เลือดกำเดา เลือดออกจมูก (Epistaxis Nose bleed)

เลือดกำเดา เลือดออกจมูก (Epistaxis Nose bleed)

เลือดกำเดา เกิดจากเส้นเลือดฝอยบริเวณเยื่อบุจมูกแตก มักเกิดขึ้นเฉียบพลัน บางรายเป็น ๆ หาย ๆ บ่อยครั้ง

สาเหตุ

  • สาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่ ข้หวัด ภูมิแพ้อากาศ ไซนัสอักเสบ เยื่อจมูกอักเสบ เส้นเลือดฝอยเปราะเนื่องจากอากาศแห้ง การแคะจมูกแรง ๆ ได้รับบาดเจ็บ

  • ความดันโลหิตสูง บางครั้งก็ทำให้เลือดกำเดาไหลได้

  • เกิดร่วมกับโรคติดเชื้อ เช่น ไข้หวัดใหญ่ มาลาเรีย ไทฟอยด์ ไข้เลือดออก คอตีบ เป็นต้น

  • มีโรคเลือด ได้แก่ มะเร็งเม็ดเลือดขาว โลหิตจางอะพลาสติก ไอทีพี เป็นต้น ซึ่งมักมีเลือดออกตามไรฟัน มีจ้ำเขียวขึ้นตามตัว และตับม้ามโตร่วมด้วย

  • มะเร็งหรือเนื้องอกในจมูกหรือในลำคอ ซึ่งได้น้อยมาก

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

ปฐมพยาบาลด้วยการให้ผู้ป่วยนั่งนิ่ง ๆ ตัวตรง ก้มหน้าลงเล็กน้อย บีบจมูกหายใจทางปากประมาณ 5-10 นาที จนเลือดหยุดไหล หากมีน้ำแข็งอาจใช้ผ้าห่อไว้แล้วประคงบริเวณจมูกไว้ได้ หากเลือดไม่หยุด หรือเป็นซ้ำบ่อย ๆ จำเป็นต้องไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรักษาต่อไป

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คลินิกหู คอ จมูก
โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร. 039-319896

บทความที่เกี่ยวข้อง

เนื้องอกในรูจมูก/ริดสีดวงจมูก (Nasal polyps)

เนื้องอกในรูจมูก/ริดสีดวงจมูก (Nasal polyps)

เนื้องอกในรูจมูก/ริดสีดวงจมูก (Nasal polyps) เนื้องอกในรูจมูก มักมีสาเหตุมาจากการเป็นไข้หวัดเรื้อรัง เช่น ภูมิแพ้อากาศ หรือการติดเชื้อของรูจมูก มักไม่มีอันตรายร้ายแรง เว้นแต่ก้อนไม่โตมากจนมีผลต่อการหายใจ และไม่เสียการรับกลิ่น อาการ คัดจมูก แน่นจมูก หายใจไม่สะดวก พูดเสียงขึ้นจมูก หากเป็นเรื้อรังอาจสูญเสียการรับกลิ่น ปวดหัวคิ้วหรือโหนกแก้ม กรณีก้อนอุดตันรูไซนัส การรักษา การผ่าตัดเป็นการรักษาหลักที่ทำให้หายขาด แต่ก็มีบางรายที่เกิดเนื้องอกซ้ำ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คลินิกหู คอ จมูก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร. 039-319896

ไซนัสอักเสบ

ไซนัสอักเสบ

ไซนัสอักเสบ ไซนัส (Sinuses) หมายถึง โพรงอากาศที่อยู่รอบๆ โพรงจมูกเราทั้งซ้ายและขวา โดยปกติคนเรามีโพรงไซนัส ทั้งหมด 4 แห่ง คือ บริเวณระหว่างตาทั้งสองข้าง บริเวณแก้ม บริเวณหน้าผาก และบริเวณในสุดของรูจมูกและที่ใต้ ฐานกะโหลก โพรงอากาศนี้เป็นที่โล่งๆ ในกะโหลกศีรษะ แต่ละโพรงอากาศจะมีรูระบายอากาศตามธรรมชาติ โพรงละ 1 รู ซึ่งจะระบายเข้าสู่โพรงจมูก และเมื่อเยื่อบุโพรงไซนัสมีการอักเสบ เราจึงเรียกว่า “ไซนัสอักเสบ” (วิชญ์ บรรณหิรัญ, 2553) สาเหตุของโรค เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา อาการนําของไซนัสอักเสบ คัดจมูก นํ้ามูกข้นเขียวหรือเหลือง หายใจมีกลิ่นเหม็น ปวดศีรษะ ปวดขมับ ปวดแก้ม ปวดท้ายทอย หนักหัว เสมหะข้นไหลลงคอ ไอบ่อย เลือดออกทางจมูก (พบในบางราย) รายที่เป็นรุนแรงอาจมีไข้สูง ตาบวมอักเสบได้ เป็นต้น การรักษา การให้ยาซ่าเชื้อ การทำให้โพรงจมูกยุบบวม โดยการใช้ยาพ่นจมูก หรือการล้างจมูก หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นต่างๆ เช่น ไรฝุ่น ควันบุหรี่ เกสรดอกไม้ สถานที่แออัด เป็นต้น การผ่าตัด คําแนะนําในการดูแลตนเอง ผู้ที่เป็นไซนัสอักเสบ ควรหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทําให้เกิดอาการหวัด ภูมิแพ้ หากรู้ว่าอะไรเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้ ควรงดว่ายนํ้า ดํานํ้า ขึ้นเครื่องบินประมาณ 2 สัปดาห์ ในช่วงที่อาการกําเริบ ไม่ควรรักษาการเองตามพื้นบ้าน เช่น ใช้กรดบางชนิดหยอดเข้าจมูก (ทําให้มีนํ้ามูกไหลออกมามาก เพราะอาจเกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุจมูก) อาจทําให้เกิดการอักเสบ หรือจมูกพิการได้ หมั่นออกกําลังกายเป็นประจํา ดื่มนํ้ามากๆ พักผ่อนให้เพียงพอ อยู่ในสถานที่ๆอากาศถ่ายเท การป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากโรคไซนัสอักเสบ การรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เมื่อเป็นหวัดนานเกิน 1 สัปดาห์ ควรรีบปรึกษาแพทย์ พักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกําลังกายอยู่เสมอ งดสูบบุหรี่และงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงสถานที่ๆ มีคนแออัด หรือบริเวณที่มี ฝุ่นควันมากๆ สิ่งมีพิษในอากาศ สารเคมีต่างๆ รักษาสุขภาพช่องปากและฟันให้ดี ไม่ให้ฟันผุ ถ้ามีโรคประจําตัว ควรรีบการรักษาจากแพทย์อย่างสมํ่าเสมอ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่แผนกหู คอ จมูก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

บอกลาภูมิแพ้เรื้อรังด้วยเทคโนโลยี RF

บอกลาภูมิแพ้เรื้อรังด้วยเทคโนโลยี RF

บอกลาภูมิแพ้เรื้อรังด้วยเทคโนโลยี RF ภาวะคัดจมูกเรื้อรัง กระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโดยตรง ส่งผลให้เสียสมาธิในการเรียน การทำงาน ส่วนการทำกิจกรรมต่าง ๆ ก็ไม่สะดวกคล่องตัวเท่าใดนัก อีกทั้งยังลามไปถึงการนอนหลับพักผ่อน ก่อให้เกิดภาวะง่วงนอนตลอดวัน อันเนื่องมาจากการหลับไม่สนิท ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะคัดจมูก คือการอักเสบของเยื่อบุโพรงจมูกด้านใน หรือผนังกั้นจมูก โดยผู้ป่วยมักมีอาการจาม น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ และหายใจไม่สะดวก เป็นต้น การรักษาภูมิแพ้ภาวะคัดจมูกเรื้อรัง แพทย์เฉพาะทางหู คอ จมูก จะตรวจร่างกายเพื่อวินิจฉัยภาวะคัดจมูกเรื้อรัง ว่ามาจากสาเหตุใด และให้การรักษาอย่างเหมาะสมตามสาเหตุ อาทิ ควบคุมภูมิแพ้ในผู้ป่วยที่มีสาเหตุมาจากภูมิแพ้ รักษาการติดเชื้อในกรณีมีอาการอักเสบติดเชื้อภายในช่องจมูก ผ่าตัดแก้ไขสันจมูกในกรณีที่สันจมูกคดมาก การรักษาด้วยเทคนิคที่เรียกว่า “RF (Radiofrequency) หรือ การรักษาด้วยคลื่นความถี่วิทยุ”โดยการรักษาด้วยเทคนิค RF แพทย์จะใช้เข็มลักษณะพิเศษใส่เข้าไปในเยื่อบุโพรงจมูกคนไข้ จากนั้นคลื่นวิทยุจะเปลี่ยนแปลงเป็นพลังงานความร้อน เยื่อบุโพรงจมูกจะสร้างพังผืดและหดตัวลง ส่งผลให้ช่องขนาดโพรงจมูกใหญ่ขึ้น ผู้ป่วยจึงสามารถหายใจได้โล่งและสะดวกยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การรักษาด้วยคลื่นวิทยุ RF ยังช่วยให้อาการคันจมูก น้ำมูกไหล หรือเสมหะลงคอ ลดลงด้วยเช่นเดียวกัน และกรณีที่ผู้ป่วยเกิดอาการคัดจมูกเนื่องจากเยื่อบุจมูกบวมโตอีกครั้ง สามารถรักษาด้วยวิธีการดังกล่าวซ้ำได้ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่แผนกหู คอ จมูก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

เยื่อแก้วหูทะลุ (Ruptured eardrum)

เยื่อแก้วหูทะลุ (Ruptured eardrum)

เยื่อแก้วหูทะลุ (Ruptured eardrum) เยื่อแก้วหูทะลุ อาจเกิดจากการอักเสบของหูชั้นกลางได้ และที่พบบ่อยคือแก้วหูทะลุ จากการได้รับบาดเจ็บ เช่น ถูกไม้แคะหูแทงทะลุ การกระทบกระเทือนจากการถูกตีหรือถูกกระแทก การถูกเสียงดัง ๆ เช่น เสียงพุ ประทัด ระเบิด เป็นต้น อาการ หูอื้อ หูตึง ทันทีทันใดหลังได้รับบาดเจ็บ บางรายมีอาการปวดหู มีเลือดไหลออกจากหู โรคแทรกซ้อน หากไม่รักษา จะทำให้เกิดการอักเสบทำให้เป็นโรคหูน้ำหนวกได้ การรักษา กรณีรูทะลุขนาดเล็ก อาจปิดได้เองภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่ต้องได้รับยาปฏิชีวนะร่วมด้วย หากรูทะลุเป็นรูกว้าง อาจต้องผ่าตัดทำเยื่อแก้วหูเทียม (Tympanoplasty) ***ผุ้ที่เยื่อแก้วหูทะลุ ห้ามดำน้ำ ห้ามเล่นน้ำ ต้องระวังอย่าให้น้ำเข้าหูโดยเด็ดขาด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คลินิกหู คอ จมูก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร. 039-319896

ทอนซิลอักเสบ

ทอนซิลอักเสบ

ทอนซิลอักเสบ ต่อมทอนซิล(tonsils)เป็นกลุ่มของเนื้อเยื่อประเภทต่อมน้ำเหลือง มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ภายในต่อมมีเม็ดเลือดขาวหลายชนิด หน้าที่หลักคือ จับและทำลายเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายทางทางเดินอาหาร หน้าที่รองลงมาคือ สร้างภูมิคุ้มกัน ต่อมทอนซิลพบได้หลายตำแหน่ง ต่อมที่เราเห็นจะอยู่ด้านข้างของช่องปาก มีชื่อเรียกว่า พาลาทีนทอนซิล (palatine tonsil)นอกจากนั้นต่อมทอนซิลยังพบได้บริเวณโคนลิ้น(lingual tonsil)และช่องหลังโพรงจมูก(adenoid tonsil) ทอนซิลอักเสบ(tonsillitis)เป็นภาวะอักเสบของต่อมทอนซิลส่วน\"คออักเสบ\"(pharyngitis)มักใช้เรียกภาวะอักเสบของเนื้อเยื่อในลำคอที่อยู่บริเวณหลังช่องปากเข้าไป บางครั้งภาวะทั้งสองอาจเกิดพร้อมกันได้ ส่วนใหญ่แล้วโรคต่อมทอนซิลพบมากที่สุดในเด็กอายุก่อน10ปี เพราะหลัง10ปีไปแล้วต่อมทอนซิลจะทำงานน้อยลงหรือไม่ทำงานเลย แต่ในผู้ใหญ่อายุน้อยกว่า 20ปี ก็ยังเป็นโรคต่อมทอนซิลอักเสบได้ ส่วนใหญ่มักจะไม่พบทอนซิลอักเสบในคนไข้วัยกลางคนไปแล้ว ผู้ป่วยที่มีทอนซิลอักเสบเฉียบพลันจะมีอาการไข้ หนาวสั่น เจ็บคอ กลืนลำบาก โดยเฉพาะ เวลากลืนอาหารจะเจ็บมาก คนไข้เด็กจะมีอาการน้ำลายไหล เพราะกลืนลำบากทำให้น้ำลายจะไหลลงไปไม่ได้ ก็จะไหลออกมา หรือคนไข้เจ็บคอมาก ๆ อาจมีอาการอาเจียนหลังจากรับประทานอาหาร เพราะการรับประทานอาหารจะรบกวนลำคอที่เจ็บอยู่ โรคทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน อาจเกิดจากการติดเชื้อไวรัสและแบคทีเรีย พบเชื้อรา หรือเชื้อวัณโรคได้น้อย โรคทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน ในเด็กก่อนวัยเรียนมักจะเกิดจากเชื้อไวรัส และติดต่อกันได้ง่าย เพราะไม่รู้จักการป้องกัน การติดต่อเกิดจากการหายใจ ไอ จาม ใช้ภาชนะที่รับประทานอาหาร หรือดื่มน้ำรวมกัน ส่วนโรคทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน ในเด็กโตและผู้ใหญ่มักจะเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย การรักษาทอนซิลอักเสบเฉียบพลัน แพทย์จะพิจารณาให้การรักษาตามอาการ เช่น ให้ยาบรรเทาอาการเจ็บคอ ยาลดน้ำมูก ลดไข้ ให้ยาต้านจุลชีพ หรือยาแก้อักเสบ เพื่อกำจัดเชื้อต้นเหตุถ้าการอักเสบนั้นเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ควรรับประทานยาดังกล่าวให้นานพอ 7-10 วัน ซึ่งในปัจจุบันยาในกลุ่มเพนนิซิลินยังใช้ได้ผลดี ยกเว้นเชื้อบางกลุ่มที่พบว่าดื้อยาแล้ว แพทย์จึงจำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะที่แรงขึ้น ในรายที่มีอาการมาก ๆ เช่น เจ็บคอมากจนรับประทานอาหารไม่ได้และมีไข้สูง แพทย์อาจแนะนำให้นอนพักรักษาในโรงพยาบาล เพื่อให้น้ำเกลือ และยาต้านจุลชีพทางหลอดเลือดดำ ซึ่งจะทำให้อาการทุเลาดีขึ้นเร็วกว่าการให้ยากลับไปรับประทานที่บ้าน หากแพทย์พิจารณาว่า มีสาเหตุมาจากไวรัส ก็จะให้ยาตามอาการเท่านั้น เพราะยาต้านจุลชีพ ไม่สามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้ ถ้าผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษา การอักเสบของต่อมทอนซิล อาจจะกระจายกว้างออกไป จนเกิดเป็นหนองบริเวณรอบต่อมทอนซิล(peritonsillar abscess)แล้วอาจลุกลามผ่านช่องคอเข้าสู่ช่องปอดและหัวใจได้ นอกจากนั้น เชื้อแบคทีเรีย อาจเข้ากระแสเลือดแล้วกระจายไปทั่วร่างกาย ซึ่งเป็นภาวะที่อันตรายอย่างมาก เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ โรคทอนซิลอักเสบเฉียบพลันที่เกิดจากเชื้อสเตร็ปโตคอคคัส(Streptococcus)สามารถทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนของโรคหัวใจ และโรคไตได้ การปฏิบัติตัวที่ถูกต้องของผู้ป่วยมีส่วนทำให้อาการดีขึ้นเร็ว ถ้ามีอาการเจ็บคอหรือระคายคอร่วมด้วย ควรรับประทานอาหารอ่อน ๆ เช่น โจ๊ก หรือข้าวต้มที่ไม่ร้อนจนเกินไป หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเผ็ด หรือรสจัด หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการใช้เสียงชั่วคราว ควรพยายามทำความสะอาดคอบ่อย ๆ โดยเฉพาะหลังรับประทานอาหาร ด้วยการแปรงฟันหรือกลั้วคอด้วยน้ำยาบ้วนปาก,น้ำเกลืออุ่น ๆ หรือน้ำเปล่าหลังอาหารทุกมื้อ เนื่องจากการที่ไม่รักษาความสะอาดในช่องปากให้ดี อาจมีเศษอาหารตกค้างในช่องปากและลำคอ ทำให้ทอนซิลอักเสบมากขึ้นได้ น้ำยาบ้วนปากจะช่วยลดปริมาณของเชื้อแบคทีเรียได้บ้าง(ชั่วคราว)ในรายที่มีการอักเสบติดเชื้อบริเวณคอ น้ำยาบ้วนปากบางชนิด อาจมีส่วนผสมของยาลดการอักเสบหรือยาชา ช่วยลดอาการเจ็บคอได้ น้ำยาบ้วนปากมีหลายชนิด ควรเลือกใช้ชนิดที่ไม่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ หรือมีน้อยที่สุด เพื่อป้องกันการระคายเคืองต่อเยื่อบุช่องปาก หลีกเลี่ยงน้ำยาที่มีส่วนผสมของกรด เพราะจะทำให้ผิวฟันกร่อน เคลือบฟันบางลง และเกิดอาการเสียวฟันตามมาได้ ถ้าใช้แล้วรู้สึกว่ามีอาการเจ็บคอ หรือระคายคอมากขึ้นก็ไม่ควรใช้ ก่อนใช้ต้องศึกษาส่วนผสมและวิธีใช้ข้างขวดให้ดีก่อน ให้ใช้ในปริมาณพอเหมาะ ระยะเวลานานพอควร ถ้าเป็นแบบเข้มข้น ควรเจือจางเพื่อหลีกเลี่ยงอาการแสบร้อน ระคายคอ เราสามารถทำน้ำยาบ้วนปากได้เองง่าย ๆ โดยใช้เกลือป่นประมาณครึ่ง -1 ช้อนชาละลายในน้ำอุ่นค่อนแก้ว ใช้บ้วนปากได้ดี ประหยัด และปลอดภัย หากเป็นต่อมทอนซิลอักเสบเฉียบพลันบ่อย ๆ ต่อมทอนซิลจะโตขึ้น แล้วเปลี่ยนสภาพเป็นแบบเรื้อรัง และอาจมีการอักเสบอย่างเฉียบพลันเป็น ๆ หาย ๆ ได้ การที่ต่อมทอนซิลโตจะทำให้เกิดร่องหรือซอก ซึ่งเศษอาหารอาจเข้าไปตกค้างอยู่ได้ ทำให้เกิดการอักเสบยืดเยื้อออกไป โดยทั่วไป แพทย์จะพิจารณาตัดต่อมทอนซิล เมื่อ 1. เป็นภาวะต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรังที่รักษาด้วยยาไม่ได้ผล หรือเกิดการอักเสบปีละหลายครั้งหลายปีติดต่อกัน ทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่แย่ลง เช่น ต้องขาดงาน หรือขาดเรียนบ่อย 2. เมื่อต่อมทอนซิลโตมาก ๆ ทำให้เกิดอุดกั้นทางเดินหายใจ และมีอาการนอนกรน และ / หรือภาวะหยุดหายใจขณะหลับตามมา 3. ผู้ป่วยที่มีต่อมทอนซิลโต และแพทย์สงสัยว่าอาจเป็นมะเร็งของต่อมทอนซิลโดยตรง หรือมีมะเร็งที่ต่อมน้ำเหลืองบริเวณคอ แล้วหาตำแหน่งมะเร็งต้นเหตุไม่เจอ แต่แพทย์สงสัยว่าอาจเป็นมะเร็งที่มาจากต่อมทอนซิล การผ่าตัดเอาต่อมทอนซิลออก เป็นการกำจัดไม่ให้ต่อมทอนซิลติดเชื้อบ่อย สำหรับผู้ป่วยเด็กทางเดินหายใจก็จะโล่งขึ้นด้วย ในการตัดต่อมทอนซิลทิ้งไม่มีข้อเสีย เมื่อตัดทิ้งตามข้อบ่งชี้ที่ถูกต้องและเหมาะสม ต่อมทอนซิลที่ตัดทิ้งมักจะเป็นต่อมที่ไม่ทำงานแล้ว จึงไม่ฆ่าเชื้อโรค แต่จะเป็นแหล่งสะสมเชื้อโรคแทน เนื่องจากมีต่อมน้ำเหลืองในช่องคออีกมากมายที่ทำงานจับเชื้อโรคแทนต่อมทอนซิลได้ การผ่าตัดเอาต่อมทอนซิลออก จึงไม่ได้ทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกาย หรือของช่องปากลดลงแต่อย่างใด . สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกอายุรกรรม โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

เยื่อจมูกอักเสบเป็นหนอง (Purulent rhinitis)

เยื่อจมูกอักเสบเป็นหนอง (Purulent rhinitis)

เยื่อจมูกอักเสบเป็นหนอง (Purulent rhinitis) เยื่อจมูกอักเสบเป็นหนอง (Purulent rhinitis) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย หรืออาจพบในเด็กที่มีสิ่งแปลกปลอมเข้าจมูก อาการ คัดจมูก น้ำมูกข้นเป็นหนองสีเหลืองหรือเเขียว อาจหายใจมีกลิ่นเหม็นหรือปวดในรูจมูก เยื่อจมูกบวมแดง อาการแทรกซ้อน ไซนัสอักเสบ การรักษา รักษาด้วยยา หากมีสิ่งแปลกปลอมจะต้องนำสิ่งแปลกปลอมออก สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คลินิกหู คอ จมูก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร. 039-319896

Hospital Logo

ติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่

บริการให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง