การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) กับ การทำอิ๊กซี่ (ICSI)

ปัจจุบันการทำเด็กหลอดแก้วเป็นอีก 1 ทางเลือกของคู่รักที่ต้องการมีบุตร เนื่องจากปัญหาภาวะมีบุตรยากที่เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น ความผิดปกติของไข่หรืออสุจิ ความไม่สมดุลของฮอร์โมน อายุที่เพิ่มขึ้น หรือปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่ส่งผลต่อการตั้งครรภ์ ทำให้ต้องหาวิธีการช่วยเพิ่มโอกาสในการมีบุตร เมื่อเทคโนโลยีการช่วยเจริญพันธุ์อื่นใช้ไม่ได้ผลการทำเด็กหลอดแก้วนับเป็นทางเลือกที่ถูกนึกถึง แต่บ่อยครั้งที่มักจะสับสนระหว่างการทำเด็กหลอดแก้วไอวีเอฟ (IVF) กับการทำอิ๊กซี่ (ICSI) ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรีจึงสรุปมาให้เข้าใจง่ายมากขึ้น

1. การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF)

  • กระบวนการ:

    • นำไข่และอสุจิมาผสมกันนอกตัวในห้องปฏิบัติการ อสุจิจะเข้าไปเจาะไข่เอง ซึ่งคล้ายกับการปฏิสนธิในธรรมชาติ

    • เริ่มจากการตรวจความพร้อมของผู้หญิงในวันที่ 2-3 ของรอบเดือน และฉีดยากระตุ้นไข่ประมาณ 8-14 วัน

    • เมื่อได้ไข่ตามที่ต้องการ จะฉีดยากระตุ้นไข่ตกและเก็บไข่

    • อสุจิที่เก็บจากผู้ชายจะนำมาผสมกับไข่ในห้องปฏิบัติการ

    • ตัวอ่อนที่เกิดขึ้นจะถูกย้ายไปยังโพรงมดลูกหลังจาก 3-5 วัน

2. การทำอิ๊กซี่ (ICSI)

  • กระบวนการ:

    • เหมาะสำหรับผู้ชายที่มีปัญหาอสุจิไม่สามารถเจาะไข่ได้

    • ใช้เข็มฉีดอสุจิที่แข็งแรงที่สุดเข้าไปในเซลล์ไข่โดยตรง

    • เริ่มต้นคล้ายกับ IVF โดยการฉีดยากระตุ้นไข่ และเก็บไข่ด้วยการเจาะ

    • ตัวอ่อนที่เกิดขึ้นจะถูกย้ายไปยังโพรงมดลูกหลังจากเติบโตในห้องปฏิบัติการ

ข้อแตกต่างหลัก

  • IVF: อสุจิจะผสมกับไข่เองในจานเพาะเลี้ยง

  • ICSI: อสุจิถูกฉีดเข้าไปในไข่โดยตรง

ปรึกษาและนัดหมายแพทย์ คลิก https://doctor.bangkokhospitalchanthaburi.com/alldoctor.php

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร 039-319888

บทความที่เกี่ยวข้อง

10 พฤติกรรมเสี่ยงมีลูกยาก

10 พฤติกรรมเสี่ยงมีลูกยาก

10 พฤติกรรมเสี่ยงมีลูกยาก 10 พฤติกรรมมีลูกยาก รู้ก่อนวางแผนมีบุตร ลดโอกาสแท้ง-ดาวน์ซินโดรมในเด็ก จริงอยู่ที่ตอนนี้สาวยุคใหม่ หลายคนยังไม่คิดที่จะแต่งงานหรือมีลูก แต่ในอนาคตเมื่อความพร้อมถึงขีดสุด คุณอาจจะอยากมีเจ้าตัวเล็กเอาไว้เป็นยาใจ และครอบครัวที่สมบูรณ์พร้อมก็ได้ แล้วรู้หรือไม่มีหลากหลายพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของเราเลยทีเดียวที่หากทำบ่อยๆ สะสมมากๆ อาจส่งผลกระทบมาถึงภาวะการมีลูกยากได้ 10 พฤติกรรมควรเลี่ยงเสี่ยงมีลูกยาก ดื่มแอลกอฮอล์มากไป ผลให้โอกาสในการมีลูกลดลงถึง 50% เลยทีเดียว หากเปรียบเทียบให้เห็นภาพก็คือไม่ควรดื่มเกินวันละ 1 ดริ๊งค์ หรือเทียบเท่ากับไวน์ 120 มิลลิลิตร สูบบุหรี่เป็นประจำ การสูบบุหรี่มากกว่าวันละ 10 มวน ส่งผลให้มีลูกยากได้กว่าผู้หญิงทั่วไปถึง 3 เท่า เพราะในบุหรี่มีสารพิษมากมายที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แถมยังมีส่วนช่วยลดประสิทธิภาพของมดลูกที่เป็นที่ฝังของตัวอ่อนอีกด้วย ใครที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์ หรืออยากมีลูกควรหลีกเลี่ยง นอกจากนี้แล้วบุหรี่ยังทำให้สาวๆ ถึงวัยหมดประจำเดือน (วัยทอง) เร็วกว่าปกติถึง 2 ปี และทำให้กระดูกผุหรือเปราะเร็วขึ้นอีกด้วย อายุที่เพิ่มขึ้น อายุที่มากขึ้นฮอร์โมนและความเปลี่ยนแปลงก็มากขึ้นตามไปด้วย สาวๆ ที่อายุ30ขึ้นไปโอกาสในการมีลูกก็จะลดน้อยลงไปด้วย อีกทั้งอายุที่มากขึ้นอาจ เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาลูกในท้องผิดปกติสูง ดาวน์ซินโดรม โรคตับโต ม้ามโต โรคปากแหว่งเพดานโหว่ได้ ความเครียด นอกจากจะส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตใจแล้ว ยังกระทบมาถึงการมีลูกยากอีกด้วย เพราะฮอร์โมนจากความเครียดจะรบกวนการทำงานของฮอร์โมนในระบบสืบพันธุ์ ส่งผลให้เกิดภาวะไม่ตกไข่ทำให้ไข่เจริญเติบโตไม่สมบูรณ์ อีกทั้งยังทำให้ไข่ที่ปฏิสนธิแล้วฝังตัวที่มดลูกได้ยากขึ้นอีกด้วย กินอาหารไม่มีประโยชน์ การกินอาหารแบบแบบเดิมซ้ำๆ เมนูเดิมๆ ทุกวัน โดยเฉพาะถ้าเป็นอาหารที่ไม่มีประโยชน์ด้วยแล้วล่ะก็ นานวันเข้าจะส่งผลให้สารอาหารเข้าไปเลี้ยงร่างกายไม่เพียงพอ และมีผลต่อภาวะการมีบุตรยากด้วยนะ ควรเลือกรับประทานอาหารที่หลากหลายอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะผักและผลไม้ ต้องทานเป็นประจำ น้ำหนักตัวเกิน ใครจะไปรู้ว่าน้ำหนักตัวจะส่งผลต่อการมีลูกได้ น้ำหนักขึ้นๆ ลงๆ หรือน้ำหนักมากหรือน้อยเกินไปจะทำให้ร่างกายปรับตัวเพื่อเตรียมพร้อมต่อการมีลูกได้ยากขึ้น และยังส่งผลให้ความสามารถในการเจริญพันธุ์ลดลง แถมยังเสี่ยงต่อการแท้งง่ายอีกด้วย มีการศึกษาพบว่า ผู้หญิงที่มีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน ต้องใช้เวลาในการตั้งท้องนานเป็น 4 เท่า ในขณะที่ผู้หญิงที่มีน้ำหนักมากกว่าเกณฑ์ใช้เวลา 2 เท่าเมื่อเทียบกับผู้หญิงที่มีน้ำหนักตัวปกติ ดื่มกาแฟเกินวันละ 2 แก้ว การที่ร่างกายได้รับคาเฟอีนประมาณ 300 มิลลิกรัมต่อวันหรือเทียบเท่ากับกาแฟชงเอง 3 ถ้วย เพราะส่งผลให้เกิดความเสี่ยงที่จะมีลูกได้ยากขึ้น เนื่องจากคาเฟอีนที่อยู่ในกาแฟจะส่งผลให้การตั้งครรภ์นั้นชะลอลง ซึ่งส่งผลให้โอกาสการมีลูกลดน้อยลงถึง 26% เลยทีเดียว ดื่มน้ำอัดลม จริงอยู่ที่ดื่มแล้วชื่นใจ แต่น้ำอัดลมไม่ได้ให้ประโยชน์หรือสารอาหารใดๆ กับร่างกาย แถมมีน้ำตาลสูงและทำให้เกิดภาวะอ้วน จึงไม่แปลกเลยที่ถ้าหากเรากินเข้าไปเยอะๆ จะทำให้โอกาสมีน้องน้อยลง ไม่ออกกำลังกาย อยากเริ่มต้นการมีสุขภาพที่ดีก็ต้องเริ่มจากการออกกำลังกาย ถ้าสุขภาพไม่แข็งแรงโอกาสที่จะมีลูกก็ลดน้องลงไปด้วย เพราะการออกกำลังกายนอกจากจะช่วยเผาผลาญไขมันในร่างกายแล้ว ยังกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ซึ่งการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอจะช่วยกระตุ้นการเจริญพันธุ์ การทำงานของหัวใจและระดับพลังงานได้อย่างดีเยี่ยม ร่างกายได้รับสารเคมีต่างๆ มากเกินไป ทั้งสารเคมีจากเครื่องสำอาง จากการสูดดม หรือการทานอาหารที่ปนเปื้อนสารเคมี สารโลหะหนักอย่างตะกั่ว และสารเคมีต่างๆ ที่สะสมในร่างกายจะส่งผลต่อการทำงานของรังไข่ทำให้เซลล์สืบพันธุ์ทำงานผิดปกติ ไม่น่าเชื่อเลยใช่ไหมว่าพฤติกรรมในแต่ละวันของเราจะส่งผลต่อการมีบุตรยากได้ ดังนั้นการเตรียมความพร้อมให้กับร่างกาย เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการมีลูกคงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ทั้งนี้หากต้องการวางแผนมีลูก สามารถปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้เพื่อคัดกรองสุขภาพ และ รับคำแนะนำมาปรับใช้เพิ่มโอกาสการมีลูกที่แข็งแรง ทั้งร่างกายและสุขภาพจิตนะคะ ขอขอบคุณข้อมูลจาก : BDMD สถานีสุขภาพ

เทคโนโลยีช่วยการมีบุตร

เทคโนโลยีช่วยการมีบุตร

การมีลูกยากเป็นปัญหาที่หลายคู่รักต้องเผชิญ และโชคดีที่ปัจจุบันมีหลายวิธีในการช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ ซึ่งแพทย์จะพิจารณาร่วมกับคู่สามีภรรยาตามความเหมาะสมในแต่ละคู่ ซึ่งเทคโนโลยีที่นิยมและได้รับการยอมรับ ได้แก่ 1.การคัดเชื้อเพื่อฉีดเข้าโพรงมดลูก (IUI) IUI เป็นวิธีการที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ โดยในกระบวนการนี้จะเก็บน้ำเชื้อจากฝ่ายชายในช่วงวันตกไข่ของฝ่ายหญิง น้ำเชื้อจะถูกคัดแยกและเพาะเลี้ยงในน้ำยาเฉพาะ เพื่อแยกอสุจิที่มีคุณภาพและแข็งแรงที่สุด ก่อนที่จะนำไปฉีดเข้าโพรงมดลูกโดยตรง วิธีนี้ช่วยให้เชื้ออสุจิสามารถเข้าถึงไข่ได้อย่างรวดเร็วและมีโอกาสปฏิสนธิมากขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องมีการผ่าตัดหรือการดมยาสลบ 2.เด็กหลอดแก้ว (IVF) ในกรณีที่ IUI อาจไม่เพียงพอ วิธีการทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) จะเป็นทางเลือกที่ยอดเยี่ยม โดยวิธีนี้เริ่มต้นด้วยการกระตุ้นรังไข่ให้ผลิตไข่ที่แข็งแรงจำนวนมาก จากนั้นจะทำการเก็บไข่โดยการเจาะผ่านช่องคลอด ซึ่งเป็นกระบวนการที่ไม่ต้องใช้ยาสลบและไม่ต้องเจาะหน้าท้อง หลังจากนั้น อสุจิจากฝ่ายชายจะถูกนำมาผสมกับไข่ในห้องปฏิบัติการ และจะมีการเลี้ยงตัวอ่อนจนแบ่งตัวเป็นระยะ 4–8 เซลล์ หรือจนถึงระยะบลาสโตซีสต์ (Blastocyst) ที่มีความพร้อมในการฝังตัวในโพรงมดลูก วิธีนี้ให้อัตราการตั้งครรภ์ที่สูงมากและเป็นที่นิยมในหมู่คู่รักที่ต้องการสร้างครอบครัว 3.การฉีดเชื้ออสุจิเข้าไปในไข่ (ICSI) สำหรับคู่รักที่มีปัญหาทางอสุจิ เช่น มีจำนวนอสุจิน้อยมากจนไม่สามารถปฏิสนธิไข่ได้ หรือไม่มีอสุจิในน้ำเชื้อเลย แต่ยังมีการผลิตอสุจิในอัณฑะ วิธี Intracytoplasmic Sperm Injection (ICSI) จะเป็นวิธีที่เหมาะสม โดยใช้เข็มแก้วเล็ก ๆ เพื่อฉีดอสุจิเพียงหนึ่งตัวเข้าไปในเซลล์ไข่ หลังจากที่อสุจิเข้าไปในไข่แล้ว จะมีการเลี้ยงตัวอ่อนจนเติบโตและมีความพร้อมที่จะนำกลับไปใส่ในโพรงมดลูก ซึ่งวิธีนี้ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์อย่างมากสำหรับคู่รักที่ประสบปัญหาเกี่ยวกับคุณภาพอสุจิ สรุป การเลือกวิธีการรักษาภาวะมีบุตรยากนั้นขึ้นอยู่กับสาเหตุและความพร้อมของคู่รักแต่ละคู่ IUI, IVF และ ICSI ต่างมีประสิทธิภาพในแบบของตัวเอง ซึ่งทำให้สามารถช่วยให้คู่รักสามารถสร้างครอบครัวได้ตามที่หวังไว้ ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าในปัจจุบัน การมีลูกจึงไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้อีกต่อไป นัดหมายและปรึกษาแพทย์ได้ที่ https://doctor.bangkokhospitalchanthaburi.com/alldoctor.php สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คลินิกผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

การฉีดเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก

การฉีดเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก

บริการ IUI ที่โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี : สู่เส้นทางการเเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์สำหรับครอบครัวที่ใฝ่ฝันมีเจ้าตัวน้อย สำหรับคู่รักที่มีความหวังในการมีบุตร แต่พบกับความยากลำบาก IUI (Intra-Uterine Insemination) หรือการฉีดเชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก เป็นวิธีการรักษาที่ได้รับความนิยมในเบื้องต้น ด้วยขั้นตอนที่ใกล้เคียงกับการตั้งครรภ์ตามธรรมชาติ ขั้นตอนการเตรียมตัว ฝ่ายชาย จะต้องเตรียมตัวโดยงดการมีเพศสัมพันธ์หรือหลั่งน้ำอสุจิอย่างน้อย 3 – 7 วันก่อนนัดหมาย ฝ่ายหญิง แพทย์จะทำการติดตามการเจริญเติบโตของไข่ด้วยการอัลตราซาวนด์ เพื่อนัดหมายฉีดเชื้อในวันที่ไข่โตเต็มที่ ขั้นตอนการฉีดเชื้อ ฝ่ายชายเก็บน้ำเชื้ออสุจิ น้ำเชื้อจะผ่านการคัดเลือกตัวอสุจิที่แข็งแรง (ใช้เวลาประมาณ 2 ชั่วโมง) ฝ่ายหญิงจะนอนบนเตียงตรวจทางสูตินรีเวช โดยแพทย์ใช้เครื่องมือขยายช่องคลอด แพทย์จะฉีดน้ำเชื้ออสุจิประมาณ 0.3 มิลลิลิตรเข้าสู่โพรงมดลูกอย่างช้า ๆ หลังจากนั้นฝ่ายหญิงจะนอนพักประมาณ 20 – 30 นาที ข้อควรปฏิบัติหลังการฉีดเชื้อ ใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ สามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ หากมีอาการปวดท้องหรือเลือดออกเล็กน้อยสามารถรับประทานยาแก้ปวดได้ แต่ควรปรึกษาแพทย์หากอาการไม่ดีขึ้น ทำไมเลือก IUI ที่โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี? บริการ IUI ที่โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรีมุ่งเน้นการดูแลอย่างใกล้ชิดจากทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญและสหสาขาวิชาชีพ ด้วยมาตรฐานระดับสากล ช่วยเพิ่มโอกาสในการมีบุตรอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยค่าใช้จ่ายที่ไม่สูงและภาวะแทรกซ้อนต่ำ หากคุณคือคู่รักที่มีความฝันในการสร้างครอบครัว การเลือก IUI ที่โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรีอาจเป็นก้าวแรกสู่ความสำเร็จในเส้นทางนี้. ปรึกษาและนัดหมายแพทย์ได้ที่ https://doctor.bangkokhospitalchanthaburi.com/alldoctor.php

ภาวะมีบุตรยาก : INFERTILITY

ภาวะมีบุตรยาก : INFERTILITY

ภาวะมีบุตรยาก : INFERTILITY ภาวะมีบุตรยาก คือ ภาวะของคู่สมรสที่แต่งงานกันเป็นระยะเวลา 1 ปี โดยมีเพศสัมพันธ์สม่ำเสมออาทิตย์ละ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ แล้วยังไม่เกิดการตั้งครรภ์ สาเหตุของการมีบุตรยาก เเบ่งออกเป็น 3 สาเหตุหลัก ดังนี้ ไม่มีการตกไข่ ท่อนำไข่อุดตันหรือมีพังผืดในอุ้งเชิงกราน เชื้ออสุจิของฝ่ายชายอ่อน (ตรวจนับด้วยคอมพิวเตอร์) การรักษาสามารถแบ่งออกเป็น 3 วิธี ดังนี้ การรักษาโดยการผ่าตัด การรักษาโดยการใช้ยา การรักษาด้วยเทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ เทคโนโลยีการเจริญพันธุ์ เป็นเทคโนโลยีที่นำมาใช้แก้ปัญหาการมีบุตรยาก โดยทางโรงพยาบาลกรุงเทพ จันทบุรี มีคลีนิกให้คำปรึกษาและรักษาภาวะการมีบุตรยาก โดยเเพทย์ผู้ชำนาญการสาขาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา อนุสาขาเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ ผ่าตัดส่องกล้องทางนรีเวช สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกมีบุตรยาก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

ฝากไข่ แช่แข็งอสุจิ วางแผนมีลูกเมื่อพร้อม

ฝากไข่ แช่แข็งอสุจิ วางแผนมีลูกเมื่อพร้อม

การมีลูกในเวลาที่พร้อมคือความฝันของพ่อแม่หลายคน หลายครั้งคู่แต่งงานไม่ต้องการมีลูกทันที หรืออาจแต่งงานในช่วงอายุมาก หรือมีปัญหาสุขภาพที่ต้องดูแล การฝากไข่และแช่แข็งอสุจิจึงเป็นทางเลือกที่ช่วยสร้างครอบครัวตามเวลาที่ต้องการ อายุส่งผลต่อโอกาสมีลูก อายุเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ โดยทั่วไปแล้วผู้หญิงที่อายุน้อยกว่า 30 ปีมักไม่ประสบปัญหาการตั้งครรภ์ แต่เมื่ออายุเกิน 35 ปี การทำงานของรังไข่จะลดลง คุณภาพและปริมาณของไข่ก็จะลดตามไปด้วย ส่งผลให้การตั้งครรภ์ยากขึ้น สำหรับผู้ชายอายุไม่ได้มีผลชัดเจนต่อคุณภาพของอสุจิ โอกาสตั้งครรภ์อยู่ที่ 30% ต่อเดือน หากไม่มีการตั้งครรภ์ภายใน 1 ปี ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง ตรวจ AMH เพื่อเช็กคุณภาพไข่ การตรวจฮอร์โมน AMH (Anti-Mullerian Hormone) ช่วยประเมินคุณภาพไข่และการทำงานของรังไข่ได้ การตรวจนี้สามารถทำได้ง่ายเพียงเจาะเลือด โดยไม่ต้องงดน้ำหรืออาหาร ค่าของ AMH จะช่วยคาดการณ์การตอบสนองของรังไข่เมื่อฉีดยากระตุ้นไข่ ฝากไข่เพื่อเพิ่มโอกาสมีลูก การฝากไข่เป็นวิธีที่ช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ โดยเฉพาะสำหรับผู้หญิงที่ต้องได้รับการรักษาด้วยเคมีบำบัด การฝากไข่จะมีขั้นตอนที่ซับซ้อนกว่าแช่แข็งอสุจิ เริ่มจากการปรึกษาแพทย์ ตรวจเลือด ตรวจฮอร์โมน และตรวจคัดกรองโรค ก่อนจะทำการกระตุ้นไข่และเก็บไข่เพื่อแช่แข็ง การฉีดยากระตุ้นไข่ด้วยตนเอง ปัจจุบันผู้หญิงสามารถฉีดยากระตุ้นไข่ได้ด้วยตนเอง โดยระยะเวลาในการฉีดอยู่ที่ 9-12 วัน และต้องมีการตรวจสอบการเจริญเติบโตของไข่ด้วยการอัลตราซาวนด์ หลังจากนั้นจึงจะเก็บไข่ในหัตถการขนาดเล็กที่ใช้เวลาประมาณ 30 นาที แช่แข็งอสุจิสำหรับผู้ชาย การแช่แข็งอสุจิเป็นทางเลือกสำหรับผู้ชายที่ต้องการมีลูกในอนาคต โดยเฉพาะผู้ที่ต้องรักษาด้วยเคมีบำบัด วิธีการไม่ซับซ้อน ต้องทำการตรวจสุขภาพและเก็บน้ำเชื้อเพื่อเข้าสู่กระบวนการแช่แข็ง อายุการฝากไข่และแช่แข็งอสุจิ แม้ว่าจะไม่มีตัวเลขชัดเจนเกี่ยวกับอายุการเก็บไข่และอสุจิ แต่แพทย์แนะนำให้ใช้ภายใน 5 ปีแรกหลังการแช่แข็ง เพราะหลังจากนั้นอาจมีความเสี่ยงที่คุณภาพจะลดลง การสังเกตภาวะมีบุตรยากในผู้หญิง ผู้หญิงสามารถสังเกตภาวะมีบุตรยากจากการติดตามรอบประจำเดือน หากขาดหายไป 3-4 เดือน หรือรอบเดือนยาวผิดปกติ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจสอบ สรุป ไม่ว่าจะเลือกแต่งงานเมื่อใด แนะนำให้มีลูกตามธรรมชาติ โดยมีเพศสัมพันธ์เฉลี่ยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง หากอายุต่ำกว่า 35 ปีควรใช้เวลา 1 ปีแรกหลังแต่งงาน หากอายุมากกว่า 35 ปีควรพยายามไม่เกิน 6 เดือน หากยังไม่สำเร็จควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีบุตรยากเพื่อวางแผนการมีลูกตามที่ตั้งใจ นัดหมายแพทย์ คลิก https://doctor.bangkokhospitalchanthaburi.com/alldoctor.php สอบถามเพิ่มเติมติดต่อคลินิกผู้มีบุตรยาก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

เรื่องชวนสงสัยของคนอยากมีลูก

เรื่องชวนสงสัยของคนอยากมีลูก

การมีลูกเป็นของขวัญที่สำคัญและมักมาพร้อมกับคำถามมากมาย การมีความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ไม่เพียงแต่ช่วยลดความกังวล ยังช่วยให้พ่อแม่สามารถวางแผนได้อย่างมั่นใจ ช่วงอายุกับการมีลูก อายุเป็นปัจจัยสำคัญในการตั้งครรภ์ โดยความเสี่ยงในการมีลูกจะเพิ่มขึ้นตามอายุ โดยเฉพาะในเรื่องของการแท้งบุตรและความเสี่ยงต่อภาวะดาวน์ซินโดรม ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการมีลูกคืออายุ 20-35 ปี อย่างไรก็ตาม ด้วยความก้าวหน้าทางการแพทย์ในปัจจุบัน คุณแม่สามารถตั้งครรภ์ได้แม้จะมีอายุมากกว่า 35 ปี หากมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและยอมรับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ ปัจจัยเพิ่มเติมที่ควรพิจารณาคือ ผู้หญิงที่มีช็อกโกแลตซีสต์หรือเคยผ่าตัดรังไข่อาจมีโอกาสตั้งครรภ์น้อยลง ดังนั้นการปรึกษาแพทย์ที่เชี่ยวชาญจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ ความเครียดและผลกระทบต่อการมีบุตร ความเครียดเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีบุตรอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะในผู้หญิงที่เครียดมากอาจส่งผลให้รังไข่ไม่ทำงานอย่างเหมาะสม ทำให้ประจำเดือนไม่สม่ำเสมอและไข่ไม่ตก ทำให้ลดโอกาสในการตั้งครรภ์ ในกรณีของผู้ชาย ความเครียดอาจทำให้ความถี่ของการมีเพศสัมพันธ์ลดลง ซึ่งทำให้การตั้งครรภ์ยากขึ้น การวิจัยแสดงให้เห็นว่าคู่แต่งงานใหม่มีโอกาสตั้งครรภ์มากที่สุดหลังแต่งงานประมาณ 6 เดือน หากฝ่ายหญิงยังไม่ตั้งครรภ์ในช่วงนี้ ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อวางแผนการตั้งครรภ์ต่อไป การฝากไข่และแช่แข็งน้ำเชื้อ การฝากไข่และแช่แข็งน้ำเชื้อได้รับความนิยมมากขึ้นในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ต้องการมีลูกในอนาคต แต่ยังไม่มีคู่ แม้จะไม่มีการันตีว่าการฝากไข่หรือแช่แข็งน้ำเชื้อจะทำให้ตั้งครรภ์ได้แน่นอน แต่ช่วยรักษาคุณภาพของไข่และน้ำเชื้อในช่วงเวลาที่ฝากไว้ได้เป็นอย่างดี หากไข่ถูกฝากไว้นานกว่า 10 ปี อาจเสื่อมสภาพบางส่วน แต่ในกรณีของน้ำเชื้อ สามารถเก็บไว้ได้นานกว่า 10 ปีโดยไม่มีปัญหา อย่างไรก็ตาม ไข่ที่ถูกแช่แข็งอาจมีอัตราการรอดชีวิตหลังการละลายอยู่ที่ 80-90% ความสำเร็จในการตั้งครรภ์ยังขึ้นอยู่กับคุณภาพของไข่และน้ำเชื้อ รวมถึงสุขภาพและความพร้อมของคุณแม่ด้วย โอกาสแท้งเมื่อมีการตั้งครรภ์ ทั่วไปแล้ว โอกาสแท้งมักสูงที่สุดในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ การวิจัยพบว่า 70% ของการแท้งมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของโครโมโซมในตัวอ่อน ยิ่งอายุมากขึ้น โอกาสแท้งยิ่งสูงขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่คุณแม่ควรพิจารณาเมื่อวางแผนการตั้งครรภ์ การจัดการกับการมีบุตรยาก คู่รักที่ประสบปัญหามีบุตรยากอาจเกิดจากหลายปัจจัย แต่ปัจจุบันมีเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ที่พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น การตรวจวันไข่ตก, การกระตุ้นไข่ และการทำเด็กหลอดแก้ว โดยการผสมไข่และน้ำเชื้อในห้องแล็บแล้วนำกลับเข้าสู่ร่างกายผู้หญิง นอกจากนี้ การตรวจโครโมโซมยังช่วยลดโอกาสการแท้งและความเสี่ยงต่อภาวะดาวน์ซินโดรม ดังนั้นการปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการเจริญพันธุ์จึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อเพิ่มโอกาสในการมีบุตร ความเสี่ยงในการมีบุตรในอายุมาก สำหรับคุณแม่ที่ต้องการมีลูกเมื่ออายุมากขึ้น ควรปรึกษาแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญ และต้องเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างละเอียด โดยต้องยอมรับความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์ เช่น โอกาสแท้งและภาวะดาวน์ซินโดรม ซึ่งจะเพิ่มขึ้นตามอายุของผู้หญิง เมื่อผู้หญิงอายุ 37 ปีขึ้นไป ประจำเดือนมักจะมาน้อยลงและไข่ก็จะลดจำนวนลง นอกจากนี้ในกรณีที่ฝ่ายชายทำหมันแล้วต้องการมีลูก การใช้เทคโนโลยีเด็กหลอดแก้วจะมีประสิทธิภาพมากกว่าการผ่าตัดต่อหมัน การวางแผนครอบครัว การวางแผนครอบครัวเป็นสิ่งที่คู่สามีภรรยาควรทำร่วมกันอย่างชัดเจน เพื่อสร้างครอบครัวที่สมบูรณ์ตามที่ตั้งใจ หากแผนการเปลี่ยนไปจากที่วางไว้ ควรมีการปรับแผนให้เหมาะสมกับสถานการณ์และการใช้ชีวิตคู่ เพื่อให้การมีลูกเป็นไปอย่างราบรื่นและมีความสุขในอนาคต นัดหมายแพทย์ คลิก https://doctor.bangkokhospitalchanthaburi.com/alldoctor.php

Hospital Logo

ติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่

บริการให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง