ทำไมคนรุ่นใหม่เป็นโรคหัวใจมากขึ้น

ทำไมคนรุ่นใหม่เป็นโรคหัวใจมากขึ้น

โรคหัวใจ (Heart Disease) หลายคนคงนึกว่าเหมารวมเพียงแต่โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ หรือ ภาวะหัวใจวายเฉียบพลัน เนื่องจากเป็นโรคที่พบบ่อยที่สุดในบรรดากลุ่มโรคหัวใจ จากการรายงานสถิติขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในปี 2563 พบว่า กลุ่ม "โรคหัวใจ" และหลอดเลือดเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนทั่วโลก หรือประมาณ 17.9 ล้านคน และจากสถิติในประเทศไทย พบผู้เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมากถึง 6 หมื่นรายต่อปี เฉลี่ยชั่วโมงละ 2 คน นอกจากนี้ยังมีโรคที่เกิดขึ้นกับหัวใจได้อีกมากมาย อาทิ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และโรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ เป็นต้น

รู้หรือไม่ ? ทำไมคนรุ่นใหม่ถึงเป็นโรคหัวใจมากขึ้น

ในอดีตโรคหลอดเลือดหัวใจมักเกิดในผู้สูงอายุ แต่ปัจจุบันเราพบว่าหนุ่มสาววัยทำงานนั้นมีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากหลายปัจจัย โดยเฉพาะไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไป ทำให้มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลง ขาดการออกกำลังกาย อยู่ในภาวะเครียด พักผ่อนน้อย ยิ่งหากใครที่สายปาร์ตี้ด้วยแล้วยิ่งเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจมากขึ้นไปอีก

ส่วนปัจจัยที่นอกเหนือจากพฤติกรรมก็มีอยู่บ้าง เช่น

สัญญาณเตือน “โรคหัวใจ”

  • เหนื่อยง่ายเวลาออกแรง เดินเร็วๆ หรือออกกําลังกาย
  • หายใจเข้าลำบาก อาจจะเป็นตลอดเวลา เป็นขณะออกกำลังกาย ตอนใช้แรงมากๆ หรือเป็นเฉพาะในเวลากลางคืนขณะพักผ่อน
  • เจ็บหน้าอกหรือแน่นบริเวณกลางอก เจ็บหน้าอกด้านซ้ายบริเวณหัวใจหรือทั้ง 2 ข้างจนไม่สามารถนอนราบได้ตามปกติ เพราะจะรู้สึกเหนื่อยเวลาหายใจและอึดอัดตรงหน้าอก
  • หายใจหอบ จนบางครั้งต้องตื่นขึ้นมาหอบกลางดึก
  • เป็นลมหมดสติโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ขาหรือเท้าบวมโดยไม่ทราบสาเหตุ ปลายมือ ปลายเท้า และริมฝีปากมีสีเขียวคล้ำ

หากมีอาการดังกล่าวแล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคหัวใจหรือไม่ ?

  • อาศัยการซักประวัติ สอบถามอาการและปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่น่าสงสัย
  • ตรวจร่างกายในทุกระบบที่เกี่ยวข้อง ฟังการเต้นของหัวใจ ตรวจระดับไขมันและหินปูนในหลอดเลือด
  • ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG) โดยใช้สื่อนำคลื่นไฟฟ้าขนาดเล็กมาติดตามที่หน้าอก แขนและขา โดยคลื่นไฟฟ้าหัวใจจะแสดงออกมาเป็นกราฟ ซึ่งแพทย์จะอ่านผลและวินิจฉัยความผิดปกติที่เกิดขึ้นได้
  • ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise Stress Test: EST) คือการให้ผู้เข้ารับการตรวจเดินหรือวิ่งบนสายพานเพื่อกระตุ้นให้หัวใจเต้นแรงขึ้น ผลจะแสดงออกมาเป็นกราฟคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  • ตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiography) สำหรับผู้ที่ไม่พร้อมทดสอบด้วยการวิ่งบนสายพาน เช่น ผู้สูงอายุ ผู้มีปัญหาด้านการเดิน เป็นการตรวจเพื่อดูกายวิภาคของหัวใจ ความหนาของผนังหัวใจ การเคลื่อนที่และการบีบตัว ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคหัวใจได้เกือบทุกประเภท
  • ตรวจหัวใจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ความเร็วสูง (CT Coronary Artery) เพื่อวิเคราะห์หาเส้นเลือดที่ตีบ-ตัน หรือความผิดปกติอื่นๆ ของหลอดเลือดหัวใจ

หากตรวจแล้วพบข้อสงสัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ การตรวจที่จะบอกได้แน่ชัดที่สุดว่ามีการตีบหรือใกล้ตันในจุดใด คือ การฉีดสีเพื่อดูเส้นเลือดหัวใจ ที่เรียกว่าการสวนหลอดเลือดหัวใจ นั่นเอง

ดูแลตัวเองให้ห่างไกลโรคหัวใจ

เพราะพฤติกรรมการใช้ชีวิตส่งผลต่อสุขภาพหัวใจโดยตรง ดังนั้นเราควรปรับพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ ซึ่งสามารถทำได้ ดังนี้

  • เลือกกินอย่างเหมาะสม ไม่หวาน ไม่มัน ไม่เค็มจนเกินไป กินผัก ผลไม้ที่มีกากใยให้มากขึ้น โดยเลือกชนิดที่น้ำตาลไม่สูง
  • ออกกำลังกายแบบคาร์ดิโออย่างสม่ำเสมอ เพื่อสร้างความแข็งแรงให้กับหัวใจ ช่วยลดไขมันเลว (LDL) และเพิ่มไขมันดี (HDL) ในหลอดเลือด
  • ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน เพราะการมีน้ำหนักตัวมากเกินไปเป็นปัจจัยสำคัญในเกิดโรคต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพหัวใจ เช่น ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน
  • งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงชา กาแฟ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสารเสพติดต่างๆ ที่จะทำให้เกิดความเสี่ยง
  • ทำจิตใจให้แจ่มใส หากรู้ตัวว่ามีความเครียดควรรีบหาวิธีกำจัดอย่างเหมาะสม
  • พักผ่อนนอนหลับให้เพียงพอ
  • เลือกตรวจสุขภาพประจำปีให้เหมาะสมตามช่วงวัยและความเสี่ยง

ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง

โรคความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตสูง หมายถึง ภาวะที่แรงดันของเลือดในหลอดเลือดมีค่าสูงเกินปกติ ค่าปกติควรน้อยกว่า 120/80 มิลลิเมตรปรอท หากมีค่าตั้งแต่ 120/80 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป ถือว่ามีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง เป็นสภาวะที่ต้องทําการควบคุม แต่ถ้าวัดความดันโลหิตตั้งแต่ 140/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป ถือว่ามีภาวะความดันโลหิตสูง ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง ปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ได้แก่ อายุที่มากขึ้น และการมีกรรมพันธุ์พ่อ แม่ พี่ น้อง เป็นโรคความดันโลหิตสูง ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมได้ ได้แก่ รับประทานอาหารที่มีรสเค็มจัด หวานจัด มันจัด ไขมันในเลือดผิดปกติ ภาวะเบาหวาน ขาดการออกกําลังกาย เป็นโรคอ้วนหรือน้ำหนักตัวเกิน เครียดเรื้อรัง สูบบุหรี่ และดื่มสุรา หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อาการเตือนโรคความดันโลหิตสูง ภาวะความดันโลหิตสูงส่วนมากจะไม่มีอาการเตือนจึงหมั่นตรวจวัดความดันโลหิตเป็นประจำสม่ำเสมอ ในผู้ป่วยบางรายก็อาจมีอาการเตือน เช่น ปวดมึนท้ายทอย วิงเวียน ปวด ศีรษะตุบๆ หากเป็นมานานหรือความดันสูงมากๆ มีอาการเลือดกําเดาไหล ตาพร่ามัว ใจสั่น มือเท้าชา ควรรีบไปพบแพทย์ ภาวะแทรกซ้อนเกิดจากความดันโลหิตสูง หัวใจ : อาจเกิดหัวใจโต และหลอดเลือดหัวใจหนาตัวและแข้งขึ้น ทําให้เกิดหัวใจขาดเลือดหรือหัวใจล้มเหลว สมอง : อาจเกิดหลอดเลือดในสมองอุดตันหรือแตกได้ เกิดอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเสียชีวิตทันที ตา : อาจเกิดเลือดออกที่ตา ตาพร่ามัวจนถึงตาบอดได้ หลอดเลือด : อาจทําให้เลือดไปเลี้ยงแขนขาและอวัยวะภายในน้อยลง การป้องกันโรคความดันโลหิตสูง เลิกสูบบุหรี่ และงดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ออกกําลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยวันละ 30-40 นาที สัปดาห์ละ 5 วัน ควบคุมน้ำหนักและรอบเอว ในผู้ชายรอบเอวน้อยกว่า 90 ซม. ส่วนในผู้หญิงรอบเอวน้อยกว่า 80 ซม. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสเค็ม จัดการกับความเครียดอย่างเหมาะสม พบแพทย์ตรวจสุขภาพเป็นประจําปี อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หลังฉีดวัคซีนกลุ่ม mRNA ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เป็น 1 ในอาการไม่พึงประสงค์หลังจากฉีดวัคซีนเชื้อเป็น (mRNA) ข้อมูลปัจจุบันพบเพียง 1 พันคนเท่านั้น พบมากในในวัยรุ่นทั้งชายและหญิงที่ฉีดเข็มกระตุ้นที่ 2 หากพบอาการดังต่อไปนี้ควรรีบพบแพทย์ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ (Myocarditis) คือ ภาวะที่ส่งผลต่อสัญญาณไฟฟ้าของหัวใจและอาจทำให้หัวใจเต้นเร็วหรือผิดปกติ (arrhythmia) นอกจากนี้ยังอาจส่งผลต่อความสามารถของหัวใจในการสูบฉีดเลือดและหมุนเวียนออกซิเจน ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้จากการฉีดวัคซีนแต่ผู้เชี่ยวชาญไม่แน่ใจว่ากลไกการเกิดโรคเกิดจากอะไร ปัจจุบันศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค และพันธมิตรกำลังติดตามรายงานเกี่ยวกับโรคกล้ามเนื้อหัวใจและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบการฉีดวัคซีน COVID-19 หลังฉีดวัคซีน mRNA COVID-19 (Pfizer-BioNTech หรือ Moderna) โดยเฉพาะในวัยรุ่นชายและวัยหนุ่มสาว พบได้มากขึ้นในการรับวัคซีนเข็มที่สอง ส่วนมากมีอาการไม่กี่วันหลังจากฉีดวัคซีน หากมีอาหารเหล่านี้ หลังการฉีดวัคซีน COVID-19ภายในหนึ่งสัปดาห์ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที ยังควรฉีดวัคซีนให้ตัวเองหรือลูกหรือไม่? ทางการแพทย์ยืนยันว่า “ยังควรฉีด” ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคยังคงแนะนำให้ทุกคนที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไปฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 เนื่องาจากความเสี่ยงที่เกิดจากการเจ็บป่วยจาก COVID-19 และภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ปัญหาสุขภาพในระยะยาว การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และแม้กระทั่งการเสียชีวิต นั้นมีมากกว่าความเสี่ยงที่อาจเกิดปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีน รวมถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ อย่างไรก็ตามหลังจากได้รับการรักษา ส่วนใหญ่มักมีการตอบสนองต่อยาได้ดี และอาการดีขึ้นอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยสามารถกลับไปทำกิจกรรมประจำวันตามปกติได้หลังจากที่อาการดีขึ้น ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบควรปรึกษากับแพทย์โรคหัวใจ เกี่ยวกับการกลับไปออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่หายเป็นปกติหลังจากได้รับการรักษาและพักผ่อน ผู้เชี่ยวชาญกำลังติดตามผลข้างเคียงแต่ยังต้องการการวิจัยเพิ่มเติมเพื่อให้ทราบว่าสาเหตุและผลกระทบในระยะยาวคืออะไร อาการโรคกล้ามเนื้อหัวใจและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ เจ็บหน้าอก หายใจหอบ รู้สึกหัวใจเต้นเร็ว หรือหัวใจเต้นแรง หากมีอาหารเหล่านี้ หลังการฉีดวัคซีน COVID-19ภายในหนึ่งสัปดาห์ควรพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที ยังควรฉีดวัคซีนให้ตัวเองหรือลูกหรือไม่? ทางการแพทย์ยืนยันว่า “ยังควรฉีด” ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคยังคงแนะนำให้ทุกคนที่มีอายุ 12 ปีขึ้นไปฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 เนื่องาจากความเสี่ยงที่เกิดจากการเจ็บป่วยจาก COVID-19 และภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ปัญหาสุขภาพในระยะยาว การเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และแม้กระทั่งการเสียชีวิต นั้นมีมากกว่าความเสี่ยงที่อาจเกิดปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีน รวมถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจากโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ สาเหตุภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ มักเกิดจากการติดเชื้อไวรัสหรือปฏิกิริยาของยา เกิดขึ้นได้กับทุกคน ทั้งผู้ใหญ่ เด็ก และทารก ในความเป็นจริง มีแนวโน้มที่จะภาวะนี้ในผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปีที่มีสุขภาพแข็งแรง และในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงประมาณ2เท่า โรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ มีตั้งแต่อาการน้อยถึงรุนแรง ยังส่งผลต่อเด็กแตกต่างกันในกรณีที่ไม่รุนแรง มีอาการดังต่อไปนี้ เจ็บหน้าอก หายใจถี่ ใจสั่น ขณะที่ในกรณีที่รุนแรงและควรพบแพทย์โดยด่วน เจ็บหน้าอก จังหวะการเต้นของหัวใจเร็วกว่าปกติหรือเต้นผิดปกติ หายใจถี่ ขณะพัก หรือระหว่างทำกิจกรรม อาการบวมที่ขา ข้อเท้า และเท้า ความเหนื่อยล้า อาการอื่นๆ อาจเป็นส่วนหนึ่งของการติดเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้อหัวใจตายได้ เช่น ปวดศีรษะ ปวดตามร่างกาย ปวดข้อ มีไข้ เจ็บคอ หรือท้องร่วง อาการกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบในเด็ก ได้แก่ ไข้ เป็นลม หายใจลำบาก หายใจเร็ว หัวใจเต้นเร็วหรือผิดปกติ หากคุณสังเกตเห็นอาการเหล่านี้ ให้แจ้งแพทย์ของคุณ หากเป็นเรื่องฉุกเฉิน โทร 1669 หรือไปโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด การวินิจฉัยตั้งแต่ระยะแรก เป็นกุญแจสำคัญสำหรับการรักษาที่เหมาะสม การฟื้นตัวเต็มที่ และการป้องกันปัญหาหัวใจในระยะยาว แพทย์ของคุณอาจทำการตรวจร่างกายและถามเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ของคุณ แพทย์อาจทำการทดสอบในห้องปฏิบัติการ ภาพถ่ายทางรังสี และการตรวจเกี่ยวกับการทำงานของหัวใจ เพื่อยืนยันว่าอาการรุนแรงเพียงใด แนวทางการรักษากล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ปกติภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจะดีขึ้นเองและคุณฟื้นตัวได้อย่างสมบูรณ์ ในบางกรณีคุณอาจต้องได้รับการรักษา เช่น ยาคอร์ติโคสเตียรอยด์หรือยาต้านไวรัส หากคุณเคยเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่ต้องใช้แรงกายอย่างหนัก เช่น เล่นกีฬาเป็นเวลาอย่างน้อย 3-6 เดือน ปรึกษากับแพทย์ของคุณก่อนที่จะกลับไปออกกำลังกายตามปกติหรือเล่นกีฬา ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

“ความดันโลหิตสูง” กับ "กล้ามเนื้อหัวใจหนา"

“ความดันโลหิตสูง” กับ "กล้ามเนื้อหัวใจหนา"

“ความดันโลหิตสูง” กับ "กล้ามเนื้อหัวใจหนา" หากปล่อยให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงนาน ๆ แล้วไม่รักษา เสี่ยงทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนา ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ ส่งผลทำให้หัวใจโตและเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวในที่สุด สาเหตุของภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนา กว่า 90% เกิดจากโรคความดันโลหิตสูง ทำให้ความดันในหลอดเลือดแดงสูงขึ้น กล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้ายทำงานหนักและหนาตัวขึ้น เลือดดีจากปอดและหัวใจห้องบนซ้ายไม่สามารถไหลลงหัวใจห้องล่างซ้ายได้ ส่งผลทำให้หัวใจโตและเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวในที่สุด อาการภาวะกล้ามเนื้อหัวใจไม่จำเป็นต้องมีอาการผิดปกติแต่ถ้าหากมีอาการ ส่วนใหญ่มักจะเป็นอาการเนื่องจากโรคที่เป็นสาเหตุ หรือผลแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น เช่น อาการปวดศีรษะ เวียนศีรษะ มึนงง หรือตามัว เหนื่อยง่ายกว่าปกติ การตรวจภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนา แพทย์ผู้รักษา สามารถให้การวินิจฉัยได้ โดยการซักประวัติ ตรวจร่างกายโดยละเอียด โดยเฉพาะการตรวจร่างกายระบบหัวใจและหลอดเลือด การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และการตรวจคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูงหัวใจ การรักษาภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนา การรักษาตามสาเหตุของโรค เช่น ถ้าสาเหตุเกิดจากโรคความดันโลหิตสูง จะรักษาโดยให้ควบคุมอาหารเค็ม รวมถึงการใช้ยาลดความดันโลหิต โดยต้องรับประทานยาต่อเนื่อง พร้อมติดตามความดันโลหิตเป็นระยะ เพื่อควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ และลดผลแทรกซ้อนระยะยาว ค่าความดันปกติ ค่าบนต้องไม่เกิน 120 มิลลิเมตรปรอทและค่าล่างต้องไม่เกิน 80 มิลลิเมตรปรอท ถ้าค่าความดันโลหิตค่าบนมากกว่า 140 มิลลิเมตรปรอทหรือค่าล่างมากกว่า 90 มิลลิเมตรปรอท ถือว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูง ทั้งนี้หากปล่อยทิ้งไว้หัวใจจะลดลง ทำให้เกิดโรคหัวใจระยะสุดท้ายและเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตได้ในที่สุด ขอบคุณข้อมูลจาก : ฺBDMS สถานีสุขภาพ

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายที่ไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายที่ไร้สัญญาณเตือน

หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน อันตรายที่ไร้สัญญาณเตือน ในขณะออกกำลังกายอย่างหนัก ร่างกายจะมีการเปลี่ยนแปลงมากมาย เช่น ระดับน้ำตาล โปรตีน และเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังทำให้เกล็ดเลือดมาเกาะเป็นกลุ่มกันมากขึ้น ซึ่งเป็นหนึ่งในสาเหตุที่อาจทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หากออกกำลังกายหักโหมเกินไป อย่างนักกีฬาอัลตรามาราธอน วิ่งระยะไกล ทุกวันนี้มีเทคโนโลยีตรวจความฟิตของร่างกายอย่าง VO2 max ที่ช่วยทดสอบสมรรถภาพร่างกายให้แก่นักกีฬาทุกคน ความเสี่ยงของ “ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันในคนออกกำลังกาย อันตรายที่ไร้สัญญาณเตือน แม้ว่าจะมีความเสี่ยงจะเกิดน้อย แต่เราก็ต้องรู้ไว้ เพราะปัญหาสุขภาพไม่เลือกเวลาและไม่เลือกคน ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันหรือ Sudden Cardiac Arrest เป็นภาวะที่หัวใจหยุดเต้นกะทันหัน เกิดได้ทั้งระหว่างออกกำลังกายและหลังออกกำลังกาย โดยมักจะไม่มีสัญญาณบอกก่อน จึงเป็นภาวะที่น่ากลัวมาก ผู้ป่วยอาจพบอาการแน่นหน้าอก หายใจหอบเหนื่อย ไม่มีแรง รู้สึกเหมือนจะวูบ ใจสั่นหรือหัวใจเต้นรัวนำมาก่อน หากพบอาการเหล่านี้ส่งโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน หรืออาจจะต้องปฐมพยาบาลด้วยการ CPR ผายปอดและปั๊มหัวใจ หรือใช้เครื่องกระตุกหัวใจแบบพกพา AED (เออีดี) เมื่อหัวใจหยุดเต้น ระบบหัวใจก็จะเริ่มล้มเหลว ความดันโลหิตก็จะตกลง เลือดก็จะไม่สูบฉีด เซลล์ของอวัยวะต่าง ๆ ก็จะขาดเลือด ขาดออกซิเจน และขาดสารอาหาร ทำให้เซลล์ ไม่สามารถทำงานต่อได้ เมื่อเซลล์หลาย ๆ เซลล์หยุดทำงานก็จะทำให้อวัยวะเหล่านั้นล้มเหลว และหยุดทำงานไปตาม ๆ กัน พูดให้เข้าใจกันง่าย ๆ คือ ถ้าหัวใจหยุดเต้น สมอง ปอด และระบบอื่นก็หยุดทำงานตามไปด้วยจนเสียชีวิตในที่สุด ภาวะหัวใจหยุดเต้นจึงเป็นภาวะอันตรายที่ต้องการรักษาอย่างเร่งด่วน สาเหตุของ “ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน” ที่พบบ่อยคือคลื่นไฟฟ้าหัวใจเกิดความผิดปกติจนทำให้หัวใจเต้นผิดปกติและหยุดเต้นได้ครับ เพราะเดิมทีในร่างกายมนุษย์สามารถสร้างกระแสไฟฟ้าอ่อน ๆ ได้ตามธรรมชาติเพื่อใช้สื่อสาร หรือสั่งการกันระหว่างเซลล์และระบบอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะหัวใจ ส่วนสาเหตุที่ทำให้คลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติก็เกิดได้จากหลายปัจจัย โดยปัจจัยอย่างแรกที่ทำให้คลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติคือภาวะหัวใจขาดเลือดหรือ Heart Attack ภาวะหัวใจขาดเลือดมักเกิดจากหลอดเลือดหัวใจตีบหรืออุดตัน ทำให้เลือดเข้าไปเลี้ยงหัวใจไม่พอ ซึ่งข้อมูลทางการแพทย์ พบว่าหลังจากที่หัวใจขาดเลือด คลื่นไฟฟ้าหัวใจอาจผิดปกติและทำให้หัวใจเต้นผิดไปจากเดิม อย่างหัวใจเต้นเร็ว หัวใจเต้นรัว หัวใจเต้นผิดจังหวะ และหยุดเต้นได้ แต่นอกจากภาวะหัวใจขาดเลือดแล้วก็ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อคลื่นไฟฟ้าหัวใจและส่งผลต่อการเต้นของหัวใจจนทำให้เกิด “ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน” ดังนี้ ● ความผิดปกติของหัวใจแต่กำเนิด ได้แก่ โรคกล้ามเนื้อหัวใจหนาตัว ความผิดปกติของโครงสร้างหลอดเลือดหัวใจ ● คนที่มีความผิดปกติของการเต้นของหัวใจที่ไม่รู้สาเหตุแน่ชัด ● กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ● หรือ โรคหลอดเลือดหัวใจ นักกีฬาหรือคนที่ออกกำลังกายส่วนใหญ่อาจไม่รู้ว่าตัวเองมีปัญหาสุขภาพหัวใจเหล่านี้แฝงอยู่ อาจถูกอาการนี้จู่โจมแบบไม่ทันตั้งตัวได้และต่อให้คุณไม่ได้เป็นโรคหัวใจ แต่ถ้าคุณมีความเสี่ยงเล็ก ๆ น้อย ๆ ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ก็อาจเกิดขึ้นได้เช่นกัน ถือเป็นภัยเงียบที่คาดเดาและรับมือได้ยาก การตรวจสุขภาพหัวใจและการประเมินความพร้อมของร่างกายจึงสำคัญมาก โดยเฉพาะคนที่ออกกำลังกายหนัก ๆ นอกจากนี้ หากใครเคยมีอาการต่อไปนี้ยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะอาจเป็นสัญญาณของปัญหาเกี่ยวกับหัวใจได้ ● คนที่เหนื่อยง่ายผิดปกติในขณะที่ทำกิจกรรม ต่าง ๆ รวมถึงการออกกำลังกาย ● มีหรือเคยมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกขณะออกกำลังกาย ● เคยเป็นลมขณะออกกำลังกาย ● คนที่เคยมีญาติใกล้ชิด อย่างพ่อแม่หรือพี่น้องเสียชีวิตฉับพลันโดยไม่ทราบสาเหตุ หรือมีโรคเส้นเลือดหัวใจตีบขณะที่อายุ น้อยกว่า 60 ปีในผู้หญิง และ 45 ปีในผู้ชาย ● คนที่ออกกำลังกาย แต่สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ใช้สารเสพติด หรือพักผ่อนน้อยติดต่อกันนานก็อาจมี ความเสี่ยงเพิ่มขึ้นได้เหมือนกัน ภาวะหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันสามารถลดความเสี่ยงได้ครับด้วยการตรวจสุขภาพเป็นประจำ โดยเฉพาะสุขภาพหัวใจ ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด

ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือด

ศูนย์โรคหัวใจและหลอดเลือด คนไทยป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ 432,943 คนต่อปี และมีอัตราการเสียชีวิตถึง 20,855 คน เฉลี่ย 2 คนต่อชั่วโมง และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โรคหัวใจ เป็นคำที่มีความหมายกว้าง เนื่องจากโรคหัวใจแบ่งย่อยออกเป็นอีกหลายชนิด ตามตำแหน่งที่เกิดความผิดปกติ ลักษณะการแสดงอาการ และการติดเชื้อ เป็นต้น ซึ่งไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจชนิดใดก็ย่อมส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจทั้งสิ้น ในที่นี้จะขอกล่าวถึงโรคหัวใจที่มักจะได้ยินกันบ่อยๆ ดังนี้ โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ-อุดตันตัน จากหลอดเลือดที่เคยมีพื้นผิวที่เรียบ เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้อย่างสะดวก แต่เมื่อเรามีระดับไขมันในเลือดสูง ไขมันเหล่านี้จะไปสะสมอยู่ตามผนังหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดตีบแคบลง หรือบางกรณีอาจเกิดจากการมีลิ่มเลือดมาอุดตันหลอดเลือด ซึ่งทั้ง 2 กรณี ส่งผลให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก มีโอกาสเกิดกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดขึ้นได้ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด หลอดเลือดหัวใจที่ตีบหรืออุดตัน ทำให้ส่งเลือดไปเลี้ยงหัวใจได้ไม่เพียงพอ ทำให้เกิดกล้ามเนื้อตายจากการขาดเลือด ซึ่งผู้ป่วยจะมีอาหารเจ็บแน่นหน้าอก ร้าวไปกราม ไปไหล่ และแขน หายใจเหนื่อย วิงเวียน เหงื่อออก ตัวเย็น โดยผู้ป่วยแต่ละรายจะมีอาการแตกต่างกันออกไป อาจจะมีอาการในช่วงที่ออกแรง รู้สึกเครียด หรือหลังจากการรับประทานอาหารมื้อหนัก เมื่อมีอาการควรรีบมาพบแพทย์ทันที เพราะถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอย่างทันท่วงที ผู้ป่วยอาจมีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ โรคหัวใจวาย ภาวะหัวใจวาย เป็นภาวะประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจลดลง ทำให้ไม่สามารถส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้อย่างเพียงพอ ส่งผลต่ออวัยวะทุกส่วนของร่างกาย นอกจากนี้ภาวะหัวใจวายยังทำให้เกิดน้ำท่วมปอด และไตวายได้อีกด้วย อาการของภาวะหัวใจวาย คือ หายใจลำบาก เหนื่อยหอบ โดยเฉพาะขณะนอนราบ ไอแห้ง นอนหลับยาก มือเท้าบวม โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจเต้นผิดจังหวะ เกิดจากความผิดปกติของกระแสไฟฟ้าหัวใจ ส่งผลต่อความสม่ำเสมอและอัตราการเต้นของหัวใจ ปัจจัยเสี่ยงโรคหัวใจ *** โรคหัวใจอาจไม่แสดงอาการใดๆให้ท่านทราบเลยในช่วงแรก การตรวจสุขภาพหัวใจเป็นประจำจึงมีความสำคัญที่สุด การตรวจสุขภาพหัวใจ การซักประวัติและตรวจรางกายโดยแพทย์ เป็นการตรวจคัดกรองเบื้องต้น เพื่อประเมินความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (EKG & ECG) เป็นเครื่องมือตรวจพิเศษช่วยวิเคราะห์ความผิดปกติของหัวใจเบื้องต้น ที่ไม่เสียเวลาและไม่ต้องเจ็บตัว การวัดสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (EST) เพื่อทดสอบความทนของหัวใจขณะออกกำลังกาย ทำให้สามารถประเมินโอกาสเสี่ยงในการเกิดคววามผิดปกติที่อาจจะมีต่อหัวใจขณะออกแรง การตรวจเลือด เพื่อประเมินระดับของเอนไซม์หัวใจ ว่าอยู่ในยเกณฑ์ของผู้ป่วยหัวใจวายหรือไม่ การอัลตราซาวด์หัวใจ (Echocardiogram) เพื่อดูการทำงาน โครงสร้าง และความผิดปกติของหัวใจ การตรวจ MRI เป็นการตรวจดูความผิดปกติของหัวใจ โดย ใช้ คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและคลื่นวิทยุ ซึ่งสามารถให้ภาพที่ชัดเจนทั้งแนวขวางและ 3 มิติ การตรวจ MRA เป็นการตรวจหาความผิดปกติของ หลอดเลือด โดยการใช้เครื่อง MRI การวินิจฉัยด้วยการสวนหัวใจ เป็นการตรวจเอ็กซเรย์ร่วมกับการฉีดสารทึบแสงทางหลอดเลือดเพื่อวิเคราะห์ความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจ โดยหากพบความผิดปกติที่สามารถรักษาด้วยการทำบอลลูน ใส่ขดลวดถ่างขยายหลอดเลือด ผู้ป่วยจะสามารถทำได้ในคราวเดียวกัน ไม่ต้องเจ็บตัวซ้ำ ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องดมยาสลบ และไม่ต้องพักฟื้นในโรงพยาบาลนาน การรักษา รับประทานยา รักษาด้วยการสวนหัวใจ ผ่าตัด การป้องกัน รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ อย่างเหมาะสม ลดอาหารที่มีคลอเรสเตอรอลสูง ควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่ดื่มสุรา และ ไม่สูบบุหรี่ หากมีโรคประจำตัว ต้องดูแลตนเองตามแพทย์แนะนำและรับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด โรคหัวใจเป็นโรคที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ หากสงสัยหรือมีความเสี่ยงควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร. 039 319 888

“ภาวะวูบหมดสติ”

“ภาวะวูบหมดสติ”

“ภาวะวูบหมดสติ” กรมการแพทย์ ระบุว่า ภาวะวูบหมดสติ (Syncope) เป็นอาการสูญเสีย ความรู้สึกตัว และการทรงตัวชั่วคราว โดยทั่วไปเกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองลดลงชั่วขณะ ทำให้สมองขาดออกซิเจนชั่วคราวจะมีลักษณะอาการเฉพาะ คือ หมดสติเฉียบพลัน เกิดขึ้นชั่วขณะในระยะเวลาอันสั้น และสามารถฟื้นคืนสติ ได้เองจะแสดงออกทางอาการหลากหลาย เช่น เรียกไม่รู้สึกตัว ล้มลงกับพื้น ทรงตัวไม่อยู่ อาจมีอาการเกร็งที่มือ เท้า ตาค้างชั่วขณะ เหงื่อออกที่ใบหน้า ผู้ป่วยจะจำเหตุการณ์ตอน หมดสติไม่ได้ โดยจะมีระยะเวลาการหมดสติ ตั้งแต่ 30 วินาที ถึง 5 นาที ขึ้นกับสุขภาพพื้นฐานเดิมของผู้ป่วย ขณะที่ผู้ป่วยบางราย อาจจะมีอาการนำมาก่อนเกิดอาการวูบหมดสติ เช่น รู้สึกหวิว ๆ มึนศีรษะ โคลงเคลง ตาพร่า หรือเห็นแสงแวบวาบ ปลายมือ ปลายเท้าเย็น คลื่นไส้ เป็นต้น อาการวูบไม่รู้ตัวเป็นเรื่องที่ อันตรายมากโดยเฉพาะคนที่ต้องทำงานบนที่สูง หรือผู้ที่ ต้องขับรถ หากมีอาการวูบบ่อย ๆ ควรพบแพทย์ประเมิน หาสาเหตุ สาเหตุของภาวะวูบหมดสติ เกิดจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ เส้นเลือดหัวใจตีบ กล้ามเนื้อหัวใจหนาตัวผิดปกติ เกิดจาก ระบบประสาทอัตโนมัติทำงานผิดปกติ ซึ่งมักพบตามหลังสถานการณ์เฉพาะบางอย่าง เช่น หลังไอ จาม เบ่ง ยืนนานๆ ในที่แออัด หรืออากาศร้อน กลัวการเจาะเลือด เป็นต้น เกิดจากการเสียเลือด หรือขาดน้ำ เช่น ท้องเสียรุนแรง หรือมีเลือดออกในอวัยวะภายใน เกิดจากยาบางชนิด โดยเฉพาะยาลดความดันโลหิตสูง ยารักษาต่อมลูกหมาก ยาต้านอาการซึมเศร้า หรือแม้แต่ยาเบาหวาน สิ่งที่เป็นอันตราย เป็นอาการสูญเสียความรู้สึกตัว และการทรงตัวชั่วคราว โดยทั่วไปเกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองลดลง จะส่งผลให้เกิดอันตราย เช่น อุบัติเหตุบนท้องถนนหรือขณะทำงานกับเครื่องจักร เป็นต้น โดยเฉพาะบางอาชีพที่มีความเสี่ยงสูง เช่น พนักงานขับรถ นักบิน นักประดาน้ำ คนงานก่อสร้าง ซึ่งอาจเกิดอุบัติเหตุซ้ำเติมจากการภาวะวูบได้ ในผู้สูงอายุพบมากถึง 23% พบอุบัติการณ์ของภาวะนี้ในคนทั่วไป 3% ผู้ที่เคยมีอาการวูบหมดสติมีโอกาสเกิดซ้ำได้อีกถึง 1 ใน 3 เท่า อาการวูบที่ควรพบแพทย์ วูบแล้วหมดสติ-ชัก มีอาการหน้าเบี้ยวร่วมด้วย หัวใจเต้นผิดปกติ หรือในผู้สูงอายุรวมถึงผู้ที่มีโรคประจำตัว สำหรับสิ่งที่ควรต้องระวัง คือ หลังจากผู้ป่วยตื่นขึ้นมาอาจมีอาการ บาดเจ็บได้ การรักษาควรจะต้องรักษาที่สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ แต่ถ้าหากวูบหมดสติตื่นขึ้นมาแล้วมีอาการ เช่น ปากเบี้ยว ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด ชา หรืออ่อนแรงร่างกายครึ่งซีก อาจเป็นสัญญาณเตือนความผิดปกติภาวะทางสมองอาการของหลอดเลือดสมองตีบ หรือหลอดเลือดสมองแตกได้ ผู้ป่วยหรือผู้ใกล้ชิดควรต้องสังเกตอาการวูบที่เกิดขึ้น และควรรีบไปพบแพทย์ทันทีอย่าปล่อยทิ้งไว้ ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ