ภูมิแพ้

โรคภูมิแพ้

โรคที่เกิดจากการตอบสนองของร่างกายที่ไวต่อสารก่อภูมิแพ้มากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการผิดปกติกับอวัยวะที่สัมผัสสารก่อภูมิแพ้นั้น ๆ ซึ่งผู้ป่วยโรคนี้แต่ละคนจะมีอาการแตกต่างกันและความรุนแรงไม่เท่ากัน เพราะชนิดของสารก่อภูมิแพ้ที่ได้รับและการตอบสนองของร่างกายแต่ละบุคคลต่างกัน ปัจจุบันประชากรไทยเป็นภูมิแพ้จำนวนมากทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยสาเหตุสำคัญมีดังนี้

  1. กรรมพันธุ์

  2. มลภาวะ

  3. สูบบุหรี่

  4. ขาดการออกำลังกาย

  5. สภาพแวดล้อมภายในที่พักอาศัย เช่น เลี้ยงสัตว์ ปูพรหม เครื่องปรับอากาศ เป็นแหล่งสะสมฝุ่นละอองและไรฝุ่นชั้นดี เป็นต้น

ประเภาทสารก่อนภูมิแพ้

ประกอบด้วย 2 ปะเภทหลักๆ ดังนี้

  1. สารก่อภูมิแพ้ในสิ่งแวดล้อมและอากาศ เช่น ไรฝุ่น ขนสัตว์ ละอองเกสร แมลงสาบ เชื้อรา ฯลฯ

  2. สารก่อภูมิแพ้ประเภทอาหาร เช่น นม ถั่ว แป้งสาลี อาหารทะเล ฯลฯ

อาการบ่งบอกภูมิแพ้

อาการของโรคภูมิแพ้จะเกิดตามอวัยวะที่มีการอักเสบจาการกระตุ้นของสารก่อภูมิแพ้ ได้แก่

  • ผื่นคัน ลมพิษ

  • คัดจมูก มีน้ำมูก ไอ จาม

  • คันจมูก คันหัวตา เคืองตา

  • แสบตา น้ำตาไหล

  • แน่นหน้าอก หอบ หายใจเสียงวี๊ด

นอกจากนี้ ยังอาจเกิดอาการท้องเสีย อาเจียน น้ำหนักลด รวมทั้งมีภาวะซีดเกิดขึ้นด้วยได้เช่นกัน จึงจำเป็นต้องหมั่นสังเกตตนเองและพบแพทย์เพื่อทำการตรวจอย่างละเอียดอีกครั้ง

ตรวจให้แน่ใจ

การตรวจวินิจฉัยภูมิแพ้ย่อมทำให้ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของอาการแพ้ที่เกิดขึ้น ซึ่งจะเริ่มจากแพทย์ตรวจร่างกายและซักประวัติแบบละเอียด จากนั้นจะทำการตรวจเพิ่มเติมตามความเหมาะสม เช่น ทดสอบทางผิวหนัง เจาะเลือดหาสาเหตุ เพื่อให้สามารถยืนยันสาเหตุการแพ้ได้อย่างชัดเจน นำไปสู่การดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม

แม้ภูมิแพ้จะเป็นโรคเรื้อรัง แต่ถ้าหากรู้สาเหตุของการแพ้อย่างชัดเจนและพยายามหลีกเลี่ยง ตลอดจนหมั่นดูแลร่างกายให้แข็งแรง ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ ย่อมช่วยบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นได้อย่างดี

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกโรคปอดและระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคหวัด หรือ ไข้หวัด

โรคหวัด หรือ ไข้หวัด

โรคหวัด หรือ ไข้หวัด โรคหวัด หรือ ไข้หวัด (Acute Rhinopharyngitis : Common cold) เป็นโรคติดเชื้อที่พบบ่อยมากที่สุดโรคหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อไวรัสซึ่งมีหลายสายพันธุ์ พบบ่อยในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว หรือโดยเฉพาะช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง สามารถพบผู้ติดเชื้อได้ทุกช่วงอายุ ในเด็กเล็กสามารถเป็นได้หลายครั้งในแต่ละปี ในผู้ใหญ่จะเป็นน้อยลงตามลำดับเนื่องจากมีภูมิคุ้มกันมากขึ้น โดยเฉลี่ยเด็กจะเป็นโรคหวัด 6-12 ครั้งต่อปี ผู้ใหญ่จะเป็น 2-4 ครั้งต่อปี ความรุนแรงของโรคไม่มาก และสามารถหายเองได้ภายในไม่กี่วัน เนื่องจากเกิดจากการติดเชื้อไวรัสจึงเน้นรักษาประคับประคองอาการจนอาการหาย ดีเอง ใครบ้างที่เสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรงจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ ผู้ที่เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจากไข้หวัดใหญ่ได้แก่ผู้ที่มีโรคประจำตัวได้แก่ โรคปอดเรื้อรัง หอบหืด โรคหัวใจ เบาหวาน และ ผู้สูงอายุ การวินิจฉัย จากลักษณะอาการเพียงอย่างเดียวอาจยากที่จะบอกว่าผู้ป่วยรายใดเป็นไข้หวัดใหญ่รายใดเป็นไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่จากการติดเชื้อไวรัสอื่นๆ การวินิจฉัยยืนยันทางห้องปฏิบัติ การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัยแยกโรค การแยกเชื้อไวรัสจากไม้ป้ายคอ (throat swab) ดูดน้ำจากหลังโพรงจมูก (nasopharyngeal aspirate)ซึ่งกินเวลาอย่างน้อยประมาณ 1 สัปดาห์ การตรวจหาโปรตีนแอนติเจนของไวรัสในสิ่งส่งตรวจนั้นซึ่งได้ผลเร็วในไม่กี่ชั่วโมง ไข้หวัดใหญ่แพร่เชื้ออย่างไร ไข้หวัด เป็นโรคการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ โดยเชื้อจะอยู่ในละอองฝอยในอากาศที่ออกมาจากการไอจามของผู้ป่วย เมื่อสูดหายใจเอาเชื้อเข้าไป เชื้อก็จะเข้าไปเพิ่มจำนวนอยู่ในเซลล์เยื่อบุทางเดินหายใจ และทำให้เกิดอาการป่วยได้ ระยะเวลาแพร่เชื้อสามารถแพร่ได้ก่อนเกิดอาการและ 1-2 วันหลังเกิดอาการ การดูแลตนเองเมื่อเป็นไข้หวัด เนื่องจากเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่จึงใช้วิธีการรักษาตามอาการ เช่น ยาลดน้ำมูก ยาลดไข้ จนอาการหายดีเอง การใช้ยาฆ่าเชื้อโดยไม่จำเป็นจะทำให้เชื้อแบคทีเรียเกิดการดื้อยาได้ พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ (ควรเป็นน้ำอุ่น) รักษาร่างกายให้อบอุ่น รับประทานอาหารอุ่น หลีกเลี่ยงการจามหรือสั่งน้ำมูกอย่างรุนแรง เพราะจะทำให้น้ำมูกที่มีเชื้อโรคเข้าไปในไซนัสเกิดเป็นไซนัสอักเสบจากการติดเชื้อได้ เวลาไอหรือจามให้ใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปากและจมูก อาการที่ควรไปพบแพทย์ เมื่อน้ำมูกหรือเสมหะ เหลืองเขียว ปวดหู หูอื้อ ปวดศีรษะมาก ไข้สูง มีอาการหอบเหนื่อย ควรพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยภาวะแทรกซ้อน หากมีไข้สูง ปวดเมื่อยตามร่างกายมาก อาจเป็นไข้หวัดใหญ่ไม่ใช่โรคหวัด ภาวะแทรกซ้อน คนที่เป็นโรคหวัดบางส่วน จะมีการติดเชื้อของแบคทีเรียซ้อนร่วมด้วย ทำให้มีอาการน้ำมูกข้น สีเหลืองหรือเขียว มีเสมหะเขียว ไซนัสอักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียซ้อน เยื่อบุตาอักเสบ หลอดลมอักเสบ หรือ ปอดอักเสบ ผู้ที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคหอบหืด หรือ ถุงลมในปอดโป่งพอง เมื่อเป็นโรคหวัด จะทำให้อาการหอบเหนื่อยรุนแรงมากขึ้น การป้องกันการติดเชื้อ หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้คนที่เป็นโรคหวัด ลดการสัมผัสกับผู้ป่วย หรือใช้ของร่วมกับผู้ป่วย หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้ล้างมือหลังสัมผัส อย่าเอามือสัมผัสหรือถูจมูก หรือขยี้ตา พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ผู้ป่วยที่กำลังไอหรือจาม หลีกเลี่ยงที่มีคนแออัดในช่วงที่มีการระบาด การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ไม่สามารถป้องกันโรคหวัดได้ เนื่องจากเป็นเชื้อไวรัสคนละชนิด ข้อห้ามในการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 6 เดือน ผู้ที่แพ้ไข่อย่างรุนแรง ผู้ที่เคยฉีดวัคซีนแล้วมีอาการแพ้รุนแรง ผู้ที่มีไข้ โดยควรเลื่อนการฉีดวัคซีนไปอย่างน้อย 1 สัปดาห์ หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ ที่มา : ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ,BangkokHealth.com / https://www.bangkokhospital.com/th/disease-treatment/influenza-prevention

ถุงลมโป่งพอง

ถุงลมโป่งพอง

ถุงลมโป่งพอง (Emphysema / Chronic obstructive pulmonary disease / COPD) ถุงลมโป่งพอง เป็นภาวะที่ถุงลมในปอดเกิดความพิการอย่างถาวร ซึ่งปอดมีถุงลมเป็นล้านถุง เมื่อส่วนนึงเกิดการพิการ ส่วนที่เหลือจะยังคงทำหน้าที่ได้ แต่ด้วยจำนวนถุงลมที่สามารถทำงานได้ลดลง การแลกเปลี่ยนก๊าซจึงลดลง เมื่อออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆไม่เพียงพอ ผู้ป่วยจะมีอาการหอบเหนื่อยเกิดขึ้น ถุงลมโป่งพองมักพบในเพศชายอายุ 45-65 ปี ส่วนใหญ่มีประวัติสูบบุหรี่จัดมานาน 10 ปีขึ้นปี หรือผู้ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีมลพิษทางอากาศต่อเนื่องเป็นเวลานาน สาเหตุถุงลมโป่งพอง สูบบุหรี่เป็นประจำต่อเนื่องเป็นเวลานาน อยู่ในสิ่งแวดล้มที่มีมลพิษทางอากาศ เช่น อากาศเสียจากโรงงาน เหมืองแร่ที่หายใจเอาสารละคายเคืองหลอดลมเข้าไปเป็นประจำ เป็นต้น สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกโรคปอดและระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร 039-319888

ปอดอักเสบ/ปอดบวม (Pneumonia)

ปอดอักเสบ/ปอดบวม (Pneumonia)

ปอดอักเสบ / ปอดบวม (Pneumonia) ปอดอักเสบ หรือปอดบวม คือภาวะที่ปอดมีการอักเสบ โดยเกิดจากการติดเชื้อหรือมีสารเคมีเข้าไปทำให้มีการอักเสบของปอด ที่สำคัญ ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย ที่พบบ่อยคือเชื้อนิวโมคอคคัส เชื้อไวรัส เช่น หัด ไข้หวัดใหญ่ อีสุกอีใส เชื้อไมโคพลาสมา เป็นเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบแต่มักไม่มีอาการหอบอย่างชัดเจน เชื้อรา พบได้ค่อนข้างน้อย แต่รุนแรง สารเคมี เช่น น้ำมันก๊าด การติดโรค ถูกผู้ป่วยไอ จาม หายใจรดใส่ สำลักอาหารหรือสารเคมีเข้าปอด การแพร่กระจายไปตามกระแสเลือด เช่น การอักเสบในอวัยวะส่วนอื่น เป็นต้น อาการ ไข้สูง หนาวสั่น หายใจหอบ ไอแห้งในระยะแรก ต่อมาจะไอมีเสมหะมีเลือดปน อาจมีอาการเจ็บแปล๊บที่หน้าอกเวลาหายใจเข้าหรือไอแรง ๆ ในเด็กอาจมีอาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องเดิน อาเจียน กระสับกระส่ายหรือชัก ภาวะแทรกซ้อน ฝีในปอด (Lung abscess) มีหนองในช่องหุ้มปอด ปอดแฟบ (Atelectasis) หลอดลมพอง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเฉียบพลัน โลหิตเป็นพิษ ติดเชื้อในกระแสเลือด ขาดออกซิเจน และภาวะขาดน้ำ ซึ่งมีอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะหากเกิดในเด็กหรือผู้สูงอายุ การรักษา ยังไม่มีอาการหอบ ให้ดื่มน้ำเยอะ ๆ เช็ดตัวลดไข้ รับประทานยาลดไข้และยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษาของแพทย์อย่างเคร่งครัด หากมีอาการหอบ หรือสงสัยมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ จะต้องรีบดูแลประคับประคองอาการ และนำตัวสส่งโรงพยาบาลโดยด่วน ป้องกันปอดอักเสบ ดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ(จะต้องพบแพทย์เพื่อตรวจพิจารณาก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันปอดอักเสบ) สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039 319 888

โรคที่มักมาในช่วงฤดูฝน

โรคที่มักมาในช่วงฤดูฝน

โรคที่มักมาในช่วงฤดูฝน ไข้หวัดใหญ่-จากเชื้อไวรัส ไข้หวัดธรรมดา-จากไวรัสและเเบคทีเรียในอากาศ โรคต่อมทอนซิล-จากไวรัสและแบคทีเรีย อุจจาระร่วงเฉียบพลัน-จากอาหารปนเปื้อน เยื่อบุตาอักเสบ-จากเชื้อไวรัส โรคไข้เลือดออก-จากยุงลาย โรคฉี่หนู-จากการสัมผัสแหล่งมีน้ำขังที่ปนเปื้อนสิ่งคัดหลั่งหรือเนื้อเยื่อของสัตว์ที่ติดเชื้อฉี่หนู คำอธิบาย ฤดูฝน มักมีอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย มีอากาศที่ร้อนและชื้นมาก ซึ่งเอื้อกับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคบางชนิดที่สามารถก่อโรคในคนได้ ซึ่งโรคที่มักพบอุบัติการณ์ได้บ่อยในช่วงฤดูฝน ได้แก่ ไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดธรรมดา โรคต่อมทอนซิล อุจจาระร่วง เยื่อบุตาอักเสบ โรคไข้เลือดออก และ โรคฉี่หนู

หืดหอบ (Asthma)

หืดหอบ (Asthma)

หืดหอบ (Asthma) หืดหอบ เป็นโรคที่พบได้ทุกเพศทุกวัย มักมีอาการเมื่ออากาศหนาว เมื่อไม่มีอาการสุขภาพโดยรวมจะดูปกติแข็งแรงเหมือนคนทั่วไป สาเหตุ เกิดจากการตีบแคบของหลอดลม ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม หรือบางรายเกิดอาจมีการติดเชื้อทางเดินหายใจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการ อาการ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก โดยเฉพาะช่วงหายใจออก หากเป็นมาก ๆ จะนอนไม่สบายตัว มักลกขึ้นนั่งฟุบกับโต๊ะและหอบตัวโยน มีเสียงดังฮืด ๆ ผู้ป่วยมักไอมาก มีเสมหะเหนียว อาจมีอาการคันจมูก คันคอ เป็นหวัด หรือจามนำมาก่อน ส่วนใหญ่ไม่มีไข้ ในรายที่มีไข้มักเป็นหืดร่วมกับอาการของไข้หวัด หรือหลอดลมอักเสบ อาการแทรกซ้อน หากเป็นรุนแรงจะทำให้หอบต่อเนื่องเป็นเวลานานได้ (Status asthmaticus) หากเป็นเรื้อรัง อาจทำให้เป็นถุงลมโป่งพอง หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ ปอดแฟบ ปอดทะลุ การรักษา ถ้าเป็นไม่มาก ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล แนะนำให้ปฏิบัติตนและรับประทานยาตามแผนการรักษาของแพทย์อย่างเคร่งครัด กรณีรับประทานยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการมากขึ้น ควรปรึกษาแพทย์

LONG COVID เรื่องต้องรู้เมื่อหายจากโควิด-19

LONG COVID เรื่องต้องรู้เมื่อหายจากโควิด-19

ผู้ป่วย COVID-19 มีอาการและความรุนแรงของโรคแตกต่างกัน รวมถึงการฟื้นฟูร่างกายได้ไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงควรรู้ถึงอาการระยะยาวที่อาจเกิดขึ้นกับร่างกายหรือที่เรียกว่าลองโควิด (Long COVID) เพื่อจะได้รู้เท่าทัน เตรียมพร้อมรับมือ และดูแลตัวเองให้ถูกวิธี รู้จักกับลองโควิด ลองโควิด (Long COVID) เป็นภาวะหรืออาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโควิด-19 หลังจากได้รับเชื้อนาน 4 สัปดาห์ไปจนถึง 12 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งอาการที่พบมีหลากหลายและแตกต่างกัน โดยลองโควิดส่วนใหญ่มักพบในผู้ป่วยโควิด-19 ที่เชื้อลงปอดและมีโรคเรื้อรังร่วมด้วย และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ส่งผลให้ปอดทำงานหนัก ปอดไม่แข็งแรง จากเดิมที่ปอดมีความยืดหยุ่น ปอดจะเริ่มแข็งและอาจเกิดรอยโรคอย่างแผลหรือพังผืดต่าง ๆ ในเนื้อปอด ส่งผลให้แลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ไม่เต็มที่ เหนื่อยง่ายกว่าปกติ หายใจไม่เต็มปอด และมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล อาการลองโควิดที่พบนั้นมีมากมาย แต่อาการที่พบบ่อย ได้แก่ อ่อนเพลียเรื้อรัง เหนื่อยง่าย อ่อนแรง หายใจลำบาก หายใจติดขัด หายใจไม่อิ่ม ปวดศีรษะ สมาธิจดจ่อลดลง ความจำผิดปกติ ไอ เจ็บแน่นหน้าอก ปวดกล้ามเนื้อ ข้อต่อ ท้องร่วง ท้องเสีย จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส ซึมเศร้า เครียด วิตกกังวล รักษาลองโควิด การหมั่นสังเกตความผิดปกติของตนเองหลังหายจากโควิด-19 เป็นเรื่องสำคัญ เพราะแพทย์จะรักษาลองโควิดตามอาการเป็นหลัก ดังนั้นหากมีอาการแล้วพบแพทย์โดยเร็ว ย่อมช่วยให้รักษาได้ทันท่วงที นอกจากนี้การตรวจร่างกายเป็นประจำตามคำแนะนำของแพทย์จะช่วยให้รู้ทันความผิดปกติที่เกิดขึ้นและดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม ภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวที่อาจเกิดจากลองโควิด ได้แก่ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarditis) สมองล้า (Brain Fog) ภาวะพร่องทางระบบประสาทอัตโนมัติ (Dysautonomia) ภาวะ Guillain – Barre Syndrome โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) โรคนอนไม่หลับ (Insomnia) อย่าออกกำลังมากไป สำหรับคนที่หายป่วยจากโควิด-19 ยังไม่แนะนำให้ออกกำลังกายมากเกินไปและออกกำลังกายจนเหนื่อยเกินไป ควรปรับให้เป็นการออกกำลังแบบเบา ๆ เช่น เคยวิ่งอาจปรับเป็นเดินก่อน เป็นต้น เพื่อให้ปอดไม่ทำงานหนักจนเกินไปและร่างกายค่อย ๆ ฟื้นตัวและปรับตัวกลับสู่สภาวะที่แข็งแรง ปัจจุบันภาวะลองโควิดยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดแต่สามารถทำให้เกิดความผิดปกติกับร่างกายและจิตใจของผู้ที่หายจากโควิด-19 ได้ แพทย์จึงแนะนำให้สังเกตตัวเองอย่างละเอียด ประเมินร่างกายตนเองอยู่เสมอ และฟื้นฟูร่างกายอย่างถูกต้อง หากมีอาการที่รบกวนการใช้ชีวิตต้องรีบพบแพทย์เพื่อรักษาทันที อย่าปล่อยทิ้งไว้จนรุนแรงและเรื้อรัง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่แผนกโรคระบบทางเดินหายใจ 039-319888