โรคหวัด หรือ ไข้หวัด

โรคหวัด หรือ ไข้หวัด

โรคหวัด หรือ ไข้หวัด (Acute Rhinopharyngitis : Common cold) เป็นโรคติดเชื้อที่พบบ่อยมากที่สุดโรคหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อไวรัสซึ่งมีหลายสายพันธุ์ พบบ่อยในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว หรือโดยเฉพาะช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง สามารถพบผู้ติดเชื้อได้ทุกช่วงอายุ ในเด็กเล็กสามารถเป็นได้หลายครั้งในแต่ละปี ในผู้ใหญ่จะเป็นน้อยลงตามลำดับเนื่องจากมีภูมิคุ้มกันมากขึ้น โดยเฉลี่ยเด็กจะเป็นโรคหวัด 6-12 ครั้งต่อปี ผู้ใหญ่จะเป็น 2-4 ครั้งต่อปี ความรุนแรงของโรคไม่มาก และสามารถหายเองได้ภายในไม่กี่วัน เนื่องจากเกิดจากการติดเชื้อไวรัสจึงเน้นรักษาประคับประคองอาการจนอาการหาย ดีเอง

ใครบ้างที่เสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรงจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่

ผู้ที่เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจากไข้หวัดใหญ่ได้แก่ผู้ที่มีโรคประจำตัวได้แก่ โรคปอดเรื้อรัง หอบหืด โรคหัวใจ เบาหวาน และ ผู้สูงอายุ

การวินิจฉัย

จากลักษณะอาการเพียงอย่างเดียวอาจยากที่จะบอกว่าผู้ป่วยรายใดเป็นไข้หวัดใหญ่รายใดเป็นไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่จากการติดเชื้อไวรัสอื่นๆ การวินิจฉัยยืนยันทางห้องปฏิบัติ

การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัยแยกโรค

  1. การแยกเชื้อไวรัสจากไม้ป้ายคอ (throat swab)

  2. ดูดน้ำจากหลังโพรงจมูก (nasopharyngeal aspirate)ซึ่งกินเวลาอย่างน้อยประมาณ 1 สัปดาห์

  3. การตรวจหาโปรตีนแอนติเจนของไวรัสในสิ่งส่งตรวจนั้นซึ่งได้ผลเร็วในไม่กี่ชั่วโมง

ไข้หวัดใหญ่แพร่เชื้ออย่างไร

ไข้หวัด เป็นโรคการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ โดยเชื้อจะอยู่ในละอองฝอยในอากาศที่ออกมาจากการไอจามของผู้ป่วย เมื่อสูดหายใจเอาเชื้อเข้าไป เชื้อก็จะเข้าไปเพิ่มจำนวนอยู่ในเซลล์เยื่อบุทางเดินหายใจ และทำให้เกิดอาการป่วยได้ ระยะเวลาแพร่เชื้อสามารถแพร่ได้ก่อนเกิดอาการและ 1-2 วันหลังเกิดอาการ

การดูแลตนเองเมื่อเป็นไข้หวัด

  1. เนื่องจากเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่จึงใช้วิธีการรักษาตามอาการ เช่น ยาลดน้ำมูก ยาลดไข้ จนอาการหายดีเอง การใช้ยาฆ่าเชื้อโดยไม่จำเป็นจะทำให้เชื้อแบคทีเรียเกิดการดื้อยาได้

  2. พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ (ควรเป็นน้ำอุ่น) รักษาร่างกายให้อบอุ่น รับประทานอาหารอุ่น

  3. หลีกเลี่ยงการจามหรือสั่งน้ำมูกอย่างรุนแรง เพราะจะทำให้น้ำมูกที่มีเชื้อโรคเข้าไปในไซนัสเกิดเป็นไซนัสอักเสบจากการติดเชื้อได้

  4. เวลาไอหรือจามให้ใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปากและจมูก

อาการที่ควรไปพบแพทย์

เมื่อน้ำมูกหรือเสมหะ เหลืองเขียว ปวดหู หูอื้อ ปวดศีรษะมาก ไข้สูง มีอาการหอบเหนื่อย ควรพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยภาวะแทรกซ้อน หากมีไข้สูง ปวดเมื่อยตามร่างกายมาก อาจเป็นไข้หวัดใหญ่ไม่ใช่โรคหวัด

ภาวะแทรกซ้อน

  1. คนที่เป็นโรคหวัดบางส่วน จะมีการติดเชื้อของแบคทีเรียซ้อนร่วมด้วย ทำให้มีอาการน้ำมูกข้น สีเหลืองหรือเขียว มีเสมหะเขียว

  2. ไซนัสอักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียซ้อน

  3. เยื่อบุตาอักเสบ

  4. หลอดลมอักเสบ หรือ ปอดอักเสบ

  5. ผู้ที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคหอบหืด หรือ ถุงลมในปอดโป่งพอง เมื่อเป็นโรคหวัด จะทำให้อาการหอบเหนื่อยรุนแรงมากขึ้น

การป้องกันการติดเชื้อ

  1. หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้คนที่เป็นโรคหวัด ลดการสัมผัสกับผู้ป่วย หรือใช้ของร่วมกับผู้ป่วย หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้ล้างมือหลังสัมผัส อย่าเอามือสัมผัสหรือถูจมูก หรือขยี้ตา

  2. พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเป็นประจำ

  3. หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ผู้ป่วยที่กำลังไอหรือจาม หลีกเลี่ยงที่มีคนแออัดในช่วงที่มีการระบาด

  4. การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ไม่สามารถป้องกันโรคหวัดได้ เนื่องจากเป็นเชื้อไวรัสคนละชนิด

ข้อห้ามในการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่

  1. ผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 6 เดือน

  2. ผู้ที่แพ้ไข่อย่างรุนแรง

  3. ผู้ที่เคยฉีดวัคซีนแล้วมีอาการแพ้รุนแรง

  4. ผู้ที่มีไข้ โดยควรเลื่อนการฉีดวัคซีนไปอย่างน้อย 1 สัปดาห์ หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ

ที่มา : ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ,BangkokHealth.com / https://www.bangkokhospital.com/th/disease-treatment/influenza-prevention


บทความที่เกี่ยวข้อง

เยื่อหุมปอดอักเสบ

เยื่อหุมปอดอักเสบ

เยื่อหุมปอดอักเสบ (Pleuritis / Pleurisy) เยื่อหุ่มปอดอักเสบ มักมีอาการไม่รุนแรงและส่วนมากจะหายได้เองใน 2-3 วัน (มักไม่เกิน 5 วัน) ซึ่งพบได้หลังจากเป็นหวัด สาเหตุ ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัส ส่วนน้อยพบร่วมกับโรคของปอด เช่น ปอดอักเสบ วัณโรคปอด ปอดทะลุ ภาวะมีน้ำหรือหนองในช่องหุ้มปอด ฝีในปอด เป็นต้น อาการ มักมีอาการเจ็บแปล๊บเพียงชั่วไม่กี่วินาทีที่หน้าอกซีกใดซีกหนึ่ง เป็นครั้งคราวเฉพาะเวลาหายใจเข้าลึก ๆ เวลาไอหรือจาม มักไม่มีไข้ ตรวจร่างกายมักไม่พบความผิดปกติ ในรายที่เกิดเยื่อหุ้มปอดอักเสบที่พบร่วมกับโรคอื่น อาจมีอาการ ไข้สูง หอบ ปอดมีเสียงกรอบแกรบ การรักษา หากเจ็บหน้าอกรุนแรง มีไข้สูง หอบเหนื่อย ควรเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกโรคปอดและระบบทางเดินหายใจ

ท่านอนลดปวดเมื่อย ลดนอนกรน ดีต่อหัวใจ

ท่านอนลดปวดเมื่อย ลดนอนกรน ดีต่อหัวใจ

ท่านอนลดปวดเมื่อย ลดนอนกรน ดีต่อหัวใจ การนอน เป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุดและง่ายที่สุด เป็นช่วงเวลาทองของร่างกายในการซ่อมแซมตัวเอง การนอนที่เหมาะสมจะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 6-7 ชั่วโมง เท่ากับเราใช้เวลากับการนอนไปถึง 1 ใน 4 ส่วน ในแต่ละวันเลยทีเดียว คนส่วนใหญ่จะเปลี่ยนท่านอนไปมาตลอดทั้งคืน การนอนในท่าที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานานจะทำให้เกิดการปวดเมื่อย ทำให้กรนมากขึ้น ทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ อาจส่งผลต่อหัวใจได้อีกด้วย นอนหงาย เป็นท่านอนธรรมชาติที่สบายที่สุด แต่ก็มีข้อห้ามในคนบางกลุ่ม เช่น ผู้ที่นอนกรน ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกลั้น เพราะคนกลุ่มนี้มีทางเดินหายใจแคบกว่าคนปกติ การนอนหงายจะทำให้เนื้อเยื่อในช่องคอหอย เช่น เพดานอ่อน ลิ้นไก่ โคนลิ้นตกตามแรงโน้มถ่วง ทำให้เนื้อเยื่อเหล่านี้มีโอกาสไปอุดทางเดินหายใจเวลานอนได้ ดังนั้นผู้ที่มีปัญหาเหล่านี้แนะนำให้นอนตะแคงจะดีกว่า นอนคว่ำ เป็นท่านอนที่ไม่ค่อยถูกตามสรีระไม่แนะนำ เพราะทำให้เราต้องหันหน้าไปด้านใดด้านหนึ่งเพื่อหายใจ ทำให้หายใจติดขัดไม่สะดวก จึงอาจทำให้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดคอและปวดหลังได้ นอนตะแคงซ้าย เป็นท่านอนที่ช่วยลดอาการปวดหลังได้ แต่อาจจะทำให้รู้สึก จุดเสียด เพราะอาหารที่ยังย่อนไม่หมด และ ยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันชัดเจนว่าการนอนตะแคงด้านไหนช่วยให้ระบบการย่อยอาหารดีกว่า นอนตะแคงขวา เป็นท่านอนที่แนะนำ เพราะช่วยให้หัวใจเต้นสะดวด ลดการปวดหลังได้ การนอนขดตัวคุดคู้ การนอนที่มีการก้มศีรษะ โก่งหลัง พับสะโพก งอเข่า เป็นท่านอนที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่งเนื่องจากก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย ทั้งปวดเข่า เอ็นบริเวณเข่าและสะโพกเกิดการอักเสบกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างอักเสบและปวด เนื่องจากมีการโก่งงอของหลัง ทำให้กล้ามเนื้อหลังถูกยืดเหยียดออกจนตึงกระดูกสันหลังมีการบิดโก่งงอผิดรูปปวดคอจากกล้ามเนื้ออักเสบ การนอนแบบกึ่งนั่งกึ่งนอนการนอนเอนหลังและไถลตัวไปบนเตียงนอนหรือโซฟา พร้อมกับเล่นโทรศัพท์มือถือ อ่านหนังสือ หรือดูโทรทัศน์ไปเรื่อยๆ นั้น ทำให้ผู้ที่นอนท่านี้ต้องงอหรือก้มคอเป็นระยะเวลานาน ซึ่งหากทำเป็นประจำ จะทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอและหลังทำงานมากกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดอาการอักเสบและปวดกล้ามเนื้อคอบ่าไหล่ขึ้นมาได้ รวมถึงสามารถทำให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่างจากการที่มีการแอ่นของหลังขณะนั่งได้อีกด้วย ในทางกลับกัน บางคนอาจจะเคยสงสัย ทำไมยิ่งนอนยิ่งเมื่อย นั่นอาจเป็นเพราะเรานอนผิดท่า หรือนอนในท่าที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงเครื่องนอนอาจไม่เหมาะสม คือ นิ่มหรือแข็งจนเกินไป ก็เป็นได้ หากอาการหนักขึ้นเรื่อยๆ แนะนำว่าให้พบแพทย์เพื่อทำการรักษาอาการปวดหลังหรือผิดปกติทันที ขอขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

ปอดอักเสบ/ปอดบวม (Pneumonia)

ปอดอักเสบ/ปอดบวม (Pneumonia)

ปอดอักเสบ / ปอดบวม (Pneumonia) ปอดอักเสบ หรือปอดบวม คือภาวะที่ปอดมีการอักเสบ โดยเกิดจากการติดเชื้อหรือมีสารเคมีเข้าไปทำให้มีการอักเสบของปอด ที่สำคัญ ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย ที่พบบ่อยคือเชื้อนิวโมคอคคัส เชื้อไวรัส เช่น หัด ไข้หวัดใหญ่ อีสุกอีใส เชื้อไมโคพลาสมา เป็นเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบแต่มักไม่มีอาการหอบอย่างชัดเจน เชื้อรา พบได้ค่อนข้างน้อย แต่รุนแรง สารเคมี เช่น น้ำมันก๊าด การติดโรค ถูกผู้ป่วยไอ จาม หายใจรดใส่ สำลักอาหารหรือสารเคมีเข้าปอด การแพร่กระจายไปตามกระแสเลือด เช่น การอักเสบในอวัยวะส่วนอื่น เป็นต้น อาการ ไข้สูง หนาวสั่น หายใจหอบ ไอแห้งในระยะแรก ต่อมาจะไอมีเสมหะมีเลือดปน อาจมีอาการเจ็บแปล๊บที่หน้าอกเวลาหายใจเข้าหรือไอแรง ๆ ในเด็กอาจมีอาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องเดิน อาเจียน กระสับกระส่ายหรือชัก ภาวะแทรกซ้อน ฝีในปอด (Lung abscess) มีหนองในช่องหุ้มปอด ปอดแฟบ (Atelectasis) หลอดลมพอง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเฉียบพลัน โลหิตเป็นพิษ ติดเชื้อในกระแสเลือด ขาดออกซิเจน และภาวะขาดน้ำ ซึ่งมีอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะหากเกิดในเด็กหรือผู้สูงอายุ การรักษา ยังไม่มีอาการหอบ ให้ดื่มน้ำเยอะ ๆ เช็ดตัวลดไข้ รับประทานยาลดไข้และยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษาของแพทย์อย่างเคร่งครัด หากมีอาการหอบ หรือสงสัยมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ จะต้องรีบดูแลประคับประคองอาการ และนำตัวสส่งโรงพยาบาลโดยด่วน ป้องกันปอดอักเสบ ดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ(จะต้องพบแพทย์เพื่อตรวจพิจารณาก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันปอดอักเสบ) สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039 319 888

ค้นหามะเร็งปอดด้วย Low-Dose CT Chest screening

ค้นหามะเร็งปอดด้วย Low-Dose CT Chest screening

Low Dose CT Chest คือ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์บริเวณทรวงอกด้วยปริมาณรังสีที่ต่ำให้ภาพ 3 มิติที่ให้รายละเอียดได้ดีในบริเวณปอด แม้ใช้ปริมาณรังสีไม่สูงมากและไม่ต้องฉีดสารทึบแสงก็สามารถตรวจพบจุดเล็ก ๆ หรือก้อนในปอดได้ดี จากการศึกษาทางคลินิกพบว่า การตรวจคัดกรองมะเร็งปอดระยะเริ่มต้น ด้วยวิธี LDCT ประจำปี สามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปอดได้สูงถึงร้อยละ 20 ในคนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอด เนื่องจากการตรวจพบมะเร็งปอดในระยะเริ่มต้น ขณะที่ยังไม่แสดงอาการใด ๆ นั้น มีโอกาสรักษาหายได้มากกว่า โดยที่ผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีจากการตรวจน้อยกว่าการตรวจด้วยวิธีเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบมาตรฐาน (Computed Tomography (CT)–Chest) ซึ่งจากการวิจัยของ National Lung Screening Trial (NLST) ในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อตรวจคัดกรองในกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูง เช่น กลุ่มที่สูบบุหรี่จัด และมีอายุมากกว่า 50 ปี (High Risk Group) ด้วย Low Dose CT (LDCT) สามารถลดอัตราการตายจากมะเร็งปอดได้ 15 – 20% เมื่อเทียบกับการทำ Screen ด้วย X – ray ทรวงอกปกติ ข้อดีของการทำ Low Dose CT ได้ภาพสามมิติที่ให้รายละเอียดได้ดีกว่า Chest X – ray ซึ่งเป็นภาพ 2 มิติ ตรวจพบมะเร็งระยะแรกได้ชัดเจนกว่า Chest X-ray ตรวจง่าย ใช้เวลาไม่นาน ผลข้างเคียงน้อย ข้อเสียของการทำ Low Dose CT ได้รับรังสี (แต่ก็ปริมาณน้อย) ราคาสูงกว่าการทำ Chest X – ray วิธีการเตรียมตัวและการตรวจ Low Dose CT Chest ไม่ต้องงดอาหาร สามารถทำได้เลย ไม่ต้องมีการเตรียมตัวพิเศษหรือเจาะเลือด เปลี่ยนชุดแล้วนอนบนเตียงตรวจในเครื่อง CT กลั้นหายใจระหว่างการตรวจประมาณ 15-20 วินาที ใช้เวลาตรวจทั้งหมดประมาณ 5 – 10 นาที (บนเครื่อง CT Scanner) การแปลผล เมื่อตรวจเสร็จแล้วรังสีแพทย์จะดูว่ามีจุดหรือก้อนหรือไม่ ขนาดและรูปร่างเป็นอย่างไร เพื่อจะดูว่ามีโอกาสจะเป็นเนื้อร้ายมากน้อยแค่ไหน กรณีที่สงสัยมากอาจจะแนะนำให้ตรวจเพิ่มเติมด้วย CT หรือ PET/CT หรือเจาะตรวจชิ้นเนื้ออีกที ถ้าไม่สงสัยหรือสงสัยน้อยก็จะแนะนำให้ตรวจซ้ำปีละครั้ง ข้อควรทราบ ผลการตรวจที่ผิดปกติที่รายงาน ไม่สามารถบอกได้ว่าก้อนหรือจุดดังกล่าวในปอดเป็นมะเร็งหรือไม่ แพทย์จะเป็นคนแจ้งผลและให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับท่านต่อไป ผลการตรวจที่ผิดปกติที่รายงาน ไม่ได้รับรองท่านได้ว่า ในอนาคตก้อนหรือจุดดังกล่าวจะไม่เป็นมะเร็งปอด ซึ่งตามคำแนะนำที่เหมาะสม ท่านต้องติดตามการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ (low-dosecomputed tomography, LDCT) ต่อเนื่องอย่างน้อยทุก 1 ปี สอบถามเพิ่มเติมได้ที่โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

วัณโรค

วัณโรค

วัณโรค วัณโรค เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง มีชื่อเป็นทางการว่า Mycobacterium tuberculosis เชื้อนี้สามารถทนอยู่ในอากาศ และสิ่งแวดล้อมได้นาน มักเข้าสู่คนโดยการหายใจเอาเชื้อนี้เข้าไป แต่ก็อาจเข้าทางอื่น เช่น บาดแผลได้ด้วย โดย ปกติเมื่อร่างกายได้รับเชื้อวัณโรค ร่างกายจะสามารถ ควบคุมเชื้อนี้ได้ระดับหนึ่งทำให้ไม่เป็นโรค เชื้อจะซ่อนอยู่ในร่างกาย หากร่างกายอ่อนแอ เชื้อก็จะกำเริบก่อให้เกิดโรคได้ เช่น เด็กเล็กๆ คนที่เป็นโรคเบาหวาน คนที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เช่น สเตียรอยด์ และกลุ่มที่มีปัญหาในปัจจุบัน คือคนไข้เอดส์ ซึ่งทำให้ปัจจุบันพบโรคนี้มากขึ้น โรคเป็นที่ส่วนใดของร่างกายได้บ้าง วัณโรคมักเป็นที่ปอด โดยหลังจากหายใจเอาเชื้อนี้เข้าไป เชื้อจะไปซ่อนตัวอยู่ที่ปอด รอเวลาที่ร่างกายอ่อนแอก็จะกำเริบมีอาการของโรคให้เห็น นอกจากนี้เชื้ออาจจะกระจายไปส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เช่น สมอง กระดูก ต่อมน้ำเหลืองไต เป็นต้น หรือหากเชื้อเข้าทางบาดแผลก็จะเป็นโรคที่ผิวหนัง อาการของวัณโรคเป็นอย่างไร อาการของวัณโรคขึ้นกับอวัยวะที่เป็นที่พบบ่อยคือวัณโรคปอด จะมีอาการไอเรื้อรัง บางคนมีไข้เรื้อรัง ผอมลง เหนื่อยง่าย คนที่เป็นนานๆ อาจไอมีเลือดปน วัณโรคที่อื่นๆ จะมีไข้เรื้อรัง และอาการอื่นตามอวัยวะที่เป็นโรค เช่น ที่สมองจะมีอาการปวดหัว อาเจียน ซึมลง ชัก ที่กระดูกสันหลังอาจทำให้กระดูกสันหลังคด หรือแตกออกเป็นฝี หากเป็นที่ต่อมน้ำเหลือง จะมีต่อมน้ำเหลืองโต หรือแตกออกเป็นฝี จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นวัณโรค วัณโรคปอด สามารถตรวจได้ค่อนข้างง่าย โดยการเอ็กซ์เรย์ปอด และตรวจเสมหะหาเชื้อ แต่วัณโรคปอดบางคนและวัณโรคในอวัยวะอื่น อาจตรวจได้ค่อนข้างยาก อาจต้องใช้วิธีเอ็กซ์เรย์พิเศษ หรือเจาะดูดน้ำ หรือตัดชิ้นเนื้อจากอวัยวะที่สงสัย เพื่อไปตรวจว่าเป็นโรคนี้หรือไม่ วัณโรค.....เป็นแล้วตายหรือไม่ ปัจจุบันเรามียาฆ่าเชื้อวัณโรคที่ได้ผลดี สามารถรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้ แต่ต้องใช้ยาหลายตัว และต้องรักษานานอย่างน้อย 6 เดือน หรือจนกว่าหมอจะสั่งให้หยุดยาจึงจะหายขาด หากรักษาไม่ต่อเนื่องหรือรักษาไม่ครบ อาจทำให้เชื้อดื้อยา ทำให้ไม่หาย หรือาจเสียชีวิตได้ สงสัยเป็นวัณโรคต้องทำอย่างไร หากมีอาการสงสัยว่าเป็นวัณโรค ควรรีบหาหมอเพื่อตรวจและรักษา ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ วัณโรคสามารถติดต่อได้ ยิ่งคนที่เป็นวัณโรคปอด ที่มีเชื้อเสมหะยิ่งติดต่อง่าย ดังนั้นต้องตรวจคนใกล้ชิด ว่าเป็นวัณโรค หรือไม่ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ร่างกายอ่อนแอดังกล่าวข้างต้น เคยมีคนไข้วัณโรคปอด แต่ไม่สนใจพาเด็กในบ้านมาตรวจ ปรากฏว่า หลังจากนั้นไม่นาน เด็กเป็นวัณโรคที่กระดูกสันหลัง ทำให้กระดูกคดตลอดชีวิต อีกรายหนึ่งเด็กเป็นวัณโรคที่สมอง ถึงแม้ไม่เสียชีวติแต่ก็ปัญญาอ่อน จะป้องกันวัณโรคได้อย่างไร ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันวัณโรค ฉีดให้เด็กแรกคลอดทุกคน แต่ป้องกันโรค ไม่ได้ร้อยเปอร์เซนต์ ดังนั้นทุกคนต้องป้องกันโดยการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง หากมีคนใกล้ชิดไอเรื้อรัง ควรแนะนำให้ไปตรวจรักษา และไม่คลุกคลี กับคนที่สงสัยเป็นวัณโรค เด็กเล็กๆ หรือภูมิคุ้มกันอ่อนแอและติดเชื้อวัณโรค แต่ยังไม่เป็นโรค หมออาจแนะนำให้กินยาป้องกันนาน 6 เดือน ถึง 1 ปี ไอเป็นเลือด....เป็นวัณโรคทุกคนหรือเปล่า อาการไอเป็นเลือดเป็นอาการหนึ่งของวัณโรคปอด แต่ก็อาจเกิดจากโรคอื่น เช่น หลอดลมอักเสบ คนไข้จะไอมีเสมหะ และมีเลือดเป็นเส้นเล็กๆปน กับเสมหะ ปอดบวมน้ำ มักเกิดในคนไข้โรคหัวใจ จะเหนื่อยหอบ นอนราบแล้วเหนื่อยมากขึ้น ไอเสมหะเป็นฟองสีชมพู มะเร็งปอด มีอาการ คล้ายวัณโรคมาก คนไข้จะเหนื่อยง่าย ผอม ไอเรื้อรัง และไอมีเลือดเป็นก้อน ปนกับเสมหะ มักพบในคนที่สูบบุหรี่ พยาธิใบไม้ในปอด เป็นโรคเขตร้อน ที่คนไม่ค่อยรุ้จัก เกิดจากพยาธิชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า Paragonimus พยาธินี้ จะอยู่ในเนื้อปูน้ำจืด คนเป็นโรคนี้ได้จากการกินปูไม่สุก มีอาการคล้าย วัณโรคมาก บางครั้งการเอ็กซ์เรย์ปอดก็ยังคล้ายกัน แต่หากตรวจเสมหะ แล้วพบไข่พยาธินี้ก็จะบอกว่าเป็นโรคน ไอเรื้อรัง....เป็นวัณโรคทุกคนหรือเปล่า อาการไอเรื้อรัง นอกจากวัณโรคแล้ว อาจเกิดจากโรคหัวใจ ( ทำให้ปอดบวมน้ำ) หรืออาจเกิดจากหลอดลมอักเสบเรื้อรัง หรือ ถุงลมโป่งพอง สองโรคนี้มักพบในคนสูบบุหรี่ คนไข้จะมีอาการไอ มีเสมหะ เหนื่อยง่าย นอกจากนี้อาจเกิดมะเร็งปอด และภูมิแพ้ได้ด้วย สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์โรคปอดและระะบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

วิธีแก้อาการ "นอนกรน"

วิธีแก้อาการ "นอนกรน"

วิธีแก้อาการ "นอนกรน" นอนกรน ปัญหาเล็กๆที่ อาจพัฒนาเป็นปัญหาใหญ่ได้ในอนาคต เช็กสัญญาณอันตรายและวิธีรักษาควบคู่ไปกับการปรับพฤติกรรม เสียงกรน คือ เสียงที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของลิ้นไก่และเพดานอ่อน ขณะนอนหลับในเวลาที่เราหลับสนิทนั้นเนื้อเยื่อต่างๆ ในช่องคอโดยเฉพาะอย่างยิ่งลิ้นไก่ และเพดานอ่อนจะคลายตัว บางคนคลายตัวมากจนย้อยลงมาอุดกั้นทางเดินหายใจบริเวณลำคอ ทำให้ลมหายใจเข้าไม่สามารถไหลผ่านลงสู่หลอดลม และปอดได้โดยสะดวก จนเกิดเป็นเสียงกรนตามมา จะรู้ได้อย่างไรว่านอนกรน คนข้างๆคุณบอกได้ ? นอนกรนเสียงดังจนต้องสะกิดปลุกกลางดึก สะดุ้งตื่น หรือพลิกตัวตอนนอน นอนกระสับกระส่าย เหงื่อออกผิดปกติขณะหลับ ปากแห้ง คอแห้งหลังตื่นนอน รู้สึกว่านอนไม่อิ่ม มีอาการปวดศีรษะ อ่อนเพลียหลังตื่นนอน ทั้งที่มีเวลานอนเพียงพอ หงุดหงิดง่าย อารมณ์เสียบ่อยกว่าปกติ ความคิดความสามารถในการจดจำลดลง และอาการจะหนักขึ้นถ้ามีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือทานยานอนหลับ ง่วงนอนบ่อย หรือหลับง่ายในช่วงกลางวัน ชนิดการนอนกรน แบบไหนอันตราย ? ชนิดที่ไม่เป็นอันตราย (simple snoring) คนที่นอนกรนชนิดนี้มักจะมีเสียงกรนสม่ำเสมอ ไม่มีหายใจสะดุด หรือเสียงฮุบอากาศ เสียงกรนมักดังมากโดยเฉพาะเวลานอนหงาย ชนิดที่เป็นอันตราย (snoring with obstructive sleep apnea) คนที่นอนกรนภาวะนี้มักจะกรนเสียงดัง และมีอาการคล้ายสำลัก หรือสะดุ้งตื่นกลางดึก ตื่นขึ้นมาด้วยอาการอ่อนเพลียไม่สดชื่น หรือปวดศีรษะ และต้องการนอนต่ออีกทั้งที่ใช้เวลานอน 7- 8 ชม.แล้ว กลางวันบางคนอาจมีอาการง่วงนอน หลงลืม ไม่มีสมาธิ หงุดหงิดง่าย ขี้โมโห รวมทั้งมีความรู้สึกทางเพศลดลงซึ่งการนอนกรนชนิดนี้อาจนําไปสู่การหยุดหายใจขณะหลับที่นำไปสู่โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาตและโรคซึมเศร้าได้ รักษาบรรเทาอาการนอนกรน การลดน้ำหนัก เพราะผู้ป่วยที่นอนกรนส่วนมากมักมีน้ำหนักที่เกินเกณฑ์มาตราฐาน หลีกเลี่ยงไม่ดื่มสุราและสูบบุหรี่ ปรับท่านอน นอนศีรษะสูง นอนตะแคง ใช่อุปกรณ์ช่วยให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้นหรือไม่อุดกั้นขณะหลับ เช่นใช้เครื่องอัดอากาศ ใส่ฟันยางขณะหลับ เครื่องมือชนิดนี้มีหลายแบบ หลายรูปร่าง แต่หลักการทำงานเหมือนกันคือ ยึดขากรรไกรล่างให้เคลื่อนมาข้างหน้า โคนลิ้นจะถูกดันออกมาด้วยทำให้ช่องคอเปิดออก และทำให้อากาศผ่านเข้าได้ง่ายขึ้น ช่วยให้หายใจได้สะดวกขึ้น และเสียงกรนเบาลง การดูแลรักษาเครื่องมือกันนอนกรน ก่อนใส่เครื่องมือกันกรน ให้ใช้แปรงสีฟันขนอ่อนๆ ขัดล้างกับน้ำสบู่ หรือยาสีฟัน ควรทำความสะอาดทุกครั้ง ก่อนและหลังใส่เครื่องมือกันกรน ไม่เก็บเครื่องมือกันกรนในบริเวณที่มีความร้อน หรือแห้ง ไม่จำเป็นต้องแช่น้ำ อย่างไรก็ตามอาการนอนกรน ไม่ใช่เรื่องที่ควรมองข้าม หากรู้สึกว่าปวดหัวทุกครั้งที่ตื่นนอน ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อวางแผนวินิจฉัยและการรักษาต่อไป ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ