5 อาหารทำลายกระดูก กินบ่อย เสี่ยงกระดูกบาง
การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบทั้ง 5 หมู่ ย่อมช่วยซ่อมแซมและส่งเสริมสุขภาพให้สมบูรณืแข็งแรง ห่างไกลโรค แต่ในทางกลับกัน หากเรารับประทานอาหารที่ที่ก่อผลกระทบกับร่างกายเป็นประจำ ก่อย่อมทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาได้ในระยะยาว
ในที่นี้จะขอกล่าวถึงอาหารที่มีผลกระทบต่อกระดูก หากรับประทานเป็นประจำอาจก่อให้เกิดปัญหากระดูกบางได้ในอนาคต 5 ชนิด ดังนี้
1.) แอลกอฮอล์
เมื่อคุณดื่มแอลกอฮอล์จะทำหน้าที่เหมือนตัวบล็อกแคลเซียม เข้าไปขัดขวางการดูดซึมแร่ธาตุที่เอาไว้สร้างกระดูก ที่คุณทานเข้าไป และการดื่มหนักจะเข้าไปขัดขวางการเปลี่ยนแปลงของกระดูกด้วย โดยเข้าไปป้องกันไม่ให้เซลล์สร้างกระดูกทำงาน
ดังนั้นการดื่มแอลกอฮอล์ไม่เพียงแต่จะทำให้กระดูกอ่อนแอลงเท่านั้น แต่เมื่อคุณกระดูกหัก ก็อาจเข้ารบกวนกระบวนการรักษาและฟื้นตัวของร่างกายให้ช้าลงได้ แนะนำว่าให้เลือกดื่มไวน์หรือเบียร์ที่มีแอลกอฮอล์ต่ำแทน เพราะมีรสชาติดีพอๆ กัน และไม่ได้ทำลายกระดูกของคุณเท่ากับการดื่มเครื่องดื่มที่มีปริมาณแอลกอฮอล์สูง อย่างไรก็ตามอยากให้ดื่มวันละ 1 แก้วพอ จากนั้นให้เปลี่ยนมาดื่มน้ำเปล่า ชา หรือ ผลไม้ ต่อจะดีที่สุด
2.) น้ำอัดลม
ความซ่าของน้ำอัดลมมักมาจากกรดฟอสฟอริก ซึ่งเพิ่มปริมาณการขับแคลเซียมของร่างกายออกมาผ่านปัสสาวะ ในเวลาเดียวกันแม้น้ำอัดลมจะช่วยเติมเต็มตอบสนองความกระหายของคุณได้ แต่กลับไม่ให้สารอาหารอะไรเหมือนที่คุณได้รับจากนมหรือน้ำผลไม้เลย
แล้วแบบนี้ เราควรจะดื่มอะไรแทน? แน่นอนว่า นมหรือนมถั่วเหลือง จะดีกว่า เพราะช่วยเสริมแคลเซียมและวิตามินดี หรือใครที่ไม่ชอบดื่มนมเหล่านี้ ก็อาจเลือกดื่ม น้ำส้ม สมูทตี้ผลไม้ที่ทำจากโยเกิร์ตแทน เพราะมีแคลเซียมและวิตามินดีสูง
3.) เกลือ
รู้หรือไม่ว่าเมื่อเวลาผ่านไป เกลือจะค่อยๆ ดึงแคลเซียมออกไปจากกระดูกของคุณ นักโภชนาการจึงเตือนเอาไว้ว่า ทุกๆ 2,300 มิลลิกรัมของโซเดียม (เกลือ) ที่เราทานเข้าไป คุณจะสูญเสียแคลเซียมไปประมาณ 40 มิลลิกรัม
อาหารสไตล์อเมริกันของเรามีโซเดียมมากกว่าปกติ ดังนั้นถ้าเราทานอาหารแบบนี้บ่อยๆ เช่น ซุปกระป๋อง อาหารแช่แข็ง พิซซ่า หรือ อาหารจานด่วน จะเหมือนกับเราทานโซเดียมไปถึงวันละ 5,000 มิลลิกรัม ซึ่งมากกว่าปริมาณที่แนะนำถึง 2 เท่า ด้วยอาหารทำเอง เราสามารถควบคุมปริมาณโซเดียมได้ ถ้าเราเลือกทานอาหารประเภทนี้ จะคิดเป็นปริมาณโซเดียมเพียง 25% ต่อปริมาณที่ควรได้รับต่อวันเท่านั้น แต่ที่ปริมาณโซเดียมที่เราได้รับมาเกินความต้องการ จะเห็นได้ว่ามาจากอาหารสำเร็จรูปทั้งนั้น
4.) น้ำมันไฮโดรเจน
กระบวนการเติมน้ำมันไฮโดรเจน ซึ่งเปลี่ยนน้ำมันพืชเหลวให้เป็นน้ำมันที่ใช้ในการทำอาหารเชิงพาณิชย์ ทำลายวิตามินเคที่พบตามธรรมชาติในน้ำมัน ซึ่งสารอาหารนี้เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อเสริมสร้างกระดูกที่แข็งแรง
น้ำมันพืช เช่น คาโนลา และ น้ำมันมะกอก เป็นแหล่งอาหารที่ดีที่สุดอันดับสองของสารอาหารหลักนี้ รองจากผักใบเขียว ดังนั้นคุณควรหลีกเลี่ยงเบเกอรรี่และอาหารที่ใช้น้ำมันที่ต้องผ่านกระบวนการเติมน้ำมันไฮโดรเจน โดยลงมือทำอาหารเองหรือหาซื้อจากร้านที่ไม่ได้ใช้น้ำมันไฮโดรเจน
อย่าลืมว่าปริมาณวิตามินเคในน้ำมันที่มีประโยชน์ยังมีน้อยอยู่ น้ำมันคาโนลาหนึ่งช้อนโต๊ะมี 20 ไมโครกรัม ในขณะที่ผักโขมหนึ่งหน่วยบริโภคมี 120 ไมโครกรัม จึงอยากแนะนำให้คุณกินผักใบเขียวมาก ๆ คุณจะได้รับวิตามินเคสูงอย่างไม่น่าเชื่อเลยทีเดียว
5.) อาหารที่อุดมด้วยวิตามินเอ
การวิจัยเมื่อเร็วๆนี้ แสดงให้เห็นว่า แม้ว่าปริมาณวิตามินเอโดยเฉลี่ยที่พบในไข่ ผลิตภัณฑ์นมไขมันสูง ตับ และ อาหารเสริมวิตามิน จะมีประโยชน์ต่อการมองเห็นและระบบภูมิคุ้มกัน แต่คุณอาจได้รับสิ่งที่ดีมากเกินไป โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มสตรีวัยหมดประจำเดือนดูเหมือนจะไวต่อวิตามินเอมากเป็นพิเศษ การศึกษาอีกชิ้นหนึ่งพบว่า ผู้หญิงที่ได้รับวิตามินเอมากกว่า 5,000 หน่วย จะมีอัตราการแตกหักของกระดูกมากกว่า 2 เท่า ของผู้หญิงที่ได้รับวิตามินเอน้อยกว่า 1,600 หน่วยต่อวัน
อาหารสไตล์อเมริกันมีวิตามินเอสูงตามธรรมชาติ และวิตามินรวมส่วนใหญ่ ก็มีวิตามินเอสูงด้วย ดังนั้นจึงเป็นไปได้ที่จะได้รับวิตามินเอมากกว่าปริมาณที่นักโภชนาการแนะนำต่อวัน คือ 5,000 หน่วย
ผู้เชี่ยวชาญจึงอยากให้ทุกคนหันมาทานผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำหรือไขมัน 0% แทนจะดีกว่า หรืออาจกินไข่ขาวแทนไข่ทั้งฟอง (วิตามินเอทั้งหมดอยู่ในไข่แดง) ก็ได้ และอย่าลืมเช็กฉลากวิตามินรวมของคุณกันด้วย ถ้ามีวิตามินเอสูงให้รีบเปลี่ยนไปใช้วิตามินรวมที่ไม่มีวิตามินเอผสมอยู่
ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ