โรคหลอดเลือดสมอง เร็วก็รอด...ปลอดอัมพาต 2
บทความที่เกี่ยวข้อง
-(25-11-2022)-(14-33-37).png)
โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer)
โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer) โรคอัลไซเมอร์ เกิดจากการตายของเซลล์สมองเป็นจำนวนมาก เป็นสาเหตุหลักในการเกิดโรคสมองเสื่อมโดนอาการของโรคจะเป็นไปอย่างช้าๆ เริ่มต้นจากไม่มีความผิดปกติเริ่มงความตำ ต่อมาจะเริ่มมีความจำถดถอยมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและการเข้าสังคม อาการของโรคอัลไซเมอร์ การป้องกันโรคเพื่อลดความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที 5 วันต่อสัปดาห์ ฝึกการทำงานของสมอง ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมที่ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888
-(16-03-2023)-(13-43-03).png)
อาการเวียนศรีษะบ้านหมุน
อาการเวียนศรีษะบ้านหมุน บ้านหมุน ที่ทุกเพศทุกวัยสามารถเป็นได้ ซึ่งมีจากหลายปัจจัยและหลายโรคทางกาย แพทย์แนะหากมีอาการให้พบแพทย์เพื่อทำงานวินิจฉัยหาสาเหตุ ทำการรักษาอย่างตรงจุด เพิ่มความปลอดภัยในชีวิตและคุณภาพชีวิตดีขึ้น อยู่ๆโลกก็หมุน ตาพร่ามัว ทรงตัวไม่อยู่ หรือที่เราเรียกคุ้นปากว่า อาการบ้านหมุน ปัญหาของคนแทบทุกเพศทุกวัย ซึ่งบางทีก็มาแบบไม่ทันตั้งตัว หรือ มีอาการเครียดนำ และอาจเกิดได้หลายปัจจัย อาทิ โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน หรือ ประสาทการได้ยิน แนะผู้มีอาการให้หลีกเลี่ยงการขับขี่พาหนะหรือกิจกรรมเสี่ยง เวียนศีรษะบ้านหมุน เป็นกลุ่มอาการ แบ่งได้เป็น การมึนเวียนศีรษะ (Dizziness) การเวียนศีรษะบ้านหมุน (Vertigo) คืออาการที่เกิดขึ้นเป็นลักษณะที่สภาพแวดล้อม สิ่งของรอบๆ ตัวหมุน หรือตัวเราหมุนทั้งที่อยู่กับที่ สาเหตุของอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน น้ำในหูไม่เท่ากัน (Meniere disease) เกิดจากความผิดปกติของน้ำในหูชั้นใน ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ซึ่งทำให้เวียนศีรษะหมุนอย่างรุนแรง ร่วมกับคลื่นไส้ อาเจียน และเสียสมดุลของร่างกาย ทำให้เซได้ง่าย อาจเป็นนานหลายนาทีจนถึงหลายชั่วโมง ทำให้การได้ยินลดลง มีเสียงดังในหู การอักเสบหูชั้นใน (Labyrinthitis) เกี่ยวข้องกับระบบประสาทและการได้ยิน มีที่มาจากเชื้อไวรัส มักพบมีประวัติเป็นไข้หวัด ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากการอักเสบของเส้นประสาทการได้ยินและการทรงตัว อาการจะรุนแรงเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน รวมถึงอาจศูนย์เสียการได้ยินร่วมด้วย เส้นประสาทการทรงตัวอักเสบ (Vestibular neuronitis) อาการอาจรุนแรงนานหลายชั่วโมงหรือเป็นวัน เนื้องอกประสาทการได้ยิน (Acoustic neuroma) จะมีอาการเสียงรบกวนในหู และปัญหาการได้ยินร่วมด้วย เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ(Vertebro-basilar insufficiency) โดยการรักษาแพทย์จะทำการซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพื่อสามารถระบุสาเหตุที่ชัดเจน ซึ่งในบางรายอาจต้องตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น ตรวจการได้ยินการรักษาตามอาการ ทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การรับประทานยา การทำกายภาพบำบัด หลีกเลี่ยงบ้านหมุนจากปัจจัยกระตุ้นอาการ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ สารก่อภูมิแพ้ต่างๆ ท่าทางที่ทำให้เวียนศีรษะ เช่น การก้ม การเงย การหมุนตัว เป็นต้น สำหรับผู้ที่มีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน ควรระวังกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดอันตรายกับชีวิต อาทิ การขับขี่ยานพาหนะ การทำงานกับเครื่องจักรกล สิ่งที่ดีที่สุด คือควรพบแพทย์และดูแลตนเองตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ขอขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ
-(31-07-2023)-(16-48-28).png)
นอนหลับอย่างไรให้สมองสดใสหลังตื่น
นอนหลับอย่างไรให้สมองสดใสหลังตื่น เพราะการนอนหลับมีความสำคัญกับชีวิตและมีความสัมพันธ์กับการสะสมพลังงาน การสร้างสมดุลให้ทุกระบบของร่างกาย ดังนั้นการนอนหลับให้ดีไม่เพียงช่วยให้สมองแข็งแรง แต่ช่วยให้สมองได้ทำความสะอาดไปในตัวด้วย ในชีวิตประจำวันระหว่างการตื่นตัวของคน สมองและร่างกายจะมีการใช้พลังงานและเกิดผลิตผลของเหลือใช้ในระบบต่าง ๆ เสมือนเป็นขยะที่ต้องกำจัดออก หากมีปริมาณมาก รุงรัง ระเกะระกะในสมองจะส่งผลให้เกิดความบกพร่องของการส่งกระแสประสาท ความรู้ความจำถดถอย อารมณ์แปรปรวน และหากเซลล์ประสาทที่เสียหายเป็นเซลล์ประสาทที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ร่วมด้วย สุดท้ายจะทำให้เกิดภาวะการทำงานล้มเหลวของหลายระบบของร่างกาย นอนหลับให้สมองสดใส การนอนหลับที่ช่วยให้สมองได้ทำความสะอาดและสดใสหลังตื่นนอน ได้แก่ นอนหลับในปริมาณที่เหมาะสม รูปแบบและตารางการนอนหลับสม่ำเสมอ เริ่มต้นหลับง่าย หลับต่อเนื่อง ไม่หลับ ๆ ตื่น ๆ ไม่ลุกเข้าห้องน้ำมากกว่า 1 ครั้งต่อคืน มีคุณภาพการนอนหลับที่ดี อาทิ สมองหลับได้ทั้งระยะหลับตื้น หลับลึก และหลับฝัน ครบวงจรอย่างสมบูรณ์ หายใจได้ดี ไม่หยุดหายใจ ไม่ติดขัด ไม่กรน ไม่กัดฟัน หัวใจเต้นเป็นจังหวะปกติ กล้ามเนื้อผ่อนคลายขณะหลับ ไม่ละเมอ ไม่มีการกระตุกของร่างกาย หลับสงบไม่ผวากรีดร้อง ประโยชน์จากคุณภาพการนอนที่ดี หากมีปริมาณ รูปแบบ และคุณภาพการนอนหลับที่ดีจะส่งผลดีต่อสมอง ไม่ว่าจะเป็น สมองกำจัดผลิตผลเหลือใช้ของเซลล์ประสาท เสริมสร้างความจำ พัฒนาทักษะต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร่างกายทำงานได้เป็นปกติในภาพรวมด้วย อย่างไรก็ตามด้วยความแตกต่างของแต่ละบุคคล การจะมีลักษณะการนอนหลับที่ดีทั้งรูปแบบ ปริมาณ และคุณภาพที่เหมาะสมจำเป็นจะต้องได้รับการตรวจโดยแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนหลับเพื่อสร้างสุขภาพการนอนหลับและสร้างพื้นฐานสุขภาพที่ดีให้กับร่างกาย ขอบคุณข้อมูลจาก : ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล
-(03-10-2023)-(10-05-15).jpg)
“ภาวะเลือดออกในสมอง….อันตรายถึงชีวิต”
“ภาวะเลือดออกในสมอง….อันตรายถึงชีวิต” 5 คำถาม คำตอบ ภาวะเลือดออกในสมอง เข้าใจง่ายๆ รู้เร็ว รักษาเร็ว สุขภาพดี โดย นพ.อดิศักดิ์ แทนปั้น แพทย์ผู้ชำนาญการสาขาประสาทศัลยศาสตร์ 1. ภาวะเลือดออกในสมองคืออะไรและมีสาเหตุเกิดจากอะไร ภาวะเลือดออกในสมอง คือ กลุ่มหนึ่งของโรคหลอดเลือดสมอง ที่เกิดหลอดเลือกสมองแตกเป็นก้อนเลือดไปกดเนื้อสมอง ทำให้เกิดอาการตามตำแหน่งที่กด เช่น อาการชาอ่อนแรง พูดไม่ชัด ปวดศีรษะ ชักเกร็ง ซึมลง และถ้าเลือดออกปริมาณมากก็มีผลกดก้านสมองจนเสียชีวิตได้ สาเหตุของเลือดออกในสมองมีสองกลุ่มสาเหตุหลักๆคือ กลุ่มที่หนึ่งจากหลอดเลือดสมองโดยตรง เช่น ภาวะความดันสูง ภาวะหลอดเลือดสมองโป่งพอง ภาวะหลอดเลือดสมองผิดปกติ กับกลุ่มที่สองคือจากปัจจัยอื่นมาส่งผล เช่น อุบัติเหตุสมองได้รับบาดเจ็บ เนื้องอกในสมอง หรือภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติหรือมาจากการทานยาที่ส่งผล 2. การวินิจฉัยเลือดออกในสมองมีวิธีการอย่างไร เลือดออกในสมองเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน นอกจากประวัติของผู้ป่วยและการประเมินอาการแล้ว แพทย์จะทำการวินิจฉัยอย่างละเอียดด้วยวิธี CT scan ทำ MRI Scan หรือการตรวจหลอดเลือดโดยใช้เครื่องถ่ายภาพสนามแม่เหล็ก และตรวจภาพรังสีสวนหลอดเลือดสมองเพื่อประเมินภาวะเส้นเลือดแดงโป่งพอง 3. การรักษาภาวะเลือดออกในสมองมีวิธีการอย่างไร การรักษาภาวะเลือดออกในสมองเป็นการรักษาภาวะฉุกเฉิน โดยพิจารรณาปัจจัย ปริมาณเลือดที่ออกในสมอง สาเหตุ ตำแหน่งและรวมถึงขอบเขตที่เลือดออก การรับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะช่วยให้ลดความเสียหายที่เกิดขึ้นที่สมองและช่วยให้สามารถฟื้นตัวจากภาวะเลือดออกในสมองได้เร็ว แนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล เช่น การรักษาด้วยยา การผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ การผ่าตัดใส่สายระบายเลือดและน้ำจากโพรงสมอง และการผ่าตัดโดยใช้คลิปหนีบที่บริเวณเส้นเลือดโป่งพอง เป็นต้น 4. คำแนะนำและการลดภาวะเสี่ยงเลือดออกในสมองทำอย่างไรได้บ้าง ดูแลสุภาพร่างกายและจิตใจ ด้วยหลักการ 3 อ คือ อาหารดี ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และอารมณ์ดี ใช้ชีวิตด้วยทัศนคติที่ดี ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี และเมื่อมีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง ควรรับประทายยาควบคุมในระดับที่เหมาะสม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น งดบุหรี่ เลิกสุรา ขับขี่มอเตอร์ไซด์ใส่หมวกนิรภัยเสมอ 5. การฟื้นฟูรักษาภาวะเลือดออกในสมองให้ผู้ป่วยกลับมาเป็นปกติใช้ระยะเวลานานเท่าไร การฟื้นฟูจากภาวะเลือดออกในสมองใช้ระยะเวลานาน มากกว่าสามเดือนจนถึงปี เพื่อให้ระบบประสาทสมองฟื้นฟูมาเป็นปกติ และขึ้นกับปัจจัยผู้ป่วยร่วมกับการทานยาสม่ำเสมอ กาพภาพอย่างต่อเนื่อง และรับประทานอาหารที่มีคุณค่าในการช่วยเสริมสร้างระบบประสาทเพื่อให้ผู้ป่วยฟื้นตัวจากเดิม “ภาวะเลือดออกในสมองก่อให้เกิดความพิการและเสียชีวิตได้ มีผลกับทั้งคนไข้ รวมถึงคนในครอบครัวที่ต้องดูแล การป้องกันไม่ให้เกิดจึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ด้วยการดูแลสุขภาพ ตรวจร่างกายสม่ำเสมอ ใช้ชีวิตอย่างรอบคอบสามารถลดความเสี่ยงได้ เมื่อมีอาการหรือสงสัยว่าเรามีเลือดออกในสมองควรพบแพทย์ทางสมองอย่างรวดเร็ว เพื่อการรักษาได้ผลดี” สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888
-(25-11-2022)-(16-49-03).png)
โรคหลอดเลือดสมอง
โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) Stroke หรือ โรคหลอดเลือดสมอง คือ ภาวะที่ทำให้เซลล์สมองถูกทำลาย ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน หรือแตกทำให้ขัดขวางการลำเลียงเลือดซึ่งนำออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงเซลล์สมอง ส่งผลให้สมองสูญเสียการทำหน้าที่จนเกิดอาการของอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้