การเตรียมตัวทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Skin Test)

บทความที่เกี่ยวข้อง

ข้อควรรู้เกี่ยวกับวัคซีนเด็ก

ข้อควรรู้เกี่ยวกับวัคซีนเด็ก

ข้อควรรู้เกี่ยวกับวัคซีนเด็ก ท่านควรทราบว่าเด็กได้รับวัคซีนอะไรบ้างในแต่ละครั้ง และควรทราบว่าอาจเกิดอาการจากวัคซีนนั้นอย่างไรบ้าง ทั้งนี้เพื่อให้ท่านให้การดูแลเด็กได้อย่างถูกต้อง การฉีดวัคซีน บีซีจี วัคซีนป้องกันวัณโรค เด็กทุกคนจะได้รับการฉีดเมื่อแรกเกิดที่ไหล่ซ้าย หลังฉีดไม่มีแผล ต่อมาประมาณ 3 – 4 อาทิตย์ จะเห็นเป็นตุ่มขึ้นมา บวม แดง อาจแตกและมีหนองหรือไม่มีหนองก็ได้ ให้เช็ดผิวหนังบริเวณนั้นให้สะอาด และแห้งเสมอด้วยแอลกอฮอล์ 70 % ทุกครั้งที่แผลเปียก ตุ่มนี้จะค่อย ๆ แห้งลง และมีรอยบุ๋มตรงกลางภายใน 3 – 6 อาทิตย์ หลังการฉีดวัคซีนบางชนิด เด็กอาจตัวร้อนอยู่ประมาณ 1 – 2 วัน ควรเช็ดตัว และให้ทานยาลดไข้ตามที่แพทย์แนะนํา วัคซีนบางชนิด เด็กอาจให้มากกว่า 1 ครั้งและต้องฉีดอีกเป็นครั้งคราว จึงจะได้ผลป้องกันโรคได้เต็มที่ ท่านจึงควรพาเด็กมาตามนัดทุกครั้ง ในวันนัด ถ้าเด็กเป็นไข้ ควรเลื่อนไปจนกว่าเด็กจะหายไข้ ในรายที่ไม่สามารถมาตามนัด ควรพาเด็กมารับวัคซีนให้ครบให้เร็วที่สุด ถ้าเด็กเคยมีอาการรุนแรงหลังฉีดวัคซีน เช่น ชัก ไข้สูงมาก ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนฉีดทุกครั้ง สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039319888

อาการอาเจียนในเด็ก

อาการอาเจียนในเด็ก

เมื่อลูกอาเจียน คุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตลักษณะอาเจียนที่ออกมา ว่าเป็นเศษอาหาร เสมหะสีอะไร อาเจียนแบบพุ่งหรือไม่พุ่ง เนื่องจากลักษณะอาเจียนต่าง ๆ จะช่วยในการวินิจฉัยโรคได้ อาเจียนเกิดจากอะไร สาเหตุของอาเจียนมีได้ ดังนี จากสมอง มักมีอาเจียนพุ่ง จากทางเดินอาหาร เช่น การอุดตันของกระเพาะ ลําไส้ หรือมีการอักเสบ ของทางเดินอาหาร สาเหตุทางกายอื่น ๆ เช่น ไข้สูง ไซนัสอักเสบ คออักเสบ ติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ สาเหตุอื่น เช่น รับประทานอาหารมากเกินไป เมื่ออาเจียนออกมาแล้วมักจะสบายขึ้น เมื่อลูกอาเจียนจึงควรพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุและให้การรักษาต่อ ถ้าลูกอาเจียนจะดูแลอย่างไร ควรให้รับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย โดยให้ทีละน้อย บ่อย ๆ ให้น้ำเกลือแร่ ORS เพื่อทดแทนเกลือแร่ที่เสียไปกับอาเจียน โดยให้จิบทีละน้อยและบ่อย ๆ ให้ยาแก้อาเจียนตามแพทย์สั่ง ควรให้รับประทาน 1/2 ชั่วโมงก่อนมื้ออาหาร เมื่อมีอาเจียนมาก รับประทานอาหารหรือน้ำไม่ได้เลย ซึมลง มีอาการขาดน้ำกระหม่อมบุ๋ม ปากแห้งมาก ตาโหล ผิวหนังเหี่ยว แพทย์จะพิจารณาให้นํ้าเกลือทางเส้นเลือด และรักษาสาเหตุต่อไป สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจัรทบุรี 039-319888

การดูแลเด็กสมาธิสั้นสำหรับพ่อแม่

การดูแลเด็กสมาธิสั้นสำหรับพ่อแม่

การดูแลเด็กสมาธิสั้นสำหรับพ่อแม่ มีการจัดทําตารางเวลาให้ชัดเจนว่า กิจกรรมในแต่ละวันที่เด็กต้องทํามีอะไรบ้าง ตั้งแต่ตื่นนอนจนเข้านอน หาสถานที่ที่เด็กสามารถใช้ทํางาน ทําการบ้าน อ่านหนังสือ โดยไม่มีใครมารบกวน และไม่มีสิ่งที่จะมาทําให้เด็กเสียสมาธิ เช่น การมีโทรทัศน์ วีดีโอเกม อยู่ใกล้ๆ ถ้าเด็กวอกแวกง่ายมากหรือหมดสมาธิง่าย อาจจําเป็นที่เด็กต้องมีผู้ใหญ่ นั่งประกบอยู่ด้วยระหว่างทํางาน หรือทําการบ้าน เพื่อให้งานเสร็จเรียบร้อย พ่อ แม่ และบุคคลในบ้าน ต้องพยายามคุมอารมณ์ อย่าตวาดหรือตําหนิเด็ก หรือลงโทษทางกายอย่างรุนแรงเมื่อเด็กกระทําผิด ควรมีการตั้งกฎเกณฑ์ไว้ล่วงหน้าว่า เมื่อเด็กทําผิดจะมีการลงโทษอย่างไรบ้าง การลงโทษควรใช้วิธีจํากัดสิทธิต่างๆ เช่น งดดูทีวี งดเที่ยวนอกบ้าน งดขี่จักรยาน ลดค่าขนม เป็นต้น ควรให้คําชม รางวัลเล็กๆน้อยๆ เวลาที่เด็กทําพฤติกรรมที่พึงประสงค์เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้เด็กทําดีต่อไป ทําตัวเองให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็ก เช่น ความมีระเบียบ รู้ จักรอคอย รู้จักกาลเทศะ หลีกเลี่ยงการใช้คํารุนแรงต่างๆ เป็นต้น สอบถามเพิ่มเสติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

สมาธิสั้น

สมาธิสั้น

สมาธิสั้นกลุ่มอาการที่เกิดขึ้นตั้งแต่วัยเด็ก ( ก่อนอายุ 7 ขวบ ) ที่เป็นผลจากความผิดปกติของสมองส่วนหน้า ทําให้มีผลกระทบต่อพฤติกรรม สมาธิ การจดจ่อ ใส่ใจ ทําให้มีปัญหาการเรียนรู้ การควบคุมอารมณ์ และการเข้าสังคมตามมา กลุ่มอาการที่พบ อาการขาดสมาธิ (Attention deficit ) : วอกแวกง่าย เหม่อลอย ไม่ตัองใจทํางาน ขี้ลืม ไม่รอบคอบ อาการหุนหัน พลันแล่น วู่วาม (Impulsive ) : ใจร้อน ทําอะไรไม่คิด พูดโพล่ง / พูดแทรก รอคอยไม่ได้ อาการซน อยู่ไม่นิ่ง (hyperactivity) : ยุกยิก อยู่ไม่นิ่ง ขยับตัวไปมา พูดมาก ชอบแกล้งเพื่อน เด็กบางคนอาจมีแค่อาการซน หุนหันเป็นอาการเด่น ( พบมากในเด็กผู้ชาย ) บางคนอาจมีแค่อาการขาดสมาธิเป็นอาการ เด่น หรืออาจพบทั้งสามกลุ่มอาการเลยก็ได้ เด็กคนอื่นเป็นกันเยอะไหม ในประเทศไทยประมาณกันว่าทุกๆเด็ก 100 คน จะมี 5 คน ที่มีอาการสมาธิสั้น ทําไมเป็นสมาธิสั้น เป็นผลจากพันธุกรรมหรือมารดาได้รับสารพิษระหว่างตั้งครรภ์ มีความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ( โดพามีน , นอร์อิพิเนพฟิน ) ส่งเสริมให้อาการรุนแรงมากขึ้นด้วยการเลี้ยงดูที่ไม่มีระเบียบวินัย เรารักษากันอย่างไร การกินยากลุ่ม Psychostimulant เพื่อกระตุ้นปรับสมดุลเคมีในสมอง ไม่ได้มีฤทธิ์กดประสาท ซึ่งพบว่ามีประสิทธิภาพดี แต่อาจมีผลข้างเคียง เช่น นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร หงุดหงิดง่าย อาการเหล่านี้สามารถหายได้เองเมื่อกินยาติดต่อกัน การกินยา ต่อเนื่องนี้ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตในระยะยาวของเด็ก การฝึกวินัยและการปรับพฤติกรรม สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

ท้องอืดในเด็กเล็ก

ท้องอืดในเด็กเล็ก

อาการท้องอืดในเด็กเล็ก ร้องไห้โดยไร้สาเหตุ หน้าท้องของเด็กป่องและแข็ง เพราะมีลมอยู่ในกระเพาะอาหารมาก สาเหตุ สามารถเกิดขึ้นได้เป็นประจําในเด็กเล็ก ๆ เพราะทารกอยู่ในวัยที่ต้องดูดนมแม่ทั้งวัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้นมผ่านทางขวดนมอย่างไม่ถูกวิธี จุกนมที่ไม่พอดีกับปากของลูก หรือน้ำนมที่ไม่ได้อยู่ท่วมคอขวดนมตลอดเวลา อาจทําให้เด็กดูดเอาลมเข้าไปในท้องมาก และลมอาจจะอยู่ในท้องจนกระทั่งเขาหลับไปอีกประการหนึ่งคือ กิจกรรมแต่ละวันของทารกยังมีน้อย ยังไม่มีกิจกรรมการเคลื่อนไหวมากหากเทียบกับเด็กโตหรือผู้ใหญ่ สำหรับทารกเวลาส่วนใหญ่หมดไปกับการกินและนอน จึงทําให้ทารกเกิดอาการท้องอืดได้มากกว่าวัยอื่น ๆ วิธีป้องกัน เริ่มตั้งแต่วิธีการให้นมลูก ทารกที่ดูดนมแม่อย่างถูกต้อง จะมีปัญหาน้อยกว่าทารกที่ดูดนมจากขวด เพราะปากของเขาจะแนบสนิทกับเต้านมของแม่ ลมจึงไม่ค่อยเข้าท้อง แต่ถ้าให้นมขวดแล้วน้ำนมไม่ไหลลงมาเต็มคอขวด จะทําให้ลมเข้าไปอยู่ในช่องว่างนั้นได้ จึงควรยกขวดนมให้น้ำนมไหลเต็มคอขวดไว้เสมอ ท่าให้นมก็มีส่วนสําคัญ ควรอุ้มลูกให้ศีรษะของเขาสูงขึ้นเล็กน้อย ดีกว่าให้ลูกนอนดูดนมในท่าราบกับพื้น และการเลือกซื้อขวดนมที่เหมาะสมกับธรรมชาติในการดูดของเจ้าตัวน้อย อาจเป็นวิธีการหนึ่ง ที่ช่วยลดอาการปวดท้องเนื่องมาจากอาการท้องอืดอย่างได้ผล เพราะขวดนมชนิดนี้จะมีคอขวดที่ต่างระดับกับตัวขวด ดังนั้นเมื่อนํ้านมใกล้จะหมด คุณก็ไม่จําเป็นต้องคอยยกก้นขวดนมให้สูงขึ้น เพราะคอขวดที่ต่างระดับนี้จะช่วยให้นํ้านม ไหลลงมาที่จุกนมอย่างต่อเนื่องกัน ซึ่งจะทําให้เจ้าตัวน้อยของคุณ ดูดนมได้อย่างมีความสุขมากขึ้น วิธีดูแลเมื่อทารกท้องอืด หลังจากให้นมลูกเสร็จทุกครั้ง ควรจับให้ลูกเรอเอาลมออกมา โดยอุ้มพาดไหล่และลูบหลังหรือจับนัองบนตัก เอามือซ้ายประคองด้านหน้า มือขวาลูบหลังเบาๆ จนกระทั่งทารกเรอออกมา จึงค่อยให้เขานอนได้ และถ้าเกิดลูกร้องไห้ก็ไม่ควรปล่อยให้ร้องนานๆ ควรรีบอุ้มขึ้น เพราะเวลาที่เด็กร้องจะนําพาเอาลมเข้าไปอยู่ในท้องด้วยเช่นกัน การบรรเทาอาการปวดท้องด้วยการทามหาหิงค์เป็นประจํา ก็เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยป้องกันได้เพราะว่าไอระเหยและความร้อนจากมหาหิงค์จะช่วยให้เด็กผายลม เป็นการไล่ลมออกจากท้องได้ดี สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

การเช็ดตัวลดไข้

การเช็ดตัวลดไข้

การเช็ดตัวลดไข้ เช็ดตัวด้วยผ้าขนหนูนิ่ม ๆ บิดน้ำอุ่นหมาดๆ โดยเริ่มจากใบหน้า ลําคอ แขน ลําตัว ขา โดยเช็ดไปในทิศทางเข้าสู่หัวใจ เน้นบริเวณข้อพับต่าง ๆ น้ำอุ่นจะทําให้เส้นเลือดขยายตัว ความร้อนในร่างกายของลูกจะถูกถ่ายเทผ่านน้ำที่ระเหยจากผิวหนัง ให้ลูกอยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเท ไม่ควรสวมเสื้อผ้าหนา ๆ หรือผ้าห่มหลายชั้นเกินไป เพราะจะทําให้ความร้อนไม่ถ่ายเท ไข้ไม่ลดได้ หลังเช็ดตัวควรจะวัดอุณหภูมิซ้ำทุก ๆ 20 นาที หรือจนแน่ใจว่าไข้ลดแล้ว หากไข้ลดแล้วเหงื่อออกมาก ควรจะให้ลูกดื่มน้ำหรือน้ำเกลือแร่ชดเชยการเสียเหงื่อ รวมทั้งเปลี่ยนชุดใหม่ที่แห้งและสะอาดให้ลูกจะได้หลับอย่างสบายตัว ถ้าเช็ดตัวแล้วไข้ไม่ลดหรือมีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส ควรจะให้ยาลดไข้ สิ่งสําคัญที่ไม่ควรลืมก็คือ ให้ใช้น้ำอุณหภูมิปกติหรือน้ำอุ่นเช็ดตัวลูก คุณพ่อคุณแม่หลายคนหวังดีอยากให้ลูกไข้ลดเร็วๆ เลยใช้น้ำเย็นเช็ดตัว ผลปรากฏว่าไข้ของลูกยิ่งสูงขึ้น เพราะน้ำเย็นทําให้รูขุมขนหดตัวเล็กลง การระบายความร้อนออกจากร่างกายก็เลยยิ่งไม่สะดวก และน้ำที่เย็นจัดๆ ก็ทําให้ไข้เพิ่มสูงขึ้นได้ค่ะ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกกุมารเวช โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

Hospital Logo

ติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่

บริการให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง