หูชั้นในอักเสบ (Labyrinthitis)

หูชั้นในอักเสบ (Labyrinthitis)

หูชั้นใน เป็นส่วนที่ควบคุมเกี่ยวกับการทรงตัว โดยหูชั้นในอักเสบส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งแพร่กระจายจากบริเวณจมูกและลำคอไปสู่หูชั้นใน มักเกิดหลังติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดใหญ่ คางทูม เป็นต้น บางรายเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียลุกลามจากหูชั้นกลางอักเสบ

อาการ

  • วิงเวียนศีรษะ เห็นพื้นบ้านหรือเพดานหมุน เป็นมากเวลามีการเคลื่อนไหวศีรษะ

  • คลื่นไส้ อาเจียน

  • บางรายมีอาการตากระตุก เดินเซ

การรักษา

  • หากวิงเวียนมาก ควรให้นอนพักนิ่ง ๆ และหลับตา

  • พบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม และรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์

  • หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ หรือมีหูอื้อ เดินเซ ตากระตุก แขนขาอ่อนแรง ความดันโลหิตสูง คลื่นไส้ อาเจียน ควรกลับไปพบแพทย์

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คลินิกหู คอ จมูก
โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร. 039-319896

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคเชื้อราในช่องหู

โรคเชื้อราในช่องหู

โรคเชื้อราในช่องหู โรคเชื้อราในช่องหู ถือเป็นโรคหูชั้นนอกอักเสบจากเชื้อรา มักพบหลังเล่นน้ำ หรือใช้ไม้แคะหูร่วมกับผู้ที่เป็นเชื้อราในช่องหู อาการ คันหูมาก อาจมีอาการปวดหู หรือหูอื้อ เมื่อใช้ไฟส่องในรูหู อาจพบขุยขาวๆ ที่ผิวหนังรอบ ๆ รูหู การรักษา ทุกครั้งที่มีอาการ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินว่าการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม หากเป็นซ้ำบ่อย ๆ แพทย์จะประเมินว่ายังคงเป็นเรื่องเชื้อราในหูอยู่เหมือนเดิมหรือไม่ และควรสอบถามแพทย์ที่รักษาโดยตรงอีกครั้งว่าเหตุใดจึงเป็นบ่อยๆ อาจจะต้องซักประวัติเพิ่มเติม หรือตรวจหาโรคร่วมอื่นๆด้วยต่อไปฃ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คลินิกหู คอ จมูก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร. 039-319896

ผนังกั้นจมูกคด (Deviated nasal septum)

ผนังกั้นจมูกคด (Deviated nasal septum)

ผนังกั้นจมูกคด (Deviated nasal septum) สาเหตุของผนังกั้นจมูกคด ได้แก่ การบาดเจ็บ มีความผิดปกติแต่กำเนิด ทำให้รูจมูกข้างหนึ่งตีบแคบกว่าปกติ ทำให้หายใจไม่สะดวก เป็นหวัดคัดจมูกเรื้อรัง อาจมีการอักเสบของจมูกแทรกซ้อนได้บ่อย ๆ ซึ่งทำเป็นไซนัสอักเสบหรือมีเลือดกำเดาออกง่าย การรักษา กรณีที่ผนังกั้นจมูกคดเล็กน้อย ไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตอาจไม่ต้องทำการรักษา แต่หากมีผลต่อการหายใจ แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คลินิกหู คอ จมูก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร. 039-319896

หูชั้นนอกอักเสบ (Otitis externa)

หูชั้นนอกอักเสบ (Otitis externa)

หูชั้นนอกอักเสบ (Otitis externa) หูชั้นนอกอักเสบ พบได้ทุกเพศทุกวัย พบบ่อยในวัยหนุ่มสาว เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย มักพบว่าเป็นหลังเล่นน้ำหรือแคะหู อาการ ปวดในรูหู เจ็บในรูหูมากขั้นเมื่อดึงใบหูแรง ๆ อาจมีหนองหรือน้ำเหลืองไหลจากหู บางรายมีหู้อื้อและมีไข้ บางรายตรวจพบต่อมน้ำเหลืองโตที่หน้าหู หลังหู หรือบริเวณคอ การรักษา ส่วนใหญ่แพทย์จะให้รับประทานยาปฏิชีวนะ หากมีอาการปวดหรือมีไข้ แพทย์จะพิจารณาให้ยาแก้ปวดลดไข้ โดยผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ระหว่างการรักษาต้องระวังไม่ให้น้ำเข้าหู สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คลินิกหู คอ จมูก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร. 039-319896

สิ่งแปลกปลอมเข้าหู (Foreign body in ear canal)

สิ่งแปลกปลอมเข้าหู (Foreign body in ear canal)

สิ่งแปลกปลอมเข้าหู (Foreign body in ear canal) สิ่งแปลกปลอมที่เข้าไปในรูหู ทำให้มีอาการหูอื้อหรือปวดหูได้ และอาจทำให้มีการติดเชื้ออักเสบได้ มักพบในเด็กที่เล่นซน การรักษา หากมีสิ่งแปลกปลอมที่เข้าหูอยู่ลึกเกินกว่าจะเอาออกดวยตนเองได้ ไม่ควรพยายามใช้นิ้ว ไม้แคะหู หรือสิ่งของต่าง ๆ พยายามแคะเอาสิ่งแปลกปลอมออกด้วยจนเอง เพราะอาจเป็นอันตรายได้ แนะนำให้พบแพทย์ ซึ่งแพทย์หู คอ จมูก จะมีอุปกรณ์ที่ช่วยเอาสิ่งแปลกปลอมนั้นออกได้อย่างง่ายได้และไม่เป็นอันตราย สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คลินิกหู คอ จมูก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร. 039-319896

หูชั้นกลางอักเสบ/หูน้ำหนวก (Otitis media)

หูชั้นกลางอักเสบ/หูน้ำหนวก (Otitis media)

หูชั้นกลางอักเสบ/หูน้ำหนวก (Otitis media) หูชั้นกลางอักเสบ พบได้ในทุกเพศทุกวัย โดยพบบ่อยในทารกและเด็ก แบ่งเป็นชนิดเฉียบพลัน และเรื้อรัง สาเหตุ หูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน มักเกิดร่วมกับการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนต้น เช่น ไข้หวัด ต่อมทอนซิลอักเสบ ไอกรน เป็นต้น หูชั้นกลางอักเสบเรื้อรัง อาจเกิดจากการได้รับบาดเจ็บจนแก้วหูทะลุ อีกทั้งยังพบบ่อยในเด็กที่ขาดสารอาหารสุขภาพๆไม่แข็งแรง เป็นโรคนี้มากกว่าเด็กที่แข็งแรง บางครั้งพบร่วมกับผู้ที่เป็นทอนซิลอักเสบเรื้อรัง ไซนัสอักเสบเรื้อรัง ผนังกั้นจมูกคด เนื้องอกในจมูก อาการ หูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน โดยมักจะมีอาการหลังเป็นหวัด เจ็บคอ หรือเป็นโรคทางเดินหายใจอื่น ๆ ซึ่งอาการ ได้แก่ ปวดในรูหู หูอื้อ มีไข้สูง หนาวสั่น บางคนอาจมีวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเดิน ในเด็กมักร้องกวนกลางดึก บางรายเอามือดึงใบหู มักมีไข้สูงอาจถึงขั้นชักได้ มักมีอาการหวัดและไอร่วมด้วย หูชั้นกลางอักเสบเรื้อรัง มีอาการหูน้ำหนวกไหลเป็น ๆ หาย ๆ โดยมักเป็นขณะเป็นหวัด หรือหลังเล่นน้ำ ร่วมกับมีอาการหูอื้อ หูตึง บางรายอาจมีอาการวิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย ส่วนมากจะไม่มีไข้หรือเจ็บปวดในรูหู โรคแทรกซ้อนที่พบได้ หูชั้นในอักเสบ โพรงกระดูกมาสตอยด์อักเสบ อัมพาตปากเบี้ยว หูหนวก เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ฝีในสมอง ฝีรอบ ๆ หู หูหนวกสนิท การรักษา หากมีอาการของหูชั้นกลางอักเสบ ควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม โดยผู้ป่วยจำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ ซึ่งผู้ป่วยจะต้องรับประทานจนครบตามแพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด ผู้ป่วยต้องระวังไม่ให้น้ำเข้าหู สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คลินิกหู คอ จมูก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร. 039-319896

เยื่อแก้วหูทะลุ (Ruptured eardrum)

เยื่อแก้วหูทะลุ (Ruptured eardrum)

เยื่อแก้วหูทะลุ (Ruptured eardrum) เยื่อแก้วหูทะลุ อาจเกิดจากการอักเสบของหูชั้นกลางได้ และที่พบบ่อยคือแก้วหูทะลุ จากการได้รับบาดเจ็บ เช่น ถูกไม้แคะหูแทงทะลุ การกระทบกระเทือนจากการถูกตีหรือถูกกระแทก การถูกเสียงดัง ๆ เช่น เสียงพุ ประทัด ระเบิด เป็นต้น อาการ หูอื้อ หูตึง ทันทีทันใดหลังได้รับบาดเจ็บ บางรายมีอาการปวดหู มีเลือดไหลออกจากหู โรคแทรกซ้อน หากไม่รักษา จะทำให้เกิดการอักเสบทำให้เป็นโรคหูน้ำหนวกได้ การรักษา กรณีรูทะลุขนาดเล็ก อาจปิดได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่ต้องได้รับยาปฏิชีวนะร่วมด้วย หากรูทะลุเป็นรูกว้าง อาจต้องผ่าตัดทำเยื่อแก้วหูเทียม (Tympanoplasty) ***ผุ้ที่เยื่อแก้วหูทะลุ ห้ามดำน้ำ ห้ามเล่นน้ำ ต้องระวังอย่าให้น้ำเข้าหูโดยเด็ดขาด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คลินิกหู คอ จมูก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร. 039-319896