LONG COVID เรื่องต้องรู้เมื่อหายจากโควิด-19

ผู้ป่วย COVID-19 มีอาการและความรุนแรงของโรคแตกต่างกัน รวมถึงการฟื้นฟูร่างกายได้ไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงควรรู้ถึงอาการระยะยาวที่อาจเกิดขึ้นกับร่างกายหรือที่เรียกว่าลองโควิด (Long COVID) เพื่อจะได้รู้เท่าทัน เตรียมพร้อมรับมือ และดูแลตัวเองให้ถูกวิธี

รู้จักกับลองโควิด

ลองโควิด (Long COVID) เป็นภาวะหรืออาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยโควิด-19 หลังจากได้รับเชื้อนาน 4 สัปดาห์ไปจนถึง 12 สัปดาห์ขึ้นไป ซึ่งอาการที่พบมีหลากหลายและแตกต่างกัน โดยลองโควิดส่วนใหญ่มักพบในผู้ป่วยโควิด-19 ที่เชื้อลงปอดและมีโรคเรื้อรังร่วมด้วย และพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ส่งผลให้ปอดทำงานหนัก ปอดไม่แข็งแรง จากเดิมที่ปอดมีความยืดหยุ่น ปอดจะเริ่มแข็งและอาจเกิดรอยโรคอย่างแผลหรือพังผืดต่าง ๆ ในเนื้อปอด ส่งผลให้แลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ไม่เต็มที่ เหนื่อยง่ายกว่าปกติ หายใจไม่เต็มปอด และมีอาการผิดปกติอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล

อาการลองโควิดที่พบนั้นมีมากมาย แต่อาการที่พบบ่อย ได้แก่

  • อ่อนเพลียเรื้อรัง

  • เหนื่อยง่าย อ่อนแรง

  • หายใจลำบาก หายใจติดขัด หายใจไม่อิ่ม

  • ปวดศีรษะ

  • สมาธิจดจ่อลดลง

  • ความจำผิดปกติ

  • ไอ เจ็บแน่นหน้าอก

  • ปวดกล้ามเนื้อ ข้อต่อ

  • ท้องร่วง ท้องเสีย

  • จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส

  • ซึมเศร้า เครียด วิตกกังวล

รักษาลองโควิด

การหมั่นสังเกตความผิดปกติของตนเองหลังหายจากโควิด-19 เป็นเรื่องสำคัญ เพราะแพทย์จะรักษาลองโควิดตามอาการเป็นหลัก ดังนั้นหากมีอาการแล้วพบแพทย์โดยเร็ว ย่อมช่วยให้รักษาได้ทันท่วงที นอกจากนี้การตรวจร่างกายเป็นประจำตามคำแนะนำของแพทย์จะช่วยให้รู้ทันความผิดปกติที่เกิดขึ้นและดูแลตนเองได้อย่างเหมาะสม


ภาวะแทรกซ้อนในระยะยาวที่อาจเกิดจากลองโควิด ได้แก่

  • กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarditis)

  • สมองล้า (Brain Fog)

  • ภาวะพร่องทางระบบประสาทอัตโนมัติ (Dysautonomia)

  • ภาวะ Guillain – Barre Syndrome

  • โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia)

  • โรคนอนไม่หลับ (Insomnia)

อย่าออกกำลังมากไป

สำหรับคนที่หายป่วยจากโควิด-19 ยังไม่แนะนำให้ออกกำลังกายมากเกินไปและออกกำลังกายจนเหนื่อยเกินไป ควรปรับให้เป็นการออกกำลังแบบเบา ๆ เช่น เคยวิ่งอาจปรับเป็นเดินก่อน เป็นต้น เพื่อให้ปอดไม่ทำงานหนักจนเกินไปและร่างกายค่อย ๆ ฟื้นตัวและปรับตัวกลับสู่สภาวะที่แข็งแรง


ปัจจุบันภาวะลองโควิดยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัดแต่สามารถทำให้เกิดความผิดปกติกับร่างกายและจิตใจของผู้ที่หายจากโควิด-19 ได้ แพทย์จึงแนะนำให้สังเกตตัวเองอย่างละเอียด ประเมินร่างกายตนเองอยู่เสมอ และฟื้นฟูร่างกายอย่างถูกต้อง หากมีอาการที่รบกวนการใช้ชีวิตต้องรีบพบแพทย์เพื่อรักษาทันที อย่าปล่อยทิ้งไว้จนรุนแรงและเรื้อรัง

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่แผนกโรคระบบทางเดินหายใจ 039-319888


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคคอตีบ (Diphtheria)

โรคคอตีบ (Diphtheria)

โรคคอตีบ (Diphtheria) โรคคอตีบ\" (Diphtheria) หรือ ดิพทีเรีย เป็นโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบทางเดินหายใจ มีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรีย Corynebacterium diphtheria ซึ่งมีรูปทรงแท่งและย้อมติดสีแกรมบวก ซึ่งทำให้เกิดการอักเสบ มีแผ่นเยื่อเกิดขึ้นในลำคอในรายที่รุนแรงจะมีการตีบตันของทางเดินหายใจ จึงได้ชื่อว่าโรคคอตีบ และจากพิษ (exotoxin) ของเชื้อจะทำให้มีอันตรายต่อกล้ามเนื้อหัวใจ และเส้นประสาทส่วนปลายซึ่งถ้าเป็นรุนแรงจะทำให้เป็นอัมพาตและเสียชีวิตได้ การติดต่อของโรค เชื้อจะพบอยู่ในคนเท่านั้น โดยจะพบอยู่ในจมูกหรือลำคอของผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อโดยไม่มีอาการ และสามารถติดต่อกันได้ง่าย โดยการได้รับเชื้อจากการไอ จามรดกันหรือพูดคุยในระยะใกล้ชิด เชื้อจะเข้าสู้ผู้สัมผัสทางปากหรือทางการหายใจ บางครั้งอาจติดต่อกันได้โดยการใช้ภาชนะร่วมกัน เช่น แก้วน้ำ ช้อน หรือ การดูดอมของเล่นร่วมกันในเด็กเล็ก ระยะฟักตัวของโรคอยู่ระหว่าง ๒ - ๕ วัน อาจจะนานกว่านี้ได้ เชื้อจะอยู่ในลำคอของผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาได้ประมาณ ๒ สัปดาห์ แต่บางครั้งอาจนานถึงหลายเดือนได้ ผู้ที่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องเชื้อจะหมดไปภายใน ๑ สัปดาห์ อาการของโรคคอตีบ หลังจากรับเชื้อผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการไข้ต่ำๆ มีอาการคล้ายหวัดในระยะแรกมีอาการไอเสียงก้อน เจ็บคอ เบื่ออาหาร ในเด็กโตอาจจะบ่นเจ็บคอคล้ายกับคออักเสบบางรายอาจจะพบต่อมน้ำเหลืองที่คอโตด้วย เมื่อตรวจดูในคอพบแผ่นเยื่อสีขาวปนเทาติดแน่นอยู่บริเวณทอนซิล และบริเวณลิ้นไก่ แผ่นเยื่อนี้เกิดจากพิษที่ออกมาทำให้มีการทำลายเนื้อเยื่อ(membrane) ติดแน่นกับเยื่อบุในลำคอ การรักษาโรคคอตีบ เมื่อพบผู้ป่วยที่สงสัยว่าเป็นโรคคอตีบ ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที เพราะแพทย์จะต้องรีบให้การรักษาโดยเร็ว ผลการรักษาจะได้ผลหรือไม่ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ป่วยก่อนจะได้รับการรักษา การป้องกันโรคคอตีบ ในเด็กทั่วไป การป้องกันแก่เด็กก่อนวัยเรียนนับว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุด โดยการให้วัคซีนป้องกันคอตีบ ๕ ครั้ง เมื่ออายุ ๒, ๔, ๖ และ ๑๘ เดือน ๔ ปี และ กระตุ้นอีกครั้งหนึ่งเมื่อเด็กเข้าโรงเรียนชั้นประถมปีที่ ๖ ผู้ที่มีอาการของโรคจะมีเชื้ออยู่ในจมูก ลำคอ เป็นระยะเวลา ๒ - ๓ สัปดาห์ ดังนั้น จึงต้องแยกผู้ป่วยจากผู้อื่นอย่างน้อย ๓ สัปดาห์ หลังเริ่มมีอาการ หรือตรวจเพาะเชื้อไม่พบเชื้อแล้ว ๒ ครั้ง ผู้ป่วยที่หายจากโรคคอตีบแล้วอาจไม่มีภูมิคุ้มกันโรคเกิดขึ้นเต็มที่ จึงอาจเป็นโรคคอตีบซ้ำอีกได้ ดังนั้นจึงต้องให้วัคซีนป้องกันโรค (DTP หรือ dT) แก่ผู้ป่วยที่หายแล้วทุกคน เนื่องจากโรคคอตีบติดต่อกันได้ง่าย ดังนั้นผู้สัมผัสโรคใกล้ชิดที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคจะติดเชื้อได้ง่าย จึงควรได้รับการติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิดที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคจะติดเชื้อได้ง่าย จึงควรได้รับการติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิดที่ไม่มีภูมิคุ้มกันโรคจะติดเชื้อได้ง่าย จึงควรได้รับการติดตามดูอาการอย่างใกล้ชิด โดยทำการเพาะเชื้อจากลำคอ และติดตามดูอาการ ๗ วัน พร้อมใช้ยาปฏิชีวนะ ในกรณีที่มีผลเพาะเชื้อกลับมา และไม่พบเชื้อคอตีบ พิจารณาให้หยุดยาได้ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่แผนกโรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

ถุงลมโป่งพอง

ถุงลมโป่งพอง

ถุงลมโป่งพอง (Emphysema / Chronic obstructive pulmonary disease / COPD) ถุงลมโป่งพอง เป็นภาวะที่ถุงลมในปอดเกิดความพิการอย่างถาวร ซึ่งปอดมีถุงลมเป็นล้านถุง เมื่อส่วนนึงเกิดการพิการ ส่วนที่เหลือจะยังคงทำหน้าที่ได้ แต่ด้วยจำนวนถุงลมที่สามารถทำงานได้ลดลง การแลกเปลี่ยนก๊าซจึงลดลง เมื่อออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆไม่เพียงพอ ผู้ป่วยจะมีอาการหอบเหนื่อยเกิดขึ้น ถุงลมโป่งพองมักพบในเพศชายอายุ 45-65 ปี ส่วนใหญ่มีประวัติสูบบุหรี่จัดมานาน 10 ปีขึ้นปี หรือผู้ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีมลพิษทางอากาศต่อเนื่องเป็นเวลานาน สาเหตุถุงลมโป่งพอง สูบบุหรี่เป็นประจำต่อเนื่องเป็นเวลานาน อยู่ในสิ่งแวดล้มที่มีมลพิษทางอากาศ เช่น อากาศเสียจากโรงงาน เหมืองแร่ที่หายใจเอาสารละคายเคืองหลอดลมเข้าไปเป็นประจำ เป็นต้น สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกโรคปอดและระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร 039-319888

โรคหวัด หรือ ไข้หวัด

โรคหวัด หรือ ไข้หวัด

โรคหวัด หรือ ไข้หวัด โรคหวัด หรือ ไข้หวัด (Acute Rhinopharyngitis : Common cold) เป็นโรคติดเชื้อที่พบบ่อยมากที่สุดโรคหนึ่ง เกิดจากการติดเชื้อไวรัสซึ่งมีหลายสายพันธุ์ พบบ่อยในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว หรือโดยเฉพาะช่วงที่มีอากาศเปลี่ยนแปลง สามารถพบผู้ติดเชื้อได้ทุกช่วงอายุ ในเด็กเล็กสามารถเป็นได้หลายครั้งในแต่ละปี ในผู้ใหญ่จะเป็นน้อยลงตามลำดับเนื่องจากมีภูมิคุ้มกันมากขึ้น โดยเฉลี่ยเด็กจะเป็นโรคหวัด 6-12 ครั้งต่อปี ผู้ใหญ่จะเป็น 2-4 ครั้งต่อปี ความรุนแรงของโรคไม่มาก และสามารถหายเองได้ภายในไม่กี่วัน เนื่องจากเกิดจากการติดเชื้อไวรัสจึงเน้นรักษาประคับประคองอาการจนอาการหาย ดีเอง ใครบ้างที่เสี่ยงที่จะเกิดอาการรุนแรงจากการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ ผู้ที่เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนรุนแรงจากไข้หวัดใหญ่ได้แก่ผู้ที่มีโรคประจำตัวได้แก่ โรคปอดเรื้อรัง หอบหืด โรคหัวใจ เบาหวาน และ ผู้สูงอายุ การวินิจฉัย จากลักษณะอาการเพียงอย่างเดียวอาจยากที่จะบอกว่าผู้ป่วยรายใดเป็นไข้หวัดใหญ่รายใดเป็นไข้หวัด หรือไข้หวัดใหญ่จากการติดเชื้อไวรัสอื่นๆ การวินิจฉัยยืนยันทางห้องปฏิบัติ การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อวินิจฉัยแยกโรค การแยกเชื้อไวรัสจากไม้ป้ายคอ (throat swab) ดูดน้ำจากหลังโพรงจมูก (nasopharyngeal aspirate)ซึ่งกินเวลาอย่างน้อยประมาณ 1 สัปดาห์ การตรวจหาโปรตีนแอนติเจนของไวรัสในสิ่งส่งตรวจนั้นซึ่งได้ผลเร็วในไม่กี่ชั่วโมง ไข้หวัดใหญ่แพร่เชื้ออย่างไร ไข้หวัด เป็นโรคการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ โดยเชื้อจะอยู่ในละอองฝอยในอากาศที่ออกมาจากการไอจามของผู้ป่วย เมื่อสูดหายใจเอาเชื้อเข้าไป เชื้อก็จะเข้าไปเพิ่มจำนวนอยู่ในเซลล์เยื่อบุทางเดินหายใจ และทำให้เกิดอาการป่วยได้ ระยะเวลาแพร่เชื้อสามารถแพร่ได้ก่อนเกิดอาการและ 1-2 วันหลังเกิดอาการ การดูแลตนเองเมื่อเป็นไข้หวัด เนื่องจากเกิดจากการติดเชื้อไวรัส ส่วนใหญ่จึงใช้วิธีการรักษาตามอาการ เช่น ยาลดน้ำมูก ยาลดไข้ จนอาการหายดีเอง การใช้ยาฆ่าเชื้อโดยไม่จำเป็นจะทำให้เชื้อแบคทีเรียเกิดการดื้อยาได้ พักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ (ควรเป็นน้ำอุ่น) รักษาร่างกายให้อบอุ่น รับประทานอาหารอุ่น หลีกเลี่ยงการจามหรือสั่งน้ำมูกอย่างรุนแรง เพราะจะทำให้น้ำมูกที่มีเชื้อโรคเข้าไปในไซนัสเกิดเป็นไซนัสอักเสบจากการติดเชื้อได้ เวลาไอหรือจามให้ใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปากและจมูก อาการที่ควรไปพบแพทย์ เมื่อน้ำมูกหรือเสมหะ เหลืองเขียว ปวดหู หูอื้อ ปวดศีรษะมาก ไข้สูง มีอาการหอบเหนื่อย ควรพบแพทย์เพื่อการวินิจฉัยภาวะแทรกซ้อน หากมีไข้สูง ปวดเมื่อยตามร่างกายมาก อาจเป็นไข้หวัดใหญ่ไม่ใช่โรคหวัด ภาวะแทรกซ้อน คนที่เป็นโรคหวัดบางส่วน จะมีการติดเชื้อของแบคทีเรียซ้อนร่วมด้วย ทำให้มีอาการน้ำมูกข้น สีเหลืองหรือเขียว มีเสมหะเขียว ไซนัสอักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียซ้อน เยื่อบุตาอักเสบ หลอดลมอักเสบ หรือ ปอดอักเสบ ผู้ที่มีโรคประจำตัวเป็นโรคหอบหืด หรือ ถุงลมในปอดโป่งพอง เมื่อเป็นโรคหวัด จะทำให้อาการหอบเหนื่อยรุนแรงมากขึ้น การป้องกันการติดเชื้อ หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้คนที่เป็นโรคหวัด ลดการสัมผัสกับผู้ป่วย หรือใช้ของร่วมกับผู้ป่วย หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้ล้างมือหลังสัมผัส อย่าเอามือสัมผัสหรือถูจมูก หรือขยี้ตา พักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายเป็นประจำ หลีกเลี่ยงการเข้าใกล้ผู้ป่วยที่กำลังไอหรือจาม หลีกเลี่ยงที่มีคนแออัดในช่วงที่มีการระบาด การฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ไม่สามารถป้องกันโรคหวัดได้ เนื่องจากเป็นเชื้อไวรัสคนละชนิด ข้อห้ามในการฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 6 เดือน ผู้ที่แพ้ไข่อย่างรุนแรง ผู้ที่เคยฉีดวัคซีนแล้วมีอาการแพ้รุนแรง ผู้ที่มีไข้ โดยควรเลื่อนการฉีดวัคซีนไปอย่างน้อย 1 สัปดาห์ หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ ที่มา : ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ ในเครือ บริษัท กรุงเทพดุสิตเวชการ จำกัด (มหาชน) ,BangkokHealth.com / https://www.bangkokhospital.com/th/disease-treatment/influenza-prevention

หืดหอบ (Asthma)

หืดหอบ (Asthma)

หืดหอบ (Asthma) หืดหอบ เป็นโรคที่พบได้ทุกเพศทุกวัย มักมีอาการเมื่ออากาศหนาว เมื่อไม่มีอาการสุขภาพโดยรวมจะดูปกติแข็งแรงเหมือนคนทั่วไป สาเหตุ เกิดจากการตีบแคบของหลอดลม ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม หรือบางรายเกิดอาจมีการติดเชื้อทางเดินหายใจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการ อาการ แน่นหน้าอก หายใจลำบาก โดยเฉพาะช่วงหายใจออก หากเป็นมาก ๆ จะนอนไม่สบายตัว มักลกขึ้นนั่งฟุบกับโต๊ะและหอบตัวโยน มีเสียงดังฮืด ๆ ผู้ป่วยมักไอมาก มีเสมหะเหนียว อาจมีอาการคันจมูก คันคอ เป็นหวัด หรือจามนำมาก่อน ส่วนใหญ่ไม่มีไข้ ในรายที่มีไข้มักเป็นหืดร่วมกับอาการของไข้หวัด หรือหลอดลมอักเสบ อาการแทรกซ้อน หากเป็นรุนแรงจะทำให้หอบต่อเนื่องเป็นเวลานานได้ (Status asthmaticus) หากเป็นเรื้อรัง อาจทำให้เป็นถุงลมโป่งพอง หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบ ปอดแฟบ ปอดทะลุ การรักษา ถ้าเป็นไม่มาก ไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล แนะนำให้ปฏิบัติตนและรับประทานยาตามแผนการรักษาของแพทย์อย่างเคร่งครัด กรณีรับประทานยาแล้วอาการไม่ดีขึ้น หรือมีอาการมากขึ้น ควรปรึกษาแพทย์

โรคที่มักมาในช่วงฤดูฝน

โรคที่มักมาในช่วงฤดูฝน

โรคที่มักมาในช่วงฤดูฝน ไข้หวัดใหญ่-จากเชื้อไวรัส ไข้หวัดธรรมดา-จากไวรัสและเเบคทีเรียในอากาศ โรคต่อมทอนซิล-จากไวรัสและแบคทีเรีย อุจจาระร่วงเฉียบพลัน-จากอาหารปนเปื้อน เยื่อบุตาอักเสบ-จากเชื้อไวรัส โรคไข้เลือดออก-จากยุงลาย โรคฉี่หนู-จากการสัมผัสแหล่งมีน้ำขังที่ปนเปื้อนสิ่งคัดหลั่งหรือเนื้อเยื่อของสัตว์ที่ติดเชื้อฉี่หนู คำอธิบาย ฤดูฝน มักมีอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย มีอากาศที่ร้อนและชื้นมาก ซึ่งเอื้อกับการเจริญเติบโตของเชื้อโรคบางชนิดที่สามารถก่อโรคในคนได้ ซึ่งโรคที่มักพบอุบัติการณ์ได้บ่อยในช่วงฤดูฝน ได้แก่ ไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดธรรมดา โรคต่อมทอนซิล อุจจาระร่วง เยื่อบุตาอักเสบ โรคไข้เลือดออก และ โรคฉี่หนู

วิธีแก้อาการ "นอนกรน"

วิธีแก้อาการ "นอนกรน"

วิธีแก้อาการ "นอนกรน" นอนกรน ปัญหาเล็กๆที่ อาจพัฒนาเป็นปัญหาใหญ่ได้ในอนาคต เช็กสัญญาณอันตรายและวิธีรักษาควบคู่ไปกับการปรับพฤติกรรม เสียงกรน คือ เสียงที่เกิดจากการสั่นสะเทือนของลิ้นไก่และเพดานอ่อน ขณะนอนหลับในเวลาที่เราหลับสนิทนั้นเนื้อเยื่อต่างๆ ในช่องคอโดยเฉพาะอย่างยิ่งลิ้นไก่ และเพดานอ่อนจะคลายตัว บางคนคลายตัวมากจนย้อยลงมาอุดกั้นทางเดินหายใจบริเวณลำคอ ทำให้ลมหายใจเข้าไม่สามารถไหลผ่านลงสู่หลอดลม และปอดได้โดยสะดวก จนเกิดเป็นเสียงกรนตามมา จะรู้ได้อย่างไรว่านอนกรน คนข้างๆคุณบอกได้ ? นอนกรนเสียงดังจนต้องสะกิดปลุกกลางดึก สะดุ้งตื่น หรือพลิกตัวตอนนอน นอนกระสับกระส่าย เหงื่อออกผิดปกติขณะหลับ ปากแห้ง คอแห้งหลังตื่นนอน รู้สึกว่านอนไม่อิ่ม มีอาการปวดศีรษะ อ่อนเพลียหลังตื่นนอน ทั้งที่มีเวลานอนเพียงพอ หงุดหงิดง่าย อารมณ์เสียบ่อยกว่าปกติ ความคิดความสามารถในการจดจำลดลง และอาการจะหนักขึ้นถ้ามีการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือทานยานอนหลับ ง่วงนอนบ่อย หรือหลับง่ายในช่วงกลางวัน ชนิดการนอนกรน แบบไหนอันตราย ? ชนิดที่ไม่เป็นอันตราย (simple snoring) คนที่นอนกรนชนิดนี้มักจะมีเสียงกรนสม่ำเสมอ ไม่มีหายใจสะดุด หรือเสียงฮุบอากาศ เสียงกรนมักดังมากโดยเฉพาะเวลานอนหงาย ชนิดที่เป็นอันตราย (snoring with obstructive sleep apnea) คนที่นอนกรนภาวะนี้มักจะกรนเสียงดัง และมีอาการคล้ายสำลัก หรือสะดุ้งตื่นกลางดึก ตื่นขึ้นมาด้วยอาการอ่อนเพลียไม่สดชื่น หรือปวดศีรษะ และต้องการนอนต่ออีกทั้งที่ใช้เวลานอน 7- 8 ชม.แล้ว กลางวันบางคนอาจมีอาการง่วงนอน หลงลืม ไม่มีสมาธิ หงุดหงิดง่าย ขี้โมโห รวมทั้งมีความรู้สึกทางเพศลดลงซึ่งการนอนกรนชนิดนี้อาจนําไปสู่การหยุดหายใจขณะหลับที่นำไปสู่โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง อัมพฤกษ์ อัมพาตและโรคซึมเศร้าได้ รักษาบรรเทาอาการนอนกรน การลดน้ำหนัก เพราะผู้ป่วยที่นอนกรนส่วนมากมักมีน้ำหนักที่เกินเกณฑ์มาตราฐาน หลีกเลี่ยงไม่ดื่มสุราและสูบบุหรี่ ปรับท่านอน นอนศีรษะสูง นอนตะแคง ใช่อุปกรณ์ช่วยให้ทางเดินหายใจกว้างขึ้นหรือไม่อุดกั้นขณะหลับ เช่นใช้เครื่องอัดอากาศ ใส่ฟันยางขณะหลับ เครื่องมือชนิดนี้มีหลายแบบ หลายรูปร่าง แต่หลักการทำงานเหมือนกันคือ ยึดขากรรไกรล่างให้เคลื่อนมาข้างหน้า โคนลิ้นจะถูกดันออกมาด้วยทำให้ช่องคอเปิดออก และทำให้อากาศผ่านเข้าได้ง่ายขึ้น ช่วยให้หายใจได้สะดวกขึ้น และเสียงกรนเบาลง การดูแลรักษาเครื่องมือกันนอนกรน ก่อนใส่เครื่องมือกันกรน ให้ใช้แปรงสีฟันขนอ่อนๆ ขัดล้างกับน้ำสบู่ หรือยาสีฟัน ควรทำความสะอาดทุกครั้ง ก่อนและหลังใส่เครื่องมือกันกรน ไม่เก็บเครื่องมือกันกรนในบริเวณที่มีความร้อน หรือแห้ง ไม่จำเป็นต้องแช่น้ำ อย่างไรก็ตามอาการนอนกรน ไม่ใช่เรื่องที่ควรมองข้าม หากรู้สึกว่าปวดหัวทุกครั้งที่ตื่นนอน ควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อวางแผนวินิจฉัยและการรักษาต่อไป ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

Hospital Logo

ติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่

บริการให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง