“โรคเกาต์เทียม” คือการอักเสบเฉียบพลันเป็นพักๆ อาจไม่คุ้นหูมากนักแต่เป็นโรคข้ออักเสบที่พบได้บ่อยรองจากโรคเกาต์ เช็กอาการและจุดโรคกำเริบของเกาต์เทียมที่ปัจจุบันยังไม่มียารักษาโดยตรง
โรคเกาต์เทียม (Pseudogout) เป็นโรคข้ออักเสบอีกหนึ่งชนิดที่พบบ่อยรองจากโรคเกาต์ ถึงชื่อและอาการจะคล้ายกันแต่คนละชนิดกัน ซึ่งเกาต์เทียม เกิดจากการคั่งและสะสมของผลึกเกลือชนิดที่เรียกว่าแคลเซียมไพโรฟอสเฟตไดไฮเดรต (calcium pyrophosphate dihydrateหรือ CPPD) ที่สามารถทำให้ข้อเกิดการอักเสบเฉียบพลันเป็นพักๆ
เกาต์กับเกาต์เทียมแตกต่างกันอย่างไร
- เกาต์ เกิดจากร่างกายมีการคั่งและสะสมของผลึกยูเรตหรือกรดยูริกข้อที่พบการอักเสบได้บ่อยคือ ข้อโคนหัวแม่เท้า ข้อโคนนิ้วเท้า ข้อเท้าเอ็นร้อยหวาย ข้อเข่า เป็นต้น
- เกาต์เทียม สะสมแคลเซียมไพโรฟอสเฟตไดไฮเดรตข้อที่พบการอักเสบได้บ่อย คือ ข้อเข่า ข้อมือ ข้อไหล่ข้อศอก ข้อเท้า และข้อนิ้วมือ เป็นต้นการอักเสบที่รุนแรงของโรคเก๊าต์เทียมมักเกิดที่ข้อเข่าทำให้เจ็บปวดจนอาจถึงขั้นเดินไม่ได้หลายวันหรือหลายสัปดาห์เพศชายและเพศหญิงมีโอกาสเป็นโรคเกาต์เทียมได้เท่าๆ กันโดยความเสี่ยงของการเกิดโรคเพิ่มขึ้นตามอายุผลึกแคลเซียมไพโรฟอสเฟตไดไฮเดรตพบได้ร้อยละ 3 ในคนที่อายุ 60 ปีขึ้นไปยิ่งอายุมากขึ้นก็ยิ่งพบผลึกนี้มากขึ้น และพบได้ถึงประมาณร้อยละ 50 ของคนที่อายุตั้งแต่ 90 ปีขึ้นไปแต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนที่มีผลึกนี้สะสมอยู่ในข้อ จะเกิดอาการข้ออักเสบ
สาเหตุของโรคเกาต์เทียม
- การสะสมผลึกเกลือซีพีพีดี เนื่องจากมีไพโรฟอสเฟตอนินทรีย์เพิ่มมากขึ้นในกระดูกอ่อนผิวข้อ โดยสารไพโรฟอสเฟตอนินทรีย์ถูกสร้างเพิ่มขึ้นจากกระดูกอ่อนเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดการตกผลึกเกลือซีพีพีดี
- พันธุกรรม รวมทั้งผู้ที่มีความผิดปกติทางระบบต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึ่มบางอย่าง เช่นเป็นโรคไทรอยด์ต่ำ โรคฮอร์โมนพาราไทรอยด์สูง โรคที่มีธาตุเหล็กคั่งในตัวมากและสภาวะโรคต่างๆ ที่ทำให้ระดับแคลเซียมในเลือดสูงก็เป็นสาเหตุให้เกิดโรคเก๊าท์เทียมได้
- การเกิดข้ออักเสบเฉียบพลันอาจเกิดหลังจากการผ่าตัดข้อ การผ่าตัดอย่างอื่น ตลอดจนการบาดเจ็บที่ข้อหรือมีการเจ็บป่วยทางร่างกายอย่างอื่นในผู้สูงอายุสภาวะเหล่านี้เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดข้ออักเสบเฉียบพลันในผู้ป่วยที่มีผลึกแคลเซียมไพโรฟอสเฟตไดไฮเดรตสะสมไว้ในข้อ
อาการโรคเกาต์เทียมเลียนแบบโรคอื่น
- Type A อาการข้ออักเสบเฉียบพลันแบบเป็นๆ หายๆ เลียนแบบโรคเกาต์
- Type B อาการของข้ออักเสบเรื้อรัง เลียนแบบโรครูมาตอยด์
- Type C and D อาการปวดข้อเรื้อรังแบบโรคข้อเสื่อมเทียม
- Type E ไม่มีอาการ แต่สามารถตรวจพบผลึกแคลเซียมไพโรฟอสเฟตไดไฮเดรต
- Type F มีอาการโรคข้อจากพยาธิประสาทเทียม
การคั่งและสะสมของผลึกแคลเซียมไพโรฟอสเฟตไดไฮเดรต โดยทั่วไปจะเกาะอยู่ที่กระดูกอ่อนในข้อ บางครั้งจะกระจายไปอยู่ที่เยื่อบุข้อผลึกนี้ทำให้ข้อเสื่อมสภาพเร็วขึ้นบางครั้งผลึกนี้จะทำให้เกิดปฏิกิริยาจนเกิดการอักเสบในข้อโดยผลึกจะแตกตัวออกไปและเม็ดโลหิตขาวจะเข้ามากินผลึกนี้โดยนึกว่าเป็นเชื้อโรคทำให้เกิดการอักเสบแบบเฉียบพลันการอักเสบแต่ละครั้งจะทำให้เกิดการทำลายกระดูกอ่อนภายในข้อ
วิธีรักษาโรคเกาต์เทียม
ปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถละลายผลึกของโรคเก๊าท์เทียมออกจากกระดูกอ่อนในข้อได้ ดังนั้นการรักษาโรคนี้ส่วนใหญ่จึงเน้นไปที่การรักษาอาการอักเสบของข้อการป้องกันการเป็นซ้ำ และการตรวจหาโรคที่อาจพบร่วมกับโรคเกาต์เทียมแล้วให้การรักษาควบคู่กันไป
- การรักษาโรคเก๊าต์เทียมขณะที่มีข้ออักเสบเฉียบพลัน โดยทั่วไปแพทย์จะใช้ยาต้านอักเสบชนิดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (non-steroidal anti-inflammatory drugs หรือ NSAIDs)
- ในผู้ป่วยที่สมรรถนะของไตไม่ดี หรือมีประวัติเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารหรือกำลังกินยาที่ทำให้เลือดแข็งตัวช้าลง ก็ไม่ควรใช้ยา NSAIDs แพทย์จะใช้วิธีฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อจะปลอดภัยกว่าในผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อยารับประทานก็อาจจำเป็นต้องใช้ยาฉีดเข้าข้อเช่นกัน แต่ไม่ควรกระทำบ่อย
- สำหรับผู้ป่วยที่มีน้ำไขข้อมาก การดูดเอาน้ำไขข้อออกจะช่วยลดการอักเสบของข้อได้ ผู้ป่วยบางรายมีข้อบวมมากเช่น ข้อเข่า ซึ่งอาจมีไข้และมีอาการซึมต้องเจาะและดูดน้ำไขข้อที่มีผลึกของโรคเกาต์เทียมออกไปให้มากที่สุดแล้วฉีดยาสเตียรอยด์เข้าข้อ ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นอย่างรวดเร็ว
ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ