เรื่องชวนสงสัยของคนอยากมีลูก
ช่วงอายุกับการมีลูก
ความเครียดและผลกระทบต่อการมีบุตร
การฝากไข่และแช่แข็งน้ำเชื้อ
โอกาสแท้งเมื่อมีการตั้งครรภ์
การจัดการกับการมีบุตรยาก
ความเสี่ยงในการมีบุตรในอายุมาก
การวางแผนครอบครัว
บทความที่เกี่ยวข้อง
-(02-10-2024)-(10-15-40).png)
การตรวจสาเหตุภาวะมีบุตรยาก
ปัญหาการมีลูกยากเป็นเรื่องที่หลายคู่รักต้องเผชิญ และมีข้อมูลระบุว่าอย่างน้อย 25% ของคู่สมรสที่มีบุตรยากมักมีมากกว่าหนึ่งปัจจัยที่เป็นสาเหตุ ซึ่งทำให้การตรวจประเมินปัจจัยทั้งหมดจากทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงเป็นสิ่งสำคัญมาก เพื่อให้แพทย์สามารถหาสาเหตุและเสนอแนวทางการรักษาที่เหมาะสมได้ ขั้นตอนการประเมิน เริ่มต้นด้วยการซักถามประวัติทางการแพทย์เป็นขั้นตอนสำคัญที่แพทย์จะทำ โดยจะสอบถามข้อมูลที่เกี่ยวข้องดังนี้: ความถี่และความสม่ำเสมอของรอบประจำเดือน: เพื่อประเมินปัญหาการตกไข่ อาการปวดท้องระหว่างมีประจำเดือน: อาจบ่งชี้ถึงปัญหาสุขภาพในระบบสืบพันธุ์ ประวัติเลือดออกผิดปกติทางช่องคลอดหรือการติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน: อาจมีผลต่อความสามารถในการตั้งครรภ์ ประวัติการตั้งครรภ์และการแท้งบุตรก่อนหน้านี้: เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติการเจริญเติบโตของครรภ์ วิธีการคุมกำเนิดที่ผ่านมา: อาจมีผลต่อการตั้งครรภ์ในอนาคต สำหรับฝ่ายชาย หากมีประวัติเกี่ยวกับการบาดเจ็บหรือการผ่าตัดที่อวัยวะเพศ หรือเคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น หนองในหรือซิฟิลิส อาจส่งผลต่อคุณภาพของเชื้ออสุจิได้ นอกจากนี้ ข้อมูลเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ เช่น ความถี่ในการมีเพศสัมพันธ์ ความเจ็บปวดขณะมีเพศสัมพันธ์ หรือปัญหาเกี่ยวกับการแข็งตัวของอวัยวะเพศ ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่อาจขัดขวางการตั้งครรภ์โดยธรรมชาติ การเตรียมความพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ นอกจากการพูดคุยซักประวัติและวางแผนการตรวจหาสาเหตุแล้ว แพทย์ยังให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์ที่มีสุขภาพดีในอนาคต เช่น: การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ การรับประทานวิตามินเพื่อเตรียมพร้อมก่อนการตั้งครรภ์ การหลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์และสารเสพติด การให้ความรู้เกี่ยวกับการตรวจคัดกรองโรคทางพันธุกรรม ทางเลือกในการรักษา สำหรับคู่รักที่ประสบกับภาวะมีบุตรยาก ไม่ต้องกังวลใจ เพราะปัจจุบันมีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าหลายวิธีที่จะช่วยเพิ่มโอกาสในการมีลูก เช่น: การฉีดเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก (IUI) การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) การทำอิ๊กซี่ (ICSI) การตรวจหาความผิดปกติทางพันธุกรรมระยะก่อนฝังตัว (PGT-A และ PGT-M) ที่ ศูนย์รักษาผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลกรุงเทพ มีแพทย์ที่มีความชำนาญและทีมสหาสาขาวิชาชีพที่มากด้วยประสบการณ์ พร้อมให้การดูแลในทุกขั้นตอน ด้วยมาตรฐานระดับสากล เพื่อให้คู่รักมีโอกาสที่ดีที่สุดในการตั้งครรภ์ และเติมเต็มครอบครัวให้สมบูรณ์อย่างที่หวังไว้. นัดหมายและปรึกษาแพทย์ได้ที่ https://doctor.bangkokhospitalchanthaburi.com/alldoctor.php สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888
-(02-10-2024)-(09-26-41).png)
5 สาเหตุ ที่ทำให้มีบุตรยาก
จากการศึกษาพบว่าอย่างน้อย 15% ของคู่สมรสมีปัญหาในการตั้งครรภ์ ซึ่งหมายความว่ามีหลายคู่ที่ประสบปัญหาเดียวกัน นอกจากนี้ยังมีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อความสามารถในการมีบุตร เช่น อายุ, สุขภาพ, สภาพแวดล้อม และปัจจัยทางพันธุกรรม การมีบุตรไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของสุขภาพ แต่ยังเกี่ยวข้องกับความรู้สึกและความสุขในชีวิตคู่ ดังนั้นการเข้าใจและยอมรับปัญหานี้จะทำให้คู่รักสามารถเดินหน้าต่อไปด้วยความหวังและแผนการที่ชัดเจนในการสร้างครอบครัวในอนาคต การเริ่มต้นด้วยการปรึกษาแพทย์ไม่เพียงแต่จะช่วยประเมินสาเหตุของปัญหาได้อย่างรวดเร็ว แต่ยังช่วยลดความวิตกกังวล และช่วยให้คู่รักมีข้อมูลและแนวทางในการรักษาที่ชัดเจนมากขึ้น ในหลายกรณี การวินิจฉัยแต่เนิ่นๆ สามารถนำไปสู่การรักษาที่มีประสิทธิภาพและเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ในอนาคต โดยสาเหตุของภาวะมีบุตรยากแบ่งออกเป็น 5 สาเหตุหลัก ดังนี้ ปัญหาการตกไข่ (Ovulation Factor): เกิดจากการที่ผู้หญิงมีปัญหาในการตกไข่ ซึ่งอาจตรวจสอบได้ด้วยชุดทดสอบที่ตรวจระดับฮอร์โมน LH ในปัสสาวะหรืออัลตราซาวนด์ ตรวจพบว่าผู้หญิงที่มีอายุมากจะมีจำนวนและคุณภาพไข่ลดลง ทำให้การตั้งครรภ์ยากขึ้น ปัญหาท่อนำไข่ (Tubal Factor): ท่อนำไข่มีบทบาทสำคัญในการปฏิสนธิ หากท่อนำไข่ตีบตัน จะทำให้ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ โดยอาจตรวจสอบได้จากการเอกซเรย์หรือการผ่าตัดผ่านกล้อง ปัญหาอสุจิ (Male Factor): ประมาณ 40% ของปัญหาภาวะมีบุตรยากเกิดจากคุณภาพของอสุจิ ซึ่งสามารถตรวจได้จากการวิเคราะห์น้ำเชื้อ หากพบความผิดปกติ อาจต้องตรวจหาสาเหตุเพิ่มเติม ปัญหาที่มดลูกและปากมดลูก (Uterine / Cervical Factor): สาเหตุจากมดลูกที่ผิดปกติ เช่น เนื้องอกหรือติ่งเนื้อ ที่อาจรบกวนการฝังตัวของตัวอ่อน ซึ่งต้องทำการตรวจเพิ่มเติมเช่น อัลตราซาวนด์หรือการส่องกล้อง ปัญหาเยื่อบุภายในช่องท้อง (Peritoneal Factor): อาการอักเสบในช่องท้อง เช่น เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ อาจทำให้เกิดพังผืดหรือแผลเป็น การวินิจฉัยต้องทำการผ่าตัดผ่านกล้อง นอกจากนี้ยังมี ภาวะมีบุตรยากแบบไม่มีสาเหตุ (Unexplained Infertility) ซึ่งประมาณ 10% ของคู่สมรสที่มีบุตรยากไม่พบความผิดปกติชัดเจน แพทย์มักแนะนำให้ลองรักษาด้วยการฉีดน้ำเชื้อเข้าโพรงมดลูก (IUI) หรือเด็กหลอดแก้วต่อไป การทำความเข้าใจและตรวจสอบสาเหตุเหล่านี้เป็นขั้นตอนสำคัญในการวางแผนการรักษาภาวะมีบุตรยาก. นัดหมายและปรึกษาแพทย์ได้ที่ https://doctor.bangkokhospitalchanthaburi.com/alldoctor.php สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888
-(09-01-2023)-(13-56-25).png)
ภาวะมีบุตรยาก : INFERTILITY
ภาวะมีบุตรยาก : INFERTILITY ภาวะมีบุตรยาก คือ ภาวะของคู่สมรสที่แต่งงานกันเป็นระยะเวลา 1 ปี โดยมีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมออาทิตย์ละ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ แล้วยังไม่เกิดการตั้งครรภ์ สาเหตุของการมีบุตรยาก เเบ่งออกเป็น 3 สาเหตุหลัก ดังนี้ ไม่มีการตกไข่ ท่อนำไข่อุดตันหรือมีพังผืดในอุ้งเชิงกราน เชื้ออสุจิของฝ่ายชายอ่อน (ตรวจนับด้วยคอมพิวเตอร์) การรักษาสามารถแบ่งออกเป็น 3 วิธี ดังนี้ การรักษาโดยการผ่าตัด การรักษาโดยการใช้ยา การรักษาด้วยเทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ เทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ เป็นเทคโนโลยีที่นำมาใช้แก้ปัญหาการมีบุตรยาก โดยทางโรงพยาบาลกรุงเทพ จันทบุรี มีคลีนิกให้คำปรึกษาและรักษาภาวะการมีบุตรยาก โดยเเพทย์ผู้ชำนาญการสาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา อนุสาขาเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ผ่าตัดส่องกล้องทางนรีเวช สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกมีบุตรยาก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888
-(03-10-2024)-(17-02-49).png)
การนับวันตกไข่
การนับวันตกไข่เป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับผู้หญิงที่ต้องการวางแผนตั้งครรภ์ เนื่องจากการตกไข่เกิดขึ้นเพียงเดือนละครั้ง การรู้วันตกไข่จะช่วยกำหนดเวลามีเพศสัมพันธ์ที่มีโอกาสตั้งครรภ์สูงสุด การตกไข่ในผู้หญิง จำนวนไข่: ผู้หญิงแต่ละคนมีไข่ประมาณ 1 ล้านใบตั้งแต่เกิด เมื่อเข้าสู่วัยรุ่น ไข่จะลดเหลือประมาณ 400-500 ฟองที่สามารถทำให้ตั้งครรภ์ได้ กระบวนการตกไข่: ในแต่ละเดือน รังไข่จะคัดเลือกไข่หนึ่งใบที่สมบูรณ์ที่สุดในช่วงกลางรอบเดือน (วันที่ 14) ซึ่งจะหลุดออกมาจากถุงรังไข่และรอการปฏิสนธิ วิธีนับวันตกไข่ การนับวันด้วยตนเอง: สำหรับรอบเดือนที่สม่ำเสมอ (28 วัน) ให้เริ่มนับจากวันที่ประจำเดือนมา วันตกไข่จะอยู่ที่วันที่ 14 ควรมีเพศสัมพันธ์ประมาณ 1-2 วันก่อนวันตกไข่ การใช้ชุดตรวจการตกไข่: ชุดตรวจใช้ปัสสาวะเพื่อคาดการณ์วันตกไข่ได้แม่นยำ เหมาะสำหรับผู้ที่มีรอบเดือนไม่สม่ำเสมอ สัญญาณของการตกไข่ มูกที่ปากมดลูก: เปลี่ยนเป็นลักษณะเหนียวและยืดหยุ่น อารมณ์ทางเพศเพิ่มขึ้น: มีความรู้สึกทางเพศมากขึ้น อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น: ประมาณ 0.5 องศาเซลเซียส ตำแหน่งปากมดลูก: ย้ายขึ้นและนุ่มขึ้น เจ็บคัดเต้านม: อาจมีอาการเจ็บที่เต้านม ผลึกน้ำลาย: มีลักษณะเป็นรูปใบเฟิร์นเมื่อทดสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์ ปวดท้องน้อยข้างเดียว: อาจเกิดขึ้นในระหว่างการตกไข่ สรุป การนับวันตกไข่ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ แต่ไม่รับประกันว่าจะตั้งครรภ์ได้ 100% เนื่องจากมีปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลต่อการตกไข่ หากคุณมีปัญหามีบุตรยาก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและแนวทางการรักษาที่เหมาะสม. สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่แผนกส่งเสริมสุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888
-(16-03-2023)-(16-52-08).png)
10 พฤติกรรมเสี่ยงมีลูกยาก
10 พฤติกรรมเสี่ยงมีลูกยาก 10 พฤติกรรมมีลูกยาก รู้ก่อนวางแผนมีบุตร ลดโอกาสแท้ง-ดาวน์ซินโดรมในเด็ก จริงอยู่ที่ตอนนี้สาวยุคใหม่ หลายคนยังไม่คิดที่จะแต่งงานหรือมีลูก แต่ในอนาคตเมื่อความพร้อมถึงขีดสุด คุณอาจจะอยากมีเจ้าตัวเล็กเอาไว้เป็นยาใจ และครอบครัวที่สมบูรณ์พร้อมก็ได้ แล้วรู้หรือไม่มีหลากหลายพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของเราเลยทีเดียวที่หากทำบ่อยๆ สะสมมากๆ อาจส่งผลกระทบมาถึงภาวะการมีลูกยากได้ 10 พฤติกรรมควรเลี่ยงเสี่ยงมีลูกยาก ดื่มแอลกอฮอล์มากไป ผลให้โอกาสในการมีลูกลดลงถึง 50% เลยทีเดียว หากเปรียบเทียบให้เห็นภาพก็คือไม่ควรดื่มเกินวันละ 1 ดริ๊งค์ หรือเทียบเท่ากับไวน์ 120 มิลลิลิตร สูบบุหรี่เป็นประจำ การสูบบุหรี่มากกว่าวันละ 10 มวน ส่งผลให้มีลูกยากได้กว่าผู้หญิงทั่วไปถึง 3 เท่า เพราะในบุหรี่มีสารพิษมากมายที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แถมยังมีส่วนช่วยลดประสิทธิภาพของมดลูกที่เป็นที่ฝังของตัวอ่อนอีกด้วย ใครที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์ หรืออยากมีลูกควรหลีกเลี่ยง นอกจากนี้แล้วบุหรี่ยังทำให้สาวๆ ถึงวัยหมดประจำเดือน (วัยทอง) เร็วกว่าปกติถึง 2 ปี และทำให้กระดูกผุหรือเปราะเร็วขึ้นอีกด้วย อายุที่เพิ่มขึ้น อายุที่มากขึ้นฮอร์โมนและความเปลี่ยนแปลงก็มากขึ้นตามไปด้วย สาวๆ ที่อายุ30ขึ้นไปโอกาสในการมีลูกก็จะลดน้อยลงไปด้วย อีกทั้งอายุที่มากขึ้นอาจ เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาลูกในท้องผิดปกติสูง ดาวน์ซินโดรม โรคตับโต ม้ามโต โรคปากแหว่งเพดานโหว่ได้ ความเครียด นอกจากจะส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตใจแล้ว ยังกระทบมาถึงการมีลูกยากอีกด้วย เพราะฮอร์โมนจากความเครียดจะรบกวนการทำงานของฮอร์โมนในระบบสืบพันธุ์ ส่งผลให้เกิดภาวะไม่ตกไข่ทำให้ไข่เจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ อีกทั้งยังทำให้ไข่ที่ปฏิสนธิแล้วฝังตัวที่มดลูกได้ยากขึ้นอีกด้วย กินอาหารไม่มีประโยชน์ การกินอาหารแบบแบบเดิมซ้ำๆ เมนูเดิมๆ ทุกวัน โดยเฉพาะถ้าเป็นอาหารที่ไม่มีประโยชน์ด้วยแล้วล่ะก็ นานวันเข้าจะส่งผลให้สารอาหารเข้าไปเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอ และมีผลต่อภาวะการมีบุตรยากด้วยนะ ควรเลือกรับประทานอาหารที่หลากหลายอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะผักและผลไม้ ต้องทานเป็นประจำ น้ำหนักตัวเกิน ใครจะไปรู้ว่าน้ำหนักตัวจะส่งผลต่อการมีลูกได้ น้ำหนักขึ้นๆ ลงๆ หรือน้ำหนักมากหรือน้อยเกินไปจะทำให้ร่างกายปรับตัวเพื่อเตรียมพร้อมต่อการมีลูกได้ยากขึ้น และยังส่งผลให้ความสามารถในการเจริญพันธุ์ลดลง แถมยังเสี่ยงต่อการแท้งง่ายอีกด้วย มีการศึกษาพบว่า ผู้หญิงที่มีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน ต้องใช้เวลาในการตั้งท้องนานเป็น 4 เท่า ในขณะที่ผู้หญิงที่มีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ใช้เวลา 2 เท่าเมื่อเทียบกับผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวปกติ ดื่มกาแฟเกินวันละ 2 แก้ว การที่ร่างกายได้รับคาเฟอีนประมาณ 300 มิลลิกรัมต่อวันหรือเทียบเท่ากับกาแฟชงเอง 3 ถ้วย เพราะส่งผลให้เกิดความเสี่ยงที่จะมีลูกได้ยากขึ้น เนื่องจากคาเฟอีนที่อยู่ในกาแฟจะส่งผลให้การตั้งครรภ์นั้นชะลอลง ซึ่งส่งผลให้โอกาสการมีลูกลดน้อยลงถึง 26% เลยทีเดียว ดื่มน้ำอัดลม จริงอยู่ที่ดื่มแล้วชื่นใจ แต่น้ำอัดลมไม่ได้ให้ประโยชน์หรือสารอาหารใดๆ กับร่างกาย แถมมีน้ำตาลสูงและทำให้เกิดภาวะอ้วน จึงไม่แปลกเลยที่ถ้าหากเรากินเข้าไปเยอะๆ จะทำให้โอกาสมีน้องน้อยลง ไม่ออกกำลังกาย อยากเริ่มต้นการมีสุขภาพที่ดีก็ต้องเริ่มจากการออกกำลังกาย ถ้าสุขภาพไม่แข็งแรงโอกาสที่จะมีลูกก็ลดน้องลงไปด้วย เพราะการออกกำลังกายนอกจากจะช่วยเผาผลาญไขมันในร่างกายแล้ว ยังกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ซึ่งการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยกระตุ้นการเจริญพันธุ์ การทำงานของหัวใจและระดับพลังงานได้อย่างดีเยี่ยม ร่างกายได้รับสารเคมีต่างๆ มากเกินไป ทั้งสารเคมีจากเครื่องสำอาง จากการสูดดม หรือการทานอาหารที่ปนเปื้อนสารเคมี สารโลหะหนักอย่างตะกั่ว และสารเคมีต่างๆ ที่สะสมในร่างกายจะส่งผลต่อการทำงานของรังไข่ทำให้เซลล์สืบพันธุ์ทำงานผิดปกติ ไม่น่าเชื่อเลยใช่ไหมว่าพฤติกรรมในแต่ละวันของเราจะส่งผลต่อการมีบุตรยากได้ ดังนั้นการเตรียมความพร้อมให้กับร่างกาย เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการมีลูกคงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ทั้งนี้หากต้องการวางแผนมีลูก สามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้เพื่อคัดกรองสุขภาพ และ รับคำแนะนำมาปรับใช้เพิ่มโอกาสการมีลูกที่แข็งแรง ทั้งร่างกายและสุขภาพจิตนะคะ ขอขอบคุณข้อมูลจาก : BDMD สถานีสุขภาพ
-(04-10-2024)-(16-53-43).png)
ฝากไข่ แช่แข็งอสุจิ วางแผนมีลูกเมื่อพร้อม
การมีลูกในเวลาที่พร้อมคือความฝันของพ่อแม่หลายคน หลายครั้งคู่แต่งงานไม่ต้องการมีลูกทันที หรืออาจแต่งงานในช่วงอายุมาก หรือมีปัญหาสุขภาพที่ต้องดูแล การฝากไข่และแช่แข็งอสุจิจึงเป็นทางเลือกที่ช่วยสร้างครอบครัวตามเวลาที่ต้องการ อายุส่งผลต่อโอกาสมีลูก อายุเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ โดยทั่วไปแล้วผู้หญิงที่อายุน้อยกว่า 30 ปีมักไม่ประสบปัญหาการตั้งครรภ์ แต่เมื่ออายุเกิน 35 ปี การทำงานของรังไข่จะลดลง คุณภาพและปริมาณของไข่ก็จะลดตามไปด้วย ส่งผลให้การตั้งครรภ์ยากขึ้น สำหรับผู้ชายอายุไม่ได้มีผลชัดเจนต่อคุณภาพของอสุจิ โอกาสตั้งครรภ์อยู่ที่ 30% ต่อเดือน หากไม่มีการตั้งครรภ์ภายใน 1 ปี ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง ตรวจ AMH เพื่อเช็กคุณภาพไข่ การตรวจฮอร์โมน AMH (Anti-Mullerian Hormone) ช่วยประเมินคุณภาพไข่และการทำงานของรังไข่ได้ การตรวจนี้สามารถทำได้ง่ายเพียงเจาะเลือด โดยไม่ต้องงดน้ำหรืออาหาร ค่าของ AMH จะช่วยคาดการณ์การตอบสนองของรังไข่เมื่อฉีดยากระตุ้นไข่ ฝากไข่เพื่อเพิ่มโอกาสมีลูก การฝากไข่เป็นวิธีที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะสำหรับผู้หญิงที่ต้องได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด การฝากไข่จะมีขั้นตอนที่ซับซ้อนกว่าแช่แข็งอสุจิ เริ่มจากการปรึกษาแพทย์ ตรวจเลือด ตรวจฮอร์โมน และตรวจคัดกรองโรค ก่อนจะทำการกระตุ้นไข่และเก็บไข่เพื่อแช่แข็ง การฉีดยากระตุ้นไข่ด้วยตนเอง ปัจจุบันผู้หญิงสามารถฉีดยากระตุ้นไข่ได้ด้วยตนเอง โดยระยะเวลาในการฉีดอยู่ที่ 9-12 วัน และต้องมีการตรวจสอบการเจริญเติบโตของไข่ด้วยการอัลตราซาวนด์ หลังจากนั้นจึงจะเก็บไข่ในหัตถการขนาดเล็กที่ใช้เวลาประมาณ 30 นาที แช่แข็งอสุจิสำหรับผู้ชาย การแช่แข็งอสุจิเป็นทางเลือกสำหรับผู้ชายที่ต้องการมีลูกในอนาคต โดยเฉพาะผู้ที่ต้องรักษาด้วยเคมีบำบัด วิธีการไม่ซับซ้อน ต้องทำการตรวจสุขภาพและเก็บน้ำเชื้อเพื่อเข้าสู่กระบวนการแช่แข็ง อายุการฝากไข่และแช่แข็งอสุจิ แม้ว่าจะไม่มีตัวเลขชัดเจนเกี่ยวกับอายุการเก็บไข่และอสุจิ แต่แพทย์แนะนำให้ใช้ภายใน 5 ปีแรกหลังการแช่แข็ง เพราะหลังจากนั้นอาจมีความเสี่ยงที่คุณภาพจะลดลง การสังเกตภาวะมีบุตรยากในผู้หญิง ผู้หญิงสามารถสังเกตภาวะมีบุตรยากจากการติดตามรอบประจำเดือน หากขาดหายไป 3-4 เดือน หรือรอบเดือนยาวผิดปกติ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจสอบ สรุป ไม่ว่าจะเลือกแต่งงานเมื่อใด แนะนำให้มีลูกตามธรรมชาติ โดยมีเพศสัมพันธ์เฉลี่ยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง หากอายุต่ำกว่า 35 ปีควรใช้เวลา 1 ปีแรกหลังแต่งงาน หากอายุมากกว่า 35 ปีควรพยายามไม่เกิน 6 เดือน หากยังไม่สำเร็จควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีบุตรยากเพื่อวางแผนการมีลูกตามที่ตั้งใจ นัดหมายแพทย์ คลิก https://doctor.bangkokhospitalchanthaburi.com/alldoctor.php สอบถามเพิ่มเติมติดต่อคลินิกผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888