ปวดประจำเดือน กับ ซีสต์รังไข่

ปวดประจำเดือน กับ ซีสต์รังไข่

"ซีสต์" มาจากภาษาอังกฤษว่า "cyst" มีความหมายว่า "ถุงน้ำ" ดังนั้น ไม่ว่าอะไรก็ตามที่มีเปลือกและมีน้ำหรือของเหลวภายในก็จะเรียกว่า "ซีสต์" เหมือนกันทั้งหมด โดยอวัยวะทุกอวัยวะภายในร่างกายของคนเรามีโอกาสจะเกิดซีสต์ได้ทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นผิวหนัง ไขมัน กระดูก อวัยวะภายใน หรือ แม้กระทั่งสมองก็มีซีสต์เกิดขึ้นได้ ขณะที่ผู้หญิงก็จะมีความพิเศษมากกว่าผู้ชาย ตรงที่มีอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง โดยเฉพาะมีรังไข่ที่มีโอกาสเกิดซีสต์ขึ้นได้บ่อยๆ ยิ่งเมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ก็จะเกิดซีสต์หรือถุงน้ำรังไข่ โตแล้วยุบหายไปตามรอบเดือน ซึ่งเกิดจากการตกไข่ตามปกติ

ถุงน้ำรังไข่หรือซีสต์รังไข่มี 3 ประเภท

  • ฟังค์ชั่นนัล ซีสต์ (Functional Cyst) ถุงน้ำรังไข่ที่เกิดจากการทำงานตามปกติของรังไข่เพื่อสร้างไข่ที่เป็นเซลล์สืบพันธุ์ของฝ่ายหญิง จะเป็นถุงน้ำที่โตขึ้นแล้วแตกทำให้เซลล์ไข่ไหลออกมา หลังจากนั้นถุงน้ำนี้ก็จะค่อยๆ ยุบตัวไปเอง
  • เนื้องอกถุงน้ำรังไข่ (Ovarian Tumor หรือ Ovarian Cyst) เนื้องอกรังไข่ชนิดที่มีของเหลวภายใน ซึ่งอาจเป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง (ไม่ใช่มะเร็ง) หรือ ชนิดร้ายแรง (มะเร็ง) ก็ได้ โดยมากเนื้องอกแต่ละชนิดมักจะมีลักษณะเฉพาะที่พอจะบอกได้ว่าเป็นชนิดใด เช่น Dermoid Cyst (ถุงน้ำเดอร์มอยด์) ซึ่งภายในถุงน้ำมักจะมีน้ำ, ไขมัน เส้นผม กระดูกและฟัน เมื่อเอ็กซเรย์ดูหรือตรวจอัลตราซาวด์ ก็มักจะบอกได้ว่าเป็นเนื้องอกชนิดนี้ ส่วนเนื้องอกถุงน้ำชนิดที่เป็นมะเร็งบางชนิด จะมีการสร้างสารเคมีที่ตรวจพบว่ามีปริมาณสูงมาก ๆ ในกระแสเลือดได้ เช่น CA 125 ก็สามารถบ่งบอกล่วงหน้าได้ว่าน่าจะเป็นมะเร็ง
  • ถุงน้ำที่คล้ายเนื้องอก (Tumor like condition) คือถุงน้ำที่เกิดจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ที่เกิดขึ้นที่รังไข่ เมื่อมีรอบเดือนเยื่อบุโพรงมดลูกนี้ก็จะมีเลือดซึมออกมาสะสมในถุงน้ำนี้เรื่อย ๆ จนเป็นเลือดเก่า ๆ ข้น ๆ สีคล้ายช็อกโกแลต จึงเรียกว่า ช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst)

อาการซีสต์รังไข่ที่ควรสังเกต
ส่วนใหญ่ไม่มีสัญญาณเตือนหรือมีอาการใด ๆ แต่โดยมากจะมาตรวจพบก็เมื่อคนไข้เข้ามาตรวจสุขภาพประจำปี หรือมาตรวจพบโดยบังเอิญเมื่อมีอาการของโรคอื่นๆ แต่หากมีอาการ จะสามารถ สังเกตได้ ดังนี้

  • มีอาการปวดท้องน้อย และถ้าปวดสัมพันธ์กับรอบเดือนก็อาจสงสัยว่าจะมีช็อกโกแลตซีสต์
  • บางรายอาจรู้สึกว่าปัสสาวะบ่อยขึ้น เนื่องจากซีสต์โตพอสมควรและไปเบียดกระเพาะปัสสาวะ
  • บางรายแค่มีอาการหน่วงๆ ท้องน้อย
  • บางคนไม่มีอาการเลยแต่รู้สึกหรือเข้าใจไปว่ามีหน้าท้องโตเพราะอ้วนก็ได้
  • บางรายมีอาการปวดท้องน้อยเฉียบพลัน จากขั้วถุงน้ำรังไข่บิด หรือถุงน้ำรังไข่แตกก็ได้
  • บางคนอาจมีประจำเดือนผิดปกติ คือ มามาก มากระปริบกระปรอย ปวดประจำเดือนมากขึ้นเรื่อยๆ ในแต่ละเดือน

ในกรณีร้ายแรงที่ถุงน้ำแตกออกและมีเส้นเลือดฉีกขาดอาจทำให้ตกเลือดในช่องท้องได้ ซึ่งเสี่ยงต่ออันตรายและมีโอกาสทำให้เสียชีวิต ทำให้เห็นได้ว่าโรคนี้แม้ไม่ใช่มะเร็งร้ายแต่ก็สามารถก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพ และก่อให้เกิดอันตรายได้ คุณผู้หญิงควรให้ความสนใจหากมีอาการผิดปกติ ในข้อใดข้อหนึ่งดังที่ได้กล่าว ควรพบสูติ-นรีแพทย์ เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงและทำการรักษา

ป้องกันการเกิดซีสต์ ได้หรือไม่ ?
สาเหตุถุงน้ำรังไข่ที่ไม่ใช่ Functional Cyst ยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดบางชนิดเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ แต่ในปัจจุบันมีข้อมูลที่เชื่อถือได้ว่า ต้นเหตุของเนื้องอกถุงน้ำรังไข่ที่เป็นมะเร็ง ส่วนใหญ่เกิดมาจากเซลล์เยื่อบุของท่อนำไข่ ที่มีการกลายเป็นเซลล์ผิดปกติ หลุดมาติดที่รังไข่ และเติบโตต่อไปเป็นมะเร็งรังไข่ จากข้อมูลทางสถิติพบว่า ผู้หญิงที่ทำหมันแล้ว จะมีโอกาสเป็นมะเร็งถุงน้ำรังไข่น้อยกว่าผู้หญิงที่ยังไม่ได้ทำหมัน ดังนั้น เมื่อผู้หญิงที่ไม่ต้องการมีบุตรแล้ว หรือไม่สามารถมีบุตรได้แล้ว ถ้ามีการรักษาใดๆ ที่จำเป็นต้องผ่าตัดในช่องท้อง ก็มักจะตัดท่อนำไข่ทั้ง 2 ข้างออกด้วยเลย เพื่อป้องกันมะเร็งรังไข่ในอนาคตทั้งนี้ การรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เป็นการป้องกันโรคได้ที่ดีที่สุด ควรหมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนคลายเครียด การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดูแลให้มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานจะช่วยให้ร่างกายของคุณผู้หญิงสร้างฮอร์โมนได้อย่างสมดุล

ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

บทความที่เกี่ยวข้อง

อันตรายจากเชื้อ HPV

อันตรายจากเชื้อ HPV

อันตรายจากเชื้อ HPV

ประจำเดือนไม่มา

ประจำเดือนไม่มา

ประจำเดือนไม่เคยมา ประจำเดือนไม่เคยมา (Primary amenorrhea) หมายถึง สตรีเมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์หรืออายุ 14 ปี แล้ว แต่ยังไม่เริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก ซึ่งมีสาเหตุต่าง ๆ เช่น ความผิดปกติของรังไข่หรือฮอร์โมนในร่างกาย ความผิดปกติของโครงสร้างของมดลูกหรือช่องคลอด เป็นต้น อาการ ภาวะประจำเดือนไม่เคยมาอาจไม่มีอาการใด ๆ แต่ในรายที่มีอาการจะเกิดขึ้นตามสาเหตุ เช่น หากมีสาเหตุจากฮอร์โมน อาจพบว่าการเจริญโตทางเพศไม่สมวัย เช้น ไม่มีหน้าอก ไม่มีขนเพชรหรือขนรักแร้ขึ้น เป็นต้น หากเกิดจากเยื่อพรหมจรรย์ไม่เปิด อาจมีอาการปวดท้อง หรือมีเยื่อพรหมจรรย์โป่งพอง การรักษา สำหรับการรักษาภาวะประจำเดือนไม่เคยมาแนะนำพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินรักษา โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาวางแผนการรักษาตามความเหมาะสมเป็นรายกรณีไป สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

ปวดท้องน้อยในสตรี

ปวดท้องน้อยในสตรี

ปวดท้องน้อยในสตรี ปวดท้องน้อย เกิดได้ทั้งชายและหญิง ซึ่งเกิดได้หลายสาเหตและปัจจัยเนื่องจากในช่องท้องนั้นประกอบด้วยอวัยวะภายในหลายอย่างด้วยกัน เช่น ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ไส้ติ่ง ระบบทางเดินปัสสาวะ เช่น ไต ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ ขณะที่ผู้หญิงอาจมีความเสี่ยงในมดลูก รังไข่และปีกมดลูก ด้วย ซึ่งบ่อยครั้งที่ไม่สามารถแยกไส้ติ่งอักเสบออกจากถุงน้ำรังไข่ที่แตกได้ หรือไม่สามารถแยกโรคมดลูกอักเสบเฉียบพลันออกจากภาวะไส้ติ่งแตกได้ การวินิจฉัยหาสาเหตุเรื่องของปวดท้องน้อย บางครั้งจึงจำเป็นต้องมีแพทย์หลายๆแผนก มาร่วมกันในการดูแลรักษา การวินิจฉัยสาเหตุปวดท้องน้อยนั้น จำเป็นต้องซักประวัติให้ละเอียด เช่น ปวดท้องน้อยมากี่วัน เป็นมานานแล้วหรือยัง เคยปวดท้องน้อยลักษณะเดียวกันมาก่อนหรือไม่ การรักษาที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง ดีขึ้นหรือไม่ นอกจากนั้น ประวัติในครอบครัว และประวัติการเกิดโรคในอดีตที่เกี่ยวกับระบบภายในด้วย รวมถึงอาการปวดที่อาจจะแตกต่างกันออกไป เช่น ปวดตื้นๆ หรือปวดลึกๆ มีจุดกดเจ็บหรือไม่ ลักษณะการปวดเป็นแบบบีบๆ ปวดดิ้น ปวดแบบมวนๆ ในช่องท้อง หรือเจ็บเหมือนมีเข็มตำ ปวดจนเป็นลมหรือเปล่า ปวดท้องน้อยสตรี สามารถแยกออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ ปวดท้องน้อยเฉียบพลัน ( Acute pelvic pain ) มักเกิดจากการขาดเลือดไปเลี้ยงอวัยวะในช่องท้องที่เป็นสาเหตุหรืออาจเกิดจากอวัยวะที่เป็นสาเหตุได้รับความเสียหาย มักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย หรือมาอาการเป็นลมในบางราย สาเหตุของอาการปวดท้องน้อยลักษณะนี้ มดลูกอักเสบเฉียบพลัน ถุงน้ำรังไข่แตก รั่วหรือบิดขั้ว ภาวะไข่ตกในช่วงกลางรอบเดือน นิ่วในท่อไต กระเพาะปัสสาวะอักเสบ การตั้งครรภ์นอกมดลูก ปวดท้องน้อยเป็นซ้ำ ( recurrent pelvic pain ) วินิจฉัยว่าปวดท้องน้อยเนื่องจากไข่ตก ( Mittelschmerz ) กลุ่มนี้เกิดจากมีการหลั่งสารโพสตร้าแกลนดินออกมาจากถุงไข่ที่รั่วออกมา ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะปวดสั้นๆ 1-2 วัน ในช่วงกลางรอบเดือน รับประทานยาแก้ปวดก็ดีขึ้น แต่ในกรณีที่รับประทานยาแก้ปวด อาการก็ไม่ทุเลาหรือมีภาวะอื่นร่วมด้วย เช่น เป็นลม เหนื่อยง่าย จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อให้การวินิจฉัยที่ถูกต้องต่อไปปวดประจำเดือนแบบปฐมภูมิ ( primary dysmenorrhea ) อาการปวดประจำเดือนมักเกิดในช่วงก่อนมีประจำเดือนและอาจปวดต่อเนื่องได้ถึง 72 ชม อาการปวดมักจะทุเลาได้โดยการใช้ยากลุ่มยับยั้งการสร้างโพสตร้าแกลนดินหรือการใช้ยาคุมกำเนิด ผู้ป่วยกลุ่มนี้ อาการปวดมักจะดีขึ้นหลังหลังจากมีบุตร ปวดท้องน้อยเรื้อรัง ( Chronic pelvic pain ) เป็นภาวะที่พบบ่อย และเป็นปัญหามากในการวินิจฉัยและให้การรักษาที่ถูกต้อง ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมีประวัติการรักษาจากแพทย์หลายคน เนื่องจากการวินิจฉัยหาสาเหตุค่อนข้างยาก ภาวะปวดท้องน้อยเรื้อรัง ลักษณะของการปวดท้องน้อย ที่มักปวดตลอดหรืออาจจะปวดเป็นช่วงๆ ไม่สม่ำเสมอ ( non cycle pain ) ไม่สามารถบอกล่วงหน้าได้ และอาการปวดท้องน้อยมักเป็นต่อเนื่องกันมากกว่า 3- 6 เดือน พบว่า ภาวะปวดท้องน้อยเรื้อรังนั้นเป็นสาเหตุในผู้ป่วยที่ตัดมดลูกทั้งหมด ถึง 18% สาเหตุปวดท้องน้อยเรื้อรัง เยื่อบุประจำเดือนอยู่ผิดที่ ช๊อคโกเล็ตซีสต์ พังผืดในช่องท้อง โดยเฉพาะพังผืดที่ยึดระหว่างลำไส้ใหญ่ส่วนปลา ( sigmoid colon ) กับผนังช่องท้อง เป็นสาเหตุถึง 38 % ในผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ด้วยเรื่องปวดท้องน้อยเรื้อรัง มดลูกและปีกมดลูกอักเสบเรื้อรัง เส้นเลือดโป่งพองในอุ้งเชิงกราน ( pelvic congestion ) เนื้องอกมดลูก เนื้องอกและถุงน้ำรังไข่ เนื้องอกและมะเร็งลำไส้ใหญ่ ลำไส้แปรปวน จะเห็นได้ว่าปัญหาระบบภายในของผู้หญิงซับซ้อนเป็นอย่างมาก การตรวจภายในจึงสำคัญ เช่นการตรวจวินิจฉัยด้วยอัลตร้าซาวด์ หรือเอกเรย์คองพิวเตอร์ เช่น CT หรือ MRI จำเป็นสำหรับการช่วยวินิจฉัยโรคและแยกโรคในกรณีที่คิดว่าเป็นโรคเกี่ยวกับลำไส้เล็กหรือลำไส้ใหญ่ การตรวจสวนลำไส้ใหญ่ หรือการส่องกล้องลำไส้เล็กก็จำเป็นในกรณีที่ผุ้ป่วยได้รับการตรวจวินิจฉัยหลายอย่างแล้ว ก็ยังไม่พบสาเหตุที่ชัดเจน การส่องกล้องวินิจฉัยในช่องท้อง ( Diagnostic laparoscope ) ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่แพทย์จะใช้ในการตรวจวินิจฉัย แต่เนื่องจากการตรวจด้วยการส่องกล้องวินิจฉัยในช่องท้องนั้น จำเป็นต้องนำผู้ป่วยเข้าห้องผ่าตัดและดมยาสลบ การเลือกใช้วิธีนี้จึงควรมีข้อบ่งชี้ที่ชัดเจน อย่างไรก็ตามการรักษาโรค ขึ้นกับการตรวจพบสาเหตุของโรค ให้การรักษาตามสาเหตุโดยคำนึงถึงอายุ ประวัติการมีบุตรร่วมด้วย ขอบคุณข้อมูลจาก : ฺBDMS สถานีสุขภาพ

วัคซีนมะเร็งปากมดลูก

วัคซีนมะเร็งปากมดลูก

วัคซีน HPV 9 สายพันธุ์ การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก เพื่อกระตุ้นภูมิคุ่มกันร่างกายนั้น นับว่ามีประสิทธิภาพเป็นที่น่าพอใจในการป้องกันการเกิดโรคที่เกิดจากเชื้อ HPV สายพันธุ์เดียวกับวัคซีนที่ฉีด ซึ่งปัจจุบันมาวัคซีน HPV 9 สายพันธุ์ ที่ครอบคลุมป้องกันการเกิดโรคได้หลายโรคทั้งในเพศหญิงและเพศชาย ข้อบ่งชี้ในการรับวัคซีน 1.เพื่อป้องกันการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์เดียวกับวัคซีนที่ฉีด 2.เพื่อป้องกันรอยโรคก่อนมะเร็งและมะเร็งอวัยวะเพศสตรีที่เกิดจากการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์เดียวกับวัคซีนที่ฉีด ข้อห้ามในการฉีดวัคซีน เคยมีประวัติเเพ้วัคซีน HPV หรือแพ้ส่วนประกอบของวัคซีน HPV

9 สัญญาณเตือนช็อกโกแลตซีสต์

9 สัญญาณเตือนช็อกโกแลตซีสต์

ช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst) หรือ ทางการแพทย์เชื่อว่าเกิดจากการที่เลือดประจำเดือนไหลย้อนกลับ คือ แทนที่เลือดจะไหลออกมาทางช่องคลอดตามปกติ แต่กลับมีประจำเดือนส่วนหนึ่งไหลย้อนไปทางหลอดมดลูกเข้าไปในช่องท้องแล้วไปฝังตัวที่รังไข่จนทำให้เกิดเป็นถุงน้ำ หรือถุงที่มีเลือดคั่ง และไปเจริญเติบโตในอวัยวะต่างๆ เช่น อุ้งเชิงกราน ท่อรังไข่ ลำไส้ช่องคลอด มดลูก กระเพาะปัสสาวะ ผู้หญิงทุกคนมีโอกาสเป็น เพราะเกิดขึ้นจากฮอร์โมนเพศหญิง ตราบใดที่ยังมีประจำเดือน ซึ่ง โรคนี้จะส่งผลร้ายแรงต่อร่างกายมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล ถึงแม้จะไม่ใช่โรคร้ายที่อันตรายถึงชีวิต แต่ก็สร้างความทรมานให้สาวๆ ที่เป็นโรคนี้ได้ไม่น้อย อาการที่เสี่ยงเป็นช็อกโกแลตซีสต์ ปวดท้องมากผิดปกติเวลามีประจำเดือน และปวดมากขึ้นๆ ทุกเดือน โดยอาจจะปวดทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ตั้งแต่สะดือไปถึงอุ้งเชิงกรานและตั้งแต่บั้นเอวไปถึงก้นกบ รวมถึงการปวดท้องน้อยเวลามีเพศสัมพันธ์ ประจำเดือนมามากผิดปกติ หรือนานกว่า 7 วัน และการมีเลือดออกทางช่องคลอดอย่างผิดปกติ ประจำเดือนมาถี่ หรือระยะห่างระหว่างที่เป็นประจำเดือนแต่ละรอบสั้นกว่าปกติ คือมีมากกว่าเดือนละ 2 ครั้ง ปัสสาวะบ่อยขึ้นกว่าปกติ อาจเป็นเพราะก้อนซีสต์มีขนาดใหญ่ และไปเบียดกระเพาะปัสสาวะจนทำให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติ ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือดในช่วงมีประจำเดือน ถ้าเป็นคนผอมแต่มีพุง ให้ตั้งข้อสงสัยว่าอาจมีถุงน้ำขนาดใหญ่เกิดขึ้นภายในท้อง ปวดไมเกรนบ่อยๆ โดยเฉพาะช่วงก่อน และระหว่างมีประจำเดือน บางรายอาจไม่มีอาการใดๆ แสดงออกมาเลย แต่คลำพบก้อนแข็งบริเวณท้องน้อยซึ่งอาจจะอยู่ตรงกลางหรือด้านข้างเนื่องจากถุงน้ำโตขึ้นจนมีขนาดใหญ่และอยู่ในระยะที่เป็นอันตราย บางรายตรวจพบว่าโรคนี้เป็นสาเหตุของการมีบุตรยากเนื่องจากท่อนำไข่ตีบตัน ทำให้ไข่ไม่สามารถเดินทางได้สะดวก ซึ่งก็เป็นอีกหนึ่งผลพวงที่มีสาเหตุมาจากช็อกโกแลตซีสต์ เพราะเมื่อเยื่อบุนี้ไปเกาะอยู่บนรังไข่ ทำให้รังไข่มีพื้นในการผลิตไข่ และสร้างฮอร์โมนน้อยลง เพราะถูกแทนที่ด้วยช็อกโกแลตซีสต์ไข่ที่ผลิตได้ก็ด้อยคุณภาพ และยังทำให้ท่อรังไข่คดงอ ไข่กับอสุจิที่ผสมกันแล้วจึงผ่านมาฝังตัวได้อย่างไม่สมบูรณ์ หากพบว่าเป็นก็จะได้ทำการรักษาแต่เนิ่นๆ จะเป็นการดีที่สุด ในส่วนของการรักษา ในรายที่อาการรุนแรงไม่มาก แพทย์อาจให้สังเกตและติดตามอาการเป็นระยะ ในรายที่มีอาการพอสมควรแพทย์อาจรักษาโดยใช้ยา หรือหากใช้ยาแล้วไม่ได้ผลอาจจำเป็นต้อง ผ่าตัด ช็อกโกแลตซีส ซึ่งการผ่าตัดในปัจจุบันนี้แพทย์ก็จะเลือกใช้วิธีการผ่าตัดส่องกล้อง (Laparoscopic Surgery) เป็นวิธีมาตรฐานในการผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดผ่านกล้องนี้เป็นวิธีที่ทันสมัย เป็นรูปแบบหนึ่งของการผ่าตัดแบบ Minimally Invasive Surgery หรือ MIS อันเป็นเทคนิคในการผ่าตัดที่มีประสิทธิภาพสูง ผู้เข้ารับการผ่าตัดจะมีแผลเล็ก เจ็บน้อย และฟื้นตัวเร็ว ซึ่งไม่น่ากลัวแต่อย่างใด จากที่คุณหมอให้ความรู้เรามาทั้งหมดนี้ก็จะพบว่า โรคช็อกโกแลตซีสต์ ก็ไม่ใช่โรคที่น่ากลัวมาก หากคุณสาวๆ หมั่นสังเกตความผิดปกติของร่างกายตัวเองแล้วรีบไปพบสูตินรีแพทย์ เพื่อตรวจอาการตั้งแต่เนิ่นๆ ก่อนที่โรคจะลุกลามก็น่าจะเป็นการดีที่สุด ก่อนที่โรคภัยจะมาคุกคามชีวิตและลุกลามจนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของเรา สอบถามเพิ่มเติมติดต่อศูนย์ส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319877

ช็อกโกแลตซีสต์ กับ การมีบุตรยาก

ช็อกโกแลตซีสต์ กับ การมีบุตรยาก

ช็อกโกแลตซีสต์ กับ การมีบุตรยาก ปัญหามีบุตรยากยังคงเป็นปัญหาชีวิตคู่ที่มีมาทุกยุคสมัย โดยมีสาเหตุได้ทั้งเพศหญิงและเพศชาย แต่ในเพศหญิงจะพบค่อนข้างมากกว่าเมื่ออายุเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะปัญหาความผิดปกติของรังไข่ อย่างช็อกโกแลตซีสต์ โรคถุงน้ำรังไข่ รวมถึงความผิดปกติของมดลูกอย่างเนื้องอกมดลูก ซึ่งปัญหาการมีบุตรยากจึงพบในฝ่ายหญิงมากถึง 40 – 50% ฝ่ายชาย 30% และหาสาเหตุไม่ได้ 20 – 30% องค์ประกอบในการมีบุตรประกอบด้วย 3 ส่วนคือ ไข่ หากรังไข่ทำงานไม่สมบูรณ์ ไข่ไม่ตก ไข่ทำงานไม่มีคุณภาพส่งผลให้มีบุตรยาก สเปิร์ม หากสเปิร์มมีจำนวนน้อย ไม่แข็งแรงก็ไม่สามารถปฏิสนธิกับเซลล์ไข่ได้ มดลูก หากพบความผิดปกติของมดลูก มีเนื้องอกมดลูกย่อมส่งผลให้มีบุตรยาก ผู้หญิงมีเซลล์ไข่จำนวนมากเก็บรักษาอยู่ในรังไข่ทั้งสองข้างตั้งแต่เกิดจนถึงเวลาที่ผู้หญิงเริ่มมีประจำเดือน เซลล์ไข่ใบแรกเริ่มถูกนำมาใช้เป็นรอบ ๆ ดังนั้นเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น ไข่จึงถูกดึงมาใช้ไปเรื่อย ๆ ทำให้ปริมาณไข่ลดลงตามอายุขัย นอกจากนี้พฤติกรรมการใช้ชีวิตก็มีส่วนสำคัญ ทำให้ไข่เสื่อมคุณภาพได้ด้วย ปัจจัยที่ส่งผลให้รังไข่ทำงานไม่สมบูรณ์ ได้แก่ ฮอร์โมนไม่สมดุล จากความเครียด น้ำหนักไม่ปกติ ไทรอยด์ เบาหวาน สูบบุหรี่ เพิ่มโอกาสมีบุตรยากถึง 13% และทำให้ไข่เสื่อมเร็วไป 10 ปี ช็อกโกแลตซีสต์หรือเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ โรคติดเชื้อในรังไข่ ท่อนำไข่อักเสบ เป็นปัจจัยเร่งให้ไข่เสื่อมคุณภาพและหมดเร็ว โดยเฉพาะในวัยที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป พบว่า เกิดจากช็อกโกแลตซีสต์หรือเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ภาวะที่เยื่อบุโพรงมดลูกเติบโตอยู่นอกโพรงมดลูกหรือแทรกในผนังหรือกล้ามเนื้อมดลูก รวมถึงเติบโตตามอวัยวะต่าง ๆ พบบ่อยที่รังไข่ มีลักษณะเป็นถุงน้ำรังไข่ที่บรรจุของเหลวคล้ายช็อกโกแลต จะใหญ่ขึ้น ๆ จากการถูกเติมเต็มในรอบเดือนแต่ละเดือน ใหญ่เร็วหรือช้าขึ้นกับหลายปัจจัย ทำให้เกิดพังผืดหนาขึ้นเรื่อย ๆ มีอาการหลัก คือ ปวดประจำเดือนมากและนาน ปวดท้องน้อยเป็นประจำก่อน ระหว่าง และหลังมีประจำเดือน และมีบุตรยาก สาเหตุการเกิดช็อกโกแลตซีสต์ ในปัจจุบันทางการแพทย์เชื่อว่า สาเหตุของโรคนี้เกิดจากเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกนี้ไหลย้อนตามเลือดประจำเดือนเข้าไปในช่องท้อง และไปก่อตัวเจริญเติบโตอยู่ภายในช่องท้องโรคช็อกโกแลตซีสต์ จะขึ้นกับตำแหน่งที่เซลล์ไปเจริญเติบโตอยู่ โดยสามารถแยกพิจารณาตามตำแหน่งที่โรคไปเจริญเติบโตอยู่ดังนี้ เยื่อบุช่องท้อง อุ้งเชิงกราน รังไข่ มดลูก ท่อรังไข่ ท่อไต กระเพาะปัสสาวะ ลำไส้ใหญ่ อาการโรค ช็อกโกแลตซีสต์ ปวดประจำเดือนมากผิดปกติจนต้องใช้ยารักษา และอาการจะรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ประจำเดือนออกมากผิดปกติ อาจมาเป็นลิ่มๆ ถ้ารุนแรงจะเกิดภาะซีดได้ ปวดในช่องท้อง ท้องน้อย หรืออุ้งเชิงกราน มักจะรุนแรงขึ้นขณะที่มีประจำเดือน หรือช่วงก่อน/หลังมีประจำเดือน ในรายที่ช็อกโกแลตซีสต์เกาะที่รังไข่ อาจจะพบว่ามีก้อนในช่องท้องจากถุงน้ำรังไข่ที่โตขึ้น โดยอาจจะไม่มีอาการใดๆ แสดงออกมา ในรายที่เป็นโรคระยะรุนแรงจะมีพังผืดเกิดขึ้นจำนวนมาก หรือท่อนำไข่ถูกทำลายไป จากเซลล์เหล่านี้ ในกรณีเยื่อบุโพรงมดลูกหรือพังผืดไปเกาะที่ลำไส้ใหญ่ชนิดรุนแรงจะทำให้ถ่ายเป็นเลือดได้ ปัจจุบันมีเทคโนโลยีที่เรียกว่า การผ่าตัดแบบแผลเล็ก หรือ Minimally Invasive Surgery (MIS) เป็นเทคโนโลยีการผ่าตัดผ่านกล้อง ด้วยการเจาะผิวหนังบริเวณที่จะทำการรักษาให้เป็นรูขนาดเล็กๆ จากนั้นจึงทำการใส่กล้องและเครื่องมือผ่าตัดลงไปเพื่อทำการผ่าตัดรักษาสามารถสอดลวดไฟฟ้าเข้าไปตัดเนื้องอกมดลูกออกมาได้โดยไม่มีแผลผ่าตัดเลย เมื่อผู้ป่วยตื่นขึ้นมาหลังผ่าตัดเสร็จจะไม่ปวดแผล อาจมีอาการเพียงรู้สึกหน่วงๆ คล้ายขณะมีประจำเดือนเท่านั้น จึงทำให้ผู้ป่วยที่ทำการผ่าตัดในตอนเช้า สามารถกลับบ้านได้ในวันเดียวกัน ขอบคุณข้อมูลจาก : ฺBDMS สถานีสุขภาพ

Hospital Logo

ติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่

บริการให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง