ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด

คนไทยป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ 432,943 คนต่อปี และมีอัตราการเสียชีวิตถึง 20,855 คน เฉลี่ย 2 คนต่อชั่วโมง และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง 

โรคหัวใจ เป็นคำที่มีความหมายกว้าง เนื่องจากโรคหัวใจแบ่งย่อยออกเป็นอีกหลายชนิด ตามตำแหน่งที่เกิดความผิดปกติ ลักษณะการแสดงอาการ และการติดเชื้อ เป็นต้น ซึ่งไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจชนิดใดก็ย่อมส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจทั้งสิ้น ในที่นี้จะขอกล่าวถึงโรคหัวใจที่มักจะได้ยินกันบ่อยๆ ดังนี้  

รคหลอดเลือดหัวใจตีบ-อุดตันตัน จากหลอดเลือดที่เคยมีพื้นผิวที่เรียบ เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้อย่างสะดวก แต่เมื่อเรามีระดับไขมันในเลือดสูง ไขมันเหล่านี้จะไปสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดตีบแคบลง หรือบางกรณีอาจเกิดจากการมีลิ่มเลือดมาอุดตันหลอดเลือด ซึ่งทั้ง 2 กรณี ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก มีโอกาสเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดขึ้นได้  

โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หลอดเลือดหัวใจที่ตีบหรืออุดตัน ทำให้ส่งเลือดไปเลี้ยงหัวใจได้ไม่เพียงพอ ทำให้เกิดกล้ามเนื้อตายจากการขาดเลือด ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาหารเจ็บแน่นหน้าอก ร้าวไปกราม ไปไหล่ และแขน หายใจเหนื่อย วิงเวียน เหงื่อออก ตัวเย็น โดยผู้ป่วยแต่ละรายจะมีอาการแตกต่างกันออกไป อาจจะมีอาการในช่วงที่ออกแรง รู้สึกเครียด หรือหลังจากการรับประทานอาหารมื้อหนัก เมื่อมีอาการควรรีบมาพบแพทย์ทันที เพราะถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที ผู้ป่วยอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้  

โรคหัวใจวาย  ภาวะหัวใจวาย เป็นภาวะประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจลดลง ทำให้ไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้อย่างเพียงพอ ส่งผลต่ออวัยวะทุกส่วนของร่างกาย นอกจากนี้ภาวะหัวใจวายยังทำให้เกิดน้ำท่วมปอด และไตวายได้อีกด้วย อาการของภาวะหัวใจวาย คือ หายใจลำบาก เหนื่อยหอบ โดยเฉพาะขณะนอนราบ ไอแห้ง นอนหลับยาก มือเท้าบวม  

โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ  หัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดจากความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าหัวใจ ส่งผลต่อความสม่ำเสมอและอัตราการเต้นของหัวใจ  

 

ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ


 

*** โรคหัวใจอาจไม่แสดงอาการใดๆให้ท่านทราบเลยในช่วงแรก การตรวจสุขภาพหัวใจเป็นประจำจึงมีความสำคัญที่สุด  

 

การตรวจสุขภาพหัวใจ 

  1. การซักประวัติและตรวจรางกายโดยแพทย์ เป็นการตรวจคัดกรองเบื้องต้น เพื่อประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ
  2. การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG & ECG)   เป็นเครื่องมือตรวจพิเศษช่วยวิเคราะห์ความผิดปกติของหัวใจเบื้องต้น ที่ไม่เสียเวลาและไม่ต้องเจ็บตัว
  3. การวัดสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (EST)   เพื่อทดสอบความทนของหัวใจขณะออกกำลังกาย ทำให้สามารถประเมินโอกาสเสี่ยงในการเกิดคววามผิดปกติที่อาจจะมีต่อหัวใจขณะออกแรง
  4. การตรวจเลือด เพื่อประเมินระดับของเอนไซม์หัวใจ ว่าอยู่ในยเกณฑ์ของผู้ป่วยหัวใจวายหรือไม่
  5. การอัลตราซาวด์หัวใจ  (Echocardiogram)   เพื่อดูการทำงาน โครงสร้าง และความผิดปกติของหัวใจ
  6. การตรวจ  MRI  เป็นการตรวจดูความผิดปกติของหัวใจ โดย ใช้ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นวิทยุ ซึ่งสามารถให้ภาพที่ชัดเจนทั้งแนวขวางและ  3  มิติ
  7. การตรวจ MRA  เป็นการตรวจหาความผิดปกติของ หลอดเลือด โดยการใช้เครื่อง  MRI

การวินิจฉัยด้วยการสวนหัวใจ  เป็นการตรวจเอ็กซเรย์ร่วมกับการฉีดสารทึบแสงทางหลอดเลือดเพื่อวิเคราะห์ความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจ โดยหากพบความผิดปกติที่สามารถรักษาด้วยการทำบอลลูน ใส่ขดลวดถ่างขยายหลอดเลือด ผู้ป่วยจะสามารถทำได้ในคราวเดียวกัน ไม่ต้องเจ็บตัวซ้ำ ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องดมยาสลบ และไม่ต้องพักฟื้นในโรงพยาบาลนาน

การรักษา

รับประทานยา
รักษาด้วยการสวนหัวใจ
ผ่าตัด

  การป้องกัน

รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ อย่างเหมาะสม ลดอาหารที่มีคลอเรสเตอรอลสูง
ควบคุมน้ำหนัก
ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
ไม่ดื่มสุรา และ ไม่สูบบุหรี่
หากมีโรคประจำตัว ต้องดูแลตนเองตามแพทย์แนะนำและรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด


  โรคหัวใจเป็นโรคที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากสงสัยหรือมีความเสี่ยงควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร. 039 319 888