นอนหลับอย่างไรให้สมองสดใสหลังตื่น

นอนหลับอย่างไรให้สมองสดใสหลังตื่น

เพราะการนอนหลับมีความสำคัญกับชีวิตและมีความสัมพันธ์กับการสะสมพลังงาน การสร้างสมดุลให้ทุกระบบของร่างกาย ดังนั้นการนอนหลับให้ดีไม่เพียงช่วยให้สมองแข็งแรง แต่ช่วยให้สมองได้ทำความสะอาดไปในตัวด้วย

ในชีวิตประจำวันระหว่างการตื่นตัวของคน สมองและร่างกายจะมีการใช้พลังงานและเกิดผลิตผลของเหลือใช้ในระบบต่าง ๆ เสมือนเป็นขยะที่ต้องกำจัดออก หากมีปริมาณมาก รุงรัง ระเกะระกะในสมองจะส่งผลให้เกิดความบกพร่องของการส่งกระแสประสาท ความรู้ความจำถดถอย อารมณ์แปรปรวน และหากเซลล์ประสาทที่เสียหายเป็นเซลล์ประสาทที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ร่วมด้วย สุดท้ายจะทำให้เกิดภาวะการทำงานล้มเหลวของหลายระบบของร่างกาย

นอนหลับให้สมองสดใส

การนอนหลับที่ช่วยให้สมองได้ทำความสะอาดและสดใสหลังตื่นนอน ได้แก่

  • นอนหลับในปริมาณที่เหมาะสม
  • รูปแบบและตารางการนอนหลับสม่ำเสมอ
  • เริ่มต้นหลับง่าย หลับต่อเนื่อง ไม่หลับ ๆ ตื่น ๆ
  • ไม่ลุกเข้าห้องน้ำมากกว่า 1 ครั้งต่อคืน
  • มีคุณภาพการนอนหลับที่ดี อาทิ
    • สมองหลับได้ทั้งระยะหลับตื้น หลับลึก และหลับฝัน ครบวงจรอย่างสมบูรณ์
    • หายใจได้ดี ไม่หยุดหายใจ ไม่ติดขัด
    • ไม่กรน
    • ไม่กัดฟัน
    • หัวใจเต้นเป็นจังหวะปกติ
    • กล้ามเนื้อผ่อนคลายขณะหลับ
    • ไม่ละเมอ
    • ไม่มีการกระตุกของร่างกาย
    • หลับสงบไม่ผวากรีดร้อง

ประโยชน์จากคุณภาพการนอนที่ดี

หากมีปริมาณ รูปแบบ และคุณภาพการนอนหลับที่ดีจะส่งผลดีต่อสมอง ไม่ว่าจะเป็น

  • สมองกำจัดผลิตผลเหลือใช้ของเซลล์ประสาท
  • เสริมสร้างความจำ
  • พัฒนาทักษะต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ร่างกายทำงานได้เป็นปกติในภาพรวมด้วย

อย่างไรก็ตามด้วยความแตกต่างของแต่ละบุคคล การจะมีลักษณะการนอนหลับที่ดีทั้งรูปแบบ ปริมาณ และคุณภาพที่เหมาะสมจำเป็นจะต้องได้รับการตรวจโดยแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนหลับเพื่อสร้างสุขภาพการนอนหลับและสร้างพื้นฐานสุขภาพที่ดีให้กับร่างกาย

ขอบคุณข้อมูลจาก : ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer)

โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer)

โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer) โรคอัลไซเมอร์ เกิดจากการตายของเซลล์สมองเป็นจำนวนมาก เป็นสาเหตุหลักในการเกิดโรคสมองเสื่อมโดนอาการของโรคจะเป็นไปอย่างช้าๆ เริ่มต้นจากไม่มีความผิดปกติเริ่มงความตำ ต่อมาจะเริ่มมีความจำถดถอยมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและการเข้าสังคม อาการของโรคอัลไซเมอร์ การป้องกันโรคเพื่อลดความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที 5 วันต่อสัปดาห์ ฝึกการทำงานของสมอง ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมที่ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

ปวดหัวแบบไหนที่เราควรกังวล

ปวดหัวแบบไหนที่เราควรกังวล

ปวดหัวจังเลยจะเป็นไรไหม? เป็นคำถามที่อยู่ในใจหลายคนเวลาที่ปวดหัว ซึ่งอาการปวดหัวในตำแหน่งต่างๆ บ่งบอกสาเหตุของโรคที่ต่างกันออกไป การตรวจคัดกรองจึงเป็นเรื่องสำคัญ โดยที่เราไม่ต้องคอยกังวลว่า… ปรึกษาแพทย์เฉพาะทางโรคระบบประสาทและสมอง https://doctor.bangkokhospitalchanthaburi.com/alldoctor.php #ศูนย์สมองและระบบประสาท

โรคหลอดเลือดสมอง เร็วก็รอด...ปลอดอัมพาต 2

โรคหลอดเลือดสมอง เร็วก็รอด...ปลอดอัมพาต 2

“ภาวะเลือดออกในสมอง….อันตรายถึงชีวิต”

“ภาวะเลือดออกในสมอง….อันตรายถึงชีวิต”

“ภาวะเลือดออกในสมอง….อันตรายถึงชีวิต” 5 คำถาม คำตอบ ภาวะเลือดออกในสมอง เข้าใจง่ายๆ รู้เร็ว รักษาเร็ว สุขภาพดี โดย นพ.อดิศักดิ์ แทนปั้น แพทย์ผู้ชำนาญการสาขาประสาทศัลยศาสตร์ 1. ภาวะเลือดออกในสมองคืออะไรและมีสาเหตุเกิดจากอะไร ภาวะเลือดออกในสมอง คือ กลุ่มหนึ่งของโรคหลอดเลือดสมอง ที่เกิดหลอดเลือกสมองแตกเป็นก้อนเลือดไปกดเนื้อสมอง ทำให้เกิดอาการตามตำแหน่งที่กด เช่น อาการชาอ่อนแรง พูดไม่ชัด ปวดศีรษะ ชักเกร็ง ซึมลง และถ้าเลือดออกปริมาณมากก็มีผลกดก้านสมองจนเสียชีวิตได้ สาเหตุของเลือดออกในสมองมีสองกลุ่มสาเหตุหลักๆคือ กลุ่มที่หนึ่งจากหลอดเลือดสมองโดยตรง เช่น ภาวะความดันสูง ภาวะหลอดเลือดสมองโป่งพอง ภาวะหลอดเลือดสมองผิดปกติ กับกลุ่มที่สองคือจากปัจจัยอื่นมาส่งผล เช่น อุบัติเหตุสมองได้รับบาดเจ็บ เนื้องอกในสมอง หรือภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติหรือมาจากการทานยาที่ส่งผล 2. การวินิจฉัยเลือดออกในสมองมีวิธีการอย่างไร เลือดออกในสมองเป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน นอกจากประวัติของผู้ป่วยและการประเมินอาการแล้ว แพทย์จะทำการวินิจฉัยอย่างละเอียดด้วยวิธี CT scan ทำ MRI Scan หรือการตรวจหลอดเลือดโดยใช้เครื่องถ่ายภาพสนามแม่เหล็ก และตรวจภาพรังสีสวนหลอดเลือดสมองเพื่อประเมินภาวะเส้นเลือดแดงโป่งพอง 3. การรักษาภาวะเลือดออกในสมองมีวิธีการอย่างไร การรักษาภาวะเลือดออกในสมองเป็นการรักษาภาวะฉุกเฉิน โดยพิจารรณาปัจจัย ปริมาณเลือดที่ออกในสมอง สาเหตุ ตำแหน่งและรวมถึงขอบเขตที่เลือดออก การรับการรักษาอย่างทันท่วงทีจะช่วยให้ลดความเสียหายที่เกิดขึ้นที่สมองและช่วยให้สามารถฟื้นตัวจากภาวะเลือดออกในสมองได้เร็ว แนวทางการรักษาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล เช่น การรักษาด้วยยา การผ่าตัดเปิดกะโหลกศีรษะ การผ่าตัดใส่สายระบายเลือดและน้ำจากโพรงสมอง และการผ่าตัดโดยใช้คลิปหนีบที่บริเวณเส้นเลือดโป่งพอง เป็นต้น 4. คำแนะนำและการลดภาวะเสี่ยงเลือดออกในสมองทำอย่างไรได้บ้าง ดูแลสุภาพร่างกายและจิตใจ ด้วยหลักการ 3 อ คือ อาหารดี ทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และอารมณ์ดี ใช้ชีวิตด้วยทัศนคติที่ดี ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี และเมื่อมีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง ควรรับประทายยาควบคุมในระดับที่เหมาะสม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เช่น งดบุหรี่ เลิกสุรา ขับขี่มอเตอร์ไซด์ใส่หมวกนิรภัยเสมอ 5. การฟื้นฟูรักษาภาวะเลือดออกในสมองให้ผู้ป่วยกลับมาเป็นปกติใช้ระยะเวลานานเท่าไร การฟื้นฟูจากภาวะเลือดออกในสมองใช้ระยะเวลานาน มากกว่าสามเดือนจนถึงปี เพื่อให้ระบบประสาทสมองฟื้นฟูมาเป็นปกติ และขึ้นกับปัจจัยผู้ป่วยร่วมกับการทานยาสม่ำเสมอ กาพภาพอย่างต่อเนื่อง และรับประทานอาหารที่มีคุณค่าในการช่วยเสริมสร้างระบบประสาทเพื่อให้ผู้ป่วยฟื้นตัวจากเดิม “ภาวะเลือดออกในสมองก่อให้เกิดความพิการและเสียชีวิตได้ มีผลกับทั้งคนไข้ รวมถึงคนในครอบครัวที่ต้องดูแล การป้องกันไม่ให้เกิดจึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด ด้วยการดูแลสุขภาพ ตรวจร่างกายสม่ำเสมอ ใช้ชีวิตอย่างรอบคอบสามารถลดความเสี่ยงได้ เมื่อมีอาการหรือสงสัยว่าเรามีเลือดออกในสมองควรพบแพทย์ทางสมองอย่างรวดเร็ว เพื่อการรักษาได้ผลดี” สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

โรคหลอดเลือดสมอง ร้ายแรงแต่ป้องกันได้

โรคหลอดเลือดสมอง ร้ายแรงแต่ป้องกันได้

โรคหลอดเลือดสมอง ร้ายแรงแต่ป้องกันได้ ด้วยการใส่ใจสุขภาพและหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง โรคหลอดเลือดสมอง จะมีทั้งโรคหลอดเลือดสมองตีบและโรคหลอดเลือดสมองแตก ซึ่งชนิดของโรคจะขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เกิด ทุกเพศทุกวัยสามารถป่วยเป็นโรคนี้ได้จากปัจจัยที่ต่างกัน ซึ่งโรคนี้นับว่าเป็นโรคร้ายแรงที่เราพบว่าเป็นต้นเหตุของการเสียชีวิตอยู่บ่อยครั้ง แต่คุณรู้หรือไม่ว่า? โรคหลอดเลือดสมองสามารถป้องกันได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพื่อสุขภาพที่ดีของตัวคุณเอง สิ่งที่ควรปฏิบัติ เพื่อลดโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ควบคุมความดันโลหิต เมื่ออายุมากขึ้น ความดันโลหิตจะเพิ่มขึ้นตามอายุ จึงต้องได้รับการตรวจวัดความดันโลหิตให้สม่ำเสมอ อย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง ควบคุมเบาหวาน พยายามรักษาระดับน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์และถูกสุขลักษณะ โดยลดการบริโภคอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว และโคเลสเตอรอล รับประทานอาหารที่มีกากใยสูง เช่น ผัก ผลไม้ ข้าวซ้อมมือ อาหารประเภทธัญพืช หลีกเลี่ยงอาหารที่รสเค็มจัดเกินไปหรือผ่านกระบวนการปรุงด้วยเกลือ เช่น อาหารหมักดอง อาหารตากแห้ง หรืออาหารกระป๋อง เป็นต้น งดสูบบุหรี่ เมื่อหยุดสูบบุหรี่ 1 ปี สามารถลดปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดสมองลงถึงครึ่งนึ่ง ถ้าหัวใจเต้นผิดจังหวะ (AF: Atrial Fibrillation) เพื่อพบแพทย์เพื่อทำการรักษาให้เร็วที่สุด ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ซึ่งต้องปรับวิถีการดำเนินชีวิตให้ถูกสุขลักษณะหรือการรับประทานยาลดระดับไขมันในเลือดตามคำสั่งแพทย์ การออกกำลังกาย ควรใช้เวลาในการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมดังต่อไปนี้ ออกกำลังกายเบา ๆ ควรใช้เวลาประมาณ 60 นาที ออกกำลังกายระดับปานกลาง ควรใช้เวลาประมาณ 30-60 นาที ออกกำลังกายที่ใช้แรงมาก ควรใช้เวลาประมาณ 20-30 นาที ควรงดดื่มแอลกอฮอล์ ควบคุมน้ำหนักตัว โดยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เช่น ลดการรับประทานอาหารที่มีแคลอรี่สูง และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

ภาวะสมองเสื่อม กับ โรคอัลไซเมอร์

ภาวะสมองเสื่อม กับ โรคอัลไซเมอร์

Hospital Logo

ติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่

บริการให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง