ประจำเดือนไม่มา

ประจำเดือนไม่เคยมา

ประจำเดือนไม่เคยมา (Primary amenorrhea) หมายถึง สตรีเมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์หรืออายุ 14 ปี แล้ว แต่ยังไม่เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก ซึ่งมีสาเหตุต่าง ๆ เช่น ความผิดปกติของรังไข่หรือฮอร์โมนในร่างกาย ความผิดปกติของโครงสร้างของมดลูกหรือช่องคลอด เป็นต้น

อาการ

ภาวะประจำเดือนไม่เคยมาอาจไม่มีอาการใด ๆ แต่ในรายที่มีอาการจะเกิดขึ้นตามสาเหตุ เช่น

  • หากมีสาเหตุจากฮอร์โมน อาจพบว่าการเจริญโตทางเพศไม่สมวัย เช้น ไม่มีหน้าอก ไม่มีขนเพชรหรือขนรักแร้ขึ้น เป็นต้น

  • หากเกิดจากเยื่อพรหมจรรย์ไม่เปิด อาจมีอาการปวดท้อง หรือมีเยื่อพรหมจรรย์โป่งพอง

การรักษา

สำหรับการรักษาภาวะประจำเดือนไม่เคยมาแนะนำพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินรักษา โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาวางแผนการรักษาตามความเหมาะสมเป็นรายกรณีไป

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

บทความที่เกี่ยวข้อง

เทคฮอร์โมนอย่างปลอดภัย

เทคฮอร์โมนอย่างปลอดภัย

เทคฮอร์โมนอย่างปลอดภัย การใช้ฮอร์โมนหรือยาฮอร์โมน เพื่อปรับลักษณะ ทางกายภาพในกลุ่มคนข้ามเพศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ฮอร์โมนสำหรับชายเป็นหญิง (Feminizing hormone therapy) สำหรับผู้ที่เพศกำเนิดเป็นเพศชายแต่ต้องการปรับสรีระร่างกายให้มีความเป็นเพศหญิง ซึ่งทำได้โดย การเสริมฮอร์โมนเพศหญิงหรือเอสโตรเจน (Estrogen) ยายับยั้งฮอร์โมนเพศชาย (Anti androgen agent) ฮอร์โมนสำหรับหญิงเป็นชาย (Masculinizing hormone therapy) สำหรับผู้ที่มีเพศกำเนิดเป็นเพศหญิงแต่ต้องการปรับสรีระร่างกายให้มีความเป็นเพศชาย สามารถทำได้โดยการเสริมฮอร์โมนเพศชายหรือแอนโดรเจน (Androgen) ซึ่งฮอร์โมนหลัก ๆ คือ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน โดยการใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศสามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของร่างกายแต่ละคน ซึ่งสามารถทำได้ ทั้งการกินในรูปแบบยาเม็ด รูปแบบยาฉีด โดยยาสามารถเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรง และ การให้ยาทางผิวหนัง ด้วยวิธีการแปะ หรือทายาฮอร์โมนชนิดเจล เพื่อให้ยาซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่กระแสเลือดและออกฤทธิ์ได้โดยตรง วางแผนเพื่อการข้ามเพศแล้วไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ? ด้านร่างกาย ดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง ผลเลือดอยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งในกรณีนี้สามารถเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์และรับการตรวจร่างกายก่อนการให้ฮอร์โมนได้ ด้านจิตใจ จำเป็นต้องได้รับการสัมภาษณ์จากจิตแพทย์ และควรผ่านแบบทดสอบทางจิตวิทยา อย่างไรก็ตาม คลินิกสุขภาพเพศ Health Care Paolo Kaset มีบริการให้คำปรึกษาโดยแพทย์เวชศาสตร์ทางเพศที่มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ ด้านสังคม สภาพสังคม และหน้าที่การงานของคุณเปิดโอกาสให้กับการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ สถานที่ทำงานมีกฎเกณฑ์ในด้านเครื่องแบบตามคำนำหน้า (นางสาว , นาย) หรือไม่ ทั้งนี้ควรศึกษาเพื่อเตรียมพร้อมที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงปรึกษาแพทย์เฉพาะทางคลินิก สุขภาพเพศ Health Care Paolo Kaset เข้ารับการให้ฮอร์โมนตามที่แพทย์นัดหมาย ไม่ควรให้ฮอร์โมน/เทคฮอร์โมนด้วยตัวเอง เนื่องจากจะมีปัญหาเรื่องความปลอดภัย ที่สำคัญควรตรวจเลือดและตรวจสุขภาพตามที่แพทย์นัดหมาย ที่สำคัญควรทำภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านฮอร์โมนโดยเฉพาะ เพื่อลดการเกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย ไม่ควรซื้อยาฮอร์โมนมารับประทานด้วยตนเอง ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

ใช้ "ยาคุมฉุกเฉิน" ให้ปลอดภัย...ได้ประสิทธิภาพสูง

ใช้ "ยาคุมฉุกเฉิน" ให้ปลอดภัย...ได้ประสิทธิภาพสูง

วิธีกิน“ยาคุมฉุกเฉิน”ที่ผู้หญิงต้องรู้ ให้ปลอดภัยลดโอกาสเป็นมะเร็ง ปัจจุบันยาคุมกำเนิด มีหลากหลายยี่ห้อ และเป็นที่นิยมมากกว่าการคุมกำเนิดรูปแบบอื่นเพราะทั้งหาซื้อง่ายและมีหลายราคา สามาถเลือกได้ตามความต้องการของคุณผู้หญิง และนอกจากยาคุมแบบแผงแล้ว ยังมี “ยาคุมฉุกเฉิน” ที่ไว้ใช้ยามฉุกเฉินตามชื่อและมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการตั้งครรภ์ แต่การกินบ่อยไม่ใช่เรื่องดีแน่ เพราะอาจทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์สูงกว่าเดิม เพิ่มโอกาสเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือมะเร็งเต้านม เป็นต้น ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน จำหน่ายลักษณะเป็นกล่อง โดย 1 กล่องจะมี 1 แผง แต่ละแผงมียาคุมฉุกเฉิน 2 เม็ด โดยในแต่ละเม็ดประกอบไปด้วยยาที่เป็นฮอร์โมนขนาดสูง ลีโวนอร์เจสเตรล (levonorgestrel) เม็ดละ 750 กรัม ตามหลักของกรมอนามัย กระทรวงสาธารสุข การกินยาคุมฉุกเฉินแล้วอัตราย อาจจะยังไม่ถูกร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะถ้ากินแบบถูกต้อง คือการกินเม็ดแรก ภายใน 72 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ และกินเม็ดที่สองเมื่อครบ 12 ชั่วโมง หลังจากกินยาเม็ดแรก และไม่แนะนำให้รับประทานยาเกิน 4 เม็ด หรือ 2 กล่องต่อเดือน สามารถรับประทานยาคุมฉุกเฉิน 2 เม็ด พร้อมกันในครั้งเดียวได้ โดยที่ประสิทธิภาพและความปลอดภัยไม่แตกต่างจากการแบ่งรับประทานเป็น 2 ครั้ง แต่อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนได้ง่ายขึ้น ซึ่งควรกินเฉพาะในกรณีฉุกเฉิน เช่น มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ตั้งใจ ไม่ใช่กินเพื่อคุมกำเนิดระยะยาว กลไกการทำงานของยาคุมฉุกเฉินจะมีหน้าที่รบกวนกระบวนการตกไข่และการเคลื่อนไหวของอสุจิ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงเยื่อบุโพรงมดลูก เพื่อให้การฝังตัวของไข่ทำได้ยาก หรือจะพูดง่ายๆ ก็คือ ยาคุมฉุกเฉินมีส่วนช่วย “ลดโอกาส” ในการตั้งครรภ์ลงจากเดิมเท่านั้น แล้วแน่นอนว่าการที่ฮอร์โมนถูกกระตุ้นแบบฉับพลันย่อมส่งผลข้างเคียงหลังการกินยาคุมฉุกเฉินมักจะพบว่าคุณผู้หญิงมักมีอาการค้างเคียง อาทิ อาการปวดศีรษะ ปวดท้อง มีเลือดออกกะปริบกะปรอย ประจำเดือนมาเร็วหรือช้ากว่าปกติ ซึ่งนับว่าเป็นอาการปกติ ไม่อันตราย แต่หากอาการเหล่านี้เกิดขึ้นต่อเนื่องหลายวันหรือเกินสัปดาห์ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยจะดีกว่า อย่างไรก็ตามการใช้ยาเม็ดคุมกําเนิดแบบฉุกเฉินอย่างถูกต้องภายหลังมีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการป้องกันการตั้งครรภ์ พบว่า มีอัตราการตั้งครรภ์ เกิดขึ้นได้ร้อยละ 2 ผู้ที่ไม่ได้รับประทานยาเม็ดคุมกําเนิดแบบฉุกเฉินจะมีโอกาสตั้งครรภ์ประมาณร้อยละ 8 หรือกล่าวได้ว่ายาเม็ดคุมกําเนิดแบบฉุกเฉินสามารถลดภาวะเสี่ยงในการตั้งครรภ์ได้เพียงร้อยละ 75 เท่านั้น ทั้งนี้ยาคุมฉุกเฉินไม่ได้มีไว้เพื่อการคุมกำเนิดระยะยาว และเมื่อกินบ่อยครั้งหรือกินติดต่อกันนานๆ ยังส่งผลให้ยาคุมฉุกเฉินมีประสิทธิภาพลดลง หรือทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้สูงขึ้น รวมถึงปริมาณฮอร์โมนเพศหญิงในยาคุมฉุกเฉินที่สูงกว่ายาคุมกำเนิดแบบปกติถึง 2 เท่า ยังอาจก่อให้เกิดอันตรายต่างๆ ได้ เช่น เพิ่มโอกาสเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือมะเร็งเต้านม เป็นต้น กินยาคุมฉุกเฉิน ไม่ได้ช่วยให้แท้ง? หนึ่งความเชื่อหนาหูที่ว่า กินยาคุมฉุกเฉินช่วยให้แท้งนั้น เป็นความเชื่อที่ผิด ซึ่งอย่างที่บอกไปว่ายาคุมฉุกเฉินเป็นตัวช่วยลดประสิทธิภาพในการทำงานของไข่และอสุจิ ดังนั้น หากไข่ที่ผสมอสุจิได้ทำการฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูกแล้ว หรือเกิดการตั้งครรภ์แล้ว การกินยาคุมฉุกเฉินก็เท่ากับสูญเปล่า ทั้งนี้ ยาคุมฉุกเฉินถูกผลิตขึ้นเพื่อช่วยลดโอกาสในการตั้งครรภ์ กรณีที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ตั้งใจ, การถูกข่มขืน หรือเกิดการฉีกขาดของถุงยางอนามัย ดังนั้น หากคู่สามีภรรยาคู่ไหนต้องการคุมกำเนิดแบบระยะยาว ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกวิธีคุมกำเนิดที่เหมาะสมและปลอดภัยจะดีกว่า ที่สำคัญไม่การใช้ยาคุมกำเนิดไม่ว่าจะเป็นแบบแผงหรือยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินควรรับการปรึกษาจากแพทย์หรือเภสัชกร อย่างเหมาะสม ที่สำคัญควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดที่สูงขึ้น ขอขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

ปวดท้องน้อยในสตรี

ปวดท้องน้อยในสตรี

ปวดท้องน้อยในสตรี ปวดท้องน้อย เกิดได้ทั้งชายและหญิง ซึ่งเกิดได้หลายสาเหตและปัจจัยเนื่องจากในช่องท้องนั้นประกอบด้วยอวัยวะภายในหลายอย่างด้วยกัน เช่น ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ไส้ติ่ง ระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ ขณะที่ผู้หญิงอาจมีความเสี่ยงในมดลูก รังไข่และปีกมดลูก ด้วย ซึ่งบ่อยครั้งที่ไม่สามารถแยกไส้ติ่งอักเสบออกจากถุงน้ำรังไข่ที่แตกได้ หรือไม่สามารถแยกโรคมดลูกอักเสบเฉียบพลันออกจากภาวะไส้ติ่งแตกได้ การวินิจฉัยหาสาเหตุเรื่องของปวดท้องน้อย บางครั้งจึงจำเป็นต้องมีแพทย์หลายๆแผนก มาร่วมกันในการดูแลรักษา การวินิจฉัยสาเหตุปวดท้องน้อยนั้น จำเป็นต้องซักประวัติให้ละเอียด เช่น ปวดท้องน้อยมากี่วัน เป็นมานานแล้วหรือยัง เคยปวดท้องน้อยลักษณะเดียวกันมาก่อนหรือไม่ การรักษาที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง ดีขึ้นหรือไม่ นอกจากนั้น ประวัติในครอบครัว และประวัติการเกิดโรคในอดีตที่เกี่ยวกับระบบภายในด้วย รวมถึงอาการปวดที่อาจจะแตกต่างกันออกไป เช่น ปวดตื้นๆ หรือปวดลึกๆ มีจุดกดเจ็บหรือไม่ ลักษณะการปวดเป็นแบบบีบๆ ปวดดิ้น ปวดแบบมวนๆ ในช่องท้อง หรือเจ็บเหมือนมีเข็มตำ ปวดจนเป็นลมหรือเปล่า ปวดท้องน้อยสตรี สามารถแยกออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ปวดท้องน้อยเฉียบพลัน ( Acute pelvic pain ) มักเกิดจากการขาดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะในช่องท้องที่เป็นสาเหตุหรืออาจเกิดจากอวัยวะที่เป็นสาเหตุได้รับความเสียหาย มักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย หรือมาอาการเป็นลมในบางราย สาเหตุของอาการปวดท้องน้อยลักษณะนี้ มดลูกอักเสบเฉียบพลัน ถุงน้ำรังไข่แตก รั่วหรือบิดขั้ว ภาวะไข่ตกในช่วงกลางรอบเดือน นิ่วในท่อไต กระเพาะปัสสาวะอักเสบ การตั้งครรภ์นอกมดลูก ปวดท้องน้อยเป็นซ้ำ ( recurrent pelvic pain ) วินิจฉัยว่าปวดท้องน้อยเนื่องจากไข่ตก ( Mittelschmerz ) กลุ่มนี้เกิดจากมีการหลั่งสารโพสตร้าแกลนดินออกมาจากถุงไข่ที่รั่วออกมา ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะปวดสั้นๆ 1-2 วัน ในช่วงกลางรอบเดือน รับประทานยาแก้ปวดก็ดีขึ้น แต่ในกรณีที่รับประทานยาแก้ปวด อาการก็ไม่ทุเลาหรือมีภาวะอื่นร่วมด้วย เช่น เป็นลม เหนื่อยง่าย จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อให้การวินิจฉัยที่ถูกต้องต่อไปปวดประจำเดือนแบบปฐมภูมิ ( primary dysmenorrhea ) อาการปวดประจำเดือนมักเกิดในช่วงก่อนมีประจำเดือนและอาจปวดต่อเนื่องได้ถึง 72 ชม อาการปวดมักจะทุเลาได้โดยการใช้ยากลุ่มยับยั้งการสร้างโพสตร้าแกลนดินหรือการใช้ยาคุมกำเนิด ผู้ป่วยกลุ่มนี้ อาการปวดมักจะดีขึ้นหลังหลังจากมีบุตร ปวดท้องน้อยเรื้อรัง ( Chronic pelvic pain ) เป็นภาวะที่พบบ่อย และเป็นปัญหามากในการวินิจฉัยและให้การรักษาที่ถูกต้อง ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีประวัติการรักษาจากแพทย์หลายคน เนื่องจากการวินิจฉัยหาสาเหตุค่อนข้างยาก ภาวะปวดท้องน้อยเรื้อรัง ลักษณะของการปวดท้องน้อย ที่มักปวดตลอดหรืออาจจะปวดเป็นช่วงๆ ไม่สม่ำเสมอ ( non cycle pain ) ไม่สามารถบอกล่วงหน้าได้ และอาการปวดท้องน้อยมักเป็นต่อเนื่องกันมากกว่า 3- 6 เดือน พบว่า ภาวะปวดท้องน้อยเรื้อรังนั้นเป็นสาเหตุในผู้ป่วยที่ตัดมดลูกทั้งหมด ถึง 18% สาเหตุปวดท้องน้อยเรื้อรัง เยื่อบุประจำเดือนอยู่ผิดที่ ช๊อคโกเล็ตซีสต์ พังผืดในช่องท้อง โดยเฉพาะพังผืดที่ยึดระหว่างลำไส้ใหญ่ส่วนปลา ( sigmoid colon ) กับผนังช่องท้อง เป็นสาเหตุถึง 38 % ในผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ด้วยเรื่องปวดท้องน้อยเรื้อรัง มดลูกและปีกมดลูกอักเสบเรื้อรัง เส้นเลือดโป่งพองในอุ้งเชิงกราน ( pelvic congestion ) เนื้องอกมดลูก เนื้องอกและถุงน้ำรังไข่ เนื้องอกและมะเร็งลำไส้ใหญ่ ลำไส้แปรปวน จะเห็นได้ว่าปัญหาระบบภายในของผู้หญิงซับซ้อนเป็นอย่างมาก การตรวจภายในจึงสำคัญ เช่นการตรวจวินิจฉัยด้วยอัลตร้าซาวด์ หรือเอกเรย์คองพิวเตอร์ เช่น CT หรือ MRI จำเป็นสำหรับการช่วยวินิจฉัยโรคและแยกโรคในกรณีที่คิดว่าเป็นโรคเกี่ยวกับลำไส้เล็กหรือลำไส้ใหญ่ การตรวจสวนลำไส้ใหญ่ หรือการส่องกล้องลำไส้เล็กก็จำเป็นในกรณีที่ผุ้ป่วยได้รับการตรวจวินิจฉัยหลายอย่างแล้ว ก็ยังไม่พบสาเหตุที่ชัดเจน การส่องกล้องวินิจฉัยในช่องท้อง ( Diagnostic laparoscope ) ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่แพทย์จะใช้ในการตรวจวินิจฉัย แต่เนื่องจากการตรวจด้วยการส่องกล้องวินิจฉัยในช่องท้องนั้น จำเป็นต้องนำผู้ป่วยเข้าห้องผ่าตัดและดมยาสลบ การเลือกใช้วิธีนี้จึงควรมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน อย่างไรก็ตามการรักษาโรค ขึ้นกับการตรวจพบสาเหตุของโรค ให้การรักษาตามสาเหตุโดยคำนึงถึงอายุ ประวัติการมีบุตรร่วมด้วย ขอบคุณข้อมูลจาก : ฺBDMS สถานีสุขภาพ

มะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูก เชื้อ HPV เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดมะเร็งปากมดลูก ซึ่ง HPV มีมากกว่า 200 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่เมื่อติดเเล้วมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็งปาดมดลูก ได้แก่ HPV 16 , 18 , 31 , 33 , 35 , 39 , 45 , 52 , 56 โดยเฉพาะเชื้อสายพันธุ์ 16 และ 18 ที่นับว่ามีความเสี่ยงสูงมากกว่าตัวอื่น ๆ ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปากมดลูก ปัจจัยเสี่ยงทางเพศหญิง การมีคู่นอนหลายคน การมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อยกว่า 17 ปี การตั้งครรภ์และการคลอดลูกมากกว่า 4 ครั้ง มีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น เริม ซิฟิลิส และหนองใน เป็นต้น ไม่เคยได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมาก่อน ปัจจัยทางฝ่ายชาย ผู้ชายที่เป็นมะเร็งองคชาต ผู้ชายที่เคยมีภรรยาเป็นมะเร็งปากมดลูก ผู้ชายที่เคยมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ผู้ชายที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย ผู้ชายที่มีคู่นอนหลายคน ปัจจัยอื่น ๆ ที่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งปากมดลูก การสูบบุหรี่ ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น โรคเอดส์ และการได้รับยากดภูมิคุ้มกัน อาการของมะเร็งปากมดลูก ตกเลือดทางช่องคลอด เลือดออกกะปริบกะปรอยระหว่างรอบเดือน เลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ มีน้ำออกปนเลือด ตกขาวปนเลือด อาการในระยะหลังเมื่อมะเร็งลุกลาม ขาบวม ปวดหลังรุนแรง ปัสสาวะเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด การป้องกันมะเร็งปากมดลูก การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ ฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก

ช็อกโกแลตซีสต์ กับ การมีบุตรยาก

ช็อกโกแลตซีสต์ กับ การมีบุตรยาก

ช็อกโกแลตซีสต์ กับ การมีบุตรยาก ปัญหามีบุตรยากยังคงเป็นปัญหาชีวิตคู่ที่มีมาทุกยุคสมัย โดยมีสาเหตุได้ทั้งเพศหญิงและเพศชาย แต่ในเพศหญิงจะพบค่อนข้างมากกว่าเมื่ออายุเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะปัญหาความผิดปกติของรังไข่ อย่างช็อกโกแลตซีสต์ โรคถุงน้ำรังไข่ รวมถึงความผิดปกติของมดลูกอย่างเนื้องอกมดลูก ซึ่งปัญหาการมีบุตรยากจึงพบในฝ่ายหญิงมากถึง 40 – 50% ฝ่ายชาย 30% และหาสาเหตุไม่ได้ 20 – 30% องค์ประกอบในการมีบุตรประกอบด้วย 3 ส่วนคือ ไข่ หากรังไข่ทำงานไม่สมบูรณ์ ไข่ไม่ตก ไข่ทำงานไม่มีคุณภาพส่งผลให้มีบุตรยาก สเปิร์ม หากสเปิร์มมีจำนวนน้อย ไม่แข็งแรงก็ไม่สามารถปฏิสนธิกับเซลล์ไข่ได้ มดลูก หากพบความผิดปกติของมดลูก มีเนื้องอกมดลูกย่อมส่งผลให้มีบุตรยาก ผู้หญิงมีเซลล์ไข่จำนวนมากเก็บรักษาอยู่ในรังไข่ทั้งสองข้างตั้งแต่เกิดจนถึงเวลาที่ผู้หญิงเริ่มมีประจำเดือน เซลล์ไข่ใบแรกเริ่มถูกนำมาใช้เป็นรอบ ๆ ดังนั้นเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ไข่จึงถูกดึงมาใช้ไปเรื่อย ๆ ทำให้ปริมาณไข่ลดลงตามอายุขัย นอกจากนี้พฤติกรรมการใช้ชีวิตก็มีส่วนสำคัญ ทำให้ไข่เสื่อมคุณภาพได้ด้วย ปัจจัยที่ส่งผลให้รังไข่ทำงานไม่สมบูรณ์ ได้แก่ ฮอร์โมนไม่สมดุล จากความเครียด น้ำหนักไม่ปกติ ไทรอยด์ เบาหวาน สูบบุหรี่ เพิ่มโอกาสมีบุตรยากถึง 13% และทำให้ไข่เสื่อมเร็วไป 10 ปี ช็อกโกแลตซีสต์หรือเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ โรคติดเชื้อในรังไข่ ท่อนำไข่อักเสบ เป็นปัจจัยเร่งให้ไข่เสื่อมคุณภาพและหมดเร็ว โดยเฉพาะในวัยที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป พบว่า เกิดจากช็อกโกแลตซีสต์หรือเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ภาวะที่เยื่อบุโพรงมดลูกเติบโตอยู่นอกโพรงมดลูกหรือแทรกในผนังหรือกล้ามเนื้อมดลูก รวมถึงเติบโตตามอวัยวะต่าง ๆ พบบ่อยที่รังไข่ มีลักษณะเป็นถุงน้ำรังไข่ที่บรรจุของเหลวคล้ายช็อกโกแลต จะใหญ่ขึ้น ๆ จากการถูกเติมเต็มในรอบเดือนแต่ละเดือน ใหญ่เร็วหรือช้าขึ้นกับหลายปัจจัย ทำให้เกิดพังผืดหนาขึ้นเรื่อย ๆ มีอาการหลัก คือ ปวดประจำเดือนมากและนาน ปวดท้องน้อยเป็นประจำก่อน ระหว่าง และหลังมีประจำเดือน และมีบุตรยาก สาเหตุการเกิดช็อกโกแลตซีสต์ ในปัจจุบันทางการแพทย์เชื่อว่า สาเหตุของโรคนี้เกิดจากเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกนี้ไหลย้อนตามเลือดประจำเดือนเข้าไปในช่องท้อง และไปก่อตัวเจริญเติบโตอยู่ภายในช่องท้องโรคช็อกโกแลตซีสต์ จะขึ้นกับตำแหน่งที่เซลล์ไปเจริญเติบโตอยู่ โดยสามารถแยกพิจารณาตามตำแหน่งที่โรคไปเจริญเติบโตอยู่ดังนี้ เยื่อบุช่องท้อง อุ้งเชิงกราน รังไข่ มดลูก ท่อรังไข่ ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ใหญ่ อาการโรค ช็อกโกแลตซีสต์ ปวดประจำเดือนมากผิดปกติจนต้องใช้ยารักษา และอาการจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ประจำเดือนออกมากผิดปกติ อาจมาเป็นลิ่มๆ ถ้ารุนแรงจะเกิดภาะซีดได้ ปวดในช่องท้อง ท้องน้อย หรืออุ้งเชิงกราน มักจะรุนแรงขึ้นขณะที่มีประจำเดือน หรือช่วงก่อน/หลังมีประจำเดือน ในรายที่ช็อกโกแลตซีสต์เกาะที่รังไข่ อาจจะพบว่ามีก้อนในช่องท้องจากถุงน้ำรังไข่ที่โตขึ้น โดยอาจจะไม่มีอาการใดๆ แสดงออกมา ในรายที่เป็นโรคระยะรุนแรงจะมีพังผืดเกิดขึ้นจำนวนมาก หรือท่อนำไข่ถูกทำลายไป จากเซลล์เหล่านี้ ในกรณีเยื่อบุโพรงมดลูกหรือพังผืดไปเกาะที่ลำไส้ใหญ่ชนิดรุนแรงจะทำให้ถ่ายเป็นเลือดได้ ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่เรียกว่า การผ่าตัดแบบแผลเล็ก หรือ Minimally Invasive Surgery (MIS) เป็นเทคโนโลยีการผ่าตัดผ่านกล้อง ด้วยการเจาะผิวหนังบริเวณที่จะทำการรักษาให้เป็นรูขนาดเล็กๆ จากนั้นจึงทำการใส่กล้องและเครื่องมือผ่าตัดลงไปเพื่อทำการผ่าตัดรักษาสามารถสอดลวดไฟฟ้าเข้าไปตัดเนื้องอกมดลูกออกมาได้โดยไม่มีแผลผ่าตัดเลย เมื่อผู้ป่วยตื่นขึ้นมาหลังผ่าตัดเสร็จจะไม่ปวดแผล อาจมีอาการเพียงรู้สึกหน่วงๆ คล้ายขณะมีประจำเดือนเท่านั้น จึงทำให้ผู้ป่วยที่ทำการผ่าตัดในตอนเช้า สามารถกลับบ้านได้ในวันเดียวกัน ขอบคุณข้อมูลจาก : ฺBDMS สถานีสุขภาพ

อันตรายจากเชื้อ HPV

อันตรายจากเชื้อ HPV

อันตรายจากเชื้อ HPV