“ผู้หญิงข้ามเพศ” มีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูก

“ผู้หญิงข้ามเพศ” มีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูก พบมากเป็นอันดับต้นๆ ของผู้หญิงทั่วโลก แต่ปัจจุบันยุคสมัยให้ความสำคัญและยอมรับค่านิยมเรื่องการแปลงเพศจากชายเป็นหญิง หรือ LGBTQ+ ทำให้เกิดความสงสัยเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปากมดลูกในสตรีข้ามเพศขึ้น

แม้ส่วนใหญ่สาเหตุหลักของการเกิดโรคมะเร็งปาดมดลูกจะมาจาก “เชื้อไวรัส HPV” แต่ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงนั้นก็มีอยู่หลายอย่าง เช่น อาจเกิดจากการฉีกขาดของช่องคลอด การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย การเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ รวมไปถึงการไม่รักษาสุขอนามัยบริเวณช่องคลอดและอวัยวะเพศของสามี

“ชายแปลงเป็นหญิง” เสี่ยงมะเร็งปากมดลูกด้วยหรือไม่ ?

แน่นอนว่าการผ่าตัดแปลงเพศจากชายกลายเป็นหญิงนั้น คือ การที่ศัลยแพทย์ทำการตัดแต่งระบบสืบพันธ์ภายในของผู้ชายให้มีเหมือนกับผู้หญิง เพียงแต่!!! เป็นการใช้ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อหรือตัดต่อจากของเดิม เช่น การสร้างช่องคลอดเทียม โดยการตัดต่อท่อปัสสาวะเพศชาย หรือ ตกแต่งแคมเลียนแบบอวัยวะเพศหญิงจากหนังหุ้มลูกอัณฑะ เป็นต้น

ทางการแพทย์แล้วยังไม่มีการพบว่า เมื่อผ่าตัดแปลงเพศจากชายเป็นหญิงแล้วจะก่อให้เกิด “โรคมะเร็งปากมดลูก” ในอนาคต ในทางกลับกัน อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตามเพศสภาพเดิมมากกว่า เนื่องจากในการผ่าตัดแปลงเพศนั้น มีเพียงการตัดลูกอัณฑะออกแต่ยังเหลือต่อมลูกหมาก ซึ่งทำให้มีโอกาสเกิดเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้ หรือแม้แต่ในผู้หญิงที่แปลงเพศเป็นชาย ก็ยังคงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก หรือมะเร็งรังไข่ได้เหมือนกัน

ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

บทความที่เกี่ยวข้อง

Laser repair กระชับช่องคลอด

Laser repair กระชับช่องคลอด

“เปลี่ยนเรื่องใหญ่ ให้กลายเป็นเรื่องเล็ก” คืนความสดใสให้น้องสาว ด้วยนวัตกรรมไร้ใบมีด Laser Repair เห็นผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลง #ในครั้งแรกที่ทำ Laser repair กระชับช่องคลอด เป็นการรักษาเพื่อกระตุ้นคอลลาเจน กระตุ้นการไหลเวียนเลือด ทำให้ช่วยเพิ่มการหดกระชับของผิวช่องคลอดทั้งเยื่อบุทำให้แก้ปัญหาช่องคลอดแห้ง ป้องกันปัญหาช่องคลอดหย่อนคล้อย เพิ่มความกระชับมีเพศสัมพันธ์ที่ดีขึ้น พึงพอใจทางเพศมากขึ้น แก้ปัญหาปัสสาวะเล็ด เป็นการรักษาด้วย Laser ที่มีความหนาแน่นกว่าช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อช่องคลอด ทำให้ท่อปัสสาวะที่มีปัญหากลับมาใช้งานได้ตามปกติ กลั้นปัสสาวะได้ดีขึ้นลดปัญหาเข้าห้องน้ำบ่อย ลดอาการปัสสาวะเล็ดขณะไอหรือจาม การเตรียมตัวก่อนการรักษา ควรรักษาก่อนมีประจำเดือน หรือหลังมีประจำเดือนวันสุดท้ายไปแล้ว 1 สัปดาห์ การรักษา จะรู้สึกอุ่นๆ หรือร้อนเพียงเล็กน้อย ซึ่งแพทย์จะดูแลอย่างใกล้ชิด ผลการรักษาขึ้นอยู่กับระดับความหย่อยคล้อยเดิมที่มีอยู่ ควรเข้ารับการรักษา 2-3 ครั้ง โดยเว้นระยะห่าง 4-6 สัปดาห์ จะรู้สึกช่องคลอดกระชับขึ้น ทั้งในเยื่อบุและผนังรอบนอก ผลที่เกิดขึ้นทันทีเกิดจากความร้อนของเลเซอร์ ส่วนคอลลาเจนที่เกิดใหม่จะค่อยๆ ดีขึ้นเรื่อยๆ และเห็นผลชัดเจนใน 2 สัปดาห์ ทำโดยแพทย์เฉพาะทางสูตินรีเวช สอบถามเพิ่มเติม หรือนัดหมาย โทร 039 319888 #ศูนย์สุขภาพสตรี #เลเซอร์กระชับช่องคลอด, #เลเซอร์รักษาปัสสาวะเล็ด

มีเซ็กซ์ปลอดภัยไม่ติดเชื้อ HPV

มีเซ็กซ์ปลอดภัยไม่ติดเชื้อ HPV

เซ็กซ์อย่างป้องกัน ลดเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน สุ่มเสี่ยง โรคติดต่อมากมาย และเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งในผู้หญิง เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเนื่องจากติดเชื้อ การติดเชื้อ HPV หรือ Human Papillomavirus รู้ทริคป้องกันโรครับวาเลนไทน์ 2023 ให้ปลอดภัย การติดเชื้อ HPV หรือ Human Papillomavirus เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบมากที่สุด เป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด โดย HPV แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ HPV ชนิดไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง ไม่ได้ทําาให้เกิดมะเร็งปากมดลูก แต่เป็นสาเหตุของหูดหงอนไก่บริเวณอวัยวะเพศ เชื้อ HPV ติดต่อได้ง่ายผ่านทางเพศสัมพันธ์เป็นหลัก โดยมักพบในคนช่วงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 20-30 ปี สูงถึง 2 ใน 3 คนเลยทีเดียว เมื่อติดเชื้อ เซลล์ปากมดลูกเกิดการเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์มะเร็งอาจใช้เวลานาน 10-15 ปี ซึ่งผู้หญิงที่ติดเชื้อมักจะไม่มีอาการผิดปกติใดๆ เป็นระยะเวลานาน แต่จะมาพบแพทย์เมื่อมีอาการแล้ว เช่น เลือดออกผิดปกติจากช่องคลอดที่ไม่ใช่ประจําเดือน มะเร็งมักเข้าสู่ระยะลุกลามแล้ว และแม้ว่าการติดเชื้อ HPV จะเพิ่มโอกาสสูงขึ้นตามจำนวนของคู่นอน แต่การมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนแค่คนเดียวก็มีโอกาสติดเชื้อ HPV ได้ หากคู่นอนของคุณมีเชื้อ HPV อยู่ก่อนแล้ว มีเซ็กซ์ปลอดภัยจากเชื้อ HPV ไม่เปลี่ยนคู่นอนหลายคน สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ เพราะช่วยป้องกันการติดเชื้อ HPV มากถึง 90% ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย หรือ ต่ำกว่า 18 ปี ไม่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก เพราะสามารถเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HPV และก่อให้เกิดมะเร็งทวารหนักในอนาคตได้ ไม่มีเพศสัมพันธ์ด้วยการทำออรัล เพราะเชื้อ HPV สามารถก่อให้เกิดมะเร็งช่องปาก หรือมะเร็งลำคอได้ ระวังการติดเชื้อจากการใช้นิ้วมือ เนื่องจากเชื้อ HPV สามารถติดต่อผ่านการสัมผัสทางผิวหนังโดยตรงได้ การป้องกันที่สำคัญกว่า คือการรับฉีดวัคซีนป้องกัน HPV วัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) จะกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันป้องกันการติดเชื้อ HPV ปัจจุบันวัคซีน HPV มี 2 ชนิด ชนิดแรก เป็นวัคซีน HPV ชนิด 2 สายพันธุ์ ซึ่งมีการเสริมสารกระตุ้นภูมิรุ่นใหม่ เน้นป้องกันมะเร็งปากมดลูกจากเชื้อ HPV สายพันธุ์ก่อมะเร็ง (HPV 16, 18 และ HPV สายพันธุ์ก่อมะเร็งอื่นๆ) ชนิดที่ 2 วัคซีน HPV ชนิด 4 สายพันธุ์ ใช้ป้องกันมะเร็งปากมดลูก (จาก HPV 16, 18) และหูดอวัยวะเพศ (จาก HPV 6, 11) ช่วงวัยที่เหมาะสมกับการฉีดป้องกันป้องกันมะเร็งปากมดลูก ควรฉีดในผู้หญิงอายุตั้งแต่ 9-26 ปี หรืออาจขยายระยะเวลาได้ถึง 45 ปี ในผู้ชายก็เช่นเดียวกัน เพราะเป็นวัยที่ร่างกายสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุด นอกจากนี้การตรวจหาเชื้อ HPV ในระดับดีเอ็นเอ หรือ HPV Testing จึงเป็นวิธีการค้นหาเชื้อ HPV ที่ให้ผลแม่นยำ ช่วยให้รักษาการติดเชื้อได้ทันก่อนกลายเป็นมะเร็ง ขอขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

เชื้อราในช่องคลอด

เชื้อราในช่องคลอด

เชื้อราในช่องคลอด ในช่องคลอดของสตรีจะมีเชื้อแบคทีเรียที่คอยปกป้องช่องคลอดจากเชื้อราที่เป็นอันตราย โดยจะสร้างกรดมาควบคุมไม่ให้เชื้อราเจริญได้อย่างรวดเร็ว แต่เมื่อใดที่ช่องคลอดมีภาวะไม่สมดุล หรือมีปัจจัยที่ทำให้แบคทีเรียเหล่านี้ถูกทำลาย ช่องคลอดก็มีโอกาสที่จะติดเชื้อนี้และมีอาการแสดงขึ้น เช่น คนในช่องคลอด หรือรอบ ๆ ปากช่องคลอด มีตกขาวคล้ายแป้งเปียกหรือคราบนม อาจมีความรู้สึกเจ็บขณะร่วมเพศ ปัสสาวะแสบขัด มีผื่นแดงที่ช่องคลอดหรือขาหนีบ การรักษา เมื่อเเพทย์ตรวจจนได้ข้อสรุปชัดเจนแล้วว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อราที่ช่องคลอด แพทย์มักจะพิจารณารักาาด้วยยาปฏิชีวนะตามความเหมาะสม การป้องกัน ดูแลจุดซ่อนเล้นให้สะอาด ไม่อับชื้น สวมกางเกงชั้นในที่ระบายอากาศได้ดี ลดความอับชื้น ไม่ควรสวนล้างช่องคลอด กรณีมีความจำเป็นควรทำภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ หลีกเลี่ยงการรับประทานยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น เนื่องจากยาปฏิชีวนะบางตัวมีผลทำลายแบคทีเรียที่ดีในช่องคลอด สอบถามเพิ่มเติมที่ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

ปวดประจำเดือน

ปวดประจำเดือน

ปวดท้องประจำเดือน อาการปวดท้องประจำเดือนเกิดจากการหดรัดตัวของมดลูก บางรายมีอาการปวดรุนแรงจนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อีกทัั้งบางรายมักมีอาการร่วมอื่น ๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดศีรษะ ปวดหลัง เป็นต้น การรักษา สำหรับการรักษากรณีปวดประจำเดือนมาก แพทย์มักพิจารณาให้ยาเพื่อบรรเทาอาการ โดยหากอาการไม่ดีขึ้น แพทย์อาจพิจารณาตรวจเศษอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุและวางแผนการรักษาต่อไป การดูแลบรรเทาอาการและการป้องกัน ประคบอุ่นบริเวณท้องเมื่อมีอาการปวด อาบน้ำอุ่น จะช่วยให้ผ่อนคลายมากกว่าการอาบน้ำเย็น ดูแลจิตใจให้มีความผ่อนคลาย ลดความเครียด เช่น การนั่งสมาธิ โยคะ พักผ่อนอย่างเพียงพอ ทำงานอดิเรกที่ชอบ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยอาหารหวาน-เค็ม เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และอาหารที่มีไขมันสูง รับประทานยาแก้ปวดตามคำแนะนำของแพทย์เมื่อมีอาการปวด

เนื้องอกมดลูก (Myoma uteri)

เนื้องอกมดลูก (Myoma uteri)

เนื้องอกมดลูก (Myoma uteri) เนื้องอกมดลูกมดลูกชนิดไม่ใช่เนื้อร้าย สามารถพบได้ในสตรีวัยต่าง ๆ ซึ่งอาจจะมีขนาดที่แตกต่างกันไป โดยเนื้องอกแต่ละชนิดจะมีระยะเวลาในการขยายขนาดที่แตกต่างกัน จึงอาจจะโตช้าหีือเร็วต่างกัน อาการ อาการมักเกิดขึ้นเมื่อก้อนเนื้องอกเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น โดยมักมีเลือดออกมากหรือกะปริดกะปรอย และมักมีอาการปวดท้องขณะมีประจำเดือนร่วมด้วย หรือบางรายอาจปวดหน่วง ๆ ที่ท้องน้อย อาจมีปัสสาวะบ่อย เจ็บขณะร่วมเพศ หากก้อนโตมาก ๆ อาจคลำเจอก้อนที่ท้องน้อย ภาวะแทรกซ้อน หากมีเลือดออกกะปริดกะปรอยต่อเนื่องอาจทำให้เกิดภาวะซีดได้ หากมีเนื้องอกที่โตเร็วมากขณะตั้งครรภ์ อาจทำให้เสี่ยงแท้ง หรือคลอดยาก การรักษา หากก้อนเนื้อมีขนาดใหญ่แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัด แต่กรณีก้อนเนื้อมีขนาดไม่ใหญ่และไม่กระทบชีวิตประจำวัน หรือไม่มีอาการที่ส่งผลแทรกซ้อนต่อสุขภาพ แพทย์อาจให้ติดตามอาการเป็นระยะโดยไม่ต้องทำการผ่าตัด สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

ประจำเดือนไม่มา

ประจำเดือนไม่มา

ประจำเดือนไม่เคยมา ประจำเดือนไม่เคยมา (Primary amenorrhea) หมายถึง สตรีเมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์หรืออายุ 14 ปี แล้ว แต่ยังไม่เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก ซึ่งมีสาเหตุต่าง ๆ เช่น ความผิดปกติของรังไข่หรือฮอร์โมนในร่างกาย ความผิดปกติของโครงสร้างของมดลูกหรือช่องคลอด เป็นต้น อาการ ภาวะประจำเดือนไม่เคยมาอาจไม่มีอาการใด ๆ แต่ในรายที่มีอาการจะเกิดขึ้นตามสาเหตุ เช่น หากมีสาเหตุจากฮอร์โมน อาจพบว่าการเจริญโตทางเพศไม่สมวัย เช้น ไม่มีหน้าอก ไม่มีขนเพชรหรือขนรักแร้ขึ้น เป็นต้น หากเกิดจากเยื่อพรหมจรรย์ไม่เปิด อาจมีอาการปวดท้อง หรือมีเยื่อพรหมจรรย์โป่งพอง การรักษา สำหรับการรักษาภาวะประจำเดือนไม่เคยมาแนะนำพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินรักษา โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาวางแผนการรักษาตามความเหมาะสมเป็นรายกรณีไป สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888