หูชั้นนอกอักเสบ (Otitis externa)

หูชั้นนอกอักเสบ (Otitis externa)

หูชั้นนอกอักเสบ พบได้ทุกเพศทุกวัย พบบ่อยในวัยหนุ่มสาว เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย มักพบว่าเป็นหลังเล่นน้ำหรือแคะหู

อาการ

  • ปวดในรูหู เจ็บในรูหูมากขั้นเมื่อดึงใบหูแรง ๆ

  • อาจมีหนองหรือน้ำเหลืองไหลจากหู

  • บางรายมีหู้อื้อและมีไข้

  • บางรายตรวจพบต่อมน้ำเหลืองโตที่หน้าหู หลังหู หรือบริเวณคอ

การรักษา

ส่วนใหญ่แพทย์จะให้รับประทานยาปฏิชีวนะ หากมีอาการปวดหรือมีไข้ แพทย์จะพิจารณาให้ยาแก้ปวดลดไข้ โดยผู้ป่วยจะต้องรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ระหว่างการรักษาต้องระวังไม่ให้น้ำเข้าหู

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คลินิกหู คอ จมูก
โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร. 039-319896

บทความที่เกี่ยวข้อง

ผนังกั้นจมูกคด (Deviated nasal septum)

ผนังกั้นจมูกคด (Deviated nasal septum)

ผนังกั้นจมูกคด (Deviated nasal septum) สาเหตุของผนังกั้นจมูกคด ได้แก่ การบาดเจ็บ มีความผิดปกติแต่กำเนิด ทำให้รูจมูกข้างหนึ่งตีบแคบกว่าปกติ ทำให้หายใจไม่สะดวก เป็นหวัดคัดจมูกเรื้อรัง อาจมีการอักเสบของจมูกแทรกซ้อนได้บ่อย ๆ ซึ่งทำเป็นไซนัสอักเสบหรือมีเลือดกำเดาออกง่าย การรักษา กรณีที่ผนังกั้นจมูกคดเล็กน้อย ไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตอาจไม่ต้องทำการรักษา แต่หากมีผลต่อการหายใจ แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คลินิกหู คอ จมูก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร. 039-319896

โรคเชื้อราในช่องหู

โรคเชื้อราในช่องหู

โรคเชื้อราในช่องหู โรคเชื้อราในช่องหู ถือเป็นโรคหูชั้นนอกอักเสบจากเชื้อรา มักพบหลังเล่นน้ำ หรือใช้ไม้แคะหูร่วมกับผู้ที่เป็นเชื้อราในช่องหู อาการ คันหูมาก อาจมีอาการปวดหู หรือหูอื้อ เมื่อใช้ไฟส่องในรูหู อาจพบขุยขาวๆ ที่ผิวหนังรอบ ๆ รูหู การรักษา ทุกครั้งที่มีอาการ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินว่าการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม หากเป็นซ้ำบ่อย ๆ แพทย์จะประเมินว่ายังคงเป็นเรื่องเชื้อราในหูอยู่เหมือนเดิมหรือไม่ และควรสอบถามแพทย์ที่รักษาโดยตรงอีกครั้งว่าเหตุใดจึงเป็นบ่อยๆ อาจจะต้องซักประวัติเพิ่มเติม หรือตรวจหาโรคร่วมอื่นๆด้วยต่อไปฃ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คลินิกหู คอ จมูก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร. 039-319896

ไซนัสอักเสบ

ไซนัสอักเสบ

ไซนัสอักเสบ ไซนัส (Sinuses) หมายถึง โพรงอากาศที่อยู่รอบๆ โพรงจมูกเราทั้งซ้ายและขวา โดยปกติคนเรามีโพรงไซนัส ทั้งหมด 4 แห่ง คือ บริเวณระหว่างตาทั้งสองข้าง บริเวณแก้ม บริเวณหน้าผาก และบริเวณในสุดของรูจมูกและที่ใต้ ฐานกะโหลก โพรงอากาศนี้เป็นที่โล่งๆ ในกะโหลกศีรษะ แต่ละโพรงอากาศจะมีรูระบายอากาศตามธรรมชาติ โพรงละ 1 รู ซึ่งจะระบายเข้าสู่โพรงจมูก และเมื่อเยื่อบุโพรงไซนัสมีการอักเสบ เราจึงเรียกว่า “ไซนัสอักเสบ” (วิชญ์ บรรณหิรัญ, 2553) สาเหตุของโรค เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา อาการนําของไซนัสอักเสบ คัดจมูก นํ้ามูกข้นเขียวหรือเหลือง หายใจมีกลิ่นเหม็น ปวดศีรษะ ปวดขมับ ปวดแก้ม ปวดท้ายทอย หนักหัว เสมหะข้นไหลลงคอ ไอบ่อย เลือดออกทางจมูก (พบในบางราย) รายที่เป็นรุนแรงอาจมีไข้สูง ตาบวมอักเสบได้ เป็นต้น การรักษา การให้ยาซ่าเชื้อ การทำให้โพรงจมูกยุบบวม โดยการใช้ยาพ่นจมูก หรือการล้างจมูก หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นต่างๆ เช่น ไรฝุ่น ควันบุหรี่ เกสรดอกไม้ สถานที่แออัด เป็นต้น การผ่าตัด คําแนะนําในการดูแลตนเอง ผู้ที่เป็นไซนัสอักเสบ ควรหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทําให้เกิดอาการหวัด ภูมิแพ้ หากรู้ว่าอะไรเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้ ควรงดว่ายนํ้า ดํานํ้า ขึ้นเครื่องบินประมาณ 2 สัปดาห์ ในช่วงที่อาการกําเริบ ไม่ควรรักษาการเองตามพื้นบ้าน เช่น ใช้กรดบางชนิดหยอดเข้าจมูก (ทําให้มีนํ้ามูกไหลออกมามาก เพราะอาจเกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุจมูก) อาจทําให้เกิดการอักเสบ หรือจมูกพิการได้ หมั่นออกกําลังกายเป็นประจํา ดื่มนํ้ามากๆ พักผ่อนให้เพียงพอ อยู่ในสถานที่ๆอากาศถ่ายเท การป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากโรคไซนัสอักเสบ การรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เมื่อเป็นหวัดนานเกิน 1 สัปดาห์ ควรรีบปรึกษาแพทย์ พักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกําลังกายอยู่เสมอ งดสูบบุหรี่และงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงสถานที่ๆ มีคนแออัด หรือบริเวณที่มี ฝุ่นควันมากๆ สิ่งมีพิษในอากาศ สารเคมีต่างๆ รักษาสุขภาพช่องปากและฟันให้ดี ไม่ให้ฟันผุ ถ้ามีโรคประจําตัว ควรรีบการรักษาจากแพทย์อย่างสมํ่าเสมอ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่แผนกหู คอ จมูก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

เยื่อแก้วหูทะลุ (Ruptured eardrum)

เยื่อแก้วหูทะลุ (Ruptured eardrum)

เยื่อแก้วหูทะลุ (Ruptured eardrum) เยื่อแก้วหูทะลุ อาจเกิดจากการอักเสบของหูชั้นกลางได้ และที่พบบ่อยคือแก้วหูทะลุ จากการได้รับบาดเจ็บ เช่น ถูกไม้แคะหูแทงทะลุ การกระทบกระเทือนจากการถูกตีหรือถูกกระแทก การถูกเสียงดัง ๆ เช่น เสียงพุ ประทัด ระเบิด เป็นต้น อาการ หูอื้อ หูตึง ทันทีทันใดหลังได้รับบาดเจ็บ บางรายมีอาการปวดหู มีเลือดไหลออกจากหู โรคแทรกซ้อน หากไม่รักษา จะทำให้เกิดการอักเสบทำให้เป็นโรคหูน้ำหนวกได้ การรักษา กรณีรูทะลุขนาดเล็ก อาจปิดได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่ต้องได้รับยาปฏิชีวนะร่วมด้วย หากรูทะลุเป็นรูกว้าง อาจต้องผ่าตัดทำเยื่อแก้วหูเทียม (Tympanoplasty) ***ผุ้ที่เยื่อแก้วหูทะลุ ห้ามดำน้ำ ห้ามเล่นน้ำ ต้องระวังอย่าให้น้ำเข้าหูโดยเด็ดขาด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คลินิกหู คอ จมูก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร. 039-319896

ขี้หูอุดตันรูหู (Wax blockage)

ขี้หูอุดตันรูหู (Wax blockage)

ขี้หูอุดตันรูหู (Wax blockage) ขี้หู คือ ส่วนที่สร้างขึ้นจากต่อมที่รูหู เพื่อรักษาความสะอาดและความชุ่มชื้น แต่บางคนอาจสร้างมากเกินไปจนทำให้เกิดการอุดตันรูหู อาการ หูอื้อ หูตึง อาจมีอาการปวดหู หรือวิงเวียน ใช้ไฟหรือเครื่องส่องหูจะพบมีขี้หูอุดเต็มรูหู การรักษา แพทย์จะแนะนำให้หยอดสารที่ทำให้ขี้หูนิ่มลงก่อนแล้วจึงใช้เครื่องมือนำขี้หูออกมา โดยผู้ป่วยไม่ควรทำเองเพราะอาจมีอันตรายต่ออวัยวะในช่องหูและส่งผลต่อการได้ยินได้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คลินิกหู คอ จมูก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร. 039-319896

หูชั้นกลางอักเสบ/หูน้ำหนวก (Otitis media)

หูชั้นกลางอักเสบ/หูน้ำหนวก (Otitis media)

หูชั้นกลางอักเสบ/หูน้ำหนวก (Otitis media) หูชั้นกลางอักเสบ พบได้ในทุกเพศทุกวัย โดยพบบ่อยในทารกและเด็ก แบ่งเป็นชนิดเฉียบพลัน และเรื้อรัง สาเหตุ หูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน มักเกิดร่วมกับการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจส่วนต้น เช่น ไข้หวัด ต่อมทอนซิลอักเสบ ไอกรน เป็นต้น หูชั้นกลางอักเสบเรื้อรัง อาจเกิดจากการได้รับบาดเจ็บจนแก้วหูทะลุ อีกทั้งยังพบบ่อยในเด็กที่ขาดสารอาหารสุขภาพๆไม่แข็งแรง เป็นโรคนี้มากกว่าเด็กที่แข็งแรง บางครั้งพบร่วมกับผู้ที่เป็นทอนซิลอักเสบเรื้อรัง ไซนัสอักเสบเรื้อรัง ผนังกั้นจมูกคด เนื้องอกในจมูก อาการ หูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน โดยมักจะมีอาการหลังเป็นหวัด เจ็บคอ หรือเป็นโรคทางเดินหายใจอื่น ๆ ซึ่งอาการ ได้แก่ ปวดในรูหู หูอื้อ มีไข้สูง หนาวสั่น บางคนอาจมีวิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน หรือท้องเดิน ในเด็กมักร้องกวนกลางดึก บางรายเอามือดึงใบหู มักมีไข้สูงอาจถึงขั้นชักได้ มักมีอาการหวัดและไอร่วมด้วย หูชั้นกลางอักเสบเรื้อรัง มีอาการหูน้ำหนวกไหลเป็น ๆ หาย ๆ โดยมักเป็นขณะเป็นหวัด หรือหลังเล่นน้ำ ร่วมกับมีอาการหูอื้อ หูตึง บางรายอาจมีอาการวิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย ส่วนมากจะไม่มีไข้หรือเจ็บปวดในรูหู โรคแทรกซ้อนที่พบได้ หูชั้นในอักเสบ โพรงกระดูกมาสตอยด์อักเสบ อัมพาตปากเบี้ยว หูหนวก เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ฝีในสมอง ฝีรอบ ๆ หู หูหนวกสนิท การรักษา หากมีอาการของหูชั้นกลางอักเสบ ควรพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม โดยผู้ป่วยจำเป็นต้องรับประทานยาปฏิชีวนะ ซึ่งผู้ป่วยจะต้องรับประทานจนครบตามแพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด ผู้ป่วยต้องระวังไม่ให้น้ำเข้าหู สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คลินิกหู คอ จมูก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร. 039-319896

Hospital Logo

ติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่

บริการให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง