไรและรักษาสมดุลพลังงานหลังจากรับประทานอาหารมากเกินไป มากกว่า70%ของผู้ที่ประสบความสำเร็จในการลดน้ำหนักระยะยาวมีการชั่งน้ำหนักด้วยตนเองเป็นประจำ ส่วนการติดตามจากภายนอกได้แก่ กลุ่มบุคคลที่สนับสนุนการลดน้ำหนัก เช่น เพื่อนร่วมลดน้ำหนัก นักโภชนาการ นักวิทยาศาสตร์กีฬา แพทย์ ร่วมไปถึงการบริการออนไลน์ ซึ่งผู้ประสบความสำเร็จในการลดน้ำหนักมักมีทีมที่สามารถไว้วางใจและพึ่งพาได้ ให้การติดตามและคำแนะนำ แรงบันดาลใจ: เพราะการลดน้ำหนักมีความซับซ้อนและไม่ใช่เรื่องง่าย การมีแรงบันดาลใจจึงเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวที่สำคัญ สิ่งที่เป็นแรงบันดาลใจเกิดได้ทั้งจากภายในและภายนอก จากภายในได้แก่ สุขภาพของตนเอง คุณภาพชีวิตโดยรวมและสมรรถภาพทางกาย ไปจนถึงปรับปรุงหรือป้องกันโรคที่เกี่ยวข้องกับน้ำหนักเกิน มีภาคภูมิใจในตนเอง มีโอกาสทางสังคมที่ดีขึ้นรวมถึงความสัมพันธ์ส่วนตัวและการทำงาน ผู้ลดน้ำหนักสำเร็จบางรายมีแรงผลักดันเพื่อ "การค้นพบสิ่งใหม่" พบคุณค่าในตนเองและการเปลี่ยนอัตลักษณ์ไปสู่บุคคลใหม่แห่งการลดน้ำหนักได้สำเร็จ ส่วนแรงบันดาลใจจากภายนอกได้แก่ ทีมสนับสนุนที่ทำให้รู้สึกถึงการเป็นส่วนหนึ่งของทีม เป็นแรงผลักดันให้พวกเขาอยู่ในเส้นทางการลดน้ำหนักต่อไปจนสำเร็จและได้รับการยอมรับ เช่น กลายเป็นที่ปรึกษาให้กับคนอื่นๆ ที่พยายามลดน้ำหนักต่อไป สิ่งเหล่านี้เป็นกลยุทธ์ที่สามารถนำมาใช้ในการควบคุมน้ำหนักตลอดชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน หากนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันก็จะช่วยในการรักษาน้ำหนักที่เหมาะสมและสุขภาพที่ดีในระยะยาว อ้างอิง 1. Paixão C, Dias CM, Jorge R, et al. Successful weight loss maintenance: A systematic review of weight control registries. Obes Rev. 2020;21(5):e13003. doi:10.1111/obr.13003 2. Spreckley M, Seidell J, Halberstadt J. Perspectives into the experience of successful, substantial long-term weight-loss maintenance: a systematic review. Int J Qual Stud Health Well-being. 2021;16(1):1862481. doi:10.1080/17482631.2020.1862481

ฝังเข็มลดน้ำหนักได้จริงหรือไม่

ฝังเข็มลดน้ำหนักได้จริงหรือไม่

Q : ฝังเข็ม ลดความอ้วนได้จริงหรือ? A: มีโอกาสเป็นไปได้ จากผลการศึกษาพบว่า การฝังเข็มมีผลต่อกลไกการทำงาน ของระบบฮอร์โมนในร่างกาย ซึ่งองค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้ใช้ในการรักษาได้ ฝังเข็มลดน้ำหนัก โดย พจ.ภทรพรรณ วงศ์ทางประเสริฐ แพทย์แผนจีน การฝังเข็มทุกครั้งควรกระทำโดยแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทาง ด้วยอุปกรณ์ที่สะอาด ปลอดเชื้อ ในสถานที่ผ่านการรับรองมาตรฐานเท่านั้น Call Center : 039 319 888 ฉุกเฉิน 1719 นัดหมายแพทย์ออนไลน์ได้ที่ https://doctor.bangkokhospitalchanthaburi.com/alldoctor.php ช้อปออนไลน์คลิก https://bangkokhospitalchanthaburi.com/shop ทำแบบประเมินความเสี่ยงสุขภาพ คลิก https://bangkokhospitalchanthaburi.com/Includes... #แพ็กเกจลดน้ำหนัก #WeightCareClinic #โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี #คลินิกควบคุมน้ำหนัก

บอกลาความอ้วน ด้วย package Weight Care

บอกลาความอ้วน ด้วย package Weight Care

ปลายปีนี้ หุ่นต้องปัง! สุขภาพต้องเป๊ะ! บอกลาความอ้วน ด้วย package Weight Care แพ็กเกจลดน้ำหนัก รวม 5 รายการ ราคาโปรโมชั่น 4,900 บาท (จากปกติ 7,000 บาท) พบแพทย์เพื่อวางแผนลดน้ำหนักเฉพาะบุคคล โดย พญ.เมษญา ชาติกุล (หมอเมย์) แพทย์ประจำคลินิกควบคุมน้ำหนัก M.D., MSc. Obesity and Clinical Nutrition ฝังเข็มโปรแกรมลดน้ำหนัก โดย พจ.ภทรพรรณ วงศ์ทางประเสริฐ (หมอกิ๊ฟ) แพทย์แผนจีน ออกแบบการปรับเปลี่ยนอาหารเฉพาะบุคคล (Medical Nutrition Therapy) โดยนักกำหนดอาหาร ออกแบบการออกกำลังกายเฉพาะบุคคล โดยนักวิทยาศาสตร์การกีฬา วัดมวลกล้ามเนื้อและไขมัน ด้วยเครื่อง Body Composition Analyzer Call Center : 039 319 888 ฉุกเฉิน 1719 ช้อปออนไลน์คลิก https://bangkokhospitalchanthaburi.com/shop ทำแบบประเมินความเสี่ยงสุขภาพ คลิก https://bangkokhospitalchanthaburi.com/Includes...

6 กลยุทธ์สู่ความสําเร็จในการลดน้ำหนัก

6 กลยุทธ์สู่ความสําเร็จในการลดน้ำหนัก

6 กลยุทธ์สู่ความสําเร็จในการลดน้ำหนัก ปัจจุบันข้อมูลเกี่ยวกับการลดความอ้วน ลดน้ำหนัก นั้นมีอยู่มากมายตามอินเตอร์เน็ต ซึ่งบางอย่างก็มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์รองรับ แต่บางอย่างก็ไม่มี ซึ่งอาจนำไปสู่การลดน้ำหนักที่ผิดวิธีได้ หลายรายการโปรแกรมลดน้ำหนักโฆษณาว่าจะลดน้ำหนักได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย อย่างไรก็ตามรากฐานของการลดน้ำหนักที่ประสบความสําเร็จยังคงเป็นการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพในปริมาณแคลอรี่ที่เหมาะสมร่วมกับการออกกําลังกายเพิ่มขึ้น การลดน้ำหนักที่ประสบความสําเร็จในระยะยาวอาศัยการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและพฤติกรรมสุขภาพอย่างถาวร เราจะทําการเปลี่ยนแปลงตัวเองได้อย่างไร? พิจารณาตามกลยุทธ์ทั้งหกนี้เพื่อความสําเร็จในการลดน้ำหนักอย่างถาวร 1. ตรวจสอบความพร้อม การลดน้ำหนักต้องใช้เวลา ความพยายาม และความมุ่งมั่นในระยะยาว เพื่อไม่ให้มีการเลื่อนการลดน้ำหนักออกไปอย่างไม่มีกําหนด เราควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการกินและกิจวัตรประจำวันอย่างถาวรหรือยัง ลองถามตัวเองด้วยคําถามต่อไปนี้เพื่อช่วยบอกความพร้อมของคุณ ฉันมีแรงจูงใจที่จะลดน้ําหนักหรือไม่? ฉันฟุ้งซ่านเกินไปจากแรงกดดันอื่น ๆ หรือไม่? ฉันใช้อาหารเป็นเครื่องมือในการรับมือกับความเครียดหรือไม่? ฉันพร้อมที่จะเรียนรู้หรือใช้กลยุทธ์อื่น ๆ เพื่อรับมือกับความเครียดหรือยัง? ฉันต้องการการสนับสนุนอื่น ๆ ไม่ว่าจะจากเพื่อนหรือมืออาชีพเพื่อจัดการกับความเครียดหรือไม่? ฉันเต็มใจที่จะเปลี่ยนนิสัยการกินหรือไม่? ฉันเต็มใจที่จะเปลี่ยนกิจกรรมที่เป็นความเคยชินหรือไม่? ฉันมีเวลาที่จะใช้ในการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้หรือไม่? คุณสามารถปรึกษาแพทย์หากต้องการความช่วยเหลือในการจัดการกับความเครียดหรืออารมณ์ที่ดูเหมือนเป็นอุปสรรคต่อความพร้อม เมื่อมีความพร้อมจะพบว่ามันง่ายขึ้นในการตั้งเป้าหมายมุ่งมั่นและเปลี่ยนนิสัย 2. ค้นหาแรงจูงใจภายในของคุณ คนสำคัญที่จะทำให้คุณลดน้ำหนักสำเร็จได้คือตัวคุณเอง ไม่มีใครสามารถบังคับให้คุณลดน้ำหนักได้หากคุณปราศจากแรงจูงใจ คุณต้องเปลี่ยนแปลงอาหารและออกกําลังกายเพื่อตอบสนองความต้องการของตัวเอง แล้วอะไรจะทําให้คุณมีแรงผลักดันในการทําตามแผนการลดน้ำหนักของคุณ? ทํารายการสิ่งที่สําคัญของตัวเองที่ทำให้มีแรงจูงใจและมุ่งมั่น อาจจะเป็นกิจกรรมวันหยุดยาวที่กําลังจะมาถึงหรือสุขภาพโดยรวมที่ดีขึ้น จากนั้นหาวิธีเพื่อให้สามารถเรียกปัจจัยสร้างแรงบันดาลใจในช่วงเวลาที่อ่อนไหว เช่นแปะข้อความให้กําลังใจตัวเองที่ประตูตู้กับข้าวหรือตู้เย็น เป็นต้น ในขณะที่คุณต้องรับผิดชอบต่อพฤติกรรมของตัวเองเพื่อการลดน้ำหนักที่ประสบความสําเร็จ ผู้สนับสนุนที่เหมาะสมก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน ควรเลือกคนที่จะสนับสนุนคุณ ให้กําลังใจคุณในทางบวกโดยไม่ทำให้รู้สึกเสียความมั่นใจหรือกดดันมากเกินไป เลือกคนที่สามารถรับฟังข้อกังวลและความรู้สึกของคุณ ใช้เวลาออกกําลังกายกับคุณหรือสร้างเมนูเพื่อสุขภาพและแบ่งปันแผนการที่วางไว้ในการพัฒนาวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดีขึ้น ผู้สนับสนุนที่ดียังสามารถเป็นแรงจูงใจที่แข็งแกร่งในการยึดมั่นให้ถึงเป้าหมายการลดน้ำหนักได้ หากคุณต้องการเก็บแผนการลดน้ำหนักไว้เป็นส่วนตัว ให้รับผิดชอบต่อตัวเองด้วยการชั่งน้ำหนักเป็นประจํา บันทึกความคืบหน้าในการรับประทานอาหารและการออกกําลังกายลงในสมุดบันทึก หรือติดตามความคืบหน้าโดยใช้เครื่องมือดิจิทัล 3. ตั้งเป้าหมายที่เป็นจริง การกําหนดเป้าหมายการลดน้ำหนักที่สมจริงอาจดูเหมือนชัดเจน แต่คุณรู้หรือไม่ว่าอะไรเป็นจริงในระยะยาว? ผู้ที่ฉลาดในการลดน้ำหนักมักตั้งเป้าที่ 0.5 ถึง 1 กิโลกรัมต่อสัปดาห์ โดยทั่วไปในการลดน้ำหนักเท่านี้คุณต้องเผาผลาญแคลอรี่มากกว่าที่คุณบริโภคในแต่ละวัน 500 ถึง 1,000 แคลอรี่ โดยการรับประทานอาหารที่มีแคลอรีต่ำและการออกกําลังกายหรือเพิ่มกิจกรรมประจําวัน หรืออาจตั้งเป้าหมายที่หกเดือน อย่างการลดน้ำหนัก 5% ของน้ำหนักปัจจุบันของคุณเป็นเป้าหมายเริ่มต้นที่สามารถทำได้จริง เช่นถ้าคุณหนัก 82 กิโลกรัม นั่นคือลด 4 กิโลกรัม การลดน้ำหนักในระดับนี้สามารถช่วยลดความเสี่ยงของปัญหาสุขภาพเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและเบาหวานชนิดที่ 2 ได้ เมื่อคุณตั้งเป้าหมาย ให้นึกถึงทั้งเป้าหมายกระบวนการและผลลัพธ์ "เดินทุกวันเป็นเวลา 30 นาที" เป็นตัวอย่างของเป้าหมายกระบวนการ "ลดน้ำหนัก 5 กิโลกรัม " เป็นตัวอย่างของเป้าหมายผลลัพธ์ ไม่จําเป็นว่าคุณจะต้องมีเป้าหมายผลลัพธ์ แต่คุณควรกําหนดเป้าหมายกระบวนการเพราะการเปลี่ยนนิสัยของคุณเป็นกุญแจสําคัญในการลดน้ำหนัก 4. เพลิดเพลินกับอาหารเพื่อสุขภาพ การนํารูปแบบการกินใหม่ที่ส่งเสริมการลดน้ำหนักมาใช้จะต้องรวมถึงการลดปริมาณแคลอรี่ทั้งหมดของคุณ แต่การลดแคลอรี่ไม่จําเป็นต้องหมายถึงการละทิ้งรสชาติความพึงพอใจหรือแม้แต่ความสะดวกในการเตรียมอาหาร วิธีหนึ่งที่คุณสามารถลดปริมาณแคลอรี่ได้คือการรับประทานอาหารจากพืชมากขึ้น เช่น ผลไม้ ผัก และธัญพืชไม่ขัดสี มุ่งมั่นเพื่อความหลากหลายเพื่อช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายโดยไม่ละทิ้งรสชาติหรือโภชนาการ เริ่มต้นการลดน้ำหนักด้วยเคล็ดลับเหล่านี้: รับประทานผักอย่างน้อยสี่หน่วยบริโภคและผลไม้สามหน่วยบริโภคต่อวัน แทนที่ธัญพืชขัดสีด้วยธัญพืชไม่ขัดสี ใช้ไขมันที่ดีต่อสุขภาพในปริมาณที่พอเหมาะ เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันพืช อะโวคาโด ถั่ว เนยถั่ว และน้ำมันถั่ว ลดน้ำตาลให้มากที่สุด ยกเว้นน้ำตาลธรรมชาติในผลไม้ เลือกผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำและเนื้อไม่ติดมันและสัตว์ปีกในปริมาณที่จํากัด 5. ตื่นตัว กระฉับกระเฉง แม้ว่าคุณจะสามารถลดน้ำหนักได้โดยไม่ต้องออกกําลังกาย แต่ต้องทำควบคู่กันทั้งการออกกําลังกายเป็นประจําและการจํากัดแคลอรี่ การออกกําลังกายสามารถช่วยเผาผลาญแคลอรีส่วนเกินที่คุณไม่สามารถลดการรับประทานอาหารเพียงอย่างเดียวได้ การออกกําลังกายยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย รวมถึงการเพิ่มความสดชื่น เสริมสร้างระบบหัวใจและหลอดเลือด และลดความดันโลหิต การออกกําลังกายยังสามารถช่วยในการควบคุมน้ำหนัก งานวิจัยพบว่าผู้ที่ลดน้ำหนักได้ในระยะยาวมีการออกกําลังกายเป็นประจํา จํานวนแคลอรี่ที่เผาผลาญขึ้นอยู่กับความถี่ ระยะเวลาและความเข้มข้นของกิจกรรมออกกำลังกาย วิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการลดไขมันในร่างกายคือการออกกําลังกายแบบแอโรบิกอย่างต่อเนื่อง เช่น การเดินเร็ว เป็นเวลาอย่างน้อย 30 นาทีเกือบทุกวันในสัปดาห์ บางคนอาจต้องการ การออกกําลังกายมากกว่านี้เพื่อลดน้ำหนักและคงน้ำหนักนั้นในระยะยาว การเคลื่อนไหวที่มากขึ้นกว่าปกติทุกรูปแบบจะช่วยเผาผลาญแคลอรี่ได้ ลองนึกถึงวิธีที่คุณสามารถเพิ่มการเผาผลาญแคลอรี่ได้หากคุณไม่สามารถออกกําลังกายอย่างเป็นแบบแผนในวันที่กําหนดได้ ตัวอย่างเช่น เดินขึ้นลงบันไดหลายครั้งแทนที่จะใช้ลิฟต์ หรือจอดรถที่ปลายสุดของลานเมื่อซื้อของ 6. เปลี่ยนมุมมองของคุณ การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพและออกกําลังกายเพียงไม่กี่สัปดาห์หรือหลายเดือนไม่เพียงพอหากคุณต้องการควบคุมน้ำหนักในระยะยาวและประสบความสําเร็จ นิสัยเหล่านี้จะต้องกลายเป็นวิถีชีวิต การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตเริ่มต้นด้วยการดูรูปแบบการกินและกิจวัตรประจําวันของคุณอย่างตรงไปตรงมา หลังจากประเมินอุปสรรค์ความท้าทายส่วนตัวในการลดน้ำหนักแล้ว ให้ลองหากลยุทธ์เพื่อค่อยๆ เปลี่ยนนิสัยและทัศนคติที่บั่นทอนความพยายามในอดีตของคุณ จากนั้นก้าวข้ามผ่านด้วยการรับรู้ถึงอุปสรรค์ความท้าทายของคุณ และวางแผนว่าจะจัดการกับมันอย่างไร คุณมีแนวโน้มที่จะมีความพ่ายแพ้เป็นครั้งคราว แต่แทนที่จะหมดหวังขอให้คุณเริ่มต้นใหม่ จําไว้ว่าคุณกําลังวางแผนที่จะเปลี่ยนชีวิตของคุณ มันจะไม่สำเร็จทั้งหมดในคราวเดียว ยึดมั่นกับวิถีชีวิตที่มีสุขภาพดีของคุณและผลลัพธ์จะคุ้มค่า ที่มา Mayo Clinic. Weight loss: 6 strategies for success. Mayo Clinic. Available from: https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/weight-loss/in-depth/weight-loss/art-20047752. Accessed May 18, 2024.

Hospital Logo

ติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่

บริการให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง