ไตวายเฉียบพลัน VS ไตวายเรื้อรัง

ไตวายเฉียบพลัน VS ไตวายเรื้อรัง แตกต่างกันอย่างไร? อะไรคือสัญญาณโรค?

“โรคไต” ภัยเงียบที่มีความรุนแรงและป่วยเรื้อรังสูง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ไตวายแบบเฉีบพลันและไตวายเรื้อรัง และ 2ชนิดนี้ต่างกันอย่างไร สัญญาณเตือนโรคมีหรือไม่และใครควรรับการตรวจไตเช็กโรคอย่างเร่งด่วน

จากรายงานของ The United States Renal Data System (USRDS) พบว่า ประเทศไทยเป็น 1 ใน 5 ประเทศที่มีอัตราการเกิดโรคไตสูงสุด คือมีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังถึง 11.6 ล้านคน ในจำนวนนี้มีมากกว่า 1 แสนคนที่ต้องล้างไต และหลายคนยังสับสนกับอาการไตวาย ที่มีทั้งอาการเรื้อรังและฉับพลัน วันนี้เรามาไขความลับโรคไตไปด้วยกัน เพื่อใช้เป็นไกด์นำทางสุขภาพที่ดีของทุกคน

อาการหรือโรคไตวาย แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่

ไตวายเฉียบพลัน คือภาวะที่ไตสูญเสียการทำงานอย่างรวดเร็ว โดยเกิดจากสาเหตุต่างๆ เช่น

  • ติดเชื้อในกระแสเลือดอย่างรุนแรง
  • โรคในระบบทางเดินปัสสาวะ
  • การได้รับสารพิษ ผลข้างเคียงจากยา การรับประทานยาเกินขนาด

รวมถึงผู้ป่วยอาการหนักจากโรคต่างๆ โดยที่ผู้ป่วยจะมีอาการแสดงตั้งแต่เริ่มแรกทั้งๆ ที่ไตยังไม่เสื่อม เช่น ผู้ป่วยจะมีอาการบวม ปัสสาวะเป็นสีน้ำล้างเนื้อ ตรวจปัสสาวะพบเม็ดโลหิตแดงและโปรตีนไข่ขาวปนออกมาด้วย และมีความดันโลหิตสูงผิดปกติ แม้ภาวะไตวายเฉียบพลันจะมีอันตรายถึงชีวิตได้ แต่หากผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีก็มีโอกาสที่ไตจะฟื้นกลับมาเป็นปกติได้

อาการของไตวายเฉียบพลัน

  • มีอาการบวมน้ำหรือขาดน้ำอย่างใดอย่างหนึ่ง
  • อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
  • ปัสสาวะน้อยกว่าปกติหรือมีสีผิดปกติ
  • เหนื่อยง่าย รู้สึกหวิวๆ หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • กล้ามเนื้อเป็นตะคริวตอนกลางคืน
  • น้ำท่วมปอด
  • มีภาวะซีด เลือดจาง

อย่างไรก็ตามอาการเหล่านี้เกิดภายในชั่วโมง วัน หรือสัปดาห์ ถ้ารักษาทันเวลาไตจะฟื้นฟูกลับมาเป็นปกติได้

ไตวายเรื้อรัง คือ ภาวะที่ไตเริ่มค่อยๆ สูญเสียการทำงานทีละน้อยอย่างต่อเนื่อง ทำให้ความสามารถในการทำงานของไตลดลง ซึ่งสาเหตุหลักๆ ของความเสื่อม คือ

ข้อสังเกตคือ ในระยะแรกผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการผิดปกติออกมาให้เห็น ถ้าหากมาตรวจร่างกาย แพทย์จะไม่พบความผิดปกติใดๆ ทั้งสิ้น ยกเว้นกรณีถ้าตรวจปัสสาวะแล้วพบว่ามีเม็ดเลือดแดงและโปรตีนไข่ขาวปนออกมาในปัสสาวะด้วย หากไม่ได้รับการรักษาอาการก็จะค่อยๆ ลุกลาม จนในที่สุดการทำงานของไตจะเหลือเพียงร้อยละ 25 หรือ 1 ใน 4 ของปกติ ถึงตอนนั้นผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการโรคไตแสดงออกมาให้เห็นบ้าง และถ้าการทำงานของไตเสื่อมลงเหลือต่ำกว่าร้อยละ 10 ของปกติ ผู้ป่วยจะมีอาการแสดงออกมาชัดเจนทุกราย โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักตรวจพบโรคเมื่อประสิทธิภาพการทำงานของไตลดลงไปมาก และนำไปสู่ภาวะไตวายที่ไม่สามารถรักษาให้ไตกลับมาทำงานเป็นปกติได้อีกต่อไป

อาการของไตวายเรื้อรัง

  • เพลีย เหนื่อยหอบ
  • ปัสสาวะน้อยมาก
  • อาการบวม กดบุ๋มลง
  • คันตามตัว
  • เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน
  • หมดสติ เสียชีวิต

ทั้งนี้ ไตเริ่มสูญเสียการทำงานทีละน้อยอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานหลักเดือนหรือปี ไม่สามารถรักษาให้ไตกลับมาเป็นปกติได้

เพราะโรคไตเรื้อรังเกิดได้กับทุกเพศ ทุกวัย จึงควรได้รับการตรวจในทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะคนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูง ดังนี้

  • ผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเก๊าต์ ภาวะน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน
  • ผู้ที่สูบบุหรี่ประจำ หรือมีประวัติสูบบุหรี่มานาน
  • ผู้ได้รับยาสมุนไพร หรือสารพิษที่มีผลทำลายไตเป็นประจำ
  • คนในครอบครัวเป็นโรคไตเรื้อรัง
  • ผู้ที่มีอาการ ได้แก่ ใบหน้า ตัว หรือเท้าบวม ปวดหลัง ปวดเอว ปัสสาวะบ่อย แสบขัด มีเลือดปน หรือมีฟองผิดปกติ เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ตรวจพบความดันโลหิตสูง
  • ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง และอายุเกิน 40 ปี
  • ผู้ที่เคยมีประวัติเป็นนิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ

การตรวจคัดกรองการเกิดโรคไตเป็นการป้องกันก่อนการเกิดโรคที่ดีที่สุด หากพบความเสี่ยงของการเกิดโรคตั้งแต่ยังไม่เกิดโรค จะได้รีบป้องกันอย่างถูกวิธีเพื่อลดความเสี่ยงลง หรือยืดระยะเวลาการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคได้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

บทความที่เกี่ยวข้อง

กรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis)

กรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis)

กรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis) กรวยไตอักเสบ เป็นการติดเชื้อแบคทีเรียที่เกิดขึ้นในบริเวณกรวยไต แบ่งเป็น ชนิดเฉียบพลัน และชนิดเรื้อรัง โดยชนิดเรื้อรังมักไม่แสดงอาการที่ชัดเจนใด ๆ ในที่นี้จึงจะขอกล่าวถึงกรวยไตอักเสบเฉียบพลันเป็นหลัก กรวยไตอักเสบเฉียบพลัน เกิดจากการติดเชื้ออักเสบบริเวณกรวยไต ส่วนมากเชื้อแพร่กระจายมาจากผิวหนังรอบ ๆ ท่อปัสสาวะผ่านไปจนถึงกรวยไต สาเหตุที่พบบ่อย นิ่วในทางเดินปัสสาวะ ต่อมลูกหมากโต กระเพาะปัสสาวะไม่ทำงานในผู้ป่วยอัมพาต การตั้งครรภ์หรือมีก้อนในช่องท้อง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกโรคไต โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

เครียดมาก...เสี่ยงต่อมหมวกไตล้า

เครียดมาก...เสี่ยงต่อมหมวกไตล้า

เครียดมาก...เสี่ยงต่อมหมวกไตล้า ด้วยภาระที่แต่ละคนแบกไว้บนบ่าไม่เหมือนกันและเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย ล้วนนำไปสู่ 'ภาวะเสพติดความเครียด' (Adrenal addict) และคนส่วนมากที่มีภาวะนี้ในระยะแรกมักจะไม่รู้ตัวเนื่องจากร่างกายมีความทนทานสูงต่อกับความเครียดที่เข้ามาในแต่ละวันได้ รู้ตัวอีกทีก็ล้มป่วย ติดเชื้อเฉียบพลันจนต้องเข้าโรงพยาบาล ทางการแพทย์เรียกอาการนี้ว่า 'ภาวะต่อมหมวกไตล้า' หรือ Adrenal fatigue ซึ่งเป็นอาการผิดปกติของร่างกายอย่างหนึ่งที่มีความเครียดเรื้อรังเป็นตัวกระตุ้น โรคนี้จัดอยู่ในกลุ่ม 'โรคที่ถูกลืม' เนื่องจากไม่สามารถวินิจฉัยได้อย่างทันท่วงที แม้แต่การตรวจสุขภาพทั่วไปยังไม่สามารถชี้ได้ชัดต่อการวินิจฉัยภาวะนี้ โดยต้องมีวัดระดับของฮอรโมนต่อมหมวกไต(Adrenal hormones) 2 ตัว ที่มีชื่อว่า คอร์ติซอล (Cortisol) และ ดีเอชอีเอ (Dyhydroepiandrosterone-DHEA) ซึ่งสามารถวัดได้จากผลเลือด Cortisol และ DHEAคือ ฮอร์โมนแห่ง'ความเครียด'ในร่างกายมนุษย์ ปัจจุบันนี้ การรักษาภาวะต่อมหมวกไตล้าจะมุ่งเน้นไปที่การปรับให้ฮอรโมน2ตัวนี้ให้อยู่ระดับที่สมดุล อ้าว...แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเสี่ยงต่อภาวะต่อมหมวกไตล้า เช็กได้จากลิสต์ด้านล่าง หากติ๊กได้ 5 ข้อแสดงว่ามีความเสี่ยงแล้วล่ะ ขี้เกียจตื่นนอนตอนเช้า อ่อนเพลีย ไม่มีแรง อยากงีบหลับ ช่วงกลางวัน ง่วงแต่นอนไม่หลับ มีอาการวิงเวียน ศีรษะ หน้ามือ เวลาเปลี่ยนท่าทาง (ลุก-นั่ง) อยากของหวาน, ของเค็ม ปัสสาวะบ่อยผิดปกติ ปวดประจำเดือนบ่อย เป็นภูมิแพ้กำเริบบ่อยๆ ท้องอืด อาหารไม่ย่อย ท้องผูก เครียด ซึมเศร้า คุมอาหาร ออกกำลังกายเป็นประจำแต่น้ำหนักไม่ลดลง รู้สึก'ดีขึ้นทันที'เมื่อได้กินน้ำตาล ผิวแห้งและแพ้ง่าย คำแนะนำสำหรับ คนที่มีภาวะต่อมหมวกไตล้า นอนหลับให้เพียงพออย่างน้อย 6 ชัวโมง ควรเข้านอนก่อน 5 ทุ่ม รับประทานอาหารเช้า ก่อน 10.00 น. (หลัง 10.00น. ระดับCortisol จะลดลง ทำให้ยิ่งอ่อนเพลีย Cortisol จะทำงานดีขึ้นเมื่อมีน้ำตาลในเลือดเพียงพอ) รับประทานมื้อเล็กๆและบ่อย ๆ แทนการทานอาหารมื้อหลัก ๆ เพียง1-2 มื้อ ออกกำลังกายแบบหนักปานกลาง (Moderate intensity exercise) การออกกำลังกายที่หนักเกินไปจะส่งผลให้ต่อมหมวกไตล้ามากยิ่งขึ้น หาวิธีคลายความเครียด เช่น หางานอดิเรกทำ เดินทางไปเที่ยว อาหารเสริมและสมุนไพรบางชนิดสามารถช่วยลดอาการต่อมหมวกไตล้าได้ เช่น Ashwaghandha (โสมอินเดีย) L-theanine (สารสกัดจากชาเขียว) Phosphatidylserine (สารสกัดจากถั่วเหลือง) วิตามิน C วิตามิน B3 วิตามิน B5 วิตามิน B6 หรือจะลองใช้ “ดนตรีบำบัด” ที่ปัจจุบันมีการใช้ดนตรีบําบัดโรคทางจิตเวช ยกตัวอย่างพฤติกรรมถดถอย แยกตัวที่เป็นอาการในลักษณะเรื้อรังได้ ซึ่งคนที่ใช้ดนตรีบำบัดไม่จำเป็นว่าจะต้องป่วยอย่างเดียวเท่านั้น เพราะดนตรีบำบัดนอกจากจะช่วยผ่อนคลายความเครียดแล้ว ดนตรียังช่วยพัฒนา และผลักดันศักยภาพรวมถึงทักษะต่างๆ ให้ดีขึ้นเช่นกัน แพทย์จะทำการรักษาโดย เปิดเพลงจังหวะเร้าใจ ขยับตัวเข้าจังหวะ การใช้ดนตรีแบบเคาะจังหวะ ใช้อุปกรณ์เกิดเสียงให้ผู้ป่วยได้เขย่า หรือฟังเพลง ให้ผู้ป่วยบอกถึงความรู้สึกที่ได้จากเพลง ทําตามนี้ครั้งละ 1-1.30 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 2 ครั้งหากทําได้ตามนี้ โดยผู้ป่วยจะกลับเข้าสู่สังคมได้อย่างรวดเร็วในชั่วโมงที่ 2 ของการบําบัด ผู้ป่วยที่รู้สึกเหงา เศร้าจะยิ้มแย้มได้หลังจากไม่เคยยิ้มมานานอีกด้วย ขอขอบคุณข้อมูลจาก : BDMD สถานีสุขภาพ

กรวยไตอักเสบเรื้อรัง

กรวยไตอักเสบเรื้อรัง

กรวยไตอักเสบเรื้อรัง กรวยไตอักเสบเรื้อรังเกิดเกี่ยวเนื่องกับการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณกรวยไต ซึ่งมักไม่แสดงอาการใด ๆ ผู้ป่วยมักมาตรวจปัสสาวะด้วยเรื่องอื่นแต่บังเอิญพบเชื้อแบคทีเรียในปัสสาวะ หากผู้ป่วยกรวยไตอักเสบเรื้อรังเป็นเวลานานมาก เซลล์ไตจะถูกทำลายจนเกิดเป็นภาวะไตวายเรื้องรังได้ โดยจะทำให้ผู้ป่วยซีด อ่อนเพลีย ความดันโลหิตสูง การรักษา หากสงสัยเป็นโรคกรวยไตอักเสบเรื้อรัง จำเป็นต้องพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อวินิจฉัยร่วมกับการตรวจพิเศษต่าง ๆ ซึ่งหากพบปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดภาวะกรวยไตอักเสบแพทย์อาจจะพิจารณารักษาเป็นราย ๆ ไปตามสาเหตุ อาจต้องให้ยาปฏิชีวนะ และติดตามดูอาการเป็นระยะ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกโรคไต โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

โรคไตเนโฟรติก (Nephrotic syndrome)

โรคไตเนโฟรติก (Nephrotic syndrome)

โรคไตเนโฟรติก (Nephrotic syndrome) โรคไตเนโฟรติก พบได้ในทุกเพศทุกวัย แต่มักพบในเด็ก มักเป็นเรื้อรังหรือเป็น ๆ หาย ๆ เป็นสาเหตุโรคไตเรื้อรังที่พบได้บ่อย สาเหตุ โรคไตเนโฟรติก เกิดจากร่างกายมีการสูญเสียโปรตีนออกไปทางปัสสาวะ เนื่องจากความผิดปกติของหน่วยไตที่ทำหน้าที่กรองปัสสาวะ ทำให้มีระดับโปรตีนในเลือดต่ำ จึงเกิดอาการบวมทั้งตัว โดยทั่วไปมักไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด แต่ในบางรายมักเกิดร่วมในผู้ที่มีประวัติการเจ็บป่วย ดังนี้ โรคหน่วยไตอักเสบ โรคเอสเอลอี ซิฟิลิส ผึ้งต่อย แพ้สารหรือยาบางชนิด อาการ บวมทั่วตัว ทั้งที่ใบหน้า หนังตา ท้อง และเท้า 2 ข้าง มักบวมเพิ่มขึ้น ๆ ทีละน้อย (ส่วนน้อยเกิดขึ้นแบบเฉียบพลัน) ปัสสาวะสีใสปกติ แต่จะออกน้อยกว่าปกติ ผู้ป่วยอาจมีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ภาวะแทรกซ้อนของโรคไตเนโฟรติก ติดเชื้อง่าย จากภูมิคุ้มกันต่ำ ไตวาย การรักษา หากสงสัยว่าผู้ป่วยเป็นโรคไตเนโฟรติก ควรให้พบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษาโรคอย่างถูกต้องเหมาะสมทันท่วงที ซึ่งการรักษาหลักจะเป็นการรักษาด้วยยา สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกโรคไต โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

หน่วยไตอักเสบเฉียบพลัน (Acute glomerulonephritis)

หน่วยไตอักเสบเฉียบพลัน (Acute glomerulonephritis)

หน่วยไตอักเสบเฉียบพลัน (Acute glomerulonephritis/AGN) หน่วยไตทำหน้าที่กรองของเสียและน้ำออกมาเป็นปัสสาวะ เมื่อหน่วยไตอักเสบจึงทำให้มีปัสสาวะออกน้อย มีของเสียคั่งอยู่ในเลือดมากกว่าปกติ รวมทั้งมีเม็ดเลือดเเดงและสารไข่ขาวรั่วออกมาในปัสสาวะ ทำให้เกิดอาการบวม และปัสสาวะออกมาเป็นสีแดง สาเหตุ มักพบหลังการติดเชื้อแบคทีเรียเบตาสเตรปโตค็อกคัส กลุ่มเอ เช่น ต่อมทอนซิลอักเสบ แผลอักเสบ พุพองตามผิวหนัง ประมาณ 1-4 สัปดาห์ โรคหน่วยไตอักเสบอาจพบร่วมกับโรคเอสเเอลอี ซิฟิลิส แพ้สารเคมี เป็นต้น อาการ ปัสสาวะสีแดงเหมือนน้ำล้างเนื้อ หรือน้ำหมาก ปัสสาวะออกน้อยผิดปกติ บวมที่หน้า หนังตา เท้า และท้อง มักมีอาการปวดศีรษะ มีไข้ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน หากอาการรุนแรง อาจมีอาการหอบเหนื่อย หรือชัก อาการแทรกซ้อน อาจมีความดันโลหิตสูงมากจนระดับความรู้สึกตัวเปลี่ยนแปลง ปอดบวมน้ำ ฟังปอดมีเสียงกรอบแกรบ หอบเหนื่อย หัวใจวาย ไตวายรุนแรง อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ การรักษา หากสงสัยเป็นหน่วยไตอักเสบ จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาในโรงพยาบาลอย่างจริงจัง เพื่อป้องกันการเสียหน้าที่ของไตอย่างถาวร และป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ซึ่งอาจเป็นอันจรายถึงชีวิต สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกโรคไต โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

Hospital Logo

ติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่

บริการให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง