เครียดมาก...เสี่ยงต่อมหมวกไตล้า

ด้วยภาระที่แต่ละคนแบกไว้บนบ่าไม่เหมือนกันและเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย ล้วนนำไปสู่ 'ภาวะเสพติดความเครียด' (Adrenal addict) และคนส่วนมากที่มีภาวะนี้ในระยะแรกมักจะไม่รู้ตัวเนื่องจากร่างกายมีความทนทานสูงต่อกับความเครียดที่เข้ามาในแต่ละวันได้ รู้ตัวอีกทีก็ล้มป่วย ติดเชื้อเฉียบพลันจนต้องเข้าโรงพยาบาล ทางการแพทย์เรียกอาการนี้ว่า 'ภาวะต่อมหมวกไตล้า' หรือ Adrenal fatigue

ซึ่งเป็นอาการผิดปกติของร่างกายอย่างหนึ่งที่มีความเครียดเรื้อรังเป็นตัวกระตุ้น  โรคนี้จัดอยู่ในกลุ่ม 'โรคที่ถูกลืม' เนื่องจากไม่สามารถวินิจฉัยได้อย่างทันท่วงที แม้แต่การตรวจสุขภาพทั่วไปยังไม่สามารถชี้ได้ชัดต่อการวินิจฉัยภาวะนี้ โดยต้องมีวัดระดับของฮอรโมนต่อมหมวกไต(Adrenal hormones)  2 ตัว ที่มีชื่อว่า คอร์ติซอล (Cortisol) และ ดีเอชอีเอ (Dyhydroepiandrosterone-DHEA) ซึ่งสามารถวัดได้จากผลเลือด Cortisol และ DHEAคือ ฮอร์โมนแห่ง'ความเครียด'ในร่างกายมนุษย์ ปัจจุบันนี้ การรักษาภาวะต่อมหมวกไตล้าจะมุ่งเน้นไปที่การปรับให้ฮอรโมน2ตัวนี้ให้อยู่ระดับที่สมดุล

 

อ้าว...แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเสี่ยงต่อภาวะต่อมหมวกไตล้า เช็กได้จากลิสต์ด้านล่าง หากติ๊กได้ ข้อแสดงว่ามีความเสี่ยงแล้วล่ะ

  • ขี้เกียจตื่นนอนตอนเช้า
  • อ่อนเพลีย ไม่มีแรง อยากงีบหลับ ช่วงกลางวัน
  • ง่วงแต่นอนไม่หลับ
  • มีอาการวิงเวียน ศีรษะ หน้ามือ เวลาเปลี่ยนท่าทาง (ลุก-นั่ง)
  • อยากของหวาน, ของเค็ม
  • ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ
  • ปวดประจำเดือนบ่อย
  • เป็นภูมิแพ้กำเริบบ่อยๆ
  • ท้องอืด อาหารไม่ย่อย 
  • ท้องผูก
  • เครียด ซึมเศร้า
  • คุมอาหาร ออกกำลังกายเป็นประจำแต่น้ำหนักไม่ลดลง
  • รู้สึก'ดีขึ้นทันที'เมื่อได้กินน้ำตาล
  •  ผิวแห้งและแพ้ง่าย

 

คำแนะนำสำหรับ คนที่มีภาวะต่อมหมวกไตล้า

  • นอนหลับให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชัวโมง ควรเข้านอนก่อน 5 ทุ่ม
  • รับประทานอาหารเช้า ก่อน 10.00 น. (หลัง 10.00น. ระดับCortisol จะลดลง ทำให้ยิ่งอ่อนเพลีย Cortisol จะทำงานดีขึ้นเมื่อมีน้ำตาลในเลือดเพียงพอ)
  • รับประทานมื้อเล็กๆและบ่อย ๆ แทนการทานอาหารมื้อหลัก ๆ เพียง1-2 มื้อ
  • ออกกำลังกายแบบหนักปานกลาง (Moderate intensity exercise) การออกกำลังกายที่หนักเกินไปจะส่งผลให้ต่อมหมวกไตล้ามากยิ่งขึ้น
  • หาวิธีคลายความเครียด เช่น หางานอดิเรกทำ เดินทางไปเที่ยว
  • อาหารเสริมและสมุนไพรบางชนิดสามารถช่วยลดอาการต่อมหมวกไตล้าได้ เช่น Ashwaghandha (โสมอินเดีย) L-theanine (สารสกัดจากชาเขียว) Phosphatidylserine (สารสกัดจากถั่วเหลือง) วิตามิน C วิตามิน B3 วิตามิน B5 วิตามิน B6

หรือจะลองใช้ “ดนตรีบำบัด” ที่ปัจจุบันมีการใช้ดนตรีบําบัดโรคทางจิตเวช ยกตัวอย่างพฤติกรรมถดถอย แยกตัวที่เป็นอาการในลักษณะเรื้อรังได้ ซึ่งคนที่ใช้ดนตรีบำบัดไม่จำเป็นว่าจะต้องป่วยอย่างเดียวเท่านั้น เพราะดนตรีบำบัดนอกจากจะช่วยผ่อนคลายความเครียดแล้ว ดนตรียังช่วยพัฒนา และผลักดันศักยภาพรวมถึงทักษะต่างๆ ให้ดีขึ้นเช่นกัน

 

แพทย์จะทำการรักษาโดย

  • เปิดเพลงจังหวะเร้าใจ ขยับตัวเข้าจังหวะ
  • การใช้ดนตรีแบบเคาะจังหวะ
  • ใช้อุปกรณ์เกิดเสียงให้ผู้ป่วยได้เขย่า หรือฟังเพลง
  • ให้ผู้ป่วยบอกถึงความรู้สึกที่ได้จากเพลง ทําตามนี้ครั้งละ 1-1.30 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 2 ครั้งหากทําได้ตามนี้ โดยผู้ป่วยจะกลับเข้าสู่สังคมได้อย่างรวดเร็วในชั่วโมงที่ 2 ของการบําบัด ผู้ป่วยที่รู้สึกเหงา เศร้าจะยิ้มแย้มได้หลังจากไม่เคยยิ้มมานานอีกด้วย

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : BDMD สถานีสุขภาพ