เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่(Endometriosis)

เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่(Endometriosis)

สตรีวัยเจริญพันธุ์จะมีเยื่อบุงอกหนาขึ้นในทุก ๆ เดือนอยู่บนพื้นผิวของโพรงมดลูก เมื่อเวลาผ่านไปไม่มีการปฏิสนธิและฝังตัวของตัวอ่อนเกิดขึ้น เยื่อบุนี้จะมีการสลายตัวกลายเป็นประจำเดือน ซึ่งนับเป็นวงจรปกติ แต่หากเมื่อใดเยื่อบุนี้ไปเจริญอยู่บริเวณอื่นที่ไม่ใช่ผิวของโพรงมดลูก เรียกว่า เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ เยื่อบุเหล่านี้จะมีการสลายตัวทุกเป็นเลือดในทุก ๆ เดือนเช่นเดียวกัน เมื่อเลือดเหล่านี้ไม่มีช่องทางการระบายออกจะทำให้เกิดเลือดคั่งอยู่ภายใน เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อโดยรอบ และกลายเป็นถุงซีสต์

อาการ

อาการแสดงในบางรายอาจเกิดอาการปวดท้องหรือปวดหลังขณะมีประจำเดือน มักปวดมากขึ้นเมื่อถึงวันท้าย ๆ ของการมีรอบเดือน หรือปวดขณะร่วมเพศ และในบางรายอาจมีประจำเดือนออกมากกว่าปกติ

การรักษา

สำหรับการรักษาขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรง เเพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจึงต้องพิจารณาแนวทางการรักษาตามความเหมาะสมต่อไป ซึ่งแนวทางการรักษามีตั้งแต่การรับประทานยาคุมกำเนิดจนถึงผ่าตัด เพราะฉะนั้นเมื่อสงสัยไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยให้แน่ชัด เมื่อความรุนแรงน้อยการรักษาก็มักจะไม่ซับซ้อนตามไปด้วย

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-3198888

บทความที่เกี่ยวข้อง

ปวดประจำเดือน

ปวดประจำเดือน

ปวดท้องประจำเดือน อาการปวดท้องประจำเดือนเกิดจากการหดรัดตัวของมดลูก บางรายมีอาการปวดรุนแรงจนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อีกทัั้งบางรายมักมีอาการร่วมอื่น ๆ เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดศีรษะ ปวดหลัง เป็นต้น การรักษา สำหรับการรักษากรณีปวดประจำเดือนมาก แพทย์มักพิจารณาให้ยาเพื่อบรรเทาอาการ โดยหากอาการไม่ดีขึ้น แพทย์อาจพิจารณาตรวจเศษอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุและวางแผนการรักษาต่อไป การดูแลบรรเทาอาการและการป้องกัน ประคบอุ่นบริเวณท้องเมื่อมีอาการปวด อาบน้ำอุ่น จะช่วยให้ผ่อนคลายมากกว่าการอาบน้ำเย็น ดูแลจิตใจให้มีความผ่อนคลาย ลดความเครียด เช่น การนั่งสมาธิ โยคะ พักผ่อนอย่างเพียงพอ ทำงานอดิเรกที่ชอบ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ หลีกเลี่ยอาหารหวาน-เค็ม เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และอาหารที่มีไขมันสูง รับประทานยาแก้ปวดตามคำแนะนำของแพทย์เมื่อมีอาการปวด

ถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS)

ถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS)

“ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ” (PCOS) “ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ” (PCOS) เป็นภาวะที่ยังไม่ทราบสาเหตุชัดเจน แต่เป็นหนึ่งในภาวะที่ผู้หญิงเป็นมากแต่ไม่รู้ตัว มักมีปัจจัยเสี่ยงมาจากน้ำหนักเกินเกณฑ์ หรือผู้หญิงที่มีฮอร์โมนเพศชายมากๆ ส่งผลให้มีความผิดปกติต่อรอบประจำเดือน ซึ่งก่อให้เกิดการมีฮอร์โมนที่ผิดปกติด้วยส่วนใหญ่จะพบในผู้หญิงช่วงอายุน้อยๆ หรือเป็นวัยที่ยังไม่หมดประจำเดือน ซึ่งหากปล่อยไว้นานเข้าอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอันตรายอย่างโรคหัวใจ ภาวพมีบุตรยาก และมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้ในอนาคต ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือ Polycystic Ovary Syndrome (PCOS) เป็นที่รู้จักมากขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งผู้หญิงเป็นกันเยอะแต่ไม่ค่อยรู้ตัว โดยเป็นภาวะที่เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนในเพศหญิง ส่งผลให้ในรังไข่แต่ละข้างจะมีฟองไข่หรือถุงน้ำมากกว่าปกติ ซึ่งโดยปกติในรังไข่จะมีถุงน้ำใบเล็กๆ เพียงไม่กี่ใบ คือเป็นถุงน้ำที่พร้อมจะตกไข่ แต่ในผู้ป่วยที่เป็นโรคภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบจะพบถุงน้ำเป็นสิบใบ ซึ่งมีสัญญาณและภาวะต่างๆ เกิดขึ้นมาพร้อมกัน อาทิ อ้วนและมีสิวขึ้น ผิวมัน ทำให้สาวๆหลายคนขาดความมั่นใจ แต่ภาวะดังกล่าวก็ดูเหมือนจะธรรมดาจนไม่ทำให้ฉุกคิดและละเลยสุขภาพ ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบกับอาการที่ไม่ควรปล่อยไว้! มีรอบประจำเดือนที่ผิดปกติ เช่น ประจำเดือนขาดหายไปหลายเดือน มาไม่สม่ำเสมอ สองเดือนมาครั้งหนึ่ง หรือไม่สามารถเดารอบได้เลย มีสิวขึ้นเยอะ หรือผู้ที่ทำการรักษาสิวแล้วไม่มีท่าทีว่าดีขึ้น ภาวะอ้วนกับภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ในปัจจุบันยังเรายังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงในการเกิดโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ แต่ในหลายๆ ครั้ง มักพบในกลุ่มผู้หญิงที่มีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักตัวเกิน หรือกลุ่มที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มักส่งผลให้มีภาวะฮอร์โมนที่ผิดปกติ ทำให้เกิดภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบได้ สิวขึ้นที่จุดเดิมซ้ำๆ เสี่ยงเป็นภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบจริงหรือไม่? หากเป็นสิว อาจต้องดูถึงตำแหน่งที่สิวเกิดขึ้นว่าเป็นสิวที่เกิดจากฮอร์โมนหรือไม่ โดยวิธีสังเกตสิวที่มาจากฮอร์โมน คือจะขึ้นบริเวณทีโซนของใบหน้า หน้าอก-หลัง หรือหน้ามัน เพราะสิวส่วนใหญ่มักเกิดจากฮอร์โมนจำพวกแอนโดรเจนหรือ ซึ่งก็คือฮอร์โมนเพศชาย หากสิวที่เกิดขึ้นเป็นสิวที่เกิดจากฮอร์โมน ก็อาจแสดงถึงอาการนำของคนที่เป็นภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบได้ ผู้หญิงคนไหนแนวโน้มมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ผู้หญิงที่มีรอบประจำเดือนผิดปกติ ประจำเดือนมาไม่เป็นรอบ หรือหายไปหลายๆ เดือนแล้วมานานๆ ครั้ง ผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ มีภาวะอ้วน ผู้หญิงที่มีสิวขึ้นมากกว่าปกติ มีผิวมัน มีภาวะศีรษะล้าน หรือมีภาวะขนดก ผู้หญิงที่มีประวัติมีบุตรยาก จริงอยู่ที่ไม่ใช่ภาวะรุนแรงอะไร ทำให้เกิดความชะล่าใจ แต่รู้หรือไม่ ? หากปล่อยภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบไว้นานเข้า อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ในอนาคต ได้ดังนี้ อาจทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกโตหนาผิดปกติ อาจเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้ ในผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกินหรือมีภาวะอ้วน อาจก่อให้เกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจ หรือโรคเส้นเลือดในสมอง ทำให้มีบุตรยาก หรือหากตั้งครรภ์อาจมีโอกาสแท้งบุตรในช่วงแรกของครรภ์ได้ เกิดอาการครรภ์เป็นพิษ หรือส่งผลให้ทารกที่อยู่ในครรภ์เติบโตช้ากว่าปกติได้ การตรวจวินิจฉัยภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ซักประวัติความผิดปกติของประจำเดือน ตรวจดูลักษณะภายนอกของผู้ป่วย เช่น น้ำหนัก ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) หรือประวัติของครอบครัว ว่าครอบครัวเคยมีประวัติเป็นมะเร็งหรือไม่ ทำการตรวจอัลตร้าซาวด์เพื่อตรวจดูถุงน้ำในรังไข่ หากตรวจพบว่าเป็นโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ ก็จะเข้าสู่กระบวนการรักษาต่อไป รักษาภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบได้อย่างไร? รักษาด้วยการทานยา วิธีนี้ หากผู้ป่วยยังไม่มีการวางแผนที่จะมีบุตร สามารถรักษาได้โดยการทานยาคุมกำเนิดเพื่อให้ตัวยาไปควบคุมฮอร์โมน ให้ฮอร์โมนกลับสู่สภาวะปกติ โดยจะใช้เวลารักษาประมาณ 6 เดือน หลังจากนั้นจึงติดตามสังเกตอาการต่อว่าหลังจากหยุดทานยาไปแล้ว ประจำเดือนกลับมาปกติหรือไม่ หากประจำเดือนของผู้ป่วยยังผิดปกติอยู่ และผู้ป่วยยังไม่มีการวางแผนที่จะมีบุตรต่อไป การรักษาก็จะเป็นการทานยาคุมและติดตามผลต่อไป ควบคู่ไปกับการรักษาตามสาเหตุ เช่น การควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกาย คุมอาหาร ถ้าคนไหนที่เป็นเบาหวานอาจต้องคุมอาหารจำพวกน้ำตาลให้มากขึ้น ป้องกันภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ได้ง่ายๆ แค่ปรับพฤติกรรม เนื่องจากการเกิดภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ยังไม่อาจทราบได้ว่ามาจากสาเหตุใดอย่างแน่ชัด ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นการป้องกันโดยรวม เช่น ควบคุมน้ำหนัก กินอาหารให้ถูกสุขลักษณะ เช่น ไม่กินแป้ง หรือน้ำตาลมากเกินไป ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ทำให้ตนเองอยู่ในสภาวะเครียดมากเกินไป ทั้งนี้ การตรวจภายในก็เป็นส่วนสำคัญในการป้องกันตัวเองได้ดีที่สุด รวมถึงตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก อัลตร้าซาวด์มดลูก รังไข่ ช่องท้อง หรือตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม เนื่องจากเปรียบเสมือนการตรวจเช็คร่างกาย หากพบรอยโรคหรือภาวะที่อาจก่อให้เกิดโรคทางนรีเวชได้ก่อนที่มันจะร้ายแรง ก็สามารถรับมือและวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสมที่สุด ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

ปวดท้องน้อยในสตรี

ปวดท้องน้อยในสตรี

ปวดท้องน้อยในสตรี ปวดท้องน้อย เกิดได้ทั้งชายและหญิง ซึ่งเกิดได้หลายสาเหตและปัจจัยเนื่องจากในช่องท้องนั้นประกอบด้วยอวัยวะภายในหลายอย่างด้วยกัน เช่น ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ไส้ติ่ง ระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ ขณะที่ผู้หญิงอาจมีความเสี่ยงในมดลูก รังไข่และปีกมดลูก ด้วย ซึ่งบ่อยครั้งที่ไม่สามารถแยกไส้ติ่งอักเสบออกจากถุงน้ำรังไข่ที่แตกได้ หรือไม่สามารถแยกโรคมดลูกอักเสบเฉียบพลันออกจากภาวะไส้ติ่งแตกได้ การวินิจฉัยหาสาเหตุเรื่องของปวดท้องน้อย บางครั้งจึงจำเป็นต้องมีแพทย์หลายๆแผนก มาร่วมกันในการดูแลรักษา การวินิจฉัยสาเหตุปวดท้องน้อยนั้น จำเป็นต้องซักประวัติให้ละเอียด เช่น ปวดท้องน้อยมากี่วัน เป็นมานานแล้วหรือยัง เคยปวดท้องน้อยลักษณะเดียวกันมาก่อนหรือไม่ การรักษาที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง ดีขึ้นหรือไม่ นอกจากนั้น ประวัติในครอบครัว และประวัติการเกิดโรคในอดีตที่เกี่ยวกับระบบภายในด้วย รวมถึงอาการปวดที่อาจจะแตกต่างกันออกไป เช่น ปวดตื้นๆ หรือปวดลึกๆ มีจุดกดเจ็บหรือไม่ ลักษณะการปวดเป็นแบบบีบๆ ปวดดิ้น ปวดแบบมวนๆ ในช่องท้อง หรือเจ็บเหมือนมีเข็มตำ ปวดจนเป็นลมหรือเปล่า ปวดท้องน้อยสตรี สามารถแยกออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ปวดท้องน้อยเฉียบพลัน ( Acute pelvic pain ) มักเกิดจากการขาดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะในช่องท้องที่เป็นสาเหตุหรืออาจเกิดจากอวัยวะที่เป็นสาเหตุได้รับความเสียหาย มักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย หรือมาอาการเป็นลมในบางราย สาเหตุของอาการปวดท้องน้อยลักษณะนี้ มดลูกอักเสบเฉียบพลัน ถุงน้ำรังไข่แตก รั่วหรือบิดขั้ว ภาวะไข่ตกในช่วงกลางรอบเดือน นิ่วในท่อไต กระเพาะปัสสาวะอักเสบ การตั้งครรภ์นอกมดลูก ปวดท้องน้อยเป็นซ้ำ ( recurrent pelvic pain ) วินิจฉัยว่าปวดท้องน้อยเนื่องจากไข่ตก ( Mittelschmerz ) กลุ่มนี้เกิดจากมีการหลั่งสารโพสตร้าแกลนดินออกมาจากถุงไข่ที่รั่วออกมา ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะปวดสั้นๆ 1-2 วัน ในช่วงกลางรอบเดือน รับประทานยาแก้ปวดก็ดีขึ้น แต่ในกรณีที่รับประทานยาแก้ปวด อาการก็ไม่ทุเลาหรือมีภาวะอื่นร่วมด้วย เช่น เป็นลม เหนื่อยง่าย จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อให้การวินิจฉัยที่ถูกต้องต่อไปปวดประจำเดือนแบบปฐมภูมิ ( primary dysmenorrhea ) อาการปวดประจำเดือนมักเกิดในช่วงก่อนมีประจำเดือนและอาจปวดต่อเนื่องได้ถึง 72 ชม อาการปวดมักจะทุเลาได้โดยการใช้ยากลุ่มยับยั้งการสร้างโพสตร้าแกลนดินหรือการใช้ยาคุมกำเนิด ผู้ป่วยกลุ่มนี้ อาการปวดมักจะดีขึ้นหลังหลังจากมีบุตร ปวดท้องน้อยเรื้อรัง ( Chronic pelvic pain ) เป็นภาวะที่พบบ่อย และเป็นปัญหามากในการวินิจฉัยและให้การรักษาที่ถูกต้อง ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีประวัติการรักษาจากแพทย์หลายคน เนื่องจากการวินิจฉัยหาสาเหตุค่อนข้างยาก ภาวะปวดท้องน้อยเรื้อรัง ลักษณะของการปวดท้องน้อย ที่มักปวดตลอดหรืออาจจะปวดเป็นช่วงๆ ไม่สม่ำเสมอ ( non cycle pain ) ไม่สามารถบอกล่วงหน้าได้ และอาการปวดท้องน้อยมักเป็นต่อเนื่องกันมากกว่า 3- 6 เดือน พบว่า ภาวะปวดท้องน้อยเรื้อรังนั้นเป็นสาเหตุในผู้ป่วยที่ตัดมดลูกทั้งหมด ถึง 18% สาเหตุปวดท้องน้อยเรื้อรัง เยื่อบุประจำเดือนอยู่ผิดที่ ช๊อคโกเล็ตซีสต์ พังผืดในช่องท้อง โดยเฉพาะพังผืดที่ยึดระหว่างลำไส้ใหญ่ส่วนปลา ( sigmoid colon ) กับผนังช่องท้อง เป็นสาเหตุถึง 38 % ในผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ด้วยเรื่องปวดท้องน้อยเรื้อรัง มดลูกและปีกมดลูกอักเสบเรื้อรัง เส้นเลือดโป่งพองในอุ้งเชิงกราน ( pelvic congestion ) เนื้องอกมดลูก เนื้องอกและถุงน้ำรังไข่ เนื้องอกและมะเร็งลำไส้ใหญ่ ลำไส้แปรปวน จะเห็นได้ว่าปัญหาระบบภายในของผู้หญิงซับซ้อนเป็นอย่างมาก การตรวจภายในจึงสำคัญ เช่นการตรวจวินิจฉัยด้วยอัลตร้าซาวด์ หรือเอกเรย์คองพิวเตอร์ เช่น CT หรือ MRI จำเป็นสำหรับการช่วยวินิจฉัยโรคและแยกโรคในกรณีที่คิดว่าเป็นโรคเกี่ยวกับลำไส้เล็กหรือลำไส้ใหญ่ การตรวจสวนลำไส้ใหญ่ หรือการส่องกล้องลำไส้เล็กก็จำเป็นในกรณีที่ผุ้ป่วยได้รับการตรวจวินิจฉัยหลายอย่างแล้ว ก็ยังไม่พบสาเหตุที่ชัดเจน การส่องกล้องวินิจฉัยในช่องท้อง ( Diagnostic laparoscope ) ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่แพทย์จะใช้ในการตรวจวินิจฉัย แต่เนื่องจากการตรวจด้วยการส่องกล้องวินิจฉัยในช่องท้องนั้น จำเป็นต้องนำผู้ป่วยเข้าห้องผ่าตัดและดมยาสลบ การเลือกใช้วิธีนี้จึงควรมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน อย่างไรก็ตามการรักษาโรค ขึ้นกับการตรวจพบสาเหตุของโรค ให้การรักษาตามสาเหตุโดยคำนึงถึงอายุ ประวัติการมีบุตรร่วมด้วย ขอบคุณข้อมูลจาก : ฺBDMS สถานีสุขภาพ

“ผู้หญิงข้ามเพศ” มีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูก

“ผู้หญิงข้ามเพศ” มีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูก

“ผู้หญิงข้ามเพศ” มีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งปากมดลูก มะเร็งปากมดลูก พบมากเป็นอันดับต้นๆ ของผู้หญิงทั่วโลก แต่ปัจจุบันยุคสมัยให้ความสำคัญและยอมรับค่านิยมเรื่องการแปลงเพศจากชายเป็นหญิง หรือ LGBTQ+ ทำให้เกิดความสงสัยเกี่ยวกับความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปากมดลูกในสตรีข้ามเพศขึ้น แม้ส่วนใหญ่สาเหตุหลักของการเกิดโรคมะเร็งปาดมดลูกจะมาจาก “เชื้อไวรัส HPV” แต่ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงนั้นก็มีอยู่หลายอย่าง เช่น อาจเกิดจากการฉีกขาดของช่องคลอด การมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย การเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ รวมไปถึงการไม่รักษาสุขอนามัยบริเวณช่องคลอดและอวัยวะเพศของสามี “ชายแปลงเป็นหญิง” เสี่ยงมะเร็งปากมดลูกด้วยหรือไม่ ? แน่นอนว่าการผ่าตัดแปลงเพศจากชายกลายเป็นหญิงนั้น คือ การที่ศัลยแพทย์ทำการตัดแต่งระบบสืบพันธ์ภายในของผู้ชายให้มีเหมือนกับผู้หญิง เพียงแต่!!! เป็นการใช้ผิวหนังหรือเนื้อเยื่อหรือตัดต่อจากของเดิม เช่น การสร้างช่องคลอดเทียม โดยการตัดต่อท่อปัสสาวะเพศชาย หรือ ตกแต่งแคมเลียนแบบอวัยวะเพศหญิงจากหนังหุ้มลูกอัณฑะ เป็นต้น ทางการแพทย์แล้วยังไม่มีการพบว่า เมื่อผ่าตัดแปลงเพศจากชายเป็นหญิงแล้วจะก่อให้เกิด “โรคมะเร็งปากมดลูก” ในอนาคต ในทางกลับกัน อาจมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคตามเพศสภาพเดิมมากกว่า เนื่องจากในการผ่าตัดแปลงเพศนั้น มีเพียงการตัดลูกอัณฑะออกแต่ยังเหลือต่อมลูกหมาก ซึ่งทำให้มีโอกาสเกิดเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากได้ หรือแม้แต่ในผู้หญิงที่แปลงเพศเป็นชาย ก็ยังคงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก หรือมะเร็งรังไข่ได้เหมือนกัน ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

รับสมัครผู้สนใจ "เลเซอร์รีแพร์"

รับสมัครผู้สนใจ "เลเซอร์รีแพร์"

รับสมัครผู้สนใจ "เลเซอร์รีแพร์" แจกฟรี! โปรแกรมเลเซอร์สุดพิเศษจากโรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี #กดแชร์ก่อนเลยยยย ฟรี 3 ท่าน! “รีวิวหลังรีแพร์น้องสาว” คืนความมั่นใจและสุขภาพที่ดี ด้วยเลเซอร์กระชับช่องคลอด #แบบไม่ต้องผ่าตัด ฟรีอีก 3 ท่าน! รีวิวเลเซอร์รักษารอยแผล รอยท้องแตกลาย และแผลผ่าตัดหลังคลอด ท่านละ 3 ครั้ง #รีวิวหลังเห็นผลชัดเจน ให้การดูแลโดยแพทย์เฉพาะทางที่ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี มั่นใจในคุณภาพและผลลัพธ์ที่คุณจะได้รับ #รีวิวเลเซอร์ #กระชับช่องคลอด #รักษารอยแผลผ่าตัด #สุขภาพสตรี #โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี #คุณสมบัติผู้สมัคร คุณแม่หลังคลอด รู้สึกไม่กระชับ ผู้ที่มีปัญหาปัสสาวะเล็ด ผู้ที่มีปัญหาช่องคลอดแห้ง ผู้ที่มีช่องคลอดหลวมแต่ไม่อยากพักฟื้น ไม่อยากผ่าตัด ผู้ที่มีความรู้สึกเจ็บหลังมีเพศสัมพันธ์ มีปัญหาท้องลาย หลังคลอด สะดวกรับบริการไม่เกินวันที่ 15 ธันวาคม 2567 สะดวกรีวิวหลังรับบริการ ผู้ที่สนใจแชร์โพสต์นี้ เป็นสาธารณะ พร้อมลงทะเบียน โปรแกรมที่สนใจ.. เคสรีวิวเลเซอร์กระชับช่องคลอด (ฟรี 1 ครั้ง) https://docs.google.com/.../1ru2AOlfs4uoiPVaS.../viewform... เคสรีวิวเลเซอร์รักษารอยแผลผ่าตัดหลังคลอด (ฟรี 3 ครั้ง) https://docs.google.com/.../1KE0Sex8C80zzrjnuc0p2KVg.../edit เปิดลงทะเบียนวันที่ 8 - 25 ตุลาคม 2567 นัดคัดเลือกวันที่ 26 - 29 ตุลาคม 2567 ประกาศผล 30 ตุลาคม 2567 สะดวกรับบริการไม่เกินวันที่ 15 ธันวาคม 2567 #เลเซอร์รีแพร์ #ศูนย์สุขภาพสตรี

มีเซ็กซ์ปลอดภัยไม่ติดเชื้อ HPV

มีเซ็กซ์ปลอดภัยไม่ติดเชื้อ HPV

เซ็กซ์อย่างป้องกัน ลดเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน สุ่มเสี่ยง โรคติดต่อมากมาย และเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งในผู้หญิง เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเนื่องจากติดเชื้อ การติดเชื้อ HPV หรือ Human Papillomavirus รู้ทริคป้องกันโรครับวาเลนไทน์ 2023 ให้ปลอดภัย การติดเชื้อ HPV หรือ Human Papillomavirus เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบมากที่สุด เป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด โดย HPV แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ HPV ชนิดไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง ไม่ได้ทําาให้เกิดมะเร็งปากมดลูก แต่เป็นสาเหตุของหูดหงอนไก่บริเวณอวัยวะเพศ เชื้อ HPV ติดต่อได้ง่ายผ่านทางเพศสัมพันธ์เป็นหลัก โดยมักพบในคนช่วงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 20-30 ปี สูงถึง 2 ใน 3 คนเลยทีเดียว เมื่อติดเชื้อ เซลล์ปากมดลูกเกิดการเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์มะเร็งอาจใช้เวลานาน 10-15 ปี ซึ่งผู้หญิงที่ติดเชื้อมักจะไม่มีอาการผิดปกติใดๆ เป็นระยะเวลานาน แต่จะมาพบแพทย์เมื่อมีอาการแล้ว เช่น เลือดออกผิดปกติจากช่องคลอดที่ไม่ใช่ประจําเดือน มะเร็งมักเข้าสู่ระยะลุกลามแล้ว และแม้ว่าการติดเชื้อ HPV จะเพิ่มโอกาสสูงขึ้นตามจำนวนของคู่นอน แต่การมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนแค่คนเดียวก็มีโอกาสติดเชื้อ HPV ได้ หากคู่นอนของคุณมีเชื้อ HPV อยู่ก่อนแล้ว มีเซ็กซ์ปลอดภัยจากเชื้อ HPV ไม่เปลี่ยนคู่นอนหลายคน สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ เพราะช่วยป้องกันการติดเชื้อ HPV มากถึง 90% ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย หรือ ต่ำกว่า 18 ปี ไม่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก เพราะสามารถเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HPV และก่อให้เกิดมะเร็งทวารหนักในอนาคตได้ ไม่มีเพศสัมพันธ์ด้วยการทำออรัล เพราะเชื้อ HPV สามารถก่อให้เกิดมะเร็งช่องปาก หรือมะเร็งลำคอได้ ระวังการติดเชื้อจากการใช้นิ้วมือ เนื่องจากเชื้อ HPV สามารถติดต่อผ่านการสัมผัสทางผิวหนังโดยตรงได้ การป้องกันที่สำคัญกว่า คือการรับฉีดวัคซีนป้องกัน HPV วัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) จะกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันป้องกันการติดเชื้อ HPV ปัจจุบันวัคซีน HPV มี 2 ชนิด ชนิดแรก เป็นวัคซีน HPV ชนิด 2 สายพันธุ์ ซึ่งมีการเสริมสารกระตุ้นภูมิรุ่นใหม่ เน้นป้องกันมะเร็งปากมดลูกจากเชื้อ HPV สายพันธุ์ก่อมะเร็ง (HPV 16, 18 และ HPV สายพันธุ์ก่อมะเร็งอื่นๆ) ชนิดที่ 2 วัคซีน HPV ชนิด 4 สายพันธุ์ ใช้ป้องกันมะเร็งปากมดลูก (จาก HPV 16, 18) และหูดอวัยวะเพศ (จาก HPV 6, 11) ช่วงวัยที่เหมาะสมกับการฉีดป้องกันป้องกันมะเร็งปากมดลูก ควรฉีดในผู้หญิงอายุตั้งแต่ 9-26 ปี หรืออาจขยายระยะเวลาได้ถึง 45 ปี ในผู้ชายก็เช่นเดียวกัน เพราะเป็นวัยที่ร่างกายสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุด นอกจากนี้การตรวจหาเชื้อ HPV ในระดับดีเอ็นเอ หรือ HPV Testing จึงเป็นวิธีการค้นหาเชื้อ HPV ที่ให้ผลแม่นยำ ช่วยให้รักษาการติดเชื้อได้ทันก่อนกลายเป็นมะเร็ง ขอขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ