มะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่

ปกติผู้หญิงจะมีรังไข่สองข้าง โอกาสที่จะเกิดมะเร็งรังไข่ทั้งสองข้างพร้อมๆ กันมีประมาณ 25% และเป็นโรคที่พบได้ตั้งแต่อายุน้อย และมีโอกาสเสี่ยงสูงมากขึ้นเมื่อผู้หญิงมีอายุ 50 ปีขึ้นไป ประวัติการณ์ของโรคมะเร็งรังไข่ในไทยเป็นมะเร็งของอวัยวะสืบพันธุ์สตรีพบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 รองลงมาจากมะเร็งปากมดลูก และเป็นอันดับ 6 ของมะเร็งทั้งหมดที่พบในหญิงไทย ซึ่งอุบัติการณ์ของมะเร็งรังไข่ 5.2 ต่อประชากรสตรี 100,000 คนต่อปี ปัจจุบันได้มีการค้นพบยีนที่เกี่ยวข้องกับการเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งรังไข่

สาเหตุการเกิดมะเร็งรังไข่ สามารถเกิดขึ้นได้ 3 กลุ่มใหญ่คือ

  • มะเร็งฟองไข่ที่เกิดจากเซลล์ตัวอ่อน มีโอกาสพบได้ 5%
  • มะเร็งที่เกิดจากเซลล์เยื่อบุผิวรังไข่ ซึ่งพบได้เป็นส่วนใหญ่คือประมาณ 90%
  • มะเร็งเนื้อรังไข่ ซึ่งมีโอกาสพบได้น้อยมาก

สาเหตุ” ของการเกิดมะเร็งรังไข่

  • ส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม ยิ่งในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคมะเร็งก็จะมีโอกาสเป็นมะเร็งสูงขึ้น
  • พบในคนอ้วนมากกว่าคนผอม
  • เกิดกับคนที่มีประจำเดือนเร็วคืออายุน้อยกว่า 12 ปี หรือหมดประจำเดือนช้ากว่าอายุ 55 ปี
  • คนที่มีภาวะมีบุตรยากและต้องใช้ยากระตุ้นการตกไข่
  • หญิงที่ยังไม่เคยตั้งครรภ์ก็มีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่สูงกว่าหญิงที่เคยตั้งครรภ์มากกว่า 2 ครรภ์ขึ้นไป

อาการเริ่มต้นของ “มะเร็งรังไข่

น่าแปลกที่อาการเริ่มแรกแทบไม่เกี่ยวข้องกับมะเร็งรังไข่เลย เช่น อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ กินอาหารนิดเดียวก็รู้สึกอึดอัดในช่องท้อง รวมถึงมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ ท้องเสีย ท้องผูก เบื่ออาหาร น้ำหนักขึ้นหรือลดลงโดยไม่มีสาเหตุ ปัสสาวะบ่อย ซึ่งอาการต่างๆ เหล่านี้ทำให้หลายคนประมาทและไม่คิดว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของมะเร็งรังไข่ได้ กว่าจะพบก็มักจะเป็นในระยะลุกลามไปแล้ว คือจะคลำพบก้อนเนื้อบริเวณท้องน้อยเริ่มมีอาการปวดท้อง หรือมีน้ำในช่องท้อง

4 ระยะของมะเร็งรังไข่

  • ระยะที่ 1: เซลล์มะเร็งกระจายอยู่เฉพาะรังไข่ หากมีการตรวจพบในช่วงนี้ ก็จะทำการผ่าตัดรักษาได้ทันท่วงที โดยที่ยังไม่ลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ หากมีการตรวจภายในเป็นประจำก็มีโอกาสที่จะพบในระยะนี้ได้มากกว่าคนที่ไม่เคยตรวจเลย
  • ระยะที่ 2: เซลล์มะเร็งกระจายไปสู่อุ้งเชิงกราน ก็ยังอยู่ในระยะที่ตรวจพบได้น้อยเช่นกัน เนื่องจากไม่มีอาการใดๆ แสดงออกมาเลย ทำให้มะเร็งรังไข่ลุกลามกลายเป็นภัยเงียบที่อันตรายกว่าที่หลายคนคิด
  • ระยะที่ 3: เซลล์มะเร็งกระจายไปสู่เยื่อบุช่องท้อง เป็นระยะที่มักตรวจพบมากที่สุด เนื่องจากหน้าท้องจะขยายใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็วจนสังเกตเห็นได้ถึงความผิดปกตินี้ เนื่องจากสารน้ำต่างๆ ในท้องมากขึ้น และคนไข้จะมีอาการตึงและแข็งที่ท้องมากขึ้น แต่น้ำหนักกลับลดลง
  • ระยะที่ 4: เซลล์มะเร็งกระจายเข้าสู่อวัยวะอื่นๆ นอกช่องท้อง อาจไล่ไปที่ตับ ปอดอย่างรวดเร็ว

เนื่องจากการไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้น กลุ่มเสี่ยงที่เกิดมาข้างต้นและมีอาการแปลกๆ จึงไม่ควรมองข้าม เพราะในระยะแรกจะสามารถรักษาได้ง่ายกว่าในระยะอื่นๆ ดังนั้นผู้หญิงเราจึงควรป้องกันด้วยการตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี และเน้นการตรวจภายในหรือตรวจอัลตร้าซาวด์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และควรลดการรับประทานไขมันจากสัตว์ เพราะหากทานปริมาณที่มากเกินไปก็อาจมีแนวโน้มความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งรังไข่ได้มากเท่านั้น และรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาหากพบความผิดปกติอย่างเร่งด่วน ซึ่งก็มีตั้งแต่การผ่าตัด การใช้เคมีบำบัด และการฉายรังสี

ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

บทความที่เกี่ยวข้อง

วัคซีนมะเร็งปากมดลูก

วัคซีนมะเร็งปากมดลูก

วัคซีน HPV 9 สายพันธุ์ การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก เพื่อกระตุ้นภูมิคุ่มกันร่างกายนั้น นับว่ามีประสิทธิภาพเป็นที่น่าพอใจในการป้องกันการเกิดโรคที่เกิดจากเชื้อ HPV สายพันธุ์เดียวกับวัคซีนที่ฉีด ซึ่งปัจจุบันมาวัคซีน HPV 9 สายพันธุ์ ที่ครอบคลุมป้องกันการเกิดโรคได้หลายโรคทั้งในเพศหญิงและเพศชาย ข้อบ่งชี้ในการรับวัคซีน 1.เพื่อป้องกันการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์เดียวกับวัคซีนที่ฉีด 2.เพื่อป้องกันรอยโรคก่อนมะเร็งและมะเร็งอวัยวะเพศสตรีที่เกิดจากการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์เดียวกับวัคซีนที่ฉีด ข้อห้ามในการฉีดวัคซีน เคยมีประวัติเเพ้วัคซีน HPV หรือแพ้ส่วนประกอบของวัคซีน HPV

เจาะชิ้นเนื้อรก

เจาะชิ้นเนื้อรก

มารู้จักหัตถการเจาะชิ้นเนื้อรกกันเถอะ คุณแม่ๆ เคยได้ยินกันไหมครับว่าอะไรคือ "เจาะชิ้นเนื้อรก" หลายคนอาจเคยได้ยินแค่ "เจาะน้ำคร่ำ" มาดูกันครับว่าต่างกันอย่างไร ? เนื่องจากปัจจุบันมีโรงพยาบาลที่สามารถทำหัตถการนี้ได้ไม่มาก และต้องทำโดยแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์เท่านั้น เพราะเป็นหัตถการที่ต้องอาศัยความชำนาญและความแม่นยำมากกว่าการเจาะน้ำคร่ำ คนส่วนใหญ่จึงอาจไม่ค่อยรู้จักการตรวจชนิดนี้ เจาะเนื้อรกตรวจอะไร การเจาะเนื้อรก (Chorionic villi sampling: CVS) หลักๆ คือการตรวจโครโมโซมและกลุ่มโรคทางพันธุกรรมของทารก โดยจะตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรคโดยตรง เช่น มารดาอายุมาก หรือมีบุตรโครโมโซมผิดปกติในครรภ์ก่อน ผลตรวจคัดกรองดาวน์มีความเสี่ยงสูง ทารกในครรภ์มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคทางพันธุกรรม อัลตราซาวด์พบความผิดปกติที่สงสัยว่าสัมพันธ์กับภาวะโครโมโซมผิดปกติ เป็นต้น โดย อายุครรภ์ที่เหมาะสมต่อการเจาะชิ้นเนื้อรกคือระหว่าง 11-14 สัปดาห์ และทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ข้อดีของการตรวจนี้คือการรู้ผลเร็ว ทำให้สามารถวางแผนการตั้งครรภ์และการดูแลรักษาได้เร็วขึ้น เช่น คุณแม่ที่ตรวจคัดกรองดาวน์แล้วทราบว่าความเสี่ยงสูงก็จะสามารถเลือกวิธีตรวจที่ทราบผลเร็ว หากทารกมีภาวะผิดปกติจริง การยุติการตั้งครรภ์ตั้งแต่อายุครรภ์น้อยจะปลอดภัยกว่าการรอให้ครรภ์โตมาก การเจาะเนื้อรกทำอย่างไร การเจาะเนื้อรกจะทำโดยการใช้อุปกรณ์ผ่านเข้าไปในมดลูกของคุณแม่เพื่อเก็บเนื้อรกออกมาปริมาณเล็กน้อย โดยทั่วไปจะไม่ผ่านเข้าไปในถุงน้ำคร่ำที่ทารกอยู่โดยตรง มีสองวิธีคือ การเจาะผ่านทางหน้าท้อง และการเก็บชิ้นเนื้อรกผ่านทางช่องคลอด การเจาะเนื้อรกไม่ต้องวางยาสลบ อาจมีการฉีดยาชาในกรณีเจาะผ่านหน้าท้อง ใช้เวลาทำไม่นาน แพทย์จะใช้อัลตราซาวด์ประกอบการเจาะเพื่อให้มั่นใจว่าเข็มอยู่ในบริเวณที่เหมาะสม หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อที่ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพ จันทบุรี 039-319877

ติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน

ติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน

ปีกมดลูกอักเสบ(Salpingitis/PID) และ มดลูกอักเสบ(Endometritis) ปีกมดลูกอักเสบ คือการอักเสบของท่อรังไข่รวมทั้งรังไข่และเนื้อเยื่อโดยรอบที่อยู่ในอุ้งเชิงกราน เป็นโรคที่พบได้ในสตรีวัยเจริญพันธุ์ เกิดขึ้นจากเชื้อแบคทีเรีย โดยผ่านเข้าทางช่องคลอดผ่านเข้าไปในมดลูกและลุกลามไปถึงท่อรังไข่ เกิดปีกมดลูกอักเสบ ดังนั้น ปีกมดลูกอักเสบ(Salpingitis)จึงมักเกิดร่วมกับมดลูกอักเสบ(Endometritis) อาการ ปีกมดลูกอักเสบเฉียบพลัน ไข้ หนาวสั่น ปวดและกดเจ็บที่ท้องน้อยอย่างรุนแรง อาจมีปัสสาวะขัด ตกขาวเป็นหนองมีกลิ่นเหม็น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหลัง ปีกมดลูกอักเสบเรื้อรัง ปวดหน่วงท้องน้อย เป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง อาจมีไข้ต่ำ ๆ บางรายอาจปวดหลัง ปวดประจำเดือน หรือถึงขั้นเป็นหมัน มดลูกอักเสบ ไข้สูง หนาวสั่น กดเจ็บรุนแรงกลางท้องน้อย มีตกขาวเป็นหนองจำนวนมาก มีกลิ่นเหม็น ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ฝีในรังไข่ ตั้งครรภ์นอกมดลูก เยื่อบุช่องท้องอักเสบ ติดเชื้อในหระแสเลือด การรักษา การรักษาหลักคือการรักษาด้วยยา แต่กรณีผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนเป็นฝีที่รังไข่ แพทย์อาจพิจารณารักาาด้วยการผ่าตัด สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพบาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

ปวดประจำเดือน กับ ซีสต์รังไข่

ปวดประจำเดือน กับ ซีสต์รังไข่

ปวดประจำเดือน กับ ซีสต์รังไข่ "ซีสต์" มาจากภาษาอังกฤษว่า "cyst" มีความหมายว่า "ถุงน้ำ" ดังนั้น ไม่ว่าอะไรก็ตามที่มีเปลือกและมีน้ำหรือของเหลวภายในก็จะเรียกว่า "ซีสต์" เหมือนกันทั้งหมด โดยอวัยวะทุกอวัยวะภายในร่างกายของคนเรามีโอกาสจะเกิดซีสต์ได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นผิวหนัง ไขมัน กระดูก อวัยวะภายใน หรือ แม้กระทั่งสมองก็มีซีสต์เกิดขึ้นได้ ขณะที่ผู้หญิงก็จะมีความพิเศษมากกว่าผู้ชาย ตรงที่มีอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง โดยเฉพาะมีรังไข่ที่มีโอกาสเกิดซีสต์ขึ้นได้บ่อยๆ ยิ่งเมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ก็จะเกิดซีสต์หรือถุงน้ำรังไข่ โตแล้วยุบหายไปตามรอบเดือน ซึ่งเกิดจากการตกไข่ตามปกติ ถุงน้ำรังไข่หรือซีสต์รังไข่มี 3 ประเภท ฟังค์ชั่นนัล ซีสต์ (Functional Cyst) ถุงน้ำรังไข่ที่เกิดจากการทำงานตามปกติของรังไข่เพื่อสร้างไข่ที่เป็นเซลล์สืบพันธุ์ของฝ่ายหญิง จะเป็นถุงน้ำที่โตขึ้นแล้วแตกทำให้เซลล์ไข่ไหลออกมา หลังจากนั้นถุงน้ำนี้ก็จะค่อยๆ ยุบตัวไปเอง เนื้องอกถุงน้ำรังไข่ (Ovarian Tumor หรือ Ovarian Cyst) เนื้องอกรังไข่ชนิดที่มีของเหลวภายใน ซึ่งอาจเป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง (ไม่ใช่มะเร็ง) หรือ ชนิดร้ายแรง (มะเร็ง) ก็ได้ โดยมากเนื้องอกแต่ละชนิดมักจะมีลักษณะเฉพาะที่พอจะบอกได้ว่าเป็นชนิดใด เช่น Dermoid Cyst (ถุงน้ำเดอร์มอยด์) ซึ่งภายในถุงน้ำมักจะมีน้ำ, ไขมัน เส้นผม กระดูกและฟัน เมื่อเอ็กซเรย์ดูหรือตรวจอัลตราซาวด์ ก็มักจะบอกได้ว่าเป็นเนื้องอกชนิดนี้ ส่วนเนื้องอกถุงน้ำชนิดที่เป็นมะเร็งบางชนิด จะมีการสร้างสารเคมีที่ตรวจพบว่ามีปริมาณสูงมาก ๆ ในกระแสเลือดได้ เช่น CA 125 ก็สามารถบ่งบอกล่วงหน้าได้ว่าน่าจะเป็นมะเร็ง ถุงน้ำที่คล้ายเนื้องอก (Tumor like condition) คือถุงน้ำที่เกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ที่เกิดขึ้นที่รังไข่ เมื่อมีรอบเดือนเยื่อบุโพรงมดลูกนี้ก็จะมีเลือดซึมออกมาสะสมในถุงน้ำนี้เรื่อย ๆ จนเป็นเลือดเก่า ๆ ข้น ๆ สีคล้ายช็อกโกแลต จึงเรียกว่า ช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst) อาการซีสต์รังไข่ที่ควรสังเกต ส่วนใหญ่ไม่มีสัญญาณเตือนหรือมีอาการใด ๆ แต่โดยมากจะมาตรวจพบก็เมื่อคนไข้เข้ามาตรวจสุขภาพประจำปี หรือมาตรวจพบโดยบังเอิญเมื่อมีอาการของโรคอื่นๆ แต่หากมีอาการ จะสามารถ สังเกตได้ ดังนี้ มีอาการปวดท้องน้อย และถ้าปวดสัมพันธ์กับรอบเดือนก็อาจสงสัยว่าจะมีช็อกโกแลตซีสต์ บางรายอาจรู้สึกว่าปัสสาวะบ่อยขึ้น เนื่องจากซีสต์โตพอสมควรและไปเบียดกระเพาะปัสสาวะ บางรายแค่มีอาการหน่วงๆ ท้องน้อย บางคนไม่มีอาการเลยแต่รู้สึกหรือเข้าใจไปว่ามีหน้าท้องโตเพราะอ้วนก็ได้ บางรายมีอาการปวดท้องน้อยเฉียบพลัน จากขั้วถุงน้ำรังไข่บิด หรือถุงน้ำรังไข่แตกก็ได้ บางคนอาจมีประจำเดือนผิดปกติ คือ มามาก มากระปริบกระปรอย ปวดประจำเดือนมากขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละเดือน ในกรณีร้ายแรงที่ถุงน้ำแตกออกและมีเส้นเลือดฉีกขาดอาจทำให้ตกเลือดในช่องท้องได้ ซึ่งเสี่ยงต่ออันตรายและมีโอกาสทำให้เสียชีวิต ทำให้เห็นได้ว่าโรคนี้แม้ไม่ใช่มะเร็งร้ายแต่ก็สามารถก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ และก่อให้เกิดอันตรายได้ คุณผู้หญิงควรให้ความสนใจหากมีอาการผิดปกติ ในข้อใดข้อหนึ่งดังที่ได้กล่าว ควรพบสูติ-นรีแพทย์ เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงและทำการรักษา ป้องกันการเกิดซีสต์ ได้หรือไม่ ? สาเหตุถุงน้ำรังไข่ที่ไม่ใช่ Functional Cyst ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดบางชนิดเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ แต่ในปัจจุบันมีข้อมูลที่เชื่อถือได้ว่า ต้นเหตุของเนื้องอกถุงน้ำรังไข่ที่เป็นมะเร็ง ส่วนใหญ่เกิดมาจากเซลล์เยื่อบุของท่อนำไข่ ที่มีการกลายเป็นเซลล์ผิดปกติ หลุดมาติดที่รังไข่ และเติบโตต่อไปเป็นมะเร็งรังไข่ จากข้อมูลทางสถิติพบว่า ผู้หญิงที่ทำหมันแล้ว จะมีโอกาสเป็นมะเร็งถุงน้ำรังไข่น้อยกว่าผู้หญิงที่ยังไม่ได้ทำหมัน ดังนั้น เมื่อผู้หญิงที่ไม่ต้องการมีบุตรแล้ว หรือไม่สามารถมีบุตรได้แล้ว ถ้ามีการรักษาใดๆ ที่จำเป็นต้องผ่าตัดในช่องท้อง ก็มักจะตัดท่อนำไข่ทั้ง 2 ข้างออกด้วยเลย เพื่อป้องกันมะเร็งรังไข่ในอนาคตทั้งนี้ การรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เป็นการป้องกันโรคได้ที่ดีที่สุด ควรหมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนคลายเครียด การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดูแลให้มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานจะช่วยให้ร่างกายของคุณผู้หญิงสร้างฮอร์โมนได้อย่างสมดุล ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

มะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูก เชื้อ HPV เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งปากมดลูก ซึ่ง HPV มีมากกว่า 200 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่เมื่อติดเเล้วมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็งปาดมดลูก ได้แก่ HPV 16 , 18 , 31 , 33 , 35 , 39 , 45 , 52 , 56 โดยเฉพาะเชื้อสายพันธุ์ 16 และ 18 ที่นับว่ามีความเสี่ยงสูงมากกว่าตัวอื่น ๆ ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลูก ปัจจัยเสี่ยงทางเพศหญิง การมีคู่นอนหลายคน การมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อยกว่า 17 ปี การตั้งครรภ์และการคลอดลูกมากกว่า 4 ครั้ง มีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เริม ซิฟิลิส และหนองใน เป็นต้น ไม่เคยได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมาก่อน ปัจจัยทางฝ่ายชาย ผู้ชายที่เป็นมะเร็งองคชาต ผู้ชายที่เคยมีภรรยาเป็นมะเร็งปากมดลูก ผู้ชายที่เคยมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย ผู้ชายที่มีคู่นอนหลายคน ปัจจัยอื่น ๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปากมดลูก การสูบบุหรี่ ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น โรคเอดส์ และการได้รับยากดภูมิคุ้มกัน อาการของมะเร็งปากมดลูก ตกเลือดทางช่องคลอด เลือดออกกะปริบกะปรอยระหว่างรอบเดือน เลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ มีน้ำออกปนเลือด ตกขาวปนเลือด อาการในระยะหลังเมื่อมะเร็งลุกลาม ขาบวม ปวดหลังรุนแรง ปัสสาวะเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด การป้องกันมะเร็งปากมดลูก การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก

อันตรายจากเชื้อ HPV

อันตรายจากเชื้อ HPV

อันตรายจากเชื้อ HPV