โรคท้องเสีย หรือโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน

โรคท้องเสีย หรือโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน

ตามความหมายขององค์การอนามัยโลก ก็ได้ให้คำนิยามเอาไว้ว่า หมายถึง การถ่ายอุจจาระเหลว หรือ มีน้ำมากกว่าปกติ 3 ครั้ง หรือถ่ายเป็นน้ำ 1 ครั้ง หรือถ่ายมีมูกเลือด 1 ครั้งในเวลา 1 วัน กรณีเช่นนี้ถือว่าเป็นโรคท้องเสีย ซึ่งจะต้องทำการรักาาให้ถูกวิธี

สาเหตุ

สาเหตุของโรคท้องเสียส่วนใหญ่เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่มีเชื้อโรคปนเข้าไป หรือคุณแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมผสม แล้วผสมนมไม่ถูกส่วนหรือล้างภาชนะไม่สะอาด อาหารไม่สะอาด นอกจากนี้เด็กที่ชอบดูดนิ้วหรืออมมือ และชอบหยิบของหล่นจากพื้นเข้าปากก็อาจท้องเสียจากการติดเชื้อได้ง่าย

อาการที่ควรมาพบแพทย์ทันที

  1. อาเจียนมาก ทานไม่ได้
  2. มีไข้สูง
  3. ปวดท้อง กระสับกระส่าย ชีพจรเต้นเบา อ่อนเพลียมาก
  4. ในเด็กสังเกต กระหม่อมหนานุ่ม ตาลึกโหล หายใจหอบ ปัสสาวะน้อยลง

การป้องกันโรคท้องเสียในเด็กทำได้โดยการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ล้างมือให้สะอาดก่อนปรุงอาหารและรับประทานอาหารทุกครั้ง รับประทานอาหารและดื่มน้ำที่สะอาด ตลอดจนดูแลสิ่งแวดล้อมบริเวณบ้าน ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์แมลงวัน เพียงเท่านี้ทุกคนในบ้านก็จะมีสุขภาพดีกันทุกคน

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคอีสุกอีใส (Chickenpox/Varicella)

โรคอีสุกอีใส (Chickenpox/Varicella)

โรคอีสุกอีใส (Chickenpox/Varicella) เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในเด็ก แต่พบได้น้อยมากในผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ที่เป็นโรคนี้ส่วนใหญ่ไม่เคยเป็นโรคนี้มาก่อน และมักจะมีอาการและภาวะแทรกซ้อนมากกว่าที่พบในเด็ก มักพบระบาดในตอนปลายฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อน เช่นเดียวกับหัด แต่ก็พบได้ประปรายตลอดทั้งปี สาเหตุ เกิดจากไวรัสที่มีชื่อว่าวาริเซลลาไวรัส (Varicella virus) เป็นเชื้อตัวเดียวกับที่ทําให้เกิดงูสวัด ติดต่อโดยการไอ จาม หรือหายใจรดกัน หรือโดยการสัมผัสหรือใช้ของใช้ร่วมกัน (เช่น ผ้าเช็ดตัว ผ้าห่ม ที่นอน) ร่วมกับคนที่เป็นอีสุกอีใสหรืองูสวัดระยะฟักตัว 10 - 20 วัน อาการ เด็กจะมีไข้ต่ำ อ่อนเพลียและเบื่ออาหารเล็กน้อยในผู้ใหญ่มักมีไข้สูง และปวดเมื่อยตามตัวคล้ายเป็นไข้หวัดใหญ่นํามาก่อน ผู้ป่วยจะมีผื่นขึ้น ซึ่งจะขึ้นพร้อมๆกับวันที่เริ่มมีไข้หรือ 1 วันหลังจากมีไข้ เริ่มแรกจะขึ้นเป็นผื่นแดงราบก่อน ต่อมาจะกลายเป็นตุ่ม นูน มีน้ำใสๆ อยู่ข้างในและมีอาการคันต่อมาจะหลายเป็นตุ่มหนอง หลังจากนั้น 2 - 4 วัน ก็จะตกสะเก็ด ผื่นและตุ่มจะขึ้นตามไรผมก่อน แล้วลามไปตามหน้า ลําตัว และแผ่นหลัง บางคนมีตุ่มขึ้นในช่องปาก ทําให้ปากเปื่อย ลิ้นเปื่อย เจ็บคอ บางคนอาจไม่มีไข้ มีเพียงผื่นและตุ่มขึ้น ทําให้เข้าใจผิดว่าเป็นเริ่มได้ เนื่องจากผื่นตุ่มของโรคนี้จะค่อยๆ ออกทีละระลอก(ชุด)ขึ้นไม่พร้อมกันทั่วร่างกาย ดังนั้นจะพบว่าบางที่ขึ้นเป็นผื่นแดงราบ บางทีเป็นตุ่มใสบางทีเป็นตุ่มหนอง และบางที่เริ่มตกสะเก็ด ด้วยลักษณะนี้ ชาวบ้านจึงเรียกว่า อีสุกอีใส (มีทั้งตุ่มสุกตุ่มใส) อาการแทรกซ้อน พบได้น้อยในเด็ก แต่ถ้าเป็นผู้ใหญ่อาจมีภาวะแทรกซ้อนได้บ่อยและรุนแรงขึ้น ที่พบได้บ่อย คือ ตุ่มกลายเป็นหนองจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งอาจทําให้กลายเป็นแผลเป็นได้ บางคนอาจกลายเป็นปอดอักเสบแทรกซ้อน ซึ่งอาจทําให้ตายได้ มักพบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็กที่ร้ายแรง คือสมองอักเสบแต่พบได้น้อยมาก ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงมักเกิดในคนที่ใช้ยาที่ลดภูมิต้านทานโรค เช่น สเตอรอยด์ หรือ ยารักษามะเร็ง ข้อแนะนำ โรคนี้ส่วนใหญ่จะหายได้เอง ไข้อาจมีอยู่เพียงไม่กี่วัน ส่วนตุ่มจะตกสะเก็ดหลุดหายใน 1 - 3 สัปดาห์ ผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ อาจเป็นนานกว่าผู้ป่วยเด็ก โรคนี้เมื่อเป็นแล้ว มักมีภูมิต้านทานไปจนตลอดชีวิต จะไม่เป็นซ้ำอีก แต่อาจมีโอกาสเป็นงูสวัดในภายหลังได้ ไม่ควรใช้ยาสเตอรอยด์ทั้งยากิน (เช่น ยาชุด) และยาทา เพราะอาจทําให้โรคลุกลามได้ ควรแยกผู้ป่วยออกต่างหาก ระยะแพร่เชื้อติดต่อให้คนอื่นได้คือ ระยะตั้งแต่ 24 ชั่วโมง ก่อนมีผื่นตุ่มขึ้นจนกระทั่งระยะ 6 วัน หลังผื่นตุ่มขึ้น ไม่มีของแสลงสําหรับโรคนี้ ควรให้ผู้ป่วยกินอาหารพวกโปรตีน (เช่น เนื้อ นม ไข่) ให้มากๆ เพื่อให้ภูมิต้านทานโรค หมายเหตุ เด็กที่เป็นอีสุกอีใส ควรตัดเล็บให้สั้น และอย่าเกาตุ่มคัน อาจทําให้เป็นแผลเป็นได้ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน

โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน

โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน หลอดลมอักเสบแบ่งเป็นชนิดเฉียบพลัน กับชนิดเรื้อรัง ในที่นี้จะกล่าวถึงชนิดเฉียบพลันก่อน หลอดลมอักเสบเฉียบพลัน เป็นโรคที่พบได้บ่อยในทุกคนทุกเพศทุกวัย ซึ่งมักพบหลังเป็นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ส่วนมากเกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งจะมีอาการไอ มีเสมหะขาว บางครั้งอาจเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งจะไอมีเสมหะสีเหลืองหรือเขียว นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากการถูกสารระคายเคือง เช่น ควันบุหรี่ ไอเสียรถยนต์ ฝุ่นละออง เป็นต้น ซึ่งอาจทําให้มีอาการเรื้อรังได้ อาการ มีอาการไอ ซึ่งมักมีอาการมากตอนกลางคืน ระยะแรกจะไอแห้งๆ อาจมีเสียงแหบ และเจ็บหน้าอกเพราะไอมาก 4 - 5 วัน ต่อมาจะมีเสมหะเหนียวเป็นสีขาว(เชื้อไวรัส) หรือขุ่นข้นเป็นสีเหลืองหรือสีเขียว(เชื้อแบคทีเรีย) ในเด็กอาจไอจนอาเจียน อาจมีไข้ต่ำๆ หรือไม่มีก็ได้ บางคนอาจมีอาการหอบหืดร่วมด้วย เรียกว่า หืดจากหลอดลมอักเสบ (Asthmatic bronchitis) อาการแทรกซ้อน โรคนี้มักหายได้ภายใน 1-3 สัปดาห์ แต่บางรายอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน ที่พบได้บ่อย ได้แก่ หลอดลมอักเสบเรื้อรัง หลอดลมพอง ถุงลมพอง การรักษา แนะนําให้ผู้ป่วยพักผ่อนให้มากขึ้น ควรดื่มน้ำอุ่นมากๆ เพื่อช่วยให้เสมหะออกได้ง่ายขึ้น ไม่ควรดื่มน้ำเย็นหรือน้ำแข็ง อาจทําให้ไอมากขึ้น ไม่ควรอยู่ในที่ ๆ มีอากาศเสียหรือฝุ่นละอองมาก ให้ยาขับเสมหะ ไม่ควรให้ยาแก้ไอชนิดกดการไอ เช่น ยาแก้ไอน้ำดํา ยาแก้ไอน้ำเชื่อม หรือยาโคเดอีน เพราะจะทําให้เสมหะเหนียว ขากออกยาก และอาจอุดกั้นหลอดลมเล็กๆทําให้ปอดบางส่วนแฟบได้ ถ้าไอนานเกิน 3 สัปดาห์ หรือมีไข้นานเกิน 1 สัปดาห์ หรือน้ำหนักลดควรส่งโรงพยาบาล อาจต้องเอกซเรย์ ตรวจเสมหะ หาสาเหตุและรักษาตามสาเหตุ ข้อแนะนำ โรคนี้มักเป็นหลังจากเป็นไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่และอาจไออยู่นาน 2 - 3 สัปดาห์ โดยที่สุขภาพทั่วไปแข็งแรงดี แต่ถ้าพบว่ามีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด หรือมีไข้เรื้อรัง อาจเป็นจากสาเหตุอื่น เช่น วัณโรค หากสงสัยควรส่งโรงพยาบาล ถ้าไอมีเสมหะ ควรดื่มน้ำอุ่นมากๆ และไม่ควรซื้อยาแก้ไอรับประทานเอง เพราะยาแก้ไอบางชนิดกดการไอ ทำให้เสมหะค้่งภายในไม่ถูกขับออกมาได้ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

ท้องอืดในเด็กเล็ก

ท้องอืดในเด็กเล็ก

อาการท้องอืดในเด็กเล็ก ร้องไห้โดยไร้สาเหตุ หน้าท้องของเด็กป่องและแข็ง เพราะมีลมอยู่ในกระเพาะอาหารมาก สาเหตุ สามารถเกิดขึ้นได้เป็นประจําในเด็กเล็ก ๆ เพราะทารกอยู่ในวัยที่ต้องดูดนมแม่ทั้งวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้นมผ่านทางขวดนมอย่างไม่ถูกวิธี จุกนมที่ไม่พอดีกับปากของลูก หรือน้ำนมที่ไม่ได้อยู่ท่วมคอขวดนมตลอดเวลา อาจทําให้เด็กดูดเอาลมเข้าไปในท้องมาก และลมอาจจะอยู่ในท้องจนกระทั่งเขาหลับไปอีกประการหนึ่งคือ กิจกรรมแต่ละวันของทารกยังมีน้อย ยังไม่มีกิจกรรมการเคลื่อนไหวมากหากเทียบกับเด็กโตหรือผู้ใหญ่ สำหรับทารกเวลาส่วนใหญ่หมดไปกับการกินและนอน จึงทําให้ทารกเกิดอาการท้องอืดได้มากกว่าวัยอื่น ๆ วิธีป้องกัน เริ่มตั้งแต่วิธีการให้นมลูก ทารกที่ดูดนมแม่อย่างถูกต้อง จะมีปัญหาน้อยกว่าทารกที่ดูดนมจากขวด เพราะปากของเขาจะแนบสนิทกับเต้านมของแม่ ลมจึงไม่ค่อยเข้าท้อง แต่ถ้าให้นมขวดแล้วน้ำนมไม่ไหลลงมาเต็มคอขวด จะทําให้ลมเข้าไปอยู่ในช่องว่างนั้นได้ จึงควรยกขวดนมให้น้ำนมไหลเต็มคอขวดไว้เสมอ ท่าให้นมก็มีส่วนสําคัญ ควรอุ้มลูกให้ศีรษะของเขาสูงขึ้นเล็กน้อย ดีกว่าให้ลูกนอนดูดนมในท่าราบกับพื้น และการเลือกซื้อขวดนมที่เหมาะสมกับธรรมชาติในการดูดของเจ้าตัวน้อย อาจเป็นวิธีการหนึ่ง ที่ช่วยลดอาการปวดท้องเนื่องมาจากอาการท้องอืดอย่างได้ผล เพราะขวดนมชนิดนี้จะมีคอขวดที่ต่างระดับกับตัวขวด ดังนั้นเมื่อนํ้านมใกล้จะหมด คุณก็ไม่จําเป็นต้องคอยยกก้นขวดนมให้สูงขึ้น เพราะคอขวดที่ต่างระดับนี้จะช่วยให้นํ้านม ไหลลงมาที่จุกนมอย่างต่อเนื่องกัน ซึ่งจะทําให้เจ้าตัวน้อยของคุณ ดูดนมได้อย่างมีความสุขมากขึ้น วิธีดูแลเมื่อทารกท้องอืด หลังจากให้นมลูกเสร็จทุกครั้ง ควรจับให้ลูกเรอเอาลมออกมา โดยอุ้มพาดไหล่และลูบหลังหรือจับนัองบนตัก เอามือซ้ายประคองด้านหน้า มือขวาลูบหลังเบาๆ จนกระทั่งทารกเรอออกมา จึงค่อยให้เขานอนได้ และถ้าเกิดลูกร้องไห้ก็ไม่ควรปล่อยให้ร้องนานๆ ควรรีบอุ้มขึ้น เพราะเวลาที่เด็กร้องจะนําพาเอาลมเข้าไปอยู่ในท้องด้วยเช่นกัน การบรรเทาอาการปวดท้องด้วยการทามหาหิงค์เป็นประจํา ก็เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยป้องกันได้เพราะว่าไอระเหยและความร้อนจากมหาหิงค์จะช่วยให้เด็กผายลม เป็นการไล่ลมออกจากท้องได้ดี สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

การดูแลเด็กสมาธิสั้นสำหรับพ่อแม่

การดูแลเด็กสมาธิสั้นสำหรับพ่อแม่

การดูแลเด็กสมาธิสั้นสำหรับพ่อแม่ มีการจัดทําตารางเวลาให้ชัดเจนว่า กิจกรรมในแต่ละวันที่เด็กต้องทํามีอะไรบ้าง ตั้งแต่ตื่นนอนจนเข้านอน หาสถานที่ที่เด็กสามารถใช้ทํางาน ทําการบ้าน อ่านหนังสือ โดยไม่มีใครมารบกวน และไม่มีสิ่งที่จะมาทําให้เด็กเสียสมาธิ เช่น การมีโทรทัศน์ วีดีโอเกม อยู่ใกล้ๆ ถ้าเด็กวอกแวกง่ายมากหรือหมดสมาธิง่าย อาจจําเป็นที่เด็กต้องมีผู้ใหญ่ นั่งประกบอยู่ด้วยระหว่างทํางาน หรือทําการบ้าน เพื่อให้งานเสร็จเรียบร้อย พ่อ แม่ และบุคคลในบ้าน ต้องพยายามคุมอารมณ์ อย่าตวาดหรือตําหนิเด็ก หรือลงโทษทางกายอย่างรุนแรงเมื่อเด็กกระทําผิด ควรมีการตั้งกฎเกณฑ์ไว้ล่วงหน้าว่า เมื่อเด็กทําผิดจะมีการลงโทษอย่างไรบ้าง การลงโทษควรใช้วิธีจํากัดสิทธิต่างๆ เช่น งดดูทีวี งดเที่ยวนอกบ้าน งดขี่จักรยาน ลดค่าขนม เป็นต้น ควรให้คําชม รางวัลเล็กๆน้อยๆ เวลาที่เด็กทําพฤติกรรมที่พึงประสงค์เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้เด็กทําดีต่อไป ทําตัวเองให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก เช่น ความมีระเบียบ รู้ จักรอคอย รู้จักกาลเทศะ หลีกเลี่ยงการใช้คํารุนแรงต่างๆ เป็นต้น สอบถามเพิ่มเสติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

โรคมือ เท้า ปาก

โรคมือ เท้า ปาก

โรต้าไวรัส

โรต้าไวรัส

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

Hospital Logo

ติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่

บริการให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง