ไทรอยด์โรคต้องรู้

โรคไทรอยด์ 4 เรื่องควรรู้ อัตราเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายหลายเท่า

ปัจจุบันผู้ป่วยโรคไทรอยด์จำนวนมากในประเทศไทย ที่น่าสนใจคือหลายคนไม่รู้ว่าตัวเองกำลังเป็นโรคไทรอยด์ ซึ่งหากรู้ตัวเร็ว รักษาเร็ว ย่อมช่วยให้รับมือได้ทันท่วงทีและดูแลรักษาสุขภาพได้อย่างถูกต้องในระยะยาว

ไทรอยด์เป็นพิษ เป็นโรคที่ไม่สามารถป้องกันได้ เนื่องจากเกิดความเปิดปกติจากร่างกายของเราเอง ที่กระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้มีการสร้างฮอร์โมนมากเกินความจำเป็นของร่างกาย สิ่งที่ทำได้ คือ การสังเกตอาการผิดปกติของร่างกายตนเอง หากมีอาการผิดปกติควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา สำหรับผู้ป่วยที่รักษาอยู่แล้ว ปกติแพทย์มักจะให้การรักษาด้วยการรับประทานยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างฮอร์โมนขึ้นมาใหม่ และยับยั้งการออกฤทธิ์ของฮอร์โมนที่มีอยู่แล้ว

4 เรื่องไทรอยด์ที่ควรรู้

  • อุบัติการณ์โรคไทรอยด์ในปัจจุบัน

ในพื้นที่ที่มีการขาดไอโอดีนมักพบว่ามีคนไข้เกิดต่อมไทรอยด์โตมากกว่าปกติหรือที่เรารู้จักกันว่า โรคคอหอยพอก ส่วนในพื้นที่ที่มีการบริโภคไอโอดีนเพียงพอจะพบอาการโรคไทรอยด์ในกลุ่ม Autoimmune Disease ซึ่งเป็นสาเหตุของทั้งไทรอยด์เป็นพิษหรือไทรอยด์ทำงานต่ำ มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 4 : 1

  • ภาวะนอนไม่หลับ กินไม่อิ่ม แสดงว่าเป็นโรคไทรอยด์

อาการของโรคไทรอยด์จะแตกต่างกันตามแต่ละชนิดของโรคที่เป็น เช่น ถ้ามีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไปจะมีอาการท้องผูก ขี้หนาว เหนื่อยง่าย เพลีย น้ำหนักเพิ่ม ถ้าไทรอยด์ทำงานมากเกินไปจะมีอาการใจสั่น มือสั่น เหนื่อยง่าย น้ำหนักลด หิวบ่อย เป็นต้น

  • โรคไทรอยด์ป้องกันได้?

ในพื้นที่ที่มีการเกิดโรคคอหอยพอกควรมีการเพิ่มการบริโภคไอโอดีน เช่น การใช้เกลือไอโอดีนในการปรุงอาหารจะเป็นการป้องกันการเกิดคอพอกได้ หรือการรับประทานอาหารทะเลให้พอเพียง ส่วนการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะไทรอยด์ทำงานมากเกินไปหรือน้อยเกินไปยังไม่มีวิธีป้องกันโรค เพราะฉะนั้นถ้าคนไข้มีอาการที่สงสัยว่าจะเป็นโรคไทรอยด์ควรมาเจาะเลือดและพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยไทรอยด์

  • อย่าละเลยตรวจเช็กไทรอยด์ ในคนที่มีอาการแสดงดังต่อไปนี้ควรเข้ารับการตรวจระดับไทรอยด์ฮอร์โมน
    • คอโตขึ้น คลำเจอก้อนบริเวณคอด้านหน้า
    • มีอาการไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป (ชนิดอ้วน) เช่น เหนื่อยง่าย เพลียง่าย ขี้หนาว ท้องผูก น้ำหนักขึ้นง่าย
    • มีอาการไทรอยด์ทำงานมากเกินไป (ชนิดผอม) เช่น มือสั่น ใจสั่น น้ำหนักลดลง โดยที่ยังทานอาหารเป็นปกติหรือมากกว่าปกติ วิตกกังวล หงุดหงิดมากกว่าปกติ ตาโปนโตกว่าปกติ คอโตขึ้น ลำไส้เคลื่อนไหวมากกว่าปกติ ขับถ่ายบ่อยขึ้น เหงื่อออกมาก

ทั้งนี้ไทรอยด์เป็นโรคที่ไม่ควรมองข้าม หากมีอาการข้างต้นต้องได้รับการรักษาโดยแพทย์เฉพาะทางนะคะ

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

    บทความที่เกี่ยวข้อง

    9 สัญญาณเตือน...ไทรอยด์เป็นพิษ

    9 สัญญาณเตือน...ไทรอยด์เป็นพิษ

    9 สัญญาณเตือน...ไทรอยด์เป็นพิษ ต่อมไทรอยด์ เป็นต่อมที่อยู่บริเวณคอด้านหน้าต่อลูกกระเดือกและติดกับหลอดลม ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนการทำงานของร่างกาย ไทรอยด์เป็นพิษ คือภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนไทรอยด์ออกมามากผิดปกติ ทำให้ระบบเผาผลาญในร่างกายทำงานมากขึ้น เป็นผลทำให้น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็วทั้ง ๆ ที่รับประทานอาหารได้มากกว่าปกติ อุจจาระ ปัสสาวะบ่อย อาจมีปัญหาสมาธิสั้น 9 สัญญาณเตือนไทรอยด์เป็นพิษ น้ำหนักตัวลด ใจสั่น หงุดหงิดง่าย ชีพจรเร็ว มือสั่น ตาโปน ผมร่วง ขี้ร้อน เหงื่อออกมาก ต่อมไทรอยด์บริเวณคอโตขึ้น ถ่ายอุจจาระบ่อย ขา 2 ข้างอ่อนแรง (พบไม่บ่อย) 7 อาหารที่ดีต่อต่อมไทรอยด์ ไอโอดีน ปลา หอยกาบ กุ้ง หอยนางรม ไข่ กระเทียม ฯลฯ วิตามินบี ไข่แดง เครื่องในสัตว์ ปลา ธัญพืชต่าง ๆ ถั่วลันเตา นม เห็ด เมล็ดอัลมอนด์ ธาตุซีลีเนียม ปลาทูน่า เห็ด เครื่องในสัตว์ ถั่วเหลือง สังกะสี เมล็ดทานตะวัน เนื้อแกะ ถั่วพีแคน ธัญพืชต่าง ๆ หอยนางรม ปลาซาร์ดีน ฯลฯ ทองแดง ถั่วเหลือง เห็กชิทาเกะ ข้าวบาร์เลห์ มะเขือเทศ และดาร์คช็อกโกแลต สารต้านอนุมูลอิสระ แครอท ผักโขม ถั่วเหลือง มันเทศ ฟักทอง แคนตาลูป ปลา และตับ ธาตุเหล็ก หอยนางรม หอยกาน ผักโขม ถั่วเลนทิล ถั่วเหลือง ถั่วขาว เครื่องในสัตว์ ทั้งนี้ทั้งนั้นควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ในสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อสุขภาพที่ดี ขอบคุณข้อมูลจาก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และโรงพยาบาลราชวิถี ที่มา : https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/136708/

    สารลดความหวานแทนน้ำตาล

    สารลดความหวานแทนน้ำตาล

    "สารแทนความหวาน" องค์การอนามัยโลกเตือนประชาชนทั่วไปอย่าใช้ "สารแทนความหวาน" ลดน้ำหนัก หลังพบไม่มีประโยชน์ระยะยาวต่อการลดไขมันในร่างกาย แถมเสี่ยงต่อโรคหัวใจ-เสียชีวิต หน่วยงานของสหประชาติ เปิดเผยผลการตรวจสอบสารแทนความหวาน พบว่า ไม่ได้ให้ประโยชน์ในระยะยาวต่อการลดไขมันในร่างกายของผู้ใหญ่หรือเด็ก และอาจมีผลกระทบที่ไม่พึงประสงค์ ก่อให้เกิดโรคเบาหวานประเภท 2 โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด และเพิ่มการเสียชีวิตในผู้ใหญ่ได้ ฟรานเชสโค บรางคา (Francesco Branca) ผู้อำนวยการฝ่ายโภชนาการและความปลอดภัยด้านอาหารขององค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวในการแถลงข่าวด้วยว่า การเปลี่ยนน้ำตาล มาใช้สารแทนความหวาน ไม่ได้ช่วยในการควบคุมน้ำหนักในระยะยาว แนะนำให้ใช้วิธีอื่นในการลดปริมาณน้ำตาลแทน เช่น การบริโภคอาหารที่มีน้ำตาลที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติอย่างผลไม้ หรือไม่ก็ดื่มเครื่องดื่มไร้น้ำตาล สารแทนความหวานไม่ใช่ปัจจัยสำคัญที่จำเป็นในการบริโภคอาหารและไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ ดังนั้นเราควรลด หลีกเลี่ยง และควบคุมปริมาณน้ำตาลหรือความหวานของตัวเองตั้งแต่อายุยังน้อย เพื่อการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง อย่างไรก็ตาม คำแนะนำนี้สามารถใช้ได้กับทุกคน ยกเว้นคนที่เป็นโรคเบาหวานอยู่แล้ว เนื่องจากการประเมินกลุ่มนี้อยู่นอกเหนือขอบเขตข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา "สารแทนความหวาน" ชนิดไหนที่ไม่ดีต่อร่างกาย ตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก "สารแทนความหวาน" หมายรวมถึง สารสังเคราะห์ทั้งหมด ที่อาจเกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือดัดแปลงขึ้นมาก็ได้ สามารถได้ทั้งในอาหารและเครื่องดื่มที่ผลิตขาย หรือเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อเติมลงในอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งได้แก่ สารเอซีซัลเฟม เค (acesulfame K) แอสพาร์เทม (aspartame) แอดแวนเทม (advantame) โซเดียมไซคลาเมต (cyclamates) นีโอแตม (neotame) แซ็กคาริน หรือ ขัณฑสกร (saccharin) ซูคราโตส (sucralose) หญ้าหวาน (stevia) อิริทริทอล (Erythritol) โดยคำแนะนำดังกล่าวนี้ มีขึ้นหลายเดือนหลังจากมีผลการวิจัยพบว่า ที่ทดสอบในคนสหรัฐอเมริกาและยุโรปกว่า 4,000 คนพบว่า ผู้ที่มีระดับสารแทนความหวานอิริทรินอล (Erythritol) ที่ใช้ใส่ในอาหารเพื่อให้ความหวานแก่ผลิตภัณฑ์อาหารแคลอรี่ต่ำและอาหารเพื่อสุขภาพคีโต มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และมีอัตราการเสียชีวิตสูง มากกว่ากลุ่มที่มีระดับสารแทนความหวานดังกล่าวต่ำ ผลการวิจัยข้างต้นนี้ ถือเป็นผลการศึกษาที่ตรงกันข้ามผลการวิจัยเมื่อ 10 กว่าปีที่ผ่านมาอย่างสิ้นเชิง ที่พบว่าสารแทนความหวานอิริทรินอล (Erythritol) นั้นปลอดภัย จนมีกฎหมายอนุญาตให้ใช้ได้ทั่วโลกในอาหารและเครื่องดื่ม อย่างไรก็ตาม สิ่งเหล่านี้ไม่ควรนำไปใช้กับประชากรทั่วไป เนื่องจากผู้เข้าร่วมการศึกษาในครั้งนั้น เป็นกลุ่มเสี่ยงเกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือด ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ผลิตภัณฑ์ปราศจากน้ำตาลที่มีอิริทริทอล แนะนำให้กลุ่มผู้ที่เป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน หรือกลุ่มอ้วนลงพุง กินได้เพื่อแนวทางในการควบคุมน้ำตาลและปริมาณแคลอรี่ ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

    แนะวิธีดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวาน

    แนะวิธีดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวาน

    แนะวิธีดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคเบาหวาน กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เผย ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โดยเฉพาะโรคเบาหวานซึ่งมีจำนวน ร้อยละ 21.12 หรือเป็นอันดับ 2 รองจากโรคความดันโลหิตสูง แนะแนวทางดูเเลสุขภาพด้วยการควบคุมอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง และออกกำลังกายสม่ำเสมอ นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า องค์การอนามัยโลกและสหพันธ์โรคเบาหวานนานาชาติ ได้กำหนดให้วันที่ 14 พฤศจิกายนของทุกปี เป็นวันเบาหวานโลก (World Diabetes Day) เพื่อให้องค์กรสาธารณสุขทั่วโลกได้เห็นความสำคัญในการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน ซึ่งทุกกลุ่มวัยควรจะต้องดูแลป้องกันตนเองไม่ให้เป็นโรคเบาหวาน โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ จากรายงาน ปี 2565 โดยกระทรวงสาธารณสุข ในระบบ Health Data Center เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2565 มีข้อมูลผู้สูงอายุในระบบ จำนวน 9,527,054 คน พบว่า ผู้สูงอายุได้รับการประเมินและคัดกรองสุขภาพ จำนวน 7,501,688 คน หรือร้อยละ 78.74 ซึ่งปัญหาสุขภาพผู้สูงอายุส่วนใหญ่ จะเจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อันดับ 1 คือโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 46.06 รองลงมา คือ โรคเบาหวาน ร้อยละ 21.12 และโรคหลอดเลือดสมองร้อยละ 2.43 ซึ่งโรคเบาหวาน เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เกิดขึ้นจากการที่ร่างกายขาดฮอร์โมนอินซูลิน เนื่องจากตับอ่อนผลิตอินซูลินไม่พอ และเกิดจากร่างกายเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ทำให้ร่างกายต้องการอินซูลินมากกว่าปกติ ซึ่งเกิดจากกรรมพันธุ์ หรือจากสภาพแวดล้อม เช่น ความอ้วน ความชรา ขาดการออกกำลังกาย โรคหรือยาบางกลุ่ม เป็นต้น จะไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด แต่สามารถป้องกันและควบคุม รวมทั้งไม่ให้เกิดโรคแทรกซ้อนได้ ถ้าคุมระดับน้ำตาลและน้ำหนักตัวได้เป็นอย่างดี นายแพทย์สุวรรณชัย กล่าวต่อไปว่า ว่า ผู้เป็นโรคเบาหวานจึงควรควบคุมอาหารและน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ เพื่อให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในภาวะปกติ โดยกินอาหารให้ตรงเวลา ครบ 3 มื้อ ในปริมาณที่ถูกสัดส่วนกับความต้องการของร่างกายเป็นสิ่งสำคัญมาก เพราะยาเบาหวานโดยทั่วไปมีประสิทธิภาพในการควบคุมน้ำตาล จากอาหารได้เพียง 45 – 60 กรัมต่อมื้อ คิดเป็นข้าวสวยไม่เกิน 3 – 4 ทัพพี เท่านั้น ไม่กินจุบจิบ เลือกกินอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท หรือธัญพืชไม่ขัดสี จะช่วยให้ได้รับใยอาหารเพิ่มขึ้น ซึ่งทำให้ร่างกาย ดูดซึมน้ำตาลช้าลง ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ นอกจากนี้ ควรงดกินน้ำตาลเกินจำเป็น เลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น ผลไม้หวานจัด น้ำหวาน น้ำอัดลม ขนมหวาน ไอศกรีม และผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ต่าง ๆ ควรเลือกผลไม้ชนิดที่ไม่หวานจัดในปริมาณที่เหมาะสม เช่น กล้วย แอปเปิลเขียว ฝรั่ง ส่วนนมจืดนั้นไม่ควรดื่มเกิน 1 แก้วต่อวัน เนื่องจากนมวัวมีน้ำตาลตามธรรมชาติอยู่แล้ว เช่นเดียวกับนมไขมันต่ำพร่องมันเนย หรือนมไม่มีไขมัน ซึ่งลดเฉพาะปริมาณไขมัน แต่มีน้ำตาลเหมือนเดิม สำหรับนมเปรี้ยวส่วนใหญ่จัดเป็นเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลในปริมาณสูง จึงไม่ควรดื่มทุกวัน “ทั้งนี้ ผู้เป็นโรคเบาหวานควรพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ โดยกินอาหารควบคู่ไปกับการรักษาด้วยยาลดความเครียดหรือวิตกกังวล ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีผลต่อการกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนที่จะไปขัดขวางการทำงานของอินซูลิน และควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ให้เหมาะสมกับวัย เช่น เดิน ขี่จักรยาน ว่ายน้ำ” อธิบดีกรมอนามัย กล่าว ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ https://www.thaihealth.or.th/?p=316318

    เบาหวาน

    เบาหวาน

    เบาหวาน เบาหวานเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ที่เกิดจากความผิดปกติเกี่ยวกับการสร้างอินซูลิน หรือการทำงานของอินซูลิน ซึ่งหากผู้ป่วยเบาหวานไม่สามารถคุมระดับน้ำตาลได้ จะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆตามมาอีกมากมาย เบาหวานมี 4 ชนิด ดังนี้ 1.เบาหวานชนิดที่ 1 ต้องพึ่งพาอินซูลิน(IDDM) เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถสร้างอินซูลินได้ ต้องรักษาด้วยการฉีดอินซูลิน 2.เบาหวานชนิดที่ 2 ไม่ต้องพึ่งพาอินซูลิน(NIDDM) เบาหวานชนิดนี้ตับอ่อนยังพอผลิตอินซูลินได้บ้าง แต่มีภาวะตื้อต่ออินซูลิน ในระยะแรกอาจรักษาได้ด้วยการคุมอาหาร หรือยาเม็ดลดระดับน้ำตาล แต่หากควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีอาจจำต้องฉีดอินซูลิน 3.โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์(GDM)โดยปัจจัยการส่งเสริมให้เกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือ ฮอร์โมนขณะตั้งครรภ์ต่อต้านการทำงานของอินซูลิน ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ทำใหห้เลือดน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ 4.เบาหวานชนิดที่เกิดจากสาเหตุอื่น เช่น ความผิดปกติของสารพันธุกรรม monogenic diabetes syndrome หรือ Maturity onset diabetes of the young[MODY], จากยา , โรคของทางตับอ่อน เช่น cystic fibrosis อาการแสดงของโรคเบาหวาน ปัสสาวะบ่อย ตื่นมาปัสสาวะตอนกลางคืน หิวบ่อยรับประทานมาก แต่นำหนักลด หิวน้ำบ่อย ผิวแห้ง แผลลหายช้า ตาพร่ามัว ชาบริเวณปลายมือปลายเท้า หย่อนสมรรถภาพทางเพศ ปัจจัยเสี่ยงโรคเบาหวาน 1.โรคอ้วน ชอบรับประทานอาหารหวาน ทำให้ร่างกายดื้อต่ออินซูลิน 2.ผู้สูงอายุ เนื่องจากมีการสังเคราะห์และการหลั่งฮอร์โมนลดลง 3.โรคของตับอ่อน ทำให้มีการหลั่งอินซูลินลดลง 4.การติดเชื้อไวรัสบางชนิด ซึ่งมีผลต่อตับอ่อนทำให้การหลั่งอินซูลินลดลง 5.ได้รับยาบางชนิด สเตียรอยด์ ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิดบางชนิดทำให้มีการสร้างน้ำตาลมากขึ้น หรือการตอบสนองของอินซูลินลงลด 6.การตั้งครรภ์ เนื่องจากฮอร์โมนจากรกหลายชนิดมีฤทธิ์ต้านการทำงานของอินซูลิน ภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน 1.ตา อาจเป็นต้อกระจกก่อนวัย จอตาเสื่อม ทำให้ตามัวลงเรื่อยๆ และอาจทำให้ตาบอดในที่สุด 2.เท้า ทำให้มีอาการชาปลายมือปลายเท้า เกิดแผลได้ง่ายและ อาจก่อให้เกิดความพิการ 3.ไต มักจะเสื่อม จนเกิดภาวะไตเสื่อมเรื้อรัง, โปรตีน(ไข่ขาวรั่วในปัสสาวะ) 4.ติดเชื้อ เป็รการติดเชื่อได้ง่ายเนื่องจากภูมิต้านทานต่ำ 5.ภาวะคีโตซีส(ketosis) ผู้ป่วยที่มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน กระหายน้ำมาก หายใจหอบลึก มีไข้ กระวนกระวาย 6.ผนังหลอดเลือดแดงแข็ง ทำให้เป็นความดันโลหิตสูง อัมพาต หัวใจขาดเลือด หลอดเลือดสมองตีบ โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย 7.เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ การดูแลตนเองของผู้ป่วยเบาหวาน รับประทานอาหารอย่างถูกต้องและเหมาะสมตามหลักโภชนาการในปริมาณที่เหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย หลีกเลี้ยงอาหารที่รับประทานแล้วมีระดับน้ำตาลสูง เช่น ขนมหวาน อาหารหรือผลไม้ที่หวานจัด เป็นต้น ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หมั่นตรวจน้ำตาลด้วยตนเอง เพื่อทราบระดับน้ำตาลในเลือด ดูแลทำความสะอาดเท้า ระมัดระวังอย่าให้เกิดเบิดแผล และหมั่นตรวจเท้าเพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังบริเวณเท้าเสมอ รับประทานยาตามแพมย์สั่งอย่างต่อเนื่อง พบแพทย์ตามนัด รับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภท ถั่งเช่า เป็นต้น การดูแลตัวเองเพื่อป้องกันโรคเบาหวาน 1.รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในปริมาณที่เหมาะสม 2.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 3.ไม่สูบบุหรี่ 4.หลีกเลี่ยงดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 5.ไม่เครีนด หรือวิตกกังวลมากจนเกินไป 6.หมั่นไปตรวจระดับน้ำตาลในเลือด และปัสสาวะเป็นประจำ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกโรคเบาหวานและต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

    ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

    ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

    ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ รู้จักภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) คือภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 70 มิลลิกรัม / เดซิลิตรมักทำให้เกิดอาการใจสั่นอ่อนเพลียซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำนั้นมีโอกาสเกิดขึ้นสูงกับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ใช้ยาลดน้ำตาลหรือฉีดอินซูลิน อาการน้ำตาลในเลือดต่ำ เหงื่อออก ไม่มีแรง เวียนศีรษะ สับสน ผิวหนังเย็น อ่อนเพลีย ตาพร่า หิวบ่อย ตัวสั่น ชัก ขาดสติ หัวใจเต้นเร็ว อาการโคม่า วิธีรักษาและดูแลตนเองเบื้องต้นเมื่อน้ำตาลในเลือดต่ำ 1) ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต 15 กรัมซึ่งปริมาณอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต 15 กรัมได้แก่ ทอฟฟี่ 3 เม็ด น้ำส้มคั้น 180 มิลลิลิตร น้ำผึ้ง 3 ช้อนชา ขนมปัง 1 แผ่น ไอศกรีม 2 สกูป กล้วย 1 ผล ***เลือกทานอย่างใดอย่างหนึ่ง อาการมักดีขึ้นภายใน 20 นาที หลังได้รับอาหารในปริมาณดังกล่าว 2) ติดตามระดับกลูโคสในเลือดโดยใช้กลูโคสมิเตอร์ทุก 20 นาทีหลังรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตครั้งแรก 3) ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต 15 กรัมซ้ำถ้าระดับกลูโคสในเลือดยังคงน้อยกว่าหรือเท่ากับ 70 มิลลิกรัม / เดซิลิตร 4) เมื่อผู้ป่วยอาการดีขึ้นและผลการตรวจวัดระดับกลูโคสในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 80 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรให้รับประทานอาหารต่อเนื่องทันทีเมื่อถึงเวลาอาหารมื้อหลักหรือถ้าต้องรอเวลาอาหารมื้อหลักนานเกินกว่า 1 ชั่วโมงให้รับประทานอาหารว่างที่มีคาร์โบไฮเดรต 15 กรัมและโปรตีนเพื่อป้องกันการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำซ้ำ ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลกรุงเทพ https://www.bangkokhospital.com/content/hypoglycemia

    ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน

    ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน

    ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน ผู้ที่เป็นเบาหวานและยังไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมหรือยังคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนฉับพลัน เช่น ซึม สับสน หรือชักได้ และอาจจะเพิ่มโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนเรื้อรัง โดยเฉพาะที่หลอดเลือดแดง เช่น 1. โรคแทรกซ้อนที่ตา(Diabetic Retinopathy) ทำให้มีอาการตาพร่ามัว มองเห็นภาพไม่ชัด หรือตาบอดได้ 2. โรคแทรกซ้อนที่ไต (Diabetic Nephropathy) อาจจะทำให้มีอาการบวม ปัสสาวะเป็นฟองมากขึ้น หรือการทำงานของไตลดลง ไตวาย 3. โรคแทรกซ้อนที่ปลายประสาท (Diabetic Neuropathy) ผู้ป่วยอาจมีอาการชา ปวดตามเส้นประสาท บริเวณปลายมือปลายเท้า หรือเสี่ยงต่อการเป็นแผลง่ายขึ้น 4. โรคแทรกซ้อนของหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ เช่น หลอดเลือดหัวใจหรือสมองตีบทำให้ผู้ป่วยเกิดเจ็บแน่นหน้าอก หรือมีภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาตเกิดขึ้น ขอบคุณข้อมูลจากสำนักงานกองทุนสนุบสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ https://www.thaihealth.or.th/?p=227431