นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ

นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ

นิ่ว เป็นปัญหาสำคัญของระบบทางเดินปัสสาวะ หากนิ่วมีขนาดเล็กจะสามารถหลุดออกมาได้เองกับปัสสาวะ โดยไม่เกิดปัญหากับไต แต่หากนิ่วมีขนาดใหญ่จนเกิดการอุดกั้นของระบบทางเดินปัสสาวะ ไม่ว่าจะส่วนใดก็ตาม อวัยวะที่อยู่ก่อนถึงบริเวณที่มีการอุดกั้นนั้นจะเกิดการอักเสบ และมักมีการติดเชื้อร่วมด้วย จากการท้นของปัสสาวะที่ไม่สามารถระบายออกมาได้ เช่น ผู้ที่เป็นนิ่วอุดกั้นบริเวณท่อไต จะทำให้เกิดไตบวมอักเสบ และติดเชื้อตามมา ส่วนผู้ที่มีนิ่วอุดกั้นที่ท่อทางเดินปัสสาวะ จะทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น ทั้งนี้การเป็นนิ่วบริเวณท่อไตข้างใดข้างหนึ่ง ผู้ป่วยจะยังสามารถถ่ายปัสสาวะได้แต่ปริมาณปัสสาวะอาจลดลง แต่หากเป็นนิ่วบริเวณท่อปัสสาวะ ผู้ป่วยมักมีอาการปัสสาวะติดขัดเป็นอาการนำ

สาเหตุ

  • พันธุกรรม
  • อายุ 30-60ปี
  • เพศชาย พบมากว่า เพศหญิง
  • อาหาร รับประทานอาหารที่มีสารก่อนิ่วสูง
  • ภูมิอากาศ ประเทศที่มีภูมิอากศร้อนพบนิ่วมากกว่าประเทศที่มีภูมิอากาศเย็น
  • ยา ยาบางชนิดเพิ่มโอกาสการเป็นนิ่ว เช่นวิตามินซี และแคลเซียม เป็นต้น
  • ความเครียด
  • บุคคลที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการสร้างและสลายสารก่อนิ่ว


อาการและอาการแสดง

  • เป็นนิ่วในไตหรือท่อไต
  • ปวดบั้นเอวข้างใดข้างหนึ่ง
  • มีไข้
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ปริมาณปัสสาวะอาจลดลง
  • เป็นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาววะ
  • ปัสสาวะติดขัด
  • ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะมีเลือดปน
  • ปวดหน่วงท้องน้อย
  • ปัสสาวะกระปิบกระปรอย อาจมีไข้ร่วมด้วย


การวินิจฉัย

  • ซักประวัติ ตรวจร่างกาย
  • เอ็กซเรย์
  • อัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง
  • ส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ


การรักษานิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ

  • การรักษาด้วยยา
  • สลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก (ESWL)
  • สอดกล้องเข้าทางท่อปัสสาวะเพื่อนำนิ่วออก (URS)
  • การผ่าตัด


การป้องกันการเป็นนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ

  • ดื่มน้ำบ่อยๆ วันละ 1,500-3,000 ml.
  • ไม่กลั้นปัสสาวะ
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่เพิ่มความเสี่ยง ได้แก่ ยอดผัก ผักโขม ผักกระเฉด ถั่ว ชา ช็อกโกแลต พริกไทยดำ และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ สัตว์ปีก อาหารทะเล และอาหาร นม ไก่ เป็ด เป็นต้น


ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะและสภาพเพศชาย โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

บทความที่เกี่ยวข้อง

การส่องกล้องผ่านท่อปัสสาวะเพื่อคล้องนิ่วในท่อไต

การส่องกล้องผ่านท่อปัสสาวะเพื่อคล้องนิ่วในท่อไต

การส่องกล้องผ่านท่อปัสสาวะเพื่อคล้องนิ่วหรือกรอนิ่วในท่อไต:URS URS เป็นการรักษานิ่วแบบไร้แผล ซึ่งเหมาะกับการรักษานิ่วในท่อไต ข้อดีของการทำ URS ไร้บาดแผล ใช้เวลาในการทำหัตถการประมาณ 15- 30 นาที ฟื้นตัวเร็ว นอนโรงพยาบาลเพียง 1-3 วัน หัตถการนี้ถือเป็นหัตถการที่มีความเสี่ยงต่ำ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น คือ ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ มีเลือดออก บาดเจ็บกระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะ การเตรียมตัวก่อนทำ URS งดน้ำงดอาหารก่อนทำหัตถการ 6-8 ชั่วโมง หรือตามคำแนะนำของแพทย์ พักผ่อนอย่างเพียงพอ หากมีโรคประจำตัวหรือรับประทานยาประจำ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ สิ่งที่พบหลังทำ URS จะมีสายสวนปัสสาวะคาอยู่ที่ท่อปัสสาวะ ปัสสาวะที่ออกมาจะมีเลือดปนและจะค่อยๆจางลงจนเป็นสีปัสสาวะปกติ การปฏิบัติตัวหลังทำ URS ดื่มน้ำอย่างน้อย 2,000-3,000 มิลลิลิตร รับประทานยาตามคำสั่งของแพทย์ หลีกเลี่ยงอาหารที่เพิ่มโอกาสการเป็นนิ่วซ้ำ เช่น สัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ ผักกินยอด ถั่ว ชา ช็อกโกแลตเป็นต้น ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะและสภาพเพศชาย โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (Vesicular stone)

นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (Vesicular stone)

นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (Vesicular stone) สาเหตุการเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ คือ ขาดสารฟอตเฟสซึ่งมีมากในอาหารประเภทโปรตีน ร่วมกับกินผักที่มีสารออกซาเลตสูง และดื่มน้ำน้อย ทำให้มีการสะสมของสารแคลเซียมออกซาเลตในกระเพาะปัสสาวะจนกลายเป็นนิ่วในที่สุด นอกจากนี้ยังพบร่วมกับการอุดตันของท่อปัสสาวะ , ต่อมลูกหมากโต , กระเพาะปัสสาวะหย่อน , กระเพาะปัสสาวะไม่ทำงานเนื่องจากเป็นอัมพาต อาการ ปัสสาวะขัด ปัสสาวะกะปริดกะปรอย ปัสสาวะสะดุด ปวดเบ่งคล้ายถ่ายปัสสาวะไม่สุด จากก้อนนิ่วอุดกั้นท่อปัสสาวะ บางรายปัสสาวะออกเป็นเลือดหรือสีน้ำล้างเนื้อ อาจถ่ายเป็นก้อนนิ่ว เม็ดกรวดทรายเล็ก ๆ หรือปัสสาวะขาวเหมือนผงแป้งปนมากับปัสสาวะ ปวดท้องน้อยมากปัสสาวะไม่ออก มีปัสสาวะคั่งในกระเพาะปัสสาวะ จากก้อนนิ่วตกลงไปอุดตันท่อปัสสาวะ ภาวะแทรกซ้อน การเป็นนิ่วกระเพาะปัสสาวะ มักทำให้มีอาการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งหากปล่อยไว้เรื้อรัง อาจกลายเป็นกรวยไตอักเสบ และไตวายได้ การรักษา หากสงสัยเป็นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ จำเป็นต้องไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจวินิจฉัยรักษาโดยแพทย์และเครื่องมือเฉพาะ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะและสภาพเพศชาย โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

นิ่วในท่อไต (Ureteric stone)

นิ่วในท่อไต (Ureteric stone)

นิ่วในท่อไต (Ureteric stone) ก้อนนิ่วขนาดเล็กในไตที่ตกผ่านมาในท่อไต เป็นเหตุให้ท่อไตเกิดการบีบรัดตัว เพื่อขับก้อนนิ่วออกมา ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดท้องรุนแรง เรียกว่า นิ่วในท่อไต อาการ ปวดท้องรุนแรง โดยปวดบิดเป็นพัก ๆ ตรงบริเวณท้องน้อยข้างหนึ่งข้างใดเพียงข้างเดียว อาการปวดท้องมักร้าวไปหลัง และต้นขาด้านใน บางรายปวดจนดิ้นไปมา หรือใช้มือกดบริเวณที่ปวดไว้ ซึ่งจะรู้สึกดีขึ้น ปวดมากจนเหงื่อออก ตัวเย็น ในสั่นหวิว คลื่นไส้ อาเจียน ผู้ป่วยจะไม่มีอาการขัดเบา ปัสสาวะมักจะใสปกติ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบได้ หากนิ่วก้อนใหญ่หลุดออกเองไม่ได้ ทิ้งไว้อาจทำให้มีการอักเสบของทางเดินปัสสาวะ และไตวายได้ การรักษา หากสงสัยควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาที่โรงพยาบาล เนื่องจากต้องใช้เครื่องมือส่องตรวจพิเศษต่าง ๆ ในการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะและสภาพเพศชาย โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

นิ่วในไต (Renal stone)

นิ่วในไต (Renal stone)

นิ่วในไต (Renal stone) นิ่วในไต( Renal stone) ทำให้มีอาการปวดเอว ปัสสาวะขุ่น ปัสสาวะเป็นเลือด หอบ เหนื่อย มีไข้ มีเลือดปนออกมาในปัสสาวะ ปวดเวลาปัสสาวะ และปัสสาวะน้อยลง สาเหตุของการเกิดนิ่ว สาเหตุความผิดปกติภายในตัวผู้ป่วยเอง ได้แก่ กรรมพันธุ์ อายุและเพศ ความผิดปกติด้านโครงสร้างระบบทางเดินปัสสาวะความเข้มข้นของน้ำปัสสาวะ ภาวะอักเสบติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ สาเหตุร่วมที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของผู้ป่วย ได้แก่ สภาพภูมิศาสตร์ ฤดูกาล ปริมาณการดื่มน้ำ โภชนาการและอาชีพ การวินิจฉัย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ การตรวจปัสสาวะ การตรวจทางรังสีวินิจฉัย เช่น เอ็กซเรย์ อัลตราซาวด์ การรักษา Renal Stone(นิ่วในไต) ESWL (Extracorporeal shock wave Lithotripsy) การสลายนิ่วด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง โดยอาศัยคลื่นเสียงไปกระแทกเม็ดนิ่วให้แตกเป็นเม็ดเล็ก ๆ แล้วไหลหลุดผ่านท่อไตมาที่กระเพาะปัสสาวะ และ ปัสสาวะหลุดออกมาเองได้ PCNL (Percutaneous Nephroletuotrispy) การเจาะนิ่วผ่านด้านหลัง โดยสอดกล้องผ่านทางด้านหลัง จะมีแผลเล็ก ๆ ขนาดประมาณ 2 เซนติเมตร แล้วใช้เครื่องมือเข้าไปทำลายเม็ดนิ่วแล้วคีบออกมาผ่านกล้อง การผ่าตัดแบบเปิด ปัจจุบันมีที่ใช้น้อย ยกเว้นในรายนิ่วมีขนาดใหญ่มาก ๆ การปฏิบัติตัวเมื่อกลับบ้าน (รับคำแนะนำการปฏิบัติตัวจากแพทย์พยาบาล โดยตรงสำหรับการรักษาแต่ละชนิด) ในกรณีที่ทำผ่าตัด ต้องดูแลแผลผ่าตัดให้สะอาด ควรระมัดระวังไม่ให้แผลถูกน้ำ ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 8 แก้ว หรือ 2 ลิตรต่อวัน การรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์จนครบ ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง การออกกำลังกายทำได้แต่ไม่ควรยกของหนัก หรือทำงานหนักในระยะ 8 – 12 สัปดาห์แรก มาตรวจตามแพทย์นัดทุกครั้ง หากมีอาการผิดปกติก่อนวันนัด สังเกตอาการผิดปกติที่ต้องมาพบแพทย์ก่อนวันนัด เช่น แผลอักเสบ มีไข้ ปัสสาวะปนเลือด ปัสสาวะไม่ออก เป็นต้น การป้องกัน ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 8 แก้ว หรือ 2 ลิตรต่อวัน เพื่อให้น้ำปัสสาวะเจือจาง ป้องกันการเกิดผลึกและตกตะกอนสาร ควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ ในสัดส่วนที่เหมาะสมและไม่ควรรับประทานอาหารอย่างเดิมซ้ำกันนานๆ ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ ควรถ่ายปัสสาวะทุกครั้งที่ปวด เพราะการมีน้ำปัสสาวะค้างอยู่นานๆ จะเป็นสาเหตุทำให้เกิดการติดเชื้อ ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ เช่น เดินหรือวิ่งเพื่อป้องกันการค้างของน้ำปัสสาวะ หรือถ้ามีนิ่วก้อนเล็กๆ ก้อนนิ่วจะได้หลุดออกมา กับน้ำปัสสาวะ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะและสภาพเพศชาย โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)

กระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis) กระเพาะปัสสาวะอักเสบ พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้หญิงสั้น และใกล้ทวารหนัก โดยกระเพาะปัสสาวะอักเสบส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชนิดเดียวกับที่อยู่ในลำไส้ สาเหตุ กลั้นปัสสาวะบ่อย ๆ ทางเดินปัสสาวะอุดตันหรือเป็นนิ่ว ทำให้ปัสสาวะคั่งในระบบทางเดินปัสสาวะนานจนเกิดการอักเสบ การตั้งครรภ์ เพราะมดลูกมีการกดเบียดกระเพาะปัสสาวะ ทำให้เกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบตามมา ความผิดปกติที่ทำให้มีปัสสาวะไหลย้อนกลับ ใช้เครื่องมือแพทย์สอดใส่ท่อปัสสาวะ เช่น ใส่สายสวนปัสสาวะ การส่องกล้องผ่านท่อปัสสาวะ การร่วมเพศ โดยเฉพาะหญิงที่มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก ๆ การเสียดสีอาจมีการช้ำและอักเสบของท่อปัสสาวะได้ โรคประจำตัว เช่น เบาหวาน นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ต่อมลูกหมากโต เป็นต้น ซึ่งโรคเหล่านี้อาจทำให้พบโรคแทรกซ้อนเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบได้ง่ายขึ้น อาการกระเพาะปัสสาวะอักเสบ มักเกิดขึ้นหลังกลั้นปัสสาวะ หรือหลังมีเพศสัมพันธ์ ปัสสาวะกะปริดกะปรอย รู้สึกปวดขัดหรือแสบร้อนเวลาถ่ายปัสสาวะ อาจมีปวดท้องน้อยร่วมด้วย ปัสสาวะอาจมีกลิ่นเหม็น ปัสสาวะมักมีสีใส บางรายอาจขุ่นหรือมีเลือดปน ในเด็กเล็กอาจมีปัสสาวะรดที่นอน อาจมีไข้ เบื่ออาหาร และอาเจียน การรักษาและปฏิบัติตัวหลังกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ดื่มน้ำมาก ๆ รับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด หากรับประทานยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือหายแล้วเป็นซ้ำมากกว่า 2-3 ครั้ง หรือเป็นในผู้ชาย จะต้องมีการตรวจเพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัดให้การรักษาที่เหมาะสมตามสาเหตุต่อไป เช่น การตรวจเม็ดเลือดขาวในปัสสาวะ การนำปัสสาวะไปเพาะเชื้อ เอ็กซเรย์ ส่องกล้องตรวจระบบทางเดินปัสสาวะ การป้องกันกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ดื่มน้ำมาก ๆ วันละอย่างน้อย 1-2 ลิตร ไม่กลั้นปัสสาวะ หลังขับถ่ายอุจจาระ ควรใช้กระดาษชำระเช็ดทำความสะอาดจากข้างหน้าไปข้างหลัง เพื่อป้องกันมิให้นำเชื้อโรคสู่ท่อปัสสาวะ สำหรับอาการขัดเบาหลังร่วมเพศ อาจป้องกันโดยดื่มน้ำ 1 แก้วก่อนร่วมเพศ ควรใช้เจลหล่อลื่น และปัสสาวะทันทีหลังร่วมเพศ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะและสภาพเพศชาย โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

การสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก : ESWL

การสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก : ESWL

การสลายนิ่วในไตและท่อไตด้วยคลื่นกระแทก : ESWL การสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก หรือ ESWL เป็นการใช้คลื่นเสียงความถี่ต่ำพลังงานสูง ส่งผ่านผิวหนังให้พุ่งตรงไปยังก้อนนิ่ว เพื่อกระแทกให้ก้อนนิ่วแตกสลายเป็นชิ้นเล็กๆ และสามารถหลุดไหลออกมาพร้อมกับปัสสาวะ โดยที่ไม่ต้องทำการผ่าตัด มีความปลอดภัย ความเจ็บปวดน้อยและฟื้นตัวเร็ว สามารถกลับไปใช้ชีวิตตามปกติได้เร็วขึ้น อาการแสดงเมื่อเป็นนิ่วในไตหรือนิ่วในท่อไต ปวดท้อง ปวดเอวด้านหลัง ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะแสบขัด มีเลือดปน ปัสสาวะไม่ออก หรือปัสสาวะกะปริบกะปรอย มีก้อนนิ่วคล้ายกรวดทรายปนออกมากับปัสสาวะ อาจมีไข้ร่วมด้วย ข้อบ่งชี้และจำกัดในการสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก นิ่วในไตขนาดไม่เกิน 2 เซนติเมตร หรือนิ่วในท่อไตขนาดไม่เกิน 1 เซนติเมตร ต้องไม่มีการอุดตันของทางเดินปัสสาวะในส่วนที่อยู่ต่ำกว่าก้อนนิ่ว ไตด้านที่มีนิ่วยังสามารถทำงานได้ ไม่มีภาวะตั้งครรภ์ ขั้นตอนการสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก ก่อนเข้ารับการรักษา แพทย์จะให้ยาเพื่อให้ผู้ป่วยอยู่ในภาวะสงบ หรือใช้วิธีดมยาสลบ ผู้ป่วยนอนบนเตียง จากนั้นเครื่องสลายนิ่วจะส่งคลื่นพลังงานหรือคลื่นกระแทกขึ้นมาจากทางด้านล่างของเตียง ผ่านผิวหนังพุ่งตรงเข้าไปสลายก้อนนิ่ว โดยแพทย์สามารถระบุตำแหน่งของก้อนนิ่วได้ในขณะทำการรักษาจากเครื่องเอกซเรย์ เครื่องสลายนิ่วจะส่งคลื่นกระแทกประมาณ 3,000 - 5,000 ช็อต จนกระทั่งก้อนนิ่วแตกสลายเป็นชิ้นเล็กๆ ขั้นตอนการรักษาใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง หรืออาจนานกว่านี้ขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของก้อนนิ่ว เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนการสลายนิ่วแล้ว ผู้ป่วยจะถูกย้ายไปที่ห้องพักฟื้นประมาณ 2 ชั่วโมง และย้ายขึ้นห้องพักผู้ป่วยต่อไป โดยนอนพักในรพ.ประมาณ 1-2 วัน แพทย์ก็จะพิจารณาให้กลับบ้านได้ การเตรียมตัวก่อนสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก งดน้ำและอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง แจ้งแพทย์กรณีมีโรคประจำตัว และงดรับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดอย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อนทำการรักษา การดูแลตนเองหลังสลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก ดื่มน้ำประมาณ 3-4 ลิตรต่อวัน สามารถประคบเย็นบริเวณที่ทำการสลายนิ่วได้ เพื่อลดการบวมช้ำของผิวหนัง 1-2 วันแรก ควรหลีกเลี่ยงการทำงานหรือกิจกรรมที่หนักจนเกินไป มาพบแพทย์ตามนัด เมื่อมีอาการปัสสาวะไม่ออกหรือน้อยลงกว่าเดิม ควรรีบมาพบแพทย์ การดูแลตนเองเพื่อป้องกันการกลับเป็นนิ่วซ้ำ ดื่มน้ำสะอาดวันละ 2 –3 ลิตร รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในสัดส่วนที่เหมาะสมและรับประทานผักให้มาก งดหรือลดการรับประทานเนื้อสัตว์หรือรับประทานเนื้อปลาทดแทน หลีกเลี่ยงอาหารรสเค็ม ของหมักดอง เพราะจะทำให้ไตทำงานหนักและไตทำงานลดลง ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อย 20-30 นาทีทุกวัน จะช่วยป้องกันการตกตะกอนที่ทำให้เกิดนิ่วได้ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะและสภาพเพศชาย โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888