ท้องอืดในเด็กเล็ก

อาการท้องอืดในเด็กเล็ก

ร้องไห้โดยไร้สาเหตุ หน้าท้องของเด็กป่องและแข็ง เพราะมีลมอยู่ในกระเพาะอาหารมาก

สาเหตุ

สามารถเกิดขึ้นได้เป็นประจําในเด็กเล็ก ๆ เพราะทารกอยู่ในวัยที่ต้องดูดนมแม่ทั้งวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้นมผ่านทางขวดนมอย่างไม่ถูกวิธี จุกนมที่ไม่พอดีกับปากของลูก หรือน้ำนมที่ไม่ได้อยู่ท่วมคอขวดนมตลอดเวลา อาจทําให้เด็กดูดเอาลมเข้าไปในท้องมาก และลมอาจจะอยู่ในท้องจนกระทั่งเขาหลับไปอีกประการหนึ่งคือ กิจกรรมแต่ละวันของทารกยังมีน้อย ยังไม่มีกิจกรรมการเคลื่อนไหวมากหากเทียบกับเด็กโตหรือผู้ใหญ่ สำหรับทารกเวลาส่วนใหญ่หมดไปกับการกินและนอน จึงทําให้ทารกเกิดอาการท้องอืดได้มากกว่าวัยอื่น ๆ

วิธีป้องกัน

เริ่มตั้งแต่วิธีการให้นมลูก ทารกที่ดูดนมแม่อย่างถูกต้อง จะมีปัญหาน้อยกว่าทารกที่ดูดนมจากขวด เพราะปากของเขาจะแนบสนิทกับเต้านมของแม่ ลมจึงไม่ค่อยเข้าท้อง แต่ถ้าให้นมขวดแล้วน้ำนมไม่ไหลลงมาเต็มคอขวด จะทําให้ลมเข้าไปอยู่ในช่องว่างนั้นได้ จึงควรยกขวดนมให้น้ำนมไหลเต็มคอขวดไว้เสมอ ท่าให้นมก็มีส่วนสําคัญ ควรอุ้มลูกให้ศีรษะของเขาสูงขึ้นเล็กน้อย ดีกว่าให้ลูกนอนดูดนมในท่าราบกับพื้น และการเลือกซื้อขวดนมที่เหมาะสมกับธรรมชาติในการดูดของเจ้าตัวน้อย อาจเป็นวิธีการหนึ่ง ที่ช่วยลดอาการปวดท้องเนื่องมาจากอาการท้องอืดอย่างได้ผล เพราะขวดนมชนิดนี้จะมีคอขวดที่ต่างระดับกับตัวขวด ดังนั้นเมื่อนํ้านมใกล้จะหมด คุณก็ไม่จําเป็นต้องคอยยกก้นขวดนมให้สูงขึ้น เพราะคอขวดที่ต่างระดับนี้จะช่วยให้นํ้านม ไหลลงมาที่จุกนมอย่างต่อเนื่องกัน ซึ่งจะทําให้เจ้าตัวน้อยของคุณ ดูดนมได้อย่างมีความสุขมากขึ้น

วิธีดูแลเมื่อทารกท้องอืด

หลังจากให้นมลูกเสร็จทุกครั้ง ควรจับให้ลูกเรอเอาลมออกมา โดยอุ้มพาดไหล่และลูบหลังหรือจับนัองบนตัก เอามือซ้ายประคองด้านหน้า มือขวาลูบหลังเบาๆ จนกระทั่งทารกเรอออกมา จึงค่อยให้เขานอนได้ และถ้าเกิดลูกร้องไห้ก็ไม่ควรปล่อยให้ร้องนานๆ ควรรีบอุ้มขึ้น เพราะเวลาที่เด็กร้องจะนําพาเอาลมเข้าไปอยู่ในท้องด้วยเช่นกัน การบรรเทาอาการปวดท้องด้วยการทามหาหิงค์เป็นประจํา ก็เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยป้องกันได้เพราะว่าไอระเหยและความร้อนจากมหาหิงค์จะช่วยให้เด็กผายลม เป็นการไล่ลมออกจากท้องได้ดี

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

บทความที่เกี่ยวข้อง

ท้องเสียจากโนโรไวรัส

ท้องเสียจากโนโรไวรัส

โรคอีสุกอีใส (Chickenpox/Varicella)

โรคอีสุกอีใส (Chickenpox/Varicella)

โรคอีสุกอีใส (Chickenpox/Varicella) เป็นโรคที่พบได้บ่อยมากในเด็ก แต่พบได้น้อยมากในผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่ที่เป็นโรคนี้ส่วนใหญ่ไม่เคยเป็นโรคนี้มาก่อน และมักจะมีอาการและภาวะแทรกซ้อนมากกว่าที่พบในเด็ก มักพบระบาดในตอนปลายฤดูหนาวถึงต้นฤดูร้อน เช่นเดียวกับหัด แต่ก็พบได้ประปรายตลอดทั้งปี สาเหตุ เกิดจากไวรัสที่มีชื่อว่าวาริเซลลาไวรัส (Varicella virus) เป็นเชื้อตัวเดียวกับที่ทําให้เกิดงูสวัด ติดต่อโดยการไอ จาม หรือหายใจรดกัน หรือโดยการสัมผัสหรือใช้ของใช้ร่วมกัน (เช่น ผ้าเช็ดตัว ผ้าห่ม ที่นอน) ร่วมกับคนที่เป็นอีสุกอีใสหรืองูสวัดระยะฟักตัว 10 - 20 วัน อาการ เด็กจะมีไข้ต่ำ อ่อนเพลียและเบื่ออาหารเล็กน้อยในผู้ใหญ่มักมีไข้สูง และปวดเมื่อยตามตัวคล้ายเป็นไข้หวัดใหญ่นํามาก่อน ผู้ป่วยจะมีผื่นขึ้น ซึ่งจะขึ้นพร้อมๆกับวันที่เริ่มมีไข้หรือ 1 วันหลังจากมีไข้ เริ่มแรกจะขึ้นเป็นผื่นแดงราบก่อน ต่อมาจะกลายเป็นตุ่ม นูน มีน้ำใสๆ อยู่ข้างในและมีอาการคันต่อมาจะหลายเป็นตุ่มหนอง หลังจากนั้น 2 - 4 วัน ก็จะตกสะเก็ด ผื่นและตุ่มจะขึ้นตามไรผมก่อน แล้วลามไปตามหน้า ลําตัว และแผ่นหลัง บางคนมีตุ่มขึ้นในช่องปาก ทําให้ปากเปื่อย ลิ้นเปื่อย เจ็บคอ บางคนอาจไม่มีไข้ มีเพียงผื่นและตุ่มขึ้น ทําให้เข้าใจผิดว่าเป็นเริ่มได้ เนื่องจากผื่นตุ่มของโรคนี้จะค่อยๆ ออกทีละระลอก(ชุด)ขึ้นไม่พร้อมกันทั่วร่างกาย ดังนั้นจะพบว่าบางที่ขึ้นเป็นผื่นแดงราบ บางทีเป็นตุ่มใสบางทีเป็นตุ่มหนอง และบางที่เริ่มตกสะเก็ด ด้วยลักษณะนี้ ชาวบ้านจึงเรียกว่า อีสุกอีใส (มีทั้งตุ่มสุกตุ่มใส) อาการแทรกซ้อน พบได้น้อยในเด็ก แต่ถ้าเป็นผู้ใหญ่อาจมีภาวะแทรกซ้อนได้บ่อยและรุนแรงขึ้น ที่พบได้บ่อย คือ ตุ่มกลายเป็นหนองจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งอาจทําให้กลายเป็นแผลเป็นได้ บางคนอาจกลายเป็นปอดอักเสบแทรกซ้อน ซึ่งอาจทําให้ตายได้ มักพบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็กที่ร้ายแรง คือสมองอักเสบแต่พบได้น้อยมาก ภาวะแทรกซ้อนรุนแรงมักเกิดในคนที่ใช้ยาที่ลดภูมิต้านทานโรค เช่น สเตอรอยด์ หรือ ยารักษามะเร็ง ข้อแนะนำ โรคนี้ส่วนใหญ่จะหายได้เอง ไข้อาจมีอยู่เพียงไม่กี่วัน ส่วนตุ่มจะตกสะเก็ดหลุดหายใน 1 - 3 สัปดาห์ ผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ อาจเป็นนานกว่าผู้ป่วยเด็ก โรคนี้เมื่อเป็นแล้ว มักมีภูมิต้านทานไปจนตลอดชีวิต จะไม่เป็นซ้ำอีก แต่อาจมีโอกาสเป็นงูสวัดในภายหลังได้ ไม่ควรใช้ยาสเตอรอยด์ทั้งยากิน (เช่น ยาชุด) และยาทา เพราะอาจทําให้โรคลุกลามได้ ควรแยกผู้ป่วยออกต่างหาก ระยะแพร่เชื้อติดต่อให้คนอื่นได้คือ ระยะตั้งแต่ 24 ชั่วโมง ก่อนมีผื่นตุ่มขึ้นจนกระทั่งระยะ 6 วัน หลังผื่นตุ่มขึ้น ไม่มีของแสลงสําหรับโรคนี้ ควรให้ผู้ป่วยกินอาหารพวกโปรตีน (เช่น เนื้อ นม ไข่) ให้มากๆ เพื่อให้ภูมิต้านทานโรค หมายเหตุ เด็กที่เป็นอีสุกอีใส ควรตัดเล็บให้สั้น และอย่าเกาตุ่มคัน อาจทําให้เป็นแผลเป็นได้ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

ไวรัส hMPV อาการคล้ายหวัด ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน

ไวรัส hMPV อาการคล้ายหวัด ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน

เตือนผู้ปกครอง ระวังบุตรหลาน! ไวรัส hMPV (Human metapneumovirus) เริ่มระบาดสูงขึ้นช่วงปลายฝนต้นหนาวอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ยังไม่มีวัคซีนรักษา บางรายอาจเสี่ยงปอดอักเสบร่วม! Human metapneumovirus (hMPV) หรือเชื้อไวรัสฮิวแมนเมตะนิวโม เป็นไวรัสชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดอาการติดเชื้อในทางเดินหายใจ มีไข้ ไอ น้ำมูก คล้ายกับไข้หวัดใหญ่ แต่ไม่ได้เป็นไวรัสสายพันธุ์ใหม่แต่อย่างใด ฤดูกาลที่พบการติดเชื้อมาก จะมี 2 ช่วง คือ ช่วงฤดูฝน และฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงที่เด็กๆมักมีอาการหวัด ติดเชื้อทางเดินหายใจได้บ่อย ซึ่งการตรวจหาเชื้อนั้นทำได้โดยมีทีการเดียวกับไข้หวัดใหญ่และ RSVโดยวิธีการ swab โดยมักพบอาการในกลุ่มเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 5 ปี และผู้สูงอายุ อาการผู้ที่ติดเชื้อไวรัส hMPV ผู้ป่วยมักมีอาการของระบบทางเดินหายใจ คล้ายกับไข้หวัดใหญ่ คือ มีอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ซึ่งพบมากในเด็กเล็กแต่ในผู้ใหญ่และเด็กโต ที่มีภูมิต้านทานดีหากติดเชื้อนี้ อาจจะมีอาการเหมือนแค่เป็นหวัดธรรมดา หรือไม่มีอาการก็ได้ อย่างไรก็ตามไวรัส hMPVเป็นกลุ่มโรคเดียวกันกับเชื้อไวรัส RSV เป็นสาเหตุหนึ่งของปอดอักเสบในเด็กเล็กและผู้สูงอายุด้วย การป้องกันโรคไวรัส hMPV เนื่องจาก ยังไม่มีวัคซีน หรือยาต้านไวรัสที่ใช้รักษาเชื้อนี้โดยตรงจึงเป็นการรักษาแบบประคับประคองเหมือนไข้หวัดใหญ่และ RSV ทั่วไป ขณะที่การป้องกันโรค จึงใช้หลักการเดียวกับการป้องกันโรคติดเชื้อทางเดินหายใจอื่นๆ คือล้างมือให้สะอาด ไม่เอามือไปแคะจมูกหรือเอามือเข้าปาก ไม่คลุกคลีกับคนที่ป่วย ใส่หน้ากากอนามัยเมื่อไปในที่ชุมชนคนเยอะๆเพื่อลดโอกาสการติดเชื้อทางเดินหายใจ รู้จักโรคปอดบวมจากไวรัส โรคปอดบวม มีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า โรคปอดอักเสบจากการติดเชื้อ หรือโรคนิวโมเนีย (pneumonia) เป็นโรคติดเชื้อที่ปอด ส่วนใหญ่เกิดจากเชื้อไวรัสและเชื้อแบคทีเรีย นอกจากนี้ยังเกิดจากการติดเชื้อโรคชนิดอื่นๆ ได้ เช่น เชื้อไมโคพลาสมา (mycloplasma) และเชื้อรา ซึ่งทำให้เกิดอาการไอ หายใจลำบาก และหอบเหนื่อย อาการโรคปอดบวมที่ควรสังเกต อาการปอดบวมอาจสังเกตได้จากการมีไข้ ไอ หายใจเร็ว หอบเหนื่อย หายใจลำบาก หายใจแรงจนรูจมูกบาน หายใจแรงมากจนหน้าอกบุ๋ม เกิดหลอดลมภายในปอดตีบก็อาจได้เกิดเสียงหายใจวี๊ด (wheeze) รายที่มีอาการรุนแรงมากอาจทำให้ภาวะหัวใจล้มเหลว และถ้าหายใจลำบากอยู่นาน จะทำให้ขาดออกซิเจน ผู้ป่วยอาจซึมลง หรือหมดสติในที่สุด การรักษาโรคปอดบวมโดยทั่วไปจะรักษาด้วยวิธีใด? แนะนำให้ดื่มน้ำมากๆ ในรายที่หอบมากจนรับประทานอาหารไม่ได้ ควรให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ และงดรับประทานอาหารทางปากเพื่อป้องกันการสำลัก ให้ออกซิเจน เพื่อให้ร่างกายได้รับปริมาณออกซิเจนที่เพียงพอ ให้ยาขยายหลอดลมสำหรับรายที่หลอดลมตีบจนเกิดเสียงหายใจวี๊ด พิจารณาให้ยาขับเสมหะ หรือยาละลายเสมหะในกรณีที่ให้สารน้ำเต็มที่แล้วแต่เสมหะยังเหนียวอยู่ ไม่ควรให้ยาที่ออกฤทธิ์กดการไอ โดยเฉพาะในเด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี เพราะยาที่กดการไอจะทำให้มีเสมหะคั่งค้างอยู่ภายในถุงลมปอดมากขึ้น ควรให้ผู้ป่วยไออย่างมีประสิทธิภาพเพื่อให้เสมหะออกมามากที่สุด การรักษาอาการปอดบวมตามชนิดของเชื้อโรค ถ้าเกิดจากการติดเชื้อไวรัส โดยทั่วไปไม่มียารักษาที่เฉพาะ การรักษาส่วนใหญ่จึงเป็นการรักษาตามอาการ รวมถึงการบำบัดรักษาทางระบบหายใจที่เหมาะสม เช่น การเคาะปอด การดูดเสมหะ ในกรณีที่ตรวจพบว่าเกิดจากเชื้อไวรัสที่มียารักษาเฉพาะ เช่น เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ แพทย์อาจพิจารณาให้ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ร่วมด้วยถ้าเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ควรรักษาด้วยยาปฏิชีวนะให้เร็วที่สุด และเลือกยาปฏิชีวนะที่เหมาะกับเชื้อแบคทีเรียแต่ละชนิด โดยใช้ข้อมูลทางระบาดวิทยาคลินิกในการตัดสินใจเลือกยาปฏิชีวนะนั้น ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

การดูแลเด็กสมาธิสั้นสำหรับคุณครู

การดูแลเด็กสมาธิสั้นสำหรับคุณครู

การรักษาเด็กสมาธิสั้นประกอบด้วยการรักษาด้วยยา และการฝึกวินัย การปรับพฤติกรรม ดังนั้นครูจึงนับมีบทบาทสำคัญไม่แพ้คนในครอบครัวในการดูแลเด็กกลุ่มนี้ สำหรับคำแนะนำการดูแลเด็กกลุ่มนี้เมื่ออยู่โรงเรียน ได้แก่ จัดให้เด็กนั่งหน้าชั้น หรือใกล้ครูให้มากที่สุด เพื่อให้ง่ายในการเตือนเด็ก ให้กลับมาตั้งใจเรียนเมื่อเด็กขาดสมาธิให้นั่งอยู่ท่ามกลางเด็กเรียบร้อยที่ไม่คุยในระหว่างเรียน จัดให้นั่งกลางห้อง หรือไกลจากประตูหน้าต่าง เพื่อลดโอกาสวอกแวก โดยสิ่งต่างๆ ที่อยู่นอกห้องเรียน เมื่อหมดสมาธิจริงๆ ควรจัดกิจกรรมที่เปลี่ยนอิริยาบถ และเป็นกิจกรรมสร้างสรรค์ให้เด็กทํา เช่น ให้ช่วยครูแจกสมุดให้เพื่อน ๆ ในห้อง ลบกระดานดํา เติมน้ำใส่แจกัน เป็นต้น ให้คําชมเชย หรือรางวัล เมื่อเด็กปฏิบัติตัวดีหรือทําสิ่งที่เป็นประโยชน์ คิดรูปแบบวิธีตักเตือน หรือเรียกให้เด็กกลับมาสนใจบทเรียนโดยไม่ทําให้เด็กเสียหน้า เขียนการบ้าน หรืองานที่เด็กต้องทําในชั้นเรียนให้ชัดเจนบนกระดานดํา พยายามสั่งงานด้วยวาจาให้สั้นที่สุด ถ้าต้องสั่งงานด้วยวาจา ควรสั่งตามขั้นตอน หลีกเลี่ยงการสั่งพร้อมกันทีเดียวหลาย ๆ คําสั่ง ให้เวลาทําให้เสร็จทีละอย่าง ก่อนให้คําสั่งต่อไป หลังจากสั่งเด็ก ควรถามกลับว่าสั่งอะไรเพื่อตรวจสอบความเข้าใจและยืนยันในคําสั่ง ตรวจสมุดงานสม่ำเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าเด็กจดงานได้ครบถ้วนและฝึกฝนให้เด็กตรวจทานงาน ถ้าสมาธิสั้นมาก ควรลดเวลางานให้สั้นลง เพื่อให้เกิดความพยายามทํางานให้เสร็จทีละอย่าง ซึ่งใช้เวลาไม่นาน ให้เน้นความรับผิดชอบที่จะต้องทํางานให้เสร็จ หลีกเลี่ยงการใช้วาจาตําหนิ ประจาน ประณาม หรือทําให้เด็กอับอายขายหน้าและไม่ลงโทษเด็กด้วยความรุนแรง เช่น การตี หากเป็นพฤติกรรมจากโรคสมาธิสั้น เช่น ซุ่มซ่าม ทําของเสียหาย หุนหันพลันแล่น ใช้การตัดคะแนน งดเวลาพัก ทําเวรหรืออยู่ต่อหลังเลิกเรียน ( เพื่อทํางานที่ค้างอยู่ให้เสร็จ ) เมื่อเด็กทําความผิด มองหาจุดดีของเด็ก และสนับสนุนให้เด็กได้แสดงออกถึงข้อดี หรือความสามารถของตัวเอง พยายามสร้างบรรยากาศที่เข้าใจ และเป็นกําลังใจให้เด็กพยายามปรับปรุงตัวเองให้ดีขึ้น ให้ความช่วยเหลือด้านการเรียนเป็นพิเศษ ถ้ามีความบกพร่องด้านการเรียนร่วมด้วย ควรให้เด็กได้รับการสอนแบบตัวต่อตัว เพราะทําให้เรียนรู้ได้ดีที่สุด ครูสามารถคุมให้เด็กมีสมาธิ และยืดหยุ่นการเรียนการสอนให้เข้ากับความพร้อมของเด็กได้ดีกว่า ครูควรให้เวลาที่ใช้ในการสอนสําหรับเด็กที่เป็นสมาธิสั้น นานกว่าเด็กปกติ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

ภาวะฉุกเฉินในเด็ก

ภาวะฉุกเฉินในเด็ก

วัยเด็กเป็นวัยที่เปราะบาง และต้องอยู่ในความดูแลของผู้ใหญ่ โดยผู้ใหญ่จะต้องเป็นผู้ที่คอยสังเกตความผิดปกติ โดยหากมีอาการดังต่ไปนี้ ถือว่าเป็นภาวะฉุกเฉินและควรนำบุตรหลานส่งโรงพยาบาลอย่างเร่งด่วน เมื่อเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง เช่น กินสารพิษ กินยาเกินขนาด หรือเลือดออกไม่หยุด หลังจากที่พยายามห้ามเลือดแล้ว เช่น การกด ฯลฯ หมดสติ เรียกไม่รู้สึกตัว ถูกงกัดู สัตว์มีพิษหรือแมลงต่อยแล้วเกิดอันตรายรุนแรงใน 30 นาที เช่น มีไข้ ปวดข้อ ปวดศีรษะ ลมพิษขึ้นทั้งตัว แน่นในคอ บวมมาก หมดสติ หายใจไม่ออก หายใจลําบาก กระวนกระวายหรือหน้าเขียว เด็กอาจชักเมื่อไข้สูงหรือลมบ้าหมู ให้เด็กนอนเอียงหน้า เอาเศษอาหาร ในปากหรือจมูกออก ห้ามเอาของแข็งหรือช้อนงัดปาก ถ้ามีไข้เช็ดตัวด้วย น้ำธรรมดา แล้วรีบพาเด็กไปห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด อย่าพยายามกรอกยาขณะเด็กชัก ปวดท้องรุนแรง งดอาหารและเครื่องดื่ม ห้ามกินยาถ่าย ถ้ามีไข้และ อาเจียนด้วย อาจเป็นไส้ติ่งอักเสบหรือโรคร้ายอื่นๆ อาเจียนหรือถ่ายเป็นเลือด หรือเป็นสีดําจํานวนมาก อาจเป็นเพราะมีเลือดออกในกระเพาะหรือลําไส้ ท้องเสียในเด็กอ่อน เด็กเล็กๆ ถ่ายเพียง 3 - 4 ครั้ง ก็เสียน้ำได้มากๆ ถ้าเด็กมีอาการกระวนกระวาย ตัวร้อน ผิวแห้ง ปัสสาวะน้อยแสดงว่าขาดน้ำมาก สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888