วัณโรค

วัณโรค

วัณโรค เป็นเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง มีชื่อเป็นทางการว่า Mycobacterium tuberculosis เชื้อนี้สามารถทนอยู่ในอากาศ และสิ่งแวดล้อมได้นาน มักเข้าสู่คนโดยการหายใจเอาเชื้อนี้เข้าไป แต่ก็อาจเข้าทางอื่น เช่น บาดแผลได้ด้วย

โดย ปกติเมื่อร่างกายได้รับเชื้อวัณโรค ร่างกายจะสามารถ ควบคุมเชื้อนี้ได้ระดับหนึ่งทำให้ไม่เป็นโรค เชื้อจะซ่อนอยู่ในร่างกาย หากร่างกายอ่อนแอ เชื้อก็จะกำเริบก่อให้เกิดโรคได้ เช่น เด็กเล็กๆ คนที่เป็นโรคเบาหวาน คนที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน เช่น สเตียรอยด์ และกลุ่มที่มีปัญหาในปัจจุบัน คือคนไข้เอดส์ ซึ่งทำให้ปัจจุบันพบโรคนี้มากขึ้น

โรคเป็นที่ส่วนใดของร่างกายได้บ้าง

วัณโรคมักเป็นที่ปอด โดยหลังจากหายใจเอาเชื้อนี้เข้าไป เชื้อจะไปซ่อนตัวอยู่ที่ปอด รอเวลาที่ร่างกายอ่อนแอก็จะกำเริบมีอาการของโรคให้เห็น นอกจากนี้เชื้ออาจจะกระจายไปส่วนอื่นๆ ของร่างกาย เช่น สมอง กระดูก ต่อมน้ำเหลืองไต เป็นต้น หรือหากเชื้อเข้าทางบาดแผลก็จะเป็นโรคที่ผิวหนัง

อาการของวัณโรคเป็นอย่างไร

อาการของวัณโรคขึ้นกับอวัยวะที่เป็นที่พบบ่อยคือวัณโรคปอด จะมีอาการไอเรื้อรัง บางคนมีไข้เรื้อรัง ผอมลง เหนื่อยง่าย คนที่เป็นนานๆ อาจไอมีเลือดปน

วัณโรคที่อื่นๆ จะมีไข้เรื้อรัง และอาการอื่นตามอวัยวะที่เป็นโรค เช่น ที่สมองจะมีอาการปวดหัว อาเจียน ซึมลง ชัก ที่กระดูกสันหลังอาจทำให้กระดูกสันหลังคด หรือแตกออกเป็นฝี หากเป็นที่ต่อมน้ำเหลือง จะมีต่อมน้ำเหลืองโต หรือแตกออกเป็นฝี

จะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นวัณโรค

วัณโรคปอด สามารถตรวจได้ค่อนข้างง่าย โดยการเอ็กซ์เรย์ปอด และตรวจเสมหะหาเชื้อ แต่วัณโรคปอดบางคนและวัณโรคในอวัยวะอื่น อาจตรวจได้ค่อนข้างยาก อาจต้องใช้วิธีเอ็กซ์เรย์พิเศษ หรือเจาะดูดน้ำ หรือตัดชิ้นเนื้อจากอวัยวะที่สงสัย เพื่อไปตรวจว่าเป็นโรคนี้หรือไม่

วัณโรค.....เป็นแล้วตายหรือไม่

ปัจจุบันเรามียาฆ่าเชื้อวัณโรคที่ได้ผลดี สามารถรักษาโรคนี้ให้หายขาดได้ แต่ต้องใช้ยาหลายตัว และต้องรักษานานอย่างน้อย 6 เดือน หรือจนกว่าหมอจะสั่งให้หยุดยาจึงจะหายขาด หากรักษาไม่ต่อเนื่องหรือรักษาไม่ครบ อาจทำให้เชื้อดื้อยา ทำให้ไม่หาย หรือาจเสียชีวิตได้

สงสัยเป็นวัณโรคต้องทำอย่างไร

หากมีอาการสงสัยว่าเป็นวัณโรค ควรรีบหาหมอเพื่อตรวจและรักษา ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ วัณโรคสามารถติดต่อได้ ยิ่งคนที่เป็นวัณโรคปอด ที่มีเชื้อเสมหะยิ่งติดต่อง่าย ดังนั้นต้องตรวจคนใกล้ชิด ว่าเป็นวัณโรค หรือไม่ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนที่ร่างกายอ่อนแอดังกล่าวข้างต้น เคยมีคนไข้วัณโรคปอด แต่ไม่สนใจพาเด็กในบ้านมาตรวจ ปรากฏว่า หลังจากนั้นไม่นาน เด็กเป็นวัณโรคที่กระดูกสันหลัง ทำให้กระดูกคดตลอดชีวิต อีกรายหนึ่งเด็กเป็นวัณโรคที่สมอง ถึงแม้ไม่เสียชีวติแต่ก็ปัญญาอ่อน

จะป้องกันวัณโรคได้อย่างไร

ปัจจุบันมีวัคซีนป้องกันวัณโรค ฉีดให้เด็กแรกคลอดทุกคน แต่ป้องกันโรค ไม่ได้ร้อยเปอร์เซนต์ ดังนั้นทุกคนต้องป้องกันโดยการรักษาสุขภาพให้แข็งแรง หากมีคนใกล้ชิดไอเรื้อรัง ควรแนะนำให้ไปตรวจรักษา และไม่คลุกคลี กับคนที่สงสัยเป็นวัณโรค

เด็กเล็กๆ หรือภูมิคุ้มกันอ่อนแอและติดเชื้อวัณโรค แต่ยังไม่เป็นโรค หมออาจแนะนำให้กินยาป้องกันนาน 6 เดือน ถึง 1 ปี

ไอเป็นเลือด....เป็นวัณโรคทุกคนหรือเปล่า

อาการไอเป็นเลือดเป็นอาการหนึ่งของวัณโรคปอด แต่ก็อาจเกิดจากโรคอื่น เช่น หลอดลมอักเสบ คนไข้จะไอมีเสมหะ และมีเลือดเป็นเส้นเล็กๆปน กับเสมหะ ปอดบวมน้ำ มักเกิดในคนไข้โรคหัวใจ จะเหนื่อยหอบ นอนราบแล้วเหนื่อยมากขึ้น ไอเสมหะเป็นฟองสีชมพู มะเร็งปอด มีอาการ คล้ายวัณโรคมาก คนไข้จะเหนื่อยง่าย ผอม ไอเรื้อรัง และไอมีเลือดเป็นก้อน ปนกับเสมหะ มักพบในคนที่สูบบุหรี่ พยาธิใบไม้ในปอด เป็นโรคเขตร้อน ที่คนไม่ค่อยรุ้จัก เกิดจากพยาธิชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า Paragonimus พยาธินี้ จะอยู่ในเนื้อปูน้ำจืด คนเป็นโรคนี้ได้จากการกินปูไม่สุก มีอาการคล้าย วัณโรคมาก บางครั้งการเอ็กซ์เรย์ปอดก็ยังคล้ายกัน แต่หากตรวจเสมหะ แล้วพบไข่พยาธินี้ก็จะบอกว่าเป็นโรคน

ไอเรื้อรัง....เป็นวัณโรคทุกคนหรือเปล่า

อาการไอเรื้อรัง นอกจากวัณโรคแล้ว อาจเกิดจากโรคหัวใจ ( ทำให้ปอดบวมน้ำ) หรืออาจเกิดจากหลอดลมอักเสบเรื้อรัง หรือ ถุงลมโป่งพอง สองโรคนี้มักพบในคนสูบบุหรี่ คนไข้จะมีอาการไอ มีเสมหะ เหนื่อยง่าย นอกจากนี้อาจเกิดมะเร็งปอด และภูมิแพ้ได้ด้วย

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์โรคปอดและระะบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภูมิแพ้

ภูมิแพ้

โรคภูมิแพ้ โรคที่เกิดจากการตอบสนองของร่างกายที่ไวต่อสารก่อภูมิแพ้มากกว่าปกติ ทำให้เกิดอาการผิดปกติกับอวัยวะที่สัมผัสสารก่อภูมิแพ้นั้น ๆ ซึ่งผู้ป่วยโรคนี้แต่ละคนจะมีอาการแตกต่างกันและความรุนแรงไม่เท่ากัน เพราะชนิดของสารก่อภูมิแพ้ที่ได้รับและการตอบสนองของร่างกายแต่ละบุคคลต่างกัน ปัจจุบันประชากรไทยเป็นภูมิแพ้จำนวนมากทั้งเด็กและผู้ใหญ่ โดยสาเหตุสำคัญมีดังนี้ กรรมพันธุ์ มลภาวะ สูบบุหรี่ ขาดการออกำลังกาย สภาพแวดล้อมภายในที่พักอาศัย เช่น เลี้ยงสัตว์ ปูพรหม เครื่องปรับอากาศ เป็นแหล่งสะสมฝุ่นละอองและไรฝุ่นชั้นดี เป็นต้น ประเภาทสารก่อนภูมิแพ้ ประกอบด้วย 2 ปะเภทหลักๆ ดังนี้ สารก่อภูมิแพ้ในสิ่งแวดล้อมและอากาศ เช่น ไรฝุ่น ขนสัตว์ ละอองเกสร แมลงสาบ เชื้อรา ฯลฯ สารก่อภูมิแพ้ประเภทอาหาร เช่น นม ถั่ว แป้งสาลี อาหารทะเล ฯลฯ อาการบ่งบอกภูมิแพ้ อาการของโรคภูมิแพ้จะเกิดตามอวัยวะที่มีการอักเสบจาการกระตุ้นของสารก่อภูมิแพ้ ได้แก่ ผื่นคัน ลมพิษ คัดจมูก มีน้ำมูก ไอ จาม คันจมูก คันหัวตา เคืองตา แสบตา น้ำตาไหล แน่นหน้าอก หอบ หายใจเสียงวี๊ด นอกจากนี้ ยังอาจเกิดอาการท้องเสีย อาเจียน น้ำหนักลด รวมทั้งมีภาวะซีดเกิดขึ้นด้วยได้เช่นกัน จึงจำเป็นต้องหมั่นสังเกตตนเองและพบแพทย์เพื่อทำการตรวจอย่างละเอียดอีกครั้ง ตรวจให้แน่ใจ การตรวจวินิจฉัยภูมิแพ้ย่อมทำให้ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของอาการแพ้ที่เกิดขึ้น ซึ่งจะเริ่มจากแพทย์ตรวจร่างกายและซักประวัติแบบละเอียด จากนั้นจะทำการตรวจเพิ่มเติมตามความเหมาะสม เช่น ทดสอบทางผิวหนัง เจาะเลือดหาสาเหตุ เพื่อให้สามารถยืนยันสาเหตุการแพ้ได้อย่างชัดเจน นำไปสู่การดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม แม้ภูมิแพ้จะเป็นโรคเรื้อรัง แต่ถ้าหากรู้สาเหตุของการแพ้อย่างชัดเจนและพยายามหลีกเลี่ยง ตลอดจนหมั่นดูแลร่างกายให้แข็งแรง ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายให้สม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ ย่อมช่วยบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นได้อย่างดี สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกโรคปอดและระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

โรคคอตีบ (Diphtheria)

โรคคอตีบ (Diphtheria)

โรคคอตีบ (Diphtheria) โรคคอตีบ\" (Diphtheria) หรือ ดิพทีเรีย เป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจ มีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Corynebacterium diphtheria ซึ่งมีรูปทรงแท่งและย้อมติดสีแกรมบวก ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบ มีแผ่นเยื่อเกิดขึ้นในลำคอในรายที่รุนแรงจะมีการตีบตันของทางเดินหายใจ จึงได้ชื่อว่าโรคคอตีบ และจากพิษ (exotoxin) ของเชื้อจะทำให้มีอันตรายต่อกล้ามเนื้อหัวใจ และเส้นประสาทส่วนปลายซึ่งถ้าเป็นรุนแรงจะทำให้เป็นอัมพาตและเสียชีวิตได้ การติดต่อของโรค เชื้อจะพบอยู่ในคนเท่านั้น โดยจะพบอยู่ในจมูกหรือลำคอของผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อโดยไม่มีอาการ และสามารถติดต่อกันได้ง่าย โดยการได้รับเชื้อจากการไอ จามรดกันหรือพูดคุยในระยะใกล้ชิด เชื้อจะเข้าสู้ผู้สัมผัสทางปากหรือทางการหายใจ บางครั้งอาจติดต่อกันได้โดยการใช้ภาชนะร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ ช้อน หรือ การดูดอมของเล่นร่วมกันในเด็กเล็ก ระยะฟักตัวของโรคอยู่ระหว่าง ๒ - ๕ วัน อาจจะนานกว่านี้ได้ เชื้อจะอยู่ในลำคอของผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาได้ประมาณ ๒ สัปดาห์ แต่บางครั้งอาจนานถึงหลายเดือนได้ ผู้ที่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องเชื้อจะหมดไปภายใน ๑ สัปดาห์ อาการของโรคคอตีบ หลังจากรับเชื้อผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการไข้ต่ำๆ มีอาการคล้ายหวัดในระยะแรกมีอาการไอเสียงก้อน เจ็บคอ เบื่ออาหาร ในเด็กโตอาจจะบ่นเจ็บคอคล้ายกับคออักเสบบางรายอาจจะพบต่อมน้ำเหลืองที่คอโตด้วย เมื่อตรวจดูในคอพบแผ่นเยื่อสีขาวปนเทาติดแน่นอยู่บริเวณทอนซิล และบริเวณลิ้นไก่ แผ่นเยื่อนี้เกิดจากพิษที่ออกมาทำให้มีการทำลายเนื้อเยื่อ(membrane) ติดแน่นกับเยื่อบุในลำคอ การรักษาโรคคอตีบ เมื่อพบผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรคคอตีบ ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที เพราะแพทย์จะต้องรีบให้การรักษาโดยเร็ว ผลการรักษาจะได้ผลหรือไม่ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ป่วยก่อนจะได้รับการรักษา การป้องกันโรคคอตีบ ในเด็กทั่วไป การป้องกันแก่เด็กก่อนวัยเรียนนับว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด โดยการให้วัคซีนป้องกันคอตีบ ๕ ครั้ง เมื่ออายุ ๒, ๔, ๖ และ ๑๘ เดือน ๔ ปี และ กระตุ้นอีกครั้งหนึ่งเมื่อเด็กเข้าโรงเรียนชั้นประถมปีที่ ๖ ผู้ที่มีอาการของโรคจะมีเชื้ออยู่ในจมูก ลำคอ เป็นระยะเวลา ๒ - ๓ สัปดาห์ ดังนั้น จึงต้องแยกผู้ป่วยจากผู้อื่นอย่างน้อย ๓ สัปดาห์ หลังเริ่มมีอาการ หรือตรวจเพาะเชื้อไม่พบเชื้อแล้ว ๒ ครั้ง ผู้ป่วยที่หายจากโรคคอตีบแล้วอาจไม่มีภูมิคุ้มกันโรคเกิดขึ้นเต็มที่ จึงอาจเป็นโรคคอตีบซ้ำอีกได้ ดังนั้นจึงต้องให้วัคซีนป้องกันโรค (DTP หรือ dT) แก่ผู้ป่วยที่หายแล้วทุกคน เนื่องจากโรคคอตีบติดต่อกันได้ง่าย ดังนั้นผู้สัมผัสโรคใกล้ชิดที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคจะติดเชื้อได้ง่าย จึงควรได้รับการติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิดที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคจะติดเชื้อได้ง่าย จึงควรได้รับการติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิดที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคจะติดเชื้อได้ง่าย จึงควรได้รับการติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิด โดยทำการเพาะเชื้อจากลำคอ และติดตามดูอาการ ๗ วัน พร้อมใช้ยาปฏิชีวนะ ในกรณีที่มีผลเพาะเชื้อกลับมา และไม่พบเชื้อคอตีบ พิจารณาให้หยุดยาได้ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่แผนกโรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

ปอดอักเสบ/ปอดบวม (Pneumonia)

ปอดอักเสบ/ปอดบวม (Pneumonia)

ปอดอักเสบ / ปอดบวม (Pneumonia) ปอดอักเสบ หรือปอดบวม คือภาวะที่ปอดมีการอักเสบ โดยเกิดจากการติดเชื้อหรือมีสารเคมีเข้าไปทำให้มีการอักเสบของปอด ที่สำคัญ ได้แก่ เชื้อแบคทีเรีย ที่พบบ่อยคือเชื้อนิวโมคอคคัส เชื้อไวรัส เช่น หัด ไข้หวัดใหญ่ อีสุกอีใส เชื้อไมโคพลาสมา เป็นเชื้อที่ทำให้เกิดปอดอักเสบแต่มักไม่มีอาการหอบอย่างชัดเจน เชื้อรา พบได้ค่อนข้างน้อย แต่รุนแรง สารเคมี เช่น น้ำมันก๊าด การติดโรค ถูกผู้ป่วยไอ จาม หายใจรดใส่ สำลักอาหารหรือสารเคมีเข้าปอด การแพร่กระจายไปตามกระแสเลือด เช่น การอักเสบในอวัยวะส่วนอื่น เป็นต้น อาการ ไข้สูง หนาวสั่น หายใจหอบ ไอแห้งในระยะแรก ต่อมาจะไอมีเสมหะมีเลือดปน อาจมีอาการเจ็บแปล๊บที่หน้าอกเวลาหายใจเข้าหรือไอแรง ๆ ในเด็กอาจมีอาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องเดิน อาเจียน กระสับกระส่ายหรือชัก ภาวะแทรกซ้อน ฝีในปอด (Lung abscess) มีหนองในช่องหุ้มปอด ปอดแฟบ (Atelectasis) หลอดลมพอง เยื่อหุ้มสมองอักเสบ เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบเฉียบพลัน โลหิตเป็นพิษ ติดเชื้อในกระแสเลือด ขาดออกซิเจน และภาวะขาดน้ำ ซึ่งมีอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยเฉพาะหากเกิดในเด็กหรือผู้สูงอายุ การรักษา ยังไม่มีอาการหอบ ให้ดื่มน้ำเยอะ ๆ เช็ดตัวลดไข้ รับประทานยาลดไข้และยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษาของแพทย์อย่างเคร่งครัด หากมีอาการหอบ หรือสงสัยมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ จะต้องรีบดูแลประคับประคองอาการ และนำตัวสส่งโรงพยาบาลโดยด่วน ป้องกันปอดอักเสบ ดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ(จะต้องพบแพทย์เพื่อตรวจพิจารณาก่อนเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันปอดอักเสบ) สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039 319 888

วิธีแก้อาการ "นอนกรน"

วิธีแก้อาการ "นอนกรน"

วิธีแก้อาการ "นอนกรน" นอนกรน ปัญหาเล็กๆที่ อาจพัฒนาเป็นปัญหาใหญ่ได้ในอนาคต เช็กสัญญาณอันตรายและวิธีรักษาควบคู่ไปกับการปรับพฤติกรรม เสียงกรน คือ เสียงที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของลิ้นไก่และเพดานอ่อน ขณะนอนหลับในเวลาที่เราหลับสนิทนั้นเนื้อเยื่อต่างๆ ในช่องคอโดยเฉพาะอย่างยิ่งลิ้นไก่ และเพดานอ่อนจะคลายตัว บางคนคลายตัวมากจนย้อยลงมาอุดกั้นทางเดินหายใจบริเวณลำคอ ทำให้ลมหายใจเข้าไม่สามารถไหลผ่านลงสู่หลอดลม และปอดได้โดยสะดวก จนเกิดเป็นเสียงกรนตามมา จะรู้ได้อย่างไรว่านอนกรน คนข้างๆคุณบอกได้ ? นอนกรนเสียงดังจนต้องสะกิดปลุกกลางดึก สะดุ้งตื่น หรือพลิกตัวตอนนอน นอนกระสับกระส่าย เหงื่อออกผิดปกติขณะหลับ ปากแห้ง คอแห้งหลังตื่นนอน รู้สึกว่านอนไม่อิ่ม มีอาการปวดศีรษะ อ่อนเพลียหลังตื่นนอน ทั้งที่มีเวลานอนเพียงพอ หงุดหงิดง่าย อารมณ์เสียบ่อยกว่าปกติ ความคิดความสามารถในการจดจำลดลง และอาการจะหนักขึ้นถ้ามีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือทานยานอนหลับ ง่วงนอนบ่อย หรือหลับง่ายในช่วงกลางวัน ชนิดการนอนกรน แบบไหนอันตราย ? ชนิดที่ไม่เป็นอันตราย (simple snoring) คนที่นอนกรนชนิดนี้มักจะมีเสียงกรนสม่ำเสมอ ไม่มีหายใจสะดุด หรือเสียงฮุบอากาศ เสียงกรนมักดังมากโดยเฉพาะเวลานอนหงาย ชนิดที่เป็นอันตราย (snoring with obstructive sleep apnea) คนที่นอนกรนภาวะนี้มักจะกรนเสียงดัง และมีอาการคล้ายสำลัก หรือสะดุ้งตื่นกลางดึก ตื่นขึ้นมาด้วยอาการอ่อนเพลียไม่สดชื่น หรือปวดศีรษะ และต้องการนอนต่ออีกทั้งที่ใช้เวลานอน 7- 8 ชม.แล้ว กลางวันบางคนอาจมีอาการง่วงนอน หลงลืม ไม่มีสมาธิ หงุดหงิดง่าย ขี้โมโห รวมทั้งมีความรู้สึกทางเพศลดลงซึ่งการนอนกรนชนิดนี้อาจนําไปสู่การหยุดหายใจขณะหลับที่นำไปสู่โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาตและโรคซึมเศร้าได้ รักษาบรรเทาอาการนอนกรน การลดน้ำหนัก เพราะผู้ป่วยที่นอนกรนส่วนมากมักมีน้ำหนักที่เกินเกณฑ์มาตราฐาน หลีกเลี่ยงไม่ดื่มสุราและสูบบุหรี่ ปรับท่านอน นอนศีรษะสูง นอนตะแคง ใช่อุปกรณ์ช่วยให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้นหรือไม่อุดกั้นขณะหลับ เช่นใช้เครื่องอัดอากาศ ใส่ฟันยางขณะหลับ เครื่องมือชนิดนี้มีหลายแบบ หลายรูปร่าง แต่หลักการทำงานเหมือนกันคือ ยึดขากรรไกรล่างให้เคลื่อนมาข้างหน้า โคนลิ้นจะถูกดันออกมาด้วยทำให้ช่องคอเปิดออก และทำให้อากาศผ่านเข้าได้ง่ายขึ้น ช่วยให้หายใจได้สะดวกขึ้น และเสียงกรนเบาลง การดูแลรักษาเครื่องมือกันนอนกรน ก่อนใส่เครื่องมือกันกรน ให้ใช้แปรงสีฟันขนอ่อนๆ ขัดล้างกับน้ำสบู่ หรือยาสีฟัน ควรทำความสะอาดทุกครั้ง ก่อนและหลังใส่เครื่องมือกันกรน ไม่เก็บเครื่องมือกันกรนในบริเวณที่มีความร้อน หรือแห้ง ไม่จำเป็นต้องแช่น้ำ อย่างไรก็ตามอาการนอนกรน ไม่ใช่เรื่องที่ควรมองข้าม หากรู้สึกว่าปวดหัวทุกครั้งที่ตื่นนอน ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อวางแผนวินิจฉัยและการรักษาต่อไป ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

ถุงลมโป่งพอง

ถุงลมโป่งพอง

ถุงลมโป่งพอง (Emphysema / Chronic obstructive pulmonary disease / COPD) ถุงลมโป่งพอง เป็นภาวะที่ถุงลมในปอดเกิดความพิการอย่างถาวร ซึ่งปอดมีถุงลมเป็นล้านถุง เมื่อส่วนนึงเกิดการพิการ ส่วนที่เหลือจะยังคงทำหน้าที่ได้ แต่ด้วยจำนวนถุงลมที่สามารถทำงานได้ลดลง การแลกเปลี่ยนก๊าซจึงลดลง เมื่อออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆไม่เพียงพอ ผู้ป่วยจะมีอาการหอบเหนื่อยเกิดขึ้น ถุงลมโป่งพองมักพบในเพศชายอายุ 45-65 ปี ส่วนใหญ่มีประวัติสูบบุหรี่จัดมานาน 10 ปีขึ้นปี หรือผู้ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีมลพิษทางอากาศต่อเนื่องเป็นเวลานาน สาเหตุถุงลมโป่งพอง สูบบุหรี่เป็นประจำต่อเนื่องเป็นเวลานาน อยู่ในสิ่งแวดล้มที่มีมลพิษทางอากาศ เช่น อากาศเสียจากโรงงาน เหมืองแร่ที่หายใจเอาสารละคายเคืองหลอดลมเข้าไปเป็นประจำ เป็นต้น สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกโรคปอดและระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร 039-319888

ค้นหามะเร็งปอดด้วย Low-Dose CT Chest screening

ค้นหามะเร็งปอดด้วย Low-Dose CT Chest screening

Low Dose CT Chest คือ การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์บริเวณทรวงอกด้วยปริมาณรังสีที่ต่ำให้ภาพ 3 มิติที่ให้รายละเอียดได้ดีในบริเวณปอด แม้ใช้ปริมาณรังสีไม่สูงมากและไม่ต้องฉีดสารทึบแสงก็สามารถตรวจพบจุดเล็ก ๆ หรือก้อนในปอดได้ดี จากการศึกษาทางคลินิกพบว่า การตรวจคัดกรองมะเร็งปอดระยะเริ่มต้น ด้วยวิธี LDCT ประจำปี สามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปอดได้สูงถึงร้อยละ 20 ในคนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปอด เนื่องจากการตรวจพบมะเร็งปอดในระยะเริ่มต้น ขณะที่ยังไม่แสดงอาการใด ๆ นั้น มีโอกาสรักษาหายได้มากกว่า โดยที่ผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีจากการตรวจน้อยกว่าการตรวจด้วยวิธีเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบมาตรฐาน (Computed Tomography (CT)–Chest) ซึ่งจากการวิจัยของ National Lung Screening Trial (NLST) ในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อตรวจคัดกรองในกลุ่มคนที่มีความเสี่ยงสูง เช่น กลุ่มที่สูบบุหรี่จัด และมีอายุมากกว่า 50 ปี (High Risk Group) ด้วย Low Dose CT (LDCT) สามารถลดอัตราการตายจากมะเร็งปอดได้ 15 – 20% เมื่อเทียบกับการทำ Screen ด้วย X – ray ทรวงอกปกติ ข้อดีของการทำ Low Dose CT ได้ภาพสามมิติที่ให้รายละเอียดได้ดีกว่า Chest X – ray ซึ่งเป็นภาพ 2 มิติ ตรวจพบมะเร็งระยะแรกได้ชัดเจนกว่า Chest X-ray ตรวจง่าย ใช้เวลาไม่นาน ผลข้างเคียงน้อย ข้อเสียของการทำ Low Dose CT ได้รับรังสี (แต่ก็ปริมาณน้อย) ราคาสูงกว่าการทำ Chest X – ray วิธีการเตรียมตัวและการตรวจ Low Dose CT Chest ไม่ต้องงดอาหาร สามารถทำได้เลย ไม่ต้องมีการเตรียมตัวพิเศษหรือเจาะเลือด เปลี่ยนชุดแล้วนอนบนเตียงตรวจในเครื่อง CT กลั้นหายใจระหว่างการตรวจประมาณ 15-20 วินาที ใช้เวลาตรวจทั้งหมดประมาณ 5 – 10 นาที (บนเครื่อง CT Scanner) การแปลผล เมื่อตรวจเสร็จแล้วรังสีแพทย์จะดูว่ามีจุดหรือก้อนหรือไม่ ขนาดและรูปร่างเป็นอย่างไร เพื่อจะดูว่ามีโอกาสจะเป็นเนื้อร้ายมากน้อยแค่ไหน กรณีที่สงสัยมากอาจจะแนะนำให้ตรวจเพิ่มเติมด้วย CT หรือ PET/CT หรือเจาะตรวจชิ้นเนื้ออีกที ถ้าไม่สงสัยหรือสงสัยน้อยก็จะแนะนำให้ตรวจซ้ำปีละครั้ง ข้อควรทราบ ผลการตรวจที่ผิดปกติที่รายงาน ไม่สามารถบอกได้ว่าก้อนหรือจุดดังกล่าวในปอดเป็นมะเร็งหรือไม่ แพทย์จะเป็นคนแจ้งผลและให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับท่านต่อไป ผลการตรวจที่ผิดปกติที่รายงาน ไม่ได้รับรองท่านได้ว่า ในอนาคตก้อนหรือจุดดังกล่าวจะไม่เป็นมะเร็งปอด ซึ่งตามคำแนะนำที่เหมาะสม ท่านต้องติดตามการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบใช้ปริมาณรังสีต่ำ (low-dosecomputed tomography, LDCT) ต่อเนื่องอย่างน้อยทุก 1 ปี สอบถามเพิ่มเติมได้ที่โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

Hospital Logo

ติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่

บริการให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง