ท่านอนลดปวดเมื่อย ลดนอนกรน ดีต่อหัวใจ

ท่านอนลดปวดเมื่อย ลดนอนกรน ดีต่อหัวใจ

การนอน เป็นการพักผ่อนที่ดีที่สุดและง่ายที่สุด เป็นช่วงเวลาทองของร่างกายในการซ่อมแซมตัวเอง การนอนที่เหมาะสมจะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 6-7 ชั่วโมง เท่ากับเราใช้เวลากับการนอนไปถึง 1 ใน 4 ส่วน ในแต่ละวันเลยทีเดียว คนส่วนใหญ่จะเปลี่ยนท่านอนไปมาตลอดทั้งคืน การนอนในท่าที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานานจะทำให้เกิดการปวดเมื่อย ทำให้กรนมากขึ้น ทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ อาจส่งผลต่อหัวใจได้อีกด้วย

  • นอนหงาย เป็นท่านอนธรรมชาติที่สบายที่สุด แต่ก็มีข้อห้ามในคนบางกลุ่ม เช่น ผู้ที่นอนกรน ผู้ที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกลั้น เพราะคนกลุ่มนี้มีทางเดินหายใจแคบกว่าคนปกติ การนอนหงายจะทำให้เนื้อเยื่อในช่องคอหอย เช่น เพดานอ่อน ลิ้นไก่ โคนลิ้นตกตามแรงโน้มถ่วง ทำให้เนื้อเยื่อเหล่านี้มีโอกาสไปอุดทางเดินหายใจเวลานอนได้ ดังนั้นผู้ที่มีปัญหาเหล่านี้แนะนำให้นอนตะแคงจะดีกว่า
  • นอนคว่ำ เป็นท่านอนที่ไม่ค่อยถูกตามสรีระไม่แนะนำ เพราะทำให้เราต้องหันหน้าไปด้านใดด้านหนึ่งเพื่อหายใจ ทำให้หายใจติดขัดไม่สะดวก จึงอาจทำให้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดคอและปวดหลังได้
  • นอนตะแคงซ้าย เป็นท่านอนที่ช่วยลดอาการปวดหลังได้ แต่อาจจะทำให้รู้สึก จุดเสียด เพราะอาหารที่ยังย่อนไม่หมด และ ยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันชัดเจนว่าการนอนตะแคงด้านไหนช่วยให้ระบบการย่อยอาหารดีกว่า
  • นอนตะแคงขวา เป็นท่านอนที่แนะนำ เพราะช่วยให้หัวใจเต้นสะดวด ลดการปวดหลังได้
  • การนอนขดตัวคุดคู้ การนอนที่มีการก้มศีรษะ โก่งหลัง พับสะโพก งอเข่า เป็นท่านอนที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่งเนื่องจากก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย ทั้งปวดเข่า เอ็นบริเวณเข่าและสะโพกเกิดการอักเสบกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างอักเสบและปวด เนื่องจากมีการโก่งงอของหลัง ทำให้กล้ามเนื้อหลังถูกยืดเหยียดออกจนตึงกระดูกสันหลังมีการบิดโก่งงอผิดรูปปวดคอจากกล้ามเนื้ออักเสบ
  • การนอนแบบกึ่งนั่งกึ่งนอนการนอนเอนหลังและไถลตัวไปบนเตียงนอนหรือโซฟา พร้อมกับเล่นโทรศัพท์มือถือ อ่านหนังสือ หรือดูโทรทัศน์ไปเรื่อยๆ นั้น ทำให้ผู้ที่นอนท่านี้ต้องงอหรือก้มคอเป็นระยะเวลานาน ซึ่งหากทำเป็นประจำ
    จะทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังส่วนคอและหลังทำงานมากกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดอาการอักเสบและปวดกล้ามเนื้อคอบ่าไหล่ขึ้นมาได้ รวมถึงสามารถทำให้เกิดอาการปวดหลังส่วนล่างจากการที่มีการแอ่นของหลังขณะนั่งได้อีกด้วย

ในทางกลับกัน บางคนอาจจะเคยสงสัย ทำไมยิ่งนอนยิ่งเมื่อย นั่นอาจเป็นเพราะเรานอนผิดท่า หรือนอนในท่าที่ไม่ถูกต้อง รวมถึงเครื่องนอนอาจไม่เหมาะสม คือ นิ่มหรือแข็งจนเกินไป ก็เป็นได้ หากอาการหนักขึ้นเรื่อยๆ แนะนำว่าให้พบแพทย์เพื่อทำการรักษาอาการปวดหลังหรือผิดปกติทันที

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

บทความที่เกี่ยวข้อง

ถุงลมโป่งพอง

ถุงลมโป่งพอง

ถุงลมโป่งพอง (Emphysema / Chronic obstructive pulmonary disease / COPD) ถุงลมโป่งพอง เป็นภาวะที่ถุงลมในปอดเกิดความพิการอย่างถาวร ซึ่งปอดมีถุงลมเป็นล้านถุง เมื่อส่วนนึงเกิดการพิการ ส่วนที่เหลือจะยังคงทำหน้าที่ได้ แต่ด้วยจำนวนถุงลมที่สามารถทำงานได้ลดลง การแลกเปลี่ยนก๊าซจึงลดลง เมื่อออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆไม่เพียงพอ ผู้ป่วยจะมีอาการหอบเหนื่อยเกิดขึ้น ถุงลมโป่งพองมักพบในเพศชายอายุ 45-65 ปี ส่วนใหญ่มีประวัติสูบบุหรี่จัดมานาน 10 ปีขึ้นปี หรือผู้ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีมลพิษทางอากาศต่อเนื่องเป็นเวลานาน สาเหตุถุงลมโป่งพอง สูบบุหรี่เป็นประจำต่อเนื่องเป็นเวลานาน อยู่ในสิ่งแวดล้มที่มีมลพิษทางอากาศ เช่น อากาศเสียจากโรงงาน เหมืองแร่ที่หายใจเอาสารละคายเคืองหลอดลมเข้าไปเป็นประจำ เป็นต้น สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกโรคปอดและระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร 039-319888

โรคที่มักมาในช่วงฤดูฝน

โรคที่มักมาในช่วงฤดูฝน

โรคที่มักมาในช่วงฤดูฝน ไข้หวัดใหญ่-จากเชื้อไวรัส ไข้หวัดธรรมดา-จากไวรัสและเเบคทีเรียในอากาศ โรคต่อมทอนซิล-จากไวรัสและแบคทีเรีย อุจจาระร่วงเฉียบพลัน-จากอาหารปนเปื้อน เยื่อบุตาอักเสบ-จากเชื้อไวรัส โรคไข้เลือดออก-จากยุงลาย โรคฉี่หนู-จากการสัมผัสแหล่งมีน้ำขังที่ปนเปื้อนสิ่งคัดหลั่งหรือเนื้อเยื่อของสัตว์ที่ติดเชื้อฉี่หนู คำอธิบาย ฤดูฝน มักมีอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย มีอากาศที่ร้อนและชื้นมาก ซึ่งเอื้อกับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคบางชนิดที่สามารถก่อโรคในคนได้ ซึ่งโรคที่มักพบอุบัติการณ์ได้บ่อยในช่วงฤดูฝน ได้แก่ ไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดธรรมดา โรคต่อมทอนซิล อุจจาระร่วง เยื่อบุตาอักเสบ โรคไข้เลือดออก และ โรคฉี่หนู

โรคคางทูม

โรคคางทูม

โรคคางทูม โรคคางทูม เป็นโรคติดต่อ สาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อมัมส์ (Mumps) ซึ่งอยู่ในกลุ่ม Paramyxovirus ทำให้ผู้ติดเชื้อมีการอักเสบของต่อมน้ำลายที่อยู่บริเวณขากรรไกรทั้งสองข้าง และหน้าใบหู ทำให้บริเวณคางบวม จึงได้ชื่อว่า “คางทูม” ส่วนใหญ่พบในเด็ก ถ้าเป็นผู้ชายอาจมีการอักเสบของอะณฑะในบางราย อาจทำให้เป็นหมันได้ ซึ่งอาจทำให้ลูกอัณฑะฝ่อ และมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งอัณฑะมากขึ้น การติดต่อของโรค โรคนี้ติดต่อกันได้โดยตรงทางการหายใจและสัมผัสกับน้ำลายของผู้ป่วย เช่น การกินน้ำและอาหาร โดยใช้ภาชนะร่วมกัน พบในเด็กได้ทุกอายุ ถ้าเป็นในผู้ใหญ่จะมีอาการรุนแรงและมีโรคแทรกซ้อนได้บ่อยกว่าในเด็ก ระยะที่ติดต่อกันได้ง่าย คือ จาก 1-2 วัน (หรือถึง 7 วัน) ก่อนมีอาการบวมของต่อมน้ำลายไปจนถึง 5-9 วัน หลังจากมีอาการบวมของต่อมน้ำลาย ระยะฟักตัวของโรคคือ 16-18 วัน แต่อาจสั้นเพียง 12 วัน และนานถึง 25 วัน หลังสัมผัสโรค อาการของโรค ส่วนมากจะเป็นในเด็กวัยเรียน ระยะเริ่มแรกผู้ป่วยอาจจะมีมีไข้ ปวดศีรษะและอ่อนเพลียภายใน 12-24 ชั่วโมงต่อมา จะมีอาการปวดบริเวณข้างแก้มและใบหู อาการปวดเป็นมากขึ้นเวลาขยับขากรรไกร หรือเวลารับประทานอาหารที่มีรสเปรี้ยว ต่อมน้ำลายบริเวณขากรรไกรบวมและลามไปยังหลังใบหู ต่อมน้ำลายจะบวมมากขึ้นในเวลา 1-3 วัน ส่วนใหญ่มักเริ่มข้างเดียวก่อน แล้วเป็นที่ต่อมน้ำลายอีกข้างตามมา หลังจากนั้นอาการบวมจะค่อยๆ ลดลงภายใน 3-7 วัน อาการต่างๆ จะหายเป็นปกติภายใน 7-10 วัน นอกจากนี้ อาจพบอาการอักเสบของต่อมชนิดอื่นๆ ได้ เช่น ตับอ่อน เต้านม ต่อมไทรอยด์ ท่อน้ำตา เส้นประสาทตา เป็นต้น มารดาที่ติดเชื้อในช่วง 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ จะมีโอกาสแท้งมากขึ้น การรักษา การรักษาตามอาการให้ยาแก้ปวดเป็นครั้งคราว แยกผู้ป่วยจนถึง 9 วัน หลังเริ่มมีอาการบวมของต่อมน้ำลาย การป้องกันและควบคุมโรค ฉีดวัคซีนป้องกันโรคคางทูมในรูปของวัคซีน รวมป้องกันโรคหัด คางทูม หัดเยอรมัน (วัคซีน MMR) อย่างน้อย 2 ครั้ง กำหนดให้ฉีดครั้งแรกเมื่ออายุ 9-12 เดือน ส่วนเข็มที่สองให้ฉีดที่อายุ 2 ปี หลังได้รับวัคซีนดังกล่าว เด็กจะมีภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสคางทูม หรือฉีดให้แก่เด็กวัยเรียนหรือวัยรุ่นที่ยังไม่เคยเป็นคางทูม โรคนี้เป็นแล้วมักจะไม่เป็นอีก หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วย ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกโรคปอดและระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลกรุงเทพจัทบุรี 039-319888

โรคหวัด หรือ ไข้หวัด

โรคหวัด หรือ ไข้หวัด

โรคหวัด หรือ ไข้หวัด โรคหวัด หรือ ไข้หวัด (Acute Rhinopharyngitis : Common cold) เป็นโรคติดเชื้อที่พบบ่อยมากที่สุดโรคหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อไวรัสซึ่งมีหลายสายพันธุ์ พบบ่อยในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว หรือโดยเฉพาะช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง สามารถพบผู้ติดเชื้อได้ทุกช่วงอายุ ในเด็กเล็กสามารถเป็นได้หลายครั้งในแต่ละปี ในผู้ใหญ่จะเป็นน้อยลงตามลำดับเนื่องจากมีภูมิคุ้มกันมากขึ้น โดยเฉลี่ยเด็กจะเป็นโรคหวัด 6-12 ครั้งต่อปี ผู้ใหญ่จะเป็น 2-4 ครั้งต่อปี ความรุนแรงของโรคไม่มาก และสามารถหายเองได้ภายในไม่กี่วัน เนื่องจากเกิดจากการติดเชื้อไวรัสจึงเน้นรักษาประคับประคองอาการจนอาการหาย ดีเอง ใครบ้างที่เสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรงจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ ผู้ที่เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจากไข้หวัดใหญ่ได้แก่ผู้ที่มีโรคประจำตัวได้แก่ โรคปอดเรื้อรัง หอบหืด โรคหัวใจ เบาหวาน และ ผู้สูงอายุ การวินิจฉัย จากลักษณะอาการเพียงอย่างเดียวอาจยากที่จะบอกว่าผู้ป่วยรายใดเป็นไข้หวัดใหญ่รายใดเป็นไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่จากการติดเชื้อไวรัสอื่นๆ การวินิจฉัยยืนยันทางห้องปฏิบัติ การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัยแยกโรค การแยกเชื้อไวรัสจากไม้ป้ายคอ (throat swab) ดูดน้ำจากหลังโพรงจมูก (nasopharyngeal aspirate)ซึ่งกินเวลาอย่างน้อยประมาณ 1 สัปดาห์ การตรวจหาโปรตีนแอนติเจนของไวรัสในสิ่งส่งตรวจนั้นซึ่งได้ผลเร็วในไม่กี่ชั่วโมง ไข้หวัดใหญ่แพร่เชื้ออย่างไร ไข้หวัด เป็นโรคการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ โดยเชื้อจะอยู่ในละอองฝอยในอากาศที่ออกมาจากการไอจามของผู้ป่วย เมื่อสูดหายใจเอาเชื้อเข้าไป เชื้อก็จะเข้าไปเพิ่มจำนวนอยู่ในเซลล์เยื่อบุทางเดินหายใจ และทำให้เกิดอาการป่วยได้ ระยะเวลาแพร่เชื้อสามารถแพร่ได้ก่อนเกิดอาการและ 1-2 วันหลังเกิดอาการ การดูแลตนเองเมื่อเป็นไข้หวัด เนื่องจากเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่จึงใช้วิธีการรักษาตามอาการ เช่น ยาลดน้ำมูก ยาลดไข้ จนอาการหายดีเอง การใช้ยาฆ่าเชื้อโดยไม่จำเป็นจะทำให้เชื้อแบคทีเรียเกิดการดื้อยาได้ พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ (ควรเป็นน้ำอุ่น) รักษาร่างกายให้อบอุ่น รับประทานอาหารอุ่น หลีกเลี่ยงการจามหรือสั่งน้ำมูกอย่างรุนแรง เพราะจะทำให้น้ำมูกที่มีเชื้อโรคเข้าไปในไซนัสเกิดเป็นไซนัสอักเสบจากการติดเชื้อได้ เวลาไอหรือจามให้ใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปากและจมูก อาการที่ควรไปพบแพทย์ เมื่อน้ำมูกหรือเสมหะ เหลืองเขียว ปวดหู หูอื้อ ปวดศีรษะมาก ไข้สูง มีอาการหอบเหนื่อย ควรพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยภาวะแทรกซ้อน หากมีไข้สูง ปวดเมื่อยตามร่างกายมาก อาจเป็นไข้หวัดใหญ่ไม่ใช่โรคหวัด ภาวะแทรกซ้อน คนที่เป็นโรคหวัดบางส่วน จะมีการติดเชื้อของแบคทีเรียซ้อนร่วมด้วย ทำให้มีอาการน้ำมูกข้น สีเหลืองหรือเขียว มีเสมหะเขียว ไซนัสอักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียซ้อน เยื่อบุตาอักเสบ หลอดลมอักเสบ หรือ ปอดอักเสบ ผู้ที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคหอบหืด หรือ ถุงลมในปอดโป่งพอง เมื่อเป็นโรคหวัด จะทำให้อาการหอบเหนื่อยรุนแรงมากขึ้น การป้องกันการติดเชื้อ หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้คนที่เป็นโรคหวัด ลดการสัมผัสกับผู้ป่วย หรือใช้ของร่วมกับผู้ป่วย หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้ล้างมือหลังสัมผัส อย่าเอามือสัมผัสหรือถูจมูก หรือขยี้ตา พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ผู้ป่วยที่กำลังไอหรือจาม หลีกเลี่ยงที่มีคนแออัดในช่วงที่มีการระบาด การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ไม่สามารถป้องกันโรคหวัดได้ เนื่องจากเป็นเชื้อไวรัสคนละชนิด ข้อห้ามในการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 6 เดือน ผู้ที่แพ้ไข่อย่างรุนแรง ผู้ที่เคยฉีดวัคซีนแล้วมีอาการแพ้รุนแรง ผู้ที่มีไข้ โดยควรเลื่อนการฉีดวัคซีนไปอย่างน้อย 1 สัปดาห์ หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ ที่มา : ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ,BangkokHealth.com / https://www.bangkokhospital.com/th/disease-treatment/influenza-prevention

หืดหอบ (Asthma)

หืดหอบ (Asthma)

หืดหอบ (Asthma) หืดหอบ เป็นโรคที่พบได้ทุกเพศทุกวัย มักมีอาการเมื่ออากาศหนาว เมื่อไม่มีอาการสุขภาพโดยรวมจะดูปกติแข็งแรงเหมือนคนทั่วไป สาเหตุ เกิดจากการตีบแคบของหลอดลม ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม หรือบางรายเกิดอาจมีการติดเชื้อทางเดินหายใจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการ อาการ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก โดยเฉพาะช่วงหายใจออก หากเป็นมาก ๆ จะนอนไม่สบายตัว มักลกขึ้นนั่งฟุบกับโต๊ะและหอบตัวโยน มีเสียงดังฮืด ๆ ผู้ป่วยมักไอมาก มีเสมหะเหนียว อาจมีอาการคันจมูก คันคอ เป็นหวัด หรือจามนำมาก่อน ส่วนใหญ่ไม่มีไข้ ในรายที่มีไข้มักเป็นหืดร่วมกับอาการของไข้หวัด หรือหลอดลมอักเสบ อาการแทรกซ้อน หากเป็นรุนแรงจะทำให้หอบต่อเนื่องเป็นเวลานานได้ (Status asthmaticus) หากเป็นเรื้อรัง อาจทำให้เป็นถุงลมโป่งพอง หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ ปอดแฟบ ปอดทะลุ การรักษา ถ้าเป็นไม่มาก ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล แนะนำให้ปฏิบัติตนและรับประทานยาตามแผนการรักษาของแพทย์อย่างเคร่งครัด กรณีรับประทานยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการมากขึ้น ควรปรึกษาแพทย์

ค้นหามะเร็งปอดด้วย Low-Dose CT Chest screening

ค้นหามะเร็งปอดด้วย Low-Dose CT Chest screening

Low Dose CT Chest คือ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์บริเวณทรวงอกด้วยปริมาณรังสีที่ต่ำให้ภาพ 3 มิติที่ให้รายละเอียดได้ดีในบริเวณปอด แม้ใช้ปริมาณรังสีไม่สูงมากและไม่ต้องฉีดสารทึบแสงก็สามารถตรวจพบจุดเล็ก ๆ หรือก้อนในปอดได้ดี จากการศึกษาทางคลินิกพบว่า การตรวจคัดกรองมะเร็งปอดระยะเริ่มต้น ด้วยวิธี LDCT ประจำปี สามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปอดได้สูงถึงร้อยละ 20 ในคนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอด เนื่องจากการตรวจพบมะเร็งปอดในระยะเริ่มต้น ขณะที่ยังไม่แสดงอาการใด ๆ นั้น มีโอกาสรักษาหายได้มากกว่า โดยที่ผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีจากการตรวจน้อยกว่าการตรวจด้วยวิธีเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบมาตรฐาน (Computed Tomography (CT)–Chest) ซึ่งจากการวิจัยของ National Lung Screening Trial (NLST) ในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อตรวจคัดกรองในกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูง เช่น กลุ่มที่สูบบุหรี่จัด และมีอายุมากกว่า 50 ปี (High Risk Group) ด้วย Low Dose CT (LDCT) สามารถลดอัตราการตายจากมะเร็งปอดได้ 15 – 20% เมื่อเทียบกับการทำ Screen ด้วย X – ray ทรวงอกปกติ ข้อดีของการทำ Low Dose CT ได้ภาพสามมิติที่ให้รายละเอียดได้ดีกว่า Chest X – ray ซึ่งเป็นภาพ 2 มิติ ตรวจพบมะเร็งระยะแรกได้ชัดเจนกว่า Chest X-ray ตรวจง่าย ใช้เวลาไม่นาน ผลข้างเคียงน้อย ข้อเสียของการทำ Low Dose CT ได้รับรังสี (แต่ก็ปริมาณน้อย) ราคาสูงกว่าการทำ Chest X – ray วิธีการเตรียมตัวและการตรวจ Low Dose CT Chest ไม่ต้องงดอาหาร สามารถทำได้เลย ไม่ต้องมีการเตรียมตัวพิเศษหรือเจาะเลือด เปลี่ยนชุดแล้วนอนบนเตียงตรวจในเครื่อง CT กลั้นหายใจระหว่างการตรวจประมาณ 15-20 วินาที ใช้เวลาตรวจทั้งหมดประมาณ 5 – 10 นาที (บนเครื่อง CT Scanner) การแปลผล เมื่อตรวจเสร็จแล้วรังสีแพทย์จะดูว่ามีจุดหรือก้อนหรือไม่ ขนาดและรูปร่างเป็นอย่างไร เพื่อจะดูว่ามีโอกาสจะเป็นเนื้อร้ายมากน้อยแค่ไหน กรณีที่สงสัยมากอาจจะแนะนำให้ตรวจเพิ่มเติมด้วย CT หรือ PET/CT หรือเจาะตรวจชิ้นเนื้ออีกที ถ้าไม่สงสัยหรือสงสัยน้อยก็จะแนะนำให้ตรวจซ้ำปีละครั้ง ข้อควรทราบ ผลการตรวจที่ผิดปกติที่รายงาน ไม่สามารถบอกได้ว่าก้อนหรือจุดดังกล่าวในปอดเป็นมะเร็งหรือไม่ แพทย์จะเป็นคนแจ้งผลและให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับท่านต่อไป ผลการตรวจที่ผิดปกติที่รายงาน ไม่ได้รับรองท่านได้ว่า ในอนาคตก้อนหรือจุดดังกล่าวจะไม่เป็นมะเร็งปอด ซึ่งตามคำแนะนำที่เหมาะสม ท่านต้องติดตามการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ (low-dosecomputed tomography, LDCT) ต่อเนื่องอย่างน้อยทุก 1 ปี สอบถามเพิ่มเติมได้ที่โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888