ใช้ "ยาคุมฉุกเฉิน" ให้ปลอดภัย...ได้ประสิทธิภาพสูง

วิธีกิน“ยาคุมฉุกเฉิน”ที่ผู้หญิงต้องรู้ ให้ปลอดภัยลดโอกาสเป็นมะเร็ง

ปัจจุบันยาคุมกำเนิด มีหลากหลายยี่ห้อ และเป็นที่นิยมมากกว่าการคุมกำเนิดรูปแบบอื่นเพราะทั้งหาซื้อง่ายและมีหลายราคา สามาถเลือกได้ตามความต้องการของคุณผู้หญิง และนอกจากยาคุมแบบแผงแล้ว ยังมี “ยาคุมฉุกเฉิน” ที่ไว้ใช้ยามฉุกเฉินตามชื่อและมีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันการตั้งครรภ์ แต่การกินบ่อยไม่ใช่เรื่องดีแน่ เพราะอาจทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์สูงกว่าเดิม เพิ่มโอกาสเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือมะเร็งเต้านม เป็นต้น

ยาคุมกำเนิดฉุกเฉิน จำหน่ายลักษณะเป็นกล่อง โดย 1 กล่องจะมี 1 แผง แต่ละแผงมียาคุมฉุกเฉิน 2 เม็ด โดยในแต่ละเม็ดประกอบไปด้วยยาที่เป็นฮอร์โมนขนาดสูง ลีโวนอร์เจสเตรล (levonorgestrel) เม็ดละ 750 กรัม

ตามหลักของกรมอนามัย กระทรวงสาธารสุข การกินยาคุมฉุกเฉินแล้วอัตราย อาจจะยังไม่ถูกร้อยเปอร์เซ็นต์ เพราะถ้ากินแบบถูกต้อง คือการกินเม็ดแรก ภายใน 72 ชั่วโมงหลังมีเพศสัมพันธ์ และกินเม็ดที่สองเมื่อครบ 12 ชั่วโมง หลังจากกินยาเม็ดแรก และไม่แนะนำให้รับประทานยาเกิน 4 เม็ด หรือ 2 กล่องต่อเดือน

สามารถรับประทานยาคุมฉุกเฉิน 2 เม็ด พร้อมกันในครั้งเดียวได้ โดยที่ประสิทธิภาพและความปลอดภัยไม่แตกต่างจากการแบ่งรับประทานเป็น 2 ครั้ง แต่อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนได้ง่ายขึ้น ซึ่งควรกินเฉพาะในกรณีฉุกเฉิน เช่น มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ตั้งใจ ไม่ใช่กินเพื่อคุมกำเนิดระยะยาว

กลไกการทำงานของยาคุมฉุกเฉินจะมีหน้าที่รบกวนกระบวนการตกไข่และการเคลื่อนไหวของอสุจิ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงเยื่อบุโพรงมดลูก เพื่อให้การฝังตัวของไข่ทำได้ยาก หรือจะพูดง่ายๆ ก็คือ ยาคุมฉุกเฉินมีส่วนช่วย “ลดโอกาส” ในการตั้งครรภ์ลงจากเดิมเท่านั้น แล้วแน่นอนว่าการที่ฮอร์โมนถูกกระตุ้นแบบฉับพลันย่อมส่งผลข้างเคียงหลังการกินยาคุมฉุกเฉินมักจะพบว่าคุณผู้หญิงมักมีอาการค้างเคียง อาทิ

  • อาการปวดศีรษะ
  • ปวดท้อง มีเลือดออกกะปริบกะปรอย
  • ประจำเดือนมาเร็วหรือช้ากว่าปกติ

ซึ่งนับว่าเป็นอาการปกติ ไม่อันตราย แต่หากอาการเหล่านี้เกิดขึ้นต่อเนื่องหลายวันหรือเกินสัปดาห์ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยจะดีกว่า

อย่างไรก็ตามการใช้ยาเม็ดคุมกําเนิดแบบฉุกเฉินอย่างถูกต้องภายหลังมีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการป้องกันการตั้งครรภ์ พบว่า มีอัตราการตั้งครรภ์ เกิดขึ้นได้ร้อยละ 2 ผู้ที่ไม่ได้รับประทานยาเม็ดคุมกําเนิดแบบฉุกเฉินจะมีโอกาสตั้งครรภ์ประมาณร้อยละ 8 หรือกล่าวได้ว่ายาเม็ดคุมกําเนิดแบบฉุกเฉินสามารถลดภาวะเสี่ยงในการตั้งครรภ์ได้เพียงร้อยละ 75 เท่านั้น

ทั้งนี้ยาคุมฉุกเฉินไม่ได้มีไว้เพื่อการคุมกำเนิดระยะยาว และเมื่อกินบ่อยครั้งหรือกินติดต่อกันนานๆ ยังส่งผลให้ยาคุมฉุกเฉินมีประสิทธิภาพลดลง หรือทำให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้สูงขึ้น รวมถึงปริมาณฮอร์โมนเพศหญิงในยาคุมฉุกเฉินที่สูงกว่ายาคุมกำเนิดแบบปกติถึง 2 เท่า ยังอาจก่อให้เกิดอันตรายต่างๆ ได้ เช่น เพิ่มโอกาสเสี่ยงมะเร็งปากมดลูกหรือมะเร็งเต้านม เป็นต้น

กินยาคุมฉุกเฉิน ไม่ได้ช่วยให้แท้ง?

หนึ่งความเชื่อหนาหูที่ว่า กินยาคุมฉุกเฉินช่วยให้แท้งนั้น เป็นความเชื่อที่ผิด ซึ่งอย่างที่บอกไปว่ายาคุมฉุกเฉินเป็นตัวช่วยลดประสิทธิภาพในการทำงานของไข่และอสุจิ ดังนั้น หากไข่ที่ผสมอสุจิได้ทำการฝังตัวที่เยื่อบุโพรงมดลูกแล้ว หรือเกิดการตั้งครรภ์แล้ว การกินยาคุมฉุกเฉินก็เท่ากับสูญเปล่า

ทั้งนี้ ยาคุมฉุกเฉินถูกผลิตขึ้นเพื่อช่วยลดโอกาสในการตั้งครรภ์ กรณีที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ตั้งใจ, การถูกข่มขืน หรือเกิดการฉีกขาดของถุงยางอนามัย ดังนั้น หากคู่สามีภรรยาคู่ไหนต้องการคุมกำเนิดแบบระยะยาว ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกวิธีคุมกำเนิดที่เหมาะสมและปลอดภัยจะดีกว่า ที่สำคัญไม่การใช้ยาคุมกำเนิดไม่ว่าจะเป็นแบบแผงหรือยาคุมกำเนิดแบบฉุกเฉินควรรับการปรึกษาจากแพทย์หรือเภสัชกร อย่างเหมาะสม ที่สำคัญควรใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเพื่อป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ และประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดที่สูงขึ้น

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

บทความที่เกี่ยวข้อง

เดอร์มอยซีสต์

เดอร์มอยซีสต์

เดอร์มอยซีสต์ เชื่อว่าหลายคน เคยได้ยินโรคซีสต์หรือถุงน้ำที่รังไข่ แต่ไม่คุ้นเคยกับโรคถุงน้ำเดอร์มอยด์ (Dermoid Cyst) ที่เกิดจากเซลล์ที่มีความสามารถพัฒนาไปเป็นเซลล์ชนิดต่าง ๆ มาอยู่ที่บริเวณรังไข่ตั้งแต่แรกเกิด แล้วมีการพัฒนาหรือถูกกระตุ้นด้วยปัจจัยบางอย่างให้เจริญไปเป็นเซลล์ไขมัน เส้นผม กระดูกอ่อน หรือฟัน จนคิดว่าโดนของหรือคุณไสยฯ ทั้งที่ความจริง ทางการแพทย์ได้มีการอธิบายเอาไว้ โรคถุงน้ำเดอร์มอยด์ เป็นโรคที่พบได้บ่อย ๆ ในคุณผู้หญิง ที่น่าสนใจคือ มักจะไม่มีอาการใด ๆ เลย และพบได้แม้อายุยังน้อย ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งโอกาสกลายเป็นมะเร็งมีน้อยมาก ภาวะแทรกซ้อนของโรคถุงน้ำเดอร์มอยด์ บิดขั้ว เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้มากที่สุดในโรคถุงน้ำเดอร์มอยด์ คนไข้จะมีอาการปวดบริเวณท้องน้อยด้านซ้ายหรือขวา กดเจ็บบริเวณท้องน้อย คลื่นไส้ อาเจียน หรืออาจมีไข้ต่ำ ๆ ได้ ถ้าไม่ได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดฉุกเฉินจะทำให้รังไข่ข้างนั้น ๆ ขาดเลือดไปเลี้ยงเป็นเวลานาน ส่งผลให้รังไข่เน่า ทำให้จำเป็นต้องตัดรังไข่ข้างนั้นทิ้งในที่สุด แตกหรือรั่ว เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้กับโรคถุงน้ำรังไข่ทุกชนิด รวมทั้งโรคถุงน้ำเดอร์มอยด์ คนไข้จะมีอาการปวดท้องน้อยฉับพลัน และปวดตลอดเวลา ซึ่งถ้ามีเลือดออกในช่องท้องจำนวนมาก จะทำให้เกิดภาวะช็อกได้ ติดเชื้อ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ไม่บ่อยนัก แต่ก็ทำให้เกิดอาการรุนแรงได้ คนไข้จะมีอาการไข้สูง ร่วมกับการปวดท้องน้อยที่รุนแรง มะเร็ง แม้จะมีโอกาสน้อยแต่ก็ไม่ใช่ว่าจะเป็นไปไม่ได้ ทางการแพทย์พบโอกาสเป็นมะเร็งได้ประมาณ 1% ถุงน้ำเดอร์มอยด์ เป็นโรคที่ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเท่านั้น ไม่สามารถทำให้เล็กลงด้วยยาหรือฮอร์โมน ซึ่งต่างจากช็อกโกแลตซีสต์ ผ่าตัดเลาะเฉพาะถุงน้ำ (Ovarian Cystectomy) โดยจะทำในกรณีที่ยังไม่มีรังไข่เน่า จากภาวะแทรกซ้อนจากรังไข่บิดขั้ว และถุงน้ำมีขนาดไม่ใหญ่มากนัก ดังนั้นการตรวจพบถุงน้ำรังไข่ก่อนที่จะมีขนาดใหญ่จนเกิดภาวะแทรกซ้อนจึงเป็นการดีที่สุด เพราะการผ่าตัดในขณะที่ขนาดถุงน้ำรังไข่มีขนาดเล็กนั้นทำได้ง่ายกว่า และสูญเสียเนื้อรังไข่น้อยกว่า ส่งผลดีในกรณีที่คนไข้อายุยังน้อย และมีความต้องการมีบุตรในอนาคต ผ่าตัดรังไข่ข้างนั้น ๆ (Unilateral Oophorectomy) จะทำในกรณีที่มีภาวะรังไข่เน่าจากการที่รังไข่บิดขั้ว ทำให้รังไข่ขาดเลือดไปเลี้ยงเป็นเวลานานจนรังไข่เน่า กรณีที่ถุงน้ำมีขนาดใหญ่มาก ๆ ไม่มีเนื้อรังไข่ส่วนที่ดีเหลืออยู่ และรังไข่อีกข้างดูปกติดี เพราะการเหลือรังไข่ 1 ข้าง เพียงพอสำหรับการผลิตฮอร์โมนเพศหญิงได้ หรือกรณีที่อายุมาก ๆ สงสัยว่าอาจมีเซลล์มะเร็ง อย่างไรก็ตาม คุณผู้หญิงทุกเดอร์มอยด์ซีสต์ เป็นโรคถุงน้ำรังไข่ชนิดหนึ่ง ไม่ใช่โรคจากการถูกทำไสยศาสตร์ตามที่เข้าใจกัน หากผู้ป่วยมีอาการ เช่น ปวดท้องน้อยฉับพลัน หรือรุนแรง ควรพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาอย่างทันท่วงที ขอบคุณข้อมูลจาก : ฺBDMS สถานีสุขภาพ

ปฎิบัติตัวอย่างไร เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน

ปฎิบัติตัวอย่างไร เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน

ปฎิบัติตัวอย่างไร เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ในช่วงอายุ 45 ถึง 55 ปี สิ่งที่สตรีทุกคนเริ่มกังวลคือการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน วัยหมดประจำเดือน หรือ วัยทอง (menopause) หมายถึง การหมดประจำเดือนอย่างถาวร เนื่องจากสิ้นสุดการทำงานของรังไข่ เป็นช่วงเวลาการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของสตรีทุกคน โดยทั่วไปวินิจฉัยวัยทอง เมื่อมีการขาดประจำเดือนอย่างน้อย 12 เดือน เมื่อเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนปริมาณฮอร์โมนเพศหญิงในร่างกายจะลดระดับลงอย่างมาก ร่วมกับปัจจัยด้านอายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้สตรีวัยนี้มีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและจิตใจ และพบว่ามีอุบัติการณ์และความเสี่ยงต่อการเกิดโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ที่เพิ่มมากขึ้น 1.อาการ ผลที่เกิดจากรังไข่หยุดทำงานในวัยหมดประจำเดือน ทำให้เกิดอาการและการเปลี่ยนแปลงในสตรีวัยนี้หลายอย่างได้แก่ ร้อนวูบวาบ เหงื่อออกตอนกลางคืน หงุดหงิด ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย ซึมเศร้า ใจสั่น หลงลืม น้ำหนักเพิ่ม ปวดตามข้อและกล้ามเนื้อ ท้องผูก ปัสสาวะลำบาก และความรู้สึกทางเพศลดลง เป็นต้น อาการร้อนวูบวาบและเหงื่อออกตอนกลางคืน หมายถึง ความรู้สึกร้อนวูบวาบบริเวณส่วนบนของร่างกายเช่น ใบหน้า คอ หน้าอก โดยแต่ละครั้งอาการจะคงอยู่นานไม่เกิน 3-4 นาที แล้วอาการดีขึ้น อาการมักจะเป็นมากเวลากลางคืน อาจมีความรู้สึกร้อนวูบวาบจนกระทั่งมีเหงื่อออกมากตอนกลางคืน อาการร้อนวูบวาบเป็นภาวะที่พบได้บ่อยถึงร้อยละ 20-50 อาการมักจะดีขึ้นหลังจากหมดประจำเดือน 2 ปีขึ้นไป เกิดจากการลดระดับของฮอร์โมนเพศหญิงลงจากเดิมที่เคยมีระดับสูง อาการทางระบบทางเดินปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์ เยื่อบุช่องคลอดและท่อปัสสาวะเป็นเนื้อเยื่อที่ได้รับผลกระทบต่อการขาดฮอร์โมนเพศหญิงโดยตรง ทำให้มีอาการต่างๆดังนี้ - ช่องคลอดแห้ง มีอาการคัน ระคายเคือง หรือปวดแสบร้อนที่บริเวณอวัยวะเพศและช่องคลอด - ความรู้สึกทางเพศลดลง สารคัดหลั่งลดลงระหว่างมีกิจกรรมทางเพศ ทำให้มีอาการเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ - ปัสสาวะแสบขัด ปัสสาวะบ่อย กลั้นปัสสาวะไม่อยู่ มีการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะได้บ่อย การเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง การขาดฮอร์โมนเพศหญิงเป็นปัจจัยเร่งในอายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้เกิดความเสื่อมของระบบผิวหนังทั้งการแบ่งเซลล์ช้าลง ความเสื่อมของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน และคอลลาเจน ทำให้ผิวหนังบาง และขาดความยืดหยุ่น เกิดมีอาการผิวแห้ง คัน แพ้ง่าย และหย่อนคล้อย โรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดแดงตีบแข็ง ฮอร์โมนที่ลดลงทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของระดับไขมันต่างๆในร่างกาย ทำให้เกิดปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดแดงตีบแข็งมากขึ้น โรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงเป็นปัจจัยเร่งในอายุที่มากขึ้น ภาวะกระดูกพรุนเป็นเหมือนภัยเงียบ โดยร่างกายจะสูญเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็วใน 5 ปีแรก ทำให้เกิดกระดูกหักได้ง่าย เนื่องจากผู้ป่วยมักจะไม่มีอาการ แต่จะตรวจพบหลังมีกระดูกหักจากอุบัติเหตุเพียงเล็กน้อย ภาวะซึมเศร้าและนอนไม่หลับ พบภาวะซึมเศร้าและมีอาการกังวลได้บ่อยขึ้น โดยเฉพาะความกังวลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย การสูญเสียความสวยงามทางร่างกาย ทำให้ขาดสมาธิในการทำงาน มีอาการหงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน หรือหลงลืมได้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการขาดหรือการเปลี่ยนแปลงระดับฮอร์โมน ความรุนแรงของอาการขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมทางครอบครัวและสังคมด้วย 2. แนวทางการดูแลสุขภาพ ปัญหาสุขภาพที่พบบ่อยในสตรีวัยหมดประจำเดือนแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ อาการที่สัมพันธ์กับภาวะหมดประจำเดือน และ โรคอันเกิดจากความเสื่อมถอยตามอายุ ปัญหาสุขภาพดังกล่าวมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต การดูแลสุขภาพของสตรีในวัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้สตรีสามารถดำรงคุณภาพชีวิตที่มีคุณภาพให้นานที่สุด โดยใช้หลักการเรื่องของการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคอันเกิดจากความเสื่อมถอยตามอายุ 2.1 การตรวจร่างกายและการตรวจสืบค้นเพิ่มเติม เพื่อคัดกรองโรคที่พบได้บ่อยในวัยหมดประจำเดือน และตรวจหาข้อบ่งชี้/ข้อบ่งห้ามในการที่จะต้องรักษาผลกระทบต่างๆของวัยหมดประจำเดือน ตรวจร่างกายทั่วไป ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดันโลหิต ตรวจเต้านม และตรวจภายใน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ตรวจทางห้องปฏิบัติการขั้นพื้นฐาน ได้แก่ ตรวจเลือดเพื่อนับเม็ดเลือด, ตรวจน้ำตาลหลังอดอาหารเพื่อคัดกรองโรคเบาหวาน, ตรวจการทำงานของไตและตับ, ตรวจระดับไขมันในเลือด, ตรวจเอกซเรย์ปอด, ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ และตรวจปัสสาวะ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ตรวจความหนาแน่นของกระดูก (BMD) แนะนำให้ตรวจในสตรีที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีเป็นต้นไป หรือในสตรีวัยหมดประจำเดือนที่อายุน้อยกว่า 65 ปี แต่มีปัจจัยเสี่ยงเช่น น้ำหนักตัวน้อย มีประวัติกระดูกหัก รับประทานยาบางชนิดที่ทำให้มวลกระดูกลดลง ตรวจภาพรังสีเต้านม (mammogram) ตั้งแต่อายุ 40 ปี ทุก 1-2 ปี โดยเฉพาะในรายที่อยู่ในระหว่างให้ฮอร์โมนบำบัด ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ทุก 5 ปี (ขึ้นกับวิธีตรวจ) โดยทั่วไปจะหยุดตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเมื่อสตรีอายุมากกว่า 65 ปีหรือถูกตัดมดลูกออกไปแล้วร่วมกับมีประวัติการตรวจคัดกรองก่อนหน้าที่เพียงพอและผลปกติ ตรวจคัดกรองมะเร็งลำไส้ แนะนำตรวจคัดกรองอายุ 45-75 ปี วิธีตรวจมีหลายแบบ ได้แก่ ตรวจเม็ดเลือดแดงในอุจจาระปีละครั้ง หรือตรวจ fecal immunochemical test (FIT test) ปีละครั้ง หรือตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ลำไส้ใหญ่ (computerized tomography colonoscopy) ทุก 5 ปี หรือส่องกล้องลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย (flexible sigmoidoscopy) ทุก 5 ปี หรือส่องกล้องลำไส้ใหญ่ (colonoscopy) ทุก 10 ปี สตรีวัยหมดประจำเดือนควรรับการฉีดวัคซีนสำหรับผู้ใหญ่ ได้แก่ วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่, วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี, วัคซีนป้องกันโรคปอดอักเสบ, วัคซีนป้องกันงูสวัด และวัคซีนป้องกัน covid-19 2.2 อาหาร อาหารเสริม และวิตามิน สตรีวัยหมดประจำเดือนควรงดแอลกอฮอล์รวมทั้งบุหรี่ ลดอาหารประเภทแป้งและน้ำตาล โดยเปลี่ยนมารับประทานคาร์โบไฮเดรตจากธัญพืชประเภท whole-grain ผัก และผลไม้ ซึ่งมีเส้นใยอาหารอยู่มาก ลดอาหารไขมันประเภทไขมันทรานส์ เช่น มาการีน ครีมเทียม เนยเทียม เนยขาว ลดอาหารประเภทไขมันอิ่มตัว เช่น น้ำมันหมู น้ำมันมะพร้าว กะทิเพื่อลดความเสี่ยงของโรคในระบบหัวใจและหลอดเลือด สตรีที่มีอาการร้อนวูบวาบรุนแรง ควรลดอาหารที่มีเครื่องเทศเผ็ดร้อนและคาเฟอีน แคลเซียม (calcium) เป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูก โดยพบว่า ร้อยละ 99 ของแคลเซียมในร่างกายสะสมในกระดูก มีเพียงร้อยละ 1 ของแคลเซียมในร่างกายถูกนำไปใช้ในการทำงานในกระบวนการต่างๆของร่างกาย หากระดับแคลเซียมในส่วนนี้ลดลง จะกระตุ้นการสลายแคลเซียมจากกระดูกเพื่อนำมาใช้งานดังกล่าว จึงจำเป็นต้องรับประทานแคลเซียมให้เพียงพอ โดยปริมาณธาตุแคลเซียมที่เหมาะสมสำหรับสตรีวัยหมดประจำเดือนคือ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งได้มาจากนม และผลิตภัณฑ์จากนม เช่น ชีส โยเกิร์ต ปลาที่กินพร้อมกระดูกได้ ผักใบเขียว เช่น คะน้า บลอกโคลี ใบชะพลู ผักกะเฉด เต้าหู้ ถั่วขาว ข้าวโอ๊ต น้ำส้ม งา วิตามินดี (vitamin D) เป็นวิตามินที่มีความสำคัญต่อการควบคุมระดับแคลเซียมในร่างกาย ช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมและฟอสเฟตจากลำไส้เล็ก และเพิ่มการดูดกลับแคลเซียมทางท่อไต วิตามินดีแบ่งได้เป็น 2 ชนิด ได้แก่ วิตามินดี 2 พบได้เฉพาะในพืชและยีสต์ และวิตามินดี 3 พบได้เฉพาะในสัตว์ สามารถสังเคราะห์ได้ที่เซลล์ผิวหนังของมนุษย์ ปริมาณวิตามินดีที่ร่างกายได้รับร้อยละ 80-90 มาจากการสังเคราะห์ที่เซลล์ผิวหนัง และส่วนน้อยได้มาจากอาหาร แมกนีเซียม (magnesium) เป็นเกลือแร่ที่สำคัญต่อร่างกาย ร้อยละ 50 ของแมกนีเซียมในร่างกายสะสมอยู่ที่กระดูก ในผู้ใหญ่ควรจะต้องได้รับแมกนีเซียมวันละ 600 มิลลิกรัม จึงจะสามารถรักษาระดับแมกนีเซียมในกระดูให้คงที่ได้ ผู้ที่ขาดแมกนีเซียมจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและการเสียชีวิตจากภาวะหัวใจวายเฉียบพลันในอัตราที่สูงกว่าผู้ที่รับประทานอาหารที่มีแมกนีเซียมเพียงพอ วิตามินอี (vitamin E) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ มีบทบาทในการป้องกันการเกิดเส้นเลือดหัวใจตีบ และช่วยลดระดับไขมันในเลือด การรับประทานวิตามินอีวันละ 100-400 ยูนิตสากล เป็นเวลานานสามารถลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ การรับประทานวันละ 400-1,200 ยูนิตสากล อาจจะลดอาการร้อนวูบวาบเหงื่อออกมาก ใบแป๊ะก๊วย (Ginkgo biloba) เป็นสมุนไพรที่ได้รับการยอมรับว่ามีการทำการศึกษาที่ดีที่สุดในโลก สมุนไพรตัวนี้มีการใช้ในประเทศจีนมาราว 5,000 ปี ประเทศในแถบตะวันตกเพิ่งจะมีการนำมาใช้ในปี พ.ศ. 2523 พบว่ามีผลดีต่อระบบประสาทคือโดยทำให้มีเลือดมาเลี้ยงสมองเพิ่มมากขึ้น ยับยั้ง ช่วยทำให้มีความจำดีขึ้น ช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดความจำเสื่อม นอกจากนี้ยังช่วยบรรเทาอาการวิตกกังวลและซึมเศร้าอีกด้วย 2.3 กิจกรรมและการออกกำลังกายในสตรีวัยหมดประจำเดือน กิจกรรมในชีวิตประจำวัน ได้แก่ การทำงานบ้าน เลี้ยงสัตว์ รดน้ำต้นไม้ ล้างรถ ทำครัว ฯลฯ ล้วนส่งผลดีต่อสุขภาพทั้งกายและใจ โดยทางกายจะได้ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ข้อต่อไม่ยึดติด และกระดูกไม่บางลง ส่วนทางใจจะได้ความเพลิดเพลินกับกิจกรรม ความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ใจสบาย มีความสุข แม้ว่าการทำกิจกรรมต่างๆจะได้ประโยชน์ไม่มากเท่ากับการออกกำลังกาย แต่ก็ดีกว่าการนั่งๆนอนๆ การคงมีกิจกรรมในชีวิตประจำวันมีบทบาทสำคัญในการลดความเสี่ยงต่อการหกล้มและภาวะกระดูกหัก เพื่อการมีสุขภาพที่แข็งแรง ผู้สูงอายุควรมีการทำกิจกรรมระดับปานกลางนานอย่างน้อยวันละ 30 นาทีในเกือบทุกวัน เมื่ออายุเพิ่มขึ้นจะมีการลดลงของจำนวนและความแข็งแรงกล้ามเนื้อ อาจทำให้เกิดความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อ ทำให้มีความเสี่ยงต่อการหกล้มและกระดูกหักเพิ่มมากขึ้น การแนะนำท่าทางในการดำเนินชีวิตประจำวันมีหลักการคือ รักษาความโค้งเว้าตามปกติของแกนกระดูกสันหลังในทุกอิริยาบถ ไม่ว่าจะเป็นท่ายืน ท่าเดิน ท่านั่ง ท่าก้ม รวมถึงท่าทางในการยกสิ่งของหรือการเอื้อมหยิบของในที่สูง ท่ายืนหรือเดิน ควรอยู่ในท่าหลังตรง เก็บคาง ไม่ยืนห่อไหล่สองข้าง ท่านี้นอกจากดูดีแล้ว ยังช่วยลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อบ่าและไหล่ ท่าที่ไม่เหมาะสมคือ การยืนในท่าโค้งมาหน้า เนื่องจากเพิ่มแรงกดทางด้านหน้าต่อกระดูกสันหลัง และเป็นเหตุให้เกิดการยุบตัวของกระดูกหลังง่ายขึ้น ท่านั่ง ควรนั่งในท่าหลังตรง นั่งพิงพนัก เท้าไม่ลอยจากพื้น ไม่นั่งเอนหรือโน้มตัวมาด้านหน้า ให้มีการขยับปรับเปลี่ยนอิริยาบทบ้างเป็นพักๆ แต่ยังคงรักษาแนวโค้งเว้าของหลังไว้ตลอดเวลา ท่านอน ควรนอนในท่านอนหงาย มีหมอนรองใต้ข้อเข่าเพื่อให้ข้อเข่าและข้อสะโพกงอเล็กน้อย หรือนอนตะแคงมือกอดหมอนข้าง งอข้อเข่าและข้อสะโพกเล็กน้อย ท่านอนทั้งสองท่านี้จะช่วยรักษาแนวกระดูกสันหลังได้ดี นอกจากนี้ควรเลือกที่นอนที่แน่น ไม่ยวบ ไม่ทำให้ตัวจมลง ที่นอนที่นิ่มเกินไปจะทำให้แนวกระดูกหลังโค้งงอ ทำให้ปวดหลัง การก้มยกของที่มีน้ำหนัก ควรอยู่ในท่าย่อเข่าและหลังตรง การยกในท่าที่ถูกต้องจะเป็นการใช้กล้ามเนื้อขาช่วยยกและรักษากระดูกหลังไว้ อีกทั้งลดความเสี่ยงที่จะเกิดหมอนรองกระดูกเคลื่อน การหิ้วของ ควรแบ่งน้ำหนักสองข้างพอๆกัน มิฉะนั้นแนวกระดูกหลังจะเอียงไปข้างใดข้างหนึ่งมากเกินไป และกล้ามเนื้อเสียสมดุล ทำให้เกิดอาการปวดได้ง่าย การเอื้อมหยิบของจากที่สูง ควรมีม้าเตี้ยรองเพื่อลดการแอ่นของหลังที่มากไป การออกกำลังกาย ประโยชน์ของการออกกำลังกายต่อระบบกล้ามเนื้อและกระดูก ได้แก่ เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพิ่มความยืดหยุ่นของข้อต่อ และเสริมสร้างมวลกระดูก การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอตั้งแต่อายุน้อยส่งผลดีมากกว่าเริ่มออกกำลังเมื่ออายุมาก อย่างไรก็ดีการออกกำลังกายในสตรีวัยหมดประจำเดือนก็ยังสามารถเพิ่มความคล่องตัวโดยรวม และลดการสลายกระดูก นอกจากประโยชน์โดยตรงต่อระบบกล้ามเนื้อและกระดูกแล้ว การออกกำลังกายยังมีผลดีต่อการทำงานของหัวใจและปอด กระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกาย และสมดุลของสารสื่อประสาทต่างๆในสมอง ส่งผลให้ปัญหาสุขภาพหลายประการของสตรีวัยหมดประจำเดือนมีความเสี่ยงหรือความรุนแรงที่ลดลง ได้แก่ ภาวะกระดูกหักที่สัมพันธ์กับความเปราะบางของกระดูก โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด โรคหลอดเลือดสมอง และอาการร้อนวูบวาบในวัยหมดประจำเดือน การออกกำลังกายมีอยู่หลายประเภท ประเภทที่เหมาะกับสตรีวัยหมดประจำเดือนมีดังนี้ 1.การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของข้อต่อ เอ็น และกล้ามเนื้อ เป็นการบริหารเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นทำให้พิสัยการเคลื่อนไหวข้อทุกข้อสามารถกระทำได้ในทุกทิศทาง เป็นสิ่งสำคัญในการคงท่าทางที่เหมาะสมและทำให้เกิดความกระฉับกระเฉงและคล่องตัวในกิจวัตรประจำวัน การออกกำลังประเภทนี้เช่นการเล่นโยคะและรำมวยจีน 2.การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ โดยสตรีวัยหมดประจำเดือนเน้นที่กล้ามเนื้อขาและกล้ามเนื้อหลัง ซึ่งเป็นกล้ามเนื้อที่สำคัญต่อการทรงตัว กล้ามเนื้อขามีส่วนสำคัญในการยืนหรือเดิน กล้ามเนื้อขาที่อ่อนแรงทำให้การยืนหรือเดินไม่มีประสิทธิภาพและยังเป็นสาเหตุของการหกล้ม ส่วนกล้ามเนื้อหลังมีความสำคัญเนื่องจากกระดูกสันหลังเป็นกระดูกที่มีภาวะกระดูกพรุนและกระดูกหักได้บ่อย การบริหารกล้ามเนื้อหลังสามารถลดการเกิดกระดูกสันหลังส่วนนอกยุบและลดอัตราหลังค่อมในผู้ที่มีกระดูกพรุนหรือในผู้สูงอายุ การออกกำลังกายประเภทนี้เป็นการออกกำลังกายที่ใช้น้ำหนักเป็นแรงต้าน โดยใช้น้ำหนักของตัวเองหรือน้ำหนักตัวเองร่วมกับแรงต้านภายนอก เช่น การสควอท หรือการใช้เครื่องเล่นเวทต่างๆ 3.การออกกำลังกายที่มีการลงน้ำหนัก สามารถกระตุ้นการสร้างเนื้อกระดูก ตัวอย่างการออกกำลังกายประเภทนี้ได้แก่ การเดิน การวิ่ง การปั่นจักรยาน เป็นต้น แนะนำให้มีระยะเวลาและความถี่เช่นเดียวกับการออกกำลังกายแบบแอโรบิคทั่วไป การออกกำลังกายประเภทนี้นอกจากจะได้ประโยชน์ต่อกระดูกแล้วยังช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง เพิ่มสมรรถภาพการทำงานของระบบหัวใจและหลอดเลือด ทำให้ระบบต่างๆภายในร่างกายทำงานได้ดีขึ้น เกิดความสบายและคลายเครียดได้ การป้องกันการหกล้ม เนื่องจากการหกล้มในวัยหมดประจำเดือน มีความเสี่ยงต่อการกระดูกหัก พบว่าบางรายไม่สามารถกลับมาเดินได้อีก สูญเสียความสามารถในการดูแลตัวเอง ต้องมีคนดูแลตลอดเวลา การป้องการหกล้มได้แก่ การปรับสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย, การดูแลสายตา, การออกกำลังกายเพื่อสร้างสมดุลร่างกาย การปรับยาที่ส่งผลต่อการทรงตัว เช่น ยานอนหลับ 3. การรักษา ในปัจจุบันไม่แนะนำการใช้ฮอร์โมนบำบัดในสตรีวัยหมดประจำเดือนที่ไม่มีอาการ หรือให้เพื่อป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจหรือภาวะสมองเสื่อม การใช้ฮอร์โมนในวัยหมดประจำเดือน ควรได้รับการพิจารณาจากแพทย์โดยจะพิจารณาตามความเหมาะสมสำหรับสตรีแต่ละบุคคล จากอาการที่พบ อายุ ระยะเวลาหลังหมดประจำเดือน โรคประจำตัว ข้อบ่งชี้และข้อบ่งห้ามของฮอร์โมนบำบัด เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุดและเกิดโทษน้อยที่สุด ข้อบ่งชี้ในการให้ฮอร์โมนบำบัด เพื่อรักษาอาการร้อนวูบวาบ ที่มีอาการระดับปานกลางขึ้นไป เพื่อรักษากลุ่มอาการทางระบบทางเดินปัสสาวะและอวัยวะสืบพันธุ์ของสตรีวัยหมดประจำเดือน เพื่อรักษาโรคกระดูกพรุนในสตรีวัยหมดประจำเดือนที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักระดับสูงขึ้นไป เพื่อรักษาผู้ป่วยที่มีฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำก่อนกำหนด ได้แก่ ภาวะพร่องฮอร์โมนเพศ, รังไข่หยุดทำงานก่อนกำหนด หรือถูกตัดรังไข่สองข้างก่อนวัยหมดประจำเดือนตามธรรมชาติ ข้อบ่งห้ามในการให้ฮอร์โมนบำบัด เลือดออกจากช่องคลอดโดยไม่ทราบสาเหตุ มีประวัติเป็นมะเร็งเต้านมที่ให้ผลบวกต่อตัวรับเอสโตรเจนหรือมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มีประวัติเสี่ยงต่อการเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด หรือกำลังเป็นภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือด โรคตับเรื้อรัง โรคเบาหวาน และ/หรือความดันโลหิตสูงที่ควบคุมไม่ดี บทสรุป การหมดประจำเดือนเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของร่างกายไม่ใช่ “โรค” ไม่มีความจำเป็นต้องมีการรักษาในสตรีวัยหมดประจำเดือนทุกราย การยอมรับสิ่งที่เกิดขึ้นและปรับตัวในการเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงต่าง ปรับเปลี่ยนการดำเนินชีวิตและสร้างเสริมสุขภาพให้เหมาะสม จะช่วยป้องกันหรือชะลอปัญหาด้านสุขภาพ ทำให้มีอายุขัยยืนยาว และ มีคุณภาพชีวิตที่ดี ข้อมูลโดย แพทย์หญิงน้ำมณี มณีนิล

ติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน

ติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน

ปีกมดลูกอักเสบ(Salpingitis/PID) และ มดลูกอักเสบ(Endometritis) ปีกมดลูกอักเสบ คือการอักเสบของท่อรังไข่รวมทั้งรังไข่และเนื้อเยื่อโดยรอบที่อยู่ในอุ้งเชิงกราน เป็นโรคที่พบได้ในสตรีวัยเจริญพันธุ์ เกิดขึ้นจากเชื้อแบคทีเรีย โดยผ่านเข้าทางช่องคลอดผ่านเข้าไปในมดลูกและลุกลามไปถึงท่อรังไข่ เกิดปีกมดลูกอักเสบ ดังนั้น ปีกมดลูกอักเสบ(Salpingitis)จึงมักเกิดร่วมกับมดลูกอักเสบ(Endometritis) อาการ ปีกมดลูกอักเสบเฉียบพลัน ไข้ หนาวสั่น ปวดและกดเจ็บที่ท้องน้อยอย่างรุนแรง อาจมีปัสสาวะขัด ตกขาวเป็นหนองมีกลิ่นเหม็น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหลัง ปีกมดลูกอักเสบเรื้อรัง ปวดหน่วงท้องน้อย เป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง อาจมีไข้ต่ำ ๆ บางรายอาจปวดหลัง ปวดประจำเดือน หรือถึงขั้นเป็นหมัน มดลูกอักเสบ ไข้สูง หนาวสั่น กดเจ็บรุนแรงกลางท้องน้อย มีตกขาวเป็นหนองจำนวนมาก มีกลิ่นเหม็น ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น ฝีในรังไข่ ตั้งครรภ์นอกมดลูก เยื่อบุช่องท้องอักเสบ ติดเชื้อในหระแสเลือด การรักษา การรักษาหลักคือการรักษาด้วยยา แต่กรณีผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนเป็นฝีที่รังไข่ แพทย์อาจพิจารณารักาาด้วยการผ่าตัด สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพบาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

เชื้อราในช่องคลอด

เชื้อราในช่องคลอด

เชื้อราในช่องคลอด ในช่องคลอดของสตรีจะมีเชื้อแบคทีเรียที่คอยปกป้องช่องคลอดจากเชื้อราที่เป็นอันตราย โดยจะสร้างกรดมาควบคุมไม่ให้เชื้อราเจริญได้อย่างรวดเร็ว แต่เมื่อใดที่ช่องคลอดมีภาวะไม่สมดุล หรือมีปัจจัยที่ทำให้แบคทีเรียเหล่านี้ถูกทำลาย ช่องคลอดก็มีโอกาสที่จะติดเชื้อนี้และมีอาการแสดงขึ้น เช่น คนในช่องคลอด หรือรอบ ๆ ปากช่องคลอด มีตกขาวคล้ายแป้งเปียกหรือคราบนม อาจมีความรู้สึกเจ็บขณะร่วมเพศ ปัสสาวะแสบขัด มีผื่นแดงที่ช่องคลอดหรือขาหนีบ การรักษา เมื่อเเพทย์ตรวจจนได้ข้อสรุปชัดเจนแล้วว่าผู้ป่วยมีการติดเชื้อราที่ช่องคลอด แพทย์มักจะพิจารณารักาาด้วยยาปฏิชีวนะตามความเหมาะสม การป้องกัน ดูแลจุดซ่อนเล้นให้สะอาด ไม่อับชื้น สวมกางเกงชั้นในที่ระบายอากาศได้ดี ลดความอับชื้น ไม่ควรสวนล้างช่องคลอด กรณีมีความจำเป็นควรทำภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ หลีกเลี่ยงการรับประทานยาปฏิชีวนะโดยไม่จำเป็น เนื่องจากยาปฏิชีวนะบางตัวมีผลทำลายแบคทีเรียที่ดีในช่องคลอด สอบถามเพิ่มเติมที่ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

รับสมัครผู้สนใจ "เลเซอร์รีแพร์"

รับสมัครผู้สนใจ "เลเซอร์รีแพร์"

รับสมัครผู้สนใจ "เลเซอร์รีแพร์" แจกฟรี! โปรแกรมเลเซอร์สุดพิเศษจากโรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี #กดแชร์ก่อนเลยยยย ฟรี 3 ท่าน! “รีวิวหลังรีแพร์น้องสาว” คืนความมั่นใจและสุขภาพที่ดี ด้วยเลเซอร์กระชับช่องคลอด #แบบไม่ต้องผ่าตัด ฟรีอีก 3 ท่าน! รีวิวเลเซอร์รักษารอยแผล รอยท้องแตกลาย และแผลผ่าตัดหลังคลอด ท่านละ 3 ครั้ง #รีวิวหลังเห็นผลชัดเจน ให้การดูแลโดยแพทย์เฉพาะทางที่ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี มั่นใจในคุณภาพและผลลัพธ์ที่คุณจะได้รับ #รีวิวเลเซอร์ #กระชับช่องคลอด #รักษารอยแผลผ่าตัด #สุขภาพสตรี #โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี #คุณสมบัติผู้สมัคร คุณแม่หลังคลอด รู้สึกไม่กระชับ ผู้ที่มีปัญหาปัสสาวะเล็ด ผู้ที่มีปัญหาช่องคลอดแห้ง ผู้ที่มีช่องคลอดหลวมแต่ไม่อยากพักฟื้น ไม่อยากผ่าตัด ผู้ที่มีความรู้สึกเจ็บหลังมีเพศสัมพันธ์ มีปัญหาท้องลาย หลังคลอด สะดวกรับบริการไม่เกินวันที่ 15 ธันวาคม 2567 สะดวกรีวิวหลังรับบริการ ผู้ที่สนใจแชร์โพสต์นี้ เป็นสาธารณะ พร้อมลงทะเบียน โปรแกรมที่สนใจ.. เคสรีวิวเลเซอร์กระชับช่องคลอด (ฟรี 1 ครั้ง) https://docs.google.com/.../1ru2AOlfs4uoiPVaS.../viewform... เคสรีวิวเลเซอร์รักษารอยแผลผ่าตัดหลังคลอด (ฟรี 3 ครั้ง) https://docs.google.com/.../1KE0Sex8C80zzrjnuc0p2KVg.../edit เปิดลงทะเบียนวันที่ 8 - 25 ตุลาคม 2567 นัดคัดเลือกวันที่ 26 - 29 ตุลาคม 2567 ประกาศผล 30 ตุลาคม 2567 สะดวกรับบริการไม่เกินวันที่ 15 ธันวาคม 2567 #เลเซอร์รีแพร์ #ศูนย์สุขภาพสตรี

เทคฮอร์โมนอย่างปลอดภัย

เทคฮอร์โมนอย่างปลอดภัย

เทคฮอร์โมนอย่างปลอดภัย การใช้ฮอร์โมนหรือยาฮอร์โมน เพื่อปรับลักษณะ ทางกายภาพในกลุ่มคนข้ามเพศ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ฮอร์โมนสำหรับชายเป็นหญิง (Feminizing hormone therapy) สำหรับผู้ที่เพศกำเนิดเป็นเพศชายแต่ต้องการปรับสรีระร่างกายให้มีความเป็นเพศหญิง ซึ่งทำได้โดย การเสริมฮอร์โมนเพศหญิงหรือเอสโตรเจน (Estrogen) ยายับยั้งฮอร์โมนเพศชาย (Anti androgen agent) ฮอร์โมนสำหรับหญิงเป็นชาย (Masculinizing hormone therapy) สำหรับผู้ที่มีเพศกำเนิดเป็นเพศหญิงแต่ต้องการปรับสรีระร่างกายให้มีความเป็นเพศชาย สามารถทำได้โดยการเสริมฮอร์โมนเพศชายหรือแอนโดรเจน (Androgen) ซึ่งฮอร์โมนหลัก ๆ คือ ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน โดยการใช้ฮอร์โมนบำบัดเพื่อการข้ามเพศสามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของร่างกายแต่ละคน ซึ่งสามารถทำได้ ทั้งการกินในรูปแบบยาเม็ด รูปแบบยาฉีด โดยยาสามารถเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรง และ การให้ยาทางผิวหนัง ด้วยวิธีการแปะ หรือทายาฮอร์โมนชนิดเจล เพื่อให้ยาซึมผ่านผิวหนังเข้าสู่กระแสเลือดและออกฤทธิ์ได้โดยตรง วางแผนเพื่อการข้ามเพศแล้วไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไร ? ด้านร่างกาย ดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรง ผลเลือดอยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งในกรณีนี้สามารถเข้ารับการปรึกษาจากแพทย์และรับการตรวจร่างกายก่อนการให้ฮอร์โมนได้ ด้านจิตใจ จำเป็นต้องได้รับการสัมภาษณ์จากจิตแพทย์ และควรผ่านแบบทดสอบทางจิตวิทยา อย่างไรก็ตาม คลินิกสุขภาพเพศ Health Care Paolo Kaset มีบริการให้คำปรึกษาโดยแพทย์เวชศาสตร์ทางเพศที่มีความเชี่ยวชาญโดยเฉพาะ ด้านสังคม สภาพสังคม และหน้าที่การงานของคุณเปิดโอกาสให้กับการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ สถานที่ทำงานมีกฎเกณฑ์ในด้านเครื่องแบบตามคำนำหน้า (นางสาว , นาย) หรือไม่ ทั้งนี้ควรศึกษาเพื่อเตรียมพร้อมที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงปรึกษาแพทย์เฉพาะทางคลินิก สุขภาพเพศ Health Care Paolo Kaset เข้ารับการให้ฮอร์โมนตามที่แพทย์นัดหมาย ไม่ควรให้ฮอร์โมน/เทคฮอร์โมนด้วยตัวเอง เนื่องจากจะมีปัญหาเรื่องความปลอดภัย ที่สำคัญควรตรวจเลือดและตรวจสุขภาพตามที่แพทย์นัดหมาย ที่สำคัญควรทำภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านฮอร์โมนโดยเฉพาะ เพื่อลดการเกิดผลข้างเคียงที่เป็นอันตราย ไม่ควรซื้อยาฮอร์โมนมารับประทานด้วยตนเอง ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ