COVID-19 ป้องกันตัวเองอย่างไรเมื่อต้องเดินทาง

COVID-19 ป้องกันตัวเองอย่างไรเมื่อต้องเดินทาง

หลังการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่จากมณฑลอู่ฮั่นลุกลาม จนมีผู้ติดเชื้อมากกว่า 600 คน และสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเรื่อยๆ ทำให้ทางการจีนต้องหยุดกิจกรรมวันปีใหม่ และปิดเมืองถึง 3 เมือง เพื่อป้องกันการแพร่ระบาด อีกทั้งองค์การอนามัยโลก (WHO) แถลงการณ์ประกาศเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด หลังพบผู้ป่วยกระจายไปทั่วโลก ทั้งประเทศในเอเชีย ยุโรป และภูมิภาคอื่น จากการท่องเที่ยวของคนจีนในวันตรุษจีน (ข้อมูล ณ วันที่ 24 มกราคม 2020 เวลา 02.50 น.)

ฉะนั้น หากคุณจำเป็นต้องเดินทาง ไม่ว่าจะไปส่วนใดของโลก โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงและสนามบิน เราแนะนำให้คุณทำประกันการเดินทาง สวมหน้ากากอนามัย ที่สำคัญกินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือทุกครั้งที่หยิบอาหารเข้าปาก

บทความที่เกี่ยวข้อง

ค้นหามะเร็งปอดด้วย Low-Dose CT Chest screening

ค้นหามะเร็งปอดด้วย Low-Dose CT Chest screening

Low Dose CT Chest คือ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์บริเวณทรวงอกด้วยปริมาณรังสีที่ต่ำให้ภาพ 3 มิติที่ให้รายละเอียดได้ดีในบริเวณปอด แม้ใช้ปริมาณรังสีไม่สูงมากและไม่ต้องฉีดสารทึบแสงก็สามารถตรวจพบจุดเล็ก ๆ หรือก้อนในปอดได้ดี จากการศึกษาทางคลินิกพบว่า การตรวจคัดกรองมะเร็งปอดระยะเริ่มต้น ด้วยวิธี LDCT ประจำปี สามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปอดได้สูงถึงร้อยละ 20 ในคนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอด เนื่องจากการตรวจพบมะเร็งปอดในระยะเริ่มต้น ขณะที่ยังไม่แสดงอาการใด ๆ นั้น มีโอกาสรักษาหายได้มากกว่า โดยที่ผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีจากการตรวจน้อยกว่าการตรวจด้วยวิธีเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบมาตรฐาน (Computed Tomography (CT)–Chest) ซึ่งจากการวิจัยของ National Lung Screening Trial (NLST) ในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อตรวจคัดกรองในกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูง เช่น กลุ่มที่สูบบุหรี่จัด และมีอายุมากกว่า 50 ปี (High Risk Group) ด้วย Low Dose CT (LDCT) สามารถลดอัตราการตายจากมะเร็งปอดได้ 15 – 20% เมื่อเทียบกับการทำ Screen ด้วย X – ray ทรวงอกปกติ ข้อดีของการทำ Low Dose CT ได้ภาพสามมิติที่ให้รายละเอียดได้ดีกว่า Chest X – ray ซึ่งเป็นภาพ 2 มิติ ตรวจพบมะเร็งระยะแรกได้ชัดเจนกว่า Chest X-ray ตรวจง่าย ใช้เวลาไม่นาน ผลข้างเคียงน้อย ข้อเสียของการทำ Low Dose CT ได้รับรังสี (แต่ก็ปริมาณน้อย) ราคาสูงกว่าการทำ Chest X – ray วิธีการเตรียมตัวและการตรวจ Low Dose CT Chest ไม่ต้องงดอาหาร สามารถทำได้เลย ไม่ต้องมีการเตรียมตัวพิเศษหรือเจาะเลือด เปลี่ยนชุดแล้วนอนบนเตียงตรวจในเครื่อง CT กลั้นหายใจระหว่างการตรวจประมาณ 15-20 วินาที ใช้เวลาตรวจทั้งหมดประมาณ 5 – 10 นาที (บนเครื่อง CT Scanner) การแปลผล เมื่อตรวจเสร็จแล้วรังสีแพทย์จะดูว่ามีจุดหรือก้อนหรือไม่ ขนาดและรูปร่างเป็นอย่างไร เพื่อจะดูว่ามีโอกาสจะเป็นเนื้อร้ายมากน้อยแค่ไหน กรณีที่สงสัยมากอาจจะแนะนำให้ตรวจเพิ่มเติมด้วย CT หรือ PET/CT หรือเจาะตรวจชิ้นเนื้ออีกที ถ้าไม่สงสัยหรือสงสัยน้อยก็จะแนะนำให้ตรวจซ้ำปีละครั้ง ข้อควรทราบ ผลการตรวจที่ผิดปกติที่รายงาน ไม่สามารถบอกได้ว่าก้อนหรือจุดดังกล่าวในปอดเป็นมะเร็งหรือไม่ แพทย์จะเป็นคนแจ้งผลและให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับท่านต่อไป ผลการตรวจที่ผิดปกติที่รายงาน ไม่ได้รับรองท่านได้ว่า ในอนาคตก้อนหรือจุดดังกล่าวจะไม่เป็นมะเร็งปอด ซึ่งตามคำแนะนำที่เหมาะสม ท่านต้องติดตามการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ (low-dosecomputed tomography, LDCT) ต่อเนื่องอย่างน้อยทุก 1 ปี สอบถามเพิ่มเติมได้ที่โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

ปอดอักเสบ/ปอดบวม (Pneumonia)

ปอดอักเสบ/ปอดบวม (Pneumonia)

ปอดอักเสบ / ปอดบวม (Pneumonia) ปอดอักเสบ หรือปอดบวม คือภาวะที่ปอดมีการอักเสบ โดยเกิดจากการติดเชื้อหรือมีสารเคมีเข้าไปทำให้มีการอักเสบของปอด ที่สำคัญ ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย ที่พบบ่อยคือเชื้อนิวโมคอคคัส เชื้อไวรัส เช่น หัด ไข้หวัดใหญ่ อีสุกอีใส เชื้อไมโคพลาสมา เป็นเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบแต่มักไม่มีอาการหอบอย่างชัดเจน เชื้อรา พบได้ค่อนข้างน้อย แต่รุนแรง สารเคมี เช่น น้ำมันก๊าด การติดโรค ถูกผู้ป่วยไอ จาม หายใจรดใส่ สำลักอาหารหรือสารเคมีเข้าปอด การแพร่กระจายไปตามกระแสเลือด เช่น การอักเสบในอวัยวะส่วนอื่น เป็นต้น อาการ ไข้สูง หนาวสั่น หายใจหอบ ไอแห้งในระยะแรก ต่อมาจะไอมีเสมหะมีเลือดปน อาจมีอาการเจ็บแปล๊บที่หน้าอกเวลาหายใจเข้าหรือไอแรง ๆ ในเด็กอาจมีอาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องเดิน อาเจียน กระสับกระส่ายหรือชัก ภาวะแทรกซ้อน ฝีในปอด (Lung abscess) มีหนองในช่องหุ้มปอด ปอดแฟบ (Atelectasis) หลอดลมพอง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเฉียบพลัน โลหิตเป็นพิษ ติดเชื้อในกระแสเลือด ขาดออกซิเจน และภาวะขาดน้ำ ซึ่งมีอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะหากเกิดในเด็กหรือผู้สูงอายุ การรักษา ยังไม่มีอาการหอบ ให้ดื่มน้ำเยอะ ๆ เช็ดตัวลดไข้ รับประทานยาลดไข้และยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษาของแพทย์อย่างเคร่งครัด หากมีอาการหอบ หรือสงสัยมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ จะต้องรีบดูแลประคับประคองอาการ และนำตัวสส่งโรงพยาบาลโดยด่วน ป้องกันปอดอักเสบ ดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ(จะต้องพบแพทย์เพื่อตรวจพิจารณาก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันปอดอักเสบ) สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039 319 888

ถุงลมโป่งพอง

ถุงลมโป่งพอง

ถุงลมโป่งพอง (Emphysema / Chronic obstructive pulmonary disease / COPD) ถุงลมโป่งพอง เป็นภาวะที่ถุงลมในปอดเกิดความพิการอย่างถาวร ซึ่งปอดมีถุงลมเป็นล้านถุง เมื่อส่วนนึงเกิดการพิการ ส่วนที่เหลือจะยังคงทำหน้าที่ได้ แต่ด้วยจำนวนถุงลมที่สามารถทำงานได้ลดลง การแลกเปลี่ยนก๊าซจึงลดลง เมื่อออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆไม่เพียงพอ ผู้ป่วยจะมีอาการหอบเหนื่อยเกิดขึ้น ถุงลมโป่งพองมักพบในเพศชายอายุ 45-65 ปี ส่วนใหญ่มีประวัติสูบบุหรี่จัดมานาน 10 ปีขึ้นปี หรือผู้ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีมลพิษทางอากาศต่อเนื่องเป็นเวลานาน สาเหตุถุงลมโป่งพอง สูบบุหรี่เป็นประจำต่อเนื่องเป็นเวลานาน อยู่ในสิ่งแวดล้มที่มีมลพิษทางอากาศ เช่น อากาศเสียจากโรงงาน เหมืองแร่ที่หายใจเอาสารละคายเคืองหลอดลมเข้าไปเป็นประจำ เป็นต้น สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกโรคปอดและระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร 039-319888

วิธีแก้อาการ "นอนกรน"

วิธีแก้อาการ "นอนกรน"

วิธีแก้อาการ "นอนกรน" นอนกรน ปัญหาเล็กๆที่ อาจพัฒนาเป็นปัญหาใหญ่ได้ในอนาคต เช็กสัญญาณอันตรายและวิธีรักษาควบคู่ไปกับการปรับพฤติกรรม เสียงกรน คือ เสียงที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของลิ้นไก่และเพดานอ่อน ขณะนอนหลับในเวลาที่เราหลับสนิทนั้นเนื้อเยื่อต่างๆ ในช่องคอโดยเฉพาะอย่างยิ่งลิ้นไก่ และเพดานอ่อนจะคลายตัว บางคนคลายตัวมากจนย้อยลงมาอุดกั้นทางเดินหายใจบริเวณลำคอ ทำให้ลมหายใจเข้าไม่สามารถไหลผ่านลงสู่หลอดลม และปอดได้โดยสะดวก จนเกิดเป็นเสียงกรนตามมา จะรู้ได้อย่างไรว่านอนกรน คนข้างๆคุณบอกได้ ? นอนกรนเสียงดังจนต้องสะกิดปลุกกลางดึก สะดุ้งตื่น หรือพลิกตัวตอนนอน นอนกระสับกระส่าย เหงื่อออกผิดปกติขณะหลับ ปากแห้ง คอแห้งหลังตื่นนอน รู้สึกว่านอนไม่อิ่ม มีอาการปวดศีรษะ อ่อนเพลียหลังตื่นนอน ทั้งที่มีเวลานอนเพียงพอ หงุดหงิดง่าย อารมณ์เสียบ่อยกว่าปกติ ความคิดความสามารถในการจดจำลดลง และอาการจะหนักขึ้นถ้ามีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือทานยานอนหลับ ง่วงนอนบ่อย หรือหลับง่ายในช่วงกลางวัน ชนิดการนอนกรน แบบไหนอันตราย ? ชนิดที่ไม่เป็นอันตราย (simple snoring) คนที่นอนกรนชนิดนี้มักจะมีเสียงกรนสม่ำเสมอ ไม่มีหายใจสะดุด หรือเสียงฮุบอากาศ เสียงกรนมักดังมากโดยเฉพาะเวลานอนหงาย ชนิดที่เป็นอันตราย (snoring with obstructive sleep apnea) คนที่นอนกรนภาวะนี้มักจะกรนเสียงดัง และมีอาการคล้ายสำลัก หรือสะดุ้งตื่นกลางดึก ตื่นขึ้นมาด้วยอาการอ่อนเพลียไม่สดชื่น หรือปวดศีรษะ และต้องการนอนต่ออีกทั้งที่ใช้เวลานอน 7- 8 ชม.แล้ว กลางวันบางคนอาจมีอาการง่วงนอน หลงลืม ไม่มีสมาธิ หงุดหงิดง่าย ขี้โมโห รวมทั้งมีความรู้สึกทางเพศลดลงซึ่งการนอนกรนชนิดนี้อาจนําไปสู่การหยุดหายใจขณะหลับที่นำไปสู่โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาตและโรคซึมเศร้าได้ รักษาบรรเทาอาการนอนกรน การลดน้ำหนัก เพราะผู้ป่วยที่นอนกรนส่วนมากมักมีน้ำหนักที่เกินเกณฑ์มาตราฐาน หลีกเลี่ยงไม่ดื่มสุราและสูบบุหรี่ ปรับท่านอน นอนศีรษะสูง นอนตะแคง ใช่อุปกรณ์ช่วยให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้นหรือไม่อุดกั้นขณะหลับ เช่นใช้เครื่องอัดอากาศ ใส่ฟันยางขณะหลับ เครื่องมือชนิดนี้มีหลายแบบ หลายรูปร่าง แต่หลักการทำงานเหมือนกันคือ ยึดขากรรไกรล่างให้เคลื่อนมาข้างหน้า โคนลิ้นจะถูกดันออกมาด้วยทำให้ช่องคอเปิดออก และทำให้อากาศผ่านเข้าได้ง่ายขึ้น ช่วยให้หายใจได้สะดวกขึ้น และเสียงกรนเบาลง การดูแลรักษาเครื่องมือกันนอนกรน ก่อนใส่เครื่องมือกันกรน ให้ใช้แปรงสีฟันขนอ่อนๆ ขัดล้างกับน้ำสบู่ หรือยาสีฟัน ควรทำความสะอาดทุกครั้ง ก่อนและหลังใส่เครื่องมือกันกรน ไม่เก็บเครื่องมือกันกรนในบริเวณที่มีความร้อน หรือแห้ง ไม่จำเป็นต้องแช่น้ำ อย่างไรก็ตามอาการนอนกรน ไม่ใช่เรื่องที่ควรมองข้าม หากรู้สึกว่าปวดหัวทุกครั้งที่ตื่นนอน ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อวางแผนวินิจฉัยและการรักษาต่อไป ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

โรคคอตีบ (Diphtheria)

โรคคอตีบ (Diphtheria)

โรคคอตีบ (Diphtheria) โรคคอตีบ\" (Diphtheria) หรือ ดิพทีเรีย เป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจ มีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Corynebacterium diphtheria ซึ่งมีรูปทรงแท่งและย้อมติดสีแกรมบวก ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบ มีแผ่นเยื่อเกิดขึ้นในลำคอในรายที่รุนแรงจะมีการตีบตันของทางเดินหายใจ จึงได้ชื่อว่าโรคคอตีบ และจากพิษ (exotoxin) ของเชื้อจะทำให้มีอันตรายต่อกล้ามเนื้อหัวใจ และเส้นประสาทส่วนปลายซึ่งถ้าเป็นรุนแรงจะทำให้เป็นอัมพาตและเสียชีวิตได้ การติดต่อของโรค เชื้อจะพบอยู่ในคนเท่านั้น โดยจะพบอยู่ในจมูกหรือลำคอของผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อโดยไม่มีอาการ และสามารถติดต่อกันได้ง่าย โดยการได้รับเชื้อจากการไอ จามรดกันหรือพูดคุยในระยะใกล้ชิด เชื้อจะเข้าสู้ผู้สัมผัสทางปากหรือทางการหายใจ บางครั้งอาจติดต่อกันได้โดยการใช้ภาชนะร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ ช้อน หรือ การดูดอมของเล่นร่วมกันในเด็กเล็ก ระยะฟักตัวของโรคอยู่ระหว่าง ๒ - ๕ วัน อาจจะนานกว่านี้ได้ เชื้อจะอยู่ในลำคอของผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาได้ประมาณ ๒ สัปดาห์ แต่บางครั้งอาจนานถึงหลายเดือนได้ ผู้ที่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องเชื้อจะหมดไปภายใน ๑ สัปดาห์ อาการของโรคคอตีบ หลังจากรับเชื้อผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการไข้ต่ำๆ มีอาการคล้ายหวัดในระยะแรกมีอาการไอเสียงก้อน เจ็บคอ เบื่ออาหาร ในเด็กโตอาจจะบ่นเจ็บคอคล้ายกับคออักเสบบางรายอาจจะพบต่อมน้ำเหลืองที่คอโตด้วย เมื่อตรวจดูในคอพบแผ่นเยื่อสีขาวปนเทาติดแน่นอยู่บริเวณทอนซิล และบริเวณลิ้นไก่ แผ่นเยื่อนี้เกิดจากพิษที่ออกมาทำให้มีการทำลายเนื้อเยื่อ(membrane) ติดแน่นกับเยื่อบุในลำคอ การรักษาโรคคอตีบ เมื่อพบผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรคคอตีบ ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที เพราะแพทย์จะต้องรีบให้การรักษาโดยเร็ว ผลการรักษาจะได้ผลหรือไม่ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ป่วยก่อนจะได้รับการรักษา การป้องกันโรคคอตีบ ในเด็กทั่วไป การป้องกันแก่เด็กก่อนวัยเรียนนับว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด โดยการให้วัคซีนป้องกันคอตีบ ๕ ครั้ง เมื่ออายุ ๒, ๔, ๖ และ ๑๘ เดือน ๔ ปี และ กระตุ้นอีกครั้งหนึ่งเมื่อเด็กเข้าโรงเรียนชั้นประถมปีที่ ๖ ผู้ที่มีอาการของโรคจะมีเชื้ออยู่ในจมูก ลำคอ เป็นระยะเวลา ๒ - ๓ สัปดาห์ ดังนั้น จึงต้องแยกผู้ป่วยจากผู้อื่นอย่างน้อย ๓ สัปดาห์ หลังเริ่มมีอาการ หรือตรวจเพาะเชื้อไม่พบเชื้อแล้ว ๒ ครั้ง ผู้ป่วยที่หายจากโรคคอตีบแล้วอาจไม่มีภูมิคุ้มกันโรคเกิดขึ้นเต็มที่ จึงอาจเป็นโรคคอตีบซ้ำอีกได้ ดังนั้นจึงต้องให้วัคซีนป้องกันโรค (DTP หรือ dT) แก่ผู้ป่วยที่หายแล้วทุกคน เนื่องจากโรคคอตีบติดต่อกันได้ง่าย ดังนั้นผู้สัมผัสโรคใกล้ชิดที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคจะติดเชื้อได้ง่าย จึงควรได้รับการติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิดที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคจะติดเชื้อได้ง่าย จึงควรได้รับการติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิดที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคจะติดเชื้อได้ง่าย จึงควรได้รับการติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิด โดยทำการเพาะเชื้อจากลำคอ และติดตามดูอาการ ๗ วัน พร้อมใช้ยาปฏิชีวนะ ในกรณีที่มีผลเพาะเชื้อกลับมา และไม่พบเชื้อคอตีบ พิจารณาให้หยุดยาได้ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่แผนกโรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

ภูมิแพ้

ภูมิแพ้

โรคภูมิแพ้ โรคที่เกิดจากการตอบสนองของร่างกายที่ไวต่อสารก่อภูมิแพ้มากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการผิดปกติกับอวัยวะที่สัมผัสสารก่อภูมิแพ้นั้น ๆ ซึ่งผู้ป่วยโรคนี้แต่ละคนจะมีอาการแตกต่างกันและความรุนแรงไม่เท่ากัน เพราะชนิดของสารก่อภูมิแพ้ที่ได้รับและการตอบสนองของร่างกายแต่ละบุคคลต่างกัน ปัจจุบันประชากรไทยเป็นภูมิแพ้จำนวนมากทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยสาเหตุสำคัญมีดังนี้ กรรมพันธุ์ มลภาวะ สูบบุหรี่ ขาดการออกำลังกาย สภาพแวดล้อมภายในที่พักอาศัย เช่น เลี้ยงสัตว์ ปูพรหม เครื่องปรับอากาศ เป็นแหล่งสะสมฝุ่นละอองและไรฝุ่นชั้นดี เป็นต้น ประเภาทสารก่อนภูมิแพ้ ประกอบด้วย 2 ปะเภทหลักๆ ดังนี้ สารก่อภูมิแพ้ในสิ่งแวดล้อมและอากาศ เช่น ไรฝุ่น ขนสัตว์ ละอองเกสร แมลงสาบ เชื้อรา ฯลฯ สารก่อภูมิแพ้ประเภทอาหาร เช่น นม ถั่ว แป้งสาลี อาหารทะเล ฯลฯ อาการบ่งบอกภูมิแพ้ อาการของโรคภูมิแพ้จะเกิดตามอวัยวะที่มีการอักเสบจาการกระตุ้นของสารก่อภูมิแพ้ ได้แก่ ผื่นคัน ลมพิษ คัดจมูก มีน้ำมูก ไอ จาม คันจมูก คันหัวตา เคืองตา แสบตา น้ำตาไหล แน่นหน้าอก หอบ หายใจเสียงวี๊ด นอกจากนี้ ยังอาจเกิดอาการท้องเสีย อาเจียน น้ำหนักลด รวมทั้งมีภาวะซีดเกิดขึ้นด้วยได้เช่นกัน จึงจำเป็นต้องหมั่นสังเกตตนเองและพบแพทย์เพื่อทำการตรวจอย่างละเอียดอีกครั้ง ตรวจให้แน่ใจ การตรวจวินิจฉัยภูมิแพ้ย่อมทำให้ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของอาการแพ้ที่เกิดขึ้น ซึ่งจะเริ่มจากแพทย์ตรวจร่างกายและซักประวัติแบบละเอียด จากนั้นจะทำการตรวจเพิ่มเติมตามความเหมาะสม เช่น ทดสอบทางผิวหนัง เจาะเลือดหาสาเหตุ เพื่อให้สามารถยืนยันสาเหตุการแพ้ได้อย่างชัดเจน นำไปสู่การดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม แม้ภูมิแพ้จะเป็นโรคเรื้อรัง แต่ถ้าหากรู้สาเหตุของการแพ้อย่างชัดเจนและพยายามหลีกเลี่ยง ตลอดจนหมั่นดูแลร่างกายให้แข็งแรง ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ ย่อมช่วยบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นได้อย่างดี สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกโรคปอดและระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888