ความเครียด นับเป็นจุดเริ่มต้นของหลากหลายโรค หนึ่งในนั้นคือปัจจัยที่ทำให้กลุ่มวัยทำงานและวัยรุ่นมีอัตราการเกิดโรคหัวใจสูงขึ้น หนึ่งในนั้นคือโรคหัวใจขาดเลือด

ซึ่งหัวใจขาดเลือด คือ ภาวะที่มีเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจไม่เพียงพอ ซึ่งพอหัวใจขาดเลือดมากๆ เป็นระยะเวลาหนึ่ง ก็จะส่งผลให้ กล้ามเนื้อหัวใจตาย’ เป็นเหตุให้การทำงานของหัวใจล้มเหลว หรือที่เรียกว่า หัวใจวาย มี น้ำท่วมปอด จนกระทั่งเสียชีวิตในที่สุด โดยสาเหตุสำคัญคืดภาวะ หลอดเลือดหัวใจตีบ-ตัน’ที่ทำให้เลือดไม่สามารถไหลผ่านไปยังหัวใจได้เพียงพอนั้นเอง

 

ใครบ้างที่เสี่ยงหัวใจขาดเลือด?

  • ผู้ที่ทำงานหนัก พักผ่อนน้อย
  • ผู้ที่มีความเครียดสะสมเรื้อรัง
  • ผู้ชายที่อายุ 45 ปีขึ้นไป
  • ผู้หญิงที่อายุ 55 ปีขึ้นไป หรือหลังวัยหมดประจำเดือน
  • ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ไขมันสูง ความดันโลหิตสูง
  • ผู้ที่เป็นโรคอ้วน
  • ผู้ที่ไม่ค่อยออกกำลังกาย
  • ผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคหัวใจขาดเลือด

 

สัญญาณเตือนหัวใจขาดเลือด ที่ต้องรีบพบแพทย์

  • เจ็บแน่นหน้าอก 
  • เหนื่อย ใจสั่น 
  • หน้ามืด เป็นลม
  • รู้สึกอึดอัด หายใจไม่เต็มอิ่ม หายใจไม่สะดวก

 

ความเครียดสะสม ทำร้ายหลอดเลือดหัวใจ

ภาวะเครียดสะสม ทำให้ร่างกายหลังฮอร์โมนเพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างน้ำตาลและนำไขมันออกมาเผาผลาญเป็นพลังงานมากขึ้น ขณะเดียวกันยังหลั่งสารอะดรีนาลีน และคอร์ติซอลออกมา ส่งผลให้หัวใจเต้นเร็ว และความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น ปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลเสียต่อหลอดเลือดหัวใจทั้งแบบเฉียบพลัน และแบบเรื้อรังเมื่อระบบต่างๆ ของร่างกายถูกกระตุ้นให้ทำงานอย่างต่อเนื่องอย่างไม่หยุดพัก สุดท้ายก็เกิดสารพัดโรคตามมา และไม่ใช่แค่โรคหลอดเลือดหัวใจ แต่ยังรวมไปถึงโรคหลอดเลือดสมอง และโรคอื่นๆ ได้ด้วย หากเริ่มมีอาการที่เป็นสัญญาณเตือน เจ็บแน่นหน้าอก เหนื่อย ใจสั่น หน้ามืด เป็นลม อย่ารีรอ! ให้รีบพบแพทย์ หรือเรียกรถพยาบาลในทันทีเพื่อช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะต่างๆ ที่อาจมีอันตรายถึงชีวิตได้

 

ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ