สิ่งแปลกปลอมเข้าหู (Foreign body in ear canal)

สิ่งแปลกปลอมเข้าหู (Foreign body in ear canal)

สิ่งแปลกปลอมที่เข้าไปในรูหู ทำให้มีอาการหูอื้อหรือปวดหูได้ และอาจทำให้มีการติดเชื้ออักเสบได้ มักพบในเด็กที่เล่นซน

การรักษา

หากมีสิ่งแปลกปลอมที่เข้าหูอยู่ลึกเกินกว่าจะเอาออกดวยตนเองได้ ไม่ควรพยายามใช้นิ้ว ไม้แคะหู หรือสิ่งของต่าง ๆ พยายามแคะเอาสิ่งแปลกปลอมออกด้วยจนเอง เพราะอาจเป็นอันตรายได้ แนะนำให้พบแพทย์ ซึ่งแพทย์หู คอ จมูก จะมีอุปกรณ์ที่ช่วยเอาสิ่งแปลกปลอมนั้นออกได้อย่างง่ายได้และไม่เป็นอันตราย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คลินิกหู คอ จมูก
โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร. 039-319896


บทความที่เกี่ยวข้อง

ไซนัสอักเสบ

ไซนัสอักเสบ

ไซนัสอักเสบ ไซนัส (Sinuses) หมายถึง โพรงอากาศที่อยู่รอบๆ โพรงจมูกเราทั้งซ้ายและขวา โดยปกติคนเรามีโพรงไซนัส ทั้งหมด 4 แห่ง คือ บริเวณระหว่างตาทั้งสองข้าง บริเวณแก้ม บริเวณหน้าผาก และบริเวณในสุดของรูจมูกและที่ใต้ ฐานกะโหลก โพรงอากาศนี้เป็นที่โล่งๆ ในกะโหลกศีรษะ แต่ละโพรงอากาศจะมีรูระบายอากาศตามธรรมชาติ โพรงละ 1 รู ซึ่งจะระบายเข้าสู่โพรงจมูก และเมื่อเยื่อบุโพรงไซนัสมีการอักเสบ เราจึงเรียกว่า “ไซนัสอักเสบ” (วิชญ์ บรรณหิรัญ, 2553) สาเหตุของโรค เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา อาการนําของไซนัสอักเสบ คัดจมูก นํ้ามูกข้นเขียวหรือเหลือง หายใจมีกลิ่นเหม็น ปวดศีรษะ ปวดขมับ ปวดแก้ม ปวดท้ายทอย หนักหัว เสมหะข้นไหลลงคอ ไอบ่อย เลือดออกทางจมูก (พบในบางราย) รายที่เป็นรุนแรงอาจมีไข้สูง ตาบวมอักเสบได้ เป็นต้น การรักษา การให้ยาซ่าเชื้อ การทำให้โพรงจมูกยุบบวม โดยการใช้ยาพ่นจมูก หรือการล้างจมูก หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นต่างๆ เช่น ไรฝุ่น ควันบุหรี่ เกสรดอกไม้ สถานที่แออัด เป็นต้น การผ่าตัด คําแนะนําในการดูแลตนเอง ผู้ที่เป็นไซนัสอักเสบ ควรหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้นที่ทําให้เกิดอาการหวัด ภูมิแพ้ หากรู้ว่าอะไรเป็นปัจจัยกระตุ้นให้เกิดภูมิแพ้ ควรงดว่ายนํ้า ดํานํ้า ขึ้นเครื่องบินประมาณ 2 สัปดาห์ ในช่วงที่อาการกําเริบ ไม่ควรรักษาการเองตามพื้นบ้าน เช่น ใช้กรดบางชนิดหยอดเข้าจมูก (ทําให้มีนํ้ามูกไหลออกมามาก เพราะอาจเกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุจมูก) อาจทําให้เกิดการอักเสบ หรือจมูกพิการได้ หมั่นออกกําลังกายเป็นประจํา ดื่มนํ้ามากๆ พักผ่อนให้เพียงพอ อยู่ในสถานที่ๆอากาศถ่ายเท การป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากโรคไซนัสอักเสบ การรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เมื่อเป็นหวัดนานเกิน 1 สัปดาห์ ควรรีบปรึกษาแพทย์ พักผ่อนให้เพียงพอ กินอาหารที่มีประโยชน์ ออกกําลังกายอยู่เสมอ งดสูบบุหรี่และงดดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงสถานที่ๆ มีคนแออัด หรือบริเวณที่มี ฝุ่นควันมากๆ สิ่งมีพิษในอากาศ สารเคมีต่างๆ รักษาสุขภาพช่องปากและฟันให้ดี ไม่ให้ฟันผุ ถ้ามีโรคประจําตัว ควรรีบการรักษาจากแพทย์อย่างสมํ่าเสมอ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่แผนกหู คอ จมูก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

เนื้องอกในรูจมูก/ริดสีดวงจมูก (Nasal polyps)

เนื้องอกในรูจมูก/ริดสีดวงจมูก (Nasal polyps)

เนื้องอกในรูจมูก/ริดสีดวงจมูก (Nasal polyps) เนื้องอกในรูจมูก มักมีสาเหตุมาจากการเป็นไข้หวัดเรื้อรัง เช่น ภูมิแพ้อากาศ หรือการติดเชื้อของรูจมูก มักไม่มีอันตรายร้ายแรง เว้นแต่ก้อนไม่โตมากจนมีผลต่อการหายใจ และไม่เสียการรับกลิ่น อาการ คัดจมูก แน่นจมูก หายใจไม่สะดวก พูดเสียงขึ้นจมูก หากเป็นเรื้อรังอาจสูญเสียการรับกลิ่น ปวดหัวคิ้วหรือโหนกแก้ม กรณีก้อนอุดตันรูไซนัส การรักษา การผ่าตัดเป็นการรักษาหลักที่ทำให้หายขาด แต่ก็มีบางรายที่เกิดเนื้องอกซ้ำ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คลินิกหู คอ จมูก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร. 039-319896

ผนังกั้นจมูกคด (Deviated nasal septum)

ผนังกั้นจมูกคด (Deviated nasal septum)

ผนังกั้นจมูกคด (Deviated nasal septum) สาเหตุของผนังกั้นจมูกคด ได้แก่ การบาดเจ็บ มีความผิดปกติแต่กำเนิด ทำให้รูจมูกข้างหนึ่งตีบแคบกว่าปกติ ทำให้หายใจไม่สะดวก เป็นหวัดคัดจมูกเรื้อรัง อาจมีการอักเสบของจมูกแทรกซ้อนได้บ่อย ๆ ซึ่งทำเป็นไซนัสอักเสบหรือมีเลือดกำเดาออกง่าย การรักษา กรณีที่ผนังกั้นจมูกคดเล็กน้อย ไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตอาจไม่ต้องทำการรักษา แต่หากมีผลต่อการหายใจ แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัด สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คลินิกหู คอ จมูก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร. 039-319896

บอกลาภูมิแพ้เรื้อรังด้วยเทคโนโลยี RF

บอกลาภูมิแพ้เรื้อรังด้วยเทคโนโลยี RF

บอกลาภูมิแพ้เรื้อรังด้วยเทคโนโลยี RF ภาวะคัดจมูกเรื้อรัง กระทบต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโดยตรง ส่งผลให้เสียสมาธิในการเรียน การทำงาน ส่วนการทำกิจกรรมต่าง ๆ ก็ไม่สะดวกคล่องตัวเท่าใดนัก อีกทั้งยังลามไปถึงการนอนหลับพักผ่อน ก่อให้เกิดภาวะง่วงนอนตลอดวัน อันเนื่องมาจากการหลับไม่สนิท ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะคัดจมูก คือการอักเสบของเยื่อบุโพรงจมูกด้านใน หรือผนังกั้นจมูก โดยผู้ป่วยมักมีอาการจาม น้ำมูกไหล ปวดศีรษะ และหายใจไม่สะดวก เป็นต้น การรักษาภูมิแพ้ภาวะคัดจมูกเรื้อรัง แพทย์เฉพาะทางหู คอ จมูก จะตรวจร่างกายเพื่อวินิจฉัยภาวะคัดจมูกเรื้อรัง ว่ามาจากสาเหตุใด และให้การรักษาอย่างเหมาะสมตามสาเหตุ อาทิ ควบคุมภูมิแพ้ในผู้ป่วยที่มีสาเหตุมาจากภูมิแพ้ รักษาการติดเชื้อในกรณีมีอาการอักเสบติดเชื้อภายในช่องจมูก ผ่าตัดแก้ไขสันจมูกในกรณีที่สันจมูกคดมาก การรักษาด้วยเทคนิคที่เรียกว่า “RF (Radiofrequency) หรือ การรักษาด้วยคลื่นความถี่วิทยุ”โดยการรักษาด้วยเทคนิค RF แพทย์จะใช้เข็มลักษณะพิเศษใส่เข้าไปในเยื่อบุโพรงจมูกคนไข้ จากนั้นคลื่นวิทยุจะเปลี่ยนแปลงเป็นพลังงานความร้อน เยื่อบุโพรงจมูกจะสร้างพังผืดและหดตัวลง ส่งผลให้ช่องขนาดโพรงจมูกใหญ่ขึ้น ผู้ป่วยจึงสามารถหายใจได้โล่งและสะดวกยิ่งขึ้น นอกจากนี้ การรักษาด้วยคลื่นวิทยุ RF ยังช่วยให้อาการคันจมูก น้ำมูกไหล หรือเสมหะลงคอ ลดลงด้วยเช่นเดียวกัน และกรณีที่ผู้ป่วยเกิดอาการคัดจมูกเนื่องจากเยื่อบุจมูกบวมโตอีกครั้ง สามารถรักษาด้วยวิธีการดังกล่าวซ้ำได้ สอบถามเพิ่มเติมได้ที่แผนกหู คอ จมูก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

โรคเชื้อราในช่องหู

โรคเชื้อราในช่องหู

โรคเชื้อราในช่องหู โรคเชื้อราในช่องหู ถือเป็นโรคหูชั้นนอกอักเสบจากเชื้อรา มักพบหลังเล่นน้ำ หรือใช้ไม้แคะหูร่วมกับผู้ที่เป็นเชื้อราในช่องหู อาการ คันหูมาก อาจมีอาการปวดหู หรือหูอื้อ เมื่อใช้ไฟส่องในรูหู อาจพบขุยขาวๆ ที่ผิวหนังรอบ ๆ รูหู การรักษา ทุกครั้งที่มีอาการ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินว่าการวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม หากเป็นซ้ำบ่อย ๆ แพทย์จะประเมินว่ายังคงเป็นเรื่องเชื้อราในหูอยู่เหมือนเดิมหรือไม่ และควรสอบถามแพทย์ที่รักษาโดยตรงอีกครั้งว่าเหตุใดจึงเป็นบ่อยๆ อาจจะต้องซักประวัติเพิ่มเติม หรือตรวจหาโรคร่วมอื่นๆด้วยต่อไปฃ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คลินิกหู คอ จมูก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร. 039-319896

หูชั้นในอักเสบ (Labyrinthitis)

หูชั้นในอักเสบ (Labyrinthitis)

หูชั้นในอักเสบ (Labyrinthitis) หูชั้นใน เป็นส่วนที่ควบคุมเกี่ยวกับการทรงตัว โดยหูชั้นในอักเสบส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการติดเชื้อไวรัส ซึ่งแพร่กระจายจากบริเวณจมูกและลำคอไปสู่หูชั้นใน มักเกิดหลังติดเชื้อไวรัส เช่น ไข้หวัดใหญ่ คางทูม เป็นต้น บางรายเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียลุกลามจากหูชั้นกลางอักเสบ อาการ วิงเวียนศีรษะ เห็นพื้นบ้านหรือเพดานหมุน เป็นมากเวลามีการเคลื่อนไหวศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน บางรายมีอาการตากระตุก เดินเซ การรักษา หากวิงเวียนมาก ควรให้นอนพักนิ่ง ๆ และหลับตา พบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างเหมาะสม และรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์ หากอาการไม่ดีขึ้นภายใน 1 สัปดาห์ หรือมีหูอื้อ เดินเซ ตากระตุก แขนขาอ่อนแรง ความดันโลหิตสูง คลื่นไส้ อาเจียน ควรกลับไปพบแพทย์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่คลินิกหู คอ จมูก โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี โทร. 039-319896