การดูแลเด็กสมาธิสั้นสำหรับพ่อแม่

การดูแลเด็กสมาธิสั้นสำหรับพ่อแม่

  1. มีการจัดทําตารางเวลาให้ชัดเจนว่า กิจกรรมในแต่ละวันที่เด็กต้องทํามีอะไรบ้าง ตั้งแต่ตื่นนอนจนเข้านอน
  2. หาสถานที่ที่เด็กสามารถใช้ทํางาน ทําการบ้าน อ่านหนังสือ โดยไม่มีใครมารบกวน และไม่มีสิ่งที่จะมาทําให้เด็กเสียสมาธิ เช่น การมีโทรทัศน์ วีดีโอเกม อยู่ใกล้ๆ
  3. ถ้าเด็กวอกแวกง่ายมากหรือหมดสมาธิง่าย อาจจําเป็นที่เด็กต้องมีผู้ใหญ่ นั่งประกบอยู่ด้วยระหว่างทํางาน หรือทําการบ้าน เพื่อให้งานเสร็จเรียบร้อย
  4. พ่อ แม่ และบุคคลในบ้าน ต้องพยายามคุมอารมณ์ อย่าตวาดหรือตําหนิเด็ก หรือลงโทษทางกายอย่างรุนแรงเมื่อเด็กกระทําผิด

ควรมีการตั้งกฎเกณฑ์ไว้ล่วงหน้าว่า เมื่อเด็กทําผิดจะมีการลงโทษอย่างไรบ้าง

  1. การลงโทษควรใช้วิธีจํากัดสิทธิต่างๆ เช่น งดดูทีวี งดเที่ยวนอกบ้าน งดขี่จักรยาน ลดค่าขนม เป็นต้น
  2. ควรให้คําชม รางวัลเล็กๆน้อยๆ เวลาที่เด็กทําพฤติกรรมที่พึงประสงค์เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้เด็กทําดีต่อไป
  3. ทําตัวเองให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก เช่น ความมีระเบียบ รู้ จักรอคอย รู้จักกาลเทศะ หลีกเลี่ยงการใช้คํารุนแรงต่างๆ เป็นต้น

สอบถามเพิ่มเสติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปกป้องลูกน้อยจากภูมิแพ้ ต้องแก้ที่ต้นเหตุ

ปกป้องลูกน้อยจากภูมิแพ้ ต้องแก้ที่ต้นเหตุ

#โรคภูมิแพ้ เป็น โรคที่พบได้บ่อยในเด็ก และพบได้ในเด็กตั้งแต่วัยแรกเกิดเป็นต้นมา พ่อแม่หลาย ๆ คนคิดว่า เพราะลูกยังเล็กจึงเป็นภูมิแพ้เมื่อโตขึ้นไปอาการของโรคอาจจะหายไปเอง ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว สิ่งที่ควรจะทำคือการพบแพทย์เพื่อหาแนวทางแก้ไข และเพื่อเป็นการรับมือกับโรคภูมิแพ้ที่จะเกิดขึ้นกับลูกน้อยของคุณ วันนี้จะพาไปรู้จักกับภูมิแพ้ในเด็ก 2 กลุ่ม คือ 1.ภูมิแพ้ในเด็กแรกเกิด และวัยเตาะแตะ ซึ่งในกลุ่มนี้มักจะพบปัญหาผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ซึ่งมีสาเหตุมาจากการแพ้นมวัว ไข่ แป้งสาลี ที่โดยมากแล้วมักจะเกิดขึ้นบ่อยที่บริเวณใบหน้า ข้อพับแขนขา และข้อศอกของเด็กเป็นต้น และภูมิแพ้อีกกลุ่มหนึ่งที่พบได้มากในช่วงวัยนี้ก็คือ ภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจ ซึ่งมักจะแสดงออกด้วยอาการหอบหืด ไอมาก 2.ภูมิแพ้ในเด็กก่อนวัยเรียนถึงเด็กโต เด็กในช่วงวัยนี้มักจะพบปัญหาสุขภาพเรื่องของการแพ้อากาศ จาม คัดจมูกได้บ่อย โดยเฉพาะเด็กที่เพิ่งเข้าชั้นอนุบาลใหม่ ๆ ซึ่งเป็นช่วงที่น้อง ๆ ยังไม่มีภูมิคุ้มกันที่ดี อย่างไรก็ตามช่วงนี้เด็กจะเป็นหวัดได้บ่อย จึงทำให้อาจแยกไม่ออกระหว่างโรคภูมิแพ้กับเชื้อหวัด ซึ่งหากเป็นเช่นนี้อาจจะต้องต้องพบแพทย์เพื่อทำการซักประวัติทำการรักษาเพิ่มเติม #แนะนำแพทย์เฉพาะทาง พญ.ภัทรดา ธานี แพทย์ชำนาญการ สาขา กุมารเวชศาสตร์ อนุสาขา กุมารเวชศาสตร์ #โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน ในเด็ก เช็กเวลาออกตรวจ และนัดหมายแพทย์ https://doctor.bangkokhospitalchanthaburi.com/alldoctor...

ล้างจมูกถูกวิธี

ล้างจมูกถูกวิธี

ล้างจมูกถูกวิธี “การล้างจมูก” เป็นวิธีทำความสะอาดโพรงจมูกด้วยการสวนล้างโดยใช้น้ำเกลือ เพื่อชำระสิ่งสกปรกอย่างน้ำมูก หรือสารที่ก่อให้เกิดภูมิแพ้ที่อยู่ภายในโพรงจมูกให้หมดไป ซึ่งสามารถลดปัญหาน้ำมูกไหลลงคอและอาการคัดจมูกได้ดี ช่วยให้โพรงจมูกมีความชุ่มชื้นขึ้น การหายใจจึงสะดวกขึ้น ทั้งนี้ต้องเป็นเด็กที่สามารถกลั้นหายใจและสั่งน้ำมูกเองได้แล้วจึงจะทำได้โดยไม่สำลัก ประโยชน์ของการล้างจมูก ช่วยกำจัดมูกเหนียวข้นที่ตกค้างอยู่ในโพรงจมูก ทำให้จมูกให้สะอาดขึ้น บรรเทาอาการหวัดเรื้อรังให้ทุเลาลง ป้องกันการลุกลามของเชื้อโรคที่อยู่ภายในโพรงจมูก ป้องกันการลุกลามของอาการไซนัสไม่ให้ลงไปยังปอด ลดปริมาณเชื้อโรค ของเสีย และสารก่อภูมิแพ้ต่างๆ เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับเยื่อบุโพรงจมูก บรรเทาอาการแน่นจมูกหรือหายใจไม่ออก ให้หายใจโล่งขึ้น บรรเทาอาการระคายเคืองที่เกิดขึ้นในโพรงจมูก เพิ่มประสิทธิภาพของยาพ่นจมูก เพราะยาจะทำงานได้ดีขึ้นเมื่อจมูกโล่งสะอาด การล้างจมูก ควรทำก่อนใช้ยาพ่นจมูกเพื่อรักษาโรค หรือในกรณีที่เด็กป่วยเป็นโรคที่เกี่ยวกับโพรงจมูก ควรทำการล้างจมูกอย่างสม่ำเสมอ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคต่อไปนี้ โรคภูมิแพ้ โรคไซนัสอักเสบ โรคหอบหืด เป็นหวัดคัดจมูก มีน้ำมูกหรือเสมหะมากเกินไป จนหายใจไม่สะดวก ทั้งนี้หากสังเกตเห็นว่าเด็กมีน้ำมูกเหนียวข้นออกมามาก เด็กได้รับฝุ่นควัน หรือเผชิญกับสภาพอากาศที่มีมลภาวะสูงมา ก็ควรล้างจมูกให้เด็กด้วยน้ำเกลือ เช่นกัน อุปกรณ์สำหรับการล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ น้ำเกลือที่มีความเข้มข้น 0.9% สามารถหาซื้อได้ที่โรงพยาบาลหรือร้านขายยาทั่วไป ถ้วยสำหรับใส่น้ำเกลือ กระบอกฉีดยาพลาสติก สำหรับเด็กเล็ก ควรใช้ขนาด 5-10 cc. สำหรับเด็กโต ควรใช้ขนาด 10-20 cc. ภาชนะรองน้ำมูก หรือหากไม่ใช้ภาชนะ อาจล้างจมูกที่อ่างล้างหน้าก็ได้ ขั้นตอนการล้างจมูก ล้างมือและอุปกรณ์ต่างๆ ให้สะอาด เทน้ำเกลือลงในภาชนะที่เตรียมไว้ ใช้กระบอกฉีดยาพลาสติกดูดน้ำเกลือประมาณ 5-10 มิลลิลิตร จากนั้นโน้มตัวเหนือภาชนะรองรับ พยายามจัดให้กระบอกฉีดแนบสนิทกับรูจมูกข้างใดข้างหนึ่ง จากนั้นกลั้นหายใจ ก้มหน้า อ้าปาก หรืออาจจะให้เด็กร้อง ‘อา…” โดยลากเสียงยาวๆ แทนก็ได้ ขณะกลั้นหายใจ ให้ค่อยๆ ฉีดน้ำเกลือเข้าไปในรูจมูก เพื่อให้น้ำเกลือไหลผ่านเข้าไปในโพรงจมูกข้างที่สอดกระบอกฉีด และไหลผ่านออกทางรูจมูกอีกด้านหนึ่ง หากมีน้ำมูกค้างอยู่ให้สั่งออกมาเบาๆ หรืออาจมีน้ำเกลือบางส่วนไหลออกมาทางปากแทนก็ให้บ้วนทิ้งไป จากนั้นทำซ้ำที่จมูกอีกข้างหนึ่ง อาจทำซ้ำจนกว่าจะรู้สึกหายใจโล่ง ไม่มีน้ำมูกเหลือก็ได้ ทั้งนี้สามารถล้างจมูกได้บ่อยๆ เมื่อมีอาการหายใจไม่ออกหรือคัดจมูก หรืออาจล้างวันละ 2-3 ครั้ง โดยไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายแต่อย่างใด ขอขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

โรคท้องเสีย หรือโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน

โรคท้องเสีย หรือโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน

โรคท้องเสีย หรือโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน ตามความหมายขององค์การอนามัยโลก ก็ได้ให้คำนิยามเอาไว้ว่า หมายถึง การถ่ายอุจจาระเหลว หรือ มีน้ำมากกว่าปกติ 3 ครั้ง หรือถ่ายเป็นน้ำ 1 ครั้ง หรือถ่ายมีมูกเลือด 1 ครั้งในเวลา 1 วัน กรณีเช่นนี้ถือว่าเป็นโรคท้องเสีย ซึ่งจะต้องทำการรักาาให้ถูกวิธี สาเหตุ สาเหตุของโรคท้องเสียส่วนใหญ่เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่มีเชื้อโรคปนเข้าไป หรือคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมผสม แล้วผสมนมไม่ถูกส่วนหรือล้างภาชนะไม่สะอาด อาหารไม่สะอาด นอกจากนี้เด็กที่ชอบดูดนิ้วหรืออมมือ และชอบหยิบของหล่นจากพื้นเข้าปากก็อาจท้องเสียจากการติดเชื้อได้ง่าย อาการที่ควรมาพบแพทย์ทันที อาเจียนมาก ทานไม่ได้ มีไข้สูง ปวดท้อง กระสับกระส่าย ชีพจรเต้นเบา อ่อนเพลียมาก ในเด็กสังเกต กระหม่อมหนานุ่ม ตาลึกโหล หายใจหอบ ปัสสาวะน้อยลง การป้องกันโรคท้องเสียในเด็กทำได้โดยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ล้างมือให้สะอาดก่อนปรุงอาหารและรับประทานอาหารทุกครั้ง รับประทานอาหารและดื่มน้ำที่สะอาด ตลอดจนดูแลสิ่งแวดล้อมบริเวณบ้าน ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน เพียงเท่านี้ทุกคนในบ้านก็จะมีสุขภาพดีกันทุกคน สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

ภาวะในเด็กหลังหายป่วยจากโควิด-19

ภาวะในเด็กหลังหายป่วยจากโควิด-19

ภาวะในเด็กหลังหายป่วยจากโควิด-19 โรค Multisystem Inflammatory Syndrome in Children (MIS-C) ก่อให้เกิดการอักเสบในอวัยวะทั่วทั้งร่างกายมักพบในเด็กที่มีประวัติการติดเชื้อโรคโควิด-19 นำมาก่อนถึง 2-4 สัปดาห์ โดยเกิดจากการตอบสนองของภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19 แล้วก่อให้เกิดอาการของโรค MIS-C เด็กที่ป่วยด้วยโรค MIS-C อาจเกิดอาการช็อกหรือเสียชีวิตได้แม้จะมีสุขภาพแข็งแรง และไม่มีโรคประจำตัว ผู้ปกครองจึงควรเฝ้าระวังอาการของเด็กหลังหายป่วยจากโรคโควิด-19 อย่างใกล้ชิด หากเด็กมีอาการคล้ายกับโรค MIS-C หรือโรคคาวาซากิ ผู้ปกครองควรพามาพบแพทย์ทันที สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์กุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

โรคปอดอักเสบในเด็ก

โรคปอดอักเสบในเด็ก

โรคปอดอักเสบในเด็ก สาเหตุที่ทําให้เด็กป่วยเป็นโรคปอดบวมเกิดจากการติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ ช่วงแรกอาจเป็นแค่หวัด มีไข้ธรรมดา ต่อมาอาจลุกลามเป็นปอดอักเสบได้ ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดปอดบวมคือ เด็กที่อายุน้อยมีน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย มีภาวะทุพโภชนาการ มีโรคหัวใจพิการแต่กําเนิดหรือมีโรคปอดร่วมด้วย เด็กที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำหรืออยู่ในชุมชนแออัด สุขาภิบาลไม่ดี อยู่ในที่ ๆ มีควันพิษมากจะมีโอกาสเป็นโรคปอดบวมได้มากกว่าเด็กปกติ เชื้อที่ทําให้เกิดโรคปอดอักเสบส่วนมากเป็นเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย มีส่วนน้อยที่เกิดจากเชื้ออื่น เช่น เชื้อรา Preumocyshic Carinii เป็นต้น ผู้ป่วยปอดอักเสบจากเชื้อไวรัสส่วนมากอาการไม่รุนแรง อาจดีขึ้นได้เองและมีอัตราการเสียชีวิตต่ำ เมื่อเทียบกับเชื้อแบคทีเรีย เชื้อโรคที่ก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบเข้าสู่ร่างกายได้หลายวิธี เช่น การสูดหายใจเข้าไป การสําลัก การกระจายของเชื้อตามกระแสเลือดไปสู่ปอด ผู้ป่วยเด็กส่วนใหญ่ติดเชื้อโดยการสูดสําลักเอาเชื้อก่อโรคที่อยู่บริเวณคอเข้าไปในหลอดลมส่วนปลาย หรือถุงลมปอด หากจํานวนเชื้อที่สูดสําลักเข้าไปที่ถุงลมมมากเกินกว่าร่างกายจะกําจัดออกได้ เชื้อเหล่านี้จะแบ่งตัวและก่อให้เกิดโรคปอดอักเสบตามมา อาการของเด็กที่ปอดบวมแบ่งออกได้เป็น อาการไม่เฉพาะเจาะจง คือผู้ป่วยจะมีไข้อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ กระสับกระส่าย ร้องกวนและงอแง ผู้ป่วยบางรายจะมีหนาวสั่นได้ ในเด็กทารกอาการแสดงของโรคปอดอักเสบส่วนมากจะไม่มีลักษณะเฉพาะ ผู้ป่วยบางรายอาจมีไข้หรือไม่มีไข้ก็ได้ อาจมี อาการซึม อาเจียน และไม่ยอมดูดนม ผู้ป่วยปอดอักเสบส่วนใหญ่จะมีอาการไอ หายใจเร็ว บางรายอาจมีอาการหายใจลําบาก หายใจตื้นและเร็ว จมูก บานเวลาหายใจ ในเด็กอายุต่ำกว่า 3 เดือน แพทย์จะไม่พบอาการไอเป็นอาการสําคัญ ในผู้ป่วยเด็กโตนอกจากจะมีอาการไข้ หนาวสั่น ไอและหายใจเร็วแล้วบางรายจะมีอาการปวดท้อง ท้องอืด หรือมีอาการเขียวได้ เมื่อผู้ป่วยหายจากปอดอักเสบแล้ว ส่วนใหญ่แล้วหน้าที่ของปอดจะกลับมาเป็นปกติ ความผิดปกติของภาพรังสีทรวงอกจะหายไปประมาณ 6-8 สัปดาห์ บางรายงานพบว่าผู้ป่วยปอดอักเสบในวัยเด็กจะมีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพปอดที่ลดลงกว่าปกติ เมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่ ผู้ป่วยที่เป็นปอดอักเสบจากเชื้อที่รุนแรง เช่น เชื้อหัด เชื้อไข้หวัดใหญ่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนคือ หลอดลมบางส่วนเสียแบบถาวร ฯลฯ ดังนั้นหากบุตรหลานของท่านมีอาการไข้ ไอ หอบ ควรรีบพามาพบแพทย์โดยเร็วเพื่อจะได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

การเตรียมตัวทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Skin Test)

การเตรียมตัวทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Skin Test)