ติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน

ปีกมดลูกอักเสบ(Salpingitis/PID) และ มดลูกอักเสบ(Endometritis)

ปีกมดลูกอักเสบ คือการอักเสบของท่อรังไข่รวมทั้งรังไข่และเนื้อเยื่อโดยรอบที่อยู่ในอุ้งเชิงกราน เป็นโรคที่พบได้ในสตรีวัยเจริญพันธุ์ เกิดขึ้นจากเชื้อแบคทีเรีย โดยผ่านเข้าทางช่องคลอดผ่านเข้าไปในมดลูกและลุกลามไปถึงท่อรังไข่ เกิดปีกมดลูกอักเสบ ดังนั้น ปีกมดลูกอักเสบ(Salpingitis)จึงมักเกิดร่วมกับมดลูกอักเสบ(Endometritis)

อาการ

  • ปีกมดลูกอักเสบเฉียบพลัน ไข้ หนาวสั่น ปวดและกดเจ็บที่ท้องน้อยอย่างรุนแรง อาจมีปัสสาวะขัด ตกขาวเป็นหนองมีกลิ่นเหม็น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหลัง

  • ปีกมดลูกอักเสบเรื้อรัง ปวดหน่วงท้องน้อย เป็น ๆ หาย ๆ เรื้อรัง อาจมีไข้ต่ำ ๆ บางรายอาจปวดหลัง ปวดประจำเดือน หรือถึงขั้นเป็นหมัน

  • มดลูกอักเสบ ไข้สูง หนาวสั่น กดเจ็บรุนแรงกลางท้องน้อย มีตกขาวเป็นหนองจำนวนมาก มีกลิ่นเหม็น

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

  • ฝีในรังไข่

  • ตั้งครรภ์นอกมดลูก

  • เยื่อบุช่องท้องอักเสบ

  • ติดเชื้อในหระแสเลือด

การรักษา

การรักษาหลักคือการรักษาด้วยยา แต่กรณีผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อนเป็นฝีที่รังไข่ แพทย์อาจพิจารณารักาาด้วยการผ่าตัด

    สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพบาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

    บทความที่เกี่ยวข้อง

    เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่(Endometriosis)

    เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่(Endometriosis)

    เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่(Endometriosis) สตรีวัยเจริญพันธุ์จะมีเยื่อบุงอกหนาขึ้นในทุก ๆ เดือนอยู่บนพื้นผิวของโพรงมดลูก เมื่อเวลาผ่านไปไม่มีการปฏิสนธิและฝังตัวของตัวอ่อนเกิดขึ้น เยื่อบุนี้จะมีการสลายตัวกลายเป็นประจำเดือน ซึ่งนับเป็นวงจรปกติ แต่หากเมื่อใดเยื่อบุนี้ไปเจริญอยู่บริเวณอื่นที่ไม่ใช่ผิวของโพรงมดลูก เรียกว่า เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ เยื่อบุเหล่านี้จะมีการสลายตัวทุกเป็นเลือดในทุก ๆ เดือนเช่นเดียวกัน เมื่อเลือดเหล่านี้ไม่มีช่องทางการระบายออกจะทำให้เกิดเลือดคั่งอยู่ภายใน เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อโดยรอบ และกลายเป็นถุงซีสต์ อาการ อาการแสดงในบางรายอาจเกิดอาการปวดท้องหรือปวดหลังขณะมีประจำเดือน มักปวดมากขึ้นเมื่อถึงวันท้าย ๆ ของการมีรอบเดือน หรือปวดขณะร่วมเพศ และในบางรายอาจมีประจำเดือนออกมากกว่าปกติ การรักษา สำหรับการรักษาขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรง เเพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางจึงต้องพิจารณาแนวทางการรักษาตามความเหมาะสมต่อไป ซึ่งแนวทางการรักษามีตั้งแต่การรับประทานยาคุมกำเนิดจนถึงผ่าตัด เพราะฉะนั้นเมื่อสงสัยไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยให้แน่ชัด เมื่อความรุนแรงน้อยการรักษาก็มักจะไม่ซับซ้อนตามไปด้วย สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-3198888

    วัคซีนมะเร็งปากมดลูก

    วัคซีนมะเร็งปากมดลูก

    วัคซีน HPV 9 สายพันธุ์ การฉีดวัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก เพื่อกระตุ้นภูมิคุ่มกันร่างกายนั้น นับว่ามีประสิทธิภาพเป็นที่น่าพอใจในการป้องกันการเกิดโรคที่เกิดจากเชื้อ HPV สายพันธุ์เดียวกับวัคซีนที่ฉีด ซึ่งปัจจุบันมาวัคซีน HPV 9 สายพันธุ์ ที่ครอบคลุมป้องกันการเกิดโรคได้หลายโรคทั้งในเพศหญิงและเพศชาย ข้อบ่งชี้ในการรับวัคซีน 1.เพื่อป้องกันการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์เดียวกับวัคซีนที่ฉีด 2.เพื่อป้องกันรอยโรคก่อนมะเร็งและมะเร็งอวัยวะเพศสตรีที่เกิดจากการติดเชื้อ HPV สายพันธุ์เดียวกับวัคซีนที่ฉีด ข้อห้ามในการฉีดวัคซีน เคยมีประวัติเเพ้วัคซีน HPV หรือแพ้ส่วนประกอบของวัคซีน HPV

    เนื้องอกมดลูก (Myoma uteri)

    เนื้องอกมดลูก (Myoma uteri)

    เนื้องอกมดลูก (Myoma uteri) เนื้องอกมดลูกมดลูกชนิดไม่ใช่เนื้อร้าย สามารถพบได้ในสตรีวัยต่าง ๆ ซึ่งอาจจะมีขนาดที่แตกต่างกันไป โดยเนื้องอกแต่ละชนิดจะมีระยะเวลาในการขยายขนาดที่แตกต่างกัน จึงอาจจะโตช้าหีือเร็วต่างกัน อาการ อาการมักเกิดขึ้นเมื่อก้อนเนื้องอกเริ่มมีขนาดใหญ่ขึ้น โดยมักมีเลือดออกมากหรือกะปริดกะปรอย และมักมีอาการปวดท้องขณะมีประจำเดือนร่วมด้วย หรือบางรายอาจปวดหน่วง ๆ ที่ท้องน้อย อาจมีปัสสาวะบ่อย เจ็บขณะร่วมเพศ หากก้อนโตมาก ๆ อาจคลำเจอก้อนที่ท้องน้อย ภาวะแทรกซ้อน หากมีเลือดออกกะปริดกะปรอยต่อเนื่องอาจทำให้เกิดภาวะซีดได้ หากมีเนื้องอกที่โตเร็วมากขณะตั้งครรภ์ อาจทำให้เสี่ยงแท้ง หรือคลอดยาก การรักษา หากก้อนเนื้อมีขนาดใหญ่แพทย์อาจพิจารณาผ่าตัด แต่กรณีก้อนเนื้อมีขนาดไม่ใหญ่และไม่กระทบชีวิตประจำวัน หรือไม่มีอาการที่ส่งผลแทรกซ้อนต่อสุขภาพ แพทย์อาจให้ติดตามอาการเป็นระยะโดยไม่ต้องทำการผ่าตัด สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

    มีเซ็กซ์ปลอดภัยไม่ติดเชื้อ HPV

    มีเซ็กซ์ปลอดภัยไม่ติดเชื้อ HPV

    เซ็กซ์อย่างป้องกัน ลดเสี่ยงมะเร็งปากมดลูก การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน สุ่มเสี่ยง โรคติดต่อมากมาย และเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้เกิดมะเร็งในผู้หญิง เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งช่องคลอด มะเร็งปากช่องคลอด ที่มีแนวโน้มสูงขึ้นเนื่องจากติดเชื้อ การติดเชื้อ HPV หรือ Human Papillomavirus รู้ทริคป้องกันโรครับวาเลนไทน์ 2023 ให้ปลอดภัย การติดเชื้อ HPV หรือ Human Papillomavirus เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบมากที่สุด เป็นสาเหตุของโรคหลายชนิด โดย HPV แบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม คือ HPV ชนิดไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง ไม่ได้ทําาให้เกิดมะเร็งปากมดลูก แต่เป็นสาเหตุของหูดหงอนไก่บริเวณอวัยวะเพศ เชื้อ HPV ติดต่อได้ง่ายผ่านทางเพศสัมพันธ์เป็นหลัก โดยมักพบในคนช่วงวัยเจริญพันธุ์ อายุ 20-30 ปี สูงถึง 2 ใน 3 คนเลยทีเดียว เมื่อติดเชื้อ เซลล์ปากมดลูกเกิดการเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์มะเร็งอาจใช้เวลานาน 10-15 ปี ซึ่งผู้หญิงที่ติดเชื้อมักจะไม่มีอาการผิดปกติใดๆ เป็นระยะเวลานาน แต่จะมาพบแพทย์เมื่อมีอาการแล้ว เช่น เลือดออกผิดปกติจากช่องคลอดที่ไม่ใช่ประจําเดือน มะเร็งมักเข้าสู่ระยะลุกลามแล้ว และแม้ว่าการติดเชื้อ HPV จะเพิ่มโอกาสสูงขึ้นตามจำนวนของคู่นอน แต่การมีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนแค่คนเดียวก็มีโอกาสติดเชื้อ HPV ได้ หากคู่นอนของคุณมีเชื้อ HPV อยู่ก่อนแล้ว มีเซ็กซ์ปลอดภัยจากเชื้อ HPV ไม่เปลี่ยนคู่นอนหลายคน สวมถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ เพราะช่วยป้องกันการติดเชื้อ HPV มากถึง 90% ไม่ควรมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย หรือ ต่ำกว่า 18 ปี ไม่มีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก เพราะสามารถเสี่ยงต่อการติดเชื้อ HPV และก่อให้เกิดมะเร็งทวารหนักในอนาคตได้ ไม่มีเพศสัมพันธ์ด้วยการทำออรัล เพราะเชื้อ HPV สามารถก่อให้เกิดมะเร็งช่องปาก หรือมะเร็งลำคอได้ ระวังการติดเชื้อจากการใช้นิ้วมือ เนื่องจากเชื้อ HPV สามารถติดต่อผ่านการสัมผัสทางผิวหนังโดยตรงได้ การป้องกันที่สำคัญกว่า คือการรับฉีดวัคซีนป้องกัน HPV วัคซีนป้องกันการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papilloma Virus) จะกระตุ้นร่างกายให้สร้างภูมิคุ้มกันป้องกันการติดเชื้อ HPV ปัจจุบันวัคซีน HPV มี 2 ชนิด ชนิดแรก เป็นวัคซีน HPV ชนิด 2 สายพันธุ์ ซึ่งมีการเสริมสารกระตุ้นภูมิรุ่นใหม่ เน้นป้องกันมะเร็งปากมดลูกจากเชื้อ HPV สายพันธุ์ก่อมะเร็ง (HPV 16, 18 และ HPV สายพันธุ์ก่อมะเร็งอื่นๆ) ชนิดที่ 2 วัคซีน HPV ชนิด 4 สายพันธุ์ ใช้ป้องกันมะเร็งปากมดลูก (จาก HPV 16, 18) และหูดอวัยวะเพศ (จาก HPV 6, 11) ช่วงวัยที่เหมาะสมกับการฉีดป้องกันป้องกันมะเร็งปากมดลูก ควรฉีดในผู้หญิงอายุตั้งแต่ 9-26 ปี หรืออาจขยายระยะเวลาได้ถึง 45 ปี ในผู้ชายก็เช่นเดียวกัน เพราะเป็นวัยที่ร่างกายสามารถสร้างภูมิคุ้มกันได้ดีที่สุด นอกจากนี้การตรวจหาเชื้อ HPV ในระดับดีเอ็นเอ หรือ HPV Testing จึงเป็นวิธีการค้นหาเชื้อ HPV ที่ให้ผลแม่นยำ ช่วยให้รักษาการติดเชื้อได้ทันก่อนกลายเป็นมะเร็ง ขอขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

    ตกขาว

    ตกขาว

    ตกขาว(ปกติ) ตกขาวปกติมักมีลักษณะเป็นมูกใสหรือคล้ายเเป้งเปียก แต่ไม่มีกลิ่น ไม่มีสี ไม่คัน โดยทั่วไปแล้ว สตรีอาจมีการตกขาวบ้างเล็กน้อย โดยเฉพาะช่วงของการตกไข่ ช่วงของการตั้งครรภ์ หรือช่วงที่รับประทานยาคุมกำเนิด ก็อาจจะยิ่งทำให้มีการตกขาวได้ชัดเจนขึ้น หากตกขาวมีลักษณะดังกล่าวข้างต้นก็ไม่มีข้อบ่งชี้ที่จะต้องรักษาแต่อย่างใด เว้นแต่การตกขาวนั้นเป็นอยู่นานเกิน 2 สัปดาห์ มีสีที่เปลี่ยนแปลง มีกลิ่น สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

    อันตรายจากเชื้อ HPV

    อันตรายจากเชื้อ HPV

    อันตรายจากเชื้อ HPV