อาการเวียนศรีษะบ้านหมุน

อาการเวียนศรีษะบ้านหมุน

บ้านหมุน ที่ทุกเพศทุกวัยสามารถเป็นได้ ซึ่งมีจากหลายปัจจัยและหลายโรคทางกาย แพทย์แนะหากมีอาการให้พบแพทย์เพื่อทำงานวินิจฉัยหาสาเหตุ ทำการรักษาอย่างตรงจุด เพิ่มความปลอดภัยในชีวิตและคุณภาพชีวิตดีขึ้น

อยู่ๆโลกก็หมุน ตาพร่ามัว ทรงตัวไม่อยู่ หรือที่เราเรียกคุ้นปากว่า อาการบ้านหมุน ปัญหาของคนแทบทุกเพศทุกวัย ซึ่งบางทีก็มาแบบไม่ทันตั้งตัว หรือ มีอาการเครียดนำ และอาจเกิดได้หลายปัจจัย อาทิ โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน หรือ ประสาทการได้ยิน แนะผู้มีอาการให้หลีกเลี่ยงการขับขี่พาหนะหรือกิจกรรมเสี่ยง

เวียนศีรษะบ้านหมุน เป็นกลุ่มอาการ แบ่งได้เป็น

  • การมึนเวียนศีรษะ (Dizziness)
  • การเวียนศีรษะบ้านหมุน (Vertigo) คืออาการที่เกิดขึ้นเป็นลักษณะที่สภาพแวดล้อม สิ่งของรอบๆ ตัวหมุน หรือตัวเราหมุนทั้งที่อยู่กับที่

สาเหตุของอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน

  • น้ำในหูไม่เท่ากัน (Meniere disease) เกิดจากความผิดปกติของน้ำในหูชั้นใน ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ซึ่งทำให้เวียนศีรษะหมุนอย่างรุนแรง ร่วมกับคลื่นไส้ อาเจียน และเสียสมดุลของร่างกาย ทำให้เซได้ง่าย อาจเป็นนานหลายนาทีจนถึงหลายชั่วโมง ทำให้การได้ยินลดลง มีเสียงดังในหู

  • การอักเสบหูชั้นใน (Labyrinthitis) เกี่ยวข้องกับระบบประสาทและการได้ยิน มีที่มาจากเชื้อไวรัส มักพบมีประวัติเป็นไข้หวัด ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากการอักเสบของเส้นประสาทการได้ยินและการทรงตัว อาการจะรุนแรงเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน รวมถึงอาจศูนย์เสียการได้ยินร่วมด้วย

  • เส้นประสาทการทรงตัวอักเสบ (Vestibular neuronitis) อาการอาจรุนแรงนานหลายชั่วโมงหรือเป็นวัน

  • เนื้องอกประสาทการได้ยิน (Acoustic neuroma) จะมีอาการเสียงรบกวนในหู และปัญหาการได้ยินร่วมด้วย

  • เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ(Vertebro-basilar insufficiency)

  • โดยการรักษาแพทย์จะทำการซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพื่อสามารถระบุสาเหตุที่ชัดเจน ซึ่งในบางรายอาจต้องตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น ตรวจการได้ยินการรักษาตามอาการ ทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การรับประทานยา การทำกายภาพบำบัด

    หลีกเลี่ยงบ้านหมุนจากปัจจัยกระตุ้นอาการ

  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ

  • ความเครียด

  • การพักผ่อนไม่เพียงพอ

  • สารก่อภูมิแพ้ต่างๆ ท่าทางที่ทำให้เวียนศีรษะ เช่น การก้ม การเงย การหมุนตัว เป็นต้น

สำหรับผู้ที่มีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน ควรระวังกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดอันตรายกับชีวิต อาทิ การขับขี่ยานพาหนะ การทำงานกับเครื่องจักรกล สิ่งที่ดีที่สุด คือควรพบแพทย์และดูแลตนเองตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer)

โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer)

โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer) โรคอัลไซเมอร์ เกิดจากการตายของเซลล์สมองเป็นจำนวนมาก เป็นสาเหตุหลักในการเกิดโรคสมองเสื่อมโดนอาการของโรคจะเป็นไปอย่างช้าๆ เริ่มต้นจากไม่มีความผิดปกติเริ่มงความตำ ต่อมาจะเริ่มมีความจำถดถอยมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและการเข้าสังคม อาการของโรคอัลไซเมอร์ การป้องกันโรคเพื่อลดความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที 5 วันต่อสัปดาห์ ฝึกการทำงานของสมอง ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมที่ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

โรคหลอดเลือดสมอง เร็วก็รอด...ปลอดอัมพาต 1

โรคหลอดเลือดสมอง เร็วก็รอด...ปลอดอัมพาต 1

กลุ่มอาหารเพิ่มคความเสี่ยงอัลไซเมอร์-เบาหวาน

กลุ่มอาหารเพิ่มคความเสี่ยงอัลไซเมอร์-เบาหวาน

กลุ่มอาหารเพิ่มคความเสี่ยงอัลไซเมอร์-เบาหวาน สมองของเราใช้งานหนักในทุกๆวัน การบำรุงสมองถือว่าสำคัญ โดยเฉพาะการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ เน้นผักใบเขียวที่อุดมด้วยวิตามิน แร่ธาตุ ต่างๆ จะช่วยลับคมและชะลอความเสื่อมของสมองตามวัยและป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้แม้โรคดังกล่าวจะมีโอกาสส่งต่อทางพันธุกรรมได้ โดยในกลุ่มอาหารแน่นอนว่ามีทั้งดีต่อสมองและทำร้ายสมองได้เช่นเดียวกัน หากกินเข้าไปมองเกินไป อาจทำให้คุณแก่ก่อนวัยและก่อโรคอัลไซเมอร์ได้ ซึ่งการหลีกเลี่ยงบริโภคอาหารเหล่านี้ จะช่วยให้คุณรักษาเซลล์สมองอันมีค่าไว้ได้ 4 อาหารที่แย่ที่สุดสำหรับสุขภาพสมอง น้ำตาลทรายขาว จัดอยู่ในอันดับต้น ๆ ของอาหารที่แย่ที่สุดสำหรับสุขภาพสมอง ซึ่งคุณอาจจะแปลกใจหรือไม่ก็ได้ น้ำตาลขัดสีมากเกินไป เช่น น้ำเชื่อมข้าวโพดฟรุกโตสสูง (HFCS) อาจส่งผลเสียต่อสมองได้ คุณจะพบน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ในอาหาร เช่น น้ำอัดลม น้ำผลไม้กระป๋อง ลูกอม ขนมขบเคี้ยว และแม้กระทั่งอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น กราโนลาบาร์ โยเกิร์ตรสหวาน ผลไม้กระป๋อง และน้ำสลัด! ฉะนั้นการเลือกซื้อเป็นทางออกของการบริโภคน้ำตาลเกินความจำเป็น ในทางอ้อม อาจเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 และโรคอัลไซเมอร์ นำไปสู่ความผิดปกติของการเผาผลาญอื่นๆ เช่น ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง และโรคหัวใจ ซึ่งทั้งหมดนี้จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมด้วย คาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสี อย่างเช่น แป้งขาวแปรรูป (เช่น ขนมปังขาว พาสต้า) อาหารเหล่านี้มีปริมาณไฟเบอร์ถูกกำจัดออกระหว่างการแปรรูป ซึ่งเป็นสาเหตุให้ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นมากกว่าโฮลเกรน ซึ่งเป็นข่าวร้ายสำหรับสมองของคุณ คาร์โบไฮเดรตขัดสีที่เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดแสดงให้เห็นว่าไม่ดีต่อสมองของคุณ ในความเป็นจริงการศึกษาชิ้นหนึ่งแสดงให้เห็นว่าแม้แต่อาหารมื้อเดียวที่เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดอย่างมากก็อาจทำให้ความจำของคุณแย่ลงได้ นักวิจัยระบุว่าอาจเป็นเพราะอาหารเหล่านี้ทำให้เกิดการอักเสบของฮิปโปแคมปัส ซึ่งเป็นพื้นที่ของสมองที่ส่งผลต่อความจำ การอักเสบของสมองยังเชื่อมโยงกับการพัฒนาของภาวะสมองเสื่อม ตัวอย่างเช่น นักวิจัยจากการศึกษาหนึ่งพบว่าในบรรดาผู้สูงอายุ ผู้ที่บริโภคคาร์โบไฮเดรตมากกว่า 58 เปอร์เซ็นต์ของแคลอรี่ต่อวันมีความเสี่ยงต่อความบกพร่องทางจิตและภาวะสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นสองเท่า! ไขมันทรานส์ ไขมันนั้นมีทั้งแบบ ไขมันดีและไขมันเลว โดยไขมันดี เช่น โอเมก้า 3 เพื่อปรับปรุงความจำและลดความเสี่ยงของการลดลงของความรู้ความเข้าใจ ในทางกลับกัน ไขมันเลวอย่างไขมันทรานส์อาจให้ผลตรงกันข้าม และมักพบในอาหารอย่างเช่น มาการีน ขนมอบอย่างเค้กและคุกกี้ ครีมเทียมสำหรับกาแฟ แป้งโดสำเร็จรูปแช่เย็น เช่น บิสกิตและครัวซองต์ อาหารทอด และมีงานวิจัยจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ พบว่าการได้รับไขมันทรานส์ในปริมาณมากทำให้มีความเสี่ยงสูงต่อโรคอัลไซเมอร์ความจำเสื่อมและสติปัญญาลดลง แอลกอฮอล์ การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปส่งผลต่อสมองโดยตรงโดยรบกวนสารสื่อประสาท ซึ่งเป็นสารเคมีที่สมองใช้ในการสื่อสาร การดื่มแอลกอฮอล์อย่างเรื้อรังยังสัมพันธ์กับขนาดสมองที่ลดลงการวิจัยจำนวนมากแสดงให้เห็นว่าการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปเป็นพิษต่อสมอง ยิ่งกว่านั้น การศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้พบว่าการดื่มสุราอาจนำไปสู่อาการอัลไซเมอร์ได้เร็วขึ้น และมีอาการรุนแรงมากขึ้น แทนอาหารทำลายสมองเป็นอาหารบำรุงสมองที่อร่อยไม่แพ้กัน! เปลี่ยนน้ำตาลแปรรูปและน้ำเชื่อมข้าวโพดฟรุกโตสสูงกับอาหารรสหวานตามธรรมชาติ เช่น เบอร์รี่และช็อกโกแลต (นั่นคือโกโก้ 70 เปอร์เซ็นต์) ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ปกป้องสมองสูง! เปลี่ยนจากน้ำมันพืชเป็นน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันอะโวคาโด ซึ่งล้วนเป็นส่วนหนึ่งของอาหารบำรุงสมอง ทานถั่วอย่างวอลนัท พิสตาชิโอ และอัลมอนด์ ซึ่งมีไขมันที่สมองต้องการเพื่อการเจริญเติบโต กระตุ้นสมองด้วยเครื่องเทศ ซึ่งช่วยลดการอักเสบ เช่น ขมิ้น พริกป่น และอบเชย อาหารเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยชะลอและป้องกันโรคอย่าลืมออกกำลังกายเป็นประจำ หากพบความปิดปกติสัญญาณของอัลไซเมอร์ อย่างเช่น หลงลืมบ่อย ลืมการใช้งานของใช้ที่ใช้เป็นประจำ เช่น ลืมว่าปากกาหรือกรรไกรคืออะไร หรือมีไว้ทำอะไร เช่นเดียวกับคนรอบข้างเริ่มบอกถึงความเปลี่ยนแปลงที่น่าสงสัย ให้รีบพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยโดยด่วนนะคะ ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

โรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) Stroke หรือ โรคหลอดเลือดสมอง คือ ภาวะที่ทำให้เซลล์สมองถูกทำลาย ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน หรือแตกทำให้ขัดขวางการลำเลียงเลือดซึ่งนำออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงเซลล์สมอง ส่งผลให้สมองสูญเสียการทำหน้าที่จนเกิดอาการของอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

นอนหลับอย่างไรให้สมองสดใสหลังตื่น

นอนหลับอย่างไรให้สมองสดใสหลังตื่น

นอนหลับอย่างไรให้สมองสดใสหลังตื่น เพราะการนอนหลับมีความสำคัญกับชีวิตและมีความสัมพันธ์กับการสะสมพลังงาน การสร้างสมดุลให้ทุกระบบของร่างกาย ดังนั้นการนอนหลับให้ดีไม่เพียงช่วยให้สมองแข็งแรง แต่ช่วยให้สมองได้ทำความสะอาดไปในตัวด้วย ในชีวิตประจำวันระหว่างการตื่นตัวของคน สมองและร่างกายจะมีการใช้พลังงานและเกิดผลิตผลของเหลือใช้ในระบบต่าง ๆ เสมือนเป็นขยะที่ต้องกำจัดออก หากมีปริมาณมาก รุงรัง ระเกะระกะในสมองจะส่งผลให้เกิดความบกพร่องของการส่งกระแสประสาท ความรู้ความจำถดถอย อารมณ์แปรปรวน และหากเซลล์ประสาทที่เสียหายเป็นเซลล์ประสาทที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ร่วมด้วย สุดท้ายจะทำให้เกิดภาวะการทำงานล้มเหลวของหลายระบบของร่างกาย นอนหลับให้สมองสดใส การนอนหลับที่ช่วยให้สมองได้ทำความสะอาดและสดใสหลังตื่นนอน ได้แก่ นอนหลับในปริมาณที่เหมาะสม รูปแบบและตารางการนอนหลับสม่ำเสมอ เริ่มต้นหลับง่าย หลับต่อเนื่อง ไม่หลับ ๆ ตื่น ๆ ไม่ลุกเข้าห้องน้ำมากกว่า 1 ครั้งต่อคืน มีคุณภาพการนอนหลับที่ดี อาทิ สมองหลับได้ทั้งระยะหลับตื้น หลับลึก และหลับฝัน ครบวงจรอย่างสมบูรณ์ หายใจได้ดี ไม่หยุดหายใจ ไม่ติดขัด ไม่กรน ไม่กัดฟัน หัวใจเต้นเป็นจังหวะปกติ กล้ามเนื้อผ่อนคลายขณะหลับ ไม่ละเมอ ไม่มีการกระตุกของร่างกาย หลับสงบไม่ผวากรีดร้อง ประโยชน์จากคุณภาพการนอนที่ดี หากมีปริมาณ รูปแบบ และคุณภาพการนอนหลับที่ดีจะส่งผลดีต่อสมอง ไม่ว่าจะเป็น สมองกำจัดผลิตผลเหลือใช้ของเซลล์ประสาท เสริมสร้างความจำ พัฒนาทักษะต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร่างกายทำงานได้เป็นปกติในภาพรวมด้วย อย่างไรก็ตามด้วยความแตกต่างของแต่ละบุคคล การจะมีลักษณะการนอนหลับที่ดีทั้งรูปแบบ ปริมาณ และคุณภาพที่เหมาะสมจำเป็นจะต้องได้รับการตรวจโดยแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนหลับเพื่อสร้างสุขภาพการนอนหลับและสร้างพื้นฐานสุขภาพที่ดีให้กับร่างกาย ขอบคุณข้อมูลจาก : ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล

โรคหลอดเลือดสมอง เร็วก็รอด...ปลอดอัมพาต 2

โรคหลอดเลือดสมอง เร็วก็รอด...ปลอดอัมพาต 2