สาเหตุของภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน
ภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนเกิดจากความไม่สมดุลของพลังงานในร่างกาย โดยพลังงานที่ได้รับจากการรับประทานอาหารในแต่ละวันมากกว่าพลังงานที่ใช้ ซึ่งความไม่สมดุลนี้เองทำให้ร่างกายสะสมพลังงานส่วนเกินในรูปไขมัน ดังนั้นปริมาณอาหาร ลักษณะอาหารที่รับประทาน รวมไปถึงกิจวัตรประจำวัน การออกกำลังกาย การพักผ่อนที่ไม่เหมาะสมล้วนเป็นปัจจัยที่มีผลต่อน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นได้
ปัจจัยเสี่ยงของภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วน
-
พฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ เช่น การรับประทานอาหารปริมาณมากกว่าพลังงานที่ใช้ในแต่ละวัน และการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง
-
การเคลื่อนไหวร่างกายน้อย ผู้ที่ไม่เคลื่อนไหวร่างกายหรือมีกิจกรรมทางกายที่น้อยเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นเกิดโรคอ้วน
-
โรค โรคอ้วนอาจเกิดจากความผิดปกติทางกายต่างๆ เช่น ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS) ความผิดปกติของฮอร์โมน โรคเนื้องอกต่อมใต้สมอง เป็นต้น
-
ยา การรับประทานยาบางชนิดมีผลให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เช่น ยารักษากลุ่มอาการทางจิตเวช ยาที่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์ ยาคุมกำเนิด ยาลดความดันโลหิตกลุ่มเบต้าบล็อคเกอร์และยาเบาหวานบางชนิด
-
ปัจจัยทางพันธุกรรม ความผิดปกติของยีนที่ควบคุมความหิวและสมดุลพลังงานรวมถึงโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมก่อให้เกิดโรคอ้วนได้
-
การพักผ่อนไม่เพียงพอ เวลาในการนอนและคุณภาพการนอนที่ไม่เพียงพอเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอ้วน
-
ความเครียด ความเครียดส่งผลต่อสมองและสมดุลของฮอร์โมน ทำให้มีการรับประทานอาหารและสะสมไขมันในร่างกายมากขึ้น
ภาวะแทรกซ้อนของโรคอ้วน
-
โรคเบาหวาน
-
โรคความดันโลหิตสูง
-
โรคหัวใจและหลอดเลือดสมอง
-
โรคทางเดินอาหารและตับ
-
โรคมะเร็งบางชนิด
-
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
-
โรคเข่าเสื่อมและโรคเกาท์
-
ความผิดปกติของฮอร์โมนเพศและสมรรถภาพทางเพศ
-
ปัญหาสุขภาพจิต
หากสงสัยว่ามีภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนหรือมีปัจจัยเสี่ยงควรปรึกษาแพทย์เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น
Reference
-
Garvey WT, Mechanick JI, Brett EM, Garber AJ, Hurley DL, Jastreboff AM, Nadolsky K, Pessah-Pollack R, Plodkowski R; Reviewers of the AACE/ACE Obesity Clinical Practice Guidelines. AMERICAN ASSOCIATION OF CLINICAL ENDOCRINOLOGISTS AND AMERICAN COLLEGE OF ENDOCRINOLOGY COMPREHENSIVE CLINICAL PRACTICE GUIDELINES FOR MEDICAL CARE OF PATIENTS WITH OBESITY. Endocr Pract. 2016 Jul;22 Suppl 3:1-203.
-
Ansari S, Haboubi H, Haboubi N. Adult obesity complications: challenges and clinical impact. Ther Adv Endocrinol Metab. 2020 Jun 22;11:2042018820934955.
-
Erika Aparecida Silveira, Carolina Rodrigues Mendonça, Felipe Mendes Delpino, Guilherme Vinícius Elias Souza, Lorena Pereira de Souza Rosa, Cesar de Oliveira, Matias Noll, Sedentary behavior, physical inactivity, abdominal obesity and obesity in adults and older adults: A systematic review and meta-analysis, Clinical Nutrition ESPEN, Volume 50, 2022, Pages 63-73.
-
Tirthani E, Said MS, Rehman A. Genetics and Obesity. [Updated 2023 Jul 31]. In: StatPearls [Internet]. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing; 2024 Jan-. Available from: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK573068/
-
Beccuti G, Pannain S. Sleep and obesity. Curr Opin Clin Nutr Metab Care. 2011 Jul;14(4):402-12.
-
Centers for Disease Control and Prevention. National diabetes statistics report 2020: estimates of diabetes and its burden in the United States. U.S. Department of Health and Human Services; 2020.