ผื่นผ้าอ้อม

สาเหตุของผื่นผ้าอ้อม สาเหตุมักเกิดจากผิวหนังของเด็กทารกซึ่งบอบบางมาก สัมผัสอยู่กับปัสสาวะอุจจาระ ทําให้เกิดปฏิกิริยาเป็นผื่นแพ้ขึ้นมา

ตําแหน่งที่พบ มักจะพบบริเวณที่ใส่ผ้าอ้อม บริเวณขาหนีบ ก้น ต้นขา

ลักษณะผื่น เป็นผื่นสีแดงชัดเจน ลามออกมา ไม่มีตุ่มหนองหรือสะเก็ดลอก

ข้อสังเกต จะพบเด็กทารกมักจะร้องให้กวนบ่อยกว่าปกติ ร้องกระจองอแง ทั้งนี้เป็นเพราะไม่ค่อยสบายตัว ไม่สบายก้นนั้นเอง เนื่องจากมีผื่นแดงระคายเคืองอยู่

ปัญหาแทรกซ้อน ถ้าเด็กทารกเป็นผื่นมานานมากกว่า 72 ชั่วโมง อาจจะพบเชื้อยีสต์แคนดิดา (Candida albicans) ร่วมด้วย

ข้อแนะนํา ควรเปลี่ยนผ้าอ้อมบ่อย ๆ และทาแป้งเด็กทําให้ผิวหนังบริเวณนี้แห้งไม่อับชื้น

การรักษา ควรพามาพบปรึกษาแพทย์ เพราะถ้าเป็นผื่นแพ้ผ้าอ้อมจริง แพทย์จะให้ใช้ยาทากลุ่ม สเตียรอยด์อย่างอ่อนทา ผื่น แดงจะลดลง แต่ถ้าในทางตรงกันข้าม ผื่นนี้เกิดจากเชื้อยีสต์แคนดิดา ถ้าใช้ยาทากลุ่มสเตียรอยด์ ผื่นจะยิ่งลุกลาม เป็นมากขึ้นนกว่าเดิม จึงควรจะให้แพทย์ตรวจวินิจฉัยดู จะดีกว่า ซื้อยามาทาเอง

ติต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

บทความที่เกี่ยวข้อง

ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด

ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด

ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิด ภาวะตัวเหลือง (Jaundice) เกิดจากการที่ร่างกายมีสารสีเหลืองที่เรียกว่า บิลิรูบิน (Bilirubin) ในกระแสเลือดมากกว่าปกติ บิลิรูบินเกิดจากการสลายตัวของเม็ดเลือดแดง โดยมีตับเป็นอวัยวะสําคัญที่จะเปลี่ยนแปลงสารสีเหลืองนี้เพื่อขับออกทางท่อน้ำดี โดยออกมากับอุจจาระ และขับออกมาทางปัสสาวะด้วย สาเหตุ ภาวะปกติที่ไม่ใช่โรค (physiological jaundice) พบเป็นส่วนใหญ่ในทารกหลังคลอด เนื่องจากขณะอยู่ในครรภ์มารดา ทารกมีจํานวนเม็ดเลือดแดงมากกว่าทารกหลังคลอด เม็ดเลือดแดงส่วนเกินนี้จะถูกทําลาย สารฮีมภายในถูกเปลี่ยนเป็นบิลิรูบิน แม้ทารกที่มีสุขภาพแข็งแรงดีประมาณ 50-60% ก็อาจมีตัวเหลืองได้ตั้งแต่อายุ 2-3 วัน และมักจะหายเหลืองเมื่อมีอายุ 5-7 วัน ภาวะตัวเหลืองที่เกิดจากการแตกทําลายของเม็ดเลือดแดงเพิ่มขึ้น เช่น หมู่เลือดของมารดาและทารกไม่เข้ากัน มักพบในมารดาหมู่เลือดโอ และทารกหมู่เลือด เอ หรือ บี และอาจพบตัวเหลืองมาก ๆ ได้ ในมารดาที่มีหมู่เลือด Rh ลบ โดยที่ทารกมี Rh บวก ฯลฯ ทารกที่มีความผิดปกติของเม็ดเลือดแดง หรือขาดเอนไซม์บางอย่างในเม็ดเลือดแดง เช่น G6PD ทําให้เม็ดเลือดแดงแตก ทําลายง่าย ทารกมีเม็ดเลือดแดงจํานวนมาก โดยเฉพาะทารกที่คลอดจากมารดาที่เป็นเบาหวาน ทารกมีเลือดออกหรือเลือดคั่งเฉพาะส่วน เช่น บวมโนที่ศีรษะจากการคลอด ทารกหน้าคล้ำหลังคลอด เป็นต้น การติดเชื้อในทารกแรกเกิด ซึ่งมักมีอาการซึม ไม่ดูดนม อาจท้องอืด อาเจียน มีไข้ หรือไม่มีก็ได้ สาเหตุอื่นๆ นมแม่ดีที่สุดสําหรับทารก แต่เด็กทารกที่ดูดนมแม่อาจพบมีภาวะตัวเหลืองในปลายอาทิตย์แรก และอาจเหลืองนานเกิน 7-10 วันได้ โรคบางอย่างทําให้ทารกมีภาวะตัวเหลืองนาน เช่น ภาวะพร่องฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์ ทารกที่มีการทํางานของตับไม่ดี เช่น ตับอักเสบ โรคอื่นๆ ที่พบน้อยมาก เช่น มีการอุดตันในทางเดินอาหาร ในกระเพาะอาหาร ลําไส้ หรือท่อน้ำดี สารสีเหลืองจึงขับออกมาไม่ได้ ทารกคลอดก่อนกําหนด เนื่องจากตับทํางานได้ไม่ดีเท่าทารกที่คลอดครบกําหนด จึงอาจพบภาวะตัวเหลืองได้สูงกว่าปกติ สารสีเหลืองนี้จะอยู่ในกระแสเลือด และไปจับตามเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ที่ผิวหนัง(ผิวทารกจึงเป็นสีเหลือง) ที่ตา(เห็นตาขาวเป็นสีเหลือง) และที่อันตราย คือ บิลิรูบินที่สูงเกินสําหรับทารกนั้นไปจับกับเซลล์สมองอาจทําให้มีอาการผิดปกติ เช่น ซึม ไม่ดูดนม ร้องเสียงแหลม ชักเกร็ง หลังแอ่น ทารกมีปัญญาอ่อน พิการหูหนวกตามมาได้ วิธีสังเกตว่าลูกตัวเหลืองหรือไม่ ทารกบางคนเห็นได้ชัดเจนว่ามีตาและตัวเหลือง กรณีที่ไม่แน่ใจในห้องที่มีแสงสว่างพอให้ใช้นิ้วมือกดลงบนผิวหนังเด็ก เมื่อปล่อยมือควรจะเห็นสีขาวซีดกลับเห็นเป็นสีเหลือง ถ้าเห็นชัดเจนที่บริเวณใบหน้าลงมาจนถึงท้อง ควรพามาพบแพทย์ ความเชื่อเก่า ๆ เกี่ยวกับตัวเหลืองที่ไม่ถูกต้อง เช่น ให้ทารกดื่มน้ำมาก ๆ มีผลเสียที่ทําให้ทารกดูดนมน้อยเพราะอิ่มน้ำ การนําทารกไปผึ่งแดด แต่ปัจจุบันไม่แนะนํา สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

สมาธิสั้น

สมาธิสั้น

สมาธิสั้นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก ( ก่อนอายุ 7 ขวบ ) ที่เป็นผลจากความผิดปกติของสมองส่วนหน้า ทําให้มีผลกระทบต่อพฤติกรรม สมาธิ การจดจ่อ ใส่ใจ ทําให้มีปัญหาการเรียนรู้ การควบคุมอารมณ์ และการเข้าสังคมตามมา กลุ่มอาการที่พบ อาการขาดสมาธิ (Attention deficit ) : วอกแวกง่าย เหม่อลอย ไม่ตัองใจทํางาน ขี้ลืม ไม่รอบคอบ อาการหุนหัน พลันแล่น วู่วาม (Impulsive ) : ใจร้อน ทําอะไรไม่คิด พูดโพล่ง / พูดแทรก รอคอยไม่ได้ อาการซน อยู่ไม่นิ่ง (hyperactivity) : ยุกยิก อยู่ไม่นิ่ง ขยับตัวไปมา พูดมาก ชอบแกล้งเพื่อน เด็กบางคนอาจมีแค่อาการซน หุนหันเป็นอาการเด่น ( พบมากในเด็กผู้ชาย ) บางคนอาจมีแค่อาการขาดสมาธิเป็นอาการ เด่น หรืออาจพบทั้งสามกลุ่มอาการเลยก็ได้ เด็กคนอื่นเป็นกันเยอะไหม ในประเทศไทยประมาณกันว่าทุกๆเด็ก 100 คน จะมี 5 คน ที่มีอาการสมาธิสั้น ทําไมเป็นสมาธิสั้น เป็นผลจากพันธุกรรมหรือมารดาได้รับสารพิษระหว่างตั้งครรภ์ มีความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ( โดพามีน , นอร์อิพิเนพฟิน ) ส่งเสริมให้อาการรุนแรงมากขึ้นด้วยการเลี้ยงดูที่ไม่มีระเบียบวินัย เรารักษากันอย่างไร การกินยากลุ่ม Psychostimulant เพื่อกระตุ้นปรับสมดุลเคมีในสมอง ไม่ได้มีฤทธิ์กดประสาท ซึ่งพบว่ามีประสิทธิภาพดี แต่อาจมีผลข้างเคียง เช่น นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร หงุดหงิดง่าย อาการเหล่านี้สามารถหายได้เองเมื่อกินยาติดต่อกัน การกินยา ต่อเนื่องนี้ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตในระยะยาวของเด็ก การฝึกวินัยและการปรับพฤติกรรม สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

ไซนัสอักเสบ

ไซนัสอักเสบ

ไซนัสอักเสบ ไซนัส คือ โพรงอากาศที่อยู่แถวๆ ข้างจมูก บนหน้าผาก ที่หัวตาทั้ง 2 ข้าง และข้างในหลังช่องจมูก ไซนัสอักเสบ เกิดจากเชื้อโรคเข้าไปในไซนัส ทําให้น้ำมูกกลายเป็นหนองเขียวเหลือง คั่งอยู่ภายใน อาการของไซนัสอักเสบ ได้แก่ น้ำมูกเหนียว เป็นหนองสีเขียวเหลืองอาจไหลออกมาทางจมูกหรือไหลลงคอ แน่นจมูก หายใจไม่ค่อยสะดวก บางครั้งต้องหายใจทางปาก ไอมาก ไอ มีเสมหะ ปวดหัวหรือใบหน้าปริมาณไซนัส ได้กลิ่นเหม็นในจมูกหรือในปาก หรือดมอะไรไม่ได้กลิ่นเลย บวมรอบๆ ตา อาจมีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน จะเกิดอะไรขึ้นหากไม่รักษาไซนัสอักเสบ เชื้อโรคอาจลามไปที่หู ทําให้หูอักเสบ เกิดฝีรอบๆ ดวงตา ตามัว ปวดหัว เชื้อโรคลามเข้าสมอง ทําให้สมองอักเสบ เป็นปอดอักเสบ หลอดลมอักเสบ ทําให้อาการโรคหืดรุนแรงขึ้น การรักษา กินยาฆ่าเชื้อโรคทุกวันตามคำแนะนำของแพทย์จนกว่าจะหมด ใช้น้ำเกลือล้างจมูก ใช้ยาพ่นจมูก และกินยาตามที่แพทย์สั่ง สั่งน้ำมูก และไอขับเสมหะอย่างถูกวิธี * แต่ถ้ากินยาไม่ครบหรือไม่ติดต่อกันตามที่แพทย์สั่ง เชื้อโรคอาจดื้อยา รักษาไม่หายและอาจเกิดโรคแทรกซ้อน ต้องเปลี่ยนไปใช้ยาราคาแพง และกินนานขึ้น ต้องใช้ยาฉีด ต้องเจาะหรือผ่าตัดเพื่อล้างโพรงไซนัส ล้างจมูกอย่างไร ถ้าเด็กร่วมมือ เทน้ำเกลือสะอาด ใส่แก้วเล็กๆ แล้วดูดใส่หลอดฉีดยาขนาด 5-10 ซีซี เตรียมกระดาษทิชชู หรือผ้าเช็ดหน้าไว้ ยืน นั่ง หรือนอนในท่าที่รู้สึกสบาย แล้วเงยหน้าขึ้น ใส่ปลายหลอดฉีดยาเข้าไปในช่องจมูกข้างใดข้างหนึ่ง ค่อยๆ ดันน้ำเกลือเข้าไปในช่องจมูกช้าๆ ถ้ารู้สึกว่ามีน้ำเกลือไหลลงคอให้กลืน สั่งน้ำมูกใส่กระดาษทิชชูหรือผ้าเช็ดหน้า แล้วสังเกตดูลักษณะน้ำมูก หากยังมีมาก และ เหนียวข้น หรือคัดจมูกมาก ให้ทําซ้ำอีกจนกว่าน้ำมูกจะใส และ หายใจโล่งขึ้น ล้างจมูกอีกข้างแบบเดียวกัน ข้อสังเกต น้ำเกลือจะไปซะล้างนน้ำมูกที่ค้างในช่องจมูกทําให้รูเปิดของไซนัสโล่งขึ้น ในระยะแรกที่เริ่มล้างจมูก ค่อยๆ ใส่น้ำเกลือครั้งละครึ่งถึงหนึ่งซีซี เมื่อเด็กชินกับการล้างจมูกจึงค่อยๆ ใส่นํ้ำเกลือปริมาณมากขึ้นจนเต็มรูจมูก ไม่ควรปิดรูจมูกข้างใดข้างหนึ่งขณะสั่งนํ้ำมูก เพราะจะทําให้หูอื้อ ถ้าเด็กไม่ร่วมมือ หรือเป็นเด็กเล็กไม่ควรล้างจมูกด้วยวิธีนี้เพราะอาจทําให้เด็กสําลักน้ำเกลือลงปอด ไม่ควรแช่นํ น้ำเกลือไว้ในตู้เย็น เพราะน้ำเกลือที่เย็นเกินไปอาจทําให้ปวดจมูก ขวดน้ำเกลือที่เปิดใช้แล้ว ไม่ควรเก็บไว้นานเกินไป เพราะจะมีเชื้อโรคปนเปื้อนได้ ไม่ควรใช้น้ำเปล่า หรือน้ำต้มสุกล้างจมูก เพราะมีความเข้มข้นไม่เหมาะสม อาจทําให้เยื่อจมูกบวมได้ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

โรต้าไวรัส

โรต้าไวรัส

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

โรคหูชั้นกลางอักเสบในเด็ก

โรคหูชั้นกลางอักเสบในเด็ก

โรคหูชั้นกลางอักเสบในเด็ก หูของมนุษย์จะประกอบด้วยสามส่วนหลัก ได้แก่ หูชั้นนอก หูชั้นกลาง และหูชั้นใน หูชั้นกลางของเราจะมีการเชื่อมต่อกับช่องปากด้านหลังผ่านทางท่อเล็กๆ เรียกว่าท่อ ยูสเตเชี่ยนเมื่อเราเป็นหวัดมีการติดเชื้อบริเวณคอหรือจมูก หรือเป็นจมูกอักเสบ จากภูมิแพ้ ท่อยูสเตเชี่ยนจะบวมและตัน ทําให้เกิดการสะสมของน้ำในหูชั้นกลาง หากมีเชื้อในน้ำก็จะเกิดการอักเสบ ทําให้แก้วหูมีการบวมและปวดหูได้อย่างมากเกิดเป็นโรคหูชั้นกลางอักเสบขึ้นมา โรคหูชั้นกลางอักเสบพบได้ทุกวัย แต่มักพบบ่อยในเด็กอายุระหว่าง 3 เดือน ถึง 3 ปี ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรคนี้ ได้แก่ อายุ : เนื่องจากเด็กเล็กจะมีโอกาสเกิดการอุดตันของท่อยูสเตเชี่ยน ได้มากกว่าเด็กโต เพศ : พบได้เพศชาย ได้มากกว่าเพศหญิง กรรมพันธุ์ : หากมีพ่อแม่พี่น้องที่เป็นหูอักเสบบ่อยๆ มักพบว่าเด็กจะมีโอกาสมากขึ้นที่จะเป็นหูอักเสบซ้ำซ้อน หวัดและภูมิแพ้ : ทั้งสองภาวะจะทําให้เกิดการอุดตันของท่อยูสเตเชี่ยน และนําไปสู่ภาวะติดเชื้อได้ง่ายๆ บุหรี่ : พบว่าการสูบบุหรี่ของบุคคลในบ้านเดียวกัน หรือในยานพาหนะที่เด็กเดินทาง ทําให้เด็กมีปัญหาสุขภาพได้หลายประการ รวมทั้งการติดเชื้อของหูชั้นกลางด้วย การดูดขวดนม : โดยเฉพาะการนอนดูดนมจะทําให้หูอักเสบได้บ่อยกว่าเด็กที่ทานนมแม่ หากจําเป็นต้องให้นมขวด ควรให้ในท่าที่ศีรษะเด็กอยู่สูงกว่ากระเพาะ เพื่อลดการสําลักและอุดตันของท่อยูสเตเชี่ยน ในเด็กที่มีอาการปวดหู แพทย์มักจะสั่งยาแก้ปวดลดไข้จําพวกพาราเซตามอล หรือไอบูโพรเพนให้รับประทานเมื่อมีอาการปวด ไม่ควรซื้อยาแก้ปวดลดไข้ แอสไพรินให้เด็กรับประทานเอง เนื่องจากอาจทําให้เกิดอันตรายเสียชีวิตได้ ใน บางครั้งการประคบน้ำอุ่นที่หู อาจช่วยลดอาการปวดได้แต่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งในเด็กเล็กกว่า 1 ปี เพราะอาจเกิดอาการบวมพองได้ การนอนยกศีรษะให้สูงขึ้นก็จะช่วยลดอาการปวดหูได้ในเด็กโตอาจให้เคี้ยวหมากฝรั่ง หากสามารถเคี้ยวโดยไม่กลืนได้ ส่วนในเด็กเล็กอาจให้ดูดน้ำอุ่นหรือนมบ่อยขึ้น ก็จะช่วยให้ท่อยูสเตเชี่ยนเปิดและลดอาการปวดหูได้บ้าง ในบางครั้งหูชั้นกลางอักเสบอาจไม่ดีขึ้นได้ แม้จะได้ยาปฏิชีวนะไปแล้ว ในกรณีที่เด็กยังมีอาการไข้หรือปวดหูอยู่หลังเริ่มรับประทานยาแล้ว 2 – 3 วัน ให้นําเด็กกลับมาตรวจซ้ำอีกครั้งกับกุมารแพทย์ ทั้งนี้แพทย์อาจพิจารณาเปลี่ยนยาปฏิชีวนะเป็นตัวอื่นที่เหมาะสม เนื่องจากบางครั้งเชื้ออาจไม่ได้ตอบสนองดีกับยาที่ใช้เดิมเสมอไป สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

โรคอีสุกอีใส (Chickenpox/Varicella)

โรคอีสุกอีใส (Chickenpox/Varicella)

โรคอีสุกอีใส (Chickenpox/Varicella) เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในเด็ก แต่พบได้น้อยมากในผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ที่เป็นโรคนี้ส่วนใหญ่ไม่เคยเป็นโรคนี้มาก่อน และมักจะมีอาการและภาวะแทรกซ้อนมากกว่าที่พบในเด็ก มักพบระบาดในตอนปลายฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อน เช่นเดียวกับหัด แต่ก็พบได้ประปรายตลอดทั้งปี สาเหตุ เกิดจากไวรัสที่มีชื่อว่าวาริเซลลาไวรัส (Varicella virus) เป็นเชื้อตัวเดียวกับที่ทําให้เกิดงูสวัด ติดต่อโดยการไอ จาม หรือหายใจรดกัน หรือโดยการสัมผัสหรือใช้ของใช้ร่วมกัน (เช่น ผ้าเช็ดตัว ผ้าห่ม ที่นอน) ร่วมกับคนที่เป็นอีสุกอีใสหรืองูสวัดระยะฟักตัว 10 - 20 วัน อาการ เด็กจะมีไข้ต่ำ อ่อนเพลียและเบื่ออาหารเล็กน้อยในผู้ใหญ่มักมีไข้สูง และปวดเมื่อยตามตัวคล้ายเป็นไข้หวัดใหญ่นํามาก่อน ผู้ป่วยจะมีผื่นขึ้น ซึ่งจะขึ้นพร้อมๆกับวันที่เริ่มมีไข้หรือ 1 วันหลังจากมีไข้ เริ่มแรกจะขึ้นเป็นผื่นแดงราบก่อน ต่อมาจะกลายเป็นตุ่ม นูน มีน้ำใสๆ อยู่ข้างในและมีอาการคันต่อมาจะหลายเป็นตุ่มหนอง หลังจากนั้น 2 - 4 วัน ก็จะตกสะเก็ด ผื่นและตุ่มจะขึ้นตามไรผมก่อน แล้วลามไปตามหน้า ลําตัว และแผ่นหลัง บางคนมีตุ่มขึ้นในช่องปาก ทําให้ปากเปื่อย ลิ้นเปื่อย เจ็บคอ บางคนอาจไม่มีไข้ มีเพียงผื่นและตุ่มขึ้น ทําให้เข้าใจผิดว่าเป็นเริ่มได้ เนื่องจากผื่นตุ่มของโรคนี้จะค่อยๆ ออกทีละระลอก(ชุด)ขึ้นไม่พร้อมกันทั่วร่างกาย ดังนั้นจะพบว่าบางที่ขึ้นเป็นผื่นแดงราบ บางทีเป็นตุ่มใสบางทีเป็นตุ่มหนอง และบางที่เริ่มตกสะเก็ด ด้วยลักษณะนี้ ชาวบ้านจึงเรียกว่า อีสุกอีใส (มีทั้งตุ่มสุกตุ่มใส) อาการแทรกซ้อน พบได้น้อยในเด็ก แต่ถ้าเป็นผู้ใหญ่อาจมีภาวะแทรกซ้อนได้บ่อยและรุนแรงขึ้น ที่พบได้บ่อย คือ ตุ่มกลายเป็นหนองจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งอาจทําให้กลายเป็นแผลเป็นได้ บางคนอาจกลายเป็นปอดอักเสบแทรกซ้อน ซึ่งอาจทําให้ตายได้ มักพบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็กที่ร้ายแรง คือสมองอักเสบแต่พบได้น้อยมาก ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงมักเกิดในคนที่ใช้ยาที่ลดภูมิต้านทานโรค เช่น สเตอรอยด์ หรือ ยารักษามะเร็ง ข้อแนะนำ โรคนี้ส่วนใหญ่จะหายได้เอง ไข้อาจมีอยู่เพียงไม่กี่วัน ส่วนตุ่มจะตกสะเก็ดหลุดหายใน 1 - 3 สัปดาห์ ผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ อาจเป็นนานกว่าผู้ป่วยเด็ก โรคนี้เมื่อเป็นแล้ว มักมีภูมิต้านทานไปจนตลอดชีวิต จะไม่เป็นซ้ำอีก แต่อาจมีโอกาสเป็นงูสวัดในภายหลังได้ ไม่ควรใช้ยาสเตอรอยด์ทั้งยากิน (เช่น ยาชุด) และยาทา เพราะอาจทําให้โรคลุกลามได้ ควรแยกผู้ป่วยออกต่างหาก ระยะแพร่เชื้อติดต่อให้คนอื่นได้คือ ระยะตั้งแต่ 24 ชั่วโมง ก่อนมีผื่นตุ่มขึ้นจนกระทั่งระยะ 6 วัน หลังผื่นตุ่มขึ้น ไม่มีของแสลงสําหรับโรคนี้ ควรให้ผู้ป่วยกินอาหารพวกโปรตีน (เช่น เนื้อ นม ไข่) ให้มากๆ เพื่อให้ภูมิต้านทานโรค หมายเหตุ เด็กที่เป็นอีสุกอีใส ควรตัดเล็บให้สั้น และอย่าเกาตุ่มคัน อาจทําให้เป็นแผลเป็นได้ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888