ปวดประจำเดือน

ปวดท้องประจำเดือน

อาการปวดท้องประจำเดือนเกิดจากการหดรัดตัวของมดลูก บางรายมีอาการปวดรุนแรงจนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อีกทัั้งบางรายมักมีอาการร่วมอื่น ๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดศีรษะ ปวดหลัง เป็นต้น

การรักษา

สำหรับการรักษากรณีปวดประจำเดือนมาก แพทย์มักพิจารณาให้ยาเพื่อบรรเทาอาการ โดยหากอาการไม่ดีขึ้น แพทย์อาจพิจารณาตรวจเศษอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุและวางแผนการรักษาต่อไป

การดูแลบรรเทาอาการและการป้องกัน

  • ประคบอุ่นบริเวณท้องเมื่อมีอาการปวด

  • อาบน้ำอุ่น จะช่วยให้ผ่อนคลายมากกว่าการอาบน้ำเย็น

  • ดูแลจิตใจให้มีความผ่อนคลาย ลดความเครียด เช่น การนั่งสมาธิ โยคะ พักผ่อนอย่างเพียงพอ ทำงานอดิเรกที่ชอบ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยอาหารหวาน-เค็ม เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และอาหารที่มีไขมันสูง

  • รับประทานยาแก้ปวดตามคำแนะนำของแพทย์เมื่อมีอาการปวด

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปวดท้องน้อยในสตรี

ปวดท้องน้อยในสตรี

ปวดท้องน้อยในสตรี ปวดท้องน้อย เกิดได้ทั้งชายและหญิง ซึ่งเกิดได้หลายสาเหตและปัจจัยเนื่องจากในช่องท้องนั้นประกอบด้วยอวัยวะภายในหลายอย่างด้วยกัน เช่น ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ไส้ติ่ง ระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ ขณะที่ผู้หญิงอาจมีความเสี่ยงในมดลูก รังไข่และปีกมดลูก ด้วย ซึ่งบ่อยครั้งที่ไม่สามารถแยกไส้ติ่งอักเสบออกจากถุงน้ำรังไข่ที่แตกได้ หรือไม่สามารถแยกโรคมดลูกอักเสบเฉียบพลันออกจากภาวะไส้ติ่งแตกได้ การวินิจฉัยหาสาเหตุเรื่องของปวดท้องน้อย บางครั้งจึงจำเป็นต้องมีแพทย์หลายๆแผนก มาร่วมกันในการดูแลรักษา การวินิจฉัยสาเหตุปวดท้องน้อยนั้น จำเป็นต้องซักประวัติให้ละเอียด เช่น ปวดท้องน้อยมากี่วัน เป็นมานานแล้วหรือยัง เคยปวดท้องน้อยลักษณะเดียวกันมาก่อนหรือไม่ การรักษาที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง ดีขึ้นหรือไม่ นอกจากนั้น ประวัติในครอบครัว และประวัติการเกิดโรคในอดีตที่เกี่ยวกับระบบภายในด้วย รวมถึงอาการปวดที่อาจจะแตกต่างกันออกไป เช่น ปวดตื้นๆ หรือปวดลึกๆ มีจุดกดเจ็บหรือไม่ ลักษณะการปวดเป็นแบบบีบๆ ปวดดิ้น ปวดแบบมวนๆ ในช่องท้อง หรือเจ็บเหมือนมีเข็มตำ ปวดจนเป็นลมหรือเปล่า ปวดท้องน้อยสตรี สามารถแยกออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ปวดท้องน้อยเฉียบพลัน ( Acute pelvic pain ) มักเกิดจากการขาดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะในช่องท้องที่เป็นสาเหตุหรืออาจเกิดจากอวัยวะที่เป็นสาเหตุได้รับความเสียหาย มักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย หรือมาอาการเป็นลมในบางราย สาเหตุของอาการปวดท้องน้อยลักษณะนี้ มดลูกอักเสบเฉียบพลัน ถุงน้ำรังไข่แตก รั่วหรือบิดขั้ว ภาวะไข่ตกในช่วงกลางรอบเดือน นิ่วในท่อไต กระเพาะปัสสาวะอักเสบ การตั้งครรภ์นอกมดลูก ปวดท้องน้อยเป็นซ้ำ ( recurrent pelvic pain ) วินิจฉัยว่าปวดท้องน้อยเนื่องจากไข่ตก ( Mittelschmerz ) กลุ่มนี้เกิดจากมีการหลั่งสารโพสตร้าแกลนดินออกมาจากถุงไข่ที่รั่วออกมา ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะปวดสั้นๆ 1-2 วัน ในช่วงกลางรอบเดือน รับประทานยาแก้ปวดก็ดีขึ้น แต่ในกรณีที่รับประทานยาแก้ปวด อาการก็ไม่ทุเลาหรือมีภาวะอื่นร่วมด้วย เช่น เป็นลม เหนื่อยง่าย จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อให้การวินิจฉัยที่ถูกต้องต่อไปปวดประจำเดือนแบบปฐมภูมิ ( primary dysmenorrhea ) อาการปวดประจำเดือนมักเกิดในช่วงก่อนมีประจำเดือนและอาจปวดต่อเนื่องได้ถึง 72 ชม อาการปวดมักจะทุเลาได้โดยการใช้ยากลุ่มยับยั้งการสร้างโพสตร้าแกลนดินหรือการใช้ยาคุมกำเนิด ผู้ป่วยกลุ่มนี้ อาการปวดมักจะดีขึ้นหลังหลังจากมีบุตร ปวดท้องน้อยเรื้อรัง ( Chronic pelvic pain ) เป็นภาวะที่พบบ่อย และเป็นปัญหามากในการวินิจฉัยและให้การรักษาที่ถูกต้อง ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีประวัติการรักษาจากแพทย์หลายคน เนื่องจากการวินิจฉัยหาสาเหตุค่อนข้างยาก ภาวะปวดท้องน้อยเรื้อรัง ลักษณะของการปวดท้องน้อย ที่มักปวดตลอดหรืออาจจะปวดเป็นช่วงๆ ไม่สม่ำเสมอ ( non cycle pain ) ไม่สามารถบอกล่วงหน้าได้ และอาการปวดท้องน้อยมักเป็นต่อเนื่องกันมากกว่า 3- 6 เดือน พบว่า ภาวะปวดท้องน้อยเรื้อรังนั้นเป็นสาเหตุในผู้ป่วยที่ตัดมดลูกทั้งหมด ถึง 18% สาเหตุปวดท้องน้อยเรื้อรัง เยื่อบุประจำเดือนอยู่ผิดที่ ช๊อคโกเล็ตซีสต์ พังผืดในช่องท้อง โดยเฉพาะพังผืดที่ยึดระหว่างลำไส้ใหญ่ส่วนปลา ( sigmoid colon ) กับผนังช่องท้อง เป็นสาเหตุถึง 38 % ในผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ด้วยเรื่องปวดท้องน้อยเรื้อรัง มดลูกและปีกมดลูกอักเสบเรื้อรัง เส้นเลือดโป่งพองในอุ้งเชิงกราน ( pelvic congestion ) เนื้องอกมดลูก เนื้องอกและถุงน้ำรังไข่ เนื้องอกและมะเร็งลำไส้ใหญ่ ลำไส้แปรปวน จะเห็นได้ว่าปัญหาระบบภายในของผู้หญิงซับซ้อนเป็นอย่างมาก การตรวจภายในจึงสำคัญ เช่นการตรวจวินิจฉัยด้วยอัลตร้าซาวด์ หรือเอกเรย์คองพิวเตอร์ เช่น CT หรือ MRI จำเป็นสำหรับการช่วยวินิจฉัยโรคและแยกโรคในกรณีที่คิดว่าเป็นโรคเกี่ยวกับลำไส้เล็กหรือลำไส้ใหญ่ การตรวจสวนลำไส้ใหญ่ หรือการส่องกล้องลำไส้เล็กก็จำเป็นในกรณีที่ผุ้ป่วยได้รับการตรวจวินิจฉัยหลายอย่างแล้ว ก็ยังไม่พบสาเหตุที่ชัดเจน การส่องกล้องวินิจฉัยในช่องท้อง ( Diagnostic laparoscope ) ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่แพทย์จะใช้ในการตรวจวินิจฉัย แต่เนื่องจากการตรวจด้วยการส่องกล้องวินิจฉัยในช่องท้องนั้น จำเป็นต้องนำผู้ป่วยเข้าห้องผ่าตัดและดมยาสลบ การเลือกใช้วิธีนี้จึงควรมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน อย่างไรก็ตามการรักษาโรค ขึ้นกับการตรวจพบสาเหตุของโรค ให้การรักษาตามสาเหตุโดยคำนึงถึงอายุ ประวัติการมีบุตรร่วมด้วย ขอบคุณข้อมูลจาก : ฺBDMS สถานีสุขภาพ

ปวดประจำเดือน กับ ซีสต์รังไข่

ปวดประจำเดือน กับ ซีสต์รังไข่

ปวดประจำเดือน กับ ซีสต์รังไข่ "ซีสต์" มาจากภาษาอังกฤษว่า "cyst" มีความหมายว่า "ถุงน้ำ" ดังนั้น ไม่ว่าอะไรก็ตามที่มีเปลือกและมีน้ำหรือของเหลวภายในก็จะเรียกว่า "ซีสต์" เหมือนกันทั้งหมด โดยอวัยวะทุกอวัยวะภายในร่างกายของคนเรามีโอกาสจะเกิดซีสต์ได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นผิวหนัง ไขมัน กระดูก อวัยวะภายใน หรือ แม้กระทั่งสมองก็มีซีสต์เกิดขึ้นได้ ขณะที่ผู้หญิงก็จะมีความพิเศษมากกว่าผู้ชาย ตรงที่มีอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง โดยเฉพาะมีรังไข่ที่มีโอกาสเกิดซีสต์ขึ้นได้บ่อยๆ ยิ่งเมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ก็จะเกิดซีสต์หรือถุงน้ำรังไข่ โตแล้วยุบหายไปตามรอบเดือน ซึ่งเกิดจากการตกไข่ตามปกติ ถุงน้ำรังไข่หรือซีสต์รังไข่มี 3 ประเภท ฟังค์ชั่นนัล ซีสต์ (Functional Cyst) ถุงน้ำรังไข่ที่เกิดจากการทำงานตามปกติของรังไข่เพื่อสร้างไข่ที่เป็นเซลล์สืบพันธุ์ของฝ่ายหญิง จะเป็นถุงน้ำที่โตขึ้นแล้วแตกทำให้เซลล์ไข่ไหลออกมา หลังจากนั้นถุงน้ำนี้ก็จะค่อยๆ ยุบตัวไปเอง เนื้องอกถุงน้ำรังไข่ (Ovarian Tumor หรือ Ovarian Cyst) เนื้องอกรังไข่ชนิดที่มีของเหลวภายใน ซึ่งอาจเป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง (ไม่ใช่มะเร็ง) หรือ ชนิดร้ายแรง (มะเร็ง) ก็ได้ โดยมากเนื้องอกแต่ละชนิดมักจะมีลักษณะเฉพาะที่พอจะบอกได้ว่าเป็นชนิดใด เช่น Dermoid Cyst (ถุงน้ำเดอร์มอยด์) ซึ่งภายในถุงน้ำมักจะมีน้ำ, ไขมัน เส้นผม กระดูกและฟัน เมื่อเอ็กซเรย์ดูหรือตรวจอัลตราซาวด์ ก็มักจะบอกได้ว่าเป็นเนื้องอกชนิดนี้ ส่วนเนื้องอกถุงน้ำชนิดที่เป็นมะเร็งบางชนิด จะมีการสร้างสารเคมีที่ตรวจพบว่ามีปริมาณสูงมาก ๆ ในกระแสเลือดได้ เช่น CA 125 ก็สามารถบ่งบอกล่วงหน้าได้ว่าน่าจะเป็นมะเร็ง ถุงน้ำที่คล้ายเนื้องอก (Tumor like condition) คือถุงน้ำที่เกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ที่เกิดขึ้นที่รังไข่ เมื่อมีรอบเดือนเยื่อบุโพรงมดลูกนี้ก็จะมีเลือดซึมออกมาสะสมในถุงน้ำนี้เรื่อย ๆ จนเป็นเลือดเก่า ๆ ข้น ๆ สีคล้ายช็อกโกแลต จึงเรียกว่า ช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst) อาการซีสต์รังไข่ที่ควรสังเกต ส่วนใหญ่ไม่มีสัญญาณเตือนหรือมีอาการใด ๆ แต่โดยมากจะมาตรวจพบก็เมื่อคนไข้เข้ามาตรวจสุขภาพประจำปี หรือมาตรวจพบโดยบังเอิญเมื่อมีอาการของโรคอื่นๆ แต่หากมีอาการ จะสามารถ สังเกตได้ ดังนี้ มีอาการปวดท้องน้อย และถ้าปวดสัมพันธ์กับรอบเดือนก็อาจสงสัยว่าจะมีช็อกโกแลตซีสต์ บางรายอาจรู้สึกว่าปัสสาวะบ่อยขึ้น เนื่องจากซีสต์โตพอสมควรและไปเบียดกระเพาะปัสสาวะ บางรายแค่มีอาการหน่วงๆ ท้องน้อย บางคนไม่มีอาการเลยแต่รู้สึกหรือเข้าใจไปว่ามีหน้าท้องโตเพราะอ้วนก็ได้ บางรายมีอาการปวดท้องน้อยเฉียบพลัน จากขั้วถุงน้ำรังไข่บิด หรือถุงน้ำรังไข่แตกก็ได้ บางคนอาจมีประจำเดือนผิดปกติ คือ มามาก มากระปริบกระปรอย ปวดประจำเดือนมากขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละเดือน ในกรณีร้ายแรงที่ถุงน้ำแตกออกและมีเส้นเลือดฉีกขาดอาจทำให้ตกเลือดในช่องท้องได้ ซึ่งเสี่ยงต่ออันตรายและมีโอกาสทำให้เสียชีวิต ทำให้เห็นได้ว่าโรคนี้แม้ไม่ใช่มะเร็งร้ายแต่ก็สามารถก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ และก่อให้เกิดอันตรายได้ คุณผู้หญิงควรให้ความสนใจหากมีอาการผิดปกติ ในข้อใดข้อหนึ่งดังที่ได้กล่าว ควรพบสูติ-นรีแพทย์ เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงและทำการรักษา ป้องกันการเกิดซีสต์ ได้หรือไม่ ? สาเหตุถุงน้ำรังไข่ที่ไม่ใช่ Functional Cyst ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดบางชนิดเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ แต่ในปัจจุบันมีข้อมูลที่เชื่อถือได้ว่า ต้นเหตุของเนื้องอกถุงน้ำรังไข่ที่เป็นมะเร็ง ส่วนใหญ่เกิดมาจากเซลล์เยื่อบุของท่อนำไข่ ที่มีการกลายเป็นเซลล์ผิดปกติ หลุดมาติดที่รังไข่ และเติบโตต่อไปเป็นมะเร็งรังไข่ จากข้อมูลทางสถิติพบว่า ผู้หญิงที่ทำหมันแล้ว จะมีโอกาสเป็นมะเร็งถุงน้ำรังไข่น้อยกว่าผู้หญิงที่ยังไม่ได้ทำหมัน ดังนั้น เมื่อผู้หญิงที่ไม่ต้องการมีบุตรแล้ว หรือไม่สามารถมีบุตรได้แล้ว ถ้ามีการรักษาใดๆ ที่จำเป็นต้องผ่าตัดในช่องท้อง ก็มักจะตัดท่อนำไข่ทั้ง 2 ข้างออกด้วยเลย เพื่อป้องกันมะเร็งรังไข่ในอนาคตทั้งนี้ การรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เป็นการป้องกันโรคได้ที่ดีที่สุด ควรหมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนคลายเครียด การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดูแลให้มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานจะช่วยให้ร่างกายของคุณผู้หญิงสร้างฮอร์โมนได้อย่างสมดุล ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

รวมเรื่องอาหารของผู้ป่วย “มะเร็ง” ฉายแสง-เคมีบำบัด

รวมเรื่องอาหารของผู้ป่วย “มะเร็ง” ฉายแสง-เคมีบำบัด

รวมเรื่องอาหารของผู้ป่วย “มะเร็ง” ฉายแสง-เคมีบำบัดแล้วกินอะไรได้บ้าง การรักษามะเร็ง มีทั้งการผ่าตัด การฉายแสง หรือการใช้ยา ส่งผลให้มักมีอาการอักเสบ หรือการสูญเสียเนื้อเยื่อ ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้รับสารอาหารอย่างครบถ้วนและเพียงพอเพื่อซ่อมแซมร่างกาย เพราะถ้าได้รับสารอาหารไม่เพียงพอแล้วล่ะก็ อาจทำให้ร่างกายฟื้นตัวช้า และการรักษาอาจไม่ได้ประสิทธิผลดีเท่าที่ควร อาหารจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้ผู้ป่วยเข้ารับการรักษามะเร็งจนครบได้ อาหารที่ควรกิน ผู้ป่วยมะเร็งจำเป็นต้องได้รับพลังงานจากอาหารต่อวันมากขึ้นกว่าคนทั่วไป เพื่อให้ผู้ป่วยแข็งแรงพอที่จะรับการรักษาตามกระบวนการทางการแพทย์ โดยผู้ป่วยควรได้รับพลังงานประมาณ 1,600 -2,000 กิโลแคลอรี่ต่อวัน จากอาหารที่มีลักษณะ ดังนี้ สุก สะอาด มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ (โปรตีน คาร์โบไฮเดรต เกลือแร่ วิตามิน ไขมัน) โดยให้เน้นโปรตีนจากพืชและสัตว์เป็นส่วนใหญ่ เพื่อช่วยฟื้นฟูร่างกาย ผัก ผลไม้ ที่ปลอกและล้างสะอาด ดื่มน้ำให้เพียงพอ ประมาณวันละ 8-10 แก้ว หรือประมาณ 2-2.5 ลิตร อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง อาหารหมักดอง อาหารไม่สด อาหารไม่สะอาด อาหารทิ้งไว้ข้ามคืน อาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก อาหารรมควัน แฮม ของปิ้งย่าง งดกินผักสด ผลไม้เปลือกบาง หรือผลไม้ที่กินทั้งเปลือกได้ เช่น องุ่น ชมพู่ ห้ามดื่มแอลกอฮอล์ ห้ามสูบบุหรี่ ทำอย่างไรเมื่อเจอผลข้างเคียงการรักษาที่ทำให้กินไม่ลง เบื่ออาหาร เลือกกินอาหารที่พอกินได้ กลิ่นและรสไม่จัด โดยอาจแบ่งออกเป็นมื้อย่อยๆ 4-6 มื้อต่อวัน หรือกินขนมเสริมที่กินได้ง่ายๆ เช่น ไอศกรีม ขนมต่างๆ อาหารทางการแพทย์ หรือ นม คลื่นไส้อาเจียน ให้กินอาหารก่อนให้ยาเคมีบำบัด หลีกเลี่ยงอาหาร หวานมัน มีกลิ่นฉุน หรือรสเผ็ดร้อน และเลือกกินอาหารที่มีลักษณะแห้งกรอบ เช่น ขนมปังกรอบ ทองม้วน เพื่อลดอาหารคลื่นไส้อาเจียน นอกจากนี้ควรจิบน้ำสะอาดๆ หรือเครื่องดื่มรสไม่จัดบ่อยๆ หลังอาเจียน เช่น น้ำหวาน น้ำผลไม้ การรับรสเปลี่ยน กลั้วปากน้ำสะอาด ก่อนกินอาหาร และให้ใช้ช้อนส้อมและอุปกรณ์ที่เป็นแก้วพลาสติก ปรุงอาหารด้วยเครื่องเทศเล็กน้อย หรือเครื่องปรุงรสเปรี้ยว โดยอาจใช้น้ำตาลปรุงอาหารเล็กน้อย เพื่อช่วยกลบการรับรสที่ผิดเพี้ยนไปได้ นอกจากนี้ยังสามารถอบลูกอมรสเปรี้ยวหรือมินต์ไว้ช่วยกระตุ้นการรับรสก็ได้ ปากแห้ง มีแผลในช่องปาก กินอาหารอ่อนนิ่ม รสไม่จัด เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ก๋วยเตี๋ยว หรือบะหมี่เกี๊ยว กินอาหารเย็น ไม่ร้อนจัดจนเกินไป และจิบน้ำเปล่าให้บ่อยขึ้น หลีกเลี่ยงการกินผลไม้ที่มีกรด เช่น มะนาว น้ำผลไม้กล่องที่มีสีเข้ม นอกจากนี้ควรบ้วนปากด้วยน้ำสะอาดทุกครั้งก่อนและหลังกินอาหาร ท้องเสีย ดื่มเครื่องดื่มเกลือแร่ หรือดื่มน้ำเปล่าบ่อย ๆ เพื่อชดเชยการสูญเสียน้ำ ลดอาหารรสจัด อาหารไขมันสูง งดผลิตภัณฑ์จากนมจนกว่าอาการจะดีขึ้น และงดอาหารที่ทำให้เกิดแก๊ส เช่น เนย ถั่ว ผักดิบ เม็ดเลือดขาวต่ำ การฉายแสงเคมีบำบัด และจากตัวโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ ทำให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย ควรระวังเรื่องวันหมดอายุของอาหาร เลือกกินอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ และระวังผักผลไม้ที่ต้องกินทั้งเปลือก มีรอยช้ำ มีเชื้อรา รวมถึงควรงดเครื่องปรุงรสที่เป็นอาหารแห้งทั้งหมด เช่น พริกไทย พริกป่น ถั่วลิสงป่น และควรล้างมือให้สะอาดเสมอเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์ต่างๆ น้ำหนักลด กินอาหารให้พลังงานสูง แต่เลี่ยงไขมันอิ่มตัว และไขมันทรานซ์ กินอาหารหลาย ๆ มื้อ กระจายตลอดทั้งวัน เติมนมผงหรืออาหารทางการแพทย์ใส่เครื่องดื่ม หากน้ำหนักลดลงมาก อาจต้องพบนักกำหนดอาหาร เพื่อจัดการการรับประทานอาหารที่เหมาะสม ท้องผูก แนะนำให้กินอาหารที่่มีกากใยมากขึ้น เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช ถั่วเม็ดแห้ง ถั่งเขียว ถั่วแดง และดื่มน้ำสะอาด 8 -10 แก้วต่อวัน กินเนื้อสัตว์ได้หรือไม่ มีหลายคนเชื่อว่าการกินเนื้อสัตว์ ทำให้มะเร็งโตเร็วขึ้น ขอยืนยันว่าเรื่องนี้ไม่เป็นความจริง เพราะมะเร็งไม่สามารถเลือกได้ว่าจะใช้พลังงานจากอาหารประเภทใดโดยเฉพาะ ที่จริงแล้วควรกินเนื้อสัตว์ด้วยซ้ำ เพราะเป็นอาหารที่มีโปรตีนสูงและครบถ้วน ซึ่งเป็นสารอาหารที่สำคัญมากสำหรับผู้ป่วย เนื่องจากจะช่วยในการซ่อมแซมร่างกายระหว่างการรักษา และบำรุงเม็ดเลือดขาวได้ ผู้ป่วยมะเร็งจึงควรเลือกกินเนื้อสัตว์ที่ปรุงสุก เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการติดเชื้อผ่านทางอาหารเพิ่มเติม ไม่กินเนื้อติดมัน และกินให้หลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหมู เนื้อไก่ หรืออาหารทะเล แต่สำหรับผู้ป่วยที่อยากกินมังสวิรัติ แนะนำว่า ควรกินโปรตีนจากไข่ หรือ นมเพิ่มเติม จริงไหมกินเต้าหู้ น้ำมะพร้าว ทำให้มะเร็งเต้านมโตเร็ว การกินน้ำเต้าหู้ และน้ำมะพร้าว มีสาร Phytoestrogen ในปริมาณน้อย จึงไม่สามารถกระตุ้นให้เกิดมะเร็งเต้านมได้ สุดท้ายนี้หากปรับเปลี่ยนวิธีการกินอาหารแล้ว อย่าลืมเช็กน้ำหนักตัวกันด้วย เพราะน้ำหนักตัวที่คงที่เป็นสัญญาณบ่งบอกว่า เรามาได้ถูกทางแล้ว! หากร่างกายได้รับพลังงานและโปรตีนไม่เพียงพอ น้ำหนักตัวของผู้ป่วยจะลดลง ซึ่งมีผลการศึกษาพบว่าจะส่งผลเสียต่อการรักษาได้ ดังนั้นจึงควรกินอาหารอย่างเพียงพอ หรือกินอาหารทางการแพทย์เพิ่มเติมเพื่อทดแทนหรือเสริมจากอาหารมื้อหลัก ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่(Endometriosis)

เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่(Endometriosis)

เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่(Endometriosis) สตรีวัยเจริญพันธุ์จะมีเยื่อบุงอกหนาขึ้นในทุก ๆ เดือนอยู่บนพื้นผิวของโพรงมดลูก เมื่อเวลาผ่านไปไม่มีการปฏิสนธิและฝังตัวของตัวอ่อนเกิดขึ้น เยื่อบุนี้จะมีการสลายตัวกลายเป็นประจำเดือน ซึ่งนับเป็นวงจรปกติ แต่หากเมื่อใดเยื่อบุนี้ไปเจริญอยู่บริเวณอื่นที่ไม่ใช่ผิวของโพรงมดลูก เรียกว่า เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ เยื่อบุเหล่านี้จะมีการสลายตัวทุกเป็นเลือดในทุก ๆ เดือนเช่นเดียวกัน เมื่อเลือดเหล่านี้ไม่มีช่องทางการระบายออกจะทำให้เกิดเลือดคั่งอยู่ภายใน เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อโดยรอบ และกลายเป็นถุงซีสต์ อาการ อาการแสดงในบางรายอาจเกิดอาการปวดท้องหรือปวดหลังขณะมีประจำเดือน มักปวดมากขึ้นเมื่อถึงวันท้าย ๆ ของการมีรอบเดือน หรือปวดขณะร่วมเพศ และในบางรายอาจมีประจำเดือนออกมากกว่าปกติ การรักษา สำหรับการรักษาขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรง เเพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจึงต้องพิจารณาแนวทางการรักษาตามความเหมาะสมต่อไป ซึ่งแนวทางการรักษามีตั้งแต่การรับประทานยาคุมกำเนิดจนถึงผ่าตัด เพราะฉะนั้นเมื่อสงสัยไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยให้แน่ชัด เมื่อความรุนแรงน้อยการรักษาก็มักจะไม่ซับซ้อนตามไปด้วย สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-3198888

ตกขาว

ตกขาว

ตกขาว(ปกติ) ตกขาวปกติมักมีลักษณะเป็นมูกใสหรือคล้ายเเป้งเปียก แต่ไม่มีกลิ่น ไม่มีสี ไม่คัน โดยทั่วไปแล้ว สตรีอาจมีการตกขาวบ้างเล็กน้อย โดยเฉพาะช่วงของการตกไข่ ช่วงของการตั้งครรภ์ หรือช่วงที่รับประทานยาคุมกำเนิด ก็อาจจะยิ่งทำให้มีการตกขาวได้ชัดเจนขึ้น หากตกขาวมีลักษณะดังกล่าวข้างต้นก็ไม่มีข้อบ่งชี้ที่จะต้องรักษาแต่อย่างใด เว้นแต่การตกขาวนั้นเป็นอยู่นานเกิน 2 สัปดาห์ มีสีที่เปลี่ยนแปลง มีกลิ่น สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

วัคซีนมะเร็งปากมดลูก

วัคซีนมะเร็งปากมดลูก

วัคซีน HPV 9 สายพันธุ์ การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก เพื่อกระตุ้นภูมิคุ่มกันร่างกายนั้น นับว่ามีประสิทธิภาพเป็นที่น่าพอใจในการป้องกันการเกิดโรคที่เกิดจากเชื้อ HPV สายพันธุ์เดียวกับวัคซีนที่ฉีด ซึ่งปัจจุบันมาวัคซีน HPV 9 สายพันธุ์ ที่ครอบคลุมป้องกันการเกิดโรคได้หลายโรคทั้งในเพศหญิงและเพศชาย ข้อบ่งชี้ในการรับวัคซีน 1.เพื่อป้องกันการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์เดียวกับวัคซีนที่ฉีด 2.เพื่อป้องกันรอยโรคก่อนมะเร็งและมะเร็งอวัยวะเพศสตรีที่เกิดจากการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์เดียวกับวัคซีนที่ฉีด ข้อห้ามในการฉีดวัคซีน เคยมีประวัติเเพ้วัคซีน HPV หรือแพ้ส่วนประกอบของวัคซีน HPV