เนื้องอกในสมอง(Brain tumor)

เนื้องอกในสมอง(Brain tumor)

เนื้องอกในสมอง พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ ซึ่งบางรายเป็นเฉพาะในกระโหลกศีรษะ แต่ในบางรายเป็นก้อนเนื้อร้ายที่แพร่กระจายมาจากอวัยวะอื่น

อาการ

อาการในผู้ป่วยแต่ละรายอาจจะไม่เหมือนกันขึ้นกับตำแน่งที่เกิดเนื้องอก โดยอาการที่พบบ่อยคืออาการปวดศีรษะเรื้อรัง มักปวดชัดเจนตอนเช้า พอสาย ๆ อาการอาจดีขึ้น และปวดมากเวลาเอนตัวจะเข้านอน หากก้อนเนื้อมีขนาดใหญ่ขึ้นอาจรบกวนการทำงานของสมองส่วนอื่น คนไข้อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนพุ่ง ตามัว เห็นภาพซ้อน ตาเหล่ ตากระตุก วิงเวียน เดินเซ แขนขาอ่อนแรง ชัก มีปัญหาด้านความจำ บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง บางรายประจำเดือนขาด น้ำนมออกผิดธรรมชาติ มีอาการของกลุ่มอาการคุชชิง(Cushing Syndrome)

การวินิจฉัย

  • การซักประวัติตรวจร่างกาย
  • การเอ็กซเรย์(X-Ray)
  • เอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์(CT-Scan)
  • การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า Magnetic Resonance Imaging (MRI)

การรักษา

เมื่อพบว่ามีเนื้องอกในสมองแพทย์อาจพิจารณาผ่าตัดหรือฉายรังสีขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของโรค แต่หากคนไข้มาพบแพทย์ช้าผลการรักษามักไม่ดีนัก ดังนั้นหากมีอาการปวดศีรษะไม่ทราบสาเหตุเกิน 2 สัปดาห์ควรมาปรึกษาแพทย์

สอบถามเพิ่มเติมที่คลินิกศัลยกรรมสมองและไขสันหลัง โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

บทความที่เกี่ยวข้อง

การผ่าตัดเนื้องอกต่อมใต้สมองผ่านกล้อง

การผ่าตัดเนื้องอกต่อมใต้สมองผ่านกล้อง

#การผ่าตัดเนื้องอกต่อมใต้สมองผ่านกล้อง: ทางเลือกการผ่าตัดรักษาแบบไม่ต้องเปิดกระโหลกรายแรก #ที่โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี พัฒนาไม่หยุดสู่ขีดสุดการดูแล อีกก้าวสำคัญในการรักษาโรคทางสมอง #ด้วยการผ่าตัดผ่านกล้องทางรูจมูกเพื่อรักษาเนื้องอกต่อมใต้สมอง ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ดำเนินการในโรงพยาบาลของเรา การผ่าตัดด้วยเทคนิค Transsphenoidal Surgery ช่วยให้สามารถเข้าถึงและกำจัดเนื้องอกในต่อมใต้สมองได้อย่างแม่นยำ #โดยไม่ต้องเปิดกะโหลกศีรษะ ลดความเสี่ยงและช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วกว่า เนื้องอกต่อมใต้สมองอาจส่งผลต่อฮอร์โมนและการมองเห็น ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงได้ การผ่าตัดในครั้งนี้ดำเนินการโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ นำโดย นพ.วสันต์ อภิบาลพูลผล แพทย์ชำนาญการด้านประสาทศัลยศาสตร์ นพ.พงษ์วัฒน์ พลพงษ์ แพทย์ชำนาญการด้านประสาทศัลยศาสตร์ พ.ต.ท.หญิง พญ. จิรพร สุวรรณสัญญา แพทย์ชำนาญการด้านนาสิกวิทยา จุดเด่นของการผ่าตัดเนื้องอกต่อมใต้สมองด้วยวิธีนี้: • ไม่ต้องเปิดกะโหลกศีรษะ : ลดการบาดเจ็บจากการผ่าตัดและเสริมความปลอดภัย • ความแม่นยำสูง : ใช้กล้องส่องช่วยให้แพทย์มองเห็นชัดเจน • บาดแผลเล็ก : ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น และลดผลกระทบต่อร่างกาย หากคุณหรือคนใกล้ชิดมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดศีรษะอย่างต่อเนื่อง การมองเห็นผิดปกติ หรือระดับฮอร์โมนแปรปรวน อย่าละเลย ให้โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรีเป็นที่ปรึกษาและร่วมดูแลสุขภาพของคุณ นัดหมายแพทย์เฉพาะทาง #ศูนย์สมองและระบบประสาท https://doctor.bangkokhospitalchanthaburi.com/alldoctor... #โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี #ผ่าตัดสมองผ่านกล้อง #เนื้องอกต่อมใต้สมอง #การแพทย์ล้ำหน้า #ทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง

ภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง

ภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง (Normal pressure Hydrocephalus: NPH) หลงๆลืมๆ เดินช้าๆ ซอยเท้าสั้นๆ ทรงตัวไม่อยู่เวลายืนหรือเดิน เมื่อผู้สูงอายุที่บ้านมีลักษณะfดังกล่าว อาจไม่ใช่อาการปกติของผู้สูงอายุ แต่อาจเกิดจากภาวะน้ำคั่งในโพรงสมองได้ และยังเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคสมองเสื่อม ถึงภาวะนี้พบได้ไม่บ่อยนัก แต่ถ้ามีความผิดปกติดังกล่าว ก็ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและสามารถรักษาหายขาดได้ ภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง คืออะไร? ภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง (Normal pressure Hydrocephalus: NPH) คือภาวะที่มีน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังในโพรงสมองมากเกินไป จะทำให้เกิดการขยายขึ้นของโพรงน้ำไปกดเบียดเนื้อสมองบริเวณรอบๆ จนการทำงานของสมองผิดปกติ ส่งผลต่อพัฒนาการของร่างกายและสติปัญญาบกพร่อง ภาวะนี้เกิดได้กับทุกวัย แต่จะพบมากในผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป ทำให้เกิดอาการผิดปกติ ความจำเสื่อม พูดจาสับสน พูดติดขัดไม่ได้ประโยค หรือไม่ได้ใจความ ร่วมกับมีปัญหาเรื่องการเดิน เดินเซ ทรงตัวลำบาก และเรื่องการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ สาเหตุภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง สาเหตุแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มที่หาสาเหตุไม่พบ คือ การดูดซึมน้ำในโพรงสมอง (Cerebrospinal fluid: CSF) กลับเข้าหลอดเลือดดำ ลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุซึ่งทำให้เกิดการคั่งของน้ำหล่อเลี้ยงในโพรงสมอง โพรงสมองจึงขยายโตขึ้นอย่างช้าๆ ส่งผลต่อเนื้อเยื่อสมอง และก่อให้เกิดอาการดังที่กล่าวมา แต่ความดันในโพรงสมองยังปกติอยู่ ภาวะนี้เรียกว่า ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำชนิดความดันปกติ 2.กลุ่มที่หาสาเหตุพบส่วนใหญ่มักมาจากการเจ็บป่วยหรือการบาดเจ็บที่กระทบต่อสมอง เช่น มีภาวะเลือดออกในชั้นใต้เยื่อหุ้มสมอง ภาวะติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง หรือเยื้อหุ้มสมองอักเสบ อุบัติเหตุรุนแรงที่สมอง เช่น ตกจากที่สูง ล้ม หรือถูกรถชนแล้วศีรษะถูกกระแทกอย่างแรง ทำให้เกิดการอุดตันในสมองจนน้ำสมองไม่สามารถระบายไปส่วนต่างๆ ได้ สมองผลิตน้ำหล่อเลี้ยงออกมามากเกินไป หรือหลอดเลือดสมองอาจไม่สามารถดูดซับน้ำสมองได้ตามปกติ ลักษณะอาการอย่างไร ผู้ป่วยจากภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง จะมีอาการผิดปกติที่พบได้หลักๆ 3 อาการ ได้แก่ 1.ภาวะสมองเสื่อม มีปัญหาในการจำ การคิด และการใช้เหตุผล ตอบสนองช้า ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ พูดน้อย เสียงเบาแหบ สำลักน้ำและอาหารบ่อย 2.ปัญหาในการเดินและการทรงตัว ไม่สามารถใช้ขาในการก้าวเดินได้เป็นปกติ เดินลำบากเวลาขึ้นลงบันไดหรือที่ลาดชัน ยกขาไม่พ้นจากพื้น เดินซอยเท้า ทรงตัวไม่ดีหรือเดินเซ ล้มบ่อย นั่งแล้วยืนไม่ถนัดต้องหาที่เกาะยึดหรือก้าวเดินต่อไป ยืนโน้มตัวไปข้างหน้า ก้มหน้าตัวงอเอียง 3.อาการปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่อยู่/ไม่ได้ บางครั้งเล็ด จนเข้าห้องน้ำไม่ทัน การวินิจฉัยภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง? แพทย์จะทำการซักประวัติ ดูอาการผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้น การตรวจร่างกาย ร่วมกับการตรวจพิเศษอื่นๆ เพิ่มเติม ได้แก่ การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) หรือการเอ็กซเรย์แม่เหล็ก (MRI) เพื่อช่วยยืนยันให้เห็นว่าโพรงน้ำในสมองมีขนาดใหญ่กว่าปกติจริงๆ และมีการกดเบียดบังตำแหน่งของเนื้อสมองด้านหน้าและด้านใน ขั้นต่อมาแพทย์จะทำการทดสอบโดยการเจาะหลังเพื่อระบายน้ำ เป็นต้น การรักษาภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง ภาวะน้ำคั่งในโพรงสมองรักษาได้ด้วยการผ่าตัดเพื่อลดแรงกดของสมอง และระบายน้ำในสมองออก รักษาด้วยการผ่าตัดใส่สายระบายน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลัง แพทย์จะทำการเจาะและใส่อุปกรณ์ที่เป็นท่อที่ยาว ยืดหยุ่นได้ และมีลิ้นเปิดปิดเพื่อระบายน้ำที่คั่งในโพรงสมอง แล้วจะผ่าตัดนำปลายท่อด้านหนึ่งไว้ที่โพรงสมอง แล้วสอดท่อไว้ใต้ผิวหนังผ่านไปยังส่วนอื่นของร่างกายที่สามารถดูดซึมน้ำหล่อเลี้ยงสมองและไขสันหลังที่มากเกินไปได้ เช่น บริเวณช่องท้อง เป็นการผ่าตัดแผลเล็กที่ง่าย มีความเสี่ยงต่ำ แต่ได้ผลค่อนข้างดี หลังจากผ่าตัดผู้ป่วยจะมีอาการค่อยๆดีขึ้น การตอบสนองแตกต่างกันไป แต่พบว่าปัญหาเรื่องการเดินที่ผิดปกติจะดีขึ้นอย่างเด่นชัด1 “ภาวะน้ำคั่งในโพรงสมอง สามารถรักษาหายได้ หากพบมีอาการให้รีบปรึกษาแพทย์และมารับการรักษาอย่างถูกต้อง” นพ.อดิศักดิ์ แทนปั้น นพ.ราม กิจจารักษ์ ศูนย์คลินิกสมองและระบบประสาท ที่มา Tanpun A, Normal Pressure Hydrocephalus management: review articles. Phichit medical journal Vol.35 No.1 October 2019 – March 2020 : 198-207 สอบถามเพิ่มเติมที่ศูนย์ศัลยกรรมสมองและไขสันหลัง โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

นวัตกรรมออกแบบกะโหลกเทียมสามมิติด้วยเทคโนโลยี AI

นวัตกรรมออกแบบกะโหลกเทียมสามมิติด้วยเทคโนโลยี AI

ก้าวไปอีกขั้นของการเพิ่มศักยภาพดูแลรักษาผู้ป่วย ในการผ่าตัดวางปิดกะโหลกเทียมรายแรกด้วยการใช้เทคโนโลยี AI โดยทีมประสาทศัลยแพทย์ นำโดย นายแพทย์อดิศักดิ์ แทนปั้น และ นายแพทย์พงศธร เนียรทะศาสตร์ ได้ทำการผ่าตัดวางกะโหลกเทียมไทเทเนียม 3 มิติ ที่ถูกออกแบบมาเพื่อเข้ากับสรีระของผู้ป่วยแต่ละบุคคลอย่างแม่นยำ เป็นรายแรกของโรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี นวัตกรรมนี้ถือเป็นหนึ่งในความก้าวหน้าของเทคโนโลยีทางการแพทย์ โดยการใช้กะโหลกเทียมไทเทเนียมที่ออกแบบเฉพาะบุคคล เพื่อแก้ไขความผิดรูปของศีรษะจากสาเหตุต่าง ๆ ซึ่งที่พบบ่อยคือ ปัญหาศีรษะผิดรูปหลังได้รับการผ่าตัดเปิดกะโหลกเพื่อนำเลือดที่ออกในสมองออก ร่วมกับการเปิดกะโหลกไว้เพื่อระบายแรงดันในสมอง นอกจากนี้ยังเป็นนวัตกรรมที่ช่วยลดอันตรายที่อาจเกิดจากการเปิดกะโหลกศีรษะไว้ และยังช่วยดูแลเรื่องภาพลักษณ์ของผู้ป่วยหลังได้รับการรักษาด้วยการผ่าตัดเปิดกะโหลกอีกด้วย #ข้อดีของการปิดกะโหลกศีรษะด้วยไทเทเนียม นอกจากจะได้รูปทรงที่สวย ตรงตามสรีระของผู้ป่วย วัสดุยังมีความแข็งแรง คงทน มีโอกาสติดเชื้อลดลง เพราะวัสดุไทเทเนียมลดการเกิดไบโอฟิล์ม ชั้นบาง ๆ บนพื้นผิววัสดุที่เกิดจากการรวมตัวกันของจุลินทรีย์ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการติดเชื้อ **ภาพจริงที่ได้รับการอนุญาตเผยแพร่จากผู้ป่วยและทีมแพทย์แล้ว ภาพจริงที่ได้รับการอนุญาตเผยแพร่จากผู้ป่วยและทีมแพทย์แล้ว กรณีผู้ป่วยได้รับอุบัติเหตุจราจร ซึ่งเป็นฝ่ายผู้กระทำถูก ผู้ป่วยสามารถเบิกเงินจาก พ.ร.บ.รถยนต์ หลังจากเกิดอุบัติเหตุได้สูงสุดถึง 250,000* บาท ได้ที่โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี ฉุกเฉินโทร 1719 , 039319888 โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี

นั่งไขว่ห้าง เสี่ยงกระดูกคด

นั่งไขว่ห้าง เสี่ยงกระดูกคด

นั่งไขว่ห้าง เสี่ยงกระดูกคด การนั่งไขว่ห้าง ทำให้กระดูกสันหลังคดได้ เพราะการนั่งลักษณะนี้ทำให้การลงน้ำหนักที่ก้นทั้ง 2 ข้างไม่เท่ากัน ซึ่งในภาวะปกติเราจะมีกระดูกก้นกบทั้ง 2 ข้างเป็นฐานรับน้ำหนักให้สมดุล กระดูกหลังจะตั้งตรง แต่หากเทน้ำหนักลงด้านเดียวกระดูกจะบิดคด เพื่อทดแทนให้ร่างกาย อีกทั้งร่างกายของคนเรามีความแข็งแรงพื้นฐานแตกต่างกัน การที่เราติดนั่งไขว่ห้างจนชิน แบบนั่งปุ๊บ ก็ไขว่ห้างปั๊บ สะสมนานอย่างต่ำก็ประมาณ 3 เดือนขึ้นไป นั่งทุกวัน วันละไม่ต่ำกว่า 4-5 ชม. ย่อมทำให้กระดูกเกิดคววามผิดปกติได้แน่นอน สัญญาณเตือนว่ากระดูกสันหลังเริ่มคด อาจจะเริ่มต้นด้วยการเมื่อยหลัง สะบัก หรือปวดก้านคอ เป็นสัญญาณเตือนว่ากล้ามเนื้อเรามีความไม่สมดุล หากคดมาก ถ้าเราถอดเสื้อผ้า มองตัวเองในกระจก อาจสังเกตเห็นว่า ไหล่ หรือหน้าอก หรือเอวคอด ทั้งสองข้างไม่เท่ากัน เป็นการทราบได้เบื้องต้น กระดูกสันหลังคด มี 2 แบบ กระดูกสันหลังคดแต่กำเนิด การรักษาอาจเพียงแก้ไขได้เล็กน้อย และรักษาสภาพด้วยการสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง ไม่ให้อาการที่เป็นทรุดมากขึ้น กระดูกคดแบบเกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อไม่สมดุล เช่นจากนั่งไขว่ห้าง จากยืนพักขาจนชินทำให้คด แบบนี้มีโอกาสสามารถแก้ไขให้หายได้ ด้วยการคลายกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อให้สมดุล ยืดกล้ามเนื้อที่มีการหดรั้งมากๆ อยู่ในท่าทางนั่ง ยืน นอนที่ถูกต้องก็มีโอกาสหายได้ วิธีป้องกันกระดูกคดจากการไขว่ห้าง หลีกเลี่ยงการนั่งไขว่ห้าง การนั่งที่ดี เวลานั่งต้องเลื่อนก้นให้ชิดพนัก นั่งเต็มก้นทั้งสองข้าง เท้าวางบนพื้นเท้าไม่ลอย อาจใช้วิธีลงน้ำหนักที่ฝ่าเท้ายันพื้นเป็นช่วงๆ เพื่อกระตุ้นให้หลังเหยียดตรง ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

Hospital Logo

ติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่

บริการให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง