การส่องกล้องผ่านท่อปัสสาวะเพื่อคล้องนิ่วในท่อไต

การส่องกล้องผ่านท่อปัสสาวะเพื่อคล้องนิ่วหรือกรอนิ่วในท่อไต:URS

URS เป็นการรักษานิ่วแบบไร้แผล ซึ่งเหมาะกับการรักษานิ่วในท่อไต

ข้อดีของการทำ URS

  1. ไร้บาดแผล
  2. ใช้เวลาในการทำหัตถการประมาณ 15- 30 นาที
  3. ฟื้นตัวเร็ว
  4. นอนโรงพยาบาลเพียง 1-3 วัน

หัตถการนี้ถือเป็นหัตถการที่มีความเสี่ยงต่ำ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น คือ ติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ มีเลือดออก บาดเจ็บกระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะ

การเตรียมตัวก่อนทำ URS

  1. งดน้ำงดอาหารก่อนทำหัตถการ 6-8 ชั่วโมง หรือตามคำแนะนำของแพทย์
  2. พักผ่อนอย่างเพียงพอ
  3. หากมีโรคประจำตัวหรือรับประทานยาประจำ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ

สิ่งที่พบหลังทำ URS

  • จะมีสายสวนปัสสาวะคาอยู่ที่ท่อปัสสาวะ
  • ปัสสาวะที่ออกมาจะมีเลือดปนและจะค่อยๆจางลงจนเป็นสีปัสสาวะปกติ

การปฏิบัติตัวหลังทำ URS

  • ดื่มน้ำอย่างน้อย 2,000-3,000 มิลลิลิตร
  • รับประทานยาตามคำสั่งของแพทย์
  • หลีกเลี่ยงอาหารที่เพิ่มโอกาสการเป็นนิ่วซ้ำ เช่น สัตว์ปีก เครื่องในสัตว์ ผักกินยอด ถั่ว ชา ช็อกโกแลตเป็นต้น

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะและสภาพเพศชาย โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

บทความที่เกี่ยวข้อง

นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ

นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ

นิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ นิ่ว เป็นปัญหาสำคัญของระบบทางเดินปัสสาวะ หากนิ่วมีขนาดเล็กจะสามารถหลุดออกมาได้เองกับปัสสาวะ โดยไม่เกิดปัญหากับไต แต่หากนิ่วมีขนาดใหญ่จนเกิดการอุดกั้นของระบบทางเดินปัสสาวะ ไม่ว่าจะส่วนใดก็ตาม อวัยวะที่อยู่ก่อนถึงบริเวณที่มีการอุดกั้นนั้นจะเกิดการอักเสบ และมักมีการติดเชื้อร่วมด้วย จากการท้นของปัสสาวะที่ไม่สามารถระบายออกมาได้ เช่น ผู้ที่เป็นนิ่วอุดกั้นบริเวณท่อไต จะทำให้เกิดไตบวมอักเสบ และติดเชื้อตามมา ส่วนผู้ที่มีนิ่วอุดกั้นที่ท่อทางเดินปัสสาวะ จะทำให้เกิดการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ เป็นต้น ทั้งนี้การเป็นนิ่วบริเวณท่อไตข้างใดข้างหนึ่ง ผู้ป่วยจะยังสามารถถ่ายปัสสาวะได้แต่ปริมาณปัสสาวะอาจลดลง แต่หากเป็นนิ่วบริเวณท่อปัสสาวะ ผู้ป่วยมักมีอาการปัสสาวะติดขัดเป็นอาการนำ สาเหตุ พันธุกรรม อายุ 30-60ปี เพศชาย พบมากว่า เพศหญิง อาหาร รับประทานอาหารที่มีสารก่อนิ่วสูง ภูมิอากาศ ประเทศที่มีภูมิอากศร้อนพบนิ่วมากกว่าประเทศที่มีภูมิอากาศเย็น ยา ยาบางชนิดเพิ่มโอกาสการเป็นนิ่ว เช่นวิตามินซี และแคลเซียม เป็นต้น ความเครียด บุคคลที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับการสร้างและสลายสารก่อนิ่ว อาการและอาการแสดง เป็นนิ่วในไตหรือท่อไต ปวดบั้นเอวข้างใดข้างหนึ่ง มีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ปริมาณปัสสาวะอาจลดลง เป็นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาววะ ปัสสาวะติดขัด ปัสสาวะบ่อย ปัสสาวะมีเลือดปน ปวดหน่วงท้องน้อย ปัสสาวะกระปิบกระปรอย อาจมีไข้ร่วมด้วย การวินิจฉัย ซักประวัติ ตรวจร่างกาย เอ็กซเรย์ อัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนล่าง ส่องกล้องตรวจกระเพาะปัสสาวะ การรักษานิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ การรักษาด้วยยา สลายนิ่วด้วยคลื่นกระแทก (ESWL) สอดกล้องเข้าทางท่อปัสสาวะเพื่อนำนิ่วออก (URS) การผ่าตัด การป้องกันการเป็นนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ ดื่มน้ำบ่อยๆ วันละ 1,500-3,000 ml. ไม่กลั้นปัสสาวะ หลีกเลี่ยงอาหารที่เพิ่มความเสี่ยง ได้แก่ ยอดผัก ผักโขม ผักกระเฉด ถั่ว ชา ช็อกโกแลต พริกไทยดำ และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง เนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ สัตว์ปีก อาหารทะเล และอาหาร นม ไก่ เป็ด เป็นต้น ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะและสภาพเพศชาย โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

นิ่วในไต (Renal stone)

นิ่วในไต (Renal stone)

นิ่วในไต (Renal stone) นิ่วในไต( Renal stone) ทำให้มีอาการปวดเอว ปัสสาวะขุ่น ปัสสาวะเป็นเลือด หอบ เหนื่อย มีไข้ มีเลือดปนออกมาในปัสสาวะ ปวดเวลาปัสสาวะ และปัสสาวะน้อยลง สาเหตุของการเกิดนิ่ว สาเหตุความผิดปกติภายในตัวผู้ป่วยเอง ได้แก่ กรรมพันธุ์ อายุและเพศ ความผิดปกติด้านโครงสร้างระบบทางเดินปัสสาวะความเข้มข้นของน้ำปัสสาวะ ภาวะอักเสบติดเชื้อของระบบทางเดินปัสสาวะ สาเหตุร่วมที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมของผู้ป่วย ได้แก่ สภาพภูมิศาสตร์ ฤดูกาล ปริมาณการดื่มน้ำ โภชนาการและอาชีพ การวินิจฉัย การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่ การตรวจปัสสาวะ การตรวจทางรังสีวินิจฉัย เช่น เอ็กซเรย์ อัลตราซาวด์ การรักษา Renal Stone(นิ่วในไต) ESWL (Extracorporeal shock wave Lithotripsy) การสลายนิ่วด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง โดยอาศัยคลื่นเสียงไปกระแทกเม็ดนิ่วให้แตกเป็นเม็ดเล็ก ๆ แล้วไหลหลุดผ่านท่อไตมาที่กระเพาะปัสสาวะ และ ปัสสาวะหลุดออกมาเองได้ PCNL (Percutaneous Nephroletuotrispy) การเจาะนิ่วผ่านด้านหลัง โดยสอดกล้องผ่านทางด้านหลัง จะมีแผลเล็ก ๆ ขนาดประมาณ 2 เซนติเมตร แล้วใช้เครื่องมือเข้าไปทำลายเม็ดนิ่วแล้วคีบออกมาผ่านกล้อง การผ่าตัดแบบเปิด ปัจจุบันมีที่ใช้น้อย ยกเว้นในรายนิ่วมีขนาดใหญ่มาก ๆ การปฏิบัติตัวเมื่อกลับบ้าน (รับคำแนะนำการปฏิบัติตัวจากแพทย์พยาบาล โดยตรงสำหรับการรักษาแต่ละชนิด) ในกรณีที่ทำผ่าตัด ต้องดูแลแผลผ่าตัดให้สะอาด ควรระมัดระวังไม่ให้แผลถูกน้ำ ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 8 แก้ว หรือ 2 ลิตรต่อวัน การรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์จนครบ ไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง การออกกำลังกายทำได้แต่ไม่ควรยกของหนัก หรือทำงานหนักในระยะ 8 – 12 สัปดาห์แรก มาตรวจตามแพทย์นัดทุกครั้ง หากมีอาการผิดปกติก่อนวันนัด สังเกตอาการผิดปกติที่ต้องมาพบแพทย์ก่อนวันนัด เช่น แผลอักเสบ มีไข้ ปัสสาวะปนเลือด ปัสสาวะไม่ออก เป็นต้น การป้องกัน ดื่มน้ำสะอาดอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 8 แก้ว หรือ 2 ลิตรต่อวัน เพื่อให้น้ำปัสสาวะเจือจาง ป้องกันการเกิดผลึกและตกตะกอนสาร ควรรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ ในสัดส่วนที่เหมาะสมและไม่ควรรับประทานอาหารอย่างเดิมซ้ำกันนานๆ ไม่ควรกลั้นปัสสาวะ ควรถ่ายปัสสาวะทุกครั้งที่ปวด เพราะการมีน้ำปัสสาวะค้างอยู่นานๆ จะเป็นสาเหตุทำให้เกิดการติดเชื้อ ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ เช่น เดินหรือวิ่งเพื่อป้องกันการค้างของน้ำปัสสาวะ หรือถ้ามีนิ่วก้อนเล็กๆ ก้อนนิ่วจะได้หลุดออกมา กับน้ำปัสสาวะ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะและสภาพเพศชาย โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

หนังหุ้มปลาย อวัยวะเพศชายไม่เปิด (Phimosis)

หนังหุ้มปลาย อวัยวะเพศชายไม่เปิด (Phimosis)

หนังหุ้มปลาย อวัยวะเพศชายไม่เปิด (Phimosis) ปัญหาหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ คือการรัดแน่นของหนังหุ่มปลายจนไม่สามารถเปิดขึ้นได้ หรือเปิดขึ้นได้ไม่สุด อาจเป็นแต่กำเนิดหรือเกิดจากการอกเสบทำให้เกิดการดึงรั้งในภายหลัง บางรายไม่มีอาการแต่บางรายมีผลกระทบกับการใช้ชีวิต เช่น ปัสสาวะไม่ออก ปัสสาวะลำบาก เกิดการติดเชื้อเป็นหนอง เจ็บขณะอวัยวะเพศแข็งตัว เป็นต้น การรักษา ยาปฏิชีวนะ ในรายที่มีการอักเสบติดเชื้อ การผ่าตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศออก เป็นการรักษาที่ทำให้หายขาด เรียกว่า การขริบปลายองคชาต (Circumcision) ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะและสภาพเพศชาย โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (Vesicular stone)

นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (Vesicular stone)

นิ่วในกระเพาะปัสสาวะ (Vesicular stone) สาเหตุการเกิดนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ คือ ขาดสารฟอตเฟสซึ่งมีมากในอาหารประเภทโปรตีน ร่วมกับกินผักที่มีสารออกซาเลตสูง และดื่มน้ำน้อย ทำให้มีการสะสมของสารแคลเซียมออกซาเลตในกระเพาะปัสสาวะจนกลายเป็นนิ่วในที่สุด นอกจากนี้ยังพบร่วมกับการอุดตันของท่อปัสสาวะ , ต่อมลูกหมากโต , กระเพาะปัสสาวะหย่อน , กระเพาะปัสสาวะไม่ทำงานเนื่องจากเป็นอัมพาต อาการ ปัสสาวะขัด ปัสสาวะกะปริดกะปรอย ปัสสาวะสะดุด ปวดเบ่งคล้ายถ่ายปัสสาวะไม่สุด จากก้อนนิ่วอุดกั้นท่อปัสสาวะ บางรายปัสสาวะออกเป็นเลือดหรือสีน้ำล้างเนื้อ อาจถ่ายเป็นก้อนนิ่ว เม็ดกรวดทรายเล็ก ๆ หรือปัสสาวะขาวเหมือนผงแป้งปนมากับปัสสาวะ ปวดท้องน้อยมากปัสสาวะไม่ออก มีปัสสาวะคั่งในกระเพาะปัสสาวะ จากก้อนนิ่วตกลงไปอุดตันท่อปัสสาวะ ภาวะแทรกซ้อน การเป็นนิ่วกระเพาะปัสสาวะ มักทำให้มีอาการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะ ซึ่งหากปล่อยไว้เรื้อรัง อาจกลายเป็นกรวยไตอักเสบ และไตวายได้ การรักษา หากสงสัยเป็นนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ จำเป็นต้องไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจวินิจฉัยรักษาโดยแพทย์และเครื่องมือเฉพาะ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะและสภาพเพศชาย โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

ท่อปัสสาวะตีบ (Urethral Stricture)

ท่อปัสสาวะตีบ (Urethral Stricture)

ท่อปัสสาวะตีบ (Urethral Stricture) ท่อปัสสาวะตีบ เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การบาดเจ็บของท่อปัสสาวะ การติดเชื้อหนองใน หนองในเทียม ซึ่งภาวะดังกล่าวทำให้ท่อปัสสาวะมีการอักเสบจนเกิดเป็นแผลเป็น จนทำให้ท่อปัสสาวะตีบ อาการ ปัสสาวะลำบาก ปัสสาวะไม่ออก หรืออกทีละน้อย ออกเป็นหยด ๆ ในผู้ชายอาจมีอาการเจ็บปวดเมื่อหลั่งน้ำอสุจิขณะร่วมเพศ บางรายพบว่าองคชาตมีการบิดเบี้ยวขณะกำลังแข็งตัว การรักษา รักษาโดยใช้เครื่องมือถ่างขยายท่อปัสสาวะ รักษาด้วยการผ่าตัด ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะและสภาพเพศชาย โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

ต่อมลูกหมากโต (Benign prostatic hyperplasia)

ต่อมลูกหมากโต (Benign prostatic hyperplasia)

ต่อมลูกหมากโต (Benign prostatic hyperplasia) ต่อมลูกหมากโต เป็นการเปลี่ยนแปลงตามวัยที่พบได้ในชายที่อายุ 45 ปีขึ้นไป อาจโตขึ้นไม่มากก็น้อย โดยไม่แสดงอาการใด ๆ เมื่ออายุมากขึ้นผู้ชายบางรายอาจเริ่มมีอาการจากต่อมลูกหมากโตและแข็งกดท่อปัสสาวะได้ หากกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะไม่แข็งแรงพอ จะบีบต้านแรงกดของต่อมลูกหมาก จึงทำให้เกิดมีอาการอุดกั้นของทางเดินปัสสาวะ อาการ ปัสสาวะพุ่งไม่แรง ปัสสาวะลำบากนานแรมปี ต้องออกแรงเบ่งมากขึ้น บางรายอาจถึงขั้นปัสสาวะไม่ออก ต้องถ่ายปัสสาวะบ่อยครั้ง (ตอนกลางคืนต้องลุกขึ้นถ่ายบ่อย) แต่ละครั้งออกทีละน้อย บางครั้งอาจถ่ายออกเป็นเลือด อาจมีอาการขัดเบาจากกระเพาะปัสสาวะอักเสบ โรคแทรกซ้อนที่พบได้หลังเป็นต่อมลูกหมากโต กระเพาะปัสสาวะอักเสบ กรวยไตอักเสบ ภาวะไตวาย การรักษา หากถ่ายปัสสาวะไม่ออกอาจต้องมีการสวนระบายปัสสาวะเป็นครั้งคราว หากเป็นมาก แพทย์อาจพิจารณาด้วยการผ่าตัด ซึ่งจะช่วยให้หายขาดได้ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกศัลยกรรมระบบทางเดินปัสสาวะและสภาพเพศชาย โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

Hospital Logo

ติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่

บริการให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง