โรคคอตีบ (Diphtheria)
โรคคอตีบ\" (Diphtheria) หรือ ดิพทีเรีย เป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจ มีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Corynebacterium diphtheria ซึ่งมีรูปทรงแท่งและย้อมติดสีแกรมบวก ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบ มีแผ่นเยื่อเกิดขึ้นในลำคอในรายที่รุนแรงจะมีการตีบตันของทางเดินหายใจ จึงได้ชื่อว่าโรคคอตีบ และจากพิษ (exotoxin) ของเชื้อจะทำให้มีอันตรายต่อกล้ามเนื้อหัวใจ และเส้นประสาทส่วนปลายซึ่งถ้าเป็นรุนแรงจะทำให้เป็นอัมพาตและเสียชีวิตได้
การติดต่อของโรค
เชื้อจะพบอยู่ในคนเท่านั้น โดยจะพบอยู่ในจมูกหรือลำคอของผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อโดยไม่มีอาการ และสามารถติดต่อกันได้ง่าย โดยการได้รับเชื้อจากการไอ จามรดกันหรือพูดคุยในระยะใกล้ชิด เชื้อจะเข้าสู้ผู้สัมผัสทางปากหรือทางการหายใจ บางครั้งอาจติดต่อกันได้โดยการใช้ภาชนะร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ ช้อน หรือ การดูดอมของเล่นร่วมกันในเด็กเล็ก ระยะฟักตัวของโรคอยู่ระหว่าง ๒ - ๕ วัน อาจจะนานกว่านี้ได้ เชื้อจะอยู่ในลำคอของผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาได้ประมาณ ๒ สัปดาห์ แต่บางครั้งอาจนานถึงหลายเดือนได้ ผู้ที่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องเชื้อจะหมดไปภายใน ๑ สัปดาห์
อาการของโรคคอตีบ
หลังจากรับเชื้อผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการไข้ต่ำๆ มีอาการคล้ายหวัดในระยะแรกมีอาการไอเสียงก้อน เจ็บคอ เบื่ออาหาร ในเด็กโตอาจจะบ่นเจ็บคอคล้ายกับคออักเสบบางรายอาจจะพบต่อมน้ำเหลืองที่คอโตด้วย เมื่อตรวจดูในคอพบแผ่นเยื่อสีขาวปนเทาติดแน่นอยู่บริเวณทอนซิล และบริเวณลิ้นไก่ แผ่นเยื่อนี้เกิดจากพิษที่ออกมาทำให้มีการทำลายเนื้อเยื่อ(membrane) ติดแน่นกับเยื่อบุในลำคอ
การรักษาโรคคอตีบ
เมื่อพบผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรคคอตีบ ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที เพราะแพทย์จะต้องรีบให้การรักษาโดยเร็ว ผลการรักษาจะได้ผลหรือไม่ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ป่วยก่อนจะได้รับการรักษา
การป้องกันโรคคอตีบ
-
ในเด็กทั่วไป การป้องกันแก่เด็กก่อนวัยเรียนนับว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด โดยการให้วัคซีนป้องกันคอตีบ ๕ ครั้ง เมื่ออายุ ๒, ๔, ๖ และ ๑๘ เดือน ๔ ปี และ กระตุ้นอีกครั้งหนึ่งเมื่อเด็กเข้าโรงเรียนชั้นประถมปีที่ ๖
-
ผู้ที่มีอาการของโรคจะมีเชื้ออยู่ในจมูก ลำคอ เป็นระยะเวลา ๒ - ๓ สัปดาห์ ดังนั้น จึงต้องแยกผู้ป่วยจากผู้อื่นอย่างน้อย ๓ สัปดาห์ หลังเริ่มมีอาการ หรือตรวจเพาะเชื้อไม่พบเชื้อแล้ว ๒ ครั้ง ผู้ป่วยที่หายจากโรคคอตีบแล้วอาจไม่มีภูมิคุ้มกันโรคเกิดขึ้นเต็มที่ จึงอาจเป็นโรคคอตีบซ้ำอีกได้ ดังนั้นจึงต้องให้วัคซีนป้องกันโรค (DTP หรือ dT) แก่ผู้ป่วยที่หายแล้วทุกคน
-
เนื่องจากโรคคอตีบติดต่อกันได้ง่าย ดังนั้นผู้สัมผัสโรคใกล้ชิดที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคจะติดเชื้อได้ง่าย จึงควรได้รับการติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิดที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคจะติดเชื้อได้ง่าย จึงควรได้รับการติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิดที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคจะติดเชื้อได้ง่าย จึงควรได้รับการติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิด โดยทำการเพาะเชื้อจากลำคอ และติดตามดูอาการ ๗ วัน พร้อมใช้ยาปฏิชีวนะ ในกรณีที่มีผลเพาะเชื้อกลับมา และไม่พบเชื้อคอตีบ พิจารณาให้หยุดยาได้
สอบถามเพิ่มเติมได้ที่แผนกโรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888