กลุ่มอาหารเพิ่มคความเสี่ยงอัลไซเมอร์-เบาหวาน

กลุ่มอาหารเพิ่มคความเสี่ยงอัลไซเมอร์-เบาหวาน

สมองของเราใช้งานหนักในทุกๆวัน การบำรุงสมองถือว่าสำคัญ โดยเฉพาะการบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ เน้นผักใบเขียวที่อุดมด้วยวิตามิน แร่ธาตุ ต่างๆ จะช่วยลับคมและชะลอความเสื่อมของสมองตามวัยและป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้แม้โรคดังกล่าวจะมีโอกาสส่งต่อทางพันธุกรรมได้ โดยในกลุ่มอาหารแน่นอนว่ามีทั้งดีต่อสมองและทำร้ายสมองได้เช่นเดียวกัน หากกินเข้าไปมองเกินไป อาจทำให้คุณแก่ก่อนวัยและก่อโรคอัลไซเมอร์ได้ ซึ่งการหลีกเลี่ยงบริโภคอาหารเหล่านี้ จะช่วยให้คุณรักษาเซลล์สมองอันมีค่าไว้ได้

4 อาหารที่แย่ที่สุดสำหรับสุขภาพสมอง

  • น้ำตาลทรายขาว

จัดอยู่ในอันดับต้น ๆ ของอาหารที่แย่ที่สุดสำหรับสุขภาพสมอง ซึ่งคุณอาจจะแปลกใจหรือไม่ก็ได้ น้ำตาลขัดสีมากเกินไป เช่น น้ำเชื่อมข้าวโพดฟรุกโตสสูง (HFCS) อาจส่งผลเสียต่อสมองได้ คุณจะพบน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ในอาหาร เช่น น้ำอัดลม น้ำผลไม้กระป๋อง ลูกอม ขนมขบเคี้ยว และแม้กระทั่งอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น กราโนลาบาร์ โยเกิร์ตรสหวาน ผลไม้กระป๋อง และน้ำสลัด! ฉะนั้นการเลือกซื้อเป็นทางออกของการบริโภคน้ำตาลเกินความจำเป็น

ในทางอ้อม อาจเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 และโรคอัลไซเมอร์ นำไปสู่ความผิดปกติของการเผาผลาญอื่นๆ เช่น ความดันโลหิตสูง คอเลสเตอรอลสูง และโรคหัวใจ ซึ่งทั้งหมดนี้จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อมด้วย

  • คาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสี

อย่างเช่น แป้งขาวแปรรูป (เช่น ขนมปังขาว พาสต้า) อาหารเหล่านี้มีปริมาณไฟเบอร์ถูกกำจัดออกระหว่างการแปรรูป ซึ่งเป็นสาเหตุให้ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นมากกว่าโฮลเกรน ซึ่งเป็นข่าวร้ายสำหรับสมองของคุณ คาร์โบไฮเดรตขัดสีที่เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดแสดงให้เห็นว่าไม่ดีต่อสมองของคุณ ในความเป็นจริงการศึกษาชิ้นหนึ่งแสดงให้เห็นว่าแม้แต่อาหารมื้อเดียวที่เพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดอย่างมากก็อาจทำให้ความจำของคุณแย่ลงได้ นักวิจัยระบุว่าอาจเป็นเพราะอาหารเหล่านี้ทำให้เกิดการอักเสบของฮิปโปแคมปัส ซึ่งเป็นพื้นที่ของสมองที่ส่งผลต่อความจำ การอักเสบของสมองยังเชื่อมโยงกับการพัฒนาของภาวะสมองเสื่อม ตัวอย่างเช่น นักวิจัยจากการศึกษาหนึ่งพบว่าในบรรดาผู้สูงอายุ ผู้ที่บริโภคคาร์โบไฮเดรตมากกว่า 58 เปอร์เซ็นต์ของแคลอรี่ต่อวันมีความเสี่ยงต่อความบกพร่องทางจิตและภาวะสมองเสื่อมเพิ่มขึ้นสองเท่า!

  • ไขมันทรานส์

ไขมันนั้นมีทั้งแบบ ไขมันดีและไขมันเลว โดยไขมันดี เช่น โอเมก้า 3 เพื่อปรับปรุงความจำและลดความเสี่ยงของการลดลงของความรู้ความเข้าใจ ในทางกลับกัน ไขมันเลวอย่างไขมันทรานส์อาจให้ผลตรงกันข้าม และมักพบในอาหารอย่างเช่น มาการีน ขนมอบอย่างเค้กและคุกกี้ ครีมเทียมสำหรับกาแฟ แป้งโดสำเร็จรูปแช่เย็น เช่น บิสกิตและครัวซองต์ อาหารทอด และมีงานวิจัยจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ พบว่าการได้รับไขมันทรานส์ในปริมาณมากทำให้มีความเสี่ยงสูงต่อโรคอัลไซเมอร์ความจำเสื่อมและสติปัญญาลดลง

  • แอลกอฮอล์

การดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปส่งผลต่อสมองโดยตรงโดยรบกวนสารสื่อประสาท ซึ่งเป็นสารเคมีที่สมองใช้ในการสื่อสาร การดื่มแอลกอฮอล์อย่างเรื้อรังยังสัมพันธ์กับขนาดสมองที่ลดลงการวิจัยจำนวนมากแสดงให้เห็นว่าการดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไปเป็นพิษต่อสมอง ยิ่งกว่านั้น การศึกษาเมื่อเร็วๆ นี้พบว่าการดื่มสุราอาจนำไปสู่อาการอัลไซเมอร์ได้เร็วขึ้น และมีอาการรุนแรงมากขึ้น

แทนอาหารทำลายสมองเป็นอาหารบำรุงสมองที่อร่อยไม่แพ้กัน!

  • เปลี่ยนน้ำตาลแปรรูปและน้ำเชื่อมข้าวโพดฟรุกโตสสูงกับอาหารรสหวานตามธรรมชาติ เช่น เบอร์รี่และช็อกโกแลต (นั่นคือโกโก้ 70 เปอร์เซ็นต์) ซึ่งมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ปกป้องสมองสูง!

  • เปลี่ยนจากน้ำมันพืชเป็นน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์ น้ำมันมะพร้าว และน้ำมันอะโวคาโด ซึ่งล้วนเป็นส่วนหนึ่งของอาหารบำรุงสมอง

  • ทานถั่วอย่างวอลนัท พิสตาชิโอ และอัลมอนด์ ซึ่งมีไขมันที่สมองต้องการเพื่อการเจริญเติบโต

  • กระตุ้นสมองด้วยเครื่องเทศ ซึ่งช่วยลดการอักเสบ เช่น ขมิ้น พริกป่น และอบเชย

อาหารเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยชะลอและป้องกันโรคอย่าลืมออกกำลังกายเป็นประจำ หากพบความปิดปกติสัญญาณของอัลไซเมอร์ อย่างเช่น หลงลืมบ่อย ลืมการใช้งานของใช้ที่ใช้เป็นประจำ เช่น ลืมว่าปากกาหรือกรรไกรคืออะไร หรือมีไว้ทำอะไร เช่นเดียวกับคนรอบข้างเริ่มบอกถึงความเปลี่ยนแปลงที่น่าสงสัย ให้รีบพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยโดยด่วนนะคะ

ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

บทความที่เกี่ยวข้อง

นอนหลับอย่างไรให้สมองสดใสหลังตื่น

นอนหลับอย่างไรให้สมองสดใสหลังตื่น

นอนหลับอย่างไรให้สมองสดใสหลังตื่น เพราะการนอนหลับมีความสำคัญกับชีวิตและมีความสัมพันธ์กับการสะสมพลังงาน การสร้างสมดุลให้ทุกระบบของร่างกาย ดังนั้นการนอนหลับให้ดีไม่เพียงช่วยให้สมองแข็งแรง แต่ช่วยให้สมองได้ทำความสะอาดไปในตัวด้วย ในชีวิตประจำวันระหว่างการตื่นตัวของคน สมองและร่างกายจะมีการใช้พลังงานและเกิดผลิตผลของเหลือใช้ในระบบต่าง ๆ เสมือนเป็นขยะที่ต้องกำจัดออก หากมีปริมาณมาก รุงรัง ระเกะระกะในสมองจะส่งผลให้เกิดความบกพร่องของการส่งกระแสประสาท ความรู้ความจำถดถอย อารมณ์แปรปรวน และหากเซลล์ประสาทที่เสียหายเป็นเซลล์ประสาทที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ร่วมด้วย สุดท้ายจะทำให้เกิดภาวะการทำงานล้มเหลวของหลายระบบของร่างกาย นอนหลับให้สมองสดใส การนอนหลับที่ช่วยให้สมองได้ทำความสะอาดและสดใสหลังตื่นนอน ได้แก่ นอนหลับในปริมาณที่เหมาะสม รูปแบบและตารางการนอนหลับสม่ำเสมอ เริ่มต้นหลับง่าย หลับต่อเนื่อง ไม่หลับ ๆ ตื่น ๆ ไม่ลุกเข้าห้องน้ำมากกว่า 1 ครั้งต่อคืน มีคุณภาพการนอนหลับที่ดี อาทิ สมองหลับได้ทั้งระยะหลับตื้น หลับลึก และหลับฝัน ครบวงจรอย่างสมบูรณ์ หายใจได้ดี ไม่หยุดหายใจ ไม่ติดขัด ไม่กรน ไม่กัดฟัน หัวใจเต้นเป็นจังหวะปกติ กล้ามเนื้อผ่อนคลายขณะหลับ ไม่ละเมอ ไม่มีการกระตุกของร่างกาย หลับสงบไม่ผวากรีดร้อง ประโยชน์จากคุณภาพการนอนที่ดี หากมีปริมาณ รูปแบบ และคุณภาพการนอนหลับที่ดีจะส่งผลดีต่อสมอง ไม่ว่าจะเป็น สมองกำจัดผลิตผลเหลือใช้ของเซลล์ประสาท เสริมสร้างความจำ พัฒนาทักษะต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ร่างกายทำงานได้เป็นปกติในภาพรวมด้วย อย่างไรก็ตามด้วยความแตกต่างของแต่ละบุคคล การจะมีลักษณะการนอนหลับที่ดีทั้งรูปแบบ ปริมาณ และคุณภาพที่เหมาะสมจำเป็นจะต้องได้รับการตรวจโดยแพทย์เฉพาะทางด้านการนอนหลับเพื่อสร้างสุขภาพการนอนหลับและสร้างพื้นฐานสุขภาพที่ดีให้กับร่างกาย ขอบคุณข้อมูลจาก : ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล

ปากเบี้ยว ตาตก! สัญญาณ “โรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก”

ปากเบี้ยว ตาตก! สัญญาณ “โรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก”

ปากเบี้ยว ตาตก! สัญญาณ “โรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก” อาการป่วยที่พบมากถึง 5,000 คนต่อปี โดยมีหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่น่าห่วงคือกลุ่มของคนพักผ่อนน้อย โรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก ความผิดปกติของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 “โรคหน้าเบี้ยวครึ่งซีก” หรือ “Bell’s Palsy” เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ซึ่งเป็นเส้นประสาทที่ช่วยเลี้ยงกล้ามเนื้อของใบหน้าทั้งด้านบนและล่าง เพราะฉะนั้นเมื่อเวลามีความผิดปกติของเส้นประสาทสมองเส้นนี้ จะส่งผลให้กล้ามเนื้อใบหน้าอ่อนแรงไป อย่างเช่นกรณีของคุณมดดำ ที่ส่งผลให้เกิดอาการปากเบี้ยว และตาตกไปอยู่ข้างหนึ่ง นอกจากนี้ เส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ยังเกี่ยวข้องกับการรับรสด้วย เพราะฉะนั้นผู้ป่วยอาจสูญเสียการรับรสของลิ้นด้านเดียวกันของใบหน้าที่อ่อนแรงไป หรือได้ยินเสียงดังกว่าปกติจากหูข้างนั้น อย่างไรก็ตามยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่า ทำไมถึงความผิดปกติของเส้นประสาทคู่ที่ 7 ได้ บางทีอาจจะเป็นจากอุบัติเหตุหรือจากเนื้องอก ก็เป็นไปได้ แต่สมมติบานที่น่าเชื่อถือมากที่สุดในปัจจุบัน คือ การเกิดจากการติดเชื้อไวรัส อาการของโรคปากเบี้ยวจะเกิดขึ้นแบบทันทีทันใด มักมีอาการเตือน ปวดหลังหู ก่อนที่จะเริ่มมีปากเบี้ยว และปิดตาไม่ได้ อาจพบว่ามีอาการแสบตาข้างเดียว เพราะไม่สามารถปิดตาได้สนิท หรือรับประทานอาหารแล้วน้ำลายไหลออกทางมุมปากข้างใด ข้างหนึ่ง อาการของโรคอาจจะเป็นมากขึ้นจนสามารถสังเกตเห็นได้ชัดเจนเวลาผู้ป่วย พูด ยิ้ม หรือกะพริบตา บางรายอาจเป็นมากจนไม่สามารถขยับมุมปาก หลับตาหรือยักคิ้วหลิ่วตาได้เลย บางคนสังเกตว่าพูดไม่ชัด ผิวปากไม่ดัง หรือดูดน้ำไม่ได้ เนื่องจากกล้ามเนื้อใบหน้าข้างใดข้างหนึ่งทำงานไม่ได้เหมือนปกติ หลายคนบ่นว่า มีความรู้สึกเหมือนหน้าบวม ตึงและชาที่ใบหน้าครึ่งซีก ทั้งนี้เป็นเพราะเวลากล้ามเนื้อใบหน้าไม่ทำงานก็จะทำให้เลือดมาคั่งในบริเวณนั้นมากกว่าปกติ และจะมีผลกระตุ้นต่อเซลล์รับความรู้สึกบริเวณใบหน้า จึงเกิดอาการชาขึ้นได้ ทั้งๆ ที่ไม่มีการสูญเสียประสาทรับความรู้สึกที่ใบหน้าแต่อย่างใด อาการร่วมที่อาจพบได้คือ ลิ้นชาด้านเดียวกับที่ปากเบี้ยว ทานอาหารแล้วไม่รู้รส อาการของโรคนี้ จะหายไปภายใน 4-8 อาทิตย์ แต่ประมาณ 10 % มีโอกาสเกิดขึ้นอีก และอาจเกิดขึ้นที่ด้านตรงข้าม ของใบหน้าได้ มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่มีอาการเหลือปรากฏให้เห็นไปเป็นเวลานาน หรือตลอดชีวิต แตกต่างจาก “อัมพฤกษ์” โรคใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก เกิดจากความผิดปกติของตัวเส้นประสาท ไม่ได้อยู่ในเนื้อสมอง ส่งผลให้มีกล้ามเนื้อบนใบหน้าเท่านั้นที่อ่อนแรง แตกต่างจากอัมพฤกษ์ ซึ่งมีสาเหตุมากจากโรคหลอดเลือดในสมองที่เกิดจากความผิดปกติในเนื้อสมอง คนไข้นอกจากจะมีใบหน้าอ่อนแรงแล้ว อาจจะมีแขนขาอ่อนแรง มีอาการชา หรือพูดไม่ชัดอย่างอื่นร่วมด้วย คนที่มีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคนี้ หญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะระยะสามเดือนสุดท้าย หรือหลังคลอดบุตร ผู้ที่มีประวัติว่าคนในครอบครัวเป็นโรคนี้ ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ผู้ที่เคยติดเชื้อไวรัสในระบบทางเดินหายใจมาก่อน เช่น โรคหวัด หรือ ไข้หวัดใหญ่ คนที่พักผ่อนไม่เพียงพอ ร่างกายอ่อนแอ ทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานโรคต่ำลง คนที่มีภาวะเครียด คนที่เคยได้รับอุบัติเหตุ การดูแลตัวเองเมื่อมีอาการ ใช้น้ำตาเทียมเพื่อป้องกันตาแห้ง ใช้ยาขี้ผึ้งป้ายตาก่อนนอน หรือใช้ที่ครอบตาป้องกันฝุ่นเข้าตาขณะนอนหลับ สวมแว่นเวลาออกนอกบ้านเพื่อกันลมและฝุ่นละออง ห้ามขยี้ตาข้างที่ปิดไม่สนิท ทำกายภาพบำบัดโดยการออกกำลังกายกล้ามเนื้อใบหน้าเป็นประจำ หรือใช้อุปกรณ์พิเศษช่วยกระตุ้นใบหน้าข้างที่อ่อนแรง เช่น laser ฝังเข็มช่วยได้ในบางราย แต่หลักฐานทางการแพทย์ยังไม่มีข้อสนับสนุนชัดเจน มีคนเคยพูดถึงว่าการฝังเข็มสามารถช่วยได้ในคนไข้บางราย แต่ถ้าเราพิจารณาตามหลักฐานโดยรวมทางการแพทย์แล้ว ก็ยังไม่ได้มีข้อสนับสนุนชัดเจนว่ามีประโยชน์หรือไม่มีประโยชน์กันแน่ การป้องกันไม่ให้เกิดโรค พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที 3 -5 ครั้ง/สัปดาห์ สลายพฤติกรรมเสี่ยงทั้งหลาย เช่น ทำงานไม่มีวันพัก เครียดสะสม สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ทานอาหารซ้ำซากหนักไขมัน 1 ใน 5,000 คนต่อปี พบอาการหน้าเบี้ยว โรคนี้ที่จริงแล้วเป็นกันเยอะ ตามข้อมูลที่คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีเปิดเผยคือ ประมาณ 1 ใน 5,000 คนต่อปีจะเป็นโรคนี้ ส่วนในเรื่องของการป้องกันนั้น ปัญหาส่วนใหญ่มาจากไวรัส ซึ่งจะออกมาตอนที่ร่างกายอ่อนแอ ดังนั้นเราจะต้องสร้างภูมิต้านทานให้แข็งแรงอยู่เสมอ อย่างไรก็ตาม โรคนี้ไม่ได้เป็นโรคร้ายแรงแต่อย่างใด และมักจะรักษาให้หายได้เกือบ 100% ภายในเวลาไม่เกิน 2 เดือน ถ้าหากผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกต้องอย่างรวดเร็วและทันเวลา แต่ความไม่มีโรคคือลาภอันประเสริฐ ดังนั้นเราควรหันมาใส่ใจและดูแลสุขภาพของตัวเองกันตั้งแต่วันนี้ ขอบคุณข้อมูลจาก : ฺBDMS สถานีสุขภาพ

นอนหลับดีเสริมการทำงานของสมอง

นอนหลับดีเสริมการทำงานของสมอง

นอนหลับดีเสริมการทำงานของสมอง การทำงานของสมองในชีวิตประจำวันต้องคิดและตอบสนองหลายอย่าง สมองจำเป็นต้องได้รับพลังงานอย่างเพียงพอ แต่ยิ่งตื่นอยู่นานแค่ไหน พลังงานของสมองจะค่อย ๆ ลดลงมากเท่านั้น แต่ในทางตรงกันข้ามจะมีการสะสมของเสียที่เกิดจากการใช้พลังงานของเซลล์ประสาทคล้ายเป็นขยะ เกะกะ กีดขวางความสามารถในการส่งกระแสประสาท และที่พบบ่อยคือ เศษของโปรตีนเทา (Tau Protein) และชิ้นส่วนของอะไมลอยด์ (Amyloid Beta) แต่เมื่อได้หลับสมองจะมีกระบวนการกำจัดเศษชิ้นส่วนเทาและอะไมลอยด์อย่างสมดุล ซึ่งต้องเป็นการหลับที่มีคุณภาพและได้ปริมาณที่เหมาะสมตามวัย ปัญหาการนอนสร้างของเสีย หากเป็นผู้ที่มีปัญหาการนอนหลับ เช่น ใช้เวลานานกว่าจะหลับได้ นอนไม่หลับ หรือนอนหลับแต่ละครั้งไม่มีคุณภาพ เช่น นอนกรน มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ นอนกัดฟัน นอนดิ้น นอนละเมอ หรือตารางการนอนหลับไม่สม่ำเสมอ ทั้งหมดนี้จะยิ่งทำให้ร่างกายมีกระบวนการสร้างของเสียมากขึ้น มีการสะสมของเทาโปรตีนและอะไมลอยด์มากขึ้นในสมอง แต่กำจัดได้น้อยลง การสะสมนี้จะนำไปสู่ภาวะสมองเสื่อมหรืออัลไซเมอร์ ผู้ที่เป็นอัลไซเมอร์บางคนจะมีปัญหาหลับตื่นไม่เป็นเวลา หลับกลางวัน ตื่นกลางคืน มีพฤติกรรมการกินที่ผิดปกติไป น้ำหนักตัว บางคนจะอ้วนขึ้นหรืออาจผอมลง เพราะโปรตีนเทากระจายไปรบกวนการทำงานของสมองที่ควบคุมวงจรการหลับตื่นของร่างกาย ตลอดจนสมองที่ควบคุมการสร้างฮอร์โมนควบคุมศูนย์หิวและอิ่มและฮอร์โมนอื่น ๆ ของร่างกายจึงเกิดเป็นวงจรการนอนหลับไม่มีคุณภาพ หรือหลับปริมาณน้อย หรือแม้แต่มากเกินไป เป็นปัจจัยชักนำของภาวะสมองเสื่อมที่ส่งผลให้ร่างกายระบบต่าง ๆ เสื่อมไปด้วย หลับดีสมองทำงานดี การนอนหลับที่มีคุณภาพช่วยให้สมองกำจัดโปรตีนเทา อะไมลอยด์ และผลิตผลขยะเพื่อสร้างความสมบูรณ์ของสมองและร่างกายอีกครั้ง ประกอบไปด้วย นอนหลับในปริมาณที่เหมาะสม 7 – 9 ชั่วโมงในผู้ใหญ่ รูปแบบและตารางการนอนหลับที่สม่ำเสมอในช่วงเวลาที่เหมาะสมตามนาฬิกาโลก เริ่มต้นหลับได้ไม่ยาก หลับได้ต่อเนื่อง ไม่หลับ ๆ ตื่น ๆ ไม่ลุกเข้าห้องน้ำมากกว่า 1 ครั้งต่อคืน มีคุณภาพการนอนหลับที่ดี ได้แก่ สมองหลับได้ทั้งระยะหลับตื้น หลับลึก และหลับฝันครบวงจรอย่างสมบูรณ์ หายใจได้ดี ไม่หยุดหายใจ ไม่ติดขัด ไม่กรน ไม่กัดฟัน หัวใจเต้นเป็นจังหวะปกติ กล้ามเนื้อผ่อนคลายขณะหลับ ไม่ละเมอ ไม่มีการกระตุกของร่างกาย หลับสงบไม่ผวากรีดร้อง ดังนั้นเพื่อเสริมสร้างการทำงานของสมอง การนอนหลับจึงเป็นปัจจัยสำคัญ ต้องหาเวลาที่เหมาะสมกับการเข้านอน ช่วงเวลาที่ร่างกายพร้อมจะหลับ ปรับเพิ่มคุณภาพการนอนหลับให้เหมาะสมกับความต้องการของสมองและร่างกายตามวัย เพื่อให้สมองได้พัก ซ่อมแซม และเสริมสร้างความคิดความจำอย่างมีประสิทธิภาพ ขอบคุณข้อมูลจาก : ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพอินเตอร์เนชั่นแนล

โรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมอง

โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) Stroke หรือ โรคหลอดเลือดสมอง คือ ภาวะที่ทำให้เซลล์สมองถูกทำลาย ซึ่งมีสาเหตุมาจากหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน หรือแตกทำให้ขัดขวางการลำเลียงเลือดซึ่งนำออกซิเจนและสารอาหารไปเลี้ยงเซลล์สมอง ส่งผลให้สมองสูญเสียการทำหน้าที่จนเกิดอาการของอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้

อาการเวียนศรีษะบ้านหมุน

อาการเวียนศรีษะบ้านหมุน

อาการเวียนศรีษะบ้านหมุน บ้านหมุน ที่ทุกเพศทุกวัยสามารถเป็นได้ ซึ่งมีจากหลายปัจจัยและหลายโรคทางกาย แพทย์แนะหากมีอาการให้พบแพทย์เพื่อทำงานวินิจฉัยหาสาเหตุ ทำการรักษาอย่างตรงจุด เพิ่มความปลอดภัยในชีวิตและคุณภาพชีวิตดีขึ้น อยู่ๆโลกก็หมุน ตาพร่ามัว ทรงตัวไม่อยู่ หรือที่เราเรียกคุ้นปากว่า อาการบ้านหมุน ปัญหาของคนแทบทุกเพศทุกวัย ซึ่งบางทีก็มาแบบไม่ทันตั้งตัว หรือ มีอาการเครียดนำ และอาจเกิดได้หลายปัจจัย อาทิ โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน หรือ ประสาทการได้ยิน แนะผู้มีอาการให้หลีกเลี่ยงการขับขี่พาหนะหรือกิจกรรมเสี่ยง เวียนศีรษะบ้านหมุน เป็นกลุ่มอาการ แบ่งได้เป็น การมึนเวียนศีรษะ (Dizziness) การเวียนศีรษะบ้านหมุน (Vertigo) คืออาการที่เกิดขึ้นเป็นลักษณะที่สภาพแวดล้อม สิ่งของรอบๆ ตัวหมุน หรือตัวเราหมุนทั้งที่อยู่กับที่ สาเหตุของอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน น้ำในหูไม่เท่ากัน (Meniere disease) เกิดจากความผิดปกติของน้ำในหูชั้นใน ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ซึ่งทำให้เวียนศีรษะหมุนอย่างรุนแรง ร่วมกับคลื่นไส้ อาเจียน และเสียสมดุลของร่างกาย ทำให้เซได้ง่าย อาจเป็นนานหลายนาทีจนถึงหลายชั่วโมง ทำให้การได้ยินลดลง มีเสียงดังในหู การอักเสบหูชั้นใน (Labyrinthitis) เกี่ยวข้องกับระบบประสาทและการได้ยิน มีที่มาจากเชื้อไวรัส มักพบมีประวัติเป็นไข้หวัด ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากการอักเสบของเส้นประสาทการได้ยินและการทรงตัว อาการจะรุนแรงเป็นชั่วโมงหรือเป็นวัน รวมถึงอาจศูนย์เสียการได้ยินร่วมด้วย เส้นประสาทการทรงตัวอักเสบ (Vestibular neuronitis) อาการอาจรุนแรงนานหลายชั่วโมงหรือเป็นวัน เนื้องอกประสาทการได้ยิน (Acoustic neuroma) จะมีอาการเสียงรบกวนในหู และปัญหาการได้ยินร่วมด้วย เลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ(Vertebro-basilar insufficiency) โดยการรักษาแพทย์จะทำการซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพื่อสามารถระบุสาเหตุที่ชัดเจน ซึ่งในบางรายอาจต้องตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น ตรวจการได้ยินการรักษาตามอาการ ทำได้โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม การรับประทานยา การทำกายภาพบำบัด หลีกเลี่ยงบ้านหมุนจากปัจจัยกระตุ้นอาการ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ ความเครียด การพักผ่อนไม่เพียงพอ สารก่อภูมิแพ้ต่างๆ ท่าทางที่ทำให้เวียนศีรษะ เช่น การก้ม การเงย การหมุนตัว เป็นต้น สำหรับผู้ที่มีอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน ควรระวังกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดอันตรายกับชีวิต อาทิ การขับขี่ยานพาหนะ การทำงานกับเครื่องจักรกล สิ่งที่ดีที่สุด คือควรพบแพทย์และดูแลตนเองตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ขอขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer)

โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer)

โรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer) โรคอัลไซเมอร์ เกิดจากการตายของเซลล์สมองเป็นจำนวนมาก เป็นสาเหตุหลักในการเกิดโรคสมองเสื่อมโดนอาการของโรคจะเป็นไปอย่างช้าๆ เริ่มต้นจากไม่มีความผิดปกติเริ่มงความตำ ต่อมาจะเริ่มมีความจำถดถอยมากขึ้นเรื่อยๆ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและการเข้าสังคม อาการของโรคอัลไซเมอร์ การป้องกันโรคเพื่อลดความเสี่ยงโรคอัลไซเมอร์ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาที 5 วันต่อสัปดาห์ ฝึกการทำงานของสมอง ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มแอลกอฮอล์ ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมที่ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

Hospital Logo

ติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่

บริการให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง