ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ


รู้จักภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ (Hypoglycemia) คือภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 70 มิลลิกรัม / เดซิลิตรมักทำให้เกิดอาการใจสั่นอ่อนเพลียซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำนั้นมีโอกาสเกิดขึ้นสูงกับผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ใช้ยาลดน้ำตาลหรือฉีดอินซูลิน

อาการน้ำตาลในเลือดต่ำ

  • เหงื่อออก
  • ไม่มีแรง
  • เวียนศีรษะ
  • สับสน
  • ผิวหนังเย็น
  • อ่อนเพลีย
  • ตาพร่า
  • หิวบ่อย
  • ตัวสั่น
  • ชัก
  • ขาดสติ
  • หัวใจเต้นเร็ว
  • อาการโคม่า

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

วิธีรักษาและดูแลตนเองเบื้องต้นเมื่อน้ำตาลในเลือดต่ำ

1) ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต 15 กรัมซึ่งปริมาณอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต 15 กรัมได้แก่

  • ทอฟฟี่ 3 เม็ด
  • น้ำส้มคั้น 180 มิลลิลิตร
  • น้ำผึ้ง 3 ช้อนชา
  • ขนมปัง 1 แผ่น
  • ไอศกรีม 2 สกูป
  • กล้วย 1 ผล

***เลือกทานอย่างใดอย่างหนึ่ง อาการมักดีขึ้นภายใน 20 นาที หลังได้รับอาหารในปริมาณดังกล่าว

2) ติดตามระดับกลูโคสในเลือดโดยใช้กลูโคสมิเตอร์ทุก 20 นาทีหลังรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตครั้งแรก

3) ให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต 15 กรัมซ้ำถ้าระดับกลูโคสในเลือดยังคงน้อยกว่าหรือเท่ากับ 70 มิลลิกรัม / เดซิลิตร

4) เมื่อผู้ป่วยอาการดีขึ้นและผลการตรวจวัดระดับกลูโคสในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 80 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรให้รับประทานอาหารต่อเนื่องทันทีเมื่อถึงเวลาอาหารมื้อหลักหรือถ้าต้องรอเวลาอาหารมื้อหลักนานเกินกว่า 1 ชั่วโมงให้รับประทานอาหารว่างที่มีคาร์โบไฮเดรต 15 กรัมและโปรตีนเพื่อป้องกันการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำซ้ำ

ขอบคุณข้อมูลจาก ศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลกรุงเทพ https://www.bangkokhospital.com/content/hypoglycemia

บทความที่เกี่ยวข้อง

9 สัญญาณเตือนโรคเบาหวานที่คุณต้องรู้

9 สัญญาณเตือนโรคเบาหวานที่คุณต้องรู้

9 สัญญาณเตือนโรคเบาหวานที่คุณต้องรู้ เบาหวานเป็นโรคที่ต้องระวังอย่างมาก เพราะหากคุมเบาหวานไม่ได้อาจป่วยเป็นโรคหัวใจ ป่วยเป็นโรคไตจนต้องฟอกเลือด มีแผลที่เท้าแล้วไม่หายจนติดเชื้อต้องตัดขา แม้กระทั่งถ้าป่วยเป็นโควิดช่วงที่น้ำตาลในเลือดสูงอาจป่วยหนักจนถึงแก่ชีวิตได้ ดังนั้นการสังเกตสัญญาณเตือนโรคเบาหวานจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องใส่ใจ สัญญาณเตือนเบาหวาน 9 สัญญาณเตือนโรคเบาหวานดังต่อไปนี้คือสิ่งที่คุณต้องรู้และหมั่นสังเกต หากมีอาการให้รีบมาตรวจเช็กกับแพทย์เฉพาะทางทันที เพื่อให้แน่ใจว่าคุณกำลังป่วยเป็นเบาหวานหรือไม่ จะได้ดูแลตนเองอย่างถูกวิธี กระหายน้ำ ดื่มน้ำบ่อยกว่าปกติ ปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ หรือปัสสาวะปริมาณมากกว่าปกติ หิวบ่อย กินอาหารมากกว่าเดิม น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ สายตาพร่ามัว มองไม่ชัด รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง มีแผลและแผลหายช้ากว่าปกติ ชา ปวดแสบ ปวดร้อน หรือรู้สึกเหมือนมีมดไต่ที่ปลายมือปลายเท้า ผิวหนังแห้ง คัน ภัยเงียบเบาหวาน เบาหวานเป็นภัยเงียบที่มาแบบไม่รู้ตัว เพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่มักไม่มีอาการมาก่อน ดังนั้นในผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน อาทิ มีภาวะอ้วน มีญาติหรือคนในครอบครัวสายตรงเป็นเบาหวาน เป็นต้น แม้ยังไม่มีอาการก็ควรตรวจคัดกรองเบาหวานเป็นประจำทุกปี เพราะหากปล่อยทิ้งไว้จนแสดงอาการ อาจเป็นหนักและเกิดผลข้างเคียงที่ยากจะรักษาให้กลับมาเป็นปกติได้ เช็กตัวเองให้ห่างไกลเบาหวาน การเช็กตัวเองอยู่เสมอช่วยให้ห่างไกลเบาหวานและผลข้างเคียงจากเบาหวานสิ่งที่ควรทำคือ สังเกตตัวเอง อยู่เสมอว่ามีอาการผิดปกติตามสัญญาณข้างต้นหรือไม่ ดูแลตัวเอง เพื่อป้องกันตัวเองจากเบาหวาน ทั้งการคุมอาหารและการออกกำลังกายที่เหมาะสม ตรวจเช็กตัวเอง โดยการตรวจคัดกรองที่โรงพยาบาลตามความเหมาะสม เนื่องในวันเบาหวานโลก นพ.โองการ สาระสมบัติ อายุรแพทย์เฉพาะทางโรคเบาหวาน ต่อมไร้ท่อ และเมตะบอลิสม โรงพยาบาลกรุงเทพ ฝากว่า “ไม่ว่าจะมีความเสี่ยงเบาหวานหรือไม่ การดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันโรคเบาหวานเป็นเรื่องสำคัญ อยากให้ทุกคนรับประทานอาหารที่เหมาะสมและมีประโยชน์ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินเกณฑ์ และตรวจเช็กเบาหวานเป็นประจำทุกปี เพื่อจะได้รู้เท่าทันและห่างไกลจากโรคเบาหวาน” ขอบคุณข้อมูลจากศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลกรุงเทพ https://www.bangkokhospital.com/content/knows-9-diabetes-warning-signs

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน ผู้ที่เป็นเบาหวานและยังไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมหรือยังคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนฉับพลัน เช่น ซึม สับสน หรือชักได้ และอาจจะเพิ่มโอกาสการเกิดภาวะแทรกซ้อนเรื้อรัง โดยเฉพาะที่หลอดเลือดแดง เช่น 1. โรคแทรกซ้อนที่ตา(Diabetic Retinopathy) ทำให้มีอาการตาพร่ามัว มองเห็นภาพไม่ชัด หรือตาบอดได้ 2. โรคแทรกซ้อนที่ไต (Diabetic Nephropathy) อาจจะทำให้มีอาการบวม ปัสสาวะเป็นฟองมากขึ้น หรือการทำงานของไตลดลง ไตวาย 3. โรคแทรกซ้อนที่ปลายประสาท (Diabetic Neuropathy) ผู้ป่วยอาจมีอาการชา ปวดตามเส้นประสาท บริเวณปลายมือปลายเท้า หรือเสี่ยงต่อการเป็นแผลง่ายขึ้น 4. โรคแทรกซ้อนของหลอดเลือดแดงขนาดใหญ่ เช่น หลอดเลือดหัวใจหรือสมองตีบทำให้ผู้ป่วยเกิดเจ็บแน่นหน้าอก หรือมีภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาตเกิดขึ้น ขอบคุณข้อมูลจากสำนักงานกองทุนสนุบสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ https://www.thaihealth.or.th/?p=227431

ปัจจัยทำโรคไทรอยด์กำเริบ ความเครียดมีผลหรือไม่ ?

ปัจจัยทำโรคไทรอยด์กำเริบ ความเครียดมีผลหรือไม่ ?

ไทรอยด์กำเริบ ปัจจัยทำโรคไทรอยด์กำเริบ ความเครียดมีผลหรือไม่ ? ไทรอยด์โรคที่มีหลากหลายอาการ ซึ่งหากเป็นแล้วต้องได้รับการรักษาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้โรคสงบระหว่างขั้นตอน แล้วปัจจัยอะไรบ้างทำให้โรคกำเริบ กระทบการใช้ชีวิต “ต่อมไทรอยด์” คือ ต่อมไร้ท่อที่อยู่ส่วนล่างของกลางลำคอ ทำหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ เพื่อใช้ในการเผาผลาญให้เกิดพลังงานที่นำมาใช้ในชีวิตประจำวัน โดยปกติเรามักไม่ค่อยได้สนใจเจ้าต่อมไร้ท่อนี้เท่าไรนัก หากไม่พบความผิดปกติที่แสดงออกมาอย่างชัดเจน เช่น ขนาดที่ผิดปกติ หรือมีก้อนโต ซึ่งเมื่อเข้ารับการรักษาแล้ว โรคก็จะสงบลงตามการรักษา ซึ่งต้องใช้เวลากว่าจะหายดี การรักษา โรคไทรอยด์ สามารถรักษาได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาเลือกวิธีการที่เหมาะสมกับผู้ป่วยต่ละราย เช่น. อายุของผู้ป่วย ขนาดของต่อมไทรอยด์ ระยะเวลาของโรค โดยปกติการรักษาไทรอยด์มี 3 รูปแบบ รักษาด้วยยา ซึ่งจะใช้ระยะเวลาในการรักษานานประมาณ 1 - 2 ปี โดยในระหว่างที่ทำการรักษานั้นผู้ป่วยต้องรับประทานยาอย่างสม่ำเสมอและเคร่งครัด เพื่อให้ง่ายต่อการควบคุม กลืนเร่ไอโอดีน ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะพิจารณาเลือกในผู้ป่วยที่มีอายุมาก และมีอาการค่อนข้างรุนแรง หรือกลับมาเป็นซ้ำ หลังจากที่รักษาด้วยการให้ยามาแล้ว รักษาด้วยผ่าตัด วิธีการนี้แพทย์จะพิจารณาเลือกเป็นขั้นตอนสุดท้าย ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากๆ และต่อมไทรอยด์มีขนาดโตมากขึ้น แพ้กลุ่มยากินที่ใช้ในการรักษา หรือเกิดผลข้างเคียงต่อระบบเม็ดเลือด และหลอดเลือด ในระหว่างการรักษาจะมีช่วงที่โรคสงบ แล้วอะไรบ้าง? ที่เป็นตัวกระตุ้นทำให้ไทรอยด์กำเริบ ความเครียด แน่นอนว่าเมื่อเราเครียดหนักมาก และมีภาวะที่สะสม ร่างกายจะผลิตอะดรีนาลีนและคอติซอล ซึ่งฮอร์โมนเหล่านี้จะกระทบกับภูมิคุ้มกันและส่งผลให้ไทรอยด์กำเริบ พักผ่อนไม่เพียงพอ แน่นอนค่ะว่า การที่นอนน้อยทำให้ภูมิต้านทานต่ำ เป็นหวัดง่าย อีกทั้งยังเป็นตัวกระตุ้นไทรอยด์อีกด้วยค่ะ อาหารสำเร็จรูป ทำให้น้ำตาล โซเดียม สูงเกินกว่าที่ร่างกายกำหนดทำให้ไทรอยด์กำเริบได้เช่นกันค่ะ การได้รับไอโอดีนมากเกินไป ไอโดดีนเป็นธาตุอาหารที่จำ แต่หากบริโภคไอโดดีนที่พบได้ในยาบางชนิด สาหร่ายทะเล ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสาหร่ายทะเล อาหารทะเล เป็นต้น มากเกินความจำเป็น จะทำให้ต่อมไทรอยด์ผลิตฮอร์โมนมากผิดปกติได้ อาหารที่กระตุ้นการเผาผลาญ เช่น พริก กาแฟ แอลกอฮอล์ เครื่องดื่มชูกำลังฯลฯ อาหารที่กระตุ้นให้ภูมิแพ้กำเริบ สำหรับผู้ป่วยไทรอยด์เป็นพิษที่มีโรคภูมิแพ้เป็นโรคประจำตัวอยู่แล้ว การที่ภูมิแพ้กำเริบจะกระตุ้นให้ไทรอยด์แย่ลงได้ เพราะฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงอาหารต่างๆที่ตัวเองแพ้ด้วย หากสังเกตเห็นอาการผิดปกติของอาการ ควรรีบพบแพทย์ทันทีโดยไม่ต้องรอให้ถึงวันนัดหมาย ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

9 สัญญาณเตือน...ไทรอยด์เป็นพิษ

9 สัญญาณเตือน...ไทรอยด์เป็นพิษ

9 สัญญาณเตือน...ไทรอยด์เป็นพิษ ต่อมไทรอยด์ เป็นต่อมที่อยู่บริเวณคอด้านหน้าต่อลูกกระเดือกและติดกับหลอดลม ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนการทำงานของร่างกาย ไทรอยด์เป็นพิษ คือภาวะที่ต่อมไทรอยด์สร้างฮอร์โมนไทรอยด์ออกมามากผิดปกติ ทำให้ระบบเผาผลาญในร่างกายทำงานมากขึ้น เป็นผลทำให้น้ำหนักตัวลดลงอย่างรวดเร็วทั้ง ๆ ที่รับประทานอาหารได้มากกว่าปกติ อุจจาระ ปัสสาวะบ่อย อาจมีปัญหาสมาธิสั้น 9 สัญญาณเตือนไทรอยด์เป็นพิษ น้ำหนักตัวลด ใจสั่น หงุดหงิดง่าย ชีพจรเร็ว มือสั่น ตาโปน ผมร่วง ขี้ร้อน เหงื่อออกมาก ต่อมไทรอยด์บริเวณคอโตขึ้น ถ่ายอุจจาระบ่อย ขา 2 ข้างอ่อนแรง (พบไม่บ่อย) 7 อาหารที่ดีต่อต่อมไทรอยด์ ไอโอดีน ปลา หอยกาบ กุ้ง หอยนางรม ไข่ กระเทียม ฯลฯ วิตามินบี ไข่แดง เครื่องในสัตว์ ปลา ธัญพืชต่าง ๆ ถั่วลันเตา นม เห็ด เมล็ดอัลมอนด์ ธาตุซีลีเนียม ปลาทูน่า เห็ด เครื่องในสัตว์ ถั่วเหลือง สังกะสี เมล็ดทานตะวัน เนื้อแกะ ถั่วพีแคน ธัญพืชต่าง ๆ หอยนางรม ปลาซาร์ดีน ฯลฯ ทองแดง ถั่วเหลือง เห็กชิทาเกะ ข้าวบาร์เลห์ มะเขือเทศ และดาร์คช็อกโกแลต สารต้านอนุมูลอิสระ แครอท ผักโขม ถั่วเหลือง มันเทศ ฟักทอง แคนตาลูป ปลา และตับ ธาตุเหล็ก หอยนางรม หอยกาน ผักโขม ถั่วเลนทิล ถั่วเหลือง ถั่วขาว เครื่องในสัตว์ ทั้งนี้ทั้งนั้นควรรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ในสัดส่วนที่เหมาะสม เพื่อสุขภาพที่ดี ขอบคุณข้อมูลจาก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และโรงพยาบาลราชวิถี ที่มา : https://pr.moph.go.th/?url=pr/detail/2/02/136708/

เบาหวานกับผู้สูงวัย

เบาหวานกับผู้สูงวัย

เบาหวานกับผู้สูงวัย สังคมไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยแบบเต็มตัวและปัจจุบันคนไทยมีอายุยืนยาวมากขึ้น แต่ไม่ว่าจะอายุยืนยาวแค่ไหนคงไม่สำคัญเท่าการมีสุขภาพที่แข็งแรงและมีความสุขในทุกวันของชีวิต ความเสื่อมกับเบาหวาน เมื่ออายุมากขึ้นความเสื่อมในระบบต่าง ๆ ของร่างกายย่อมตามมา ไม่ว่าจะเป็นโรคซึมเศร้า โรคสมองเสื่อม กายภาพกล้ามเนื้อและมวลกระดูกลดลง การเผาผลาญลดลง ส่งผลให้ผู้สูงวัยมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น มีโอกาสเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองอุดตันได้มากกว่าคนอายุน้อยที่เป็นโรคเบาหวาน ในทางกลับกันโรคเบาหวานที่คุมไม่ดีในผู้สูงวัยก็ส่งผลให้ร่างกายเสื่อมถอยมากกว่าผู้สูงวัยที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน และส่งผลให้การได้ยินลดลง เกิดโรคต้อหิน ต้อกระจก และจอประสาทตาเสื่อม รวมถึงส่งผลต่อสมอง ทำให้การรับรู้ ความเข้าใจ และความจำลดลง การรักษาเบาหวานในผู้สูงวัย ปัจจุบันการรักษาโรคเบาหวานมีการพัฒนาทั้งตัวยารักษาและการนำเทคโนโลยีใหม่เข้ามาใช้ในการรักษา ทำให้ผู้สูงวัยสามารถดูแลรักษาโรคเบาหวานได้ดีขึ้น ส่งผลให้ลดการเสื่อมถอยและลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานได้ดี การรักษาควรเริ่มต้นจากการร่วมวางแผนการรักษาด้วยกัน ทั้งผู้สูงวัยที่เป็นโรคเบาหวาน ลูกหลาน และคนดูแล รวมถึงแพทย์เฉพาะทางและทีมสหสาขาวิชาชีพมีการกำหนดเป้าหมายในการคุมเบาหวานว่าต้องเข้มงวดมากแค่ไหน ควรมีค่าน้ำตาลสะสมเท่าไร (HbA1c) อาหารที่เหมาะสมในการรับประทานควรเป็นอย่างไร ตลอดจนการทำแบบประเมินการรับรู้เข้าใจของสมองและภาวะจิตใจ การประเมินการเคลื่อนไหวเพื่อป้องกันการหกล้ม ซึ่งผู้สูงวัยแต่ละคนแต่ละครอบครัวมีสุขภาพร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิตแตกต่างกันจึงควรวางแผนเฉพาะการรักษาเฉพาะบุคคลเพื่อประสิทธิภาพในการรักษา สิ่งที่ต้องระวังเมื่อรักษาเบาหวานในผู้สูงวัย การดูแลรักษาเบาหวานในผู้สูงวัย สิ่งที่ต้องระวังมากเป็นพิเศษคือ ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะน้ำตาลต่ำ เพราะภาวะน้ำตาลต่ำมีผลกระทบทันทีต่อการรับรู้ของสมองและหัวใจ แต่ในกรณีที่เกิดขึ้นแล้วควรดูแลแก้ไขให้ทันท่วงที โดยรีบรับประทานแป้งหรือน้ำตาลแล้วหลังจากนั้นปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อปรับการรักษาให้เหมาะสม เลือกใช้ยาที่มีโอกาสเกิดภาวะน้ำตาลต่ำน้อยเป็นอันดับแรก หากคุมไม่ได้ค่อยเลือกยาที่ลดน้ำตาลได้มากหรือฉีดยาอินซูลิน ควบคุมรักษาโรคร่วมอื่น ๆ ให้ดี การดูแลรักษาเบาหวานในผู้สูงวัย นอกจากควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ต้องควบคุมรักษาโรคร่วมอื่น ๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง ไขมันสูง โรคฟันผุ รวมถึงการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกันปอดอักเสบติดเชื้อด้วย การดูแลรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานที่เป็นผู้สูงวัยมีความแตกต่างกับผู้ป่วยโรคเบาหวานอายุน้อย โดยจำเป็นจะต้องพิจารณาการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวานเฉพาะบุคคลกับทีมแพทย์ที่มีความชำนาญ ร่วมกับคนในครอบครัวและคนที่ดูแลอย่างใกล้ชิด ควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ทั้งการเลี่ยงอาหารรสหวาน เลือกอาหารกากใยสูง ไขมันต่ำ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ มาพบแพทย์ตามนัดหมายทุกครั้ง ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ย่อมช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในระยะยาว ขอบคุณข้อมูลจากศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์ และต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลกรุงเทพ https://www.bangkokhospital.com/content/diabetes-and-the-elderly

ไทรอยด์โรคต้องรู้

ไทรอยด์โรคต้องรู้

โรคไทรอยด์ 4 เรื่องควรรู้ อัตราเกิดในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายหลายเท่า ปัจจุบันผู้ป่วยโรคไทรอยด์จำนวนมากในประเทศไทย ที่น่าสนใจคือหลายคนไม่รู้ว่าตัวเองกำลังเป็นโรคไทรอยด์ ซึ่งหากรู้ตัวเร็ว รักษาเร็ว ย่อมช่วยให้รับมือได้ทันท่วงทีและดูแลรักษาสุขภาพได้อย่างถูกต้องในระยะยาว ไทรอยด์เป็นพิษ เป็นโรคที่ไม่สามารถป้องกันได้ เนื่องจากเกิดความเปิดปกติจากร่างกายของเราเอง ที่กระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้มีการสร้างฮอร์โมนมากเกินความจำเป็นของร่างกาย สิ่งที่ทำได้ คือ การสังเกตอาการผิดปกติของร่างกายตนเอง หากมีอาการผิดปกติควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจรักษา สำหรับผู้ป่วยที่รักษาอยู่แล้ว ปกติแพทย์มักจะให้การรักษาด้วยการรับประทานยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างฮอร์โมนขึ้นมาใหม่ และยับยั้งการออกฤทธิ์ของฮอร์โมนที่มีอยู่แล้ว 4 เรื่องไทรอยด์ที่ควรรู้ อุบัติการณ์โรคไทรอยด์ในปัจจุบัน ในพื้นที่ที่มีการขาดไอโอดีนมักพบว่ามีคนไข้เกิดต่อมไทรอยด์โตมากกว่าปกติหรือที่เรารู้จักกันว่า โรคคอหอยพอก ส่วนในพื้นที่ที่มีการบริโภคไอโอดีนเพียงพอจะพบอาการโรคไทรอยด์ในกลุ่ม Autoimmune Disease ซึ่งเป็นสาเหตุของทั้งไทรอยด์เป็นพิษหรือไทรอยด์ทำงานต่ำ มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายประมาณ 4 : 1 ภาวะนอนไม่หลับ กินไม่อิ่ม แสดงว่าเป็นโรคไทรอยด์ อาการของโรคไทรอยด์จะแตกต่างกันตามแต่ละชนิดของโรคที่เป็น เช่น ถ้ามีภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไปจะมีอาการท้องผูก ขี้หนาว เหนื่อยง่าย เพลีย น้ำหนักเพิ่ม ถ้าไทรอยด์ทำงานมากเกินไปจะมีอาการใจสั่น มือสั่น เหนื่อยง่าย น้ำหนักลด หิวบ่อย เป็นต้น โรคไทรอยด์ป้องกันได้? ในพื้นที่ที่มีการเกิดโรคคอหอยพอกควรมีการเพิ่มการบริโภคไอโอดีน เช่น การใช้เกลือไอโอดีนในการปรุงอาหารจะเป็นการป้องกันการเกิดคอพอกได้ หรือการรับประทานอาหารทะเลให้พอเพียง ส่วนการป้องกันไม่ให้เกิดภาวะไทรอยด์ทำงานมากเกินไปหรือน้อยเกินไปยังไม่มีวิธีป้องกันโรค เพราะฉะนั้นถ้าคนไข้มีอาการที่สงสัยว่าจะเป็นโรคไทรอยด์ควรมาเจาะเลือดและพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยไทรอยด์ อย่าละเลยตรวจเช็กไทรอยด์ ในคนที่มีอาการแสดงดังต่อไปนี้ควรเข้ารับการตรวจระดับไทรอยด์ฮอร์โมน คอโตขึ้น คลำเจอก้อนบริเวณคอด้านหน้า มีอาการไทรอยด์ทำงานน้อยเกินไป (ชนิดอ้วน) เช่น เหนื่อยง่าย เพลียง่าย ขี้หนาว ท้องผูก น้ำหนักขึ้นง่าย มีอาการไทรอยด์ทำงานมากเกินไป (ชนิดผอม) เช่น มือสั่น ใจสั่น น้ำหนักลดลง โดยที่ยังทานอาหารเป็นปกติหรือมากกว่าปกติ วิตกกังวล หงุดหงิดมากกว่าปกติ ตาโปนโตกว่าปกติ คอโตขึ้น ลำไส้เคลื่อนไหวมากกว่าปกติ ขับถ่ายบ่อยขึ้น เหงื่อออกมาก ทั้งนี้ไทรอยด์เป็นโรคที่ไม่ควรมองข้าม หากมีอาการข้างต้นต้องได้รับการรักษาโดยแพทย์เฉพาะทางนะคะ ขอขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

Hospital Logo

ติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่

บริการให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง