ถุงน้ำรังไข่หลายใบ (PCOS)

“ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ” (PCOS)

“ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ” (PCOS) เป็นภาวะที่ยังไม่ทราบสาเหตุชัดเจน แต่เป็นหนึ่งในภาวะที่ผู้หญิงเป็นมากแต่ไม่รู้ตัว มักมีปัจจัยเสี่ยงมาจากน้ำหนักเกินเกณฑ์ หรือผู้หญิงที่มีฮอร์โมนเพศชายมากๆ ส่งผลให้มีความผิดปกติต่อรอบประจำเดือน ซึ่งก่อให้เกิดการมีฮอร์โมนที่ผิดปกติด้วยส่วนใหญ่จะพบในผู้หญิงช่วงอายุน้อยๆ หรือเป็นวัยที่ยังไม่หมดประจำเดือน ซึ่งหากปล่อยไว้นานเข้าอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอันตรายอย่างโรคหัวใจ ภาวพมีบุตรยาก และมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้ในอนาคต

ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ หรือ Polycystic Ovary Syndrome (PCOS) เป็นที่รู้จักมากขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งผู้หญิงเป็นกันเยอะแต่ไม่ค่อยรู้ตัว โดยเป็นภาวะที่เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนในเพศหญิง ส่งผลให้ในรังไข่แต่ละข้างจะมีฟองไข่หรือถุงน้ำมากกว่าปกติ ซึ่งโดยปกติในรังไข่จะมีถุงน้ำใบเล็กๆ เพียงไม่กี่ใบ คือเป็นถุงน้ำที่พร้อมจะตกไข่ แต่ในผู้ป่วยที่เป็นโรคภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบจะพบถุงน้ำเป็นสิบใบ ซึ่งมีสัญญาณและภาวะต่างๆ เกิดขึ้นมาพร้อมกัน อาทิ อ้วนและมีสิวขึ้น ผิวมัน ทำให้สาวๆหลายคนขาดความมั่นใจ แต่ภาวะดังกล่าวก็ดูเหมือนจะธรรมดาจนไม่ทำให้ฉุกคิดและละเลยสุขภาพ

ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบกับอาการที่ไม่ควรปล่อยไว้!

  • มีรอบประจำเดือนที่ผิดปกติ เช่น ประจำเดือนขาดหายไปหลายเดือน มาไม่สม่ำเสมอ สองเดือนมาครั้งหนึ่ง หรือไม่สามารถเดารอบได้เลย
  • มีสิวขึ้นเยอะ หรือผู้ที่ทำการรักษาสิวแล้วไม่มีท่าทีว่าดีขึ้น

ภาวะอ้วนกับภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ

ในปัจจุบันยังเรายังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงในการเกิดโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ แต่ในหลายๆ ครั้ง มักพบในกลุ่มผู้หญิงที่มีภาวะอ้วนหรือน้ำหนักตัวเกิน หรือกลุ่มที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้มักส่งผลให้มีภาวะฮอร์โมนที่ผิดปกติ ทำให้เกิดภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบได้

สิวขึ้นที่จุดเดิมซ้ำๆ เสี่ยงเป็นภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบจริงหรือไม่?

หากเป็นสิว อาจต้องดูถึงตำแหน่งที่สิวเกิดขึ้นว่าเป็นสิวที่เกิดจากฮอร์โมนหรือไม่ โดยวิธีสังเกตสิวที่มาจากฮอร์โมน คือจะขึ้นบริเวณทีโซนของใบหน้า หน้าอก-หลัง หรือหน้ามัน เพราะสิวส่วนใหญ่มักเกิดจากฮอร์โมนจำพวกแอนโดรเจนหรือ ซึ่งก็คือฮอร์โมนเพศชาย หากสิวที่เกิดขึ้นเป็นสิวที่เกิดจากฮอร์โมน ก็อาจแสดงถึงอาการนำของคนที่เป็นภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบได้

ผู้หญิงคนไหนแนวโน้มมีภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ

  • ผู้หญิงที่มีรอบประจำเดือนผิดปกติ ประจำเดือนมาไม่เป็นรอบ หรือหายไปหลายๆ เดือนแล้วมานานๆ ครั้ง
  • ผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ มีภาวะอ้วน
  • ผู้หญิงที่มีสิวขึ้นมากกว่าปกติ มีผิวมัน
  • มีภาวะศีรษะล้าน หรือมีภาวะขนดก
  • ผู้หญิงที่มีประวัติมีบุตรยาก

จริงอยู่ที่ไม่ใช่ภาวะรุนแรงอะไร ทำให้เกิดความชะล่าใจ แต่รู้หรือไม่ ? หากปล่อยภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบไว้นานเข้า อาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ในอนาคต ได้ดังนี้

  • อาจทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกโตหนาผิดปกติ
  • อาจเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้
  • ในผู้ป่วยที่มีน้ำหนักเกินหรือมีภาวะอ้วน อาจก่อให้เกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจ หรือโรคเส้นเลือดในสมอง
  • ทำให้มีบุตรยาก หรือหากตั้งครรภ์อาจมีโอกาสแท้งบุตรในช่วงแรกของครรภ์ได้ เกิดอาการครรภ์เป็นพิษ หรือส่งผลให้ทารกที่อยู่ในครรภ์เติบโตช้ากว่าปกติได้

การตรวจวินิจฉัยภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ

  • ซักประวัติความผิดปกติของประจำเดือน
  • ตรวจดูลักษณะภายนอกของผู้ป่วย เช่น น้ำหนัก ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) หรือประวัติของครอบครัว ว่าครอบครัวเคยมีประวัติเป็นมะเร็งหรือไม่
  • ทำการตรวจอัลตร้าซาวด์เพื่อตรวจดูถุงน้ำในรังไข่ หากตรวจพบว่าเป็นโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ ก็จะเข้าสู่กระบวนการรักษาต่อไป

รักษาภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบได้อย่างไร?

รักษาด้วยการทานยา วิธีนี้ หากผู้ป่วยยังไม่มีการวางแผนที่จะมีบุตร สามารถรักษาได้โดยการทานยาคุมกำเนิดเพื่อให้ตัวยาไปควบคุมฮอร์โมน ให้ฮอร์โมนกลับสู่สภาวะปกติ โดยจะใช้เวลารักษาประมาณ 6 เดือน หลังจากนั้นจึงติดตามสังเกตอาการต่อว่าหลังจากหยุดทานยาไปแล้ว ประจำเดือนกลับมาปกติหรือไม่ หากประจำเดือนของผู้ป่วยยังผิดปกติอยู่ และผู้ป่วยยังไม่มีการวางแผนที่จะมีบุตรต่อไป การรักษาก็จะเป็นการทานยาคุมและติดตามผลต่อไป ควบคู่ไปกับการรักษาตามสาเหตุ เช่น การควบคุมน้ำหนัก ออกกำลังกาย คุมอาหาร ถ้าคนไหนที่เป็นเบาหวานอาจต้องคุมอาหารจำพวกน้ำตาลให้มากขึ้น

ป้องกันภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ได้ง่ายๆ แค่ปรับพฤติกรรม เนื่องจากการเกิดภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ ยังไม่อาจทราบได้ว่ามาจากสาเหตุใดอย่างแน่ชัด ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นการป้องกันโดยรวม เช่น

  • ควบคุมน้ำหนัก
  • กินอาหารให้ถูกสุขลักษณะ เช่น ไม่กินแป้ง หรือน้ำตาลมากเกินไป
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ไม่ทำให้ตนเองอยู่ในสภาวะเครียดมากเกินไป

ทั้งนี้ การตรวจภายในก็เป็นส่วนสำคัญในการป้องกันตัวเองได้ดีที่สุด รวมถึงตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก อัลตร้าซาวด์มดลูก รังไข่ ช่องท้อง หรือตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านม เนื่องจากเปรียบเสมือนการตรวจเช็คร่างกาย หากพบรอยโรคหรือภาวะที่อาจก่อให้เกิดโรคทางนรีเวชได้ก่อนที่มันจะร้ายแรง ก็สามารถรับมือและวางแผนการรักษาได้อย่างเหมาะสมที่สุด

ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

บทความที่เกี่ยวข้อง

วัคซีนมะเร็งปากมดลูก

วัคซีนมะเร็งปากมดลูก

วัคซีน HPV 9 สายพันธุ์ การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก เพื่อกระตุ้นภูมิคุ่มกันร่างกายนั้น นับว่ามีประสิทธิภาพเป็นที่น่าพอใจในการป้องกันการเกิดโรคที่เกิดจากเชื้อ HPV สายพันธุ์เดียวกับวัคซีนที่ฉีด ซึ่งปัจจุบันมาวัคซีน HPV 9 สายพันธุ์ ที่ครอบคลุมป้องกันการเกิดโรคได้หลายโรคทั้งในเพศหญิงและเพศชาย ข้อบ่งชี้ในการรับวัคซีน 1.เพื่อป้องกันการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์เดียวกับวัคซีนที่ฉีด 2.เพื่อป้องกันรอยโรคก่อนมะเร็งและมะเร็งอวัยวะเพศสตรีที่เกิดจากการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์เดียวกับวัคซีนที่ฉีด ข้อห้ามในการฉีดวัคซีน เคยมีประวัติเเพ้วัคซีน HPV หรือแพ้ส่วนประกอบของวัคซีน HPV

ประจำเดือนไม่มา

ประจำเดือนไม่มา

ประจำเดือนไม่เคยมา ประจำเดือนไม่เคยมา (Primary amenorrhea) หมายถึง สตรีเมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์หรืออายุ 14 ปี แล้ว แต่ยังไม่เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก ซึ่งมีสาเหตุต่าง ๆ เช่น ความผิดปกติของรังไข่หรือฮอร์โมนในร่างกาย ความผิดปกติของโครงสร้างของมดลูกหรือช่องคลอด เป็นต้น อาการ ภาวะประจำเดือนไม่เคยมาอาจไม่มีอาการใด ๆ แต่ในรายที่มีอาการจะเกิดขึ้นตามสาเหตุ เช่น หากมีสาเหตุจากฮอร์โมน อาจพบว่าการเจริญโตทางเพศไม่สมวัย เช้น ไม่มีหน้าอก ไม่มีขนเพชรหรือขนรักแร้ขึ้น เป็นต้น หากเกิดจากเยื่อพรหมจรรย์ไม่เปิด อาจมีอาการปวดท้อง หรือมีเยื่อพรหมจรรย์โป่งพอง การรักษา สำหรับการรักษาภาวะประจำเดือนไม่เคยมาแนะนำพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินรักษา โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาวางแผนการรักษาตามความเหมาะสมเป็นรายกรณีไป สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

มะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่

มะเร็งรังไข่ ปกติผู้หญิงจะมีรังไข่สองข้าง โอกาสที่จะเกิดมะเร็งรังไข่ทั้งสองข้างพร้อมๆ กันมีประมาณ 25% และเป็นโรคที่พบได้ตั้งแต่อายุน้อย และมีโอกาสเสี่ยงสูงมากขึ้นเมื่อผู้หญิงมีอายุ 50 ปีขึ้นไป ประวัติการณ์ของโรคมะเร็งรังไข่ในไทยเป็นมะเร็งของอวัยวะสืบพันธุ์สตรีพบได้บ่อยเป็นอันดับ 2 รองลงมาจากมะเร็งปากมดลูก และเป็นอันดับ 6 ของมะเร็งทั้งหมดที่พบในหญิงไทย ซึ่งอุบัติการณ์ของมะเร็งรังไข่ 5.2 ต่อประชากรสตรี 100,000 คนต่อปี ปัจจุบันได้มีการค้นพบยีนที่เกี่ยวข้องกับการเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งรังไข่ สาเหตุการเกิดมะเร็งรังไข่ สามารถเกิดขึ้นได้ 3 กลุ่มใหญ่คือ มะเร็งฟองไข่ที่เกิดจากเซลล์ตัวอ่อน มีโอกาสพบได้ 5% มะเร็งที่เกิดจากเซลล์เยื่อบุผิวรังไข่ ซึ่งพบได้เป็นส่วนใหญ่คือประมาณ 90% มะเร็งเนื้อรังไข่ ซึ่งมีโอกาสพบได้น้อยมาก “สาเหตุ” ของการเกิดมะเร็งรังไข่ ส่วนใหญ่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม ยิ่งในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคมะเร็งก็จะมีโอกาสเป็นมะเร็งสูงขึ้น พบในคนอ้วนมากกว่าคนผอม เกิดกับคนที่มีประจำเดือนเร็วคืออายุน้อยกว่า 12 ปี หรือหมดประจำเดือนช้ากว่าอายุ 55 ปี คนที่มีภาวะมีบุตรยากและต้องใช้ยากระตุ้นการตกไข่ หญิงที่ยังไม่เคยตั้งครรภ์ก็มีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งรังไข่สูงกว่าหญิงที่เคยตั้งครรภ์มากกว่า 2 ครรภ์ขึ้นไป อาการเริ่มต้นของ “มะเร็งรังไข่ น่าแปลกที่อาการเริ่มแรกแทบไม่เกี่ยวข้องกับมะเร็งรังไข่เลย เช่น อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ท้องเฟ้อ กินอาหารนิดเดียวก็รู้สึกอึดอัดในช่องท้อง รวมถึงมีอาการปวดท้อง คลื่นไส้ ท้องเสีย ท้องผูก เบื่ออาหาร น้ำหนักขึ้นหรือลดลงโดยไม่มีสาเหตุ ปัสสาวะบ่อย ซึ่งอาการต่างๆ เหล่านี้ทำให้หลายคนประมาทและไม่คิดว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของมะเร็งรังไข่ได้ กว่าจะพบก็มักจะเป็นในระยะลุกลามไปแล้ว คือจะคลำพบก้อนเนื้อบริเวณท้องน้อยเริ่มมีอาการปวดท้อง หรือมีน้ำในช่องท้อง 4 ระยะของมะเร็งรังไข่ ระยะที่ 1: เซลล์มะเร็งกระจายอยู่เฉพาะรังไข่ หากมีการตรวจพบในช่วงนี้ ก็จะทำการผ่าตัดรักษาได้ทันท่วงที โดยที่ยังไม่ลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ หากมีการตรวจภายในเป็นประจำก็มีโอกาสที่จะพบในระยะนี้ได้มากกว่าคนที่ไม่เคยตรวจเลย ระยะที่ 2: เซลล์มะเร็งกระจายไปสู่อุ้งเชิงกราน ก็ยังอยู่ในระยะที่ตรวจพบได้น้อยเช่นกัน เนื่องจากไม่มีอาการใดๆ แสดงออกมาเลย ทำให้มะเร็งรังไข่ลุกลามกลายเป็นภัยเงียบที่อันตรายกว่าที่หลายคนคิด ระยะที่ 3: เซลล์มะเร็งกระจายไปสู่เยื่อบุช่องท้อง เป็นระยะที่มักตรวจพบมากที่สุด เนื่องจากหน้าท้องจะขยายใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็วจนสังเกตเห็นได้ถึงความผิดปกตินี้ เนื่องจากสารน้ำต่างๆ ในท้องมากขึ้น และคนไข้จะมีอาการตึงและแข็งที่ท้องมากขึ้น แต่น้ำหนักกลับลดลง ระยะที่ 4: เซลล์มะเร็งกระจายเข้าสู่อวัยวะอื่นๆ นอกช่องท้อง อาจไล่ไปที่ตับ ปอดอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการไม่แสดงอาการในระยะเริ่มต้น กลุ่มเสี่ยงที่เกิดมาข้างต้นและมีอาการแปลกๆ จึงไม่ควรมองข้าม เพราะในระยะแรกจะสามารถรักษาได้ง่ายกว่าในระยะอื่นๆ ดังนั้นผู้หญิงเราจึงควรป้องกันด้วยการตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี และเน้นการตรวจภายในหรือตรวจอัลตร้าซาวด์อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง หมั่นออกกำลังกาย รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และควรลดการรับประทานไขมันจากสัตว์ เพราะหากทานปริมาณที่มากเกินไปก็อาจมีแนวโน้มความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งรังไข่ได้มากเท่านั้น และรีบปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษาหากพบความผิดปกติอย่างเร่งด่วน ซึ่งก็มีตั้งแต่การผ่าตัด การใช้เคมีบำบัด และการฉายรังสี ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

เลเซอร์ รีเเพร์

เลเซอร์ รีเเพร์

💕👩🏻ฟื้นฟูความมั่นใจให้คุณผู้หญิง ด้วยเลเซอร์ฟื้นฟูจุดซ่อนเร้น ปัญหาช่องคลอดที่เกิดขึ้นเมื่ออายุเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นช่องคลอดแห้ง ช่องคลอดหลวม อาการเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ หรือปัญหาปัสสาวะเล็ดจากการไอหรือจาม และอวัยวะเพศคล้ำ หย่อนคล้อย สิ่งเหล่านี้อาจทำให้คุณขาดความมั่นใจในชีวิตประจำวัน 👩🏻เลเซอร์ฟื้นฟูจุดซ่อนเร้น เทคโนโลยีเลเซอร์ 360 องศาที่ออกแบบมาเพื่อช่วยแก้ปัญหาภายในให้คุณผู้หญิงโดยเฉพาะ โดยไม่ต้องผ่าตัด แสงเลเซอร์จะช่วยกระตุ้นการสร้างและจัดเรียงเส้นคอลลาเจนในบริเวณผนังช่องคลอด ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น และปรับสมดุล ทำให้ช่องคลอดชุ่มชื้น ลดอาการปัสสาวะเล็ด อีกทั้งยังสามารถทำให้ผิวภายนอกอวัยวะเพศกลับมาขาวกระจ่างใสได้ภายใน 1 สัปดาห์ ขั้นตอนการรักษาง่ายและรวดเร็ว ใช้เวลาไม่นานและเห็นผลทันทีหลังจากการทำครั้งแรก ควรทำต่อเนื่องเพียง 3 ครั้ง โดยเว้นระยะ 1-2 เดือน ทำให้คุณไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการใช้เวลาในขั้นตอนนี้ เตรียมพร้อมสำหรับการทำเลเซอร์ฟื้นฟูจุดซ่อนเร้น : - ปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนเข้ารับบริการ - ควรทำหลังจากมีรอบเดือน - หากมีประวัติเป็นเริมหรือใช้ยาลดการแข็งตัวของเลือด ควรแจ้งแพทย์ล่วงหน้า เปลี่ยนปัญหาที่คุณกังวลให้เป็นเรื่องเล็ก ๆ ด้วยเลเซอร์ฟื้นฟูจุดซ่อนเร้น ฟื้นฟูความมั่นใจ และพร้อมใช้ชีวิตอย่างมั่นใจอีกครั้งกับการดูแลจากผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง เช็กตารางออกตรวจแพทย์ ศูนย์สุขภาพสตรี คลิก https://doctor.bangkokhospitalchanthaburi.com/alldoctor.php สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

ใช้ "ยาคุมฉุกเฉิน" ให้ปลอดภัย...ได้ประสิทธิภาพสูง

ใช้ "ยาคุมฉุกเฉิน" ให้ปลอดภัย...ได้ประสิทธิภาพสูง

วิธีกิน“ยาคุมฉุกเฉิน”ที่ผู้หญิงต้องรู้ ให้ปลอดภัยลดโอกาสเป็นมะเร็ง ปัจจุบันยาคุมกำเนิด มีหลากหลายยี่ห้อ และเป็นที่นิยมมากกว่าการคุมกำเนิดรูปแบบอื่นเพราะทั้งหาซื้อง่ายและมีหลายราคา สามาถเลือกได้ตามความต้องการของคุณผู้หญิง และนอกจากยาคุมแบบแผงแล้ว ยังมี “ยาคุมฉุกเฉิน” ที่ไว้ใช้ยามฉุกเฉินตามชื่อและมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการตั้งครรภ์ แต่การกินบ่อยไม่ใช่เรื่องดีแน่ เพราะอาจทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์สูงกว่าเดิม เพิ่มโอกาสเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือมะเร็งเต้านม เป็นต้น ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน จำหน่ายลักษณะเป็นกล่อง โดย 1 กล่องจะมี 1 แผง แต่ละแผงมียาคุมฉุกเฉิน 2 เม็ด โดยในแต่ละเม็ดประกอบไปด้วยยาที่เป็นฮอร์โมนขนาดสูง ลีโวนอร์เจสเตรล (levonorgestrel) เม็ดละ 750 กรัม ตามหลักของกรมอนามัย กระทรวงสาธารสุข การกินยาคุมฉุกเฉินแล้วอัตราย อาจจะยังไม่ถูกร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะถ้ากินแบบถูกต้อง คือการกินเม็ดแรก ภายใน 72 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ และกินเม็ดที่สองเมื่อครบ 12 ชั่วโมง หลังจากกินยาเม็ดแรก และไม่แนะนำให้รับประทานยาเกิน 4 เม็ด หรือ 2 กล่องต่อเดือน สามารถรับประทานยาคุมฉุกเฉิน 2 เม็ด พร้อมกันในครั้งเดียวได้ โดยที่ประสิทธิภาพและความปลอดภัยไม่แตกต่างจากการแบ่งรับประทานเป็น 2 ครั้ง แต่อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนได้ง่ายขึ้น ซึ่งควรกินเฉพาะในกรณีฉุกเฉิน เช่น มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ตั้งใจ ไม่ใช่กินเพื่อคุมกำเนิดระยะยาว กลไกการทำงานของยาคุมฉุกเฉินจะมีหน้าที่รบกวนกระบวนการตกไข่และการเคลื่อนไหวของอสุจิ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงเยื่อบุโพรงมดลูก เพื่อให้การฝังตัวของไข่ทำได้ยาก หรือจะพูดง่ายๆ ก็คือ ยาคุมฉุกเฉินมีส่วนช่วย “ลดโอกาส” ในการตั้งครรภ์ลงจากเดิมเท่านั้น แล้วแน่นอนว่าการที่ฮอร์โมนถูกกระตุ้นแบบฉับพลันย่อมส่งผลข้างเคียงหลังการกินยาคุมฉุกเฉินมักจะพบว่าคุณผู้หญิงมักมีอาการค้างเคียง อาทิ อาการปวดศีรษะ ปวดท้อง มีเลือดออกกะปริบกะปรอย ประจำเดือนมาเร็วหรือช้ากว่าปกติ ซึ่งนับว่าเป็นอาการปกติ ไม่อันตราย แต่หากอาการเหล่านี้เกิดขึ้นต่อเนื่องหลายวันหรือเกินสัปดาห์ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยจะดีกว่า อย่างไรก็ตามการใช้ยาเม็ดคุมกําเนิดแบบฉุกเฉินอย่างถูกต้องภายหลังมีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการป้องกันการตั้งครรภ์ พบว่า มีอัตราการตั้งครรภ์ เกิดขึ้นได้ร้อยละ 2 ผู้ที่ไม่ได้รับประทานยาเม็ดคุมกําเนิดแบบฉุกเฉินจะมีโอกาสตั้งครรภ์ประมาณร้อยละ 8 หรือกล่าวได้ว่ายาเม็ดคุมกําเนิดแบบฉุกเฉินสามารถลดภาวะเสี่ยงในการตั้งครรภ์ได้เพียงร้อยละ 75 เท่านั้น ทั้งนี้ยาคุมฉุกเฉินไม่ได้มีไว้เพื่อการคุมกำเนิดระยะยาว และเมื่อกินบ่อยครั้งหรือกินติดต่อกันนานๆ ยังส่งผลให้ยาคุมฉุกเฉินมีประสิทธิภาพลดลง หรือทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้สูงขึ้น รวมถึงปริมาณฮอร์โมนเพศหญิงในยาคุมฉุกเฉินที่สูงกว่ายาคุมกำเนิดแบบปกติถึง 2 เท่า ยังอาจก่อให้เกิดอันตรายต่างๆ ได้ เช่น เพิ่มโอกาสเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือมะเร็งเต้านม เป็นต้น กินยาคุมฉุกเฉิน ไม่ได้ช่วยให้แท้ง? หนึ่งความเชื่อหนาหูที่ว่า กินยาคุมฉุกเฉินช่วยให้แท้งนั้น เป็นความเชื่อที่ผิด ซึ่งอย่างที่บอกไปว่ายาคุมฉุกเฉินเป็นตัวช่วยลดประสิทธิภาพในการทำงานของไข่และอสุจิ ดังนั้น หากไข่ที่ผสมอสุจิได้ทำการฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูกแล้ว หรือเกิดการตั้งครรภ์แล้ว การกินยาคุมฉุกเฉินก็เท่ากับสูญเปล่า ทั้งนี้ ยาคุมฉุกเฉินถูกผลิตขึ้นเพื่อช่วยลดโอกาสในการตั้งครรภ์ กรณีที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ตั้งใจ, การถูกข่มขืน หรือเกิดการฉีกขาดของถุงยางอนามัย ดังนั้น หากคู่สามีภรรยาคู่ไหนต้องการคุมกำเนิดแบบระยะยาว ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกวิธีคุมกำเนิดที่เหมาะสมและปลอดภัยจะดีกว่า ที่สำคัญไม่การใช้ยาคุมกำเนิดไม่ว่าจะเป็นแบบแผงหรือยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินควรรับการปรึกษาจากแพทย์หรือเภสัชกร อย่างเหมาะสม ที่สำคัญควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดที่สูงขึ้น ขอขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

เดอร์มอยซีสต์

เดอร์มอยซีสต์

เดอร์มอยซีสต์ เชื่อว่าหลายคน เคยได้ยินโรคซีสต์หรือถุงน้ำที่รังไข่ แต่ไม่คุ้นเคยกับโรคถุงน้ำเดอร์มอยด์ (Dermoid Cyst) ที่เกิดจากเซลล์ที่มีความสามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์ชนิดต่าง ๆ มาอยู่ที่บริเวณรังไข่ตั้งแต่แรกเกิด แล้วมีการพัฒนาหรือถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยบางอย่างให้เจริญไปเป็นเซลล์ไขมัน เส้นผม กระดูกอ่อน หรือฟัน จนคิดว่าโดนของหรือคุณไสยฯ ทั้งที่ความจริง ทางการแพทย์ได้มีการอธิบายเอาไว้ โรคถุงน้ำเดอร์มอยด์ เป็นโรคที่พบได้บ่อย ๆ ในคุณผู้หญิง ที่น่าสนใจคือ มักจะไม่มีอาการใด ๆ เลย และพบได้แม้อายุยังน้อย ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งโอกาสกลายเป็นมะเร็งมีน้อยมาก ภาวะแทรกซ้อนของโรคถุงน้ำเดอร์มอยด์ บิดขั้ว เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้มากที่สุดในโรคถุงน้ำเดอร์มอยด์ คนไข้จะมีอาการปวดบริเวณท้องน้อยด้านซ้ายหรือขวา กดเจ็บบริเวณท้องน้อย คลื่นไส้ อาเจียน หรืออาจมีไข้ต่ำ ๆ ได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดฉุกเฉินจะทำให้รังไข่ข้างนั้น ๆ ขาดเลือดไปเลี้ยงเป็นเวลานาน ส่งผลให้รังไข่เน่า ทำให้จำเป็นต้องตัดรังไข่ข้างนั้นทิ้งในที่สุด แตกหรือรั่ว เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้กับโรคถุงน้ำรังไข่ทุกชนิด รวมทั้งโรคถุงน้ำเดอร์มอยด์ คนไข้จะมีอาการปวดท้องน้อยฉับพลัน และปวดตลอดเวลา ซึ่งถ้ามีเลือดออกในช่องท้องจำนวนมาก จะทำให้เกิดภาวะช็อกได้ ติดเชื้อ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ไม่บ่อยนัก แต่ก็ทำให้เกิดอาการรุนแรงได้ คนไข้จะมีอาการไข้สูง ร่วมกับการปวดท้องน้อยที่รุนแรง มะเร็ง แม้จะมีโอกาสน้อยแต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ ทางการแพทย์พบโอกาสเป็นมะเร็งได้ประมาณ 1% ถุงน้ำเดอร์มอยด์ เป็นโรคที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเท่านั้น ไม่สามารถทำให้เล็กลงด้วยยาหรือฮอร์โมน ซึ่งต่างจากช็อกโกแลตซีสต์ ผ่าตัดเลาะเฉพาะถุงน้ำ (Ovarian Cystectomy) โดยจะทำในกรณีที่ยังไม่มีรังไข่เน่า จากภาวะแทรกซ้อนจากรังไข่บิดขั้ว และถุงน้ำมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก ดังนั้นการตรวจพบถุงน้ำรังไข่ก่อนที่จะมีขนาดใหญ่จนเกิดภาวะแทรกซ้อนจึงเป็นการดีที่สุด เพราะการผ่าตัดในขณะที่ขนาดถุงน้ำรังไข่มีขนาดเล็กนั้นทำได้ง่ายกว่า และสูญเสียเนื้อรังไข่น้อยกว่า ส่งผลดีในกรณีที่คนไข้อายุยังน้อย และมีความต้องการมีบุตรในอนาคต ผ่าตัดรังไข่ข้างนั้น ๆ (Unilateral Oophorectomy) จะทำในกรณีที่มีภาวะรังไข่เน่าจากการที่รังไข่บิดขั้ว ทำให้รังไข่ขาดเลือดไปเลี้ยงเป็นเวลานานจนรังไข่เน่า กรณีที่ถุงน้ำมีขนาดใหญ่มาก ๆ ไม่มีเนื้อรังไข่ส่วนที่ดีเหลืออยู่ และรังไข่อีกข้างดูปกติดี เพราะการเหลือรังไข่ 1 ข้าง เพียงพอสำหรับการผลิตฮอร์โมนเพศหญิงได้ หรือกรณีที่อายุมาก ๆ สงสัยว่าอาจมีเซลล์มะเร็ง อย่างไรก็ตาม คุณผู้หญิงทุกเดอร์มอยด์ซีสต์ เป็นโรคถุงน้ำรังไข่ชนิดหนึ่ง ไม่ใช่โรคจากการถูกทำไสยศาสตร์ตามที่เข้าใจกัน หากผู้ป่วยมีอาการ เช่น ปวดท้องน้อยฉับพลัน หรือรุนแรง ควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที ขอบคุณข้อมูลจาก : ฺBDMS สถานีสุขภาพ