รับสมัครผู้สนใจ "เลเซอร์รีแพร์"

รับสมัครผู้สนใจ "เลเซอร์รีแพร์"

🎉 แจกฟรี! โปรแกรมเลเซอร์สุดพิเศษจากโรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 🎉 #กดแชร์ก่อนเลยยยย

👉 ฟรี 3 ท่าน! “รีวิวหลังรีแพร์น้องสาว” คืนความมั่นใจและสุขภาพที่ดี ด้วยเลเซอร์กระชับช่องคลอด #แบบไม่ต้องผ่าตัด

📸 ฟรีอีก 3 ท่าน! รีวิวเลเซอร์รักษารอยแผล รอยท้องแตกลาย และแผลผ่าตัดหลังคลอด ท่านละ 3 ครั้ง #รีวิวหลังเห็นผลชัดเจน

ให้การดูแลโดยแพทย์เฉพาะทางที่ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี มั่นใจในคุณภาพและผลลัพธ์ที่คุณจะได้รับ

#รีวิวเลเซอร์ #กระชับช่องคลอด #รักษารอยแผลผ่าตัด #สุขภาพสตรี #โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี

#คุณสมบัติผู้สมัคร

✅ คุณแม่หลังคลอด รู้สึกไม่กระชับ

✅ ผู้ที่มีปัญหาปัสสาวะเล็ด

✅ ผู้ที่มีปัญหาช่องคลอดแห้ง

✅ ผู้ที่มีช่องคลอดหลวมแต่ไม่อยากพักฟื้น ไม่อยากผ่าตัด

✅ ผู้ที่มีความรู้สึกเจ็บหลังมีเพศสัมพันธ์

✅ มีปัญหาท้องลาย หลังคลอด

✅ สะดวกรับบริการไม่เกินวันที่ 15 ธันวาคม 2567

✅ สะดวกรีวิวหลังรับบริการ

🤎ผู้ที่สนใจแชร์โพสต์นี้ เป็นสาธารณะ 🤎

พร้อมลงทะเบียน โปรแกรมที่สนใจ..

เคสรีวิวเลเซอร์กระชับช่องคลอด (ฟรี 1 ครั้ง)

https://docs.google.com/.../1ru2AOlfs4uoiPVaS.../viewform...

เคสรีวิวเลเซอร์รักษารอยแผลผ่าตัดหลังคลอด (ฟรี 3 ครั้ง)

https://docs.google.com/.../1KE0Sex8C80zzrjnuc0p2KVg.../edit

🎉เปิดลงทะเบียนวันที่ 8 - 25 ตุลาคม 2567

🎉นัดคัดเลือกวันที่ 26 - 29 ตุลาคม 2567

🎉ประกาศผล 30 ตุลาคม 2567

🎉สะดวกรับบริการไม่เกินวันที่ 15 ธันวาคม 2567

#เลเซอร์รีแพร์ #ศูนย์สุขภาพสตรี

บทความที่เกี่ยวข้อง

Laser repair กระชับช่องคลอด

Laser repair กระชับช่องคลอด

“เปลี่ยนเรื่องใหญ่ ให้กลายเป็นเรื่องเล็ก” คืนความสดใสให้น้องสาว ด้วยนวัตกรรมไร้ใบมีด Laser Repair เห็นผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลง #ในครั้งแรกที่ทำ Laser repair กระชับช่องคลอด เป็นการรักษาเพื่อกระตุ้นคอลลาเจน กระตุ้นการไหลเวียนเลือด ทำให้ช่วยเพิ่มการหดกระชับของผิวช่องคลอดทั้งเยื่อบุทำให้แก้ปัญหาช่องคลอดแห้ง ป้องกันปัญหาช่องคลอดหย่อนคล้อย เพิ่มความกระชับมีเพศสัมพันธ์ที่ดีขึ้น พึงพอใจทางเพศมากขึ้น แก้ปัญหาปัสสาวะเล็ด เป็นการรักษาด้วย Laser ที่มีความหนาแน่นกว่าช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อช่องคลอด ทำให้ท่อปัสสาวะที่มีปัญหากลับมาใช้งานได้ตามปกติ กลั้นปัสสาวะได้ดีขึ้นลดปัญหาเข้าห้องน้ำบ่อย ลดอาการปัสสาวะเล็ดขณะไอหรือจาม การเตรียมตัวก่อนการรักษา ควรรักษาก่อนมีประจำเดือน หรือหลังมีประจำเดือนวันสุดท้ายไปแล้ว 1 สัปดาห์ การรักษา จะรู้สึกอุ่นๆ หรือร้อนเพียงเล็กน้อย ซึ่งแพทย์จะดูแลอย่างใกล้ชิด ผลการรักษาขึ้นอยู่กับระดับความหย่อยคล้อยเดิมที่มีอยู่ ควรเข้ารับการรักษา 2-3 ครั้ง โดยเว้นระยะห่าง 4-6 สัปดาห์ จะรู้สึกช่องคลอดกระชับขึ้น ทั้งในเยื่อบุและผนังรอบนอก ผลที่เกิดขึ้นทันทีเกิดจากความร้อนของเลเซอร์ ส่วนคอลลาเจนที่เกิดใหม่จะค่อยๆ ดีขึ้นเรื่อยๆ และเห็นผลชัดเจนใน 2 สัปดาห์ ทำโดยแพทย์เฉพาะทางสูตินรีเวช สอบถามเพิ่มเติม หรือนัดหมาย โทร 039 319888 #ศูนย์สุขภาพสตรี #เลเซอร์กระชับช่องคลอด, #เลเซอร์รักษาปัสสาวะเล็ด

เลเซอร์ รีเเพร์

เลเซอร์ รีเเพร์

💕👩🏻ฟื้นฟูความมั่นใจให้คุณผู้หญิง ด้วยเลเซอร์ฟื้นฟูจุดซ่อนเร้น ปัญหาช่องคลอดที่เกิดขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นช่องคลอดแห้ง ช่องคลอดหลวม อาการเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ หรือปัญหาปัสสาวะเล็ดจากการไอหรือจาม และอวัยวะเพศคล้ำ หย่อนคล้อย สิ่งเหล่านี้อาจทำให้คุณขาดความมั่นใจในชีวิตประจำวัน 👩🏻เลเซอร์ฟื้นฟูจุดซ่อนเร้น เทคโนโลยีเลเซอร์ 360 องศาที่ออกแบบมาเพื่อช่วยแก้ปัญหาภายในให้คุณผู้หญิงโดยเฉพาะ โดยไม่ต้องผ่าตัด แสงเลเซอร์จะช่วยกระตุ้นการสร้างและจัดเรียงเส้นคอลลาเจนในบริเวณผนังช่องคลอด ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น และปรับสมดุล ทำให้ช่องคลอดชุ่มชื้น ลดอาการปัสสาวะเล็ด อีกทั้งยังสามารถทำให้ผิวภายนอกอวัยวะเพศกลับมาขาวกระจ่างใสได้ภายใน 1 สัปดาห์ ขั้นตอนการรักษาง่ายและรวดเร็ว ใช้เวลาไม่นานและเห็นผลทันทีหลังจากการทำครั้งแรก ควรทำต่อเนื่องเพียง 3 ครั้ง โดยเว้นระยะ 1-2 เดือน ทำให้คุณไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการใช้เวลาในขั้นตอนนี้ เตรียมพร้อมสำหรับการทำเลเซอร์ฟื้นฟูจุดซ่อนเร้น : - ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเข้ารับบริการ - ควรทำหลังจากมีรอบเดือน - หากมีประวัติเป็นเริมหรือใช้ยาลดการแข็งตัวของเลือด ควรแจ้งแพทย์ล่วงหน้า เปลี่ยนปัญหาที่คุณกังวลให้เป็นเรื่องเล็ก ๆ ด้วยเลเซอร์ฟื้นฟูจุดซ่อนเร้น ฟื้นฟูความมั่นใจ และพร้อมใช้ชีวิตอย่างมั่นใจอีกครั้งกับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เช็กตารางออกตรวจแพทย์ ศูนย์สุขภาพสตรี คลิก https://doctor.bangkokhospitalchanthaburi.com/alldoctor.php สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

เดอร์มอยซีสต์

เดอร์มอยซีสต์

เดอร์มอยซีสต์ เชื่อว่าหลายคน เคยได้ยินโรคซีสต์หรือถุงน้ำที่รังไข่ แต่ไม่คุ้นเคยกับโรคถุงน้ำเดอร์มอยด์ (Dermoid Cyst) ที่เกิดจากเซลล์ที่มีความสามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์ชนิดต่าง ๆ มาอยู่ที่บริเวณรังไข่ตั้งแต่แรกเกิด แล้วมีการพัฒนาหรือถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยบางอย่างให้เจริญไปเป็นเซลล์ไขมัน เส้นผม กระดูกอ่อน หรือฟัน จนคิดว่าโดนของหรือคุณไสยฯ ทั้งที่ความจริง ทางการแพทย์ได้มีการอธิบายเอาไว้ โรคถุงน้ำเดอร์มอยด์ เป็นโรคที่พบได้บ่อย ๆ ในคุณผู้หญิง ที่น่าสนใจคือ มักจะไม่มีอาการใด ๆ เลย และพบได้แม้อายุยังน้อย ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งโอกาสกลายเป็นมะเร็งมีน้อยมาก ภาวะแทรกซ้อนของโรคถุงน้ำเดอร์มอยด์ บิดขั้ว เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้มากที่สุดในโรคถุงน้ำเดอร์มอยด์ คนไข้จะมีอาการปวดบริเวณท้องน้อยด้านซ้ายหรือขวา กดเจ็บบริเวณท้องน้อย คลื่นไส้ อาเจียน หรืออาจมีไข้ต่ำ ๆ ได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดฉุกเฉินจะทำให้รังไข่ข้างนั้น ๆ ขาดเลือดไปเลี้ยงเป็นเวลานาน ส่งผลให้รังไข่เน่า ทำให้จำเป็นต้องตัดรังไข่ข้างนั้นทิ้งในที่สุด แตกหรือรั่ว เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้กับโรคถุงน้ำรังไข่ทุกชนิด รวมทั้งโรคถุงน้ำเดอร์มอยด์ คนไข้จะมีอาการปวดท้องน้อยฉับพลัน และปวดตลอดเวลา ซึ่งถ้ามีเลือดออกในช่องท้องจำนวนมาก จะทำให้เกิดภาวะช็อกได้ ติดเชื้อ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ไม่บ่อยนัก แต่ก็ทำให้เกิดอาการรุนแรงได้ คนไข้จะมีอาการไข้สูง ร่วมกับการปวดท้องน้อยที่รุนแรง มะเร็ง แม้จะมีโอกาสน้อยแต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ ทางการแพทย์พบโอกาสเป็นมะเร็งได้ประมาณ 1% ถุงน้ำเดอร์มอยด์ เป็นโรคที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเท่านั้น ไม่สามารถทำให้เล็กลงด้วยยาหรือฮอร์โมน ซึ่งต่างจากช็อกโกแลตซีสต์ ผ่าตัดเลาะเฉพาะถุงน้ำ (Ovarian Cystectomy) โดยจะทำในกรณีที่ยังไม่มีรังไข่เน่า จากภาวะแทรกซ้อนจากรังไข่บิดขั้ว และถุงน้ำมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก ดังนั้นการตรวจพบถุงน้ำรังไข่ก่อนที่จะมีขนาดใหญ่จนเกิดภาวะแทรกซ้อนจึงเป็นการดีที่สุด เพราะการผ่าตัดในขณะที่ขนาดถุงน้ำรังไข่มีขนาดเล็กนั้นทำได้ง่ายกว่า และสูญเสียเนื้อรังไข่น้อยกว่า ส่งผลดีในกรณีที่คนไข้อายุยังน้อย และมีความต้องการมีบุตรในอนาคต ผ่าตัดรังไข่ข้างนั้น ๆ (Unilateral Oophorectomy) จะทำในกรณีที่มีภาวะรังไข่เน่าจากการที่รังไข่บิดขั้ว ทำให้รังไข่ขาดเลือดไปเลี้ยงเป็นเวลานานจนรังไข่เน่า กรณีที่ถุงน้ำมีขนาดใหญ่มาก ๆ ไม่มีเนื้อรังไข่ส่วนที่ดีเหลืออยู่ และรังไข่อีกข้างดูปกติดี เพราะการเหลือรังไข่ 1 ข้าง เพียงพอสำหรับการผลิตฮอร์โมนเพศหญิงได้ หรือกรณีที่อายุมาก ๆ สงสัยว่าอาจมีเซลล์มะเร็ง อย่างไรก็ตาม คุณผู้หญิงทุกเดอร์มอยด์ซีสต์ เป็นโรคถุงน้ำรังไข่ชนิดหนึ่ง ไม่ใช่โรคจากการถูกทำไสยศาสตร์ตามที่เข้าใจกัน หากผู้ป่วยมีอาการ เช่น ปวดท้องน้อยฉับพลัน หรือรุนแรง ควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที ขอบคุณข้อมูลจาก : ฺBDMS สถานีสุขภาพ

เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่(Endometriosis)

เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่(Endometriosis)

เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่(Endometriosis) สตรีวัยเจริญพันธุ์จะมีเยื่อบุงอกหนาขึ้นในทุก ๆ เดือนอยู่บนพื้นผิวของโพรงมดลูก เมื่อเวลาผ่านไปไม่มีการปฏิสนธิและฝังตัวของตัวอ่อนเกิดขึ้น เยื่อบุนี้จะมีการสลายตัวกลายเป็นประจำเดือน ซึ่งนับเป็นวงจรปกติ แต่หากเมื่อใดเยื่อบุนี้ไปเจริญอยู่บริเวณอื่นที่ไม่ใช่ผิวของโพรงมดลูก เรียกว่า เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ เยื่อบุเหล่านี้จะมีการสลายตัวทุกเป็นเลือดในทุก ๆ เดือนเช่นเดียวกัน เมื่อเลือดเหล่านี้ไม่มีช่องทางการระบายออกจะทำให้เกิดเลือดคั่งอยู่ภายใน เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อโดยรอบ และกลายเป็นถุงซีสต์ อาการ อาการแสดงในบางรายอาจเกิดอาการปวดท้องหรือปวดหลังขณะมีประจำเดือน มักปวดมากขึ้นเมื่อถึงวันท้าย ๆ ของการมีรอบเดือน หรือปวดขณะร่วมเพศ และในบางรายอาจมีประจำเดือนออกมากกว่าปกติ การรักษา สำหรับการรักษาขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรง เเพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจึงต้องพิจารณาแนวทางการรักษาตามความเหมาะสมต่อไป ซึ่งแนวทางการรักษามีตั้งแต่การรับประทานยาคุมกำเนิดจนถึงผ่าตัด เพราะฉะนั้นเมื่อสงสัยไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยให้แน่ชัด เมื่อความรุนแรงน้อยการรักษาก็มักจะไม่ซับซ้อนตามไปด้วย สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-3198888

เจาะชิ้นเนื้อรก

เจาะชิ้นเนื้อรก

มารู้จักหัตถการเจาะชิ้นเนื้อรกกันเถอะ คุณแม่ๆ เคยได้ยินกันไหมครับว่าอะไรคือ "เจาะชิ้นเนื้อรก" หลายคนอาจเคยได้ยินแค่ "เจาะน้ำคร่ำ" มาดูกันครับว่าต่างกันอย่างไร ? เนื่องจากปัจจุบันมีโรงพยาบาลที่สามารถทำหัตถการนี้ได้ไม่มาก และต้องทำโดยแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์เท่านั้น เพราะเป็นหัตถการที่ต้องอาศัยความชำนาญและความแม่นยำมากกว่าการเจาะน้ำคร่ำ คนส่วนใหญ่จึงอาจไม่ค่อยรู้จักการตรวจชนิดนี้ เจาะเนื้อรกตรวจอะไร การเจาะเนื้อรก (Chorionic villi sampling: CVS) หลักๆ คือการตรวจโครโมโซมและกลุ่มโรคทางพันธุกรรมของทารก โดยจะตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรคโดยตรง เช่น มารดาอายุมาก หรือมีบุตรโครโมโซมผิดปกติในครรภ์ก่อน ผลตรวจคัดกรองดาวน์มีความเสี่ยงสูง ทารกในครรภ์มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคทางพันธุกรรม อัลตราซาวด์พบความผิดปกติที่สงสัยว่าสัมพันธ์กับภาวะโครโมโซมผิดปกติ เป็นต้น โดย อายุครรภ์ที่เหมาะสมต่อการเจาะชิ้นเนื้อรกคือระหว่าง 11-14 สัปดาห์ และทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ข้อดีของการตรวจนี้คือการรู้ผลเร็ว ทำให้สามารถวางแผนการตั้งครรภ์และการดูแลรักษาได้เร็วขึ้น เช่น คุณแม่ที่ตรวจคัดกรองดาวน์แล้วทราบว่าความเสี่ยงสูงก็จะสามารถเลือกวิธีตรวจที่ทราบผลเร็ว หากทารกมีภาวะผิดปกติจริง การยุติการตั้งครรภ์ตั้งแต่อายุครรภ์น้อยจะปลอดภัยกว่าการรอให้ครรภ์โตมาก การเจาะเนื้อรกทำอย่างไร การเจาะเนื้อรกจะทำโดยการใช้อุปกรณ์ผ่านเข้าไปในมดลูกของคุณแม่เพื่อเก็บเนื้อรกออกมาปริมาณเล็กน้อย โดยทั่วไปจะไม่ผ่านเข้าไปในถุงน้ำคร่ำที่ทารกอยู่โดยตรง มีสองวิธีคือ การเจาะผ่านทางหน้าท้อง และการเก็บชิ้นเนื้อรกผ่านทางช่องคลอด การเจาะเนื้อรกไม่ต้องวางยาสลบ อาจมีการฉีดยาชาในกรณีเจาะผ่านหน้าท้อง ใช้เวลาทำไม่นาน แพทย์จะใช้อัลตราซาวด์ประกอบการเจาะเพื่อให้มั่นใจว่าเข็มอยู่ในบริเวณที่เหมาะสม หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อที่ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพ จันทบุรี 039-319877

ปวดท้องน้อยในสตรี

ปวดท้องน้อยในสตรี

ปวดท้องน้อยในสตรี ปวดท้องน้อย เกิดได้ทั้งชายและหญิง ซึ่งเกิดได้หลายสาเหตและปัจจัยเนื่องจากในช่องท้องนั้นประกอบด้วยอวัยวะภายในหลายอย่างด้วยกัน เช่น ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ไส้ติ่ง ระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ ขณะที่ผู้หญิงอาจมีความเสี่ยงในมดลูก รังไข่และปีกมดลูก ด้วย ซึ่งบ่อยครั้งที่ไม่สามารถแยกไส้ติ่งอักเสบออกจากถุงน้ำรังไข่ที่แตกได้ หรือไม่สามารถแยกโรคมดลูกอักเสบเฉียบพลันออกจากภาวะไส้ติ่งแตกได้ การวินิจฉัยหาสาเหตุเรื่องของปวดท้องน้อย บางครั้งจึงจำเป็นต้องมีแพทย์หลายๆแผนก มาร่วมกันในการดูแลรักษา การวินิจฉัยสาเหตุปวดท้องน้อยนั้น จำเป็นต้องซักประวัติให้ละเอียด เช่น ปวดท้องน้อยมากี่วัน เป็นมานานแล้วหรือยัง เคยปวดท้องน้อยลักษณะเดียวกันมาก่อนหรือไม่ การรักษาที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง ดีขึ้นหรือไม่ นอกจากนั้น ประวัติในครอบครัว และประวัติการเกิดโรคในอดีตที่เกี่ยวกับระบบภายในด้วย รวมถึงอาการปวดที่อาจจะแตกต่างกันออกไป เช่น ปวดตื้นๆ หรือปวดลึกๆ มีจุดกดเจ็บหรือไม่ ลักษณะการปวดเป็นแบบบีบๆ ปวดดิ้น ปวดแบบมวนๆ ในช่องท้อง หรือเจ็บเหมือนมีเข็มตำ ปวดจนเป็นลมหรือเปล่า ปวดท้องน้อยสตรี สามารถแยกออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ปวดท้องน้อยเฉียบพลัน ( Acute pelvic pain ) มักเกิดจากการขาดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะในช่องท้องที่เป็นสาเหตุหรืออาจเกิดจากอวัยวะที่เป็นสาเหตุได้รับความเสียหาย มักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย หรือมาอาการเป็นลมในบางราย สาเหตุของอาการปวดท้องน้อยลักษณะนี้ มดลูกอักเสบเฉียบพลัน ถุงน้ำรังไข่แตก รั่วหรือบิดขั้ว ภาวะไข่ตกในช่วงกลางรอบเดือน นิ่วในท่อไต กระเพาะปัสสาวะอักเสบ การตั้งครรภ์นอกมดลูก ปวดท้องน้อยเป็นซ้ำ ( recurrent pelvic pain ) วินิจฉัยว่าปวดท้องน้อยเนื่องจากไข่ตก ( Mittelschmerz ) กลุ่มนี้เกิดจากมีการหลั่งสารโพสตร้าแกลนดินออกมาจากถุงไข่ที่รั่วออกมา ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะปวดสั้นๆ 1-2 วัน ในช่วงกลางรอบเดือน รับประทานยาแก้ปวดก็ดีขึ้น แต่ในกรณีที่รับประทานยาแก้ปวด อาการก็ไม่ทุเลาหรือมีภาวะอื่นร่วมด้วย เช่น เป็นลม เหนื่อยง่าย จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อให้การวินิจฉัยที่ถูกต้องต่อไปปวดประจำเดือนแบบปฐมภูมิ ( primary dysmenorrhea ) อาการปวดประจำเดือนมักเกิดในช่วงก่อนมีประจำเดือนและอาจปวดต่อเนื่องได้ถึง 72 ชม อาการปวดมักจะทุเลาได้โดยการใช้ยากลุ่มยับยั้งการสร้างโพสตร้าแกลนดินหรือการใช้ยาคุมกำเนิด ผู้ป่วยกลุ่มนี้ อาการปวดมักจะดีขึ้นหลังหลังจากมีบุตร ปวดท้องน้อยเรื้อรัง ( Chronic pelvic pain ) เป็นภาวะที่พบบ่อย และเป็นปัญหามากในการวินิจฉัยและให้การรักษาที่ถูกต้อง ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีประวัติการรักษาจากแพทย์หลายคน เนื่องจากการวินิจฉัยหาสาเหตุค่อนข้างยาก ภาวะปวดท้องน้อยเรื้อรัง ลักษณะของการปวดท้องน้อย ที่มักปวดตลอดหรืออาจจะปวดเป็นช่วงๆ ไม่สม่ำเสมอ ( non cycle pain ) ไม่สามารถบอกล่วงหน้าได้ และอาการปวดท้องน้อยมักเป็นต่อเนื่องกันมากกว่า 3- 6 เดือน พบว่า ภาวะปวดท้องน้อยเรื้อรังนั้นเป็นสาเหตุในผู้ป่วยที่ตัดมดลูกทั้งหมด ถึง 18% สาเหตุปวดท้องน้อยเรื้อรัง เยื่อบุประจำเดือนอยู่ผิดที่ ช๊อคโกเล็ตซีสต์ พังผืดในช่องท้อง โดยเฉพาะพังผืดที่ยึดระหว่างลำไส้ใหญ่ส่วนปลา ( sigmoid colon ) กับผนังช่องท้อง เป็นสาเหตุถึง 38 % ในผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ด้วยเรื่องปวดท้องน้อยเรื้อรัง มดลูกและปีกมดลูกอักเสบเรื้อรัง เส้นเลือดโป่งพองในอุ้งเชิงกราน ( pelvic congestion ) เนื้องอกมดลูก เนื้องอกและถุงน้ำรังไข่ เนื้องอกและมะเร็งลำไส้ใหญ่ ลำไส้แปรปวน จะเห็นได้ว่าปัญหาระบบภายในของผู้หญิงซับซ้อนเป็นอย่างมาก การตรวจภายในจึงสำคัญ เช่นการตรวจวินิจฉัยด้วยอัลตร้าซาวด์ หรือเอกเรย์คองพิวเตอร์ เช่น CT หรือ MRI จำเป็นสำหรับการช่วยวินิจฉัยโรคและแยกโรคในกรณีที่คิดว่าเป็นโรคเกี่ยวกับลำไส้เล็กหรือลำไส้ใหญ่ การตรวจสวนลำไส้ใหญ่ หรือการส่องกล้องลำไส้เล็กก็จำเป็นในกรณีที่ผุ้ป่วยได้รับการตรวจวินิจฉัยหลายอย่างแล้ว ก็ยังไม่พบสาเหตุที่ชัดเจน การส่องกล้องวินิจฉัยในช่องท้อง ( Diagnostic laparoscope ) ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่แพทย์จะใช้ในการตรวจวินิจฉัย แต่เนื่องจากการตรวจด้วยการส่องกล้องวินิจฉัยในช่องท้องนั้น จำเป็นต้องนำผู้ป่วยเข้าห้องผ่าตัดและดมยาสลบ การเลือกใช้วิธีนี้จึงควรมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน อย่างไรก็ตามการรักษาโรค ขึ้นกับการตรวจพบสาเหตุของโรค ให้การรักษาตามสาเหตุโดยคำนึงถึงอายุ ประวัติการมีบุตรร่วมด้วย ขอบคุณข้อมูลจาก : ฺBDMS สถานีสุขภาพ