การให้ยาเคมีบำบัด

การให้ยาเคมีบำบัด

เคมีบําบัด คือ การรักษาโรคมะเร็งด้วยยาเคมี โดยยาจะผ่านเข้าทางกระแสเลือดและไปทําลายเซลล์มะเร็งทั่วร่างกาย ยาเคมีบําบัดสามารถให้โดยการฉีดเข้าทางร่างกาย เส้นเลือด หรือรับประทาน เคมีบําบัดช่วยขจัดหรือทําลายมะเร็งที่อาจหลงเหลืออยู่ภายหลังการผ่าตัดเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคหรือการกลับมาเป็นซ้ำ

วัตถุประสงค์ในการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด

  • เพื่อรักษาให้หายขาด (CURE) เป็นการรักษาเพื่อให้ผู้ป่วยหายจากโรคมะเร็ง และไม่กลับมาเป็นซ้ำ ในโรคมะเร็งบางชนิดที่มีโอกาสหายขาด
  • เพื่อควบคุมโรค (CONTROL) สำหรับมะเร็งบางชนิดที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
  • เพื่อบรรเทาอาการ (PALLIATION) สำหรับผู้ป่วยมะเร็งระยะแพร่กระจาย เพื่อบรรเทาอาการจากโรคมะเร็งเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ผลข้างเคียงของยาเคมีบำบัด

ยาเคมีบำบัดมีฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งที่มีการแบ่งเซลล์อย่างรวดเร็ว ซึ่งรวมถึงเซลล์ร่างกายปกติที่มีการแบ่งตัวอย่างรวดเร็วด้วย เช่น ไขกระดูก, เซลล์เม็ดเลือด, ผม, เยื่อบุทางเดินอาหาร และเยื่อบุอวัยยะสืบพันธุ์ ทำให้เกิดผลข้างเคียงต่อผู้ป่วยที่แตกต่างกันไปขึ้นกับชนิดยาเคมีบำบัด ปริมาณยา วิธีการให้ยา และปัจจัยของตัวผู้ป่วยเองแต่ละคน แต่เมื่อหยุดการรักษาเซลล์เนื้อเยื่อเหล่านี้จะฟื้นตัวกลับสู่ภาวะปกติได้

การเตรียมตัวก่อนรับยาเคมีบําบัด

  1. เตรียมสุขภาพร่างกายให้สมบูรณ์ นอนพักผ่อนให้เพียงพอ
  2. ผ่อนคลายความวิตกกังวล
  3. แพทย์จะทําการตรวจร่างกายทั่วไปและตรวจทางห้องปฎิบัติการ เช่น ตรวจเลือด ตรวจการทํางานของหัวใจ เอกซเรย์ เป็นต้น
  4. ควรปัสสาวะหรืออุจจาระให้เรียบร้อยก่อนรับยา ไม่ควรกลั้นไว้ เพราะเป็นการเพิ่มภาวะเครียดและความไม่สุขสบาย

สอบถามเพิ่มเติมได้ที่คลินิกมะเร็ง โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี 039-319888

บทความที่เกี่ยวข้อง

มะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่

รังสีร่วมรักษา Interventional-Radiology

รังสีร่วมรักษา Interventional-Radiology

รังสีร่วมรักษา Interventional-Radiology “วิทยาการสมัยใหม่สามารถนำมาใช้ร่วมในการรักษาผู้ป่วยโดยตรงทั้งการเจาะตรวจชิ้นเนื้อและการสวนหลอดเลือดอย่างปลอดภัย เพื่อร่วมในการดูแลผู้ป่วยอย่างรอบด้าน” โดยแพทย์ผู้ชำนาญการ สาขา รังสีวิทยาทั่วไป สาขา รังสีวินิจฉัย อนุสาขา รังสีวิทยาหลอดเลือดและรังสีร่วมรักษา อนุสาขา รังสีร่วมรักษาของลำตัว การรักษาโรคมะเร็งโดยไม่ต้องผ่าตัด แต่ให้ผลใกล้เคียงกับการผ่าตัด เชี่ยวชาญ แม่นยำ แผลเล็ก ไม่ต้องผ่าตัด ฟื้นตัวไว #รังสีร่วมรักษา #โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี Call Center: 039-319-888 ฉุกเฉินโทร: 1719

7 พฤติกรรมเสี่ยงมะเร็ง

7 พฤติกรรมเสี่ยงมะเร็ง

7 พฤติกรรมเสี่ยงมะเร็ง มะเร็งนั้นอยู่ใกล้ตัวกว่าที่เราคิด เคยได้ยินไหมคะที่คนดูแลสุขภาพดีแต่กลับเป็นมะเร็งแล้วนับภาษาอะไรกับคนที่ไม่ดูแลตัวเองหรือยังดูแลไม่เพียงพอ เช็ก 7 พฤติกรรมเสี่ยงที่แฝงอยู่ในชีวิตประจำวัน ที่เปอร์เซนต์ก่อโรคมะเร็งเพิ่มขึ้น พฤติกรรมสูบบุหรี่ ปัจจัยการเกิดโรคมะเร็งที่เป็นอันดับต้นๆ ซึ่งมีเปอร์เซนต์ทำให้เกิดการเสียชีวิตจากมะเร็งปอดได้ถึง 87% นอกจากนี้ยังสามารถทำให้เกิดมะเร็งกล่องเสียง มะเร็งช่องปาก มะเร็งคอหอย มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ ด้วย พฤติกรรมทำให้น้ำหนักเกินเกณฑ์ ทั้งการกินอาหารไขมันสูงและไม่ออกกำลังกาย ร่างกายต้องรับน้ำหนักที่มากเกินความจำเป็น นอกจากผลเสียทางด้านกายภาพแล้ว ยังส่งผลไปยังสุขภาพร่างกายอีกด้วย ทั้งความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน และมะเร็งซึ่งผู้ที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มักมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งลำไส้ พฤติกรรมดื่มแอลกอฮอล์ เช่นเดียวกับบุหรี่ที่ทุกคนน่าจะทราบกันอยู่แล้วว่าเป็นพิษ หากบริโภคในปริมาณมากๆ สามารถทำลายตับ และทำให้เกิดไขมันอุดตันในเลือดได้ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งตับ มะเร็งหลอดอาหาร พฤติกรรมทานอาหารไม่ถูกหลัก มากไปหรือน้อยไป ทำให้สารอาหารไม่สมดุล ก่อโรคต่างๆได้ เสี่ยงเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้ และนอกจากโรคมะเร็งกระพาะอาหารแล้ว ยังเสี่ยงโรคอื่นๆ อีกนับไม่ถ้วน เช่น โรคอ้วน โรคไขมันในเส้นเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง ฯ การติดเชื้อ เมื่อเรารับเชื้อไวรัสเข้าสู่ร่างกายแล้วภูมิคุ้มกันเราจะอ่อนแอ ทำให้เจ็บป่วยลงได้ ซึ่งเป็นโอกาสหนึ่งที่ทำให้เซลล์เนื้อร้ายมีโอกาสเติบโต มีโอกาสชนะภูมิคุ้มกันของร่างกาย หรือที่เรียกว่าโรคแทรกซ้อน ไม่ออกกำลังกาย มีผลการวิจัยว่า การนั่งนานๆ ไม่ขยับกล้ามเนื้อ หรืออวัยวะส่วนต่างๆของร่างกายบ้าง ความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งลำไส้ ได้ เพราะส่วนหนึ่งมาจากการนั่งนานๆ ไม่มีการยืดเส้นยืดสายเพื่อเผาผลาญไขมันตามร่างกายเสียบ้าง บริเวณส่วนสะโพกและหน้าท้องของเราจะกลายเป็นจุดสะสมไขมัน ทำให้เกิดโรคอ้วนและไขมันอัดตัน และมะเร็งลำไส้ได้ในที่สุด ทั้งนี้นอกจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้วการตรวจร่างกายเป็นประจำถือ อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง ถือเป็นเรื่องที่สำคัญ เพื่อตรวจหารอยโรคต่างๆ เพราะหากเจอในระยะเริ่มแรกก็สามารถรักษาหายขาดได้ ขอขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

“มะเร็งผิวหนัง”

“มะเร็งผิวหนัง”

“มะเร็งผิวหนัง” “มะเร็งผิวหนัง” พบได้น้อยในคนไทยแต่มีแนวโน้มที่เพิ่มมากขึ้นสาเหตุที่สำคัญยังไม่ทราบแน่ชัด แต่แสงแดดที่แรงมากในระดับอันตรายมากก็เป็นปัจจัยเสี่ยง และเนื่องในเดือนพฤษภาคมของทุกปี เป็นเดือนแห่งการรณรงค์ต้านภัยมะเร็งผิวหนัง จึงขอเชิญชวนชาวไทยทำความรู้จักกับมะเร็งชนิดนี้ เพื่อให้รู้ทันโรคและหาแนวทางการดูแลตัวเองอย่างเหมาะสม นายแพทย์วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า มะเร็งผิวหนัง เป็นมะเร็งที่พบได้น้อยในคนไทย โดยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายเล็กน้อย จากสถิติข้อมูลมะเร็งประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ. 2559-2561 (Cancer in Thailand Vol.X 2016-2018) รวบรวมโดย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ซึ่งในแต่ละปีพบผู้ป่วยมะเร็งผิวหนังรายใหม่เฉลี่ย 4,374 คนต่อปี หรือวันละ 12 คน มะเร็งผิวหนังมักพบที่บริเวณใบหน้า แขน ขา ฝ่ามือ ฝ่าเท้า และลำตัว ส่วนใหญ่เริ่มจากมีการเปลี่ยนแปลงของไฝ ปาน หรือเริ่มต้นเป็นแผลเล็ก ๆ แล้วจึงค่อย ๆ ขยายใหญ่ขึ้น มีลักษณะผิวขรุขระ ขอบเขตไม่ชัดเจน สีไม่สม่ำเสมอ สาเหตุที่สำคัญในการเกิดมะเร็งผิวหนังนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด ปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดมะเร็งผิวหนัง ได้แก่ แสงแดด มีบุคคลในครอบครัวเป็นมะเร็งผิวหนัง โรคทางพันธุกรรมบางโรค คนผิวขาว หรือ ผิวเผือก สารเคมีบางชนิด เช่น สารหนู แผลเรื้อรัง ภาวะภูมิต้านทานต่ำ การได้รังสีรักษา สำหรับการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งผิวหนัง ทำได้โดยการตัดชิ้นเนื้อรอยโรคที่สงสัยเพื่อตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา และหลังจากได้รับการวินิจฉัยแล้ว แพทย์จะทำการประเมินระยะของโรคเพื่อวางแผนการรักษาต่อไป การรักษามะเร็งผิวหนัง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะพิจารณาการรักษาให้เหมาะสมกับผู้ป่วย โดยขึ้นอยู่กับชนิด ขนาด ตำแหน่งของมะเร็ง ทั้งนี้ ด้วยวิธีการรักษาทางมาตรฐานมักจะต้องทำการผ่าตัดทั้งรอยโรคและในส่วนบริเวณผิวหนังที่ปกติโดยรอบออก อาจจำเป็นต้องตัด ต่อมน้ำเหลืองในส่วนที่มะเร็งจะกระจายไป ซึ่งบางกรณีอาจต้องให้ยาเคมีบำบัด หรือ การให้รังสีรักษา ร่วมด้วย วิธีการป้องกันมะเร็งผิวหนัง หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดนานๆ ควรใช้อุปกรณ์ป้องกันเพื่อลดการสัมผัสแสงแดดโดยตรง เช่น ใส่แว่นกันแดด, ใช้ร่ม, สวมหมวก, สวมเสื้อแขนยาว ควรหมั่นสังเกตบนร่างกายตนเองเป็นประจำว่ามีสิ่งผิดปกติหรือไม่ หรือหากมีแผลเรื้อรังควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาต่อไป หากตรวจพบการเกิดมะเร็งผิวหนังได้ในระยะเริ่มต้น จะทำให้การรักษาโรคมะเร็งนั้นง่ายขึ้น เมื่อสงสัยว่าผิวหนังหรือไฝบนร่างกายของตนเองเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงและพบว่ามีความผิดปกติ ท่านควรไปปรึกษาแพทย์เพื่อการวินิจฉัยและทำการรักษาที่ถูกต้อง ท่านสามารถติดตามข่าวสารความรู้เรื่องโรคมะเร็งจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติเพิ่มเติมได้ที่ ขอบคุณข้อมูลจาก : BDMS สถานีสุขภาพ

10 วิธีรับมือ COVID-19 ในผู้ป่วยมะเร็ง

10 วิธีรับมือ COVID-19 ในผู้ป่วยมะเร็ง

10 วิธีรับมือ COVID-19 ในผู้ป่วยมะเร็ง ในสถานการณ์ที่ประเทศไทยและทั่วโลกมีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ผู้ป่วยโรคมะเร็งจำเป็นที่จะต้องดูแลสุขภาพตัวเองเพื่อรับมือกับสถานการณ์ในระยะที่ยังคงมีการแพร่ระบาดอยู่ มีผู้ป่วยมะเร็งหลายคนสงสัยว่าตนเองมีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไปหรือไม่ รวมถึงหากได้รับเชื้อ COVID-19 แนวทางการรักษาและการให้ยานั้นเหมือนหรือต่างจากผู้ป่วยทั่วไปที่ได้รับเชื้ออย่างไร เพราะฉะนั้นการรู้วิธีรับมืออย่างถูกต้องจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย 10 วิธีดังต่อไปนี้ผู้ป่วยมะเร็งควรรู้เพื่อดูแลตัวเองในช่วง COVID-19 ผู้ป่วยมะเร็งที่อยู่ในระหว่างการรักษาหรือให้เคมีบำบัด ควรไปพบแพทย์ตามนัดอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ทุกครั้งที่ออกจากบ้านต้องสวมหน้ากากอนามัยและพกเจลแอลกอฮอล์ติดตัวไว้ตลอดเวลา เลือกหน้ากากอนามัยคุณภาพดีได้มาตรฐาน ถ้าเป็นหน้ากากผ้าต้องเป็นผ้าที่สามารถป้องกันละอองฝอยในอากาศได้ ไม่ควรอยู่ในสถานที่แออัดโดยไม่จำเป็นและต้องรักษาระยะห่าง (Social Distancing) กับคนรอบข้าง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีสารอาหารครบ 5 หมู่ โดยเน้นโปรตีนเป็นหลัก ออกกำลังกายแบบพอเหมาะที่สามารถทำเองได้ที่บ้าน ในกรณีที่ผู้ป่วยมะเร็งมีโรคประจำตัวเรื้อรัง ได้แก่ เบาหวาน อ้วน หัวใจ ตับ ไตเรื้อรัง ปอดและทางเดินหายใจ และภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ซึ่งอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงหากติดเชื้อ COVID-19 อาจร้ายแรงและอันตรายถึงชีวิตได้ แพทย์จะพิจารณาและให้ยาเฉพาะโรคเป็นรายบุคคลไป ผู้ป่วยมะเร็งปอดต้องใส่ใจดูแลสุขภาพตัวเองเป็นพิเศษ เพื่อสร้างความแข็งแรงให้ปอดและร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายตามความเหมาะสม พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่ออกจากบ้านถ้าไม่จำเป็น เว้นแต่แพทย์นัดการติดตามอาการ ใส่หน้ากากอนามัย พกเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ และหมั่นรักษาความสะอาดอยู่เสมอ Stay Home Stay Healthy อยู่บ้านพร้อมกับสุขภาพกายใจที่แข็งแรง หากิจกรรมทำ ไม่ว่าจะเป็นออกกำลังกาย อ่านหนังสือ ฟังเพลง ทำงานบ้าน งานอดิเรกที่ชอบ เป็นต้น เพื่อให้เกิดความผ่อนคลาย ที่สำคัญรักษาจิตใจให้แจ่มใส ไม่เครียด ภูมิคุ้มกันจะได้ไม่ตก สร้างพลังบวกให้มีกำลังใจใช้ชีวิตในทุก ๆ วัน เลือกรับข่าวสารในช่องทางที่น่าเชื่อถือ นำเสนอข้อมูลข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง เพื่อจะได้ไม่ตื่นตระหนกและปฏิบัติตัวได้ถูกวิธีในทุกสถานการณ์ ช่วง COVID-19 ผู้ป่วยมะเร็งควรดูแลสุขภาพของตัวเองให้มากขึ้นเป็นพิเศษ หากมีข้อสงสัยควรขอคำแนะนำจากแพทย์เฉพาะทางด้านโรคมะเร็งเพื่อจะได้ดูแลตัวเองได้อย่างเหมาะสมในชีวิตประจำวัน และผ่านพ้นสถานการณ์ COVID-19 ไปด้วยกัน ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ บทความโดย พญ.พจนา จิตตวัฒนรัตน์

ยามุ่งเป้ายับยั้งรักษามะเร็ง

ยามุ่งเป้ายับยั้งรักษามะเร็ง

ยามุ่งเป้ายับยั้งรักษามะเร็ง ยามุ่งเป้าเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ช่วยยับยั้งการแบ่งตัวและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง เพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกครั้ง ยามุ่งเป้าเป็นหนึ่งในวิธีการรักษาผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ช่วยยับยั้งการแบ่งตัวและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง เพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งกลับมามีคุณภาพชีวิตที่ดีอีกครั้ง และเพราะการออกฤทธิ์ที่เฉพาะเจาะจงนี้เองจึงทำให้ผลข้างเคียง โดยรวมของยามุ่งเป้าน้อยกว่ายาเคมีบำบัด ทั้งนี้ในมะเร็งแต่ละชนิดอาจจะมียามุ่งเป้าที่แตกต่างกัน และไม่ใช่มะเร็งทุกชนิดที่สามารถใช้ยามุ่งเป้าได้ สิ่งสำคัญคือการปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัดเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีในการรักษา ยามุ่งเป้าคืออะไร ยามุ่งเป้า (Targeted Therapy) คือ การใช้ยาที่มีความเฉพาะเจาะจงสูงในการรักษาโรคมะเร็ง โดยมีเป้าหมายคือเข้าไปทำลายโปรตีนที่เป็นเป้ามายภายในเซลล์มะเร็งโดยตรง ทำให้สามารถยับยั้งการแบ่งและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง ยามุ่งเป้ารักษามะเร็งชนิดใด ปัจจุบันยามุ่งเป้ารักษามะเร็งได้หลายชนิด ทั้งมะเร็งในระยะเริ่มต้นและมะเร็งในระยะแพร่กระจาย ได้แก่ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งตับ มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ยามุ่งเป้ารักษามะเร็งชนิดใด ปัจจุบันยามุ่งเป้ารักษามะเร็งได้หลายชนิด ทั้งมะเร็งในระยะเริ่มต้นและมะเร็งในระยะแพร่กระจาย ได้แก่ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งตับ มะเร็งต่อมไทรอยด์ มะเร็งเม็ดเลือดขาวและมะเร็งต่อมน้ำเหลือง การใช้ยามุ่งเป้าเพื่อรักษามะเร็ง แพทย์เฉพาะทางมะเร็งจะตรวจการกลายพันธุ์และโปรตีนในชิ้นเนื้อมะเร็ง หรือในเลือด ของผู้ป่วย เพื่อประเมินความเหมาะสมของการใช้ยามุ่งเป้าในผู้ป่วยรายนั้น ๆ ผลข้างเคียงที่พบได้จากยามุ่งเป้า เมื่อเทียบกับยาเคมีบำบัด ยามุ่งเป้ามีผลข้างเคียงต่ำกว่า แต่หลังการรักษาด้วยยามุ่งเป้าก็อาจพบอาการข้างเคียงได้เช่นกัน อาทิ ผิวแห้ง ผื่นผิวหนังลักษณะคล้ายสิว คัน จมูกเล็บอักเสบ ท้องเสีย เยื่อบุปากอักเสบ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ความดันโลหิตสูง เป็นต้น ซึ่งผลข้างเคียงจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละบุคคล ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทางด้านมะเร็งอย่างใกล้ชิด ขอบคุณข้อมูลจาก : โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ โดย นพ.จิตรการ มิติสุบิน

Hospital Logo

ติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่

บริการให้คำปรึกษาตลอด 24 ชั่วโมง