มีเซ็กซ์ปลอดภัยไม่ติดเชื้อ HPV

เซ็กซ์อย่างป้องกัน ลดเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก

การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน สุ่มเสี่ยง โรคติดต่อมากมาย และเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งในผู้หญิง เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเนื่องจากติดเชื้อ การติดเชื้อ HPV หรือ Human Papillomavirus รู้ทริคป้องกันโรครับวาเลนไทน์ 2023 ให้ปลอดภัย

การติดเชื้อ HPV หรือ Human Papillomavirus เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบมากที่สุด เป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด โดย HPV แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ

  • HPV ชนิดไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง ไม่ได้ทําาให้เกิดมะเร็งปากมดลูก แต่เป็นสาเหตุของหูดหงอนไก่บริเวณอวัยวะเพศ

เชื้อ HPV ติดต่อได้ง่ายผ่านทางเพศสัมพันธ์เป็นหลัก โดยมักพบในคนช่วงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 20-30 ปี สูงถึง 2 ใน 3 คนเลยทีเดียว เมื่อติดเชื้อ เซลล์ปากมดลูกเกิดการเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์มะเร็งอาจใช้เวลานาน 10-15 ปี ซึ่งผู้หญิงที่ติดเชื้อมักจะไม่มีอาการผิดปกติใดๆ เป็นระยะเวลานาน แต่จะมาพบแพทย์เมื่อมีอาการแล้ว เช่น เลือดออกผิดปกติจากช่องคลอดที่ไม่ใช่ประจําเดือน มะเร็งมักเข้าสู่ระยะลุกลามแล้ว และแม้ว่าการติดเชื้อ HPV จะเพิ่มโอกาสสูงขึ้นตามจำนวนของคู่นอน แต่การมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนแค่คนเดียวก็มีโอกาสติดเชื้อ HPV ได้ หากคู่นอนของคุณมีเชื้อ HPV อยู่ก่อนแล้ว

มีเซ็กซ์ปลอดภัยจากเชื้อ HPV

  • ไม่เปลี่ยนคู่นอนหลายคน
  • สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ เพราะช่วยป้องกันการติดเชื้อ HPV มากถึง 90%
  • ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย หรือ ต่ำกว่า 18 ปี
  • ไม่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก เพราะสามารถเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HPV และก่อให้เกิดมะเร็งทวารหนักในอนาคตได้
  • ไม่มีเพศสัมพันธ์ด้วยการทำออรัล เพราะเชื้อ HPV สามารถก่อให้เกิดมะเร็งช่องปาก หรือมะเร็งลำคอได้
  • ระวังการติดเชื้อจากการใช้นิ้วมือ เนื่องจากเชื้อ HPV สามารถติดต่อผ่านการสัมผัสทางผิวหนังโดยตรงได้

การป้องกันที่สำคัญกว่า คือการรับฉีดวัคซีนป้องกัน HPV

วัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) จะกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันป้องกันการติดเชื้อ HPV ปัจจุบันวัคซีน HPV มี 2 ชนิด

  • ชนิดแรก เป็นวัคซีน HPV ชนิด 2 สายพันธุ์ ซึ่งมีการเสริมสารกระตุ้นภูมิรุ่นใหม่ เน้นป้องกันมะเร็งปากมดลูกจากเชื้อ HPV สายพันธุ์ก่อมะเร็ง (HPV 16, 18 และ HPV สายพันธุ์ก่อมะเร็งอื่นๆ)
  • ชนิดที่ 2 วัคซีน HPV ชนิด 4 สายพันธุ์ ใช้ป้องกันมะเร็งปากมดลูก (จาก HPV 16, 18) และหูดอวัยวะเพศ (จาก HPV 6, 11)

ช่วงวัยที่เหมาะสมกับการฉีดป้องกันป้องกันมะเร็งปากมดลูก ควรฉีดในผู้หญิงอายุตั้งแต่ 9-26 ปี หรืออาจขยายระยะเวลาได้ถึง 45 ปี ในผู้ชายก็เช่นเดียวกัน เพราะเป็นวัยที่ร่างกายสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุด นอกจากนี้การตรวจหาเชื้อ HPV ในระดับดีเอ็นเอ หรือ HPV Testing จึงเป็นวิธีการค้นหาเชื้อ HPV ที่ให้ผลแม่นยำ ช่วยให้รักษาการติดเชื้อได้ทันก่อนกลายเป็นมะเร็ง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูก เชื้อ HPV เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งปากมดลูก ซึ่ง HPV มีมากกว่า 200 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่เมื่อติดเเล้วมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็งปาดมดลูก ได้แก่ HPV 16 , 18 , 31 , 33 , 35 , 39 , 45 , 52 , 56 โดยเฉพาะเชื้อสายพันธุ์ 16 และ 18 ที่นับว่ามีความเสี่ยงสูงมากกว่าตัวอื่น ๆ ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลูก ปัจจัยเสี่ยงทางเพศหญิง การมีคู่นอนหลายคน การมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อยกว่า 17 ปี การตั้งครรภ์และการคลอดลูกมากกว่า 4 ครั้ง มีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เริม ซิฟิลิส และหนองใน เป็นต้น ไม่เคยได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมาก่อน ปัจจัยทางฝ่ายชาย ผู้ชายที่เป็นมะเร็งองคชาต ผู้ชายที่เคยมีภรรยาเป็นมะเร็งปากมดลูก ผู้ชายที่เคยมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย ผู้ชายที่มีคู่นอนหลายคน ปัจจัยอื่น ๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปากมดลูก การสูบบุหรี่ ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น โรคเอดส์ และการได้รับยากดภูมิคุ้มกัน อาการของมะเร็งปากมดลูก ตกเลือดทางช่องคลอด เลือดออกกะปริบกะปรอยระหว่างรอบเดือน เลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ มีน้ำออกปนเลือด ตกขาวปนเลือด อาการในระยะหลังเมื่อมะเร็งลุกลาม ขาบวม ปวดหลังรุนแรง ปัสสาวะเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด การป้องกันมะเร็งปากมดลูก การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก

รับสมัครผู้สนใจ "เลเซอร์รีแพร์"

รับสมัครผู้สนใจ "เลเซอร์รีแพร์"

รับสมัครผู้สนใจ "เลเซอร์รีแพร์" แจกฟรี! โปรแกรมเลเซอร์สุดพิเศษจากโรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี #กดแชร์ก่อนเลยยยย ฟรี 3 ท่าน! “รีวิวหลังรีแพร์น้องสาว” คืนความมั่นใจและสุขภาพที่ดี ด้วยเลเซอร์กระชับช่องคลอด #แบบไม่ต้องผ่าตัด ฟรีอีก 3 ท่าน! รีวิวเลเซอร์รักษารอยแผล รอยท้องแตกลาย และแผลผ่าตัดหลังคลอด ท่านละ 3 ครั้ง #รีวิวหลังเห็นผลชัดเจน ให้การดูแลโดยแพทย์เฉพาะทางที่ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี มั่นใจในคุณภาพและผลลัพธ์ที่คุณจะได้รับ #รีวิวเลเซอร์ #กระชับช่องคลอด #รักษารอยแผลผ่าตัด #สุขภาพสตรี #โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี #คุณสมบัติผู้สมัคร คุณแม่หลังคลอด รู้สึกไม่กระชับ ผู้ที่มีปัญหาปัสสาวะเล็ด ผู้ที่มีปัญหาช่องคลอดแห้ง ผู้ที่มีช่องคลอดหลวมแต่ไม่อยากพักฟื้น ไม่อยากผ่าตัด ผู้ที่มีความรู้สึกเจ็บหลังมีเพศสัมพันธ์ มีปัญหาท้องลาย หลังคลอด สะดวกรับบริการไม่เกินวันที่ 15 ธันวาคม 2567 สะดวกรีวิวหลังรับบริการ ผู้ที่สนใจแชร์โพสต์นี้ เป็นสาธารณะ พร้อมลงทะเบียน โปรแกรมที่สนใจ.. เคสรีวิวเลเซอร์กระชับช่องคลอด (ฟรี 1 ครั้ง) https://docs.google.com/.../1ru2AOlfs4uoiPVaS.../viewform... เคสรีวิวเลเซอร์รักษารอยแผลผ่าตัดหลังคลอด (ฟรี 3 ครั้ง) https://docs.google.com/.../1KE0Sex8C80zzrjnuc0p2KVg.../edit เปิดลงทะเบียนวันที่ 8 - 25 ตุลาคม 2567 นัดคัดเลือกวันที่ 26 - 29 ตุลาคม 2567 ประกาศผล 30 ตุลาคม 2567 สะดวกรับบริการไม่เกินวันที่ 15 ธันวาคม 2567 #เลเซอร์รีแพร์ #ศูนย์สุขภาพสตรี

ภาวะประจำเดือนไม่มา

ภาวะประจำเดือนไม่มา

ภาวะประจำเดือนขาด ภาวะประจำเดือนขาด (Secondary amenorrhea)เป็นภาวะที่สตรีรายนั้นเคยมีประจำเดือนมาประจำแล้วไม่มา หรือขาดหายไป เป็นภาวะที่พบบ่อยในสตรีวัยเจริญพันธุ์ ซึ่งมีสาเหตุต่าง ๆ ได้แก่ สาเหตุที่พบบ่อย เช่น การตั้งครรภ์ ฉีดยาคุมกำเนิด หลังคลอดบุตรหรือขณะให้นมบุตร และความเครียดทางจิตใจ เป็นต้น สาเหตุที่พบได้น้อย เช่น เนื้องอกของต่อมใต้สมองหรือต่อมหมวกไตหรือรังไข่ โรคชีแฮน การผ่าตัดมดลูกหรือรังไข่ทั้ง 2 ข้าง เป็นต้น อาการ ผู้ที่มีภาวะประจำเดือนขาด บางกลุ่มมักไม่มีอาการใด ๆ ผิดปกติ ส่วนกลุ่มที่มีอาการจะมีความแตกต่างกันขึ้นกับสาเหตุของการขาดประจำเดือน ได้แก่ การตั้งครรภ์ อาจจะมีอาการแพ้ท้องตามมาได้ เนื้องอกรังไข่ ต่อมหมวกไตหรือต่อมใต้สมอง อาจมีอาการผิดปกติ เช่น ปวดศีรษะเรื้อรัง การมองเห็นเปลี่ยนแปลง มีหนวดหรือขนขึ้นผิดปกติ น้ำนมออกโดยไม่สัมพันธ์กับช่วงการให้นมบุตร เป็นต้น โรคชีเเฮน อาจอ่อนเพลีย เฉื่อยชา เต้านมแฟบ ขนรักแร้และขนเพชรร่วง ความเครียดทางจิตใจ หรือซึมเศร้า มักมีอาการวิตกกังวล นอนไม่หลับ เบื่อหน่าย ท้อแท้สิ้นหวัง การรักษา แพทย์จะเป็นผู้ตรวจประเมินอาการหรือส่งตรวจพิเศษเพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัด เพื่อวางแผนการรักษาตามความเหมาะสมต่อไป สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

ถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS)

ถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS)

“ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ” (PCOS) “ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ” (PCOS) เป็นภาวะที่ยังไม่ทราบสาเหตุชัดเจน แต่เป็นหนึ่งในภาวะที่ผู้หญิงเป็นมากแต่ไม่รู้ตัว มักมีปัจจัยเสี่ยงมาจากน้ำหนักเกินเกณฑ์ หรือผู้หญิงที่มีฮอร์โมนเพศชายมากๆ ส่งผลให้มีความผิดปกติต่อรอบประจำเดือน ซึ่งก่อให้เกิดการมีฮอร์โมนที่ผิดปกติด้วยส่วนใหญ่จะพบในผู้หญิงช่วงอายุน้อยๆ หรือเป็นวัยที่ยังไม่หมดประจำเดือน ซึ่งหากปล่อยไว้นานเข้าอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอันตรายอย่างโรคหัวใจ ภาวพมีบุตรยาก และมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้ในอนาคต ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือ Polycystic Ovary Syndrome (PCOS) เป็นที่รู้จักมากขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งผู้หญิงเป็นกันเยอะแต่ไม่ค่อยรู้ตัว โดยเป็นภาวะที่เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนในเพศหญิง ส่งผลให้ในรังไข่แต่ละข้างจะมีฟองไข่หรือถุงน้ำมากกว่าปกติ ซึ่งโดยปกติในรังไข่จะมีถุงน้ำใบเล็กๆ เพียงไม่กี่ใบ คือเป็นถุงน้ำที่พร้อมจะตกไข่ แต่ในผู้ป่วยที่เป็นโรคภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบจะพบถุงน้ำเป็นสิบใบ ซึ่งมีสัญญาณและภาวะต่างๆ เกิดขึ้นมาพร้อมกัน อาทิ อ้วนและมีสิวขึ้น ผิวมัน ทำให้สาวๆหลายคนขาดความมั่นใจ แต่ภาวะดังกล่าวก็ดูเหมือนจะธรรมดาจนไม่ทำให้ฉุกคิดและละเลยสุขภาพ ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบกับอาการที่ไม่ควรปล่อยไว้! มีรอบประจำเดือนที่ผิดปกติ เช่น ประจำเดือนขาดหายไปหลายเดือน มาไม่สม่ำเสมอ สองเดือนมาครั้งหนึ่ง หรือไม่สามารถเดารอบได้เลย มีสิวขึ้นเยอะ หรือผู้ที่ทำการรักษาสิวแล้วไม่มีท่าทีว่าดีขึ้น ภาวะอ้วนกับภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ในปัจจุบันยังเรายังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงในการเกิดโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ แต่ในหลายๆ ครั้ง มักพบในกลุ่มผู้หญิงที่มีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักตัวเกิน หรือกลุ่มที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มักส่งผลให้มีภาวะฮอร์โมนที่ผิดปกติ ทำให้เกิดภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบได้ สิวขึ้นที่จุดเดิมซ้ำๆ เสี่ยงเป็นภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบจริงหรือไม่? หากเป็นสิว อาจต้องดูถึงตำแหน่งที่สิวเกิดขึ้นว่าเป็นสิวที่เกิดจากฮอร์โมนหรือไม่ โดยวิธีสังเกตสิวที่มาจากฮอร์โมน คือจะขึ้นบริเวณทีโซนของใบหน้า หน้าอก-หลัง หรือหน้ามัน เพราะสิวส่วนใหญ่มักเกิดจากฮอร์โมนจำพวกแอนโดรเจนหรือ ซึ่งก็คือฮอร์โมนเพศชาย หากสิวที่เกิดขึ้นเป็นสิวที่เกิดจากฮอร์โมน ก็อาจแสดงถึงอาการนำของคนที่เป็นภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบได้ ผู้หญิงคนไหนแนวโน้มมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ผู้หญิงที่มีรอบประจำเดือนผิดปกติ ประจำเดือนมาไม่เป็นรอบ หรือหายไปหลายๆ เดือนแล้วมานานๆ ครั้ง ผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ มีภาวะอ้วน ผู้หญิงที่มีสิวขึ้นมากกว่าปกติ มีผิวมัน มีภาวะศีรษะล้าน หรือมีภาวะขนดก ผู้หญิงที่มีประวัติมีบุตรยาก จริงอยู่ที่ไม่ใช่ภาวะรุนแรงอะไร ทำให้เกิดความชะล่าใจ แต่รู้หรือไม่ ? หากปล่อยภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบไว้นานเข้า อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ในอนาคต ได้ดังนี้ อาจทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกโตหนาผิดปกติ อาจเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้ ในผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกินหรือมีภาวะอ้วน อาจก่อให้เกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจ หรือโรคเส้นเลือดในสมอง ทำให้มีบุตรยาก หรือหากตั้งครรภ์อาจมีโอกาสแท้งบุตรในช่วงแรกของครรภ์ได้ เกิดอาการครรภ์เป็นพิษ หรือส่งผลให้ทารกที่อยู่ในครรภ์เติบโตช้ากว่าปกติได้ การตรวจวินิจฉัยภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ซักประวัติความผิดปกติของประจำเดือน ตรวจดูลักษณะภายนอกของผู้ป่วย เช่น น้ำหนัก ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) หรือประวัติของครอบครัว ว่าครอบครัวเคยมีประวัติเป็นมะเร็งหรือไม่ ทำการตรวจอัลตร้าซาวด์เพื่อตรวจดูถุงน้ำในรังไข่ หากตรวจพบว่าเป็นโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ ก็จะเข้าสู่กระบวนการรักษาต่อไป รักษาภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบได้อย่างไร? รักษาด้วยการทานยา วิธีนี้ หากผู้ป่วยยังไม่มีการวางแผนที่จะมีบุตร สามารถรักษาได้โดยการทานยาคุมกำเนิดเพื่อให้ตัวยาไปควบคุมฮอร์โมน ให้ฮอร์โมนกลับสู่สภาวะปกติ โดยจะใช้เวลารักษาประมาณ 6 เดือน หลังจากนั้นจึงติดตามสังเกตอาการต่อว่าหลังจากหยุดทานยาไปแล้ว ประจำเดือนกลับมาปกติหรือไม่ หากประจำเดือนของผู้ป่วยยังผิดปกติอยู่ และผู้ป่วยยังไม่มีการวางแผนที่จะมีบุตรต่อไป การรักษาก็จะเป็นการทานยาคุมและติดตามผลต่อไป ควบคู่ไปกับการรักษาตามสาเหตุ เช่น การควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกาย คุมอาหาร ถ้าคนไหนที่เป็นเบาหวานอาจต้องคุมอาหารจำพวกน้ำตาลให้มากขึ้น ป้องกันภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ได้ง่ายๆ แค่ปรับพฤติกรรม เนื่องจากการเกิดภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ยังไม่อาจทราบได้ว่ามาจากสาเหตุใดอย่างแน่ชัด ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นการป้องกันโดยรวม เช่น ควบคุมน้ำหนัก กินอาหารให้ถูกสุขลักษณะ เช่น ไม่กินแป้ง หรือน้ำตาลมากเกินไป ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ทำให้ตนเองอยู่ในสภาวะเครียดมากเกินไป ทั้งนี้ การตรวจภายในก็เป็นส่วนสำคัญในการป้องกันตัวเองได้ดีที่สุด รวมถึงตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก อัลตร้าซาวด์มดลูก รังไข่ ช่องท้อง หรือตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม เนื่องจากเปรียบเสมือนการตรวจเช็คร่างกาย หากพบรอยโรคหรือภาวะที่อาจก่อให้เกิดโรคทางนรีเวชได้ก่อนที่มันจะร้ายแรง ก็สามารถรับมือและวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสมที่สุด ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

เจาะชิ้นเนื้อรก

เจาะชิ้นเนื้อรก

มารู้จักหัตถการเจาะชิ้นเนื้อรกกันเถอะ คุณแม่ๆ เคยได้ยินกันไหมครับว่าอะไรคือ "เจาะชิ้นเนื้อรก" หลายคนอาจเคยได้ยินแค่ "เจาะน้ำคร่ำ" มาดูกันครับว่าต่างกันอย่างไร ? เนื่องจากปัจจุบันมีโรงพยาบาลที่สามารถทำหัตถการนี้ได้ไม่มาก และต้องทำโดยแพทย์เฉพาะทางเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์เท่านั้น เพราะเป็นหัตถการที่ต้องอาศัยความชำนาญและความแม่นยำมากกว่าการเจาะน้ำคร่ำ คนส่วนใหญ่จึงอาจไม่ค่อยรู้จักการตรวจชนิดนี้ เจาะเนื้อรกตรวจอะไร การเจาะเนื้อรก (Chorionic villi sampling: CVS) หลักๆ คือการตรวจโครโมโซมและกลุ่มโรคทางพันธุกรรมของทารก โดยจะตรวจเพื่อการวินิจฉัยโรคโดยตรง เช่น มารดาอายุมาก หรือมีบุตรโครโมโซมผิดปกติในครรภ์ก่อน ผลตรวจคัดกรองดาวน์มีความเสี่ยงสูง ทารกในครรภ์มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคทางพันธุกรรม อัลตราซาวด์พบความผิดปกติที่สงสัยว่าสัมพันธ์กับภาวะโครโมโซมผิดปกติ เป็นต้น โดย อายุครรภ์ที่เหมาะสมต่อการเจาะชิ้นเนื้อรกคือระหว่าง 11-14 สัปดาห์ และทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง ข้อดีของการตรวจนี้คือการรู้ผลเร็ว ทำให้สามารถวางแผนการตั้งครรภ์และการดูแลรักษาได้เร็วขึ้น เช่น คุณแม่ที่ตรวจคัดกรองดาวน์แล้วทราบว่าความเสี่ยงสูงก็จะสามารถเลือกวิธีตรวจที่ทราบผลเร็ว หากทารกมีภาวะผิดปกติจริง การยุติการตั้งครรภ์ตั้งแต่อายุครรภ์น้อยจะปลอดภัยกว่าการรอให้ครรภ์โตมาก การเจาะเนื้อรกทำอย่างไร การเจาะเนื้อรกจะทำโดยการใช้อุปกรณ์ผ่านเข้าไปในมดลูกของคุณแม่เพื่อเก็บเนื้อรกออกมาปริมาณเล็กน้อย โดยทั่วไปจะไม่ผ่านเข้าไปในถุงน้ำคร่ำที่ทารกอยู่โดยตรง มีสองวิธีคือ การเจาะผ่านทางหน้าท้อง และการเก็บชิ้นเนื้อรกผ่านทางช่องคลอด การเจาะเนื้อรกไม่ต้องวางยาสลบ อาจมีการฉีดยาชาในกรณีเจาะผ่านหน้าท้อง ใช้เวลาทำไม่นาน แพทย์จะใช้อัลตราซาวด์ประกอบการเจาะเพื่อให้มั่นใจว่าเข็มอยู่ในบริเวณที่เหมาะสม หากต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อที่ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพ จันทบุรี 039-319877

เดอร์มอยซีสต์

เดอร์มอยซีสต์

เดอร์มอยซีสต์ เชื่อว่าหลายคน เคยได้ยินโรคซีสต์หรือถุงน้ำที่รังไข่ แต่ไม่คุ้นเคยกับโรคถุงน้ำเดอร์มอยด์ (Dermoid Cyst) ที่เกิดจากเซลล์ที่มีความสามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์ชนิดต่าง ๆ มาอยู่ที่บริเวณรังไข่ตั้งแต่แรกเกิด แล้วมีการพัฒนาหรือถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยบางอย่างให้เจริญไปเป็นเซลล์ไขมัน เส้นผม กระดูกอ่อน หรือฟัน จนคิดว่าโดนของหรือคุณไสยฯ ทั้งที่ความจริง ทางการแพทย์ได้มีการอธิบายเอาไว้ โรคถุงน้ำเดอร์มอยด์ เป็นโรคที่พบได้บ่อย ๆ ในคุณผู้หญิง ที่น่าสนใจคือ มักจะไม่มีอาการใด ๆ เลย และพบได้แม้อายุยังน้อย ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งโอกาสกลายเป็นมะเร็งมีน้อยมาก ภาวะแทรกซ้อนของโรคถุงน้ำเดอร์มอยด์ บิดขั้ว เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้มากที่สุดในโรคถุงน้ำเดอร์มอยด์ คนไข้จะมีอาการปวดบริเวณท้องน้อยด้านซ้ายหรือขวา กดเจ็บบริเวณท้องน้อย คลื่นไส้ อาเจียน หรืออาจมีไข้ต่ำ ๆ ได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดฉุกเฉินจะทำให้รังไข่ข้างนั้น ๆ ขาดเลือดไปเลี้ยงเป็นเวลานาน ส่งผลให้รังไข่เน่า ทำให้จำเป็นต้องตัดรังไข่ข้างนั้นทิ้งในที่สุด แตกหรือรั่ว เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้กับโรคถุงน้ำรังไข่ทุกชนิด รวมทั้งโรคถุงน้ำเดอร์มอยด์ คนไข้จะมีอาการปวดท้องน้อยฉับพลัน และปวดตลอดเวลา ซึ่งถ้ามีเลือดออกในช่องท้องจำนวนมาก จะทำให้เกิดภาวะช็อกได้ ติดเชื้อ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ไม่บ่อยนัก แต่ก็ทำให้เกิดอาการรุนแรงได้ คนไข้จะมีอาการไข้สูง ร่วมกับการปวดท้องน้อยที่รุนแรง มะเร็ง แม้จะมีโอกาสน้อยแต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ ทางการแพทย์พบโอกาสเป็นมะเร็งได้ประมาณ 1% ถุงน้ำเดอร์มอยด์ เป็นโรคที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเท่านั้น ไม่สามารถทำให้เล็กลงด้วยยาหรือฮอร์โมน ซึ่งต่างจากช็อกโกแลตซีสต์ ผ่าตัดเลาะเฉพาะถุงน้ำ (Ovarian Cystectomy) โดยจะทำในกรณีที่ยังไม่มีรังไข่เน่า จากภาวะแทรกซ้อนจากรังไข่บิดขั้ว และถุงน้ำมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก ดังนั้นการตรวจพบถุงน้ำรังไข่ก่อนที่จะมีขนาดใหญ่จนเกิดภาวะแทรกซ้อนจึงเป็นการดีที่สุด เพราะการผ่าตัดในขณะที่ขนาดถุงน้ำรังไข่มีขนาดเล็กนั้นทำได้ง่ายกว่า และสูญเสียเนื้อรังไข่น้อยกว่า ส่งผลดีในกรณีที่คนไข้อายุยังน้อย และมีความต้องการมีบุตรในอนาคต ผ่าตัดรังไข่ข้างนั้น ๆ (Unilateral Oophorectomy) จะทำในกรณีที่มีภาวะรังไข่เน่าจากการที่รังไข่บิดขั้ว ทำให้รังไข่ขาดเลือดไปเลี้ยงเป็นเวลานานจนรังไข่เน่า กรณีที่ถุงน้ำมีขนาดใหญ่มาก ๆ ไม่มีเนื้อรังไข่ส่วนที่ดีเหลืออยู่ และรังไข่อีกข้างดูปกติดี เพราะการเหลือรังไข่ 1 ข้าง เพียงพอสำหรับการผลิตฮอร์โมนเพศหญิงได้ หรือกรณีที่อายุมาก ๆ สงสัยว่าอาจมีเซลล์มะเร็ง อย่างไรก็ตาม คุณผู้หญิงทุกเดอร์มอยด์ซีสต์ เป็นโรคถุงน้ำรังไข่ชนิดหนึ่ง ไม่ใช่โรคจากการถูกทำไสยศาสตร์ตามที่เข้าใจกัน หากผู้ป่วยมีอาการ เช่น ปวดท้องน้อยฉับพลัน หรือรุนแรง ควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที ขอบคุณข้อมูลจาก : ฺBDMS สถานีสุขภาพ